แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท "ชาติปจฺจยา โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ"


      "ชาติ" เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะอุปายาสะ เหล่านี้ ได้อำนาจปัจจัย ๑ ปัจจัย คือปกตูนิสสยปัจจัย 

      ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ในโลกนี้ก็ได้แก่การหมุนเวียนของเครื่องจักร คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอวิชชาเป็นต้นนั้นเอง แต่สัตว์ทั้งหลาย เป็นส่วนมากหาได้มองเห็นถึงความเป็นไปแห่งชีวิตดังนี้ไม่ มีแต่ความหลงยึดอยู่เพียงแค่สมมติสัจจะ คือคนนั้นตาย คนนี้เกิด เราเห็น เราได้ยินเป็นต้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะที่แท้จริงแล้ว คนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิงเป็นต้นเหล่านี้ไม่มีเลย มีแต่ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นสืบเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสาย ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น และความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงที่สมมติกันว่าคนนั้นคนนี้ เรา เขา ชาย หญิง เหล่านี้ก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้น การเกิดขึ้นของธรรมเหล่านี้ก็เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้นนั้นเอง ฉะนั้น พระผู้มีพระกาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า "เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ" (ขุ.ส. ๒๕/ข้อ ๔๐) 

      มีความว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ๆทั้งปวงนี้ เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆ มีอวิชชาเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 

      เมื่อพิจารณาดูตามปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย มีสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะอวิชชานั้นเองเป็นตัวต้นเหตุ ส่วนสังขารเป็นต้นนั้นเกิดเนื่องมาจากอวิชซาอีกทีหนึ่งไม่ใช่เป็นตัวต้นเหตุที่เดียว และถ้าตราบใดอวิชชายังมีอยู่ การเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดได้ทำลายอวิชชาให้สิ้นสุดลงแล้ว สังขารเป็นต้นก็สิ้นสุดลงไปด้วย หมายความว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นอันยุติลง ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภากเจ้าจึงได้ทรงแสคงปฏิจจสมฺปบาทโดยปฏิโลมเทศนาว่า "อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ, สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ, วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ, นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ, สพายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ, ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ, เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ, ณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ, อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ, ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ, ชาตินิโรธา ชรามรณโสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ" (ขุ.สุ. ๒๕/ข้อ ๔๐)

      เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอวิชชาโดยไม่มีเหลือ ด้วยอำนาจวิชชาที่ชื่อว่าวิราคะ นั้นเอง สังขาร คือกุศลกรรม อกุศลกรรม จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งสังขาร วิญญาณ คือ วิปากวิญญาณที่ในภพนี้ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งวิญญาณ คือกัมมวิญญาณที่ในภพก่อนๆ และวิปากวิญญาณที่ในภพนี้ นามรูปคือเจตสิกและกัมมชรูป จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งนามรูป สพายตนะคืออัชฌัตติกายตนะ ๖ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งสพายตนะ ผัสสะ มีจักขุสัมผัสสะ เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งผัสสะ เวทนา มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งเวทนา ตัณหา ๖หรือ ๑๐๘ มีรูปตัณหา เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งตัณหา อุปาทาน ๔ มีกามุปาทาน เป็นต้น จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งอุปาทาน ภวะ คือ กัมมภวะและอุปปัตติภวะ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งภวะ ชาติ คือความเกิดขึ้นแห่งโลกิยวิปากจิต เจตสิก และกัมมชรูป จึงคับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งชาติ ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความเศร้าโศก ปริเทวะการร้องไห้รำพัน ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัสสะ ความทุกข์ใจ อุปายาสะความกับแค้นใจ จึงดับลง ความสูญสิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ย่อมเป็นไปดังที่ในปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนานี้ ข้อสำคัญก็ถือ ความดับสูญสิ้นของอวิชชานั้นเอง ส่วนความดับของสังขารเป็นต้นนั้น เมื่ออวิชชาคับลงแล้วสังขารเป็นต้นเหล่านี้ก็ย่อมดับลงพร้อมกัน ไม่ใช่ดับไปทีละอย่างตามลำดับ ซึ่งต่างกับในอนุโลมเทศนา อุปมาเหมือน ถ้ามีเมล็ดพืชเพาะลงแล้ว ผลคือลำต้นก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่อมีลำต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่อมีกิ่งแล้ว ก้านก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่อมีก้านและใบแล้ว ดอกก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่อมีดอกแล้ว ลูกก็ปรากฎขึ้นได้เมื่อมีลูกแล้ว เมล็ดก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่อมีเมล็ดแล้ว ลำต้นก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่อมีลำต้นแล้ว กิ่งก็ปรากฎขึ้นได้ เป็นเหตุเป็นผลกันโดยเฉพาะ ๆ วนเวียนกันอยู่เรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่นเดียวกันกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมเทศนามี อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น แต่ถ้าเอาเมล็ดพืชนั้นมาเผาทำลายเสียแล้ว ลำต้นก็ปรากฎขึ้นไม่ได้ เมื่อลำต้นเกิดไม่ได้แล้ว กิ่งก็เกิดไม่ได้ เมื่อกิ่งเกิดไม่ได้แล้ว ก้านใบ ก็เกิดไม่ได้ เมื่อก้าน ใบ เกิดไม่ได้แล้ว ดอกก็เกิดไม่ได้ เมื่อดอกเกิดไม่ได้แล้วลูกก็เกิดไม่ได้ เมื่อลูกเกิดไม่ได้แล้ว เมล็ดก็เกิดไม่ได้ เมื่อเมล็ดเกิดไม่ได้แล้วลำต้นก็เกิดไม่ได้ แต่ในการแสดงเหตุผลทางฝ่ายการเกิดไม่ได้ ที่กล่าวไปตามลำดับนี้กล่าวมานี้ ก็เป็นแต่เพียงการแสดงโดยโวหารเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงนั้น เมื่อได้ทำลายเมล็ดพืชให้เสียไปแล้ว ต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ลูก เมล็ด เหล่านี้ ก็เกิดไม่ได้ไปด้วย กันเช่นเดียวกับการแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมเทศนามี อวิชชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เป็นต้น

      ที่กล่าวว่า ความดับสูญสิ้นแห่งอวิชชานี้ ก็ได้แก่พระนิพพานนั้นเองแต่ก็ยังเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน คือยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ และสอุปาทิเสสนิพพานนี้ต่อไปก็จะเป็น อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับวิบากแห่งขันธ์ ๕ โดยไม่เกิดขึ้นอีก ฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจในสภาพของพระนิพพานโดยถูกต้องนั้นจึงมิได้มีทั่วไป โดยมากมักเข้าใจว่าผู้ที่ได้เสวยความสุขในอนุปาทิเสสนิพพานนั้นยังมีตัวผู้เสวยอยู่ แต่ผู้นั้นก็ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ซึ่งความจริงนั้น อนุปาทิเสสนิพพานนี้ หาได้มีตัวตน เรา เขา อย่างใดไม่ ได้แก่การดับการเกิดขึ้นแห่งขันธ์  อย่างสิ้นเชิง และไม่มีการเกิดขึ้นใหม่อีกนั้นเอง อุปมาเหมือนดวงไฟที่ดับลงฉันใด พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานก็ฉันนั้น

      ในเรื่องพระนิพพานนี้ ท้าวมหาพรหมผู้มีนามว่า พกะพรหม เมื่อได้ยินสภาพความเป็นไปของพระนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วทนนิ่งอยู่ไม่ได้จึงพูดขึ้นว่า "ตุจฺฉกญฺเญว อโหสิ ริตฺตกญฺเญว อโหสิ นิรตฺถกญฺเญว อโหสิ "ข้าแต่ท่านโคตม นิพพานของท่านเป็นของเปล่าๆ ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย หาประโยชน์มิได้" เรื่องนี้ผู้แสดงก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฟังก็มิใช่สามัญชนเป็นถึงท้าวมหาพรหม แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความไม่พอใจในสภาพความสุขของพระนิพพาน ที่ไม่เกี่ยวกับรูปนามขันธ์ ๕ แต่อย่างใค ด้วยเหตุนี้ ครู อาจารย์และธรรมกถึกบางท่าน ผู้ยังไม่มีความเข้าใจดีพอในเรื่องความสุขของพระนิพพานจึงมีความเห็นว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระนิพพานนั้น แม้ว่าจะไม่มีรูปนามขันธ์ ๕ แต่ก็ยังมีสภาพพิเศษที่นอกไปจากรูปนามขันธ์ ๕ เป็นผู้เสวยอยู่ และสภาพพิเศษนี้ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นความสุขอย่างยิ่ง เมื่อมีความเห็นดังนี้ จึงพยายามชี้แจงแนะนำแก่บรรคาศิษย์ของตน ตลอดจนผู้ที่สนใจในธรรมทั้งหลายให้เข้าถึง เรื่องพระนิพพานใหม่ที่ตนวาดสร้างขึ้น บุคคลเหล่านั้นได้ฟังแล้วเข้าใจว่าเป็นความจริงดังนั้น ก็พากันหลงเชื่อเข้าใจผิดไปตามๆ กัน

      อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงอัธยาศัยจิตใจของบุคคล ๒ จำพวก คือบุคคลที่ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุพวกหนึ่ง กับบุคคลที่ประกอบด้วยตัณหาพวกหนึ่งแล้วย่อมมีความรู้สึกในจิตใจต่างกัน กล่าวคือผู้ที่ประกอบด้วยเนกขัมมธาตุนั้น ย่อมมีความพอใจในความสงบที่ปราศจากกิเลสอารมณ์ต่างๆ ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยตัณหาย่อมพอใจในความสนุกสนานเฮฮา ล้วนแล้วแต่เป็นกิเลสทั้งสิ้น จะยกตัวอย่างแสดงให้เห็นความแตกต่างกันแห่งจิตใจของบุคคล  พวกนี้ เช่น พระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อได้ยินผู้กล่าวว่า ในป่านั้น ถ้ำนั้น เขานั้น เป็นที่สงบห่างจากหมู่คน มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำท่าบริบูรณ์ ดังนี้แล้วก็รู้สึกพอใจต้องการไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น และเมื่อได้ไปอยู่แล้ว ก็ไม่อยากกลับมาระคนปนด้วยหมูอีก ส่วนพวกนักเลงขี้เหล้าเมายาทั้งหลาย เมื่อได้ยินดังนี้ก็รู้สึกไม่มีความพอใจแต่อย่างใด คิดว่าสถานที่เช่นนั้นจะมีความสุขได้อย่างไร มีแต่ความน่ากลัว น่าเบื่อ แต่ถ้ามีคนมาบอกว่า ที่โน่นที่นี่เป็นที่สนุกสนานมาก มีโรงมหรสพครึกครื้น มีร้านรวงขายสุรา อาหารบริบูรณ์ ดังนี้แล้ว พวกนักเลงขี้เหล้าเมายาเมื่อได้ยิน ก็รู้สึกอยากไปสู่ที่นั้นโดยเร็วที่สุด และเมื่อได้ไปอยู่ที่นั้นแล้ว ก็เพลิดเพลินไม่อยากกลับส่วนพระอนาคามีและพระรหันต์ เมื่อได้ยินดังนี้ ก็รู้สึกสังเวชสลดใจ ไม่เกิดความยินดีแม้แต่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะในจิตตสันดานของพระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น มีเนกขัมมธาตุปกครองอยู่ เมื่อฟังถึงเรื่องความสุขแล้ว ก็ฟังด้วยเนกขัมมธาตุ ถ้าเรื่องความสุขนั้นไม่เกี่ยวกับตัณหา เป็นความสุขที่สงบก็ยินดีฟังถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัณหาแล้วก็ไม่ยินดีฟัง รู้สึกเบื่อและมองเห็นโทษ ส่วนพวกนักเลงขี้เหล้าเมายานั้น ตรงกันข้าม พวกเขาชอบฟังแต่เรื่องความสุขที่เกี่ยวกับตัณหาราคะเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องความสุขที่สงบห่างไกลจากตัณหาแล้ว ก็ไม่ยินดีฟัง สำหรับพระนิพพานนั้นเป็นสุญญตธาตุ ที่สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ อย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น ผู้ที่จะฟังเรื่องพระนิพพานต้องฟังด้วยเนกขัมมธาตุ จึงจะมองเห็นความสุข ถ้าฟังด้วยตัณหาก็ย่อมไม่เห็นความสุข กลับเห็นไปว่าเป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้ เหมือนกับความเห็นของพกะพรหมฉันนั้น


นัยแห่งการเทศนาปฏิจจสมุปบาท

การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสังยุตตนิกายนั้น มีประเภทแห่งการแสดงเป็น ๔ นัย

      ๑. แสดงจากต้นไปถึงปลาย คือตั้งแต่อวิชชาไปตามลำดับจนถึงชรามรณะเป็นที่สุด เรียกว่า "อาทิปริโยสานอนุโลมเทศนา"

      ๒. แสดงจากกลางไปถึงปลาย คือตั้งแต่เวทนาไปตามสำคับจนถึงชรามรณะเป็นที่สุด เรียกว่า "มัชฌปริโยสานอนุโลมเทศนา"

      ๓. แสดงจากปลายไปถึงต้น คือตั้งแต่ชรามรณะถอยหลังไปตามลำดับจนถึงอวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า "ปริโยสานอาทิปฏิโลมเทศนา" เช่น "ชาติปจฺจยา ชรามรณํ, ภวปจฺจยา ชาติ ฯลฯ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา"

      ๔. แสดงจากกลางไปถึงต้น คือตั้งแต่ตัณหาถอยหลังไปตามลำดับจนถึง อวิชชาเป็นที่สุด เรียกว่า "มัชฌอาทิปฎิโลมเทศนา" เช่น "อิเม จ ภิกฺขเว จตฺตาโร อาหารา กึนิทานา กึสมุทยา ชาติกา ปภวา? อิเม จตฺตาโร อาหารา ตณฺหานิทานา ตณฺหาสมุทยา ตณฺหาชาติกา ตณฺหาปภวา, ตณฺหา กึนิทานา กึสมุทยา ชาติกา กึปภวา? เวทนานิทานา เวทนาสมุทยา เวทนาชาติกา เวทนาปภวา ฯลฯ สงฺขารา กึนิทานา กึสมุทยา กึชาติกา กึปภวา? อวิชฺชานิทานา อวิชฺชาสมุทยา อวิชฺชาชาติกา อวิชฺชาปภวา" (สํ. นิ. ๑๖/ข้อ ๒๙) 

      แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

      อาหาร ๔ เหล่านี้มีอะไรเป็นมูลมีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?

      แก้ว่า อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นมูล มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นต้นเหตุ

      ตัณหานี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดมีอะไรเป็นต้นเหตุ?

      แก้ว่า ตัณหานี้มีเวทนาเป็นมูล มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด มีเวทนาเป็นต้นเหตุ ฯลฯ

      สังขารนี้ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุ?

      แก้ว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ ดังนี้เรียกว่า "มัชฌอาทิปฏิโลมเทศนา" 


ประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงโดยนัยทั้ง ๔

      ๑. การแสดงโดยอาทิปริโยสานอนุโลมเทศนา ก็เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการชี้แจงให้ชนทั้งหลายที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลาย หลงวิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆ ตัดสินไม่ได้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิด จะได้รู้ว่าการเกิดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ย่อมอาศัยเหตุโดยเฉพาะของตนๆ อย่างหนึ่ง และเพื่อให้ทราบถึงการเกิดของเหตุเหล่านี้ว่าเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับอย่างหนึ่ง

      ๒. การแสดงโดยมัชฌปริโยสานอนุโลมเทศนา ก็เพื่อให้เป็นประ โยชน์แก่บุคคลบางพวกที่ไม่เชื่อว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตายแล้วจะเกิดในภพหน้าอีก เหล่านี้จะได้เห็นถึงปัจจุบันเหตุ ๕ คือตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ อวิชชา สังขาร ที่กำลังเกิดอยู่แก่ตน และเมื่อมีปัจจุบันเหตุแล้ว ผลในอนาคตก็จะต้องมีแน่นอน และผลนั้นก็คือวิญญาณ นามรูป สพาชตนะ ผัสสะ เวทนา ที่เรียกว่าสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง

      ๓. การแสดงโดยปริโยสานอาทิปฏิโลมเทศนา ก็เพื่อประโยชน์ให้บุคคลทั้งหลายได้แลเห็นธรรมที่เป็นเหตุของความทุกข์ตามลำดับ ตั้งแต่ชาติเป็นต้นจนถึงอวิชชา คือให้รู้ว่าความทุกข์มี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะอุปายาสะ ที่สัตว์ทั้งหลายกำลังได้รับอยู่ทุกวันนี้ ปรากฎเกิดขึ้นได้ก็โคยอาศัยชาติเป็นเหตุ ถ้าไม่มีชาติแล้ว ทุกข์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อแลเห็นชาติแล้วก็ให้เห็นเหตุที่ทำให้ชาติเกิด คือกัมมภวะ เมื่อแลเห็นกัมมภวะแล้ว ก็ให้เห็นเหตุที่ทำให้กัมมภวะเกิด คืออุปาทาน ให้แลเห็นเหตุสืบเนื่องกันตามลำคับชั้นไปจนถึงอวิชชา เมื่อเห็นอวิชชาแล้ว ก็จะได้รู้ว่าอวิชชานี้แหละเป็นหัวหน้าแห่งเหตุทั้งปวง

      ๔. การแสคงโดยมัชมอาทิปฏิโลมเทศนา ก็เพื่อประโยชน์ให้รู้ถึงเหตุผลตามลำดับที่เป็นสมุฏฐานของอาหารทั้ง ๔ อันเป็นผู้นำของสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่อดีตภพจนถึงปัจจุบันภพ คือร่างกายของสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ได้ เจริญเติบโตได้ก็โดยอาศัยอาหารต่างๆ เป็นผู้นำอย่างหนึ่ง

      สัตว์ทั้งหลายที่มีความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ได้ ก็โดยอาศัยผัสสะ คือการกระทบระหว่างตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับอารมณ์ ๖ อย่างหนึ่งสัตว์ทั้งหลายที่กระทำการงานต่างๆ ได้ ทั้งทางดีและไม่ดีนั้นก็โดยอาศัยเจตนาเป็นผู้กระตุ้นนำ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หัวใจ เพศหญิง เพศชาย และการกระทบอารมณ์การเสวยอารมณ์ การจำอารมณ์ เป็นต้นเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยปฏิสนธิวิญญาณเป็นผู้นำ สำหรับในปวัตติกาลนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลงความถือตัว ความเห็นผิด ความอิจฉาริษยา เป็นต้นก็ดี ความเลื่อมใส ความรู้ความสงสาร ความระลึกได้ เป็นต้นก็ดี เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยปวัตติวิญญาณเป็นผู้นำ

      อาหารทั้ง ๔ ที่เป็นผู้นำสัตว์ทั้งหลายให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ ทำการงานต่างๆ จนตลอดชีวิตนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ตัณหาจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยเวทนาเป็นเหตุ เวทนาจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยผัสสะเป็นเหตุผัสสะจะเกิดขึ้นได้ก็ โดยอาศัยสฬายตนะเป็นเหตุ สฬายตนะจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยนามรูปเป็นเหตุ นามรูปจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยวิญญาณเป็นเหตุ วิญญาณจะเกิดขึ้นได้ก็ โดยอาศัยสังขารเป็นเหตุ สังขารจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ ให้มองเห็นเหตุผลที่เป็นไปตามลำดับ โดยกำหนดพิจารณาอาหาร ๔ เป็นหลัก สรุปความว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้เป็น "สมันตภัททกธรรม" คือเป็นธรรมที่มีความดีอย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ว่าจะแสดงโดยนัยอย่างใดก็ตาม ผู้ฟังแล้วย่อมได้สำเร็จประ โยชน์คือได้กำหนดรู้ทุกขสัจ ประหาณสมุทยสัจ เห็นแจ้งนิโรธสัจ เจริญมรรคสัจ แล้วเข้าถึงพระนิพพานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งพระตถาคตเจ้าผู้แสดงก็เป็นเทสนาวิลาสปัตตบุคคล คือเป็นผู้ที่มีความสามารถปรับปรุงการแสดงนั้นให้สวยงามเหมาะสมได้


อธิบายในบาลีข้อ ๔ ที่ว่า ตตฺถ ตโย อทฺธา เป็นต้นจนถึง เทฺว มูลานิ จ เวทิตพฺพานิ ฯ

      ในบาลีข้อนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายได้รู้ถึงสิ่งที่ควรรู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรม ได้แก่ อัทธา คือกาล ๓ องค์ ๑๒ อาการคือประเภท ๒๐ สนธิคือความสืบต่อกัน ๓ สังเขปคือหมวด ๔ วัฎฏะคือความหมุนเวียน ๓ มูลคือต้นเหตุ ๒


อธิบายในบาลีข้อ ๕ ที่ว่า กถํ ฯ อวิชฺชา สงฺขารา อตีโต อทฺธา เป็นต้นจนถึง ตโย อทฺธา ฯ


บาลีข้อนี้ขยายความคำว่า ตโย อทฺธา ที่อยู่ในบาลีข้อ ๔

      คำว่า กถํ นี้ เป็นคำปุจฉาชนิด "กเถตุกัมยตาปุจฉา" คือตั้งปัญหาขึ้นเพื่อประสงค์จะตอบเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นตอบ

คำปุจฉานี้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ

      ๑. อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นคำถามที่ถามขึ้น เพื่อความสว่างในเรื่องที่ตนไม่เข้าใจ

      ๒. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นคำถามที่ตนมีความเข้าใจแล้วแต่ถามขึ้น เพื่อเป็นการสนทนาสอบสวนความรู้กัน

      ๓. วิมติจเฉทนาปุจฉา เป็นคำถามที่ถามขึ้น เพื่อตัดความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องราวนั้นๆ

      ๔. อนุมติปุจฉา เป็นคำถามที่ถามขึ้น เพื่อให้ผู้ตอบๆ ตามความเข้าใจของตน

      ๕. กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นคำถามที่ถามขึ้น เพื่อประสงค์จะตอบเอง

      

      ในคำปุจฉา ๕ อย่างนี้ สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ใช้คำปุจฉาอยู่ ๒ ชนิคคือ อนุมติปุจฉา และกเถตุกัมยตาปุจฉาเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นผู้ที่มีความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่มีคำถามประเภทที่ ๑ และการสนทนาสอบสวนความรู้กันระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับมนุษย์ เทวดา พรหม นั้นก็ไม่สมควร ฉะนั้น คำถามประเภทที่ ๒ นี้จึงไม่มีแก่พระองค์ อีกประการหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ธรรมทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ปราศจากความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องราวทั้งปวง ฉะนั้น คำถามประเภทที่ ๓ ก็ไม่มีแก่พระองค์เช่นเดียวกัน ส่วนบุคคลอื่นๆ มีพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก เป็นต้นตลอดจนถึงปถุชนทั้งหลายนั้น ย่อมมีคำปุจฉาได้ทั้ง ๕ อย่าง


อธิบายในการจำแนกองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยกาลทั้ง ๓

      คำว่า อัทธา แปลว่า กาล เป็นบัญญัติไม่มีองค์ธรรมปรมัตถ์ แต่ในที่นี้คำว่า อตีตอัทธา อนาคตอัทธา ปัจจุปปันนอัทธา นั้น มุ่งหมายเอาธรรมที่เกิดในกาลทั้ง ๓ มีองค์ธรรมปรมัตถ์ คืออวิชชา สังขาร เป็นอดีตกาล, ชาติ ชรา มรณะเป็นอนาคตกาล, วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทานภัมมภวะ เป็นปัจจุบันกาล ฉะนั้น อวิชชา สังขาร ที่ชื่อว่าเป็นอดีตกาลเป็นต้นนี้ เป็นการเรียกชื่อโดยฐานูปจารนัย คือยกเอาชื่อของกาลทั้ง ๓ มาตั้งไว้ในตัวธรรมแล้วเรียก อวิชชา สังขาร เป็นต้นนี้ ว่าเป็น อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล

      อธิบายว่า ตามธรรมดาในจิตตสันดานของคนทั้งหลายที่นอกจากพระอรหันต์แล้ว ย่อมมีโมหะเป็นผู้ปกครองประจำอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลทั้งหลายมองไม่เห็นโทษในการทำอกุศล และไม่เห็นวัฏฏทุกข์ในการทำกุศลของตนโมหะนี้แหละได้ชื่อว่า อวิชชา และในการทำกุศล อกุศลเหล่านี้ ก็ต้องมีเจตนาเป็นผู้กระตุ้นจัดแจงเสียก่อน การกระทำนั้นๆ จึงจะเกิดขึ้นได้ เจตนาที่เป็นตัวกระตุ้นให้ลงมือกระทำการงานที่เรียกว่าปุพพเจตนานี้แหละ ได้ชื่อว่า สังขาร ฉะนั้น อวิชชา และสังขาร ทั้ง ๒ นี้จึงเป็นอดีตกาล

      เมื่อมีอวิชชาเป็นผู้ปกครอง มีสังขารเป็นผู้กระตุ้นจัดแจงแล้ว คนทั้งหลายก็กระทำการงานที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ร่างกาย ใจ และการกระทำของบุคคลเหล่านั้น เมื่อว่าโดยธรรมาธิฏฐานแล้วก็ได้แก่วิญญาณ นามรูป สพายตนะผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ฉะนั้น วิญญาณ นามรูป เป็นต้น ทั้งองค์เหล่านี้ จึงจัดเป็นปัจจุบันกาล

      เมื่อคนทั้งหลายได้กระทำการงานอันเป็นกุศล อกุศล สำเร็จลงแล้วด้วยอำนาจแห่งการกระทำกุศล อกุศล ที่เรียกว่ากัมมภวะนั้นเอง ย่อมให้ผลบังเกิดขึ้นในอนาคตกาล โดยที่บุคคลเหล่านั้นเมื่อตายจากภพนี้แล้ว ก็ย่อมไปเกิดใหม่อีกในภพหน้าแล้วแต่การกระทำของตน คือถ้าทำอกุศลกรรมก็ไปเกิดเป็นพวกอบายสัตว์ ถ้าทำกุศลกรรม ก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ตามสมควรแก่กุศลนั้นๆ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นต้นเหล่านี้แหละชื่อว่า ชาติ หรือเรียกว่าอุปปัตติภวะก็ได้ เมื่อมีชาติปรากฏเกิดขึ้นแล้ว ชรามรณะก็ต้องเกิดขึ้นติดตามมาเป็นธรรมดา ฉะนั้น ชาติ ชรามรณะเหล่านี้จึงจัดเป็นอนาคตกาล

      อนึ่ง อวิชชา สังขาร ที่จัดเป็นอดีตกาลนั้น เป็นอดีตกาลในภพก่อนก็มีเป็นอดีตกาลในภพนี้ก็มี คือถ้ากล่าวถึงผลในปัจจุบันอันได้แก่ วิญญาณ นามรูปสพายตนะ ผัสสะ เวทนา (อวิชชา สังขาร ก็เป็นอดีตกาลในภพก่อน) ถ้ากล่าวถึงผลในอนาคตอันได้แก่ วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่จะไปเกิดใหม่ในภพหน้าแล้ว (อวิชชา สังขาร ก็เป็นอดีตกาลในภพนี้)

------///--------

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปัจจยสังคหะ,ปฏิจจสมุปบาท,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.