๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ สมฺภวติ

    อัชฌัตติกายตนะ ๖ มีจักขายตนะเป็นต้น ย่อมปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยนามรูปเป็นเหตุ

      ในที่นี้ 

      - นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต ๓๒ 

      - รูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๖ คืออวินิพโภครูป ๘ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๑ หทัยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑

      - สฬายตนะ ได้แก่ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ คือโลกียวิปากจิต ๓๒


แสดงวจนัตถะของคำว่า สฬายตนะ

      อายตํ สงฺสารวฏฺฏํ นยตีติ = อายตนํ

      ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่าอายตนะ ได้แก่ อายตนะ ๑๒

      ฉ อายตนานิ = สฬายตนํ

      อายตนะทั้ง ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ ได้แก่ อัชมัตติกายตนะ ๖

      สฬายตนญฺจ ฉฏฺฐายตนญฺจ = สฬายตนํ

      อายตนะทั้ง ๖ และอายตนะที่ ๖ ชื่อว่า สฬายตนะ

      อธิบายว่า คำว่า สฬายตนะ ในบทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ นี้เป็นบทที่ทำให้เหลือจากบท ๒ บท คือ สฬายตน๊ ฉฏฺฐายตนํ การกระทำให้เป็นไปเช่นนี้เรียกว่า เอกเสสนัย คือลบบท ฉฏฺฐายตนํ ออก คงเหลือไว้แต่ สฬายตนํ บทเดียว หมายความว่า อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่เป็นผลของนามรูปนี้ เมื่อจำแนกโดยภูมิแล้ว ย่อมเป็นไปดังนี้คือ

      ในปัญจโวการภูมิ นามรูปเป็นเหตุ อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่ชื่อว่า สฬายตนะ เป็นผลตามสมควร

      ในอรูปภูมิ นามเป็นเหตุ มนายตนะที่ชื่อว่า ฉัฏฐายตนะ เป็นผล 

      การเป็นเหตุเป็นผลระหว่าง นาม กับ มนายตนะนั้น เกิดพร้อมกัน และเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันก็ได้ ส่วนการเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่าง นาม กับปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่เกิดพร้อมกันก็มี แล้วแต่กาล และเป็นเหตุเป็นผลกัน ระหว่างรูป กับ มนายตนะ และรูป กับ ปัญจายตนะนั้น เกิดพร้อมกันก็มี ไม่พร้อมกันก็มี แล้วแต่กำเนิด

      ข้ออธิบายที่กล่าวมานี้ จะปรากฏชัดในเวลาที่จำแนกโดยปัจจัย ๒๔


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของสฬายตนะ

      ๑. อายตนลกฺขณํ มีการกระทบ หรือมีการทำให้วัฏฏสงสารยืนยาวเป็นลักษณะ

      ๒. ทสฺสนาทิรสํ มีการเห็นเป็นต้นเป็นกิจ

      ๓. วตฺถุทฺวารภาวปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นวัตถุและทวารของปัญจวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ตามสมควร เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

      ๔. นามรูปปทฏฺฐานํ มีเจตสิก และกัมมชรูป เป็นเหตุใกล้


แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ

๑. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับโลกียวิปากจิต เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิปากจิต ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๗ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) สหชาตนิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) สัมปยุตตปัจจัย ๖) อัตถิปัจจัย ๗) อวิคตปัจจัย

๒. นาม คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่ประกอบกับ โลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียสเหตุกวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ

      ๑) เหตุปัจจัย ๒) สหชาตปัจจัย ๓) อัญญมัญญปัจจัย ๔) นิสสยปัจจัย ๕) วิปากปัจจัย ๖) สัมปยุตตปัจจัย ๗) อัตถิปัจจัย ๘) อวิคตปัจจัย

๓. นาม คือ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) สหชาตกัมมปัจจัย ๕) วิปากปัจจัย ๖) นามอาหารปัจจัย ๗) สัมปยุตตปัจจัย ๘) อัตถิปัจจัย ๙) อวิคตปัจจัย

๔. นาม คือ ผัสสะ เจตนา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) นามอาหารปัจจัย ๖) สัมปยุตตปัจจัย ๗) อัตถิปัจจัย ๘) อวิคตปัจจัย

๕. นาม คือ วิตก วิจาร ปีติ ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) ฌานปัจจัย ๖) สัมปยุตตปัจจัย ๗) อัตดิปัจจัย ๘) อวิคตปัจจัย

๖. นาม คือ ชีวิตินทรีย์ เวทนา ศรัทธา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้อำนาจปัจจัย ๘ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) สหชาตินทริยปัจจัย ๖) สัมปยุตตปัจจัย ๗) อัตถิปัจจัย ๘ป อวิคตปัจจัย

๓. นาม คือ วิริยะ สติ ปัญญา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๙ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) สหชาตินทริยปัจจัย ๖) มัคคปัจจัย ๗) สัมปยุตตปัจจัย ๘) อัตถิปัจจัย  ๙) อวิคตปัจจัย

๘. นาม คือ เอกัคคตา ที่ประกอบกับโลกียวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่โลกียวิบาก ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ได้อำนาจปัจจัย ๑๐ คือ

      ๑) สหชาปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) นิสสยปัจจัย ๔) วิปากปัจจัย ๕) สหชาตินทริยปัจจัย ๖) ฌานปัจจัย ๗) มัคคปัจจัย ๘) สัมปยุตตปัจจัย ๙) อัตถิปัจจัย ๑๐) อวิคตปัจจัย

      การจำแนกปัจจัยและปัจจยุบัน ตั้งแต่ข้อ ๑-๘ ดังกล่าวมานี้ เป็นปัจจัยได้ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล

๙. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการปฏิสนธิจิต เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๖ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) นิสสยปัจจัย ๓) วิปากปัจจัย ๔) สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๕) อัตถิปัจจัย ๖) อวิคตปัจจัย

      ในที่นี้สำหรับ จักขุ โสตะ มานะ ชิวหา อายตนะทั้ง ๔ นี้ มุ่งหมายเอา สังเสทชะและ โอปปาติกกำเนิด ส่วนกายายตนะนั้น ได้กำเนิดทั้งหมด

๑๐. นาม คือ เจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับปัญจโวการวิบาก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๔ คือ

     ๑) ปัจฉาชาตปัจจัย ๒) ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย ๓) อัตถิปัจจัย ๔) อวิคตปัจจัย

๑๑. รูป คือ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ ในปฏิสนธิกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๖ คือ

      ๑) สหชาตปัจจัย ๒) อัญญมัญญปัจจัย ๓) สหชาตนิสสยปัจจัย ๔) สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๕) อัตถิปัจจัย ๖) อวิคตปัจจัย

๑๒. รูป คือ หทัยวัตถุ ที่เกิดก่อนและกำลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่ปัญจโวการวิบาก ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๕ คือ

      ๑) วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒) วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๓) วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๔) อัตถิปัจจัย ๕) อวิคตปัจจัย

๑๓. รูป คือ ปัญจายตนะ ที่เกิดก่อนและกำลังตั้งอยู่ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่มนายตนะ ซึ่งได้แก่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ในปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้นได้อำนาจปัจจัย ๖ คือ

      ๑) วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒) วัตถุปุเรชาตปัาจัย ๓) ปุเรชาตินทริยปัจจัย ๔) วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๕) อัตถิปัจจัย ๖) อวิคตปัจจัย

๑๔. รูป คือ กัมมชมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๔ คือ

     ๑) สหชาตปัจจัย ๒) สหชาตนิสสยปัจจัย ๓) อัตถิปัจจัย ๔) อวิคตปัจจัย

๑๕. รูป คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับตน ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลแห่งปัญจโวการภูมินั้นได้อำนาจปัจจัย ๓ คือ

      ๑) รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๒) อัตถิปัจจัย ๓) อวิคตปัจจัย

๑๖. รูป คือ กัมมชโอชา เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจายตนะ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับตน และในกลาปอื่นๆ ในปวัตติกาลแห่งกามภูมินั้น ได้อำนาจปัจจัย ๓ คือ

     ๑) รูปอาหารปัจจัย ๒) อัตถิปัจจัย ๓) อวิคตปัจจัย


เมื่อรวมอำนาจปัจจัยในการช่วยเหลืออุปการะ ของนามรูปแก่สฬายตนะนั้น ได้ ๒๒ ปัจจัย คือ

      ๑) เหตุปัจจัย ๒) สหชาตปัจจัย ๓) อัญญมัญญปัจจัย ๔) สหชาตนิสสยปัจจัย ๕) วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๖) วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๗) ปัจฉาชาตปัจจัย ๘) กัมมปัจจัย ๙) วิปากปัจจัย ๑๐) รูปอาหารปัจจัย ๑๑) นามอาหารปัจจัย ๑๒) สหชาตินทริยปัจจัย ๑๓) ปุเรชาตินทริยปัจจัย ๑๔) รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๑๕) ฌานปัจจัย ๑๖) มัคคปัจจัย ๑๗) สัมปยุตตปัจจัย ๑๘) สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๑๙) วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๒๐) ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย ๒๑) อัตถิปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย) ๒๒) อวิคตปัจจัย (ทั้ง ๕ ปัจจัย)


จบ นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ

-------------------------

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปฏิจจสมุปบาท,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.