สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ


ปฏิบัติได้ดีต้องเข้าใจปริยัติด้วย

การมีกัลยาณมิตรที่รอบรัูทั้งนัยปริยัติ ทั้งนัยปฏิบัติ ทั้งนัยแห่งความเป็นไป และมีประสพการณ์ช่ำชอง จักช่วยคลายปัญหาที่แคลงใจนักปฏิบัติได้มาก เพราะท่านจะคลายความแคลงใจจากสภาวะที่ปรากฏพร้อมเหตุผลประกอบ ส่งผลให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้าได้ไว ตัวอย่าง เช่น

   สาระจากโยนิโสมนัสสิการ

   มีการสอนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแบบนี้ว่า " แล้วแต่เหตุปัจจัย ทำไม่ได้ ตั้งใจไม่ได้ เพราะทำแล้วจะเป็นอัตตา "

   ถามว่า การกระทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ ผลที่ได้จะดีมั้ย ? เช่น

   ทาน การให้ ถ้าไม่ตั้งใจให้ ทานจะสำเร็จได้มั้ย ?

   ศีล ถ้าไม่ตั้งใจรักษา ศีลจะสำเร็จได้ไหม

   สมาธิ ถ้าไม่ตั้งใจเจริญ จิตจะสงบได้มั้ย ?

   กุศลเมื่อจำแนกโดยอาศัยวัฏฏะ มี 2 ประเภท คือ

   1.กุศลที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ ได้แก่กุศลทั่วๆไป

   2.กุศลที่เป็นไปเพื่อวิวัฏฏะ ได้แก่ การบำเพ็ญบารมี  การเจริญสติปัฏฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

   ทั้ง 2 ประเภทต่างกันเช่นไร กุศลที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะไม่มีการป้องกันวิปัลลาส ส่วนกุศลที่เป็นไปเพื่อวิวัฏฏะมีการป้องกันวิปัลลาส เช่น อัตตวิปัลลาสเป็นต้น ดังนั้นกุศลที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ จึงมีการกระทำ คือการจัดแจง(เจตนา)เป็นประธาน ส่วนกุศลที่เป็นไปเพื่อวิวัฏฏะ จึงมีการวางใจ(โยนิโสมนสิการ)เป็นประธาน หมายความว่าการวางใจได้ถูกต้องนั้นเองเป็นการป้องกันอัตตวิปัลลาส คือวางใจเสมือนดูละคร ไม่ใช่แสดงละครเสียเอง การจัดแจง คือเจตนาจึงพ้นจากอัตตวิปัลลาสได้ คือ เห็นนามรูปเป็นไปตามเหตุปัจจัย ปราศจากตัวตนเข้าไปจัดแจง ปราศจากตัวตนเข้าไปบังคับบัญชา เหมือนเป็นผู้ดูละคร ไม่ใช่ผู้แสดงละครนั่นแล(มหาฎีกาวิสุทธิมรรค,นิสสยอักษรปัลลวะ,อักษรสิงหล,อักษรขอม)

[right-side]

ปริยัติ,ปฏิบัติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.