๑๒. สังขารุเปกขาญาณ (๔)


พระอริยะกับวิโมกข์

วิโมกข์ คือความหลุดพ้นเป็นชื่อขององค์ธรรมที่ถึงพระนิพพานมีอยู่ ๓ อย่าง

      ๑. อนิมิตตวิโมกข์

      ๒. อัปปณิหิตวิโมกข์

      ๓. สุญญตวิโมกข์

ที่ได้ชื่อเช่นนี้ เพราะอำนาจแห่งการเจริญวิปัสสนามาโดยลำดับๆ จนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

      ๑. ถ้าพิจารณาเห็นอนิจจัง มีศรัทธามาก ได้อนิมิตตวิโมกข์ คือมีอนิมิตตวิโมกข์เป็นอธิบดี ส่วนวิโมกข์ทั้ง ๒ ของภาวนาก็เป็นไปตามวิโมกข์ คือ เป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอันเดียวกัน จัดเป็นภาวนาเพราะอรรถว่า มีรสเหมือนกันในเวลาแทงตลอดอริยสัจ ๔ ก็มีรสเป็นอันเดียวกัน

      ๒. ถ้าพิจารณาเห็นทุกขัง มีปัสสัทธิมากได้อัปปณิหิตวิโมกข์คือ มีอัปปณิหิตวิโมกข์เป็นอธิบดี ส่วนวิโมกข์ทั้ง ๒ ของภาวนาก็เป็นไปตามวิโมกข์นี้คือเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอันเดียวกันจัดเป็นภาวนาเพราะอรรถว่า มีรสเหมือนกัน ในเวลาแทงตลอดอริยสัจ ๔ ก็มีรสเป็นอันเดียวกัน

      ๓. ถ้าพิจารณาเห็นอนัตตา มีปัญญามากได้สุญญตวิโมกข์คือ มีสุญญตวิโมกข์เป็นอธิบดี ส่วนวิโมกข์ทั้ง - ของภาวนาก็เป็นไปตามวิโมกข์นี้ คือเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอันเดียวกันจัดเป็นภาวนา เพราะอรรถว่ามีรสเหมือนกัน ในเวลาแทงตลอดอริยสัจ ๔ ก็มีรสเป็นอันเดียวกัน

      ถ้าผู้ใดปฏิบัติชอบปฏิบัติถูก ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้เจริญภาวนาสามารถยังวิโมกข์ทั้ง ๓ ให้เกิดขึ้นได้ ถ้าปฏิบัติผิดปฏิบัติไม่ถูก วิโมกข์ทั้ง ๓ จะไม่เกิดขึ้น

      ๑) ถ้าพิจารณาเห็นอนิจจัง จิตออกจากนิมิตมีธุวนิมิตเป็นต้น แล้วแล่นไปในอนิมิต คือนิพพานเรียกว่า หลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์

      ๒) ถ้าพิจารณาเห็นทุกขัง จิตออกจากปวัตตะคือรูปนามที่กำลังเกิดคับอยู่แล้วแล่นไปในอัปปวัตตะคือ นิพพาน เรียกว่า หลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์

      ๓) ถ้าพิจารณาเห็นอนัตตา จิตออกจากนิมิตและปวัตตะแล้วแล่นไปในอนิมิตและอัปปวัตตะ เรียกว่า หลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างๆ กันเพราะอาการ ๔ มี อธิบดี ตั้งมั่น อภินิหาร(ความน้อมจิตไป) นำออกจากวัฏฏะ ตัวอย่างเช่น

      เมื่อเห็นอนิจจัง อนิมิตตวิโมกข์เป็นอธิบดี จิตตั้งมั่นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ จิตมีอภินิหารค้วยอนิมิตตวิโมกข์ ก็นำไปสู่นิพพาน ด้วยอนิมิตตวิโมกข์ถ้าเห็นทุกขัง อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นอธิบดี จิตตั้งมั่นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์จิตมีอภินิหารด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ นำไปสู่นิพพาน ด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ถ้าเห็นอนัตตา สูญญตวิโมกข์เป็นอธิบดี จิตตั้งมั่นด้วยสุญญตวิโมกข์ จิตมีอกินิหารด้วยสุญญตวิโมกข์นำเข้าสู่นิพพาน ด้วยสุญญตวิโมกข์ อย่างนี้เรียก วิโมกข์ทั้ง ๓ มีในขณะต่างกัน เพราะอาการ ๔


ส่วนวิโมกข์ทั้ง ๓ มีในขณะเดียวกัน เพราะอาการ ๗ คือ

      ๑. เมื่อเห็นอนิจจัง จิตก็หลุดพ้นจากนิมิตชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ เมื่อพันจากนิมิดใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อจิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใดก็ว่างจากนิมิตนั้นชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ เมื่อว่างจากนิมิตใด นิมิตนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ทั้ง ๓ มีในขณะเดียวกัน เพราะอาการ ๗ ดังนี้ :

      ๑) เพราะการประชุมพร้อมกัน

      ๒) เพราะการบรรลุพร้อมกัน

      ๓) เพราะการได้มาพร้อมกัน

      ๔) เพราะการแทงตลอดพร้อมกัน

      ๕) เพราะการทำให้แจ้งพร้อมกัน

      ๖) เพราะการถูกต้องพร้อมกัน

      ๗) เพราะการตรัสรู้พร้อมกัน

      ๒. เมื่อเห็นทุกขัง จิตก็หลุดพ้นจากปณิธิชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่ตั้งอยู่ในปณิธิใดก็ว่างจากปณิธินั้น ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ว่างจากนิมิตใด นิมิตนั้นชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์วิโมกข์ทั้ง ๓ มีในขณะเดียวกัน เพราะอาการ  มี เพราะการประชุมพร้อมกัน เป็นต้น ดังบรรยายมาแล้วนั้น

      เมื่อเห็นอนัตตา ก็หลุดพ้นจากการยึดมั่นชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ว่างจากนิมิตใดนิมิตนั้น ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใคว่างจากนิมิตนั้นชื่อว่า สุญญตวิโมกข์วิโมกข์ทั้ง ๓ มีในขณะเดียวกันเพราะอาการ ๓ มี เพราะการประชุมพร้อมกัน เพราะบรรลุพร้อมกัน เป็นต้น ดังบรรยายมาแล้วนั้น


ลำดับวิปัสสนาญาณ ๓ มี ๑๕

มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ปฏิสังขาญาณ ๓ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ทั้ง ๓ ญาณ นี้โดยใจความเป็นอันเดียวกัน ดังที่ปรากฎอยู่ในปฏิสังภิทามรรค ถอดใจความได้ดังนี้

      ๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับของรูปนามแล้ว อยากหลุดพ้นจากรูปจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูความเกิดดับของรูปนาม จัดเป็นปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยต่อความเกิดคับของรูปนามจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๒. ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามที่กำลังเกิดดับอยู่ แล้วอยากหลุดพ้นจากรูปนาม จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามที่กำลังเกิดดับอยู่นั้น จัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามที่กำลังเกิดดับอยู่นั้นจัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ

      ๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นนิมิตคือ ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนเป็นต้น ของรูปนามทั้งปวง แล้วอยากหลุดพันจากรูปนามนั้นจัดเป็น มูญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็นปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นกรรมที่เป็นเหตุให้รูปนามเกิดอีกแล้วอยากหลุดพ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาคูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามปฏิสนธิ คือเห็นการเกิดขึ้นต่อไปอีกของรูปนาม แล้วอยากหลุดพันจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๖. ปัญญาพิจารณาเห็นคติของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๗. ปัญญาพิจารณาเห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย แล้วอยากหลุดพัน จัดเป็นบุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาคูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้น จัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๘. ปัญญาพิจารณาเห็นอุปปัตติ คือความเป็นไปแห่งวิบากของรูปนามที่กำลังเกิดดับอยู่ แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฎิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๙. ปัญญาพิจารณาเห็นชาติ คือความเกิดขึ้นของรูปนาม แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๐. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความชราของรูปนามนั้นแล้วอยากหลุดพ้นจัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๑. ปัญญาพิจารณาเห็นความเจ็บไข้ของรูปนามแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๒. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความตายของรูปนาม แล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาคูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๓. ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเศร้าโศก คือความเร่าร้อนแห่งใจเพราะประสบกับความเสื่อมญาติเสื่อมหรัพย์ ถูกโรคภัยเบียดเบียนอยากหลุดพ้น จัดเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๔. ปัญญาที่พิจารณาเห็นปริเทวะ คือความพิไรรำพันบ่นเพ้อไปต่างๆนานา เพราะประสบกับความเสื่อม & ประการ มีความเสื่อมญาติเป็นต้น แล้วอยากหลุดพ้นจัดเป็น บุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาคูรูปนามนั้นจัดเป็น ปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ

      ๑๕. ปัญญาที่พิจารณาเห็นอุปายาสะ คือความคับแค้นใจ เพราะได้ประสบกับความทุกข์แห่งใจขนาดหนัก เนื่องจากญาติตายบ้าง ทรัพย์สมบัติวิบัติไปบ้างถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนบ้าง เห็นผิดบ้าง ศีลวิบัติบ้าง องค์ธรรมได้แก่โทสะนั้นเองแล้วอยากหลุดพ้น จัดเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ ความตั้งใจพิจารณาดูรูปนามนั้นจัดเป็นปฏิสังขาญาณ ความวางเฉยในรูปนามนั้นจัดเป็น สังขารุเปกขาญาณ อาการที่ได้พรรณนาทั้ง ๑๕ ข้อ จัดเป็นลักษณะของญาณทั้ง ๓ แยกให้ละเอียดออกไปอีกเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและการปฏิบัติ

      ธรรมดานักปฏิบัติธรรมทุกๆ ท่านทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ทั้งในอดีตอนาคตปัจจุบัน จะต้องมีสภาวะอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติเกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ดุจน้ำทะเล อันธรรมดาน้ำทะเลจะอยู่ประเทศใดเมืองใดก็ต้องมีรสเค็มเหมือนกัน ฉะนั้นจะเป็นชนชาติใด ภาษาใดก็ตาม ถ้าได้เข้ามาปฏิบัติธรรมคือ วิปัสสนากรรมฐานนี้แล้วจะมีญาณต่างๆ เกิดขึ้นเหมือนๆ กันทั้งหมดนี้แหละ เป็นความอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนา

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,สังขารุเปกขาญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.