สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
กัมมจตุกก (ตอนที่สี่. ง.)
กรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล
ชื่อว่า กรรม มี ๔ อย่าง อย่างนั้นเหมือนกัน โดยเกี่ยวกับสถานที่ที่เผล็ดผล
คือ อกุศลกรรม ๑, กามาวจรกุศลกรรม ๑, รูปาวจรกุศลกรรม ๑, อรูปาวจรกุศลกรรม ๑
อรูปาวจรกุศลกรรม
ส่่วน อรูปาวจรกุศลกรรม ก็เป็นมโนกรรมอย่างเดียวเหมือนกัน แม้อรูปวจรกุศลกรรมนั้นก็เป็นภาวนามัยถึงซึ่งอัปปนา มี ๔ อย่าง ตามความต่างกัน แห่งอารมณ์
คำอธิบาย รูปาวจรกุศลกรรม
พึงทราบคำอธิบายเกี่ยวกับคำว่า เป็นมโนกรรมอย่างเดียว ฯลฯ ถึงซึ่ง อัปปนา ตามนัยเดียวกันกับที่ได้กล่าวแล้วในรูปาวจรกุศลกรรมนั่นเที่ยว
คำว่า มี ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งอารมณ์ ความว่า เจตนาที่ถึงความเป็นอรูปาวจรกุศลกรรม นี้ จัดว่ามี ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งอารมณ์ ไม่ใช่ตามความต่างกันแห่งองค์ฌานเหมือนอย่างรูปาวจรกุศลกรรม เพราะแต่ละ อย่างล้วนประกอบด้วยองค์ฌานที่นับว่าเป็นปัญจมฌาน คือ อุเบกขาและเอกัคคตา เหมือนกัน ชื่อว่ามี ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งอารมณ์อย่างนี้ คือ :
อากาสานัญจายตนอรูปาวจรกุศลกรรม อันมี กสิณุฆาฏิมากาศ (อากาศ อันเป็นที่กสิณถูกเพิกไป) เป็นอารมณ์ ๑.
วิญญาณัญจายตนอรูปาวจรกุศลกรรม อันมี อากาสานัญจายตนวิญญาณ เป็นอารมณ์ ๑.
อากิญจัญญายตนอรูปาวจรกุศลกรรม อันมี ความไม่มีแห่งอากาสานัญจายตนวิญญาณ เป็นอารมณ์ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนอรูปาวจรกุศลกรรม อันมี อากิญจัญญายตน วิญญาณ เป็นอารมณ์ ๑ ฉะนี้ แล.
การทำวิบากให้บังเกิดในภูมิทั้งหลาย แห่งกรรมทั้งหลาย
การทำวิบากให้บังเกิดแห่งอกุศลกรรม
ในกรรม ๔ อย่าง โดยเกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผลเหล่านี้ อกุศลกรรมที่เว้น อุทธัจจะ ย่อมทำปฏิสนธิให้เกิดขึ้นในอบายภูมิ, ส่วน ในปวัตติกาล อกุศลกรรม ๑๒ อย่าง แม้ทุกอย่าง ย่อมเผล็ด (ทำให้บังเกิด) อกุศลวิบาก ๗ อย่าง ใน กามโลกแม้ทั้งปวง และในรูปโลกตามสมควร
คำอธิบาย การทำวิบากให้บังเกิดแห่งอกุศลกรรม
คำว่า อกุศลกรรมที่เว้นอุทธัจจะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในอกุศลจิต ๑๑ ดวง เว้นเจตนาที่เป็นไปในโมหจิตที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ ความว่า เฉพาะเจตนา ในอกุศลจิต ๑๑ ดวง ที่ถึงความเป็นอกุศลกรรมมีปาณาติปาตเป็นต้น เท่านั้น ที่ สามารถยังวิบากปฏิสนธิให้ตั้งขึ้นในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น ตามสมควรแก่กรรม เจตนาที่เป็นไปในจิตที่สัมปยุตกับอุทธัจจะไม่สามารถยังปฏิสนธิให้ตั้งขึ้น เพราะไม่มีการให้ปฏิสนธิเป็นสภาวะ สามารถเพียงยังวิบากให้ตั้งขึ้นในปวัตติกาล แต่อย่างเดียวเท่านั้น อธิบายว่า ไม่สามารถให้ผลเกี่ยวกับปฏิสนธิ
ถามว่า อกุศลกรรมที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา แม้ทรามกำลังกว่าอกุศลกรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เพราะเหตุที่เว้นอธิโมกข์ ก็ยังคร่าเอาปฏิสนธิมาได้ เพราะเหตุไรอกุศลกรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะมีกำลังมากกว่าจึงไม่สามารถคร่าเอาปฏิสนธิมาได้เล่า?
ตอบว่า อกุศลกรรมที่สหรคตด้วยอุทธัจจะแม้มีกำลังมากกว่า ก็ไม่สามารถ จะคร่าเอาปฏิสนธิมาได้ เพราะเหตุที่ไม่มีการให้ปฏิสนธิเป็นสภาวะ เพราะข้อวิจารณ์ที่ว่า “กรรมที่มีกำลังย่อมคร่าเอาปฏิสนธิมา กรรมที่ทรามกำลังย่อมคราเอา ปฏิสนธิมาไม่ได้” ดังนี้ นี้ ย่อมใช้ได้ก็สำหรับกรรมที่มีการให้ปฏิสนธิเป็นสภาวะ ได้ด้วยกันเท่านั้น ส่วนกรรมใดจะมีกำลังหรือไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีการให้ปฏิสนธิเป็นสภาวะอยู่แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวอ้างถึงความมีกำลัง หรือความไม่มีกำลัง เพื่ออันวินิจฉัยการให้ปฏิสนธิ หรือไม่ให้ปฏิสนธิเลยเที่ยว
ถามว่า คำว่า “อกุศลกรรมที่เป็นไปในจิตที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ ไม่สามารถยังวิบากปฏิสนธิให้ตั้งขึ้น เพราะไม่มีการให้ปฏิสนธิเป็นสภาวะ” ดังนี้ นี้ เข้าใจได้อย่างไรเล่า?
ตอบว่า เป็นความจริงว่า อกุศลกรรมที่เป็นไปในจิตที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ นั้น มิได้มีมาในพวกอกุศลธรรมทั้งหลายที่ทัสสนะจะพึงละ คือว่า อกุศลธรรม ทั้งหลายนั้น มี ๓ อย่าง คือ อกุศลธรรมที่ทัสสนะ (โสดาปัตติมรรค) จะพึงละ. ๑ อกุศลธรรมที่ภาวนา (มรรค ๓ เบื้องบน) จะพึงละ ๑ อกุศลธรรมที่ทั้งทัสสนะจะพึงละ ทั้งภาวนาจะพึงละ ๑.
ในบรรดาอกุศลธรรม ๓ อย่างนั้น จิตตุปบาทที่สัมปยุตกับทิฏฐิ และจิตตุป บาทที่สัมปยุตกับวิจิกิจฉา ชื่อว่า อกุศลธรรมที่ทัสสนะจะพึงละ เพราะความเป็น ธรรมที่มรรคแรก (โสดาปัตติมรรค) ซึ่งได้ชื่อว่า “ทัสสนะ” เพราะความที่เพิ่งเห็น พระนิพพานเป็นครั้งแรก จะพึงละ ส่วนจิตตุปบาทที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยความเป็นธรรมที่ภาวนาจะพึงละ เพราะความเป็นธรรมที่มรรคชั้นยอด (อรหัตตมรรค) เท่านั้น จะพึงละ ก็มรรค ๓ เบื้องบน รวมทั้งอรหัตตมรรคนี้ ได้ชื่อว่า “ภาวนา” เพราะเป็นไปโดยเกี่ยวกับว่า เจริญ คือ เพิ่มพูน หรือ งอกงามในพระนิพพานที่มรรคแรกเห็นแล้วนั้น ส่วน จิตตุปบาทที่วิปปยุตจากทิฏฐิ และที่สหรคตด้วยโทมนัส ชื่อว่า อกุศลธรรมที่ทั้งทัสสนะจะพึงละ ทั้งภาวนา จะพึงละ อย่างนี้ คือ ส่วนที่เป็นเหตุให้ไปอบายและที่เป็นเหตุให้มีภพที่ ๘ เป็น ส่วนที่ทัสสนะจะพึงละ, ส่วนที่เป็นอย่างหยาบเป็นส่วนที่ภาวนา (สกทาคามิมรรค) จะพึงละ, จิตตุปบาทที่วิปปยุตจากทิฏฐิส่วนที่เป็นไปกับกามราคะ และจิตตุปบาท ที่สหรคตกับโทมนัสส่วนที่เป็นอย่างละเอียด ก็เป็นส่วนที่ภาวนา (อนาคามิมรรค) จะพึงละ ส่วนที่เหลือนอกนี้เป็นส่วนที่ภาวนา (อรหัตตมรรค) จะพึงละ
ก็ถ้าหากว่า อกุศลกรรมที่เป็นไปในจิตตุปบาทที่สัมปยุตกับอุทธัจจะจะพึง ให้ปฏิสนธิได้ไซร้ ก็ย่อมให้ปฏิสนธิในอบาย เพราะเป็นอกุศลกรรม ก็แต่ว่า เมื่อ ตรัสไว้ในฐานะเป็นอกุศลธรรมที่ภาวนาสูงสุดคืออรหัตตมรรคจะพึงละ อย่างนี้ ว่า “กตเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพา? อุทฺธจฺจสหคโต จิตฺตุปฺปาโท - ธรรมที่ภาวนาจะพึงละเป็นไฉน? ได้แก่จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ” ดังนี้ ก็เป็น ธรรมที่ อันว่า ทัสสนะ คือโสดาปัตติมรรค ไม่อาจละได้ เมื่อยังไม่อาจละได้ พระโสดาบัน ก็ยังมีโอกาสไปอบายได้ เพราะอกุศลกรรมที่สัมปยุตกับอุทธัจจะที่ยังละไม่ได้นั้น และถ้าหากว่าเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมผิดกับคำพูดที่ว่า “พระโสดาบันเป็นผู้ปิดประตู อบายได้แล้ว มีอันไม่ตกไป (ในอบาย) เป็นธรรมดา” เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงจึงเห็นว่า อกุศลกรรมที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ ไม่ใช่อกุศลกรรมที่ให้ปฏิสนธิ แล เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า “ที่เว้นอุทธัจจะ” ดังนี้ เหตุผลโดย พิสดารกว่านี้เกี่ยวกับความที่เจตนาอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ จะไม่ให้วิบากปฏิสนธิ นั้น บัณฑิตพึงค้นหาได้ใน ปกรณ์ปรมัตถมัญชสา หรือฎีกาอธิบายอภิธัมมาวตาร ที่ชื่อว่า อธัมมัตถวิกาสินี นั่นเทียว
ก็แต่ว่า ใคร ๆ ไม่อาจปฏิเสธการให้วิบากในปวัตติกาลแห่งเจตนาที่สัมปยุตกับอุทธัจจะนี้ได้ เพราะตรัสไว้ใน ปฏิสัมภิทาวิภังค์ ว่า “ยสฺมึ สมเย อกุสลํ จิตตํอุปฺปนฺนํ โหติ อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตตํ” เป็นต้น ซึ่งแปลเต็มความได้ว่า “ในสมัยใด อกุศลจิตมีอันเกิดขึ้นแล้ว เป็นธรรมชาติที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวนา สัมปยุตกับอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ก็ตาม ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ก็ตาม ในสมัยนั้น ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะก็ย่อมมี ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศล, ญาณในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในวิบากของธรรมเหล่านี้ ชื่อ - อัตถปฏิสัมภิทา” ดังนี้ ก็คำว่า ญาณในวิบากของธรรมเหล่านี้ นี้ เป็นอันตรัสถึงวิบากในปวัตติกาลของเจตนาอันสัมปยุตกับอุทธัจจะนี้นั่นเอง.
คำว่า ส่วนในปวัตติกาล ฯลฯ ย่อมเผล็ดอกุศลวิบาก ๗ อย่างในกามโลกแม้ทั้งปวง ความว่า ในปวัตติกาล อกุศลกรรมทั้ง ๑๒ อย่าง(เจตนาในอกุศลจิต ๑๒ ดวง) ย่อมเผล็ด คือย่อมทำอกุศลวิบากให้บังเกิดในกามโลกคือใน การภูมิแม้ทั้งปวง คือทั้ง ๑๑ ภูมินั่นเทียว
คำว่า และในรูปโลก คือในรูปาวจรภูมิ ๑๕ เว้นอสัญญีสัตตภูมิ เพราะ แม้พวกพรหมก็มีการเสวยวิบากอันเป็นผลของกรรมชั่วที่ได้ทำไว้ก่อนหน้าแต่ความบังเกิดเป็นพรหมนั้น
รวมความว่า อกุศลกรรม ๑๑ อย่าง เว้นที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ย่อมเผล็ด วิบากปฏิสนธิ คือ อุเบกขาสันตีรณะ ในอบายภูมิ ๔ อกุศลกรรมทั้ง ๑๒ อย่าง ย่อมเผล็ดวิบากทั้ง ๗ อย่าง ในปวัตติกาล ในกามภูมิทั้งปวง และในรูปโลกตามสมควร.
คำว่า ตามสมควร คือ ตามสมควรแก่ทวารและอารมณ์ อย่างนี้ คือ :-
ในกามภูมิ ย่อมเผล็ดอกุศลวิบากได้ทั้ง ๗ อย่างนั่นเทียว เพราะเป็นภูมิ ที่มีทวารบริบูรณ์ ส่วนว่าสัตว์ผู้ใดมีประสาทที่เป็นทวารนั้น ๆ บกพร่องไป เช่นว่า เป็นผู้บอดแต่กำเนิด หนวกแต่กำเนิด เป็นต้น สำหรับสัตว์ผู้นั้น ก็พึงเว้นวิบาก ที่มีความเป็นไปประจำทวารนั้น ๆ เสีย
ในรูปภูมิ ย่อมเผล็ดอกุศลวิบากเพียง ๔ อย่างเท่านั้น เว้นอกุศลวิบาก ๓ อย่าง คือ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ เพราะพวกพรหม ไม่มีประสาท ๓ อย่าง มีฆานประสาทเป็นต้น เหตุแห่งความเป็นผู้ไม่มีประสาท ๓ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าวไปก่อนแล้ว (ในปริจเฉทที่ ๑) และจักกล่าวโดยพิสดาร ข้างหน้า (ในปริจเฉทที่ ๖)
อนึ่ง อกุศลกรรม ๑๒ อย่างเหล่านี้ ย่อมเผล็ดอกุศลวิบากเหล่านี้ ตาม สมควร คือตามความเหมาะสมแก่อารมณ์ อย่างนี้คือ ย่อมเผล็ดจักขุวิญญาณ ในรูปารมณ์ ฯลฯ ย่อมเผล็ดกายวิญญาณในโผฏฐัพพารมณ์ ย่อมเผล็ดสัมปฏิจฉันนจิตในอารมณ์ ๕ ย่อมเผล็ดอุเบกขาสันติรณะจิตในอารมณ์ ๖ และอารมณ์ เหล่านี้ล้วนเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะอนิฏฐารมณ์เท่านั้น ควรแก่วิบากของอกุศล กรรม ฉะนี้แล.
การทำวิบากให้บังเกิดแห่งกามาวจรกุศลกรรม
แม้ในบรรดากามาวจรกุศลกรรมเหล่านั้น กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะ ให้ปฏิสนธิที่เป็นติเหตุกะแล้ว ก็เผล็ดวิบาก ๑๖ อย่างในปวัตติกาล กุศลกรรมที่ เป็นติเหตุกโอมกะ และที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ ให้ปฏิสนธิที่เป็นทวิเหตุกะ แล้วก็เผล็ดวิบาก ๑๒ อย่าง เว้นติเหตุกวิบาก ในปวัตติกาล
ส่วน กุศลกรรมที่เป็นทวิเหตุกโอมกะ ย่อมให้ปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกะเท่านั้น ย่อมเผล็ดเฉพาะอเหตุกวิบากทั้งหลาย ในปวัตติกาล
คาถา : แสดงมติเกี่ยวกับการทำวิบากให้บังเกิดของพระเถระบางรูป
อสงฺขารํ สสงฺขารํ วิปากานิ น ปจฺจติ
สสงฺขารมสงฺขารํ วิปากานิติ เกจิ น
เตสํ ทฺวาทสปากานิ ทสฏฺฐ จ ยถากฺกมํ
ยถาวุตฺตานุสาเรน ยถาสมฺภวมุทฺทิเส.
แปลว่า พระเถระบางท่านกล่าวว่า “กรรมที่เป็นอสังขาริก ไม่เผล็ดวิบากที่ เป็นสสังขาริก กรรมที่เป็นสสังขาริกก็ไม่เผล็ดวิบากที่เป็นอสังขาริก ดังนี้
สำหรับพระเถระเหล่านั้น พึงแสดงวิบาก ๑๒ วิบาก ๑๐ และ วิบาก ๘ ตามลำดับ ตามทำนองแห่งคำตามที่ได้กล่าวแล้ว ตาม สมควรแก่ความเกิดได้ เถิด.
คำอธิบายการทำวิบากให้บังเกิดแห่งกามาวจรกุศลกรรม
คำว่า แม้ในบรรดากามาวจรกุศลกรรมเหล่านั้น คือ แม้ในบรรดากามาจรกุศลกรรมที่เผล็ดวิบากได้เหล่านั้น
คำว่า กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะ คือ กุศลกรรมที่มีเหตุ ๓ และ เป็นอุกกัฏฐะ (เป็นอย่างอุกฤษฎ์) ก็คำว่า อุกกัฏฐะ คืออุกฤษฎ์ เพราะมีความวิเศษโดยการได้กุศลเป็นบริวาร กล่าวคือ มีกุศลที่เป็นไปก่อนหน้าแต่การกระทำ และที่เป็นไปภายหลังการกระทำบุญกิริยาวัตถุข้อนั้น ๆ แวดล้อม อธิบายว่า เจตนา ที่ถึงความเป็นกุศลนั้น เป็นไป ๓ กาล คือ กาลก่อนกระทำ ได้แก่กาลที่ตระเตรียม ปัจจัยไทยธรรมไว้ก่อน เพื่อการมอบให้แก่ปฏิคาหกในกาลต่อมา ๑ กาลที่มอบ ปัจจัยไทยธรรมนั้นในมือปฏิคาหก ๑ การตามระลึกถึงการกระทำของตนด้วยจิต ปีติโสมนัส ในภายหลัง ๑. เมื่อมีเจตนาเป็นไปครบกาล ๓ อย่างนี้ เจตนาที เป็นไปในคราวมอบปัจจัยไทยธรรมในมือปฏิคาหกนั่นเทียว ได้เจตนาที่เป็นไป ก่อนหน้า และที่เป็นไปภายหลัง แวดล้อมตามประการดังกล่าวมานี้แล้ว ย่อมมี กำลังยิ่ง ถึงความนับว่าอุกฤษฎ์ สามารถเผล็ดวิบากได้มากมาย
อีกอย่างหนึ่ง แม้ไม่มีเจตนาอะไร ๆ เป็นไปก่อนหน้าเลย ถึงกระนั้น เจตนา ที่เป็นไปคราวมอบปัจจัย แม้เพียงคราวเดียวนั้น ก็ย่อมมีกำลัง ถึงความนับว่า เป็นอุกฤษฎ์ได้ทีเดียว เพราะเหตุที่ชนผู้มากด้วยศรัทธา ทำบุญนั้น ๆ แล้ว ก็คอย แต่จะระลึกถึงด้วยจิตที่มีปีติโสมนัสอยู่บ่อยๆ เนือง ๆ นั่นเที่ยว
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุกกัฏฐะ เพราะมีความวิเศษ โดยการได้ความเสพคุ้นเป็นไปในภายหลัง คือชนสั่งสมอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เป็นประจำจนได้ความเสพคุ้น ในภายหลัง ขยายความว่า เป็นกรรมที่ชนทำอยู่เป็นปกติติดต่อกันไปราวกะเป็น ประเพณี เหมือนอย่างศีลที่สมาทานประจำ ฉะนั้น
คำว่า ให้ปฏิสนธิที่เป็นเหตุกะแล้ว ก็เผล็ดวิบาก ๑๖ อย่างในปวัตติกาล ความว่า เพราะเหตุที่เป็นติเหตุกะด้วย เป็นอุกกัฏฐะด้วย จึงมีกำลังมาก สามารถให้วิบากปฏิสนธิดวงใดดวงหนึ่งในบรรดา ๔ ดวงที่มีเหตุ ๓ เสมอกับตน ในปฏิสนธิกาล และยังตามเผล็ดวิบากได้ทั้ง ๑๖ ดวงนั่นแหละ ในปวัตติกาล โดย เกี่ยวกับเป็นภวังค์ (องค์แห่งภพ) เป็นต้น
ก็ในคำว่า ให้ปฏิสนธิ นี้ บัณฑิตพึงเห็นว่า ให้ปฏิสนธิเพียงคราวเดียว เท่านั้น เพราะว่า เจตนากรรมในขณะจิตเดียว หาสามารถเผล็ดวิบากปฏิสนธิได้ หลายภพหลายชาติไม่ เมื่อได้เผล็ดวิบากปฏิสนธิคราวหนึ่งแล้ว ก็หมดอุตสาหะ ไป ไม่ให้ปฏิสนธิอะไร ๆ ซ้ำอีก ก็คำที่ท่านกล่าวว่า “กรรมนั้น ย่อมทำให้เขา แล่นไป ท่องเที่ยวไปในสุคติภูมิ หลายร้อยหลายพันชาติ” ดังนี้ เป็นต้นนั้น จึง ทราบว่า คำว่า “กรรมนั้น” ท่านมิได้หมายเอาเจตนากรรมในขณะจิตเดียว ทว่า กล่าวหมายเอาเจตนากรรมที่เป็นไปติดต่อกันหลายขณะจิต ในคราวที่บุคคล ปรารภบุญกิริยาทั้งหลาย แต่ละครั้ง ด้วยว่า บุญกิริยาทั้งหลายจะเป็นอันบุคคลทำ สำเร็จด้วยอาศัยเจตนาเพียงขณะจิตเดียวนั้น หาได้ไม่ ส่วนวิบากในปวัตติกาล มีวิบากทางตาเป็นต้น ย่อมมีได้ แม้ร้อยชาติ แม้พันชาติ ด้วยเจตนากรรมเพียง ขณะจิตเดียวเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า “ติรจฺฉานคเต ทานํ ทตฺวา สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขา” (ม.อุ.๔๔/๔๑๘) แปลว่า “ให้ทานในสัตว์เดรัจฉานแล้ว ก็พึงหวัง ทักขิณา อันมีอานิสงส์ถึง ๑๐๐ เท่า (ร้อยชาติ) ได้” ดังนี้ เป็นต้น
คำว่า ที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ คือ ที่มีเหตุ ๒ และเป็นอย่างอุกฤษฎ์ ได้แก่ กามาวจรกุศลกรรมที่ไม่ประกอบกับญาณ ซึ่งเหตุแห่งความเป็นธรรมชาติ ที่ไม่ประกอบกับญาณ นั้น ได้กล่าวแล้วในหนก่อน (ในปริจเฉทที่ ๑) และเป็น อย่างอุกฤษฎ์ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว ในติเหตุกอุกกัฏฐะ นั่นเอง
เป็นความจริงว่า ความเป็นผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้น ในกามสุคติภูมิ แห่ง สัตว์ผู้มีอายตนะนั้น ๆ มีจักขวายตนะเป็นต้น บกพร่อง ย่อมสำเร็จได้เพราะ อเหตุกวิบากปฏิสนธิอันเป็นผลแห่งกามาวจรกุศลกรรมที่ทรามกำลังนัก เป็นปัจจัย เพราะเหตุไร กรรมนั้นจึงทรามกำลังนักเล่า ตอบว่า เพราะถูกอกุศลกรรมบั่นทอนกําลังเสียโดยรอบด้านนั่นเทียว ก็แต่ว่า ญาณเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะอันเป็นมูล แห่งอกุศลกรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น อกุศลกรรมเหล่านั้น แม้ว่าบั่นทอนกำลัง ของกุศลกรรมที่เป็นญาณสัมปยุตได้ก็ตาม ถึงกระนั้น ก็ไม่สามารถจะบั่นทอนให้ ทรามกำลังโดยสิ้นเชิงได้ เพราะมีญาณป้องกันอยู่ เพราะเหตุนั้น กามาวจร กุศลกรรมที่ประกอบกับญาณ ที่หย่อนกำลังโดยประเภทโอมกะ แม้ไม่อาจคร่ามาซึ่งวิบากปฏิสนธิที่เป็นติเหตุกะเสมอกับตนได้ ก็ไม่ถึงกับคร่ามาซึ่งอเหตุก วิบากปฏิสนธิ ย่อมครามาซึ่งทวิเหตุกวิบากปฏิสนธินั่นเที่ยว
ส่วน กรรมที่เป็นทวิเหตุกะ ไม่อาจทำผลที่สัมปยุตกับญาณญาณให้บังเกิดได้ แน่นอน เพราะคนเก่งเป็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบกับญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้จะสามารถทำผลที่ประกอบกับญาณให้บังเกิดได้กระไร เพราะฉะนั้น กรรมที่เป็นทวิเหตุกะนั้น แม้ว่าเป็นธรรมชาติที่อุกฤษฏ์ยิ่ง ก็มีความสามารถอย่างสูงสุดเพียงคร่ามาซึ่งปฏิสนธิที่เป็นทวิเหตุกะเท่านั้น ย่อมไม่คร่ามาซึ่งปฏิสนธิที่เป็นติเหตุกะ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวไปพร้อมๆ กันทั้ง ๒ ว่า " กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกโอมกะ และที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ ให้ปฏิสนธิที่เป็นทวิเหตุกะ" ดังนี้. และเพราะเหตุที่ไม่อาจให้วิบากที่สัมปยุตกับญาณได้นั่นเอง กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกโอมกะ และที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ จึงตามให้ผลในปวัตติกาลได้เพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น โดยเกี่ยวกีบเป็นองค์แห่งภพเป็นต้น เว้นวิบากที่สัมปยุตญาณ ๔ ดวงเสีย.
ส่วน กุศลกรรมที่เป็นทวิเหตุกโอมกะ เพราะความที่หยอนกำลังตามนัย ดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ จึงไม่อาจยังวิบากที่ยิ่งใหญ่คือมหาวิบากแม้เพียงญาณวิปปยุตเสมอกับตน ให้บังเกิดได้ ย่อมยังอเหตุกวิบากทั้งหลายให้บังเกิดได้เท่านั้น คือ ย่อมยังอุเบกขาสันตีรณปฏิสนธิให้บังเกิดในปฏิสนธิกาล อันเป็นเหตุให้สำเร็จ ความเป็นผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้น แล้วตามเผล็ดอเหตุกวิบาก ๗ ดวง ในปวัตติกาล โดยเกี่ยวกับเป็นองค์แห่งภพเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า “ย่อมให้ปฏิสนธิ ที่เป็นอเหตุกะเท่านั้น” ดังนี้เป็นต้น ฉะนี้ แล
เพราะฉะนั้น ก็ย่อมประมวลความเกี่ยวกับการเผล็ดวิบาก แห่งกามาวจร เหล่านี้ ได้อย่างนี้ว่า
กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะ มีกำลังมาก ตามนัยดังกล่าวมาแล้ว ย่อม ให้วิบากที่เป็นติเหตุกะ ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งในปฏิสนธิกาล แล้วก็ย่อมตามให้ วิบากทั้ง ๑๖ ดวง คือ มหาวิบาก ๘ อเหตุกวิบาก ๘ ในปวัตติกาลได้อีก โดยเกี่ยวกับเป็นองค์แห่งภพเป็นต้น รวมความว่า สามารถเผล็ดวิบากได้ ๑๖ ดวง.
กุศลกรรมที่เป็นติเหตุกโอมกะ และที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ มีกำลังหย่อน โดยเกี่ยวกับอย่างหนึ่งมีอกุศลแวดล้อม และอีกอย่างหนึ่ง แม้อุกฤษฎ์ก็ปราศจาก ญาณค้ำจุน ย่อมให้วิบาก ๑๒ ดวง เว้นวิบากที่สัมปยุตกับญาณ ๔ ดวง อย่างนี้ คือ ย่อมให้วิบากที่เป็นทวิเหตุกะ ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง ในปฏิสนธิกาลแล้ว ก็ย่อมตามให้วิบาก ๑๒ ดวง คือ มหาวิบาก ๔ ที่เป็นญาณวิปปยุต และเหตุกวิบาก ๘ ในปวัตติกาล โดยเกี่ยวกับเป็นองค์แห่งภพเป็นต้น รวมความว่า ย่อมสามารถเผล็ดวิบากได้ ๑๒ ดวง
กุศลกรรมที่เป็นทวิเหตุกโอมกะ มีกำลังหย่อนยิ่งนักโดยเกี่ยวกับเป็นธรรมชาติปราศจากญาณค้ำจุนด้วย มีอกุศลแวดล้อมด้วย จึงให้วิบากเฉพาะที่เป็น อเหตุกะ ๘ ดวงเท่านั้น อย่างนี้คือ ย่อมให้อุเบกขาสันตีรณวิบากในปฏิสนธิกาล แล้วก็ย่อมตามให้วิบาก ๘ ดวงในปวัตติกาล โดยเกี่ยวกับเป็นองค์แห่งภพเป็นต้น รวมความว่า สามารถเผล็ดวิบากได้ ๘ ดวง ฉะนี้แล
บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ว่า กรรมใดให้วิบากปฏิสนธิแล้ว กรรมนั้น ย่อมให้ วิบากในปวัตติกาลด้วยเสมอ กรรมใดไม่อาจให้วิบากปฏิสนธิ เพราะขาดความ พร้อมเพรียงด้วยปัจจัยอื่น กรรมนั้นย่อมตามให้วิบากในปวัตติกาลเท่านั้น หลัง จากที่สัตว์ปฏิสนธิด้วยกรรมอื่นแล้ว
อีกอย่างหนึ่ง พึงกำหนดอย่างนี้ว่า กรรมใดให้วิบากปฏิสนธิ กรรมนั้นย่อม สามารถให้วิบากในปวัตติกาลได้ด้วยแน่นอน ส่วนกรรมใด สามารถให้วิบากในปวัตติกาลได้ กรรมนั้นไม่แน่นอนว่าจะให้วิบากปฏิสนธิได้ด้วย ฉะนี้แล
อธิบายคาถา
ท่านอาจารย์ ครั้นได้แสดงความเป็นไปของวิบาก โดยคล้อยตามวาทะของ ท่านพระติปิฏกจูฬนาคเถระ ว่า :-
เจตนาขณะเดียว มีวิบาก ๑๖ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับติเหตุกวิบากปฏิสนธิ
เจตนาขณะเดียว มีวิบาก ๑๒ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับทวิเหตุกวิบากปฏิสนธิ
เจตนาขณะเดียว มีวิบาก ๘ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับอเหตุกวิบากปฏิสนธิ ดังนี้ ตามประการที่กล่าวแล้วนั้น บัดนี้ ประสงค์แสดงความเป็นไปของวิบากตาม วาทะของพระมหาธัมมรักขิตเถระ ผู้อยู่ ณ โมรวาปีมหาวิหาร ที่ว่า :
เจตนาขณะเดียว มีวิบากเพียง ๑๒ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับติเหตุกวิบาก ปฏิสนธิ
เจตนาขณะเดียว มีวิบากเพียง ๑๐ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับทวิเหตุวิบากปฏิสนธิ
เจตนาขณะเดียว มีวิบากเพียง ๘ ดวง โดยเกี่ยวเนื่องกับอเหตุกวิบากปฏิสนธิ
ดังนี้ จึงกล่าวเป็นคาถาว่า “อสังขารํ สสงฺขารํ - วิปากานิ น ปจฺจติ - กรรมที่เป็น อสังขาริก ไม่เผล็ดวิบากที่เป็นสสังขาริก” ดังนี้ เป็นต้น
ในคาถานี้ มีคำอธิบายอย่างนี้ คือ พระเถระบางท่าน (ท่านอาจารย์ธัมมรักขิตเถระ) ปรารถนาความเป็นอสังขาริก และความเป็นสสังขาริก แห่งวิบาก ตามกรรมอันเป็นเหตุมา กล่าวคือ ถ้าหากว่ากรรมนั้นเป็นอสังขาริกนั่นเทียว จึงจะให้วิบากที่เป็นอสังขาริก ไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก, ถ้าหากว่า กรรมนั้นเป็น สสังขาริก ย่อมให้วิบากที่เป็นสสังขาริก ไม่ให้วิบากที่เป็นอสังขาริก เหมือนอย่าง เมื่อหน้าไม่สั่นไหว เงาหน้าในกระจกก็ย่อมไม่สั่นไหว เมื่อหน้าสั่นไหว เงาหน้า จึงจะสั่นไหว ฉะนั้น แต่เพราะเหตุที่ท่านอาจารย์ปรารถนาเหตุแห่งความเป็น อสังขาริก และความเป็นสสังขาริกอย่างอื่น มีอารมณ์ที่นับว่าเป็นกรรม กรรมนิมิตเป็นต้น และปัจจัยมีอุตุอาหารเป็นต้น ที่เป็นสัปปายะ และไม่เป็นสัปปายะ ตามที่กล่าวแล้วในหนก่อน (ในปริจเฉทที่ ๑) เพราะฉะนั้น วาทะที่ว่า กรรมที่ เป็นอสังขาริกไม่เผล็ดวิบากที่เป็นสสังขาริกเป็นต้น นี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เป็นวาทะของพระเถระบางท่าน
คำว่า สำหรับพระเถระเหล่านั้น พึงแสดงวิบาก ๑๒ ฯลฯ ตามลำดับ ความ ว่า สำหรับพระเถระผู้มีวาทะว่า กรรมที่เป็นอสังขาริก ไม่เผล็ดวิบากที่เป็นสสังขาริก เป็นต้น เหล่านั้น พึงแสดงวิบากตามวาทะของท่านว่า วิบาก ๑๒ วิบาก ๑๐ และวิบาก ๘ ตามลำดับ อย่างนี้ คือ :-
กรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะที่เป็นอสังขาริก ย่อมให้วิบาก ๑๒ คือ มหา วิบากที่เป็นอสังขาริก ๔ อเหตุกวิบาก ๘ เว้นมหาวิบากที่เป็นสสังขาริก ๔
กรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะที่เป็นสสังขาริก ย่อมให้วิบาก ๑๒ นั่นเทียว คือ มหาวิบากที่เป็นสสังขาริก ๔ อเหตุกวิบาก ๘ เว้นมหาวิบากที่เป็นอสังขาริก ๔
กรรมที่เป็นติเหตุกโอมกะ และที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ ที่เป็นอสังขาริก ย่อมให้วิบาก ๑๐ คือ มหาวิบากที่เป็นญาณวิปปยุตอสังขาริก ๒ และอเหตุกวิบาก ๘ แม้ที่เป็นสสังขาริก ก็มีนัยนี้แหละ.
กรรมที่เป็นทวิเหตุกโอมกะจะเป็นอสังขาริกก็ตาม เป็นสสังขาริกก็ตาม ย่อมให้อเหตุกวิบาก ๘ ดวงเท่านั้น ย่อมไม่ให้มหาวิบากทั้งหลาย.
คำว่า ตามทำนองแห่งคำตามที่ได้กล่าวแล้ว เกี่ยวกับกรรมที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐะ ๑ ที่เป็นติเหตุกโอมกะและที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ ๑ ที่เป็นติเหตุกโอมกะและที่เป็นทวิเหตุกอุกกัฏฐะ ๑ ที่เป็นทวิเหตุกโอมกะ ๑
คำว่า ตามสมควรแก่ความเกิดได้ คือ ตามสมควรแก่การเกิดได้ในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล ส่วน เกี่ยวกับความเกิดได้ตามสมควรแก่ทวารและอารมณ์ ก็พึงทราบตามทำนองดังได้กล่าวแล้ว ในฝ่ายอกุศลกรรมนั่นเทียว ก็อารมณ์ของวิบากเหล่านี้ ล้วนเป็นอิฏฐารมณ์ เพราะอิฏฐารมณ์เท่านั้น ควรแก่วิบากกุศลแล.
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ