นิโรธสมาบัติ
"นิโรธสมาบัติ" ตามวิเคราะห์ศัพท์ว่า :- "นิรุชฺฌติ นิโรโธ ฯ สมาปชฺชนํ สมาปตฺติ นิโรธสฺส สมาปตฺติ นิโรธสมาปตฺติ ฯ
ความดับของจิตและเจตสิกเรียกว่า "นิโรธ" ในขณะที่มีนิโรธนี้ จิตตชรูปก็ย่อมไม่เกิด การเข้าหรือการทำความเพียรเรียกว่า "สมาบัติ" พระอนาคามีหรือพระอรหันต์จะเข้านิโรธสมาบัติ เข้ามหัคคตสมาบัติตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้น โดยลำดับ และออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ตั้งสติกำหนดความเกิดดับของสังขารทั้งหลาย จนกระทั้งถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ เมื่อออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วต้องทำบุพกิจ ๔ ประการ
๑. นานาพัทธอวิโกปนะ อธิษฐานว่าวัตถุสิ่งของที่อยู่ใกล้ชิดกับตัว เช่น จีวรก็ดี บาตรก็ดีอย่าได้เสียหาย ส่วนวัตถุสิ่งของที่ไม่อยู่กับตัวคืออยู่ที่อื่น บริขารต่างๆเหล่านี้ ก็อย่าได้เสียหายไปด้วย น้ำ ไฟ โจร อธิษฐานอย่างนี้ เรียกว่า นานาพัทธอวิโกปนะ
๒. สังฆปฏิมานนะ อธิษฐานว่า ขณะที่สงฆ์ประชุมสันนิบาตนั้นหากคณะสงฆ์ต้องการตัวก็ให้ออกจากสมาบัติเถิดอย่างนี้ เรียกว่า สังฆปฏิมานนะ
๓. สัตถุปักโกสนะ อธิษฐานว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธประสงค์ที่จะรับสั่งหาเราก็ให้ออกจากสมาบัติเถิดอย่างนี้ เรียกว่า สัตถุปักโกสนะ
๔ อัทธานปริจเฉทะ อธิษฐานว่า พระอริยบุคคลที่ประสงค์จะเข้านิโรธสมาบัติต้องพิจารณาอายุขัยของตนว่าภายใน ๓ วันจะตั้งอยู่ได้ตลอดหรือไม่ ถ้าไม่พิจารณาเสียก่อนหากว่าภายใน ๗ วันนั้นหมดอายุขัยก็ต้องออกจากสมาบัติ หากพิจารณาเห็นว่าจะหมดอายุขัยภายใน ๗ วันแล้ว ก็ไม่ควรเข้านิโรธสมาบัติ เพราะถ้ายังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ย่อมเสียประโยชน์ของตน ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ยังไม่ได้โปรดสัตว์ว่าตนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังไม่ได้ให้โอวาทานุศาสน์แก่ผู้อื่น ฉะนั้นจึงต้องพิจารณา
ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติอยู่นั้น จะไม่มีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำให้ตายได้ เพราะอำนาจของสมาธิวิปผาราฤทธิ์ (โปรดคูอิทธิฤทธิ์ในอภิญญาวาระที่ได้กล่าวมาแล้ว)
เมื่อได้ทำบุพกิจ ๔ อย่างเสร็จแล้ว ก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนชวนะเกิด ๒ ครั้ง และดับลงแล้วย่อมถึงนิโรธสมาบัติทันที
ถามว่า ขณะเข้านิโรธสมาบัตินั้น จิตเจตสิกไม่เกิด อารมณ์ต่างๆ แม้แต่อารมณ์นิพพานก็ไม่มี เช่นนี้จะถือว่ามีความสุขได้อย่างไร ?
ตอบว่า ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติต้องการให้รูปนามดับชั่วคราวในชีวิตนี้ เพราะธรรมดาของพระอนาคามีและพระอรหันต์ย่อมเบื่อหน่ายต่อการเกิดดับของรูปนาม การที่อยู่กับรูปนามทั้งสองนี้เหมือนอยู่กับอสุภะ และถือเสมือนเป็นภัยหรือศัตรู ตามความรู้สึกของท่านนั้น เบญขันธ์นี้เป็นภาระที่หนักมากที่สุด (ภารา หเว ปญจกฺขนฺธา) เหมือนกับบุรุษที่ได้แบกหามของที่มีน้ำหนักมากอยู่ตลอดเวลาฉะนั้น ท่านจึงต้องการพักผ่อนจากการปรุงแต่งของรูปนามชั่วคราวคือหนีภัยเพื่อหาความสุขระยะหนึ่ง ในธรรมบทอรรถกถาอธิบายว่า
"อุทยพฺพยา สงฺขารํ อุกฺกณฺฑิตฺวาน โยนิโส สุขํ วิริสฺสามาติ สมาปชฺชนฺติ เต สุขํ ฯ
เพราะเบื่อหน่ายการเกิดดับของสังขาร พระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเข้าสมาบัติ เพื่อจะได้อยู่สุขสบายของท่าน
การเข้านิโรธในมนุษยภูมินั้นเข้าได้เพียง ๗ วัน แต่ในรูปพรหมนั้นไม่จำกัดต้องการเข้านานเท่าใดก็ใด้ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ต้องเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้ฌานสมาบัติ เพราะการเข้านิโรธสมาบัติต้องเข้าฌานเสียก่อนโดยเข้าตั้งแต่ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุตถฌาน แล้วต่ออรูปสมาบัติ ๔ รวมเป็นสมาบัติ ๘ ประการแล้วก็เข้านิโรธสมาบัติ แต่ทุกๆ ฌานต้องมีวิปัสสนาประกอบเสมอ (เว้นอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งต้องทำบุพกิจแทนวิปัสสนาและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่เกิดเพียง ๒ ขณะจากนั้น ก็ถึงนิโรธสมาบัติ)
วิถีจิตของนิโรธสมาบัติ
ภ น ท ม ปริ อุ นุ โค ฌ ฌ (นิโรธสมาบัติ) ผ ภ ภ
วิธีนิโรธสมาบัตินี้ อภิธัมมัตถสังคหะกล่าวว่า
ทุวิกฺขตฺตุํ จตุตฺถารูปชวนํ ชวติ ตโต ปรํ นิโรธํ ภุสฺสติ วุฏฺฐานกาเล จ อนาคามิผลํ วา อรหตฺตผลํ วา ยถารหเมกวารํ อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุทฺเธ ภวงฺคปาโตว โหติ ฯ
ในขณะที่จะเข้าถึงนิโรธสมาบัติ จตุตถอรูปสมาบัติย่อมเกิด ๒ ครั้ง แล้วถึงนิโรธทีเดียว เมื่อออกจากนิโรธ จิตเป็นอนาคามิผลหรือเป็นอรหัตตผลก็ตาม ย่อมเกิดขึ้น ๑ ครั้งแล้วดับ จิตเป็นภวังค์ต่อไป
ในวิถีนั้น ฌานนี้ได้แก่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ถ้าในอนาคามีบุคคลเป็นกุศลฌาน ผลก็เป็นอนาคามิผล ถ้าในอรหันตบุคคล ฌานก็เป็นกิริยาฌาน ผลก็เป็นอรหัตตผลบริกรรมเป็นต้น ซึ่งนำหน้าอุเบกขาฌานนั้นคือ มหากุศลหรือมหากิริยาอุเปกขาสหคตญาณสัมปยุตตจิต สำหรับภวังค์นั้น ถ้าในกามสุตติภูมิ ๗ ก็ได้แก่ มหาวิปากญาณสัมปยุตตจิต ๔ ถ้าในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) ก็ได้แก่ รูปาวจรวิปากจิต ๕
เหตุใกล้ของสมาบัติ
นิโรธสมาบัตินี้ เป็นอานิสงส์ของฌานสมาบัติประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา
ผลสมาบัตินี้ เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนาภาวนา
อภิญญานี้ เป็นอานิสงส์ของโลกียฌานสมาธิ
นิโรธสมาบัตินี้ คูณด้วยกามภูมิ รูปภูมิได้ ๒ คุณต่อไปด้วยพระอนาคามี และพระอรหันต์ได้ ๔ และคูณต่อไปอีกด้วยติกขบุคคลและมันทบุคคลได้ ๘ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานชวนะเกิด ๒ ครั้ง
ถามว่า ขณะจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น เหตุใดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานชวนะ เกิดได้เพียง ๒ ครั้ง ?
ตอบว่า นับตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป สมถะและวิปัสสนาต้องคำเนินไปดูกันเสมอ (ยุคนัทธนัย) โคยลำดับ ทั้งนี้มิใช่มุ่งหมายจะเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานสมาบัติโดยตรง แท้จริงมุ่งหมายจะเข้านิโรธสมาบัติ ฉะนั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานสมาบัตินั้นตั้งอยู่นานไม่ได้ เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานชวนะเกิด ๒ ครั้ง แล้วเข้าสู่นิโรธสมาบัติทันที
ถามว่า พระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้ง ๒ นี้เข้านิโรธสมาบัติได้ เหตุใด พระโสดาบันและพระสกทาคามีทั้ง ๒ นี้ จึงเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ?
ตอบว่า พระโสดาบันและพระสกทาคามี ๒ ประเภทนี้ยังไม่สามารถประหาณกามฉันทนิวรณ์อนุสยธาตุอันเป็นอุปสรรคของสมาธิลงได้หมดสิ้น ฉะนั้น อริยบุคคลทั้ง ๒ ประเภทนี้สมาธิจึงมีกำลังน้อยทำให้เข้านิโรธไม่ได้ ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ ๒ ประเกทนี้ ได้ประหาณกามฉันทนิวรณ์อนุสยธาตุหมดสิ้นเด็ดขาดแล้ว สมาธิจึงมีกำลังมากทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้ ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคคพระบาลี กล่าวไว้ว่า :-
สมาธิปริพนฺธสฺส กามราคสฺส หายินํ อตฺถิตฺตา อนุปุพฺพาย นิโรโธ กามรูปีนํ ฯ
อนาคามีและอรหันต์ที่อยู่ในกามสุคติภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๕ ทั้ง ๒ บุคคลนี้ มีสมาบัติ ๘ โดยลำดับ กามราคานุสัย อันเป็นอุปสรรคของสมาธินั้น ท่านได้ประหาณโดยเด็ดขาคแล้ว ฉะนั้นจึงเข้านิโรธสมาบัติได้สบาย
กามภูมิที่เป็นมนุสสภูมิ เข้านิโรธสมาบัติ ได้เพียง ๗ วัน ในมนุสสภูมินั้น นิโรธสมาบัติเข้าได้อย่างมากที่สุด ๗ วันเท่านั้น ดังที่ท่านแสดงไว้ว่า
"อาหารรูปชีวินํ ภูตฺตสฺส เอกทิวสํ สตฺตาหํ วา ยาปนโต กาเมสตฺตาหเมว ฯ"
สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอาหารเป็นอยู่ วันหนึ่งบริโภคมื้อหนึ่งก็สามารถอยู่ได้ ๗ วัน ฉะนั้นในมนุสสภูมิ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้ ๗ วันเท่านั้น สำหรับ รูปภูมิ นั้นต้องการเข้านิโรธสมาบัติเท่าไรก็เข้าได้ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องอาหาร เนื่องจากมีปีติเป็นอาหารนั่นเอง สำหรับเทวภูมินั้นเข้านิโรธสมาบัติได้ ๑ เดือน - ๒ เดือน เพราะอาหารทิพย์ ที่เทวดาบริโภคมื้อหนึ่งสามารถอยู่ได้ ๑ - ๒ เดือน
----------------
* "ในวิสุทธิมรรค ถามว่า นิโรธสมาบัติ เข้าได้ในภพ (ภูมิ) ไหน ? แก้ว่า เข้าได้ในปัญจโวการภพ(ภูมิ) เพราะต้องการเข้ามานสมาบัติ ๘ หรือ ๙ ควบคู่กันกับการเจริญวิปีสสนาไปตามลำดับสภาวะ ดังนั้นเทวภูมิ ก็อยู่ในปัญจโวการภูมิ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้"
----------------
นิโรธสมาบัติไม่เรียกว่า สังขตะ เรียกว่า นิปผันนะ
ถามว่า นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรืออสังขตะ เป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ?
ตอบว่า สิ่งใดทีมีปรมัตถสภาวะชัดแจ้งเป็น สังขตะก็มี อสังขตะกีมี โลกียะก็มี โลกุตตระก็มี แต่นิโรธสมาบัตินี้ไม่มีปรมัตถสภาวะ ฉะนั้น จะว่าเป็นสังขตก็ไม่ได้ อสังขตะก็ไม่ได้ จะว่าเป็นโลกียะหรือโลกุตตระก็ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าจะจำแนกว่าเป็นนิปผันนะหรือนิปผันนะ ก็ต้องถือว่าเป็นนิปผันนะ เนื่องจากว่าพระอริยบุคคลที่เข้านิโรรสมาบัตินั้น ต้องพยายามเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาโดยลำดับขึ้นมาจึงสามารถเข้านิโรรสมาบัติได้ ฉะนั้น นิโรรสมาบัตินี้จึงถือว่าเป็นนิปผันนะ แปลว่าสำเร็จ ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส ว่า
"สงฺขตาติปี อสงฺขตาติปี โลกียาติปี โลกุตฺตราติปี น วตฺตพฺพา ตสฺมา สภาวโต นตฺถิตาย ยสฺมา ปน สา สมาปชฺชนฺตสฺส วเสน สมาปนฺนา นาม โหติ ตสฺมา นิปฺผนฺนาติ วตฺตํ วฏฺฏติ โน อนิปฺผนฺนา ฯ"
นิโรธสมาบัตินี้ไม่พึงกล่าวว่า เป็นสังขตะบ้าง อสังขตะบ้าง โลกียะบ้าง โลกุตตระบ้าง เพราะไม่มีสภาวะ แต่พระอริยบุคคลที่จะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องพยายามเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ ฉะนั้น นิโรธสมาบัติ นี้ จึงเรียกว่า "นิปผันนะ" มิใช่ "อนิปผันนะ"
เพราะเหตุที่นิโรธสมาบัติไม่มีสภาวะของตนเอง จะนั้น ภิกษุใดที่ไม่สามารถเข้านิโรธสมาบัติ แต่อวดอ้างว่าเข้าได้ ภิกษุนั้นมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ซึ่งผิดกับกรณีที่ภิกษุใดยังไม่บรรลุมรรค, ผล, นิพพาน แต่อวดอ้างว่าบรรลุแล้ว ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกโดยแน่นอน เพราะมรรค, ผล, นิพพานมีสภาวะ
อยเมตฺถ สมาปตฺติเภโท ฯ
สมาบัตติเภท ในกรรมฐานสังคหวิภาคนี้ จบเพียงเท่านี้
นิฏฺฐิโต จ วิปสฺสนากมฺมฏฺฐานนโย ฯ
วิปัสสนากรรมฐานนัยจบเพียงเท่านี้
----------///----------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ