๓. สัมมสนญาณ

      ปัญญาที่เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นแก่บุดคลผู้ประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนา เรียกว่า "สัมมสนญาณ" 

      ท่านแสดงวจนัตถะไว้ว่า  "ขนฺธาทีนํ กลาปโต สมฺมสนวสปฺปวตฺตํ ญาณํ สมฺมสนญาณํ" แเปลว่า ญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นกลาปชื่อว่า สัมมสนญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตจิต

      ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาในสัมมสนญาณ ปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ในเบื้องต้นต้องทำความเพียรเกี่ยวกับการกำหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็นกอง (กลาปสัมมสนะ) ก่อน เมื่อวิปัสสนูปกิเลสมี โอภาส คือแสงสว่างเป็นต้น เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ก็แสดงว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิได้บังเกิดขึ้นแล้ว และกลาปสัมมสนญาณ จึงเป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณ 

      มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้เกิดขึ้นและเป็นไปในตีรณปริญญา ตีรณปริญญาจะบังเกิดขึ้นต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ จะต้องทำความเพียรเกี่ยวกับการกำหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็นกองเสียก่อน


โลกียปริญญา คือการกำหนครู้สภาพธรรมขึ้นโลกียะ มี ๓ อย่างคือ :

      ๑. ญาตปริญญา คือการกำหนดรู้ด้วยการรู้

      ๒. ตีรณปริญญา คือการกำหนดรู้ด้วยการไตร่ตรองใคร่ครวญ

      ๓. ปหานปริญญา คือการกำหนดรู้ด้วยการละ

      ปัญญาที่กำหนดลักษณะเฉพาะของธรรมทั้งหลาย เช่น รูป มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป, เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ชื่อว่า "ญาตปริญญา" 

      ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ คือการยกเอาธรรมทั้งหลายขึ้นสู่สามัญญลักษณะ เช่น รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ชื่อว่า "ตีรณปริญญา" 

      ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์และเป็นไปพร้อมกับการละวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา ความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้นในธรรมทั้งหลายได้ ชื่อว่า "ปหานปริญญา"


วิปัสสนาญาณในปริญญา

      ในปริญญาทั้ง ๓ อย่างนั้นตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ถึงนามรูปปัจจยปริคคหญาณเป็นภูมิของญาตปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดลักษณะเฉพาะตนของธรรมทั้งหลายเท่านั้น

      ตั้งแต่สัมมสนญาณจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นภูมิของตีรณปริญญา เพราะในระหว่างนี้เป็นการแทงตลอดสามัญญลักษณะโดยเฉพาะ

      ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาจนถึงอนุโลมญาณ เป็นภูมิของปหานปริญญาที่เป็นโลกียะหรือมรรคญาณที่เป็นโลกุตตระ เพราะในระหว่างนี้ (ภังคญาณ ถึงอนุโลมญาณที่เป็นโลกียปริญญา) เป็นการเกิดขึ้นของอนุปัสสนา ๗ อย่าง ซึ่งทำให้สำเร็จกิจ คือ ละความหมายรู้ต่างๆ มีความหมายรู้ว่าเที่ยง เป็นต้นอย่างนี้ว่า :

      ๑. เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยงก็ละความหมายรู้ว่าเที่ยง (อนิจจานุปัสสนา)

      ๒. เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ก็ละความหมายรู้ว่าเป็นสุข (ทุกขานุปัสสนา)

      ๓. เมื่อเห็นเนืองๆ โดยความไม่มีอัตตาก็ละความหมายรู้ว่ามีอัตตา (อนัตตานุปัสสนา)

      ๔. เมื่อเบื่อหน่าย ก็ละความเพลิดเพลินยินดี (นิพพิทานุปัสสนา)

      ๕. เมื่อปราศจากความกำหนัดก็ละราคะ (วิราคานุปัสสนา)

      ๖. เมื่อดับก็ละเหตุที่เป็นแดนเกิด (นิโรธานุปัสสนา)

      ๗. เมื่อสลัดทิ้งไปละความยึดถือ (ปฏินิสสัคคานุปัสสนา)

      เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาบรรลุญาตปริญญาเพราะได้ทำนามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ปริญญาอีก ๒ อย่าง ก็ควรบรรลุด้วย เพราะเมื่อตีรณปริญญากำลังเป็นไปอยู่นั้น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็จะบังเกิดขึ้น และตีรณปริญญาก็จะบังเกิดต่อจากญาตปริญญา เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาบรรลุมัคคามัดคญาณทัสสนวิสุทธิ จะต้องทำความเพียรในการกำหนดรู้สภาพธรรมโดยความเป็นหมวดเป็นกอง เสียก่อน


อารมณ์ของสัมมสนญาณ

      ธรรมที่เป็นหมวดเป็นกอง ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ เหล่านี้อันเป็นไปในทวารพร้อมทั้งทวาร และอารมณ์ต้องกำหนดพิจารณาด้วยปัญญาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นั้นมี ๒๕ หมวด คือ : -

      ๑. ขันธ์ ๕ 

      ๒. ทวาร ๖ 

      ๓. อารมณ์ ๖

      ๔. วิญญาณ ๖

      ๕. ผัสสะ ๖ 

      ๖. เวทนา ๖ 

      ๗. สัญญา ๖

      ๘. เจตนา ๖

      ๙. ตัณหา ๖

      ๑๐. วิตก ๖

      ๑๑. วิจาร ๖

      ๑๒. ธาตุ ๖

      ๑๓. กสิณ ๑๐

      ๑๔. โกฏฐาส ๓๒

      ๑๕. อายตนะ ๑๒

      ๑๖. ธาตุ ๑๘

      ๑๗. อินทรีย์ ๒๒

      ๑๘. ธาตุ ๓*

      ๑๙. ภพ ๓

      ๒๐. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง"

      ๒๑. ภพ ๓ อีกอย่างหนึ่ง

      ๒๒. รูปฌาน ๔

      ๒๓. อัปปมัญญา ๔

      ๒๔. อรูปสมาบัติ ๔

      ๒๕. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

-----------

*- ธาตุ ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ 

 - กามภพ รูปภพ อรูปภพ

 - สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ

 - เอโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ

-----------

 

การกำหนดพิจารณาในธรรม ๒๕ หมวดมีขันธ์ ๕ เป็นต้นด้วยสัมมสนญาณมีดังนี้


     รูปขันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, ทั้งภายในหรือภายนอก, ทั้งหยาบหรือละเอียด, ทั้งเลวหรือประณีต, ทั้งอยู่ไกลหรือใกล้ผู้ปฏิบัติก็กำหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความไม่เที่ยงนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง (รูปขันธ์ ฯลา สู้ปฏิบัติกำหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหลายนั้นโดยความเป็นทุกข์กี้เป็นสัมมสน-ญาณอีกอย่างหนึ่ง...สู้ปฏิบัติกำหนดรู้รูปขันธ์ทั้งหมดนั้นโดยความเป็นอนัตตาก็เป็นสัมมสนญาณอีกอย่างหนึ่ง)

     เมื่อสรุปแล้วในรูปขันธ์ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓ อย่างฉะนั้นขันธ์ ๕ เป็นปัจจัยให้เกิดสัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๕ อย่าง, ทวาร ๖ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๘ อย่าง สมาบัติ ๔ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๒ อย่าง, และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓๖ อย่าง รวมจำนวนสัมมสนญาณในธรรม ๒๕ หมวด เป็น ๖๐๓ อย่าง (๒๐๓ x ๓) 


สัมมสนญาณโดยเฉพาะๆ


     การใช้ปัญญาย่นย่อหรือสรุปธรรม ๒๕ หมวด ที่เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน เป็นต้นเหล่านั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น ยังมิได้ชี้เฉพาะลงไปว่าเป็นอดีต, เป็นของภายใน, เป็นของประณีตแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดสรูปรวมไว้เท่านั้น ซึ่งถ้าจะพิจารณาโดยเฉพาะๆ ลงไปแล้วในสัมมสนญาณ ๖๐๓ อย่างนั้นแต่ละสัมมสนญาณยังแบ่งออกอีก ๑๑ ประเภทย่อย ด้วยสภาพธรรมที่เป็นอดีต อนาคตปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ฉะนั้นเมื่อสรุปรวมจำนวนของสัมมสนญาณทั้งสิ้นแล้ว มีถึง ๖,๖๓๓ ประเภท (๖๐๓ x ๑๑)


วิธีกำหนดรู้ธรรมโดยเฉพาะของสัมมสนญาณ ๑๑ ประเภท

     ๑. รูปใดที่เป็นอดีต รูปนั้นก็สิ้นไปแล้วในอดีตมิได้ดำรงมาถึงภพนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๒. รูปใดเป็นอนาคต ก็จักเกิดขึ้นในอนาคตภพแล้วจักดับไปในภพนั้นนั่นเอง จักไม่ดับในภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๓. รูปใดเป็นปัจจุบัน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในภพนี้เอง ไม่ดำรงไปถึงภพอื่น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๔. รูปใดเป็นไปภายใน ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายในนั่นเอง ไม่ดำรงอยู่ถึงภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๕. รูปใดเป็นไปภายนอก ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายนอกนั่นเอง ไม่ดำรงอยู่ถึงภายใน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๖. รูปใดเป็นรูปหยาบ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปหยาบนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปละเอียด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๗. รูปใดเป็นรูปที่ละเอียด ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปละเอียดนั่นเองไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปหยาบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๘. รูปใดเป็นรูปเลว ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปเลวนั่นเองไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปประณีด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๙. รูปใดเป็นรูปประณีต ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปประณีตนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปเลว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๑๐. รูปใดเป็นรูปไกล ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปไกลนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปใกล้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป

     ๑๑. รูปใดเป็นรูปใกล้ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปใกล้นั่นเองไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปไกล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะมีความเสื่อมสิ้นไป


สัมมสนญาณ อีกประการหนึ่ง

     การกำหนดรู้ธรรมต่างๆ ด้วยสัมมสนญาณดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยความไม่เที่ยงเท่านั้น แม้การกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์เพราะเป็นสิ่งที่น่าพึงกลัว หรือเพราะมีภัยประจัญหน้าอยู่โดยแน่นอน สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็นำเอาความน่ากลัวมาให้ ดุจการนำเอาความน่ากลัวมาแก่เทวดาทั้งหลายใน สีโหปมสูตร แม้การกำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่นสาร คือไม่มีอัตตา ไม่มีผู้อยู่เป็นนิตย์ ไม่มีผู้สร้างไม่มีผู้เสวย หรือไม่มีผู้มีอำนาจในตัวเอง รูปใดไม่เที่ยงรูปนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่สามารถห้ามความไม่เที่ยงหรือความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและดับไปได้ ถ้าธรรมนั้นเป็นอัตตาแล้ว ก็ไม่ควรเป็นไปเพื่ออาพาธ


การแสดงปริยายของความไม่เที่ยง หรือแสดงวิธีการซึ่งดำเนินไป โดยอาการต่างๆ ๖ คือ

     ๑. ปัญญาในการย่นย่อกำหนครู้ว่ารูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะมีความเสื่อมสิ้นไป, ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีความน่ากลัว, ชื่อว่าเป็นอนัตตาเพราะเป็นสิ่งไม่มีแก่นสาร

     ๒. ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า รูปทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดามีการปราศจากราคะไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

     ๓. ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะเมื่อไม่มีชาติก็ไม่มีชราและมรณะ

     ๔. ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ทั้งในอดีตกาลและอนาคตกาล เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ เมื่อไม่มีชาติก็ไม่มีชราและมรณะ

     ๕. ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย เมื่อไม่มีอวิชชาก็ไม่มีสังขาร

     ๖. ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ทั้งในอดีตกาลและอนาคตกาล เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย เมื่อไม่มีอวิชชาก็ไม่มีสังขารทั้งหลายในสัมมสนญาณนั้นที่ชื่อว่า ญาณ เพราะมีความหมายว่า รู้แล้ว และที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีความหมายว่า รู้ทั่ว

     ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ในอภิญญานิเทศถึงสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งควรรู้ยิ่งซึ่งสรุปแล้วก็คือหมวดธรรม ๒๖ หมวดนั่นเอง แต่หมวดที่ ๑ คือธรรมทั้งหลายที่เป็นไปภายในทวาร อารมณ์ วิญญาณ ผัสสะ และเวทนา ไม่ต้องนับเป็นหนึ่งหมวดโดยเฉพาะ เพราะเป็นเพียงการแสดงในการยกตัวอย่างเท่านั้น และธรรมเหล่านี้ก็ปรากฎในหมวดต่อๆ ไปอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงมีหมวดธรรมอยู่ ๒๕ หมวดดังกล่าวแล้ว 

      บรรดาธรรมทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของสัมมสนญาณนั้น เป็นธรรมที่ปรากฏชัดและกำหนดรู้ได้ง่าย ซึ่งได้แก่โลกียธรรม ยกเว้นโลกุตตรธรรม


การกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔.

การกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐ เพื่อความมั่นคงของสัมมสนญาณ มีดังนี้ คือ :

     ๑. อนิจจโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยง เพราะความที่ทุกๆ ขันธ์ไม่เป็นอยู่ตลอดไป และเพราะมันมีเบื้องต้นและเบื้องปลาย

     ๒. ทุกขโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์เพราะมีการบีบคั้นเฉพาะหน้า ด้วยความเกิดและความดับ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

     ๓. โรคโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโรคเพราะต้องคอยเยียวยารักษา และเป็นที่อาศัยเกิดของโรค

     ๔. คัณฑโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นหัวฝื เพราะประกอบด้วยสิ่งเสียดแทง คือความเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งสกปรก คือกิเลสและเพราะมีการกลัดหนองและสุกแก่แล้วแตกสลายด้วยการ เกิด แก่ และแตกดับไป

     ๕. สัลลโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นลูกศรเสียบเพราะทำให้เกิดการบีบคั้น เพราะเป็นสิ่งที่ทิ่มแทงอยู่ภายในและเป็นสิ่งที่ถอนออกได้ยาก

     ๖. อฆโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โคยความชั่วร้ายเพราะเป็นสิ่งที่ควรตำหนิติเตียนเพราะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย และเป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย

     ๗. อาพาธโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความป่วยไข้เพราะไม่ทำให้เกิดเสรีภาพและเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย

     ๘. ปรโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นปรปักษ์เพราะไม่มีอำนาจบังคับบัญชาและบังคับบัญชาไม่ได้

     ๙. ปโลกโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแตกทำลายเพราะแตกทำลายไปด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ

     ๑๐. อีติโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหายนะเพราะนำมาซึ่งความพินาศมากมาย

     ๑๑. อุปัททวโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นอุปัททวะเพราะนำมาซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ที่รู้ไม่ได้เลยอย่างมากมาย และเพราะเป็นที่ตั้งของอุปัทวันตรายทั้งปวง

     ๑๒. ภยโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นภัยเพราะเป็นที่เกิดของภัยทุกประการ และเป็นปฏิปักษ์ต่อความอบอุ่นใจอย่างสูงสุด คือการระงับความทุกข์

     ๑๓. อุปสัดคโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นอุปสรรคเพราะติดตามมาด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หลายประการ เพราะประกอบด้วยโทษและไม่นำมาซึ่งความอดกลั้นคล้ายเป็นอุปสรรด

     ๑๔. จลโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความหวั่นไหวเพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ กับทั้งหวั่น'(หวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น

     ๑๕. ปภังคุโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นของผุพังเพราะมีปกติเข้าถึงความผุพังไปด้วยความพยายามของสิ่งอื่น และโดยสภาพของมันเอง

     ๑๖. อัทธุวโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความไม่ยั่งยืนเพราะมีปกติร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่งและเพราะไม่มีความมั่นคง

     ๑๓. อตาณโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่ต้านทานเพราะไม่เป็นที่ต่อต้านคุ้มครองและเพราะไม่ได้ความปลอดภัยที่ควรได้

     ๑๘. อเลณโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่หลบลี้เพราะไม่เป็นที่สมควรเพื่อหลบลี้ทั้งหลายก็ทำกิจในการหลบลี้ไม่ได้

     ๑๙. อสรณโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยไม่เป็นที่พึ่งเพราะเป็นที่ปลอดภัยแก่ผู้อาศัย

     ๒๐. ริตตโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของเปล่าเพราะว่างเปล่าจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และความมีอัตตา ตามที่กำหนดคาดคะเนไว้

     ๒๑. ตุจฉโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของว่างเพราะเป็นของเปล่าเป็นของเล็กน้อย แม้ของเล็กน้อยในโลกเขาก็เรียกว่า ของว่าง

     ๒๒. สุญญโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของสูญเพราะปราศจากอัตตาผู้เป็นเจ้าของ ผู้อยู่ประจำ ผู้สร้าง ผู้เสวนะ และบงการ

     ๒๓. อนัตตโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕  โดยความไม่มีอัตตาเพราะไม่มีผู้เป็นเจ้าของด้วยตนเองเป็นต้น

     ๒๔. อาทีนวโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นโทษเพราะเป็นทุกข์ด้วยความเป็นไป (ในภพ คือสังสารวัฏ) และเพราะความทุกข์นั่นเองเป็นโทษเพราะเป็นไปเพื่อความยากจน (คำว่า อาทีนวะ นี้เป็นคำเรียกคนยากจน แม้ขันธ์ ๕ ก็เป็นสิ่งยากจนเช่นกัน)

     ๒๕. วิปริณามธัมมโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา เพราะมีปกติแปรปรวนอยู่ ๒ ทาง คือ ทางชรา และทางมรณะ

     ๒๖. อสารกโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕โคยความไม่มีสาระเพราะมีความอ่อนแอ และเพราะหักง่ายเหมือนไม้ผุ

     ๒๓. อฆมูลโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายเพราะเป็นสาเหตุแห่งความชั่วร้ายนานาประการ

     ๒๘. วธกโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นผู้ฆ่าเพราะเป็นผู้ฆ่าโดยให้วางใจเหมือนศัตรูผู้มีหน้าเป็นมิตร

     ๒๘. วิภวโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยปราศจากความเจริญเพราะปราศจากความเจริญ และเพราะให้เกิดความไม่เจริญ

     ๓๐. สาสวโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความมีอาสวะ เพราะเป็นหนทางไปสู่อาสวะ

     ๓๑. สังขตโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้เพราะเป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

     ๓๒. มารามิสโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความเป็นเหยื่อล่อของมารเพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมาร และกิเลสมาร

     ๓๓. ชาติธัมมโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเกิดเป็นธรรมดาเพราะมีความเกิดเป็นปกติ

     ๓๔. ชราธัมมโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕โดยความมีแก่เป็นธรรมดาเพราะมีความแก่เป็นปกติ

     ๓๕. พยาธิธัมมโต คือการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเจ็บเป็นธรรมดาเพราะมีความเจ็บเป็นปกติ

     ๓๖. มรณธัมมโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โดยมีความตายเป็นธรรมดาเพราะมีความตายเป็นปกติ

     ๓๗. โสกธัมมโต เป็นการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยมีความโศกเป็นธรรมดาเพราะเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า

     ๓๘. ปริเทวธัมมโต เป็นการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคร่ำครวญ

     ๓๙. อุปายาสธัมมโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โคยมีความคับแค้นใจเป็นธรรมคา เพราะเป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ

     ๔๐. สังกิเลสิกธัมมโต คือการกำหนครู้ขันธ์ ๕ โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เพราะเป็นธรรมที่เป็นวิสัย (คืออารมณ์) ของกิเลส ตัณหา และทุจริตทั้งหลาย


การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓


การสงเคราะห์สัมมสนญาณ ๔๐ ลงในอนุปัสสนา ๓ โดยขันธ์ ๕ มี ๓ ประเภท

     ๑) การกำหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนิจจานุปัสสนา ๕๐ ด้วยอาการ ๑๐ อย่างคือ :-

          ๑. อนิจฺจโต โดยความไม่เที่ยง

          ๒. ปโลกโต โดยความแตกทำลาย

          ๓. จลโต โดยความหวั่นไหว

          ๔. ปภงคฺโต โดยความผพัง

          ๕. อทฺธุวโต โดยความไม่ยั่งยืน

          ๖. วิปริณามธมฺมโต โดยมีความแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา

          ๗. อสารกโต โดยไม่มีสาระแก่นสาร

          ๘. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ

          ๙. สงฺขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้

          ๑๐. มรณธมฺมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา

     ๒) การกำหนดรู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เป็นอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ :-

          ๑. ปรโต โดยเป็นปรปักษ์ 

          ๒. ริตุตโต โดยเป็นของเปล่า 

          ๓. ตุจุฉโต โดยเป็นของว่าง

          ๔. สุญญโต โดยเป็นของสูญ

          ๕. อนตุตโต โดยไม่มีอัตตา

     ๓) การกำหนครู้ในขันธ์แต่ละขันธ์ที่เป็นทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ ด้วยอาการที่เหลือ ๒๕ อย่างรวมทั้ง ๓ อนุปัสสนาในขันธ์ ๕ ฉะนั้นการกำหนดรู้ในขันธ์ ๕ ด้วยอนุปัสสนา ๓ รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ อาการ หรือ ๒๐๐ สัมมสนญาณ

      เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ด้วยการกำหนดรู้โดยพระไตรลักษณ์ โดยจำแนกเป็น ๒๐๐ อาการดังกล่าวมาแล้วนั้น สัมมสนญาณโดยอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ที่เรียกว่า นยวิปัสสนา ก็มั่นคงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นวิธีเริ่มต้นการกำหนครู้รูปนาม โดยดำเนินตามนัยพระบาลีในสัมมสนญาณ


วิธีเจริญวิปัสสนาญาณให้สูงขึ้น

เมื่อผู้ปฏิบัติต้องการให้วิปัสสนาญาณสูงขึ้นพึงทำอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้นให้แก่กล้ายิ่งขึ้นด้วยวิธีการ ร อย่าง คือ :

     ๑. พยายามกำหนดให้รู้ชัดถึงความดับไปของสังขารทั้งหลาย (รูปและนาม) ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว

     ๒. ในขณะที่เห็นความดับไปของสังขารทั้งหลายนั้น ควรพยายามให้ถึงพร้อมด้วยการมีสติ

     ๓. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ เกิดต่อเนื่องกันไป

     ๔. พยายามให้วิปัสสนาณาณนั้นๆ ดำเนินไปด้วยความสะดวกสบาย

     ๕. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ กำหนดนิมิตของสมาธิ

     ๖. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดำเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์ ๗

     ๗. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต

     ๘. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยวิธีข่มไว้(ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น)

     ๙. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยการไม่ละเลิกหรือหยุดพักเสียในระหว่างกลางคัน และพึงหลีกเลี่ยงอสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง แล้วเสพสัปปายะ คือ สิ่งที่เป็นที่สบาย ๗ อย่าง


วิธีกำหนดรู้รูปในสัมมสนญาณ

     ผู้ปฏิบัติควรดูการเกิดขึ้นของรูปตามธรรมดารูป เกิดขึ้นมาเพราะเหตุ ๔ อย่างมีกรรม เป็นต้น ใน ๔ อย่างนั้นรูปของสัตว์ทั้งหลายต้องเกิดมาจากกรรมก่อนเป็นครั้งแรก

     สำหรับสัตว์จำพวกคัพภเสยยะกำเนิดนั้นในขณะปฏิสนธิกาลคือ อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต มีรูปเกิดขึ้นจากกรรมทั้งหมด ๓๐ รูปคือ กายทสกกลาป ๑ ภาวทสกกลาป ๑๐ วัตถุทสกกลาป ๑๐ รูป ๓๐ เหล่านี้ แม้ในฐีติขณะและภังคักขณะที่คงเกิดอยู่ ยังไม่ดับไปและจะเพิ่มขึ้นอีกขณะละ ๓๐ รูป ตามลำดับดังนี้ตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

     อายุของรูปและนาม (รูป) อายุของรูปยาวนานกว่าอายุของจิต อุปปาทักขณะและภังคักขณะของรูปและนามเท่ากันคือ เท่ากับ ๑ ขณะเล็ก หรือเท่ากับ ๑ ใน ๓ ขณะใหญ่ของจิต ๓ ดวง แต่สำหรับฐีติขณะของรูปมีอายุนานเท่ากับ ๔๙ ขณะเล็ก หรือเท่ากับจิต ๑๖ ดวงกับอีก ๑ ขณะเล็ก ส่วนฐีติขณะของนาม (จิต) มีอายุเท่ากับ ๑ ขณะเล็กเท่านั้น เช่นหทยวัตถุที่เกิดพร้อมกันกับอุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิตยังไม่ดับไปกำลังตั้งอยู่นั้น เป็นที่อาศัยของภวังคจิตดวงที่ ๑ หรือหทยวัตถุที่เกิดพร้อมกันกับภวังคจิตดวงที่ ๑ ยังไม่ดับไปและกำลังตั้งอยู่นั้น ก็เป็นที่อาศัยของภวังคจิตดวงที่ ๒ สำหรับผู้ใกล้ถึงมรณะจิต ๑๖ ดวงอาศัยหทยวัตถุอันเดียวที่เกิดอยู่ก่อนแล้วและกำลังตั้งอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น (แล้วหทยวัตถุนี้ก็จะดับลงพร้อมกันกับจุติจิตซึ่งเป็นจิตดวงที่ ๑๖) และรูปที่เกิดขึ้นที่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิตจะดับพร้อมกันกับจิตดวงที่ ๑๖ ที่นับต่อจากปฏิสนธิจิต ส่วนรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับพร้อมกันกับอุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับต่อจากปฏิสนธิจิต ส่วนรูปที่เกิดที่ภังคักขณะของปฏิสนธิจิตจะดับพร้อมกันกับฐิติขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับต่อจากปฏิสนธิจิต

     สรุปได้ว่า ความเป็นไปของนาม (จิต มีอยู่ตราบใด รูปก็คงเป็นไปอยู่ตราบนั้น แม้สัตว์จำพวกโอปปาติกะกำเนิดในอุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิตก็มีรูปเกิดขึ้น ๗๐ รูป คือ จักขุทสกกลาป ๑๐ โสตทสกกาลาป ๑๐ ฆานทสกกลาป ๑๐ ชิวหาทสกกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐ ภาวทสกกลาป ๑๐ วัตถุทสกกลาป ๑๐


๑. การจำแนกรูปที่เกิดจากกรรม

     กรรม ได้แก่โลกียกุศลเจตนา ๑๓ (เว้นอรูปกุศล ๔) และอกุศลเจตนา ๑๒ รวมเป็นเจตนา ๒๕

     กรรมปัจจยกัมมสมุฏฐาน ได้แก่รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานมีกรรมเป็นปัจจัยหรือที่เรียกว่า กัมมชรูป ว่าโดยชนิดมี ๑๘ รูป คือปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป๑ ชีวิตรูป๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ ว่าโดยกลาปมี ๙ ประเภท คือ จักขุทสกกลาป เป็นต้น จนถึงชีวิตนวกกลาป

     กรรมปัจจยจิตตสมุฏฐาน คือจิตตชรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน หมายถึงรูปที่เกิดจากวิปากจิต ซึ่งวิปากจิตเหล่านี้เกิดจากกุศลจิตและอกุศลจิต ซึ่งประกอบด้วยเจตนาเจตสิกอันเป็นตัวกรรม

     กรรมปัจจยอาหารสมุฏฐาน คืออาหารชรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน หมายถึงโอชารูปที่อยู่ในกัมมชกลาป (๙) ในขณะที่กำลังตั้งอยู่นั้นจะทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้นและโอชารูปที่อยู่ในรูปกลาปนั้นๆ ในขณะที่กำลังตั้งอยู่ก็จะทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้นอีกสืบต่อกันเช่นนี้ ๔ หรือ ๕ ครั้ง

     กรรมปัจจยอุตุสมุฏฐาน คือ อุตุชรูปที่มีกรรมเป็นสมุฎฐาน หมายถึงเตโชธาตุที่อยู่ในกัมมชกลาป (3) ในขณะที่กำลังตั้งอยู่นั้น จะทำให้อุตุชกลาปอื่นๆ เกิดขึ้น และเตโชธาตุที่มีอยู่ในอุตุชกลาปนั้นๆ ในขณะที่กำลังตั้งอยู่ก็จะทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้นอีกสืบต่อกันเช่นนี้ ๔ หรือ ๕ ครั้ง พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปที่เกิดจากกรรม ดังกล่าวข้างต้น

๒. การจำแนกรูปที่เกิดจากจิต (จิต ๗๕ ดวง เว้น ทวิ. ๑๐ อรูปวิ. ๔)

     - จิต ได้แก่ จิต ๗๕ ควง ซึ่งเป็นเหตุให้รูปเกิดดังนี้ :- 

     - จิต ๗๕ ทั้งหมดทำให้เกิดจิดตชรูปสามัญเกิดได้

     - จิต ๑๓ ดวง คือโลภมูลโสมนัส ๔ โสมนัสหสิตุปบาทจิต ๑ มหากุศลโสมนัส ๔ มหากิริยาโสมนัส ๔ ทำให้จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการหัวเราะเกิดขึ้น 

     - จิต ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ ทำให้จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการร้องไห้เกิดขึ้น 

     - จิต ๓๒ ดวง คือมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนะจิต ๒๙ อภิญญาจิต ๒ ทำให้จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถน้อย การพูดและอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ เกิดขึ้น 

     - จิต ๕๘ ดวง คือมโนทวาราวัชชนะ ๑ กามชวนะจิต ๒๙ อภิญญาจิต ๒ และอัปปนาชวนะ ๒๖ ทำให้จิตตรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่นเกิดขึ้น 

     - จิต ๑๖ ประเภท คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย ๑ จุติจิตของพระขีณาสพ ๑ อรูปวิปากจิต ๔ ไม่ทำให้จิตตชรูปใดๆ เกิดขึ้น

     ในอุปปาทักขณะของจิตเท่านั้นที่ทำให้รูปเกิดขึ้นได้ ส่วนในฐีติและภังคักขณะไม่ทำให้รูปเกิด เพราะมีกำลังอ่อน

     จิตตสมุฏฐานนิกรูป คือรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่จิตตชรูป ๑๕ คือ สัททรูป ๑, วิญญัติรูป ๒, วิการรูป ๓, อวินิพโภครูป ๘, ปริจเฉทรูป ๑ 

     จิตตปัจจัย คือรูปที่มีจิตเป็นปัจจัย ได้แก่ติชกายหรือจตุชกาย ที่เกิดขึ้นก่อน (จิต เจตสิก เกิดขึ้นภายหลังโดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย)

     จิตตปัจจยอาหารสมุฏฐานิกรูป คืออาหารชรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่โอชารูปที่อยู่ในจิตตชกลาปทั้งหลาย ในขณะที่กำลังตั้งอยู่นั้นทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้น และสืบต่อเช่นนี้อีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง

     จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐานิกรูป คืออุตชรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่เตโชธาตุที่อยู่ในจิตตชกลาป ในขณะที่กำลังตั้งอยู่นั้นทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้นและสืบต่อเช่นนี้อีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปที่เกิดจากจิต ดังกล่าวข้างต้น

๓. การจำแนกรูปที่เกิดจากอาหาร

     อาหาร ได้แก่อาหารที่ทำเป็นคำๆ หรือโอชารูปนั่นเอง 

     อาหารสมุฎฐานิกรูป คือรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ได้แก่อาหารชรูป ๑๒ คือ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ 

     อาหารปัจจัย คือรูปที่มีอาหารเป็นปัจจัย ได้แก่ ติชกาย หรือ จตุชกายที่เกิดขึ้นเพราะอาหารปัจจัย

     อาหารปัจจยอาหารสมุฏฐานิกรูป คืออาหารชรูปที่มีอาหารเป็นสมุฎฐาน ได้แก่ โอชาที่ในอาหารชกลาป ในขณะที่กำลังตั้งอยู่ ทำให้อาหารชกลาปอื่น ๆ เกิดขึ้นสืบต่อไปเช่นนี้ ๑๐ หรือ ๑๒ ครั้ง มีตัวอย่างเช่น อาหารที่กินเข้าไปนั้นอุปถัมภ์รูปอยู่ได้นาน ๓ วัน แต่ถ้าเป็นโอชาทิพย์อยู่ได้ตลอด ๑-๒ เดือน อาหารชรูปที่เกิดจากกรรมเรียกว่า "อุปาทินนกาหาร"  (เพราะเป็นอาหารชรูปที่เกิดกับสิ่งที่มีชีวิต) ในขณะที่อุปาทินนกาหารกำลังตั้งอยู่นั้นก็ทำให้โอชารูปและอาหารชรูปอื่นๆ เกิดขึ้นด้วย สืบต่อ เช่นนี้ ๔ - ๕ ครั้ง

     อาหารปัจจยอุตุสมุฏฐานิกรูป คือ อาหารชรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ได้แก่เตโชธาตุที่อยู่ในอาหารชกลาป และในขณะที่กำลังตั้งอยู่นั้นก็ทำให้อุตุชกลาปเกิดขึ้น อาหารสมุฏฐานนี้เป็นปัจจัย ให้อาหารชรูปเกิด และเป็นปัจจัยให้กัมมชรูป จิตตชรูป และอุตุชรูปเกิดอีกด้วย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย

๔. การจำแนกรูปที่เกิดจากอุตุ

     อุตุ คือ ความเย็นและความร้อน (เตโซธาตุ มี ๔ สมุฏฐาน) 

     อุตุสมุฏฐานิกรูปคือ รูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ อุตุชรูป ๑๓ คือวิการรูป ๓ สัททรูป , อวินิพโภครูป 2 ปริจเฉทรูป ๑ 

     อุตุปัจจัยคือ รูปที่มีอุตุเป็นปัจจัย ได้แก่ รูปทั้ง ๔ สมุฏฐาน ที่มีความเป็นไปและความฉิบหายอยู่เป็นปกติ

     อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐานิกรูปคือ อุตุชรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ เตโชราตุที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานในขณะที่กำลังตั้งอยู่ก็ทำให้อุตุขกลาปเกิดขึ้น และเตโชธาตุในอุตุชกลาปนั้นก็ทำให้อุตุขกลาปเกิดต่อไปอีก อุตุชรูปที่เกิดอยู่กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตคงเป็นไปอยู่ได้ตราบนานเท่านาน

     อุตุปัจจยอาหารสมุฏฐานิกรูปคือ อาหารชรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานได้แก่โอชาที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ในขณะที่กำลังตั้งอยู่ก็ทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดขึ้น และโอชาในรูปกลาปนั้นๆ ก็จะทำให้รูปกลาปอื่นๆ เกิดอีกต่อไปสืบต่อเช่นนี้ ๑๐ - ๑๒ ครั้ง 

     อุตุสมุฎฐานนี้เป็นปัจจัยให้อุตุชรูปเกิดและเป็นปัจจัยให้กัมมชรูป จิตตชรูปอาหารชรูปเกิดอีกด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย 

     พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปที่เกิดจากอุตุ ดังกล่าวข้างต้น

     เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นความเกิดของรูปด้วยอาการดังกล่าวมานี้ก็ชื่อว่า กำหนดรู้รูปตามกาล (คือ ในเวลาขณะหนึ่ง)


วิธีกำหนดรู้นาม

     เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้รูปอยู่ ก็สามารถเห็นความเกิดของรูปได้ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อกำหนดรู้นามอยู่ ก็สามารถเห็นความเกิดของนามได้ด้วยการเห็นความเกิดของนามนั้น ต้องกำหนดรู้โลกียจิต ๘๑ ซึ่งมีปฏิสนธิจิต ๑๙ ที่เกิดขึ้นก่อนปฏิสนธิกาลด้วยอำนาจแห่งกรรมในปฏิสนธิกาลด้วยอำนาจแห่งกรรมในอดีตภพ การเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิต ๑๙ นี้ แสดงไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท

     การเกิดขึ้นครั้งแรกของนามนั้นได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ต่อจากนั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นภวังคจิต และในที่สุดเมื่อหมดอายุหรือสิ้นความก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นจุติจิตและในปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวงนั้น ดวงใดที่เป็นกามาวจรจิต ดวงนั้นก็ทำหน้าที่เป็นตทารัมมณจิตด้วย ในขณะที่รับอารมณ์ซึ่งมีกำลังแรงในทวารทั้ง ๖

     แต่ในปวัตติกาล เมื่อรูปารมณ์ปรากฏทางจักขุทวาร จักขุปสาทยังดีอยู่ จักขุวิญญาณอาศัยแสงสว่าง และมนสิการจึงเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลายคือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เพราะว่าในระหว่างฐีติปัตตะแห่งจักขุปสาท ๔๙ นั้น เมื่อรูปารมณ์ปรากฎเกิดขึ้นก็จะกระทบกับจักขุปสาท ทำให้เกิดภวังคจิตดังนี้ คือ อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ต่อจากนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น พิจารณารูปารมณ์ ดังนั้นจักขุวิญญาณจิตที่เป็นอกุศลวิบาก หรือกุศลวิบาก ก็เกิดขึ้นเห็นรูปารมณ์ จากนั้นสัมปฎิจฉนจิตก็เกิดขึ้นรับรูปารมณ์ จากนั้นสันตีรณจิตก็เกิดขึ้น ไต่สวนรูปารมณ์ จากนั้นโวฏฐัพพนจิตก็เกิดขึ้นตัดสินรูปารมณ์ ต่อจากนั้นชวนจิตที่เป็นกุศลอกุศลและกิริยาจิต (ที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง) และที่เป็นกามาวจรจิตก็เกิดขึ้น ๕ หรือ ๗ ขณะ จากนั้นตทารัมมณจิตดวงใดควงหนึ่งในบรรดาตทารัมมณจิต ๑๑ ดวง ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากชวนะตามสมควรหรือตามสมควรแก่อารมณ์ 

     แม้ในทวารอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ในมโนทวาร แม้มหัคคตจิตทั้งหลายก็เกิดได้ เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นความเกิดของนามด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า กำหนครู้นามตามกาล (คือในเวลาหนึ่ง)

     เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้รูปและนามตามกาลดังกล่าวแล้ว จึงยกหรือพิจารณาให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้ตามลำคับก็จะบรรลุอุทยัพพยญาณ และสามารถทำปัญญาภาวนาให้ถึงพร้อมได้


การกำหนดรู้รูปทางรูปสัตตกะ

     การกำหนดรู้รูปธรรมเพื่อเห็นพระไตรลักษณ์นั้นมีวิธีกำหนครู้ ๓ อย่าง คือ

     ๑. โดยพิจารณาความยึดถือและการปล่อยวาง

     ๒. โดยพิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย

     ๓. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากอาหาร

     ๔. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากฤดู

     ๕. โดยพิจารณารูปที่เกิดขึ้นจากกรรมโดยพิจารณารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

     ๗. โดยพิจารณารูปธรรมดา

     ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า :- 

          "อาทานนิกเขปนโต     วโยวุฑฺฒตฺถคามิโต 

          อาหารโต จ อุตุโต     กมฺมโต จาปี จิตฺตโต 

          ธมฺมตารูปโต สตฺต     วิตฺถาเรน วิปสฺสติ"

          ผู้ปฏิบัติรู้เห็นพระไตรลักษณ์ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือโดยการยึดถือ 

       และปล่อยวาง โดยความแตกดับของรูปที่เดิบโตขึ้นตามวัย โดยอาหาร 

       โดยอุตุ โดยกรรมโดยจิต และโดยรูปธรรมดา

     ๘. โดยพิจารณาความยึดถือและปล่อยวาง

     คำว่า "การยึดถือ" หมายถึง ปฏิสนธิ คำว่า "ปล่อยวาง" หมายถึง จุติ กำหนดการยึดถือในสังขารเป็นตอนหนึ่ง กำหนดการปล่อยวางในสังขารเป็นอีกตอนหนึ่งแล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเพราะ

          ก. มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป

          ข. มีความปรวนแปร

          ค. มีความเป็นไปชั่วขณะ

          ง. มีความขัดแย้งกับความเที่ยง

     สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์เพราะ

          ก. ถูกเบียดเบียนอยู่เนืองๆ

          ข. เป็นทุกข์

          ค. ทนได้ยาก

          ง. เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

          จ. ขัดกับความสุข

          ฉ. เหตุที่ใครๆ ไม่มีอำนาจ ๓ อย่าง คือ :

     สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว จงตั้งอยู่ที่ถึงความตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ชราที่ถึงความแก่ชราแล้ว จงอย่าแตกดับสังขารทั้งปวงเป็นอนัตตาเพราะ

          ก. เป็นของว่างเปล่า

          ข. ไม่มีเจ้าของ

          ค. ไม่เป็นไปในอำนาจ

          ง. ปฏิเสธอัตตา


๒. โดยพิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย คือ

     ๒.๑ จำแนก ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๓ วัย

          ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งชีวิตออกเป็น ๓ ระยะคือ ปฐมวัย ๓๓ ปี มัชฌิมวัย ๓๔ ปี ปัจฉิมวัย ๓๓ ปี เมื่อแบ่งอายุออกเป็นดังนี้แล้วก็พิจารณาวัยทั้ง ๓ ให้เห็นพระไตรลักษณ์ดังนี้ว่า

          "รูปที่เป็นไปในปฐมวัยไม่ทัน ถึงมัชฌิมวัยก็ดับไปเสียในปฐมวัยนั่นเองเพราะฉะนั้น รูปนั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่อัตตา แม้รูปที่เป็นไปในมัชมิมวัย ไม่ทันถึงปัจฉิมวัยก็ดับไปเสียในมัชฌิมวัยนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้รูปนั้นก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถึงแม้รูปที่เป็นไปตลอด ๓๓ ปี ในปัจฉิมวัยก็ไม่สามารดำรงอยู่ภายหลังความตายได้ เพราะฉะนั้น แม้รูปนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้

     ๒.๒ จำแนก ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๑๐ ระยะ

          ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งอายุ ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๑๐ ระยะ คือ ๑. มันทท-สกะ (เด็กอ่อน) ๒. ขิทาทสกะ (การเล่น) ๓. วัณณทสกะ (ผิวพรรณ) ๔. พลทสกะ(กำลัง) ๕. ปัญญาทสกะ (ปัญญา) ๖. หานิทสกะ (ความเสื่อม) ๗. ปัพภารทสกะ(ความโค้ง) ๘. วังกทสกะ (ความงุด) 6. โมมูหทสกะ (ความหลงลืม) ๑๐. สยนทสกะ (การนอน) แล้วพึงกำหนดอายุ ๑๐ ระยะนี้ ให้เห็นความเกิดคับของรูปดังนี้ว่า

          "รูปที่เป็นไปใน ๑๐ ปีช่วงแรกยังไม่ถึง ๑๐ ปี ช่วงที่ ๒ ก็ดับไปเสียในช่วง ๑๐ ปีก็ดับไปเสียในช่วง ๑๐ ปีแรกนั่นเอง เพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฯลฯ รูปที่เป็นไปใน ๑๐ ปีช่วงที่ ๑๐ ยังไม่ทันถึงภพหน้าก็ดับไปเสียไป ๑๐ ปีช่วงที่ ๑๐ นี้นั่นเอง เพราะฉะนั้นถึงแม้รูปนั้นก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๓ จำแนก ๑๐๐ ปี เป็น ๒๐ ระยะ ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งอายุ ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๒๐ ระยะคือ แบ่งออกเป็นระยะละ ๕ ปี แล้วพิจารณาดังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในช่วง ๕ ปีแรกยังไม่ทันถึงช่วง ๕ ปีที่สองก็ดับไปเสียในช่วง ๕ ปีแรกนั่นเอง เพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัดตา ฯลฯ รูปที่เป็นไปในช่วง ๕ ปีที่ ๒๐ ชื่อว่าไม่สามารถล่วงเลยเกินความตายไปได้ เพราะฉะนั้นแม้รูปนั้นก็เป็นอนิงจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๔ จำแนก ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๒๕, ๓๓, ๕๐ และ ๑๐๐ ระยะ เป็นไปทำนองเดียวกันกับจำแนก ๑๐๐ ปี เป็น ๒๐ ระยะ

     ๒.๕ จำแนก ๑ ปี ตาม ๓ ฤดู ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งอายุ ๑ ปีตาม ๓ ฤดูคือ ๑. ฤดูวัสสานะ ๒. ฤดูเหมันต์ ๓. ฤดูคิมหะ แล้วพิจารณาดังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในฤดูวัสสานะยังไม่ทันถึงฤดูเหมันต์ ก็ดับเสียแล้วในฤดูวัสสานะนั่นเอง รูปที่เป็นไปในฤดูเหมันต์ยังไม่ทันถึงฤดูคิมหะ ก็ดับเสียแล้วในฤดูเหมันต์นั่นเอง รูปที่เป็นไปในฤดูคิมหะยังไม่ทันถึงฤดูวัสสานะใหม่ ก็ดับเสียแล้วในฤดูคิมหะนั่นเอง เพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๖ จำแนก ๑ ปี ตาม ๖ ฤดู 

          ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งอายุ ๑ ปี ตาม ๖ ฤดู คือ ๑. ฤดูวัสสานะ (ฤดูฝน) ๒. ฤดูสารท (ใบไม้ร่วง) ๓. ฤดูเหมันต์ (ฤดูหนาว) ๔. ฤดูสิสิระ (ฤดูเย็น) ๕. ฤดูวัสสันต์ (ฤดูใบไม้ผลิ) ๖. ฤคูคิมหะ (ฤดูร้อน) แล้วพิจารณาดังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในฤดูวัสสานะยังไม่ทันถึงฤดูสารท ก็ดับเสียแล้วในฤดูวัสสานะนั่นเอง ฯลฯ รูปที่เป็นไปในฤดูดิมหะยังไม่ทันถึงฤดูวัสสานะใหม่ ก็ดับเสียแล้วในฤดูดิมหะนั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๗ จำแนก ๑ เดือนเป็น ๒ ปักษ์ 

          ผู้ปฏิบัติแบ่งอายุ ๑ เดือนเป็น ๒ ปักษ์ คือ ๑. ข้างขึ้น ๑ ข้างแรมแล้วพิจารณาคังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในข้างแรม ยังไม่ทันถึงข้างขึ้น ก็ดับเสียแล้วในข้างแรมนั่นเอง และรูปที่เป็นไปในข้างขึ้น ยังไม่ทันถึงข้างแรมถัดไป ก็ดับเสียแล้วในข้างขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๘ จำแนก ๑ วัน เป็นกลางคืนและกลางวัน 

          ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในกลางคืนยังไม่ทันถึงกลางวัน ก็ดับเสียแล้วในกลางคืนนั่นเอง ส่วนรูปที่เป็นไปในกลางวันยังไม่ทันถึงกลางคืน ก็ดับเสียแล้วในกลางวันนั่นเองเพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" จังนี้

     ๒.๙ จำแนก ๑ วัน เป็น ๖ ส่วน

          ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่ง ๑ วัน ออกเป็น ๖ ส่วนคือ ๑. ตอนเช้า ๒. ตอนกลางวัน ๓. ตอนเย็น ๔. ปฐมยาม ๕. มัชฌิมยาม ๖. ปัจฉิมยาม แล้วพิจารณาดังนี้ว่า :

          "รูปที่เป็นไปในตอนเช้ายังไม่ทันถึงตอนกลางวันก็ดับเสียแล้วในตอนเข้านั่นเอง ฯลฯ รูปที่เป็นไปในปัจฉิมยามยังไม่ทันถึงตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ก็ดับเสียแล้วในปัจฉิมยามนั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงเป็นอนิงจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๑๐ จำแนกโคยอาการ ๖ 

           ผู้ปฏิบัติพิจารณาแบ่งอาการร่างกายออกเป็น ๖ ระยะคือ ๑) การเดินไปข้างหน้า ๒) การถอยกลับ 3) การแลดู ๔) การเหลียวดู ๕) การคู้เข้า ๖) การเหยียดออก แล้วพิจารณาดังนี้ว่า :-

           "รูปที่เป็นไปในการเดินไปข้างหน้า ยังไม่ทันถอยกลับ ก็ดับไปในการเดินไปข้างหน้านั่นเอง ฯลฯ รูปที่เป็นไปในการคู้ยังไม่ทันถึงการเหยียดออก ก็ดับไปในการคู้นั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้

     ๒.๑๑ จำแนกการก้าวเท้าเป็น ๖ ระยะ 

           ผู้ปฏิบัติทำการแบ่งระยะของการก้าว ๑ ก้าวออกเป็น ๖ ระยะคือ ๑. อุทธรณะ (ยก) ๒. อติหรณะ (ย่าง) ๓. วีติหรณะ (ย้าย) ๔. โวสสัชชนะ (ลง) ๕. สันนิกเขปนะ (เหยียบ) ๖. สันนิรุมภนะ (กด) 

           มหาภูตรูป ๔ ในอาการทั้ง ๖ ของการก้าวเท้า มีดังนี้ :

             ก. การยกเท้า ปถวี อาโป มีประมาณต่ำและอ่อน ส่วนเตโช วาโย มีประมาณมากและมีกำลังในการย่างและย้ายก็เหมือนกัน

             ข. การหย่อนเท้าลง เตโช วาโย มีประมาณต่ำและอ่อน ส่วนปถวี อาโป มีประมาณมากและมีกำลังในการเหยียบและกดก็เหมือนกันแล้วพิจารณาว่า

                "ธาตุทั้งหลายที่เป็นไปในการยกเท้าก็ดี หรือรูปทั้งหลายที่อาศัยธาตุนั้นก็ดี สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดยังไม่ทันถึงการย่างเท้าก็ดับไปในการยกเท้านั่นเอง เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัดตา ฯลฯ สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในส่วนนั้นๆ มีการยกเท้าเป็นต้น ยังไม่ทันถึงส่วนอื่นๆ ก็แตกเป็นปล้องๆ ข้อๆ ท่อน ๆดุจมีเสียงดังตฎะๆ เหมือนเมล็ดงาที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อนทำเสียง ตฎะฯ(เปรี๊ยะ) แตกไปฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" การกำหนดรู้รูปของสังขารทั้งหลายเป็นปล้องๆ อย่างนี้ เป็นการกำหนดรู้ที่ละเอียดอ่อน ซึ่งการกำหนดรู้ที่ละเอียดอ่อน มีอุปมาดังนี้

อุปมาในความละเอียดอ่อนของการกำหนดรู้รูป มีดังนี้ :

     ก. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่หมดน้ำมันและไส้ ก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นความดับของรูปในช่วงการยึดถือ (ปฏิสนธิ) และช่วงปล่อยวาง (จุติ)

     ข. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่ไส้ถูกเผาไป ๑ ใน ๓ ส่วนก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นความดับของรูปในช่วง ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย

     ค. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่ไส้ถูกเผาไปทุกๆ องคุลีก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นความดับของรูปในช่วงที่แบ่ง ๑๐. ปี ออกเป็น ๑๐, ๕, ๔, ๓, ๒, ๑ ปี

     ฆ. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่ไส้ถูกเผาไปทุกๆ ครึ่งองคุลึ ก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นความดับของรูปในช่วงที่แบ่ง ๑ ปี ออกเป็น ๓, ๖ ส่วน

     ง. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่ไส้ถูกเผาไปทุกๆ เส้นด้าย ก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นความดับของรูปในช่วงที่แบ่ง ๑ วันออกเป็นข้างขึ้น ข้างแรม, กลางวัน กลางคืน, และ ๖ ส่วน

     จ. การที่รู้ว่าดวงประทีปจะดับในขณะที่ไส้ถูกเผาไปทุกๆ ใยของเส้นด้าย ก็เหมือนกับการกำหนดรู้เห็นการดับของรูปในช่วงที่แบ่งการก้าวเท้าออกเป็น ๖ ระยะ

     ๓. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากอาหาร (อาหารชรูป)

     รูปที่เป็นไปในเวลาหิวโหย ซูบซีด อิดโรย ผิวพรรณเศร้าหมอง ยังไม่ทันถึงเวลาอิ่มเอิบก็ดับเสียในเวลาหิวโหยนั่นเอง แม้รูปที่ตั้งขึ้นในเวลาอิ่มเอิบยังไม่ทันถึงเวลาหิวโหย ก็ดับเสียในเวลาอิ่มเอิบนั่นเอง เพราะฉะนั้นรูปที่เกิดจากอาหาร ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

     ๔. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากอุตุ (อุตุชรูป)

     รูปที่เป็นไปในเวลาร้อนยังไม่ทันถึงเวลาเย็น ก็ดับเสียในเวลาร้อนนั่นเองรูปที่เป็นไปในเวลาเย็นยังไม่ทันถึงเวลาร้อน ก็ดับเสียในเวลาเย็นนั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดจากอุตุนั้นจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

     ๕. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากกรรม (กัมมชรูป)

     รูปที่เป็นไปในจักขุทวารยังไม่ทันถึงโสตทวาร ก็ดับเสียในจักขุทวารนั่นเอง ฯลฯ รูปที่เป็นไปในกายทวารยังไม่ทันถึงมโนทวาร ก็ดับเสียในกายทวารนั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดจากกรรมจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

     ๖. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากจิต (จิตตชรูป)

     รูปที่เป็นไปในเวลาโสมนัสยังไม่ทันถึงเวลาโทมนัส ก็ดับเสียในเวลาโสมนัสนั่นเอง แม้รูปที่เป็นไปในเวลาโทมนัสยังไม่ทันถึงเวลาโสมนัส ก็ดับเสียในเวลาโทมนัสนั่นเอง เพราะฉะนั้นแม้รูปที่เกิดจากจิตก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

     ๗. โดยพิจารณารูปธรรมดา

     รูปที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งวิวัฏฏกัปเป็นรูปภายนอกไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เช่น เหล็ก โลหะ คีบุก ตะกั่ว ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ หิน ประพาฬ ทับทิม แก้วลาย แผ่นดิน ภูเขา ต้นหญ้า ต้นไม้ เถาวัลย์ เป็นต้น ชื่อว่า รูปธรรมดา ก็รูปธรรมดานั้นย่อมปรากฎแก่พระโยคีนั้น โดยมีต้นกล้าไม้อโศกเป็นต้น ดังนี้ว่า :

     "รูปที่เป็นไปในขณะที่สีแดงอ่อน (กล้าไม้อโศก) ยังไม่ทันถึงสีแคงเข้ม (คือล่วงไป ๒ - ๓ วัน) ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีแดงเข้มยังไม่ทันถึงสีแดงนวล ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีแดงนวลยังไม่ทันถึงสีใบไม้อ่อน ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีใบไม้อ่อนยังไม่ทันถึงสีใบไม้แก่ ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีใบไม้แก่ยังไม่ทันถึงสีใบไม้เขียว ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีใบไม้เขียวยังไม่ทันถึงสีใบไม้เขียวแก่ ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีใบไม้เขียวแก่ยังไม่ทันถึงสีใบไม้เหลือง ก็ดับไปเสียแล้ว

     รูปที่เป็นไปในกาลสีใบไม้เหลืองยังไม่ทันถึงกาลหลุดจากขั้วก็ดับไปเสียแล้ว

เพราะฉะนั้น ใบอโศกจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" การกำหนดรูปธรรมดาอื่นๆ ก็พึงมีวิธีการทำนองนี้


การกำหนดรู้นามธรรมทางนามสัตตกะ

การกำหนดรู้นามธรรมให้เห็นพระไตรลักษณ์ โดยวิธี ๗ อย่าง คือ :

     ๑. กลาปโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นกลุ่ม

     ๒. ยมกโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นคู่

     ๓. ขณิกโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปโดยขณะ (จิต)

     ๔. ปฏิปาฏิโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยลำดับ

     ๕. ทิฏฐิอุคฆาฏนโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยเพิกทิฏฐิ

     ๖. มานสมุคฆาฏนโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยเพิกมานะ

     ๗. นิกันติปริยาทานโต การกำหนดรู้นามธรรมโดยความสิ้นไปแห่งความใคร่


๑. การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นกลุ่ม พิจารณาดังนี้ :-

     นามธรรมทั้งหลายมีหมวด ๕ แห่ง ผัสสะได้เกิดขึ้นแล้วในขณะที่กำหนดว่าผมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ นามธรรมทั้งหลายมีหมวด ๕ แห่งผัสสะ (หมวด ๕ แห่งผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ) ได้เกิดขึ้นแล้วในขณะที่กำหนดว่ามันสมองไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และรูปธรรมทั้งหลายมีผมเป็นต้น ก็ต้องเสื่อมสลายไปเป็นปล้องๆ เป็นท่อนๆ มีเสียงตระๆ เหมือนงาที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน ก็แตกมีเสียงเปรี้ยะๆ ฉะนั้นนามธรรมทั้งหลายมีหมวด ๕ แห่งผัสสะจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 

     "กำหนดรู้ในจิตซึ่งเป็นไปอยู่ว่ารูปสัตตกะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่าแม้จิตที่กำลังพิจารณารูปสัตตกะอยู่นั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นกัน"

     ๒. การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นคู่ พิจารณาอังนี้ :- 

        กำหนดรู้ในจิตซึ่งเป็นไปอยู่ว่ารูประหว่างความยึดไว้และความปล่อยวางนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่าแม้จิตที่กำลังพิจารณารู้อยู่นั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นกัน ฯลฯ กำหนดรู้ในจิตซึ่งเป็นไปอยู่ว่า รูปธรรมตานั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่า แม้จิตที่กำลังพิจารณารู้อยู่นั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นกัน

        การพิจารณาดังกล่าวมานี้ชื่อว่า กำหนดรู้นามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นคู่กัน

      ๓. การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปโดยขณะจิต พิจารณาดังนี้ :-

         กำหนดรู้ธรรมระหว่างความยึดถือไว้และความปล่อยวางว่าเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ ๑ ด้วยจิตดวงที่ ๒, กำหนดรู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิดดวงที่ ๓, กำหนดรัจิตดวงที่ ๓ ด้วยจิตดวงที่ ๔, กำหนดรู้จิตดวงที่ ๕, ด้วยจิตดวงที่ ๕ ว่าแม้จิตดวงที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน ฯลฯ กำหนดรัรูปธรรมดาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ ๑ ด้วยจิตดวงที่ ๒, กำหนครู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิตดวงที่ ๓, กำหนดรู้จิตดวงที่ ๓ ด้วยจิตดวงที่ ๔.กำหนดรู้จิตดวงที่ ๔ ด้วยจิตดวงที่ ๕ ว่าแม้จิตดวงที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ก็เป็น อนิจจังทุกขัง อนัตตา เช่นกัน

      ๔. การกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปตามลำดับ พิจารณาดังนี้ :- 

         (เหมือนกับการกำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปโดยขณะจิต แต่เพิ่มจำนวนขณะจิตจนถึงขณะที่ ๑๐ เท่านั้น)

      ๕. การกำหนดรู้นามธรรมโดยการเพิกทิฏฐิ มานะ และ ความใคร่ พิจารณา ดังนี้ :-

         เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดเห็นอยู่ซึ่งรูปธรรมและอรูปธรรม จะไม่เห็นสิ่งอื่นที่เรียกว่าสัตว์ บุคคลก็เป็นอันว่าเพิกถอนสัตตสัญญาได้แล้ว และเมื่อกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกถอนสัตตสัญญาได้แล้ว ทิฏฐิก็ไม่เกิดเป็นอันเพิกทิฏฐิได้แล้ว และเมื่อกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกทิฏฐิได้แล้ว มานะก็ไม่เกิดเป็นอันเพิกมานะได้แล้ว และเมื่อกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกมานะได้แล้ว ตัณหาก็ไม่เกิดเป็นอันว่านิกันติ (ความใคร่) ก็สิ้นไป

      เมื่อผู้ปฏิบัติถือว่า ข้าพเจ้าเห็นแจ้งอยู่ วิปัสสนาญาณเป็นของข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่ายังไม่ได้เพิกทิฏฐิ แต่ถ้าเมื่อผู้ปฏิบัติถือว่าสังขารทั้งหลายเท่านั้นเห็นแจ้ง พิจารณากำหนด กำหนดรู้ จำแนกซึ่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อว่ามีการเพิกทิฏฐิ หรือเมื่อผู้ปฏิบัติ ถือว่าข้าพเจ้าเห็นแจ้งด้วยดี ข้าพเจ้าเห็นแจ้งสิ่งที่พึงพอใจดังนี้ชื่อว่า ยังไม่ได้เพิกมานะแต่ถ้าเมื่อผู้ปฏิบัติถือว่า สังขารทั้งหลายนั่นเองเห็นแจ้ง พิจารณา กำหนด กำหนดรู้จำแนกซึ่งสังขารทั้งหลายดังนี้ ชื่อว่ามีการเพิกมานะ หรือเมื่อผู้ปฏิบัติพอใจวิปัสสนาอยู่ว่าข้าพเจ้าสามารถเห็นแจ้ง ดังนี้ ชื่อว่ายังไม่มีการสิ้นไปแห่งความใคร่ แต่ถ้าเมื่อผู้ปฏิบัติถือว่าสังขารทั้งหลายนั่นเองเห็นแจ้ง พิจารณา กำหนด กำหนดรู้ จำแนกอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่

      ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา การถือว่าเป็นอัตตาก็ควร แต่สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตามิได้เป็นอัตตา เพราะฉะนั้นสังขารทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ, เป็นอนิจจังเพราะมีแล้วหามีไม่ คือเกิดแล้วดับไป. เป็นทุกขัง เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความดับบีบคั้น ดังนี้ชื่อว่า "การเพิกทิฏฐิ" ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ถาวร การถือว่าเป็นของเที่ยงก็ควร แต่สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มิได้เป็นของเที่ยง เพราะฉะนั้นสังขารทั้งหลายจึงเป็นของไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ามีแล้วก็ไม่มี เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและดับบีบคั้น เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ดังนี้ชื่อว่า "มีการเพิกมานะ"

      ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นสุข การถือว่าเป็นสุขก็ควร แต่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์มิได้เป็นสุข เพราะฉะนั้นสังขารทั้งหลายจึงเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความเสื่อมบีบคั้น ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ามีแล้วหามีไม่ เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ดังนี้ชื่อว่า "มีการสิ้นไปแห่งความใคร่"


สรุปการเพิกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทั้ง ๓ คือ

      เมื่อพระโยคีเห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาชื่อว่า มีการเพิกทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยงชื่อว่า มีการเพิกมานะ เมื่อเห็นอยู่โดยความเป็นทุกข์ชื่อว่า มีการสิ้นไปแห่งความใคร่

      การกำหนดรู้นามธรรมทางอรูปสัตตกะ เพื่อให้เห็นพระ ไตรลักษณ์มีด้วยประการฉะนี้


สรุปลักษณะสัมมสนญาณ

การพิจารณาเพียงย่อๆ โดยลักษณะสัมมสนญาณมี ๔ อย่าง คือ :

      ๑. กลาปสัมมสนะ คือ การพิจารณารูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน,ภายนอก ภายใน, หยาบ ละเอียด, เลว ประณีต, ไกล ใกล้ ทั้งหมดนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เพราะหมดไปสิ้นไปถ่ายเดียว ไม่มีกลับ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว และไม่มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครๆ ทั้งสิ้น

      ๒. อัทธานสัมมสนะ คือ การพิจารณารูปนามที่เกิดดับ ล่วงลับไปเป็นเวลานาน คือพิจารณารูปนามในอดีต ไม่กลับมาเป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบันไม่กลับไปเป็นรูปนามอนาคต รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็เกิดดับในอดีต รูปนามอนาคตก็เกิดดับในอนาคต รูปนามปัจจุบันไม่กลับเกิดในชาติหน้า แต่มีเหตุปัจจัยสืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี เมื่อปัจจุบันชั่วอนาคตก็ชั่ว อุปมาเหมือนดวงตรา เมื่อประทับลงไปบนกระดาษนั้น รูปดวงตรายังปรากฏติดอยู่ที่กระดาษ แต่ดวงตราหาติดอยู่กับกระดาษไม่ ข้อนี้ฉันใด ความดีความชั่วก็ฉันนั้น ถ้าเราทำดีความดีก็ประทับตราไว้ ไม่หายสูญไปไหนเลย ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

      ๓. สันตติสัมมสนะ คือ การพิจารณาเห็นความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูปร้อนดับไปรูปเย็นเกิดขึ้น รูปเย็นดับไปรูปร้อนเกิดขึ้น หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างนี้ ดังนั้น รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริงๆ

      ๔. ขณสัมมสนะ คือ การพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่วขณะหนึ่งๆ คือพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามซึ่งเรียกว่า อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนามเกิดดับอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ตลอดวันตลอดคืน ดังนั้น รูปนามจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

      การเห็นรูปนามเกิดดับดังกล่าวนี้ ชื่อว่า "สัมมสนญาณ" การเห็นรูปนามเกิดดับของสัมมสนญาณนี้ เห็นเมื่อรูปใหม่เกิดขึ้นแล้วจึงเห็นรูปเก่าดับไป เช่น พิจารณาอิริยาบถนั่ง จะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไปก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนอิริยาบถนั่งนั้นเป็นอิริยาบถอื่นไป จึงจะเห็นว่าอิริยาบถนั่งนั้นดับไป ดังนี้เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าปัญญาในญาณนี้ยังอ่อนอยู่

      อนึ่ง ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณทั้ง ๓ นี้ ล้วนเป็นญาณที่อาศัยสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ก็สัมมสนญาณนี้ว่าโดยวิสุทธิสงเคราะห์เข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และเป็นญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๑๐ เป็นญาณที่ ๓ ในญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)


จบ สัมมสนญาณ

-------------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,วิปัสสนากรรมฐาน,สัมมสนญาณ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.