๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายความว่าญาณที่มีความปรารถนาใคร่จะพ้นจากรูปนาม โดยที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว มีทุกข์ มีโทษ เป็นเหยื่อลวงให้หลงติดอยู่ในวัฎสงสาร เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือคร้อนและมีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย อยากออกอยากหนีอยากหลุด อยากพ้นจากสังขารธรรม อยากพ้นจากสังสารวัฏ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพานสังขารธรรม นั้น ได้แก่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณย่อลงให้สั้นได้แก่ รูปนาม
สังสารวัฏ
สังสารวัฏ แยกบทออกเป็น สังสาร + วัฏ, สังสาระ คือ การท่องเที่ยวไป ไม่ขาดสาย มีอยู่ ๓ อย่างคือ อปายสังสาระ กามสุคติสังสาระ และพรหมสังสาระ
๑. อปายสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในอบายภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ นรก เปรตอสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน ท่องเที่ยวไปด้วยอำนาจของกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธและความหลง บางทีท่านเรียกว่า เหฏฐิมสังสาระ ท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องต่ำ คืออบายภูมิ ๔ ดังกล่าวมานี้ดังนั้น อปายสังสาระกับเหภูฐิมสังสาระ จึงเป็นอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
๒. กามสุคติสังสาระ คือ การท่องเที่ยวไปในกามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่ ภูมิของมนุษย์ ๑ ภูมิของเทวดา - รวมเป็น ๗ ภูมิ ท่องเที่ยวไปด้วยอำนาจมหากุศลหรือเพราะอาศัยสุจริตกรรม ๑๐ บางทีท่านเรียกว่า มัชฌิมสังสาระ การท่องเที่ยวไปในภูมิเบื้องกลาง คือ กามสุดติภูมิ ๗ ดังนั้น กามสุคติสังสาระกับมัชฌิมสังสาระ จึงเป็นอันเดียวกัน อุปมาเหมือนกับชายคนหนึ่งมีครอบครัวแล้ว ถ้าภริยาเรียกชายคนนั้นก็จะเรียกว่า สามี ถ้าลูกเรียกชายคนนั้นก็เรียกว่า พ่อ อันที่จริงก็คนๆ เดียวกันแต่เรียกต่างกัน
๓. พรหมสังสาระ คือการท่องเที่ยวไปในพรหมภูมิได้แก่ การท่องเที่ยวไปในรูปพรหม ๑๖ ภูมิและอรูปพรหม ๔ ภูมิ บางทีท่านเรียกว่า อุปริมสังสาระ การท่องเที่ยวไปในสังสาระเบื้องสูงได้แก่ พรหมภูมิ ๒๐ ชั้น เพราะอาศัยมหัตคตกุศลคือรูปาวจรกุศล ๕ อรูปาวจรกุศล ๕
จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อดำเนินมาถึงมุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ก็อยากจะหลุดอยากจะพ้นจากสังสารวัฏดังกล่าวนี้ เพราะพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าความเกิดในภพนี้ความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้ว ความไม่เที่ยงของรูปนามการสั่งสมกรรมที่จะให้เกิดอีก การเกิดมาอีกคติต่างๆ ที่จะไปเกิด เช่น ทุคติ สุดติ ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย ความเป็นไปแห่งผลกรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสล้วนแต่เป็นภัยเป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในภพ เป็นสังขารปรุงแต่งให้ได้รับความเคือดร้อนทั้งนั้น จึงเกิดความเบื่อหน่ายไม่ยินดีไม่ชอบไม่ติด จิตอยากออกอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น เพราะเห็นประจักษ์ชัดแล้วว่า ถ้าไม่มีรูปนามเสียได้จะเกษมปลอดภัย เป็นสุข ไม่มีเหยื่อล่อให้ลุ่มหลงเป็นนิพพาน จิตมีกำลังกล้ามุ่งหน้าแต่จะออกจะหนี จะหลุดจะพ้นไปจากสังขารธรรมและสังสารวัฏ
อุปมามุญจิตุกัมยตาญาณมี ๘ อย่าง
๑. ปลาติดข่าย ติดแห ติดอวน ย่อมดิ้นรนกระวนกระวายอยากหลุดออกไปจากข่ายจากแห จากอวนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๒ . กบถูกงูคาบไว้กำลังอยู่ในปากงู อยากออกอยากกระโดดหนีลงไปหลบอยู่ในน้ำลึก ทั้งดิ้นทั้งร้องจนสุดความสามารถฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๓. ไก่ป่าเป็นสัตว์อยู่ป่าเป็นประจำ ครั้นคนดักบ่วงจับได้ นำมาขังไว้ในกรงย่อมดิ้น ย่อมกระวนกระวายไม่มีความสุข มีแต่ทุกข์ทรมาน อยากออก อยากบินหนีไปอยู่ป่าอันแสนกว้าง แสนสบายตามที่ตนเคยอยู่อย่างเป็นอิสระฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๔. เนื้อที่ติดบ่วงอย่างมั่น ย่อมพยายามดิ้นจนสุดความสามารถ เพราะอยากออก อยากหลุด อยากพ้นไปจากบ่วงฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๕. งูอยู่ในมือของหมองู ย่อมอยากออกไปให้พ้นมือ อยากจะแล่นหนีไปอยู่ในป่าดงพงทึบ ตามความสบายใจตนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๖. ช้างติดหล่มลึก อยากจะถอนตนให้ขึ้นจากหล่ม พยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นจากหล่มฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๗. พญานาคอยู่ในปากครุฑ ย่อมอยากออกอยากหลุดหนีไปให้พ้นฉันใดผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๘. บุรุษถูกข้าศึกล้อม อยากจะออกหนีไปให้พ้นต้องพยายามหาหนทางที่จะออกที่จะหนี ที่จะเอาตัวรอดเต็มที่ฉันใด
ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้นโยคีผู้ปฏิบัติเมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วย่อมไม่ชอบ ไม่ติดอยู่ในรูปนามซึ่งมีแต่ความแตกสลายมีแต่ความสิ้นความเสื่อมอยู่เป็นนิตย์นั้นเลยแม้แต่เพียงอย่างเดียวบรรดาที่มีอยู่ในภพ กำเนิด ดติ วิญญาณฐีติ สัตตาวาส จิตของผู้ปฏิบัติมีแต่อยากจะออกอยากหนี อยากหลุดอยากพันจากสังขารทั้งปวง ปราศจากความอาลัยในสังขารทุกอย่างสังขารทั้งหลายจะปรากฎว่ามีแต่ภัย มีแต่โทษมากมายเป็นที่น่าเบื่อหน่าย จึงอยากจะหนีอยากจะพ้นไปเสียโดยเร็ว แล้วก็พยายามปฏิบัติต่อไปไม่ท้อถอย
สภาวะของมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑๕
ลักษณะของญาณนี้ตามที่ปรากฎในบาลีปฏิสัมภิทามรรค ผู้ปฏิบัติได้ดำเนินมาถึงญาณนี้แล้ว ย่อมมีสภาวะเป็นดังนี้ คือ
๑. มีจิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเป็นความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นภัย ความเกิดเป็นอามิสให้ติดอยู่ ความเกิดเป็นผู้ปรุงแต่ง
๒. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็น ไปของรูปนาม เพราะเห็นความเป็นไปไม่ขาดสายของรูปนาม เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๓. จิตอยากหลุดพ้นจากสังขารนิมิตคือ เครื่องหมายของรูปนามเป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นต้น เพราะเห็นว่าสังขารนิมิตเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๔. จิตอยากหลุดพ้นจากการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดในภพใหม่อีก เพราะเห็นว่าการสั่งสมกรรมเป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. จิตอยากหลุดพ้นจากการปฏิสนธิอีก เพราะเห็นว่า การถือปฏิสนธิอีกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๖. จิตอยากหลุดพ้นจากคติเพราะเห็นว่า คติต่างๆ เช่น สุดติ ทุคติ เป็นต้นเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๗. จิตอยากหลุดพ้นจากความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เพราะเห็นว่าความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๘. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของผลกรรม เพราะเห็นว่าผลกรรมต่างๆ เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๙. จิตอยากหลุดพ้นจากความเกิดเพราะเห็นว่าชาติเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่เป็นผู้ปรุงแต่ง
๑๐. จิตอยากหลุดพ้นจากความแก่เพราะเห็นว่าความแก่ เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๑. จิตอยากหลุดพ้นจากพยาธิเพราะเห็นว่าพยาธิเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๒. จิตอยากหลุดพ้นจากมรณะเพราะเห็นว่ามรณะเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๑. จิตอยากหลุดพ้นจากความเศร้าโศก เสื่อมญาติเสื่อมโภคะเสื่อม เพราะโรคเบียดเบียน เพราะเห็นว่า ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๔. จิตอยากหลุดพ้นจากความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงำ เพราะเห็นว่า ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
จบ มุญจิตุกัมยตาญาณ
-------------///------------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ