ปัญหาในสมถกรรมฐาน
(ปัญญาที่มีอักษร อ. อยู่ข้างหน้า เป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาชั้นอาจารย์, ส่วนปัญหาที่ไม่มีอักษร อ. นั้น เป็นปัญหาทั่วไป)
๑. จงแปลอภิชัมมัตถสังคหะบาที่แสดงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ :-
ก. คำปฏิญญา
ข. กรรมฐาน ๔๐ แบ่งเป็น ๗ หมวด
ค. จริต ๖
ฆ. กสิณ ๑๐
ง. อสุภ ๑๐
จ. อนุสสติ ๑๐
ฉ. อัปปมัญญา ๔
ช. จำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต
ฌ. จำแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓
ญ. จำแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนาโดยฌานทั้ง
ฏ. จำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยนิมิต ๓
ฏ. การเกิดขึ้นแห่งนิมิตและภาวนาที่เกี่ยวเนื่องกัน จนถึงปฐมฌานเกิด
ฐ. การเกิดขึ้นของฌานเบื้องบนมีทุติยฌานเป็นต้น (หน้า ๑ ถึง ๑๒)
๒. จงแปลอภิธัมมัตถสังคหะบาลี ข้อที่ ๑๙-๒๐-๒๑-๒๒ (หน้า ๑๒ ถึง ๑๔)
อ. ๓. จงบรรยายคำปฏิญญาของพระอนุรุทธาจารย์ให้ถี่ถ้วน (หน้า ๑๔ ถึง ๒๔)
๔. จงแสดงอนุสนธิพร้อมด้วยคำปฏิญญาของพระนุรุทธาจารย์ (หน้า ๑๔)
๕ กรรมฐานสังคหะหมายความว่ากระไร มีวจนัตถะอย่างไร ? (หน้า ๑๕)
๖. จงแสดงความหมายและวจนัตถะในบทดังต่อไปนี้ :- สมถะ วิปัสสนา ภาวนา กรรมฐาน (หน้า ๑๕ ถึง ๒๔)
๗. ภาวนามีอย่าง คืออะไรบ้าง ? และอธิบายในวฉนัตถะของสมถะทั้ง ๓ ข้อ (หน้า ๑๕-๑๗)
๘. สมถะมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ? จงอธิบายในสมถะนั้นๆ ด้วย (หน้า ๑๗)
อ. ๙. การเห็นแจ้งอย่างไรจะได้ชื่อว่าวิปัสสนา ? จงอธิบายให้เห็นโดยชัดเจน (หน้า ๑๗-๑๘)
๑๐. คำว่า "วิปัสสนา" เมื่อตัดบทแล้วมีกี่บท คืออะไรบ้าง? จงบอกความหมายและแสดงวจนัตถะมาด้วย (หน้า ๑๘)
๑๑. จงแปลวจนัตถะดังต่อไปนี้ :-
ก. รูปาทิอารมฺมเณสุ ปญฺญตฺติยา วิเสเสน นามรูปภาเวน ปสฺสตีติ = วิปสฺสนา
ข. รูปาทิอารมฺมเณสุ นิจฺจ - สุข - อตฺต - สุภ - สญฺญาย วิเสเสน อนิจฺจาทิอากาเรน ปสฺสตีติ = วิปสฺสนา
ค. ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจฺจาทิอากาเรน ปสฺสตีติ = วิปสฺสนา (หน้า ๑๗-๑๘)
๑๒. การเห็นแจ้งเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นตัววิปัสสนาปัญญานั้นมีอยู่กี่อย่าง คืออะไรบ้าง ? (หน้า ๑๘)
๑๓. จงยกเหตุผลที่กล่าวว่า การเห็นรูปนามก็เป็นวิปัสสนา การเห็นไตรลักษณ์และสุภะก็เป็นวิปัสสนา ให้ถูกต้องตามหลัก (หน้า ๑๘-๑๙-๒๐)
๑๔. วิปัสสนามีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ? จงบอกความหมายมาด้วย (หน้า ๒๑)
๑๕. จงอธิบายในวิปัสสนาทั้ง ๓ มี สงขารปริดุคณุหนกวิปสุสนา เป็นต้น(หน้า ๒ ๑-๒๒)
๑๖. จงแปลบาลีดังต่อไปนี้ วิปสฺสนา ปเนสา ติวิธา โทติ ฯลฯ วิปสฺสนาย เต สงฺขาเร วิปสฺสติ ฯ (หน้า เ๗๒-๒๓)
๑๗. คำว่ากรรมฐาน เมื่อตัดบทแล้วมีกี่บท คืออะไรบ้าง? จงบอกความหมายของบทนั้นๆ พร้อมด้วยวจนัตถะมาด้วย (หน้า ๒๓)
๑๘. อยากทราบว่าอะไรเป็นอารมณ์กรรมฐาน และอะไรเป็นอารัมมนิกภาวนากรรมฐาน ? จงยกวจนัตถะและอธิบายประกอบด้วย (หน้า ๒๓-๒๔)
๑๙. จงแสดงวจนัตถะของคำว่า กมฺมฏฺฐานํ ตามนัยมูลฎีกา และ ยถากฺกมํ ในคำปฏิญญาของพระอนุรุทธาจารย์นั้น หมายความว่ากระไร มีวจนัตถะว่าอย่างไร ? (หน้า ๒๔ )
๒๐. สมถกรรมฐานสังคหะ หมายความว่ากระไร มีวจนัตถะว่าอย่างไร และพระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงสมถกรรมฐานออกเป็น ๗ หมวดนั้น คืออะไรบ้าง ? (หน้า ๒๔)
๒๑. คำว่า "จริตา" กับคำว่า "จริยา" ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ? และจงแสดงวจนัตถะของคำว่า "จริยา" "ราคจริยา" "ราคจริโต" ด้วย (หน้า ๒ ๕)
๒๒. จริตโดยพิสดารมีจำนวนเท่าใด คืออะไรบ้าง ? (หน้า ๒๕)
๒๓. สุทธจริตมี ๔ มิสสกจริตมี ๔๙ คืออะไรบ้าง? จงนับให้ครบตามจำนวนนี้ด้วย (หน้า ๒ ๕-๒๗)
๒๔. ผู้มีจริต ๓ อย่างปะปนกัน จะเลือกกรรมฐานให้อย่างไร ? (หน้า ๒๗)
อ. ๒๕. จงบรรยายข้อสังเกตในจริตต่างๆ โดยถี่ถ้วน (หน้า ๒๓ ถึง ๓๒)
๒๖. จงแสดงคาถาที่เป็นหลักพึงยึดถือไว้เป็นเครื่องสังเกตรู้ได้ในจริตต่างๆ พร้อมทั้งแปล (หน้า ๒๗)
๒๗. จงแสดงข้อสังเกตที่พึงรู้ได้แก่ผู้มีจริตต่างๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก. ผู้มีราคจริต ข. ผู้มีศรัทธาจริ ค. ผู้มีโทสจริต ม. ผู้มีพุทธิจริต ง. ผู้มีโมหจริต จ. ผู้มีวิตกจริต (หน้า ๒๘ ถึง ๓l๒)
อ. ๒๘. จงบรรยายสมุฎฐานของจริต (หน้า 3๓ ถึง ๓๗)
๒๙. จงแสดงสมุฏฐานของผู้มีจริตดังต่อไปนี้ :-
ก. ผู้มีราคจริต ข. ผู้มีโทสจริต ค. ผู้มีโมหจริต ฆ. ผู้มีวิตกจริต ง. ผู้มีศรัทธาจริต จ. ผู้มีพุทธิจริต (หน้า 3๓-3๔-๓๕)
๓๐. เมื่อมีความประสงค์จะแก้ไขปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเพื่อให้ดีขึ้นทั้งในภพนี้และภพหน้า หรือเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปทั้งในภพนี้และภพหน้านั้น จักปฏิบัติตนอย่างไร ? จงชี้แจงให้ทราบด้วย (หน้า ๓๕-๓๖)
๓๑. ภาวนาอย่างไหนได้ชื่อว่าบริกรรม จงยกวจนัตถะมาแสดงด้วย และ บริกรรมภาวนานั้นเป็นวิถีจิตชนิดไหน มีวจนัตถะว่าอย่างไร ? (หน้า ๓๖-๓๗)
๓๒. คำว่า "อุปจาร" แสดงวจนัตถะว่าอย่างไร องค์ธรรมได้แก่อะไร และวิถีจิตชนิดไหนได้ชื่อว่า อุปจารภาวนา ? จงยกวจนัตถะมาแสดงด้วย (หน้า ๓๖-๓๗)
๓๓. คำว่า "อัปปนา" หมายความว่ากระไร เป็นชื่อของสภาวะชนิดไหน มีวจนัตถะว่าอย่างไร คำว่า "อัปปนา" กับคำว่า "ภาวนา" เมื่อรวมเป็นบทเดียวกันแล้วมีวจนัตถะแสดงว่าอย่างไร มีใจความเป็นประการใด ? (หน้า ๓๗)
๓๔. บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา ทั้งสองนี้ก็ได้แก่ มหากุศล มหากริยาชวนะนั้นเอง ดังนั้น อยากทราบว่า เป็นบริกรรมภาวนา และอุปจารภาวนานั้นเป็นในระยะไหน ? จงเปรียบเทียบให้เห็นด้วย (หน้า ๓๗)
อ. ๓๕. จงบรรยายคำบาลีข้อที่ ๔ มี ปริกมฺมภาวนา เป็นต้น จนถึง ติสฺโส ภาวนา (หน้า ๓๖-๓๗)
๓๖. คำว่า "นิมิต" ในบริกรรมนิมิตนั้นได้แก่อะไร มีวจนัตะว่าอย่างไร เมื่อเรียกว่า บริกรรมนิมิต แล้วได้แก่อะไร มีวจนัตถะว่าอย่างไร? (หน้า ๓๗-๓๘)
๓๗. คำว่า "อุคคหะ" และคำว่า "อุคคหนิมิต" นั้น มีความต่างกันอย่างไรคืออะไร ? จงยกวจนัตละขึ้นแสดงด้วย (หน้า ๓๘)
อ. ๓๘. จงอธิบายในบาลีข้อที่ ๕ มี ปริกมฺมนิมิตฺตํ เป็นต้น จนถึง ตีณิ นิมิตฺตานิ (หน้า ๓๗ -๓๘)
๓๙. จงแสดงความต่างกันระหว่างบริกรรมนิมิต กับ อุคคหนิมิต พร้อมทั้งวจนัตถะและสภาพของปฏิกาคนิมิตนั้นด้วย (หน้า ๓๘)
๔๐. จงแสดงความต่างกันระหว่าง อุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต และ กถํ เป็นคำปุจฉาของใคร มีวจนัตถะว่าอย่างไร ? (หน้า ๓๙)
ปัญหาในกสิณ ๑๐
๔๑. คำว่า "ปถวี" ในปถวีกสิณนั้นได้แก่ดินชนิดไหน คำว่า "กสิณ" หมายความว่ากระไร มีวจนัตถะว่าอย่างไร คำว่า "ปถวี" กับคำว่า "กสิณ" เมื่อรวมกันเข้าแล้วมีความหมายเป็นอย่างไร ? จงยกวจนัตถะแสดงประกอบด้วย (หน้า ๔๐)
๔๒. ผู้ที่ทำการเพ่งปถวีกสิณนั้น จะต้องจัดทำองค์กสิณทั่วกันไปทุกๆ คนหรือ ? จงอธิบายให้ทราบในเรื่องนี้ด้วย (หน้า ๔๐)
๔๓. การแสวงหาอมตธรรม มีอยู่กี่ประการ คืออะไร ? จงแสดงบุพพกิจทั้ง ๗ ของผู้จะทำการปฏิบัติมาโดยสังเขปด้วย (หน้า ๔๑)
๔๔. จงอธิบายในบุพพกิจข้อที่ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗ (หน้า ๔๑ ถึง ๔๗)
๔๕. จงแสดงการจัดทำองค์กสิณและการเพ่ง (หน้า ๔๗ ถึง ๕๐)
๔๖. การป้องกันอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากใจในระหว่างอุคคหนิมิตยังไม่ปรากฎนั้นมีวิธีอย่างไร ? (หน้า ๕๐-๕๑)
๔๗. เมื่อุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วจะมีการปฏิบัติต่อไปอย่างไร (หน้า ๕๑-๕๒)
๔๘. จงอธิบายข้อวินิจฉัยที่เกี่ยวกับมีปฏิสนธิจิตเป็นไตรเหตุ และมิใช่ไตรเหตุ (หน้า ๕๒)
๔๙. ผู้ที่มีปฏิสนธิจิตเป็นไตรเหตุด้วยกัน เมื่อทำการปฏิบัตินั้น บางท่านก็ได้สำเร็จเร็ว บางท่านก็สำเร็จช้า ที่เป็นดังนี้เพราะเหตุใด ? (หน้า ๕๒)
๕๐. เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฎขึ้นแล้วนั้น มีความเป็นไปอย่างไร และ พึงปฏิบัติอย่างไร ? จงอธิบายให้ทราบด้วย (หน้า ๕๒ ถึง ๕๔)
๕๑. จงเพิ่มคำบาลีที่ ฯลฯ ไว้ในคาถาดังต่อไปนี้ และแปลด้วย : - อาวาโส โคจโร ภสฺส ฯลฯ โหติ กสฺสจิ อปฺปนา ฯ (หน้า ๕๔)
อ. ๕๒. จงอธิบายใน อสัปปายะ และ สัปปายะ ๗ อย่าง (หน้า ๕๕ ถึง ๖๓)
๕๓. จงอธิบายใน อสัปปายะ และ สัปปายะ ในข้อดังต่อไปนี้ : -
ก. อาวาสะ ข. โคจระ ค. ภัสสะ ฆ. ปุคคละ ง. โภชนะ จ. อุตุ ฉ. อิริยาปถะ (หน้า ๕๕ ถึง ๖๓)
๕๔. พระโยดีบุคคลทำการปฏิบัติเว้นจากอสัปปายะ ๗ อย่าง เสพสัปปายะ ๓ อย่าง แต่รูปาวจรปฐมถานก็ยังไม่เกิด เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีการปฏิบัติกันอย่างไร เพื่อจักให้ปฐมฌานเกิด ? จงชี้แจงให้ทราบด้วย (หน้า ๖๓ ถึง
๕๕. จงบอกถึงวิธีที่ทำการขยายปฏิภาคนิมิต (หน้า ๖๕)
๕๖. จงแสดงการเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานวิถีโดยละเอียด (หน้า ๖๕)
๕๗. หลังจากที่ฌานวิถีดับลงแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าตนได้ฌาน ? จงอธิบายให้ทราบด้วย (หน้า ๖๖)
๕๘. ปฐมมานเป็นต้นที่ได้ชื่อว่า รูปาวจรจิต นั้น เพราะเหตุอะไร และการปฏิบัติครั้งแรกที่จะให้ทุติยฌานเป็นต้นเกิดขึ้นนั้น ปฐมฌานลาภีบุคคลจักมีการปฏิบัติอย่างไร ? (หน้า ๖๖)
๕๙. คำว่า "วสะ" "วสี" "วสีภาวะ" ทั้ง ๓ อย่างนี้ มีความหมายอย่างไร ? จงยกวจนัตถะแสดงประกอบด้วยและจงแสดงวสีทั้ง พร้อมด้วยความหมาย (หน้า ๖๗)
๖๐. จงบรรยายในวสีภาวะ ข้อ ๑-๒-๓-๙-๕ (หน้า๖๘ ถึง ๗๐)
๖๑. จงแสดงการปฏิบัติขั้นสุดท้ายที่จะให้ทุติยฌานเกิด พร้อมทั้งการเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานวิถี (หน้า ๗๐-๗๑)
๖๒. การปฏิบัติขั้นแรกและขั้นสุดท้ายเพื่อจักให้ตติยฌาน เป็นต้นจนถึง ปัญจมฌานเกิดขึ้นนั้น ฌานลาภีบุคคลจะพึงปฏิบัติอย่างไร ? (หน้า ๗๑)
๖๓. รูปฌานตามจตุกกนัยที่เกิดแก่ติกขบุคคลนั้นเป็นอย่างไร จงแสดงมาให้เห็นโดยชัดเนด้วย และเมื่อได้รูปฌานหมดแล้วนั้น อภิญญาจักเกิดหรือไม่ ประการใด ? จงอธิบายให้ทราบโดยถี่ถ้วนด้วย (หน้า ๗๑-๗๒)
๖๔. รูปปัญจมฌานลาภีบุคคลจักปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้อากาสานัญจายตนฌาน ? จงชี้แจงให้ทราบโดยถี่ถ้วนด้วย (หน้า ๗ ๒-๗ ๕)
๖๕. อากาสานัญจายตนฌาน มีชื่อเรียกได้กี่ชื่อ คืออะไรบ้าง ? จงบอกถึงเหตุแห่งการเรียกชื่อนั้นๆ มาด้วย (หน้า ๗๔)
๖๖. อากาสานัญจายตนฌานลาภีจักปฏิบัติต่อไปอย่างไรจึงจะได้วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญขัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ? (หน้า ๗๕ ถึง ๙๐)
๖๗. จงแปลและอธิบายในดาถาที่แสดงถึงความประณีตต่างกันยิ่งๆ ขึ้นไปของอรูปฌานทั้ง ๔ (หน้า ๘๐-๘๑)
๖๘. จงอธิบายข้อความและการปฏิบัติในกสิณต่างๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก. อาโปกสิณ ข. เตโชกสิณ ค. วาโยกสิณ ฆ. วัณณกสิณ ๘ ง. อาโลกกสิณ จ. อากาสกสิณ (หน้า ๘๑ ถึง ๘๘)
๖๙. การเพ่งกสิณอย่างเดียว นิมิตอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกสิณที่เหลือ ๙ จักเกิดได้หรือไม่? จงอธิบายให้ทราบด้วย (หน้า ๘๙)
๗๐. ผู้ปฏิบัติต้องการจะได้ฌานเร็วนั้น จะเจริญกรรมฐานชนิดไหนจึงจะสำเร็จตามความประสงค์ ? จงชี้แจงและยกเหตุผลมาให้ทราบด้วย (หน้า ๘๘)
๗๑. กสิณ ๑๐ มีอานุภาพเป็นอย่างไรบ้าง ? จงบรรยายให้ถี่ถ้วย (หน้า ๘๙ ถึง ๙๒)
ปัญหาในอสุภ ๑๐
๗๒. จงแยกบทและแสดงความหมาย พร้อมด้วยวจนัตถะในอสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ ให้ถี่ถ้วน (หน้า ๙๒ ถึง ๙๕)
๗๓. จงบรรยายวิธีเจริญตามหลักธรรมดา และนิมิต ๓ ในอสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ โดยละเอียด (หน้า ๘๕ ถึง ๙๙)
๗๔. ศพที่เป็นอัฏฐิใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานได้นั้น มีอยู่กี่อย่าง คืออะไร ? (หน้า ๙๙)
๗๕. การพิจารณาอสุภกรรมฐนตามหลักธรรมดา คือ พิจารณาว่าเป็นของน่าเกลียด แต่อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตไม่ปรากฎ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เจริญจักปฏิบัติต่อไปอย่างไร ? จงชี้แจงให้ทราบด้วย (หน้า ๑๐๐-๑๐๑)
๗๖. การเข้าไปพิจารณาศพนั้น จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูก ? จงชี้แจงให้ถี่ถ้วน (หน้า ๑๐๑)
๗๗. อสุภชนิดไหนที่ทำให้จิตใจของพระโยคีบุคคลมีการวิปริตเกิดขึ้นและผีเข้าสิงได้ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ? จงอธิบาย (หน้า ๑๐๒)
๗๘. อุคคหนิมิตที่เกิดจากการเจริญอสุภกรรมฐานนี้ จะเป็นภัยแก่ผู้เจริญได้หรือไม่ ? จงอธิบายด้วย (หน้า ๑๐๒)
๗๙. จงอธิบายถึงการจำรู้ในบริกรรมนิมิต และการเห็นรู้ในอุดคหนิมิตว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร (หน้า ๑๐๓)
๘๐. ในอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น อย่างไหนที่อุคคหนิมิตปรากฎเร็ว อย่างไหน ปรากฏช้า และวิธีพิจารณาอสุภที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีการพิจารณาอย่างไร? (หน้า ๑๐๓ ถึง ๑๐๔)
๘๑. จงยกคาถาและคำแปลที่แสดงถึงผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอสุภ และความสำคัญผิดแห่งชนทั้งหลาย (หน้า ๑๐๔-๑๐๕)
๘๒. ผู้ที่ได้ปฐมฌานโดยอาศัยการเจริญอสุภนั้น เมื่อจะทำทุติยฌานเป็นต้นต่อไปก็คงใช้กรรมฐานนี้โดยไม่ต้องเปลี่ยนจะได้หรือไม่ ? จงอธิบาย (หน้า ๑๐๕)
๘๓. วิธีเจริญอสุภให้ได้มรรด ผล นั้น มีหรือไม่ ? จงอธิบายให้ชัดเจน (หน้า ๑๐๖)
ปัญหาในอนุสสติ ๑๐
อ. ๘๔. จงบรรยายการพรรณนาเนื้อความ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ ในบาดีข้อที่ที่แสดงถึงอนุสสติ ๑๐ (หน้า ๑๐๗ ถึง ๑๗๘)
๘๕. จงแยกบทและแสดงความหมาย พร้อมด้วยวานัตถะ ตลอดจนถึงวิธีเจริญนิมิตและข้อปฏิบัติต่างๆ ในนุสสติกรรมฐาน ดังต่อไปนี้ :-
ก. อนุสสติ ข. พุทธานุสสติ ค. ธัมมานุสสติ ฆ. สังฆานุสสติ ง. สีถานุสสติ จ. จาคานุสสติ ฉ. เทวตานุสสติ ช. อุปสมานุสสติ ฌ. มรณานุสสติ ญ. กายคตาสติ ฎ. อานาปานัสสติ (หน้า ๑๐๗ ถึง ๑๗๘)
ปัญหาในอัปปมัญญา ๔
อ. ๘๖. จงบรรยายการพรรณนาเนื้อความ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติในบาลีข้อที่ ๙ ที่แสดงถึงปปมัญญา ๔ (หน้า ๑๗๙ ถึง ๒๐๖)
๘๗. จงแสดงความหมายและวจนัตถะ พร้อมด้วยวิธีเจริญตลอดจนถึงนิมิตและอานิสงส์ในอัปปมัญญากรรมฐาน ดังต่อไปนี้ :-
ก. อัปปมัญญา ข. พรหมวิหาร ค. เมตตา ฆ. กรุณา ง. มุทิตา จ. อุเบกขา (หน้า ๑๗๙ ถึง ๒๐๖)
ปัญหาในอาหาเรปฏิกูลสัญญา
อ. ๘๘. จงบรรยายการพรรณนาเนื้อความ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติในบาลีข้อที่ ๑๐ ที่แสดงถึงอาหาเรปฏิกูลสัญญา (หน้า ๒๐๖ ถึง ๒๑๑)
๘๙. จงแปลและอธิบายโดยเฉพาะ ๆ ในคาถาดังต่อไปนี้ :-
คมนา เอสนา โภคา ฯลฯ อิกฺเขยฺย ปฏิกูลตา ฯ (หน้า ๒๐๖ ถึง ๒๑๑)
๙๐. จงแสดงความเป็นไปแห่งนิมิต ภาวนา และปริญญาทั้ง ๓ ในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา (หน้า ๒๑๒)
๙๑. จงแสดงอานิสงส์ที่ได้รับจากการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา และพระพุทธองค์ทรงแสดงโดยประการใดในเรื่องอาหาร ? (หน้า ๒๑๒)
ปัญหาในจตุธาตุววัตถาน
อ. ๙๒. จงแสดงการพรรถนาเนื้อความ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติในบาลีข้อที่ ๑๑ ที่แสดงถึงธาตุทั้ง ๔ (หน้า ๒๑๔ ถึง ๒๒๔)
๙๓. จงอธิบายเรื่องดังต่อไปนี้ให้แจ่มแจ้ง : -
ก. จตุธาตุววัตถานหมายความว่ากระไร องค์ธรรมได้แก่อะไร ?
ข. การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ มีกี่นัย คืออะไร ?
ค. วิธีพิจารณาธาตุทั้ง ๔ โดยย่อนั้น มีการพิจารณากันอย่างไร ?
ฆ. วิธีพิจารณาธาตุทั้ง ๔ โดยพิสดารนั้น มีการพิจารณากันอย่างไร ?
ง. การพิจารณาธาตุ ๕๒ โดยอาการ ๑๓
จ. นิมิต ภาวนา และ มรรค ผล ในการเจริญจตุธาตุววัตถาน
ฉ. อานิสงส์ ๘ อย่างที่ได้รับจากการเจริญธาตุทั้ง ๔ (หน้า ๒๑๔ ถึง ๒๒๔)
ปัญหาในอารุปปกรรมฐาน
อ. ๙๔. จงแสดงการพรรณนาเนื้อความ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติในบาลีข้อที่ ๑๒ ที่แสดงถึงอารุปป ๔ โดยละเอียด (หน้า ๒๒๔ และ ๗๒ ถึง ๘๑)
๙๕. จงจำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยภูมิ พร้อมด้วยหลักฐานบาลีและคำแปล (หน้า ๒๒๕-๒๒๖)
๙๖. จงจำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยปรมัตถ์และบัญญัติ (หน้า ๒๒๖)
๙๗. จงอธิบายในบาลีข้อที่ ๑๓ ที่แสดงถึงการจำแนกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่จริต โดยครบถ้วน (หน้า ๒๒๗ ถึง ๒เ๒๕)
๙๘. จงอธิบายในบาลีข้อที่ ๑๔ ที่แสดงถึงการจำแนกกรรมฐานโดยภาวนา ๓อย่างพิสดาร (หน้า ๒๒๔ ถึง ๒๓๑)
๙๙. จงอธิบายในบาลีข้อที่ ๑๕ ที่แสดงถึงการจำแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนา โดยฌานทั้ง ๙ (หน้า ๒๓๑ ถึง ๒๓๒)
๑๐๐. จงแสดงในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก. เหตุผลในการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา ที่ให้ได้แต่เพียงรูปฌานเบื้องต่ำ ๔
ข. เหตุผลในการเจริญอุเบกขาให้ได้เฉพาะแต่รูปปัญจมฌาน
ค. ผู้ที่จะได้รูปปัญจมฌานโดยการเจริญอุเบกขา (หน้า ๒๓๓ ถึง ๒๓๕)
๑๐๑. จงบรรยายในบาลีข้อที่ ๑๖ ที่แสดงถึงการจำแนกกรรมฐานโดยนิมิต ๓ (หน้า ๒๓๕-เ๒๓๖)
๑๐๒. จงอธิบายโดยย่อในบาลีข้อที่ ๑๗-๑๘-๑๙-๒๐ (หน้า ๒๓๖-๒๓๗)
ปัญหาในอภิญญา
๑๐๓. จงแก้ปัญหาดังต่อไปนี้ :
ก. การปรากฏแห่งอภิญญาเป็นอย่างไร ?
ข. คำว่า "อภิญญา" หมายความว่ากระไร แยกบทเป็นกี่บท คืออะไร มีวจนัตถะว่าอย่างไร ?
ค. กรรมฐานที่ให้ได้อภิญญานั้น เป็นกรรมฐานชนิดไหน ?
ฆ. ผู้ที่ไม่ได้สมาบัติ แต่ก็ได้อภิญญาด้วยอำนาจบารมีนั้นเป็นไปอย่างไร ?
ง. มัคคสิทธิอภิญญามีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?
จ. ผู้ที่ได้สมาบัติแล้ว แต่ยังไม่ได้อภิญญานั้น จักปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำอภิญญาได้ ? (หน้า ๒๓๗ ถึง ๒๔๔)
๑๐๔. โลกียอภิญญานับโดยพิสดารแล้วมีอย่าง คืออะไรบ้าง ? พร้อมทั้งความหมายและองค์ธรรม จงอธิบายในโลกุตตรอกิญญามาด้วย (หน้า ๒ ๔๕)
อ. ๑๐๕. จงบรรยายในเรื่องโกียอภิญญามาให้ทราบอย่างถี่ถ้วน ( หน้า ๒๔๕ ถึง ๒๕๖)
๑๐๖. จงอธิบายขยายความในโลกียอภิญญาดังต่อไปนี้ ไม่ต้องแสดงวิธีทำอภิญญา
ก. อิทธิวิธอภิญญา ข. ทิพพโสตอภิญญา ค. ปรจิตตวิชานนอภิญญา ฆ. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา ง. ทิพพจักขอภิญญา จ. ยถากัมมูปคอภิญญา ฉ. อนาคตังสอภิญญา (หน้า ๒๔๕ ถึง ๒๕๑)
๑๐๗. จงบรรยายเรื่องการทำอภิญญาต่างๆ โดยละเอียด (หน้า ๒๕๑ ถึง ๒๕๖)
๑๐๘. จงแสดงอารมณ์ของโลกียอภิญญา และโลกุตตรอภิญญาโดยเฉพาะๆ (หน้า ๓๕๖)
๑๐๙. ฤทธิ์มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ? ให้แสดงพร้อมด้วยความหมาย และอธิบายให้ทราบด้วย (หน้า ๒๕๗-๒๕๘)
จบปัญหาในสมถกรรมฐาน
----------///-----------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ