สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
อจ.ครับ มีผู้สอบถามการเจริญสติปัฏฐานสงสัยว่า
1.อสัมโมหะสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสาตถกสัมปชัญญะเป็นเบื้องต้นได้ไหม .... ?
2.สาตถกสัมปัชชัญญะ ที่ทราบประโยชน์ที่เกี่ยวกับการทานอาหาร การเดิน การนั่ง การนอน การขับถ่าย เป็นต้น สาถกสัมปัชชัญญะเหล่านี้ต้องล้วนมาจากเหตุคือโยนิโสมนสิการในคราวที่จะทำกิจนั้นๆ กล่าวคือใส่ใจทุกข์นั้น...คำถามคือ นอกจากการใส่ใจทุกข์แล้ว....จะมีเหตุอื่นอีกไหมที่เป็นเหตุให้สาตถกสัมปชัญญะเกิดได้อีก ..?
3.การเจริญสติปัฏฐานโดยที่กำหนดแต่ละนามแต่ละรูป โดยให้เหตุผลว่าเป็นการอบรบอสัมโมหะสัมปชัญญะ แต่ไม่มีการใส่ใจทุกข์ในคราวที่จะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ..จะส่งผลให้เกิดการทำลายฆนะสัญญาได้ไหม..?
ขอบพระคุณมากครับ
เพื่อความสะดวกและไม่สับสนในการเจริญวิปัสสนาผู้ปฏิบัติพึงรอบรู้ธรรมเหล่านี้
ธรรมที่พึงใคร่ครวญพิจารณาเนืองๆ ก็คือ วิปัสสนาภูมิ ๖ (ที่เกิดวิปัสสนา ๖ แหล่ง) เพื่อให้เกิดวิปัสสนาคล่องตัว ไม่สับสน เป็นต้นว่า รู้ว่าสติพึงทำกิจระลึก หรือกิจกำหนด, ความรอบคอบ(สัมปชัญญะ) ๔ ประการนั้น คู่ไหนพึงทำกิจจัดการความเสียหาย(สาตถกสัมปชัญญะ+สัปปายสัมปชัญญะ) คู่ไหนพึงทำกิจบริหารความผิดพลาด (โคจรสัมปชัญญะ+อสัมโมหสัมปชัญญะ) อะไรเล่า เป็นสิ่งปิดบังไตรลักษณ์?
อุบายวิธีที่จะขจัดทำลายสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์นั้น เป็นอย่างไร?
ก็นามและรูปย่อมมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมดับไป ตามเหตุปัจจัย เป็นธรรมดา แต่ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีปกติไม่เห็นไตรลักษณ์ ก็เพราะมีสิ่งปิดบังไว้ ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติไม่รู้จักสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ และอุบายวิธีที่จะขจัดทำลายสิ่งที่ปิดบังนั้น โอกาสที่จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์นั้นย่อมไม่มีเลย แม้จะปรารภความเพียรมากมายเพียงไรก็ตาม และก็ไม่ใช่สักแต่ว่า นึกเอา คิดเอา ว่าเอาว่า ไม่เที่ยงหนอ เป็นทุกข์หนอ ไม่ใช่สัตวบุคคลเราเขาหนอ ต้องเห็นประจักษ์ มีสภาวธรรมรองรับ กิเลสถึงจะสะดุ้งสะเทือนสำรอกได้ ดังอุบายวิธีการที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า " อนิจฺจลกฺขณํ ตาว อุทยพฺพยานํ อมนสิการา สนฺตติยา ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ. ทุกขลกฺขณํ อภิณฺหสมฺปติปีฬนสฺส อมนสิการา อิริยาปเถหิ ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ. อนตฺตลกฺขณํ นานาธาตุวินิพฺโภคสฺส อมนสิการา ฆเนน ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ." แปลว่า
" ก่อนอื่น อนิจจลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะถูกสันตติ(ความสือต่อ)ปิดบังไว้ เหตุเพราะไม่ใส่ใจ ความเกิดขึ้นและดับไป. ทุกขลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะถูกอิริยาบททั้งหลายปิดบังไว้ เหตุเพราะไม่ใส่ใจขณะความบีบคั้นเนื่องๆนั้น. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะถูกฆนะ(ความเป็นกลุ่มก้อน)ปิดบังไว้ เหตุเพราะไม่ใส่ใจการกระจายธาตุๆแล."(วิสุทธิมรรค 3/275) สาระจากสภาพความเป็นกลุ่มก้อน(ฆนะ)ทั้ง 4 ประการ ที่ปิดบังอนัตตลักษณะสำคัญเป็นไฉน?
ธรรมะมีทั้งปวัตตินัย(นัยความเป็นไปของสภาวธรรม) และทั้งปฏิบัตินัย(นัยการปฏิบัติ) ซึ่งทั้งสองนัยต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือถ้าไม่รู้ปวัตตินัยอย่างละเอียดทั่วถึง ปฏิบัตินัยก็ผิดได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าไม่รู้ปฏิบัตินัยอย่างละเอียดทั่วถึง ปวัตตินัยก็ผิดได้ เช่นเพื่อนสหธรรมิกบางท่านถือเอาแต่รูป 28 เท่านั้น โดยไม่เหลียวแลสภาพความเป็นก้อนประเภท " กิจจฆนะ " (คือสภาพความเป็นกลุ่มก้อนที่นามธรรมมีจิตเป็นต้น และรูปธรรมมีธาตุสี่เป็นต้น ประสานเนื่องกัน เช่น การยืน การนั่ง การนอน อันเป็นจิตตชรูปก็จะมีธาตุหนัก คือ ธาตุดินและธาตุน้ำเป็นประธาน ส่วนการเดิน การเหยียด การคู้อันเป็นจิตตชรูป ก็จะมีธาตุเบา คือ ธาตุลมและธาตุไฟเป็นประธาน) อันเป็นปวัตตินัยก็จะปฏิเสธว่า การกำหนดรูปอิริยาบถสี่ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่มี แล้วก็แถไปว่า มีแต่การกำหนดธาตุสี่ ทั้งที่มีทั้งสองบรรพ(ข้อ) ผู้เป็นอาจารย์เช่นนี้ ในคัมภีร์นิสสยะ อักษรธรรมล้านช้างกล่าวติงว่าเป็นเหมือนหมอไม่รอบรู้โรคทุกโรค(=ไม่รู้ทั่วถึงบรรพทั้งหมดในสติปัฏฐาน) ใช่แต่เท่านั้นการไม่รอบรู้สภาพความเป็นกลุ่มก้อนทั้งสี่ ก็ไม่ต่างไปจากหมอที่ไม่รอบรู้คุณสมบัติของยา เช่นว่า
สมูหฆนะ ใช้ขณะกำหนดแยกรูปนาม เพื่อกำจัดอัตตวิปปัลลาส อันเป็นเหตุให้เกิดอัตตานุทิฏฐิ
อารัมมณฆนะ ใช้ขณะแยกนามขันธ์ที่มีอารมณ์เดียวกัน เพื่อจำกัดสุภวิปปัลลาส อันเป็นเหตุให้เกิดอัสมิมานะ
กิจจฆนะ ใช้ขณะแจกรูปอิริยาบถ เพื่อจำกัดสุขวิปปลาส อันเป็นเหตุให้สำคัญว่าอิริยาบถใหม่เป็นสุขอยู่ร่ำไป
สันตติฆนะ ใช้เป็นเหตุให้รู้ว่า สติสัมปชัญญะเจริญงอกงาม รู้เท่าทันความสืบต่อของสภาวธรรม ด้วยการเห็นการเกิดดับฉับพลันทันทีไม่มีระหว่างคั่น ที่เรียกว่าเห็นแบบสันตติขาดนั่นเอง อันจะมีสภาวธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปปัญจธรรม(ธรรมอันเป็นเหตุ ให้เนิ้นช้าในวัฏฏทุกข์) มีสามประการ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ รองรับให้รอบรู้เห็นประจักษ์ได้ เช่น
รอบรู้ว่า " โก คจฺฉติ (ใครเดิน) " ก็มีรูปเดินรองรับ ไม่ใช่เราเดิน ทำลายความเห็นผิดว่าเราเดิน
รอบรู้ว่า " กสฺส คมนํ (การเดินเป็นของใคร) " การเดินเป็นของรูป ก็จะทำลาย มานะ คือ
การถือตัวว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
รอบรู้ว่า " กึ การณา คจฺฉติ(เพราะเหตุใรจึงเดิน) เพราะทุกข์บังคับ ก็จะทำลายตัณหาได้แล
เพื่อประโยชน์แก่การทำวัฏฏทุกข์ให้สิ้นไป ให้สั้นลง ควรหรือไ่ม่หนอ ที่เพื่อนสหธรรมิกพึงศึกษาทั้งปวัตตินัยและทั้งปฏิบัตินัยให้รอบรู้จริงๆครับ(คัมภีร์นิสสยะ อักษรปัลลวะ อักษรสิงหล อักษรธรรมล้านช้าง)
จตุปาริสุทธิศีล อาศัยการสำรวมเป็นปกติวิสัยในขณะเจริญกรรมฐาน ศีลจึงมีได้ 4 อย่าง คือ
1.ปาติโมกขสังวรศีล คือ ศีลที่เป็นไปทางทวารกรรม เพื่อป้องกันความเสียหายจากความประพฤติ(อาจาระ)ทั้งทางกาย(อนาจาระทางกาย=ความประพฤติไม่ชอบทางกาย) ทั้งทางวาจา(อนจารทางวาจา=ความประพฤติไม่ชอบทางวาจา) ส่วนทางใจก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากโคจรอันมีสถานภาพ 3 อย่าง คือ
1) มีสถานภาพเป็นสถานที่สัญจรไป เพื่อการบิณฑบาตเป็นต้น
2) มีสถานภาพเป็นบุคคลที่สัญจรไป เพื่อการคบหา คือ บุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร
3) มีสถานภาพเป็นอารมณ์ที่ใช้ซ่องเสพ เพื่อการเจริญสติสัมปชัญญะ
(องค์ธรรมก็คือสติที่ป้องกันความเสียหายและความผิดพลาดทางทวารกรรม ส่วนศรัทธาเป็นเหตุให้สำเร็จ)
2.อินทรีย์สังวรศีล คือศีลที่เป็นไปทางทวารอินทรีย์ เพื่อปิดกั้นไม่ให้กิเลสไหลเข้ารั่วรดจิตใจ
(องค์ธรรมก็คือสติที่ปิดกั้นกิเลสทางทวารอินทรีย์)
3.อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ศีลที่บริสุทธิ์หมดจด ขณะแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีพ
(องค์ธรรมก็คือวิริยะที่ชอบธรรม)
ปัจจยสันนิสิตศีล คือ ศีลที่เป็นไปขณะบริโภคใช้สอยปัจจัย(องค์ธรรมก็คือปัญญา)
ลำดับญาณที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร(ญาณ ๑๖) รู้ได้อย่างไรว่าลำดับญาณนั้นและสภาพญาณนั้นๆถูกต้องตามหลักวืสุทธิ ๗
วิปัสสนาภูมิ ๖ มี ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ อริยสัจ ๔ ในที่นี้ผู้ถาม ถามเกี่ยวกับอริยบถพรรพ จึงขอเน้นอธิบายรูปขันให้ละเอียดดังนี่
รูปขันธ์ คำว่า “ขันธ์” แปลว่า กอง, หมวด, กลุ่ม, ประชุม มี ๕ คือ รูปขันธ์ (กอง รูป) เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) สังขารขันธ์ (กองสังขาร) และวิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)
-ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วจะมีสักกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต่างมีลักษณะย่อยยับทําลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัจจัยมีความเย็น ความร้อน เป็นต้น ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่มีอันต้อง ย่อยยับไปเพราะปัจจัยอันนี้ รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า “รูปขันธ์ - กองรูป” ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และรูปที่เหลืออันอาศัยอยู่กับมหาภูตรูปเหล่านี้ มีสี กลิ่น รส เป็นต้น สำหรับในสิ่งที่มีชีวิต ย่อมประชุมกันอยู่เป็นร่างกาย ปรากฏเป็นอวัยวะใหญ่น้อยของสัตว์ทั้งหลาย สำหรับในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมประชุมกันอยู่ ปรากฏเป็นภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน เป็นต้น
- ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วจะมีสักกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต่างก็มีลักษณะเสวยอารมณ์ ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่เสวยอารมณ์อันนี้ รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า “เวทนาขันธ์ - กองเวทนา” ได้แก่ ความรู้สึกเป็นสุขในเวลาที่ได้อิฏฐารมณ์คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนา ความรู้สึกเป็นทุกข์ในเวลาที่ได้อนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ ไม่ปรารถนา และความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขในเวลาที่ได้อารมณ์ปานกลาง
-ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วจะมีสักกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต่างก็มีลักษณะจำอารมณ์ ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่จำ อารมณ์อันนี้ รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า “สัญญาขันธ์-กอง¹สัญญา” ได้แก่ ความจำได้หมายรู้ต่างๆ คือ จำสัณฐาน ๓ เหลี่ยม ๔ เหลี่ยม เป็นต้น ได้ สีต่าง ๆ มีสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น ได้ จำชื่อต่าง ๆ ได้ เป็นต้น และในขณะเดียวกัน ก็หมายรู้คือกระทำประการที่แตกต่างกันในอารมณ์ ที่ได้เห็น แล้ว ที่ได้ยินแล้ว เป็นต้นนั้น ให้เป็นเครื่องหมายไว้เพื่อประโยชน์แก่การจำได้อีก ในภายหลัง
-ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วจะมีสักกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต่างก็มีลักษณะปรุงแต่งธรรมทั้งหลายประเภทที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ที่เรียกว่า สังขตธรรม ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน คือภาวะที่ปรุงแต่งสังขตธรรมอันนี้ รวมธรรมชาติอันนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า “สังขารขันธ์ - กองสังขาร" ได้แก่ นามธรรมพวกหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับจิต ยกเว้นเวทนาและสัญญาเสีย ก็ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เมตตา กรุณา สติ ปัญญา เป็นต้น ซึ่งปรุงแต่งจิตให้ มีประการผิดแปลกแตกต่างกันไป (ก็คำว่า “สังขอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร” ก็หมาย เอากรรมดีกรรมชั่ว หากมาในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ก็หมายเอา สิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นทั้งหมด หรือขันธ์ทั้ง ๕ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใคร่ในการ ศึกษาพึงกําหนดแยกแยะให้ดี)
-ธรรมชาติพวกหนึ่ง รวมแล้วจะมีสักกี่อย่างก็ตาม แต่ทว่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต่างก็มีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ คือ คิด รับรู้ รับทราบอารมณ์ต่าง ๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรม ทรงอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน กล่าวคือ ภาวะที่ รู้แจ้งอารมณ์อันนี้ รวมธรรมชาติพวกนี้เข้าด้วยกัน แล้วตรัสเรียกว่า “ วิญญาณ ขันธ์ - กองวิญญาณ” ได้แก่ วิญญาณ ๖ คือ จักขุวิญญาณ - การเห็น, โสตวิญญาณ-การได้ยิน, ฆานวิญญาณ-การรู้กลิ่น, ชิวหาวิญญาณ-การรู้รส, กายวิญญาณ-ความรู้สึกอารมณ์ที่มากระทบกาย, มโนวิญญาณ-ความรู่สึกนึกคิดต่างๆ วิญญาณ ๖ นี้ ก็ได้แก่จิตของสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง
เพราะท่านกล่าวว่า " วิญฺญาณํ จิตฺตํ มโนติ อตฺถโต เอกํ " แปลว่า คำว่า วิญญาณ จิต มโน ว่าโดยสภาวะ ก็เป็นอันเดียวกัน " (วิสุทธิมรรค ๓/๒๓)
ขันธ์ทั้ง ๕ ตามประการที่กล่าวมานี้เอง เมื่อเป็นไปกับอาสวกิเลส เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานคือความยึดมั่น มีความยึดมั่นว่า “เรา” ว่า “ของเรา” เป็นต้น หรือ เป็นที่ยึดมั่นแห่งกิเลส จึงเรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า “กตเม จ ภิกฺขเว ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา. ยงกิญจิ ภิกฺขเว รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ฯเปฯ อยํ วุจฺจติ วิญญาณูปาทานกฺขนฺโธ. อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา " แปลว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต หรือรูปใดที่ไกลหรือใกล้ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา). สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ อัน เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานฃันธ์คือสัญญา). สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ อันเป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” ดังนี้.
(สํ.ขนฺธ.๑๗/๕๘)
เพราะเหตุที่อุปาทานขันธ์ ๕ ดังกล่าวมานี้ เป็นผู้เกิด เป็นผู้แก่ เป็นผู้ตาย คือเป็นตัวทุกข์ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง พระบรมศาสดาจึงทรงสรุปทุกข์ทั้งหมดไว้ใน อุปาทานขันธ์ ๕ ว่า “สงฺขิตเตน ปญฺจุปาทานขนฺธา ทุกขา - โดยสังเขป (คือ สรุปหรือย่อ) อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ” ดังนี้.(สํ.มหา.๑๙/๕๑๙)
ก็ในการแจกแสดงอริยสัจข้อที่ ๑ คือทุกขอริยสัจ พระองค์ทรงยกชาติ คือความเกิด ขึ้นแสดงก่อนเป็นอันดับแรก ด้วยทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ทุกข์ ทั้งหลาย มีชรา - ความแก่ เป็นต้นนั้น มีชาติเป็นเบื้องต้น ไหลมาแต่ชาติ, ทรง ยกอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในที่สุด ด้วยทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ทุกข์ทั้งหมด มี ชาติเป็นต้น ที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงความเป็นไปของอุปาทานขันธ์ ๕ สมจริงดัง ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า “อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปี ทุกขํ อปฺปิเยหิ สมฺฺปโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปี ทุกขํ สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานขนฺธา ทุกขา ) แปลว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แล ชื่อว่าทุกขอริยสัจ คือสภาวะที่บีบคั้นอันเป็น ความจริงที่พระอริยเจ้าตรัสรู้ ได้แก่ แม้ ชาติ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ ชรา ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ พยาธิ ความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็เป็นทุกข์ แม้ มรณะ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่เกลียด ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ แม้ ข้อที่เมื่อปรารถนาอันใดก็ไม่ได้ตามปรารถนา แม้ นั้น ก็เป็นทุกข์ ว่าโดยสังเขป อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ” ดังนี้
หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร อุปาทานขันธ์ ๕ ที่สมมติว่าคน ว่าสัตว์ นี้ จึงมีความเกิด ความแก่ และความตาย ก็ อาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความดับไปในที่สุด กล่าว คือ ปัจจัยอดีตมีอวิชชาคือความไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อุปาทาน ควรมีคำตอบอย่างนี้ว่า : อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า เป็นสิ่งมีความเกิด ความแก่ และความตาย ก็เพราะอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเป็นไป หมายความว่า มิได้เป็นไปได้เองตามลำพัง หรือว่ามีพระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร พระเจ้า เป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น ที่แท้แล้วอาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความดับไปในที่สุค กล่าวคือ ปัจจัยอดีตมีอวิชชาคือไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อุปาทานคือความยึดมั่น กรรมคือกุศลอกุศลที่ได้ทำไว้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้อุปาทานขันธ์เกิดขึ้น ก็ความเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวปฏิสนธิ เรียกว่า ชาติ นับว่าเป็นการเริ่มได้อัตภาพของสัตว์ หลังจากนั้น อุปาทานขันธ์ที่เนื่องในอัตภาพนั้นนั่นแหลละ ได้ปัจจัยปัจจุบัน มีอาหารเป็นต้น เข้าไปอุปถัมภ์ค้ำจุนไว้ ก็ตั้งอยู่ได้เรื่อยไป โดยค่อยๆเจริญวัยไปตามลำดับ อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายก็ค่อยปรากฏชัดขึ้น อัตภาพค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป จากอัตภาพเด็กเป็นอัตภาพผู้ใหญ่ จนกระทั่งถึงความแก่แก่หง่อม ปรากฏภาวะฟันหลุดบ้าง ผมหงอกบ้าง ผิวหนังเหี่ยวย่นบ้าง วาระนี้ เรียกว่า ชรา ต่อมา ปัจจัยทั้งหลาย ทั้งอดีตทั้งปัจจุบัน แม้มีอยู่ก็อ่อนกำลังไปบ้างจีงหมดความสามารถในอันค้ำจุนอุปาทานขันธ์ในอัตภาพเดียวกันนั้น ให้ทรงอยู่ต่อไปได้อีก อุปาทานขันธ์อันนั้น ก็ถึงคราวสิ้นสุดลง วาระนี้ เรียกว่า มรณะคือความ ยึดมั่น กรรมคือกุศลอกุศลที่ได้ทำไว้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้อุปาทานขันธ์เกิดขึ้น ก็ความเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวปฏิสนธิ เรียกว่า ชาติ นับว่าเป็นการเริ่มได้ อัตภาพของสัตว์ หลังจากนั้น อุปาทานขันธ์ที่เนื่องในอัตภาพนั้นนั่นแหละ ได้ ปัจจัยปัจจุบัน มีอาหารเป็นต้น เข้าไปอุปถัมภ์ค้ำจุนไว้ ก็ตั้งอยู่ได้เรื่อย ๆ ไป โดยค่อยๆ เจริญวัยไปตามลำดับ อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายก็ค่อยปรากฏชัดขึ้น อัตภาพค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป จากอัตภาพเด็กเป็นอัตภาพผู้ใหญ่ จนกระทั่ง ถึงความแก่หง่อม ปรากฏภาวะฟันหลุดบ้าง ผมหงอกบ้าง ผิวหนังเหี่ยวย่นบ้าง วาระนี้เรียกว่า ชรา ต่อมา ปัจจัยทั้งหลาย ทั้งอดีตทั้งปัจจุบัน แม้มีอยู่ ก็อ่อน กำลังไปบ้าง บกพร่องไปบ้าง จึงหมดความสามารถในอันค้ำจุนอุปาทานขันธ์ใน อัตภาพเดียวกันนั้น ให้ทรงอยู่ต่อไปได้อีก อุปาทานขันธ์อันนั้น ก็ถึงความสิ้นสุด ลง วาระนี้ เรียกว่า มรณะ
หากว่าในระหว่างที่ดำรงอัตภาพนี้อยู่ สัตว์ทั้งหลายยังถอนปัจจัยมีอวิชชา เป็นต้นมิได้ เพราะเหตุที่ยังมิได้อบรมมรรคจนบรรลุความเป็นพระอรหันต์ หรือว่า ยังก่ออยู่ ยังสั่งสมอยู่ ปัจจัยเหล่านี้ก็ย่อมทำอุปาทานขันธ์ ๕ ให้บังเกิดอีกใน อนาคต เมื่อมีอุปาทานขันธ์ ๕ อีก ก็ย่อมมีชาติ ชรา มรณะ ต่อไปอีก ไม่มีที่ สิ้นสุดอย่างนี้ อุปาทานขันธ์ ๕ จึงชื่อว่า เป็นสิ่งที่มีความเกิด ความแก่ และ ความตาย ตามประการที่กล่าวมานี้แล อนึ่ง ระหว่างที่อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่า นี้กำลังเป็นไปอยู่นั่นเอง อุปาทานขันธ์ฝ่ายนามได้ปัจจัยพิเศษที่เป็นของตน ของตน เข้า ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นทุกข์นั้น ๆ ตามอาการที่แสดงออกมาอย่างนั้นๆ กล่าวคือ ได้อนิฏฐารมณ์เป็นปัจจัย ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย ก็นับว่า เป็นพยาธิทุกข์ คือความเจ็บไข้ได้ป่วย หากเกิดขึ้นทางใจ ก็นับว่าเป็นอัปปิเยหิ สัมปโยคทุกข์ คือความประจวบกับสิ่งที่เกลียด อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งจะนับว่าเป็น ทุกข์อะไรนั่น ก็แล้วแต่อาการที่แสดงออกของทุกขเวทนานั้น เป็นอันว่า พอมี อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไป ก็มีทุกข์เกิดขึ้นได้บริบูรณ์ อย่างนี้
อนึ่ง การที่อัตภาพค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการเจริญวัยตามลำดับ ค่อย ๆ ละจากอัตภาพเด็ก เจริญไปจนกระทั่งปรากฏเป็นอัตภาพผู้ใหญ่ ไม่ใช่ ละจากอัตภาพเด็ก ปรากฏเป็นอัตภาพผู้ใหญ่ฉับพลันทันทีนี่เอง เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่า อุปาทานขันธ์ที่นับเนื่องอยู่ในอัตภาพนั้น มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ก็การเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญวัยอันนี้ จึงมีได้เพราะความที่อุปาทานขันธ์ทั้ง หลายมีความเกิดขึ้นดับไปอยู่ตลอดเวลา แม้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเที่ยว หากไม่มีความเกิดขึ้นและดับไปนี้ไซร้ จะมีความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ไฉน ขยายความว่า อุปาทานขันธ์อันเป็นของเก่าเกิดขึ้นแล้วดับไป มีของใหม่เกิดขึ้นมาสืบต่อของเก่า ที่ดับไปนั้น เป็นอย่างนี้ทุก ๆ ขณะสืบต่อกันไป จนกว่าจะหมดเหตุหมดปัจจัย จึงจะหยุดความสืบต่อ ขันธ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ หามีอายุยืนนานไปจนถึงวันพรุ่งนี้ไม่ ย่อมดับไปหมดในวันนี้นั่นแหละ อย่าว่าแต่จะยั่งยืนไปจนถึงวันพรุ่งนี้เลย แม้ที่ เกิดขึ้นเมื่อครู่นี้ก็ดับไปหมดแล้ว ไม่ตั้งอยู่จนถึงบัดเดี๋ยวนี้ สิ่งที่มีอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้ ล้วนเป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นสืบต่อของเก่าที่ดับไปก่อนเท่านั้น เพราะมีความเกิดขึ้น แล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป สืบต่ออย่างนี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ของใหม่ ที่เกิดขึ้นมาสืบต่อของเก่า ค่อยแปรสภาพไปตามลำดับ ตามสมควรแก่ปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนี้ อัตภาพของคนเราจึงมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ทุกขณะไปทีเดียว ทีละเล็กละน้อย จนกระทั่งปรากฏชัด คือเปลี่ยน จากอัตภาพเด็กเป็นอัตภาพหนุ่มสาว จากอัตภาพหนุ่มสาวเป็นอัตภาพแก่ชรา และในที่สุดก็สิ้นชีวิตตายไป
ที่กล่าวมานี้ กล่าวหมายเอารูปขันธ์เป็นสำคัญ พึงทราบว่า ขันธ์อื่น มี เวทนาขันธ์เป็นต้น ก็เป็นไปอาศัยปัจจัยของตนของตนอย่างนั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นปัจจัยพิเศษเฉพาะของนามขันธ์ทั้ง ๔ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น เมื่อเป็นของที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็ย่อมเป็นของดับไปเป็นธรรมดา มีอันเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป สืบต่อกันไปเช่นเดียวกับรูปขันธ์ แต่รวดเร็วกว่ารูปขันธ์ เพราะนามเป็นของเบากว่ารูป
ก็ความเกิดขึ้นแล้วดับไปสืบต่อกันไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เป็นไปรวดเร็วนัก จึงลึกซึ้งเห็นได้ยาก เพราะเหตุนั้นนั่นเอง สัตว์ทั้งหลายผู้ที่ยังมิได้อบรมปัญญาเห็นความเกิดขึ้นดับไปอันนี้ จึงสำคัญอุปาทานขันธ์ที่ยังทรงอยู่นี้ว่าเป็นของ เที่ยง จะเกิดความเห็นว่าไม่เที่ยงบ้าง ก็เกี่ยวกับความสิ้นสุดไปในเวลาตายเท่านั้น เพราะสำคัญว่าเที่ยงนั่นเอง จึงถือเอาโดยความเป็นสาระว่า เป็นสุขบ้าง ว่าเป็น อัตตาบ้าง ส่วนผู้ที่มีการอบรมปัญญา จนเกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นอุปาทาน ขันธ์ ๕ ว่ามีอันเกิดขึ้นแล้วดับไปในที่สุด ย่อมละความสำคัญว่าเที่ยงได้ เห็นอยู่แต่ว่ามันเป็นของไม่เที่ยง คือเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในที่สุดนั่นเอง เห็นสิ่งใดว่าไม่ เที่ยง ย่อมไม่เล็งเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นสุข ย่อมเห็นว่าเป็นทุกข์เท่านั้น และไม่เล็งเห็น ว่าเป็นอัตตา ย่อมเห็นว่าเป็นอนัตตาเท่านั้น
เพราะฉะนั้น เท่าที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ทีเดียวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้ ชื่อว่าเป็นทุกข์โดย ๒ ประการ คือ เพราะเป็นผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย โดยการกำหนดด้วยภพหนึ่งๆ ประการหนึ่ง เพราะมีความเกิดขึ้นดับไปอยู่ตลอดเวลา ในเวลาที่ กำลังเป็นไปนั่นแหละ กล่าวคือ เป็นของไม่เที่ยงนั้นประการหนึ่ง ฉะนี้แล
อนึ่ง อาจย่ออุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ได้เป็น ๒ อย่างเท่านั้น คือ รูปขันธ์ และ นามขันธ์
-รูปขันธ์ ก็ได้แก่ รูปขันธ์ตามที่ได้กล่าวแล้วนั่นเอง
- นามขันธ์ ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่เหลือ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น จริงอยู่ ขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้น ท่านเรียกว่า “นาม” เพราะมีความหมายว่า “น้อมไป” กล่าวคือ รู้อารมณ์ได้นั่นเอง คำว่า “รู้” ในที่นี้ หมายถึง รู้ รับรู้ รับทราบ รู้สึก นึกคิด แจ้ง เข้าใจ ฯลฯ พูดง่ายๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติฝ่ายรู้สึกนึกคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่หมด ไป สิ้นไป ไม่มีอยู่ในร่างของคนที่ตายแล้ว มีแก่สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะฉะนั้น ว่าอย่างย่อที่สุด นามและรูปเท่านั้นเอง ที่เป็นตัวทุกข์ ที่เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งหลาย.
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ