๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกขโทมนสสุปายาสา สมฺภวนฺติ

       ชรา มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๗ นี้ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นเหตุ

       ชรา ที่เป็นผลของชาตินี้ ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และกัมมชรูป คือเมื่อวิบากและกัมมชรูปเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นชาติแล้ว ย่อมมีขณะที่ตั้งอยู่เรียกว่า ฐิติ และฐิติขณะ ของโลกียวิบากและกัมมชรูปนี้แหละชื่อว่า ชรา ดังมีวจนัตถะว่า

       "ชิรณํ = ชรา"

       ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ ๔ และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา มรณะที่เป็นผลของชาตินี้ได้แก่ อาการที่กำลังดับของโลกียวิบาก และกัมมชรูปที่เรียกว่า ภังคักขณะ ดังมีวจนัตถะว่า

       "มรียเต = มรณํ"

       ความตาย คืออาการที่กำลังดับของโลกียวิบากและกัมมชรูป ชื่อว่า "มรณะ" 

      องค์ธรรมของชราและมรณะตามที่ได้กล่าวมานี้ เหมือนกับองค์ธรรมของชาติ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้ สงเคราะห์เข้าในวิปากวัฎ

       ดังในบาลีที่แสดงไว้ในตอนต้นว่า "อุปฺปตฺติภวสงฺขาโต ภเวกเทโส อวเสสา จ วิปากวฎฏํ" ซึ่งแปลว่า ภวะ ส่วนหนึ่ง คืออุปปัตติกวะ และวิญญาฌ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะที่เหลือเหล่านี้ เป็นวิปากวัฏ

       สำหรับในปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ที่แสดงตามสุตตันตภาชนียนัยนั้น แสดงไว้ว่า

       "ตตฺถ กตมา ชรา ? ยา เตสํ เตสํ สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชรา ชีรณตา ขณฺทิจฺจํ ปาลิวฺจํ วลิตฺตจตา อายุโน สหานิ อินฺทฺริยานิ ปริปาโก อยํ วุจฺจติ ชรา"

       "ตตฺถ กตมํ มรณํ ? ยา เตสํ เตสํ สตฺตานํ ตมฺหา ตมฺหา สตฺตนิกายา จุติ จวนตา เภโท อนฺตรธานํ มจฺจุ มรณํ กาลกิริยา ขนฺธานํ เภโท กเฬวรสฺส นิกฺเขโป ชีวิตินฺฺทริยสฺส อุปจฺเฉโท อิทํ วุจฺจติ มรณํ"

       แปลความว่า ในชราและมรณะ ๒ อย่างนั้น ชราเป็นอย่างไร? ความแก่ ความคร่ำ ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ มีจักขุเป็นต้นในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์นั้นฯ อันใดอันนั้นเรียกว่า ชรา

       ในชราและมรณะ ๒ อย่างนั้น มรณะเป็นอย่างไร? ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด อันนั้นเรียกว่า มรณะ

       ฉะนั้น คำว่า ชรา และมรณะในปฏิจสมุปบาทนี้ จะหมายเอาความแก่และความตายของสัตว์ทั้งหลาย ที่สมมติกันอยู่ในโลกนี้ก็ได้ คือต่อจากชาติความเกิดขึ้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงตาย ชื่อว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ของโลกียวิบาก และกัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป

       ในขณะที่สัตว์ทั้งหลายตายนั้น ชื่อว่า มรณะ ได้แก่ ความตายของโลกียวิบากและกัมมชรูป จิตตชรูป อาหารชรูป ดังแสดงวจนัตถะว่า

       "ชีรนฺติ ชิณฺณภาวํ คจฺฉนฺติ เอตายาติ = ชรา"

       สังขารธรรมทั้งหลายย่อมเข้าถึงความแก่โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเข้าถึงความแก่ของสังขารธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ชรา

       "มรนฺติ สตฺตา เอเตนาติ = มรณํ"

       สัตว์ทั้งหลายย่อมตายโดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการตายของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มรณะ


ชรา มี ๙ อย่าง คือ

       ๑. วโยวุทธิชรา ๒. สันตติชรา ๓. ขณิกชรา ๔. ปากฎชรา ๕. ปฏิจฉันนชรา ๖. อวีจิชรา ๗. สวีจิชรา ๘. ปรมัตถชรา ๙. บัญญัตติชรา


       ๑. วโยวุทธิชรา ได้แก่ ความชราที่เกิดขึ้นตามลำดับโดยมีอาการปรากฎต่างๆ เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เส้นเอ็นปรากฎหลังโกง เป็นต้น

       ๒. สันตติชรา ได้แก่ ความแก่ของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย จนถึงตาย อุปมาเหมือนคนที่เป็นไข้ ในขณะที่ไข้กำลังขึ้นนั้น เปรียบได้กับสันตติชาติ เมื่อไข้ค่อยๆ ลดลง เปรียบได้กับสันตติชรา

       ๓. ขณิกชรา ได้แก่ ชีติขณะของรูปและนามที่ปรากฎเกิดขึ้นสืบต่อกันโดยอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่เป็นขณะเล็ก

       ๔. ปากฏชรา ได้แก่ ความชราที่ปรากฏชัด ได้แก่ วโยวุทธิชรานั้นเอง

       ๕. ปฏิจฉันนชรา คือ ความชราที่ปกปิดไม่สามารถมองเห็นได้ ได้แก่ ความชราของนามธรรม

       ๖. อวีจิชรา คือ ความชราที่ไม่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของแก้ว หิน พระอาทิตย์ พระจันทร์ เด็ก หญิงสาว ชายหนุ่มเป็นต้น

       ๗. สวีจิชรา คือ ความแก่ที่มีทางให้รู้ได้ ได้แก่ ความเสื่อมของรถ บ้านสถานที่ต่างๆ วัตถุสิ่งของต่างๆ และคนแก่ สัตว์แก่ต้นไม้แก่ เป็นต้น

       ๘. ปรมัตถชรา ได้แก่ ฐีติขณะของรูปและนาม เหมือนขณิกชรา

       ๙. บัญญัตติชรา ได้แก่ ความชราต่างๆ ที่นอกจากขณิกชรา

    ในบรรดาชราต่างๆ เหล่านี้ วโยวุทธิชรา เมื่อว่าโดยวัยแล้วมี ๓ หรือ ๑๐ 

     มี ๓ นั้น คือ

       ๑. ปฐมวัย ในสมัยที่กำหนดอายุ ๗๕ ปีเป็นอายุขัยนั้น นับตั้งแต่เกิดมา จนถึงอายุ ๒๕ ปี จัดอยู่ในปฐมวัย

       ๒. ทุติยวัย นับตั้งแต่อายุ ๒๕ ปี ไปจนถึง ๕๐ ปี จัดอยู่ในทุติยวัย

       ๓. ตติยวัย นับตั้งแต่อายุ ๕๐ ปี ไปจนถึง ๗๕ ปี จัดอยู่ในตติยวัย

    มี ๑๐ นั้น คือ (วัย ๑๐ ในวิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๒๔๗)

       ๑. มันททสกวัย วัยอ่อน นับตั้งแต่อายุ ๑ ถึง ๑๐ ปี

       ๒. ขิฑฑาทสกวัย วัยสนุกสนาน นับตั้งแต่อายุ ๑๐ ถึง ๒๐ ปี

       ๓. วัณณทสกวัย วัยสวยงาม นับตั้งแต่อายุ ๒๐ ถึง ๓๐ ปี

       ๔. พลทสกวัย วัยมีกำลัง นับตั้งแต่อายุ ๓๐ ถึง ๔๐ ปี

       ๕. ปัญญาทสกวัย วัยมีปัญญา นับตั้งแต่อายุ ๔๐ ถึง ๕๐ ปี

       ๖. หานิทสกวัย วัยเสื่อม นับตั้งแต่อายุ ๕๐ ถึง ๖๐ ปี

       ๗. ปัพภารทสกวัย วัยที่ร่างกายเริ่มโค้งงอ นับตั้งแต่อายุ ๖๐ ถึง ๗๐ ปี

       ๘. วังกทสกวัย วัยที่ร่างกายโค้งงอ นับตั้งแต่อายุ ๗๐ ถึง ๘๐ ปี

       ๙. โมมูหทสกวัย วัยหลง นับตั้งแต่อายุ ๘๐ ถึง ๙๐ ปี

       ๑๐. สยนทสกวัย วัยนอนลุกไม่ขึ้น นับตั้งแต่อายุ ๙๐ ถึง ๑๐๐ ปี

      วัย ๑๐ ที่กล่าวนี้ เป็นการแสดงตามวัยที่กำหนดอายุ ๑๐๐ ปี เป็นอายุขัย ถ้าในสมัยที่อายุขัยลง วัยทั้ง ๑๐ นี้ก็ลดลงตามลำดับ


       ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คำว่า ชรา มุ่งหมายเอา "วโยวุทธิชรา ปากฎชรา" และชราทั้ง ๒ นี้ เป็นชราที่เกี่ยวกับรูปธรรมเท่านั้น ในนามธรรมไม่มีชราชนิดนี้ ธรรมดาอายุของรูปธรรมรูปหนึ่งๆ นั้น มีอายุเทียบเท่ากับอายุของจิต ๑๗ ดวง ไม่ยิ่งหย่อนกว่านี้ ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสภาวะปรมัตถ์แล้ว รูปนั้นแก่รูปนี้อ่อน ไม่มีเลย แต่เราเห็นว่า ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว เป็นต้นนั้นก็เป็นเรื่องที่เราสมมติกันว่า "แก่" นั้นเอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อยกเว้น ขณิกชรา ปฏิจฉันนชรา ปรมัตถชรา เสียแล้ว ชรานอกนั้นก็เป็นบัญญัติชราทั้งสิ้นอนึ่ง ชรา นี้ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ เพราะเป็นธรรมารมณ์ ที่เห็นว่าผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นนั้น ก็ไม่ใช่ตัวชรา เป็นผลที่เกิดจากอำนาจของชราอีกทีหนึ่ง แต่คนทั้งหลายที่ได้เห็น ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้นแล้ว ก็รู้ว่า คนนั้นคนนี้ ชราแล้ว

       ถ้าจะถามว่า ทำไมชรา มีผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น จึงปรากฎแก่คนมีอายุมากๆ แล้ว ส่วนเด็กๆ และคนหนุ่มคนสาวนั้น ไม่ปรากฏ คล้ายๆ กับว่าความชรานี้มีอยู่เฉพาะในคนแก่เท่านั้น เด็ก หนุ่ม สาวไม่มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร? ข้อนี้แก้ว่า ธรรมดาชรานั้น ย่อมมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นเด็กหรือหนุ่มสาว หรือคนแก่ก็ตาม และชรานี้มีหน้าที่ทำให้รูปธรรมเข้าถึงความแก่ด้วยกันทั้งสิ้น เด็กๆ ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นก็ด้วยอำนาจชราคนหนุ่มคนสาวที่ค่อยๆ ก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่จนกระทั่งแก่นั้น ก็ด้วยอำนาจชราเช่นเดียวกัน เพราะความแก่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ แก่ขึ้น เรียกว่า "อภิกกมชรา" อย่างหนึ่ง และแก่ลง เรียกว่า "ปฏิกกชรา" อย่างหนึ่ง สำหรับชราที่อยู่ในเด็ก ตั้งแต่วัย มันททสกะ จนถึง พลทสกะนั้น เป็นอภิกกมชรา คือชราที่แก่ขึ้น ด้วยเหตุนี้แหละ เด็กๆ จึงค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งสุดเขต อภิกกมชรา ต่อจากนั้นก็ค่อยๆ แก่ลงเป็นลำดับ ปรากฏอาการผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น จนกระทั่งตาย เรียกว่า ปฏิกกมชรา และที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอำนาจแห่งชิรณเตโช มีเผาผลาญรูปธรรมให้มีอาการเสื่อมโทรมลงเป็นลำคับนั้นเอง

       อนึ่ง อาการที่ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว เป็นต้น อันเป็นวโยวุทธิชราเหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่พวกเทวดาและพรหมทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะพวกเทวดาและพรหมเหล่านั้นมีกัมมชรูป เป็นรากฐานแน่นหนากว่าอุตุชรูป และอาหารชรูป ส่วนพวกมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายมีกัมมชรูปเกิดน้อยกว่าอุตุชรูปและอาหารชรูป ฉะนั้น จึงมีวโยวุทธิชราปรากฏมาก


มรณะ มี ๙ อย่าง คือ

       ๑. สัมมุติมรณะ ได้แก่ ความตายของสัตว์ทั้งหลายที่สมมติเรียกกันว่า นาย ก.ตาย นาย ข. ตาย ต้นไม้ตาย ปรอทตาย เป็นต้น

       ๒. สัตตติมรณะ ได้แก่ การสืบต่อกันของรูปนาม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ไม่ตั้งคงที่ เช่น รูปที่เกิดขึ้นในเวลาไม่สบายและเมื่อหายแล้ว รูปไม่สบายนั้นก็ดับไป รูปสบายเกิดขึ้นใหม่และเมื่อมีความเสียใจ กลุ้มใจเกิดขึ้นต่อมามีความดีใจเกิดขึ้น ความเสียใจ กลุ้มใจนั้นก็หายไป ดังนี้เป็นต้น

       ๓. ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับไปของรูปและนาม ทุกๆ ภังคะขณะ

       ๔. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ ปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ไม่มีการเกิดต่อไป

       ๕. ชาติกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่สุดสิ้นภพในภพหนึ่งๆ

       ๖. อุปักกมมรณะ ได้แก่ การกำหนดอายุก็ยังไม่สิ้น กรรมก็ยังไม่สิ้น แต่ถึงความตายโดยอาศัยความพยายามของตัวเอง หรือของคนอื่นด้วยอำนาจอุปัจเฉทกกรรม

       ๗. สรสมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกำหนดอายุและกรรม

       ๘. อายุกขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกำหนดอายุ แม้ว่ายังไม่สิ้นกรรมก็ตาม

       ๙. ปุญญักขยมรณะ ได้แก่ ความตายที่ถึงกำหนดของบุญและกรรม แม้ว่ายังไม่สิ้นอายุก็ตาม

       ในปฏิจสมุปบาทนี้ คำว่า มรณะ มุ่งหมายเอา สัมมุติมรณะ ชาติกขยมรณะ อุปักกมมรณะ สรสมรณะ อายุกขยมรณะ ปุญญักขยมรณะเท่านั้น และตั้งแต่ชาติกขยมรณะจนถึงปุญญักขยมรณะ ทั้ง ๕ อย่างนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เข้าอยู่ในสัมมุติมรณะนั้นเอง

       ชราและมรณะ ดังกล่าวมานี้เป็นสภาพที่เป็นอนิฎฐะ คือ เป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่น่าปรารถนา แต่ทุกๆ คนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องประสบด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีหนทางที่จะหนีให้พ้นเลยในภพนี้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีชาติ คือความเกิดนั้นเองเป็นต้นเหตุ ถ้าผู้ใดมีความกลัวชรา มรณะ ผู้นั้นก็จำเป็นจะต้องหาหนทางทำลายชาติเสียจึงจะพ้นไปได้ และวิธีที่จะทำลายชาตินี้ก็มีอยู่ในเฉพาะศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ได้แก่ การทำลายกัมมภวะให้สิ้นสุดลง พยายามทำให้กาย วาจา ใจ ของตนให้เข้าถึงความเป็นกริยา คือความเป็นพระอรหันต์นั้นเองและการกระทำที่จะให้สำเร็จเป็นกิริยาได้ ก็ต้องอยู่ในระหว่างเวลาที่พระพุทธศาสนายังตั้งอยู่ เมื่อว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นอันหมดหนทางจะทำได้ก็แต่อกุศลกรรมและ โลกียกุศลกรรม อันเป็นการกระทำที่ให้สำเร็จเป็นกุศลนั้นทำได้ง่าย และมีโอกาสมาก คือกระทำได้ทั้งในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่และในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนาแล้ว แต่การกระทำที่ให้กุศลหมดสิ้นไปนั้นทำได้ยาก และมีโอกาสจำกัด คือทำได้เฉพาะในเวลาที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่เท่านั้น ท่านอุปมาเปรียบเทียบการสร้างกุศลนี้ เหมือนกับคนไข้ที่กินยาขม ซึ่งตามปกติแล้วยาขมย่อมไม่มีผู้ใดอยากกิน แต่ที่คนไข้ต้องพยายามกินก็เพราะต้องการให้หายจากโรค ข้อนี้ฉันใด โลกียกุศลเหล่านี้ก็เปรียบเหมือนยาขม ผู้ที่ต้องการพ้นจากกิเลสก็ต้องพยายามสร้างโลกียกุศลให้เกิดขึ้น เพื่อตั้งต้นทำลายกิเลสเป็นลำดับไปจนกระทั่งได้สำเร็จถึงพระอรหันต์ ทำลายกิเลสหมดสิ้น ซึ่งเปรียบเหมือนคนไข้ที่ต้องการหายขาดจากโรค พยายามกินยาขมนั้นเรื่อยๆ ไป จนกระทั่งโรคหายเมื่อโรคต่างๆ หายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกินยาขมอีกต่อไป ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้กล่าวกับเทวบุตรมาร ในขณะที่พระองค์กำลังทรงปฏิบัติทุกรกิริยาอยู่ โดยมีมารเทวบุตรได้มาทูลว่า ขอให้พระองค์จงพยายามทำตนให้เป็นผู้ที่มีอายุยืน จะได้มีเวลาสร้างกุศล มีการรักษาศีล บูชาไฟ เป็นต้น ถ้ามาอยู่ในป่าและปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีประ โยชน์อย่างใด พระองค์จึงทรงตอบพระยามารว่า

       อนุมตฺโตปิ ปุญฺเญน        อตฺโถ มยฺหํ น วิชฺชติ

       เยสญฺจ อตฺโถ ปุญฺเญน     เต มาโร วตฺตุมรหติ ฯ

       แปลเป็นใจความว่า ดูก่อนพระยามาร ความพอใจในสภาพที่เป็นกุศลไม่มีแก่เราแม้แต่น้อย ผู้มีปัญญาน้อยเท่านั้นที่มีความพอใจในความเป็นกุศลฉะนั้น ท่านควรพูดดังนี้กับบุคคลที่ยังมีความยินดีในกุศลเถิด

       อนึ่งในสัจจวิภังค์อรรถกถา พระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงอุปมาเปรียบเทียบ ชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๆ นี้เหมือนกับชาย ๓ คน ที่ร่วมมือกันทำการล่อลวงศัตรูไปฆ่า ชายคนที่ , รับหน้าที่เป็นผู้ชักนำศัตรูให้เข้าไปสู่ในป่าโดยการกล่าวสรรเสริญความสวยงามตามธรรมชาติของป้านั้นให้ฟัง ทำให้เกิดความอยากไปชม แล้วก็ยอมตัวไปกับชายผู้นั้น เมื่อเข้าไปสู่ในบริเวณป่านั้นแล้วชายคนที่ ๒ ก็ทำหน้าที่เป็นผู้เบียดเบียนทำร้ายศัตรูนั้นให้ได้รับบาคเจ็บหมดกำลังลงแล้วชายคนที่ ๓ ก็ทำหน้าที่ประหาร โดยเอามีดฟันคอศัตรูนั้นถึงแก่ความตายข้อนี้ฉันใด ชายคนที่ ๑ เปรียบได้กับชาติ คือเป็นผู้นำให้สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นในภพนั้นๆ เหมือนกับถูกนำให้เข้าไปสู่ในป่า ชายคนที่ ๒ เปรียบได้กับชรา คือเบียดเบียนขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายให้ค่อยๆ แก่ลงตามลำคับ ซึ่งเหมือนกับถูกศัตรูลอบทำร้ายให้หมดกำลังลง ชายคนที่ ๓ เปรียบได้กับมรณะ ที่ทำให้ขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายแตกคับลงในภพหนึ่งๆ ซึ่งเหมือนกับถูกศัตรูเอามีดประหารให้ตายลงฉันนั้น


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของชรา

       ๑. ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ของขันธ์ ๕ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันภพเป็นลักษณะ

       ๒. มรณูปนยนรสา มีการนำให้เข้าไปใกล้ความตาย เป็นกิจ (กิจจรส)

       ๓. โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺฐานา มีสภาพทำลายซึ่งวัยที่ดีเป็นอาการปรากฏแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. ปริปจฺจมานรูปปทฏฺฐานา มีรูปที่กำลังแก่เป็นเหตุใกล้


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของมรณะ

       ๑. จุติลกฺขณํ มีการเคลื่อนย้ายจากภพที่ปรากฏอยู่ เป็นลักษณะ

       ๒. วิโยครสํ มีการจากกันกับสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตที่เคยพบเห็นกันในภพนี้ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       ๓. คติวิปฺปวาสปจฺปฏฺฐานํ มีการย้ายที่อยู่จากภพเก่าเป็นอาการปรากฏแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. ปริภิชฺชมานนามรูปปทฏฺฐานํ มีนามรูปที่กำลังดับเป็นเหตุใกล้

       แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ชาติปจฺจยา ชรามรณํ ชรา มรณะ ที่แสดงตามอภิธรรมภาชนียนัยนั้น ไม่มีปัจจัยสงเคราะห์ เพราะชราก็ได้แก่ฐิติขณะของรูปและนาม และมรณะก็ได้แก่ภังคักขณะของรูปและนามเช่นเดียวกัน ส่วนชรามรณะที่แสดงตามสุตตันตภาชนียนัยนั้นมีปัจจัยสงเคราะห์ได้ คือ

       - ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ชรา มรณะ นั้นได้อำนาจปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย


วจนัตถะของ โสกะ

       "โสจนํ = โสโก"

       ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ซึ่งเกิดจากพยสนะ ๕ อย่าง

       อีกนัยหนึ่ง

       "โสจนฺติ จิตฺตปริฬาหํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ - โสโก"

       สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความเศร้าโศกเข้าถึงความเดือดร้อน โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศกเดือดร้อนของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ 

      ตามธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่มีความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้น ก็ได้แก่สภาพของโสกะนั่นเอง และโสกะจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยมีเหตุที่ทำให้เกิด เหตุนั้นก็คือ พยสนะ ๕ อย่าง ได้แก่

       ๑. ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้องลูกหลาน สามี ภรรยา มิตร ล้มหายตายจากไป

       ๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์สมบัติ ตำแหน่ง ยศ เช่นถูกอัคคีภัย โจรภัย ราชภัย อุทกภัย ถูกถอดจากตำแหน่ง ยศ

       ๓. โรคพยสนะ ความพินาศด้วยโรค หรือถูกโรคภัยเบียดเบียน

       ๔. สีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล คือสิกขาบทที่รักษาอยู่ขาดไป

       ๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งความเห็น คือมีความเห็นผิดเกิดขึ้นทำให้สูญเสียจากสัมมาทิฏฐิ


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของโสกะ

       ๑. อนฺโตนิชฺฌานลกฺขโณ มีการเผาอยู่ภายใน หรือมีความเหี่ยวแห้งใจเดือดร้อนใจ เป็นลักษณะ

       ๒. เจโตปรนิชฺฌายนรโส ทำให้จิตเดือดร้อนอยู่เสมอ เป็นกิจ (กิจจรส)

       ๓. อนุโสจนปจฺจุปฏฺฐาโน มีความเศร้าโศกอยู่เนื่องๆ ไปตามความพินาศที่ตนได้ประสบอยู่นั้น เป็นอาการปรากฎแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. โทสจิตตุปฺปาทปทฏฺฐาโน มีโทสจิตตุปบาทเป็นเหตุใกล้


วจนัตถะของ ปริเทวะ

       "ปริเทวนํ = ปริเทโว"

       การร้องไห้รำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ

       อีกนัยหนึ่ง

       "ตํ ตํ ปวตฺตึ ปริกิตฺเตตฺวา เทวนฺติ กนฺทนฺติ เอเตนาติ - ปริเทโว"

       สัตว์ทั้งหลายรำพันถึงเรื่องราวต่างๆ แล้วร้องไห้โดยอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการรำพันแล้วร้องไห้ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า

ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้น โดยมีการร้องไห้รำพันเพราะอาศัยพยสนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเหตุ


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของปริเทวะ

       ๑. ลาลปฺปนลกฺขโณ มีการพิลาปรำพัน เป็นลักษณะ

       ๒. คุณโทสปริกิตฺตนรโส มีการรำพันถึงคุณและโทษ เป็นกิจ (กิจจรส)

       ๓. สมฺภมปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตวุ่นวายไม่ตั้งมั่นเป็นอาการปรากฎแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. โทสจิตตชมหาภูตปทฏฺฐาโน มีมหาภูตรูปที่เกิดจากโทสจิตเป็นเหตุใกล้


วจนัตถะของ ทุกขํ

       "ทุกุจฺฉิตํ หุตฺวา กายิกสุขํ ขณตีติ = ทุกฺขํ" (วา) "ทุกุขมนฺติ = ทุกฺขํ"

       ธรรมชาติใดเป็นที่น่าเกลียด และทำลายความสุขกาย จะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ทุกข์ (หรือ) สัตว์ทั้งหลายย่อมอดทนได้ยากต่อเวทนาใด ฉะนั้น เวทนานั้น ชื่อว่า ทุกข์

       อีกนัยหนึ่ง

       "ขมิตุํ ทุกฺกรนฺตํ = ทุกฺขํ"

       เวทนาที่อดทนได้ยาก ฉะนั้น ชื่อว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา


ความทุกข์ มี ๙ อย่าง คือ

       ๑. ทุกขทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์มีสภาพเป็นทุกข์จริงๆ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา และเจตสิกทุกขเวทนา

       ๒. วิปริณามทุกข์ ได้แก่ กายิกสุขเวทนาและเจตสิกสุขเวทนา เพราะสุขทั้งนี้ เป็นเหตุให้ กายิกทุกข์และเจสิกทุกข์เกิดโดยอาศัยที่มีความวิปริตแปรปรวน

       ๓. สังขารทุกข์ ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก รูป ที่เว้นจากทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ เพราะเป็นผู้ถูกเบียดเบียน โดยความเกิดดับอยู่เนืองๆ

       ๔. ปฏิจฉันนทุกข์ หรืออปากฎทุกข์ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดหู ปวดศีรษะ ปวดท้องเป็นต้น และความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจ ราคะ โทสะ เป็นต้น เพราะทุกข์ชนิดนี้จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยการสอบถาม และอาการที่เบียดเบียนนั้นก็ไม่ปรากฏ

       ๕. อัปปฏิจฉันนทุกข์ หรือปากฏทุกข์ ได้แก่ ความเจ็บปวคที่เกิดจากบาคแผลต่างๆและความทุกข์กายที่เนื่องมาจากการกระทำกรรมกรณ์ ๓๒ อย่าง เพราะทุกข์ชนิดนี้รู้ได้โดยไม่ต้องมีการสอบถาม และอาการที่เบียดเบียนนั้นก็ปรากฏชัดเจน

       ๖. ปริยายทุกข์  ได้แก่ วิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์ เพราะทุกข์ชนิดนี้ ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์โดยตรง เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ต่างๆ อีกแห่งหนึ่ง

       ๗. นิปปริยายทุกข์  ได้แก่ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ที่เรียกว่า ทุกขทุกข์นั้นเอง

       ๘. กายิกทุกข์   ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางกาย มีปวดฟัน ปวดท้อง ปวคศีรษะ และบาดแผลต่างๆ เป็นต้น

       ๙. เจตสิกทุกข์  ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดทางใจ มีความเสียใจ กลุ้มใจ กลัว โกรธ เป็นต้น

    ***ในปฏิจจสมุปบาทนี้ คำว่า ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกข์


การกระทำ (กรรมกรณ์) ๓๒ อย่าง ที่ให้เกิดความทุกข์กาย คือ

       ๑. ตีด้วยหวายหนาม

       ๒. ตีด้วยหวายที่ไม่มีหนาม

       ๓. ตีด้วยค้อน

       ๔. ตัดมือ

       ๕. ตัดเท้า

       ๖. ตัดทั้งมือและเท้า

       ๗. ตัดหู

       ๘. ตัดจมูก

       ๙. ตัดทั้งหูและจมูก

       ๑๐. ถลกหนังหัวแล้วเอาก้อนเหล็กเผาไฟนาบ

       ๑๑. กระชากผมให้หลุดจากศีรษะ

       ๑๒. เอาเหล็กแหลมถ่างปากแล้วเอาไฟจุดในปาก

       ๑๓. เอาผ้าชุบน้ำมันพันตัว แล้วจุดไฟเผา

       ๑๔. เอาผ้าชุบน้ำมันพันมือ แล้วจุดไฟต่างประทีป

       ๑๕. ถลกหนังตั้งแต่คอถึงเอว

       ๑๖. ถลกหนังตั้งแต่คอถึงมือ

       ๑๓. เอาโซ่ผูกที่ข้อศอก ๒ ข้าง และที่เข่า ๒ ข้างให้ติดกัน แล้วใช้เหล็กแหลมแทงตรึงลงไป แล้วเผาไฟ

       ๑๘. ใช้เบ็ดเกี่ยวเนื้อ แล้วกระชากให้เนื้อหลุดออกมา

       ๑๙. เอาพึ่งฟันเนื้อให้หลุดเป็นชิ้นๆ

       ๒๐. ตีทั่วร่างกายแล้วใช้น้ำกรดเกลือราดให้เนื้อหลุดออกมา

       ๒๑. ให้นอนตะแคง แล้วเอาเหล็กแทงในรูหูให้ทะลุติดพื้นตรึงไว้ แล้วจับขาหมุนไปรอบๆ

       ๒๒. เอาก้อนหินตีทั่วร่างกายให้กระดูกแตกละเอียด แล้วจับตัวม้วนให้กลมมัดไว้เป็นก้อนๆ

       ๒๓. เอาน้ำมันเดือดๆ ราคทั่วร่างกาย

       ๒๔. ให้อดอาหาร ๒-๓ วัน แล้วเอาอาหารสุนัขให้กิน

       ๒๕. เอาเหล็กแหลมแทงตั้งแต่ศีรษะทะลุทวาร

       ๒๖. ใช้กระบี่ตัดศีรษะ

       ๒๗. เอาตะปูเผาไฟตอกลงที่มือข้างขวา

       ๒๘. เอาตะปูเผาไฟตอกลงที่มือข้างซ้าย

       ๒๙. เอาตะปูเผาไฟตอกลงที่เท้าข้างขวา

       ๓๐. เอาตะปูเผาไฟตอกลงที่เท้าข้างซ้าย

       ๓๑. เอาตะปูเผาไฟตอกลงที่หน้าอก

       ๓๒. เอาขวานและมีดถากที่ตัว (ม.อุ. ๑๔/ข้อ ๕๑๐)


       แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของทุกขะ

       ๑. กายปีฬนลกฺขณํ มีการเบียดเบียนร่างกาย เป็นลักษณะ

       ๒. ทุปฺปญฺญานํ โทมนสฺสกรณรสํ เป็นเหตุให้เกิดความโกรธ ความเสียใจ กลุ้มใจเกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยเป็นกิจ

       ๓. กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานํ มีความป่วยทางกาย เป็นอาการปรากฎแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. กายปสาทปทฏฺฐานํ มีกายปสาทเป็นเหตุใกล้


       ความทุกข์กายนี้ เป็นความทุกข์พิเศษ เพราะเบียดเบียนร่างกายเล้วยังสามารถเบียดเบียนทางใจอีกด้วย คือเมื่อร่างกายไม่สบายแล้ว ความไม่สบายนี้ย่อมทำให้ผู้นั้นเกิดความเสียใจ กลุ้มใจ ด้วยเหตุนี้ พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในสัจจวิภังค์อรรถกถา และวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า


       ปีเฬติ กายิกมิทํ       ทุกฺขญฺจ มานสํ ภิยฺโย

       ชนยติ ยสฺมา ตสฺมา    ทุกฺขนฺติ วิเสสโต วุตฺตํ ฯ

       กายิกทุกข์ ย่อมเบียดเบียนผู้ที่กำลังได้รับความทุกข์นี้ และสามารถ

       ทำให้ทุกข์ใจเกิดขึ้นได้มาก ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกล่าวว่าเป็นทุกข์พิเศษ


วจนัตถะของ โทมนัส

       "ทุมนสฺส ภาโว = โทมนสฺสํ"

       สภาพที่เป็นเหตุให้เป็นผู้มีใจคอไม่ดี ชื่อ โทมนัส ได้แก่ เจตสิกทุกข์ คือทุกข์ใจ

       ความโทมนัส เมื่อเกิดมีขึ้นกับผู้ใดแล้ว ทำให้ผู้นั้นจิตใจหงุดหงิด มีกิริยาอาการวิปริตทั้งกายและวาจา และความโทมนัสนี้ย่อมเป็นเหตุให้ กายิกทุกข์เกิดขึ้นแก่ตัวเองและผู้อื่นได้ เช่น เมื่อโทมนัสเกิดขึ้นแล้ว บางคนก็แสดงกิริยาตีอกชกใจบ้าง ทึ้งผมบ้าง ทอดตัวลงกลิ้งเกลือกบ้าง บางคนก็ถึงกับฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ และบางคนก็ทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์กายหรือถึงแก่ชีวิตไปได้ด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดความโทมนัสได้นั้นมีหลายประการ แต่โดยเฉพาะแล้วเนื่องมาจากการพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักใคร่อย่างหนึ่ง การได้ประสบกับสิ่งที่ตนไม่พึงพอใจอย่างหนึ่ง ๒ อย่างนี้ ทำให้เกิดความโทมนัสได้เป็นส่วนมากด้วยเหตุนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงเตือนสติแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เกี่ยวกับเรื่องทุกข์ใจนี้ไว้ในสังยุตตพระบาลีว่า

       มา ปีเยหิ สมาคญฺฉิ      อปฺปเยหิ กุทาจนํ

       ปียานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ       อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ

       จงอย่าอยู่รวมกับผู้ที่เรารัก และอย่าอยู่รวมกับผู้ที่ไม่รักกัน (เพราะ)

       การที่ไม่ได้เห็นผู้ที่เรารักก็ดี การที่ได้เห็นผู้ที่เราไม่รักก็ดี ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของโทมนัส

       ๑. จิตฺตปีฬนลกฺขณํ มีอาการเบียดเบียนใจเป็นลักษณะ

       ๒. มโนวิฆาตรสํ มีการทรมานใจเป็นกิจ

       ๓. มานสพฺพาธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่สบายใจเป็นอาการปรากฎแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

       ๔. หทยวตฺถุปทฏฺฐานํ มีหทัยวัตถุเป็นเหตุใกล้


วจนัตถะของ อุปายาส

       "ภุโส อายาสนํ = อุปายาโส"

       ความลำบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาสะ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง

       คำว่า อุปายาสะ นี้ เมื่อแยกบทแล้ว ได้แก่ อุป + อายาส อุป = อย่างหนัก อายาส = ความลำบาก เมื่อรวมกันแล้ว เรียกว่า อุปายาสะ แปลว่า ความลำบากใจอย่างหนัก

       สภาพของอุปายาสะก็คือ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง ที่สืบเนื่องมาจากโสกะ เมื่อโสกะมีกำลังมากขึ้นถึงขั้นปริเทวะ ต่อจากปริเทวะก็ถึงขั้นอุปายาสะ ซึ่งเป็นยอดแห่งความเศร้าโสก ทำให้ผู้ที่ได้รับนั้นมีจิตใจแห้งผากลงทันที ไม่สามารถจะต่อต้านกับความรู้สึกชนิดนี้ได้ มีอาการนั่งนิ่ง พูดไม่ได้ร้องให้ไม่ออก บางทึถึงกับวิสัญ หรือกลายเป็นคนเสียสติไป หรืออาจทำลายชีวิตตนเองได้ โดยมากมักเกิดกับผู้ที่ได้ประสบกับพยสนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้นึกฝัน เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ตายจากไปโดยปัจจุบันหรือทรัพย์สมบัติต้องสูญหายล้มละลายไปด้วยอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย ถูกฉ้อโกงเป็นต้น หรือเป็นโรคภัยที่หมดหนทางจะรักษาได้เหล่านี้เป็นต้น ทำให้ผู้นั้นได้รับความกระทบกระเทือนใจอย่างหนัก สภาพเช่นนี้แหละ ชื่อว่า อุปายาสะ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหานิทเทสพระบาลีว่า


       ตสฺส เจ กามยานสฺส*     ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน

       เต กามา ปริหายนฺติ      สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ** ฯ

(*ข. มหา ๒๘/ข้อ ๖, ขุ. มหา. เป็นกามยมานสฺส / **ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๘)

       แปลเป็นใจความว่า

       บุคคลที่ขี่ยานพาหนะอันได้แก่ กามคุณอารมณ์อยู่อย่างสนุกสนาน

       เพลิดเพลิน และมีความรู้สึกติดใจรักใคร่ในกามคุณอารมณ์เหล่านั้น ถ้าวัตถุ

       อารมณ์กามคุณเหล่านั้นต้องสูญเสียไป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่หลงเพลิคเพลินอยู่นั้น

       ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนใจ ดิ้นรนกระวนกระวายโดยสภาพแห่ง โสกะ

       ปริเทวะ อุปายาสะ เหมือนหนึ่งเนื้อที่ถูกธนูล้มลงดิ้นกระเสือกกระสน เมื่อใกล้

       จะตายฉะนั้น

       ความแตกต่างกันระหว่าง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะโสกะ ความเศร้าโศก ซึ่งได้แก่ โทมนัสเวทนา ปริเทวะ การร้องไห้รำพัน ซึ่งได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดจากโทสมูลจิตตุปบาท และอุปายาสะความลำบากใจอย่างหนัก หรือความคับแค้นใจ ซึ่งได้แก่ ตัวโทสเจตสิกทั้ง ๓ อย่างนี้ถ้าจะกล่าวข้อเปรียบเทียบแล้ว ก็เปรียบเหมือนกับน้ำมันในกระทะที่ตั้งอยู่บนเตาไฟเมื่อถูกความร้อนเผา น้ำมันก็เริ่มร้อนขึ้นเป็นลำดับ เมื่อความร้อนนั้นขึ้นถึงจุดเคือดแล้ว น้ำมันก็เดือดพล่านขึ้น เมื่อเดือดไปนานๆ ความร้อนก็จัดมากขึ้นๆจนร้อนถึงสุดขีดแล้ว ก็มีควันปรากฎขึ้น ต่อจากนั้นน้ำมันก็ค่อยๆ งวดลงจนกระทั่งแห้งหมดไป ข้อนี้ฉันใด โสกะก็เปรียบได้กับความร้อนของน้ำมันที่เริ่มร้อนขึ้น ปริเทวะเปรียบได้กับน้ำมันที่กำลังเดือดพล่าน อุปายาสะเปรียบได้กับน้ำมันที่ร้อนจนสุดขีด แล้วค่อยๆ งวดลงจนแห้ง สมดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาในทำนองเดียวกันว่า


       ภาชนนฺโต เตลปาโก      อุตฺตริตฺวา จ นิกฺขโม

       เสสสฺส ขยปาโกติ         อิเมเหเต ตโยสมา ฯ

       แปลความว่า

       โสกะ ปริเทวะ อุปายสะ ทั้ง ๓ นี้เหมือนกับความเป็นไปของน้ำมัน

       ๓ ระยะ ดังนี้คือ น้ำมันที่ร้อนขึ้นในภาชนะ ระยะหนึ่ง น้ำมันที่เดือดพล่านขึ้น

       แล้วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นน้ำมันที่เหลือก็ร้อนจัดจนงวดแห้งไประยะหนึ่ง


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของอุปายาสะ

       ๑. จิตฺตปริทหนลกฺขโณ มีการเผาจิตอย่างหนักเป็นลักษณะ

       ๒. นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจเป็นกิจ

       ๓. วิสาทปจฺจุปฏฺฐาโน มีกายและใจขาดกำลังลงเป็นอาการปรากฎแก่ปัญญาของบัญฑิตทั้งหลาย

       ๔. หทยวตฺถุปทฏฺฐาโน มีหทัยวัตถุเป็นเหตุใกล้


----------///---------


[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปัจจยสังคหะ,ปฏิจจสมุปบาท,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.