๑๒. สังขารุเปกขาญาณ (๕)


พิจารณารูปนามเป็นทุกข์

ลักษณะอาการของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีอยู่อีกมาก แต่จะได้อธิบายรวมกันเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

      ๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้วเป็นทุกข์ความอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๓. ปัญญาพิจารณาเห็น สังขารนิมิตคือความเป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะอนัตตลักษณะ ของรูปนามทั้งหมดเป็นทุกข์ จยากหลุดพันตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๔. ปัญญาพิจารณาเห็น กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ถือปฏิสนธิอีกเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๕. ปัญญาพิจารณาเห็น การถือปฏิสนธิคือเกิดขึ้นมาอีก เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตามมี ทุคคติ สุคติ เป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๗. ปัญญาพิจารณาเห็น ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๘. ปัญญาพิจารณาเห็น ความอุบัติขึ้นของรูปนาม ได้แก่ความเป็นไปแห่งผลกรรมของรูปนามเป็นทุกข์ อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ

      ๙. ปัญญาพิจารณาเห็น ชาติ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๐. ปัญญาพิจารณาเห็น ชรา เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็น พยาธิ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๒. ปัญญาพิจารณาเห็น ความตาย เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังบารุเปกขาญาณ

      ๑๓. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเศร้าโศก เป็นทุกข์อยากหลุดพ้นตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๔. ปัญญาพิจารณาเห็น ความพิไรรำพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นทุกข์อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารูเปกขาญาณ

      ๑๕. ปัญญาพิจารณาเห็น ความกับแค้นใจ เป็นทุกข์อยากหลุดพัน ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

อาการดังพรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ ก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ และนอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ...


พิจารณารูปนามเป็นภัย

๑. ปัญญาพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่เกิดมาแล้ว เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๓. ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนิมิต คือความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ยั่งยืน ไม่สวยงาม ไม่ใช่ตัวตน เป็นภัยอยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๔. ปัญญาพิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้สรรพสัตว์ถือปฏิสนธิอีกเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๕. ปัญญาพิจารณาเห็นการถือปฏิสนธิเกิดขึ้นมาอีก เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติใดๆ ก็ตาม มี ทุคคติ สุคติ เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๘. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของรูปนามเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๙. ปัญญาที่พิจารณาเห็นดวามเกิดเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความแก่เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๑. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศกเป็นภัย อยากหลุดพัน ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความพิไรรำพันบ่นเพ้อร้องไห้เป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความกับแค้นใจเป็นภัย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยต่อรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

     อาการดังที่พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อก็จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ นอกจากนี้ยังมีอยู่อีกคือ-


พิจารณารูปนามแล้ววางเฉย

      ๑. ความเกิดขึ้น  เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๒. ความเป็นไปของรูปนาม เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็คื ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรมวางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณนิมิตทั้ง ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๔. อายูหนะ คือกรรมที่เป็นเหตุให้ปฏิสนธิอีกต่อไป เป็นสังขารทั้งหลายวางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสั่งขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารูเปกขาญาณ

      ๕. ปฏิสนธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสั่งขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๖. คติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขาสังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๗. นิพพัตติ ความบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นสังขารทั้งหลายวางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัคเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๘. อุปปัตติ ความเป็นไปแห่งวิบาก คือผลกรรมของสรรพสัตว์ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๙. ชาติ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขาสังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๐. ชรา เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขาสังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๑. พยาธิ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๒. มรณะ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสั่งขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๓. ความเศร้าโศก เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง 2 นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสั่งขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๔. ความพิไรรำพันบ่นเพ้อร้องไห้ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น เป็น อุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง ๒ นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๕. ความกับแค้นใจ เป็นสังขารทั้งหลาย วางเฉยต่อสังขารเหล่านั้น จัดเป็นอุเบกขา สังขารทั้งหลายก็ดี ตัวอุเบกขาก็ดี ทั้ง - นี้จัดเป็นสังขารธรรม วางเฉยต่อสั่งขารเหล่านั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      อาการดังบรรยายทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของสังขารุเปกขาญาณ


วิปัสสนาญาณ ๓ ที่เหมือนกัน

มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ปฏิสังขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ทั้ง ๓ อย่าง มีใจความเดียวกัน ต่างกันโดยพยัญชนะเท่านั้น

๑. ปพฺพภาเค นิพฺพิทาณาเณน นิพฺพินฺนสฺส อุปฺปาทีนิ ปริจฺจชิตุกามตา มุญฺจิตุกมฺยตา ฯ

      ในตอนต้นความอยากจะสละอาการ ๑๕ อย่าง มีอุปปาทะเป็นต้น มีละความผูกพัน ละความพอใจ ละความกำหนัดในรูปนามนั้น ด้วยนิพพิทาญาณ จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ

๒. มุญจนสฺส อุปายกรณตฺถํ มชฺเฌ ปฏิสงฺขานํ ปฏิสงฺขา ฯ ในตอนกลางการพิจารณาเพื่อหาอุบายปล่อยวางบ่อยๆ จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ

๓. มุญฺจิตฺวา อวสาเน อชฺฌุเปกฺขานํ สนฺติฏฺฐนา ฯ ในตอนอวสาน สละความอาลัย แล้ววางเฉยในรูปนาม จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      สรุปดวามสั้นๆ ดังนี้ อยากหลุดพ้นด้วยพิจารณาบ่อยๆ ด้วย วางเฉยด้วย จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ


ยอดของวิปัสสนา

ธรรมดาต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ต้องมียอดฉันใด วิปัสสนาก็ฉันนั้น ต้องมียอดเช่นกัน ยอดของวิปัสสนานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง

      ๑. สิกขาปัตตะ วิปัสสนาที่ถึงยอดถึงปลาย ถึงความสูงสุด ได้แก่สังขารุเปกขาญาณที่ครบองค์ ๖ เมื่อครบ ๖ แล้ว ผู้นั้นก็มีหวังจะได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน อย่างแน่นอน

      ๒. วุฏฐานคามินี วิปัสสนาที่ถึงการออกไป มีสืบต่อกันกับมรรด ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า มคฺเคน สทฺธึ ฆฏิยติ ฯ แปลว่า สืบต่อกันกับมรรคมรรค ชื่อว่า วุฏฐานะ เพราะออกจากวัตถุที่ยึดอันเป็นนิมิต ๒ ประการ

      ก. นิมิตฺตภูโต อภินิวิฏชวตฺถุโต ฯ ออกจากนิมิต ออกจากวัตถุที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา

      ข. อชฺฌตฺตปฺปวตฺตนโต ออกจากความเป็นไปแห่งมิจฉาทิฏฐิ ในภายในขันธสันดานของตน และออกจากกองกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้นเพราะเหตุทั้ง 2 ประการ วิปัสสนา จึงได้ชื่อว่า วุฏฐานคามินี ฯ


องค์ ๖ ประการของสังขารุเปกขาญาณ

      ๑. ภยญฺจ นนฺทิญฺจ วิปฺปหาย (วิสุทธิมรรค) ไม่มีความกลัว ไม่มีความยินดียินร้าย กำหนดได้สม่ำเสมอเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรคความขัดข้อง กำหนดได้ง่ายที่สุด

      ๒. เนว สุมโน โหติ น ทุมฺมโน อเปกฺขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน (วิภังคบาลี) ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี มีแต่สติสัมปชัญญะ กำหนดเฉยอยู่

      ๓. สพฺพสงฺขาเรสุ อุทาสิโน โหติ มชฺฌตฺโต (วิสุทธิมรรค) ผู้เป็นกลางวางเฉยอยู่ในสังขารทั้งปวง ไม่ถือเอาว่าเป็นเราเป็นของเรา เปรียบดังบุรุษที่หย่าขาดจากฎรรยา ฉะนั้น

      ๔. สนฺติฏฺฐนา ปญญา (ปฏิสัมภิทามรรค) ปล่อยวางแล้ววางเฉยได้ในที่สุดหรือสมาธิตั้งอยู่นาน กำหนดอยู่ได้นานๆ ไม่อยากลุกขึ้นเพราะใจสงบ ความฟุ้งซ่านไม่มีนิวรณธรรมก็ไม่รบกวน

      ๕. สปฺปคฺเค ปีฏฺฐํ วฏฺฏิยมานํ วิย (วิสุทธิมรรค) วิปัสสนาญาณนั้น เหมือนแป้งในกระด้งที่ถูกขยี้อยู่ เหมือนฝ่ายที่ปล้อน (เมล็ด) แล้วถูกชีอยู่ กำหนดสังขารทั้งหลายโดยประการต่างๆ จนละความกลัวและความยินดีได้แล้ว มีความเป็นกลางในการตรวจสอบสังขาร ตั้งอยู่ในอนุปัสสนา ๓

      ๖. ปฏิลียติ ปฏิกุฏติ ปฏิวฏฺฏติ น สมฺปสาริยติ (วิสุทธิมรรค) จิตใจของพระโยคีบุคคล ย่อมถอยย่อมหดย่อมกลับ ไม่เหยียดยืนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๘ หมายถึง จิตใจแคบเข้ามาคิดฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกน้อยที่สุด จนแทบจะไม่มีในขณะที่กำหนดอยู่ แม้อารมณ์ภายในก็ถอยลงมา เหมือนกับยางที่ยืดออกไปแล้วกลับหดเข้ามาฉะนั้น


วิธีออกจากความยึดมั่น ๑๘ นัย

      ๑. ยึดมั่นรูปนามภายในออกเพราะรูปนามภายใน เช่น บุคคลบางคน พิจารณารูปนามภายในแล้วพิจารณารูปนามภายนอก คือรูปนามของผู้อื่นกับสังขารที่ไม่มีใจครองเห็นชัดว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วกลับมาพิจารณารูปนามภายในมรรคก็จะเกิดขึ้น มีหลักฐานรับรองไว้ว่า ตสฺเสวํ สมฺมสโต อชฺฺฌตฺตํ สมฺมสนกาเล วิปสฺสนา มคฺเคน สทฺธึ ฆฏิยติ ฯ

      เมื่อโยคาวจรนั้นพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ในเวลาพิจารณารูปนามภายในวิปัสสนาก็สืบต่อกับมรรค หมายความว่า มรรคจะเกิดก็เพราะวิปัสสนา

      ๒. ยึดมั่นรูปนามภายในออกเพราะรูปนามภายนอก เช่น พิจารณารูปนามภายในบ้างพิจารณารูปนามภายนอกดังที่กล่าวมาแล้วนั้นบ้าง แต่เวลาพิจารณารูปนามภายนอกวิปัสสนาก็สืบต่อกับมรรคคือ มรรคเกิด ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า สเจ ปนสฺส พหิทฺธา สมฺมสนกาเล วิปสฺสนา มคฺเคน สทฺธึ ฆฏิยติ ฯ

      หากว่าโยคาวจรนั้นพิจารณารูปนามภายนอก วิปัสสนาก็สืบต่อกันกับมรรคตัวอย่างเช่นพระสารีบุตร ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิเพียงย่อๆ ว่า

      เย ธมฺมา เหตุปุปภวา     เตสํ เหตุํ ตถาคโต

      เตสญจ โย นิโรโธ         เอวํ วาที มหาสมโณ ฯ

      ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ มีเหตุเป็นแคนเกิด พระตถาคต ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และตรัสความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปรกติตรัสอย่างนี้

      พอฟังเท่านี้ ท่านก็สามารถเข้าใจได้ดีว่า :- ยงกิญจิ สมุทยธมมสพฺพนุตํ นิโรธธมฺมํ ฯ สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

      ถ้าพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วออกจากขันธ์  คือมรรคเกิดชื่อว่าออกจากขันธ์ ๕ โดยประหาณคราวเดียว

      ๓. พิจารณารูปนามภายนอกออกเพราะรูปนามภายนอก เช่น พิจารณารูปนามของคนอื่นและสังขารที่ไม่มีใจครองแล้วมรรคเกิด

      ๔. พิจารณารูปนามภายนอกออกจากรูปนามภายในเช่น พิจารณารูปนามของคนอื่น และสังขารที่ไม่มีใจครอง แล้วกลับมาพิจารณารูปนามภายในจึงได้บรรลุมรรค

      ๕. พิจารณารูปออกเพราะรูป เช่น พิจารณามหาภูตรูป อุปาหายรูปทำให้เป็นกองๆ แล้วพิจารณา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นแน่ชัดว่าไม่ใช่รูปเป็นแต่ นามเท่านั้น แล้วกลับมาพิจารณาอีก มรรถก็เกิดขึ้น ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า : "ตสฺเสวํ สมฺมสโต รูปสมฺมสนกาเล วิปสฺสนา มคฺเคน สทฺธึ มฏิยติ ฯ" เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ในเวลาพิจารณารูปวิปัสสนาก็สืบต่อกับมรรคคือ มรรคเกิด

      ๖. พิจารณารูปออกเพราะนาม เช่น พิจารณารูปพิจารณานาม ครั้นกลับมาพิจารณานาม มรรคก็เกิด ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า : "สเจ ปนสฺส อรูปสมฺมสนกาเล วิปสฺสนา มคฺเคน สทฺธึ ฆฎิยติ ฯ" หากว่านักปฏิบัตินั้นพิจารณารูปและนามอยู่ ครั้นกลับมาพิจารณานามวิปัสสนาก็เกิดสืบต่อกับมรรค

      ๗. พิจารณานามออกเพราะนาม เช่น พิจารณานามแล้วมรรคเกิด

      ๘. พิจารณานามออกเพราะรูป เช่น พิจารณานามขันธ์ ๔ แล้วพิจารณารูปมรรคเกิด

      ๙. พิจารณารูปออกเพราะรูปนามพร้อมกันเช่น พิจารณาว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา แล้วมรรคเกิด

      ๑๐. พิจารณาอนิจจังออกทางอนิจจัง เช่น เมื่อแรกพิจารณาอนิจจังก่อนต่อมาพิจารณาทุกขัง และอนัตตา เวลาจะออกจริงๆ เห็นอนิจจัง ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า "ตสฺเสวํ ปฏิปนฺนสฺส อนิจฺจโต สมฺมสนกาเล วุฏฺฐานํ โหติ ฯ" เมื่อนักปฏิบัติธรรมปฏิบัติอย่างนี้ เวลาพิจารณาโดยเป็นอนิจจัง ย่อมออกคือมรรคเกิด

      ๑๑. พิจารณาอนิจจังออกทางทุกขัง เช่น ครั้งแรกพิจารณาเห็นอนิจจังครั้นจะถึงมรรค เห็นทุกขัง พอเห็นทุกขัง มรรคเกิด

      ๑๒. พิจารณาอนิจจังออกทางอนัตตา เช่น ครั้งแรกพิจารณาอนิจจังก่อนต่อมาพิจารณาเห็นทุกขัง ครั้นจะถึงมรรด อนัตตาปรากฎแล้วมรรดเกิด คังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า "สเจ ปนสฺส ทุกฺขโต อนตฺตโต สมฺมสนกาเล วุฏฺฐานํ โหติ ฯ" หากว่านักปฏิบัติธรรมครั้งแรกพิจารณาเห็นอนิจจัง ต่อมาเห็นทุกขัง พอเห็นอนัตตา มรรคเกิด

      ๑๓. พิจารณาเห็นทุกขังออกทางทุกขัง เช่น เมื่อแรกพิจารณาเห็นทุกขังต่อมาเห็นอนิจจัง และอนัตตา ครั้นใกล้จะถึงมรรทุกขังก็ปรากฎชัด แล้วมรรคเกิด

      ๑๔. พิจารณาเห็นทุกขังออกทางอนิจจัง เช่น เบื้องแรกเห็นทุกขัง ต่อมาเห็นอนิจจังและอนัตตา ครั้นใกล้จะถึงมรรค อนิจจังปรากฎชัด แล้วมรรคเกิด

      ๑๕. พิจารณาเห็นทุกขังออกทางอนัตตา เช่น เบื้องแรกเห็นทุกขัง ต่อมาเห็นอนิจจังและอนัตตา เมื่อใกล้จะถึงมรรคอนัตตาปรากฏชัด แล้วมรรคเกิด

      ๑๖. พิจารณาเห็นอนัตตาออกทางอนัตตา เช่น เบื้องแรกเห็นอนัตตาต่อมาเห็นอนิจจังและทุกขัง ครั้นใกล้จะถึงมรรคอนัตตาปรากฏชัด แล้วมรรคเกิด

      ๑๗. พิจารณาเห็นอนัตตาออกทางทุกขัง เช่น เบื้องแรกเห็นอนัตตา ต่อมาเห็นอนิจจังและทุกขัง ครั้นใกล้จะถึงมรรคทุกขังปรากฎชัด แล้วมรรถเกิด

      ๑๘. พิจารณาเห็นอนัตตาออกทางอนิจจัง เช่น เบื้องแรกเนอนัตตา ต่อมาเห็นอนิจจังและทุกขังปรากฏ ครั้นใกล้จะถึงมรรคอนิจจังปรากฏชัด แล้วมรรดเกิดท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน ที่ได้ลงมือเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาอย่างถูกต้อง แล้วจะต้องมีสภาวะ มีอาการปรากฎดังกล่าวมานี้เหมือนๆ กัน บางท่านเห็นอนิจจังชัด บางท่านเห็นทุกขังชัด บางท่านเห็นอนัตตาชัด แล้วจึงบรรลุ มรรค ผลนิพพาน ผลของสังขารุเปกขาญาณ (อีกนัยหนึ่ง)สังขารุเปกขาญาณปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกขัง เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติวางเฉยต่อรูปนามเรียกว่า วิปัสสนาญาณที่แก่กล้าถึงความเป็นยอดคือ สูงสุดเรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แปลว่าวิปัสสนาที่ถึงการออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ด้วยอำนาจแห่งมรรค ดังที่ได้บรรยายมาแล้วสรุปผลได้ ๔ ดังนี้

      ๑. ผู้ที่เห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในเบื้องต้นแต่เวลาถึงมรรคก็เห็นอนิจจังชัด ผู้นั้นมากด้วยอธิโมกข์มีศรัทธามากได้สัทธินทรีย์ ย่อมหลุดพ้นคือถึงพระนิพพานด้วยอนิมิตวิโมกข์ เป็นสัทธานุสารีในขณะมรรคที่ ๑ คือโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธาวิมุตในฐานะ ๗ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลอนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และอรหัตตผล

      ๒. ถ้าออกทางทุกข์คือ เวลาถึงมรรคเห็นทุกข์ ผู้นั้นมากด้วยปัสสัทธิ คือความสงบ ได้สมาธินทรีย์ย่อมหลุดพ้นด้วย อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขีในที่ทุกแห่ง

      ๓. ถ้าผู้ใดเจริญสมถกรรมฐานจนได้อรูปฌานแล้ว เอาสมถะเป็นบาทของวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตมรรก อรหัตตผล ผู้นั้นเป็นอุกโตภาควิมุตในผลอันเลิศ คืออรหัตตผล

      ๔. ถ้าออกทางอนัตตาผู้นั้นมากด้วยเวทะคือ ความรู้ย่อมได้ปัญญินทรีย์ หลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์เป็นธัมมานุสารี ในขณะที่บรรลุโสดาปัตติมรรด เป็นทิฏฐิปัตตะ*ในฐานะ  คือ ในขณะโสคาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรคอนาคามิผล และอรหัตตมรรค เป็นปัญญาวิมุตในผลอันเลิศ คือ อรหัตตผลเพื่อให้วุฏฐานคามินีวิปัสสนานี้แจ่มแจ้ง พร้อมกับญาณต้นๆ คือ ภยญาณอาทีนวญาณ นิพพิหาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณออนุโลมญาณอและญาณหลังๆ มี โคตรภูญาณเป็นต้น พึงทราบอุปมา ๖ ข้อพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ :

      เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้อรหัตตมรรด ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตบุคคล (ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรก ข้อที่ ๔๙๕) 

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,สังขารุเปกขาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.