อธิบายในบาลีข้อที่ ๖ ที่ว่า อวิชฺชา สงฺขารา เป็นต้น จนถึง ทฺวาทสงฺคานิ


      บาลีข้อนี้อธิบายความ คำว่า "ทฺวาทสงฺคานิ" ที่อยู่ในบาลีข้อ ๘ คำว่า องค์ หมายความว่า เป็นเครื่องประกอบของปฏิจสมุปบาทที่สามารถทำให้หมุนเวียนอยู่ไปมาไม่มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนกับเครื่องประกอบของวงล้อที่ช่วยให้ล้อนั้นหมุนไปได้ ฉะนั้น องค์นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า "จักรปฏิจจสมุปบาท"

      สำหรับองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ให้เข้าใจตามคำแปลที่แสดงไว้แล้วในอธิบายในข้อที่ว่า โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ไม่จัดเป็นองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยเฉพาะ

      ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนานั้น เมื่อต่อจากชรามรณะแล้ว ยังมีผลธรรมอีก ๕ อย่าง คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะอุปายาสะ แต่ผลธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ ไม่ได้นับเข้าเป็นองค์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เกิดขึ้นแก่บุคคลไม่ทั่วไป เช่น พวกพรหม เทวดาชั้นสูง ๒ พวกนี้แม้ว่า อวิชชา เป็นต้น จนถึง มรณะ เกิดขึ้นได้ก็ตาม แต่โสกะ เป็นต้น ย่อมไม่เกิด มนุษย์ที่เป็นพระอนาคามีและฌานลาภีบุคคลเหล่านี้ อวิชชา เป็นต้นจนถึง ชรามรณะ เกิดได้ แต่โสกะ ปริเทวะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๔ นี้เกิดไม่ได้ เกิดได้แต่ทุกขะเท่านั้น ผู้ที่ได้รับการอบรมในธรรมะชั้นสูง และพระโสดาบันพระสกทาคามีเหล่านี้ อุปายาสะก็เกิดไม่ได้ ปฏิจจสมุปบาทธรรมนอกนั้นเกิดได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่นับเป็นองค์โดยเฉพาะ แต่ก็เป็นผลธรรมที่เกิดจากชาติเป็นเหตุด้วยเหมือนกัน ต่างกันอยู่ที่ว่า โสกะ ปริเทวะ เป็นต้นเหล่านั้น เป็นผลที่เกิดจากชาติไม่แน่นอนเหมือนกับชรา มรณะ เรียกว่า นิสสันทผล คือเป็นผลส่วนปลายส่วนชรา มรณะ เรียกว่า วิปากผล คือเป็นผลโดยตรงของชาติ


อธิบายในบาลีข้อ ๘ ที่ว่า "อวิชฺชาสงฺขารคฺคเหณน" เป็นต้น จนถึง "จตุสงฺเขปา จ ภวนฺติ ฯ"


บาลีข้อนี้ ขยายความคำว่า วีสตาการา ติสนฺธิ จตุสงฺเขปา ที่อยู่ในบาลี ข้อที่ ๔


วีสตาการา (อาการ ๒๐)

      ในการแสดงจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยกาลที่แสดงไปแล้วนั้นเป็นการแสดงชี้ขาดในองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยเฉพาะ ฉะนั้น ธรรมที่เป็นอดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล จึงมีจำกัด แต่เมื่อแสดงถึงสภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทโดยเหตุผล ในอดีตกับปัจจุบัน ปัจจุบันกับอนาคตแล้วมีประเภทถึง ๒. คือ อดีตเหตุ ๕ ปัจจุบันผล ๕ ปัจจุบันเหตุ ๕ อนาคตผล ๕ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ทั้ง ๕ นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมจะเว้นเสียซึ่งกันและกันไม่ได้ คืออวิชชา สังขาร เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ใดแล้วที่จะไม่มีตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เกิดขึ้นด้วยนั้น ย่อมไม่มี, ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ที่จะไม่มี อวิชชา สังขารเกิดขึ้นด้วย ก็ย่อมไม่มีเช่นเดียวกันและชาติ ชรามรณะนั้นก็ได้แก่ วิญญาณนามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา นั้นเองที่เป็นตัวเกิด แก่ ตาย ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ ฉะนั้น ในการแสดงเหตุในอดีตนั้น จึงสงเคราะห์เอาตัณหา อุปาทานกัมมภวะ ทั้ง ๓ นี้เข้าอยู่ร่วมกับอวิชชา สังขารด้วย เพราะเมื่อกล่าวโดยวัฏฏะ ๓ แล้ว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็เป็นพวกกิเลสวัฏฏ์ด้วยกัน สังขารกับกัมมภวะก็เป็นพวกกัมมวัฏฏ์ด้วยกัน

      ในองค์ปฏิจจสมฺปบาท ๘ ที่เป็นปัจจุบันกาลนั้น แบ่งออกเป็น ๒ พวกคือผลพวกหนึ่ง เหตุพวกหนึ่ง ผลนั้น ได้แก่ "วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา" เหตุนั้น ได้แก่ "ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ" ในปัจจุบันผล ๕ ที่ไม่นับเอาชาติ ชรา มรณะ เข้ามาอยู่ด้วยนั้นก็เพราะ ชาติ ชรา มรณะ ทั้ง ๓ นี้ ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ เป็นเพียงอาการเป็นไปของวิญญาณ นามรูป เป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนในปัจจุบันเหตุ ๕ นั้น ได้นับเอาอวิชชา สังขาร เข้าร่วมอยู่กับตัณหาอุปาทาน กัมมภวะด้วย ก็เพราะธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ ต้องเกิดขึ้นด้วยกันเสมอ ดังกล่าวแล้ว สำหรับองค์ปฏิจจสมุปบาท ๒ คือชาติ ชรามรณะ ที่เป็นอนาคตกาลนั้น เมื่อว่าโดยวัฏฏะ ๓ แล้ว เป็นวิปากวัฎ และตัว ชาติ ชรามรณะก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา นั้นเอง ฉะนั้น ในอนาคตผล ๕ จึงได้เอาวิญญาณ นามรูป เป็นต้นเหล่านี้ ยกขึ้นแสดงแทนชาติชรามรณะ

คำอธิบายดังกล่าวมานี้ เป็นการอธิบายในประเภทของอาการ ๒๐   


ติสนฺธิ (สนธิ ๓)

คำว่า สนธิ แปลว่า การสืบต่อ แสดงวจนัตถะว่า

      "สนฺธียเต - สนฺธิ" การสืบต่อระหว่างเหตุกับผล ผลกับเหตุ ชื่อว่า สันธิ อีกนัยหนึ่ง "สนฺธิยนฺติ เหตุผลธมฺมา เอตฺถาติ = สนฺธิ" ธรรมที่เป็นเหตุกับผลพึงต่อกันในที่นั้น ฉะนั้น ในที่ระหว่างนั้น ชื่อว่า สันธิ


เมื่อจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยการสืบต่อกันแล้ว มี ๓ คือ

      ๑. ในระหว่าง สังขาร กับ วิญญาณ ที่เป็นอดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล ต่อกันสันธิหนึ่ง

      ๑. ในระหว่าง เวทนา กับ ตัณหา ที่เป็นปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ ต่อกันสันธิหนึ่ง

      ๑. ในระหว่าง กัมมภวะ กับ ชาติ ที่เป็นปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล ต่อกันสันธิหนึ่ง


จตุสงเขปา (สังเขป ๔)

คำว่า สังเขป แปลว่า รวบรวมไว้เป็นหมวดๆ แสดงวจนัตถะว่า

      "สงขิปียนฺติ สงฺคยฺหนฺติ ปธานธมฺมา เอตฺถาติ - สงฺเขโป"

      การรวบรวมธรรมที่เป็นประธานไว้เป็นหมวดๆ ในที่นั้น ฉะนั้น ที่ที่รวบรวมธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า "สังเขป"

เมื่อจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยหมวดแล้ว มี ๔ คือ

      ๑. อวิชชา สังขาร ที่เป็น อดีตเหตุ หมวดหนึ่ง

      ๒. วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่เป็น ปัจจุบันผล หมวดหนึ่ง

      ๓. ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เป็น ปัจจุบันเหตุ หมวดหนึ่ง

      ๔. ชาติ ชรามรณะ ที่เป็น อนาคตผล หมวดหนึ่ง 

      สำหรับ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้ง ๕ นี้ สงเคราะห์เข้าอยู่ในหมวดที่ ๔


อธิบายในบาลีข้อ ๙ ที่ว่า อวิชฺชาตณฺหุปาทานา จ กิเลสวฏฺฏํ เป็นต้น จนถึง ตีณิ วฏฺฏานิ

บาลีข้อนี้ขยายความคำว่า ตีณิ วภูฏานิ ที่อยู่ในบาลีข้อที่ ๕


ตีณิ วภูฏานิ (วัฏฏะ ๓)

      คำว่า วัฏฏะ แปลว่า การหมุนเวียน เหมือนกับการหมุนของวงล้อ

      แสดงวจนัตถะว่า "วฏฺฏนฺติ ปุนปฺปุนํ อาวฏฺฏนฺตีติ - วฏฺฏํ" ธรรมเหล่าใดย่อมหมุนเวียนอยู่เรื่อยๆ ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า วัฏฏะ


การหมุนเวียนนี้มี ๓ อย่าง คือ

      ๑. กิเลสวัฏ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

      ๒. กัมมวัฏ ได้แก่ กัมมภวะ สังขาร

      ๓. วิปากวัฏ ได้แก่ อุปปัตติภวะ วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรา มรณะ

      อธิบายว่า ในร่างกายและจิตใจของคนทั้งหลาย ยกเว้นพระอรหันต์แล้ววัฏฏะทั้ง ๓ ย่อมมีครบบริบูรณ์ คือร่างกายและจิตใจของคนทั้งหลายนี้แหละเป็นวิปากวัฏ ความหลง ความอยากได้ ความเห็นผิดที่เกิดอยู่ภายในจิตตสันดานเป็นกิเลสวัฏ การกระทำดีไม่ดีด้วยกาย วาจา ใจ ที่คนเรากระทำกันอยู่ทุกวันนี้เป็นกัมมวัฏสภาพทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนผลัดกัน เป็นเหตุเป็นผลอยู่ทุกภพทุกชาติไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวคือเมื่อคนเรามีความหลง ความอยากได้ความเห็นผิด อันเป็นกิเลสวัฏประจำอยู่ในจิตตสันดานแล้ว ด้วยอำนาจแห่งกิเลสวัฏนี้ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นมีการกระทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง ดีบ้างไม่ดีบ้าง อันเป็นกัมมวัฏเกิดขึ้น การกระทำต่างๆ เหล่านี้แหละจะให้ผลปรากฎขึ้นในกาลข้างหน้า ในเมื่อผู้ตายนั้นจากภพนี้ไปแล้ว ก็ได้ไปเกิดใหม่มีภพมีชาติใหม่ใน ๓๑ ภูมิ ตามสมควรแก่การกระทำของตน การเกิดใหม่ของรูปนามขันธ์ ๕ ที่เรียกว่า สัตว์ทั้งหลายนี้แหละเป็นวิปากวัฏ เมื่อมีวิปากวัฎเกิดขึ้นแล้ว กิเลสวัฏก็ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยวิปากวัฏเป็นเหตุหมุนเวียนกันไปดังนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะได้เข้าถึงพระนิพพาน การหมุนเวียนของวัฎทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้แหละ เมื่อว่าตามโวหารที่ใช้กล่าวกันอยู่ในโลกนี้แล้วก็ได้แก่ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วก็สร้างกรรมใหม่แล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิดใหม่อีก เกิดแล้วก็สร้างกรรมใหม่อีก แล้วก็ตายอีกหมุนเวียนกันอยู่ ถ้าจะอุปมาแล้วก็เหมือนความเป็นไปของต้นไม้ที่สืบพันธุ์กันอยู่เรื่อยๆ ไป คือลำต้นเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยเมล็ด เมล็ดเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยยางเหนียวในลำต้น ยางเหนียวเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยลำต้น เมื่อเปรียบเทียบกันกับวัฏทั้ง ๓ แล้ว วิปากวัฎ เปรียบเหมือนลำต้น กิเลสวัฏ เปรียบเหมือนยางเหนี่ยวกัมมวัฏ เปรียบเหมือนเมล็ด

      เมื่อพิจารณาในวัฏฏะทั้ง ๓ นี้แล้ว จะเห็นได้ว่ากิเลสวัฏเป็นตัวสำคัญที่สุดฉะนั้น ในการทำลายวัฏฏะเพื่อไม่ให้หมุนอีกต่อไป จึงต้องทำลายที่กิเลสวัฏ เมื่อกิเลสวัฏถูกทำลายแล้ว กัมมวัฏและวิปากวัฏทั้ง ๒ นี้ก็ถูกทำลายตามไปด้วย


เทฺวมูลานิ (มูล ๒)

คำว่า มูล แปลว่า เป็นที่ตั้งหรือเป็นต้นเหตุของวัฏฏทุกข์ทั้งปวงดังแสดงวจนัตถะว่า

      "มูลยนฺติ สพฺเพปิ วฏฺฏธมฺมา ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ = มูลานิ"

      (วา) "มูลยนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ วฏฺฏธมฺมา เอเตหีติ = มูลานิ"

      วัฏฎธรรมทั้งปวงย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น ฉะนั้น ธรรมอันเป็นที่ตั้งของวัฏฏธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า มูล (หรือ) วัฏฎธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยอาศัยธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมอันเป็นเหตุให้วัฏฏธรรมตั้งอยู่ได้เหล่านั้น ชื่อว่า มูล ได้แก่ อวิชชา ตัณหา 


ปฏิจจสมุปบาทธรรมเมื่อแบ่งออกเป็นภวจักรแล้วมี ๒ คือ 

      ตั้งแต่อดีตเหตุเป็นต้น จนถึงปัจจุบันผล เป็นภวจักรอันหนึ่ง ชื่อว่า "ปุพพันตภวจักร" เป็นภวจักรแรก

      ตั้งแต่ปัจจุบันเหตุเป็นต้นจนถึงอนาคตผล เป็นภวจักรอันหนึ่ง ชื่อว่า "อปรันตภวจักร" เป็นภวจักรหลัง

      ในปุพพพันตภวจักร มีองก์ปฏิจจสมุปบาท ๗ องค์ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ในองค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อวิชชาเป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึงเวทนา

      ในอปรันตภวจักรมีองค์ ๕ คือตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติชรามรณะ ในองค์ ๕ เหล่านี้ ตัณหาเป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึง ขรามรณะ 

      ในปุพพันตภวจักร ที่มีองค์ ๗ นั้น มุ่งหมายเอาแต่เฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้า แต่ในขณะที่องค์ ๗ หมุนเวียนอยู่นั้น ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติชรา มรณะ อีก ๕ องค์ เหล่านี้ก็หมุนตามไปด้วย หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในปัจจุบันภพนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอวิชชาเป็นผู้นำ มีสังขารเป็นผู้จัดแจงที่ในภพก่อน ฉะนั้น อวิชชาจึงเรียกว่าปุพพันตมูล เมื่อมีอวิชชาเป็นผู้นำมีสังขารเป็นผู้จัดแจง ในภพนั้นก็ต้องมี ตัณหา อุปาทาน กัมมกวะ เกิดขึ้นด้วยเพราะอวิชชาเป็นผู้ปกปิดไม่ให้เห็นโทษและสภาพความเป็นจริง จึงทำให้ผู้นั้นเกิดความยินดีความต้องการความเห็นผิดความยึดมั่นขึ้น และย่อมกระทำการต่างๆด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ตามความประสงค์ของตัณหา อุปาทานให้สำเร็จลง โดยมีสังขารเป็นผู้จัดแจงให้กระทำ สำหรับร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในปัจจุบันภพนี้ ก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะเวทนา นั้นเอง และในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ คือจากเด็กขึ้นมาเป็นหนุ่มเป็นสาวจากหนุ่มสาวขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่ขึ้นมาเป็นคนแก่ มีอาการผมหงอกฟันหัก หนังเหี่ยว ตามัว ความคิดความจำเสื่อมถอยลงเป็นต้นไปตามลำดับ และสุดท้ายก็ถึงวาระแห่งชีวิต อันได้แก่ ชรามรณะ สำหรับชาตินั้น เมื่อขณะที่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เริ่มเกิดขึ้นในภพใหม่ ชาติ ก็สงเคราะห์สำเร็จอยู่ในนั้นแล้ว ด้วยเหตุนี้แหละจึงกล่าวไว้ว่า เมื่อ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา องค์ทั้ง ๓ เหล่านี้ หมุนเวียนอยู่ในปุพพันตภวจักร, ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ องค์ทั้ง ๕ เหล่านี้ก็ย่อมหมุนเวียนตามไปด้วย

      ในอปรันตภวจักรที่มีองค์ ๕ นั้น มุ่งหมายเอาแต่เฉพาะองค์ที่ปรากฎออกหน้าเช่นเดียวกัน แต่ในขณะที่องค์ ๕ หมุนเวียนอยู่นั้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา องค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ ก็หมุนตามไปด้วย หมายความว่าสัตว์ทั้งหลายที่จะไปเกิดในภพหน้านั้น ย่อมไปเกิดด้วยอำนาจแห่งตัณหาเป็นผู้นำและมีอุปาทานกัมมภวะเป็นผู้ช่วย ฉะนั้น ตัณหาจึงเรียกว่าอปรันตมูล และสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ ยกเว้นพระอรหันต์แล้ว นอกนั้นย่อมมีการกระทำต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปตามความพอใจ ความประสงค์ความยึดมั่น ความเห็นผิด ที่ประจำอยู่ในตนอันเรียกว่าตัณหา อุปาทาน กัมมภวะและความพอใจ ความยึดมั่น ความเห็นผิดในสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะผู้นั้นมองไม่เห็นโทษหรือไม่เห็นตามสภาพความเป็นจริง ที่เรียกว่าอวิชชาเป็นผู้ปิดบังไว้ และมีสังขารเป็นผู้กระตุ้นให้กระทำการงานต่างๆ นั้นให้สำเร็จลงตามความประสงค์และความเห็นของผู้นั้น ฉะนั้น ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เป็นตัวสำคัญในอปรันตภวจักร จึงมีอวิชชา สังขาร หมุนตามไปด้วย สำหรับวิญญาณนามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่หมุนเวียนตามชาติ ชรามรณะไปด้วยนั้นคือบุคคลทั้งหลายที่มีการกระทำต่างๆ ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้างตามอำนางของตัณหา อุปาทาน อยู่เป็นประจำนั้น เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ต้องไปเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่ง และเมื่อมีความเกิดขึ้นแล้ว ความแก่ ความตายก็ต้องปรากฏขึ้นตามลำดับ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เรียกว่าชาติ ชรามรณะทั้ง ๓ นี้แหละก็ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนานั้นเองที่เป็นผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยเหตุนี้แหละจึงกล่าวได้ว่า เมื่อตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะ องค์ทั้ง ๕ เหล่านี้ หมุนเวียนอยู่ในอปรันตภวจักร อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา องค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ก็ย่อมหมุนตามไปด้วย

      เมื่อพิจารณาองค์ปฏิจจสมุปบาทในปุพพันตภวจักร และอปรันตภวจักรทั้ง ๒ ฝ่ายนี้แล้ว ก็จะทราบได้ว่า อวิชชา สังขาร และตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ที่เกิดในภพก่อนนั้นสงเคราะห์เข้าในปุพพันตภวจักร ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะและอวิชชา สังขาร ที่เกิดอยู่ในภพนี้ สงเคราะห์เข้าในอปรันตภวจักร สำหรับวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา และชาติ ชรามรณะ อันได้แก่สัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่มเกิดมาจนกระทั่งตายในปัจจุบันภพนี้สงเคราะห์เข้าในปุพพันตภวจักร, ชาติ ชรามรณะ และวิญญาณ นามรูป สพายตนะ ผัสสะเวทนา ที่จะเกิดในภพใหม่ข้างหน้า อันได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เริ่มเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงตายในภพใหม่นั้น สงเคราะห์เข้าในอุปรันตภวจักร, ที่ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทหมุนอยู่นั้น หมายความว่า เกิดขึ้นสืบเนื่องกันระหว่างภพก่อนกับภพนี้ และภพนี้กับภพหน้านั้นเอง

      ความรู้ที่ได้รับจากการแสดงความเป็นไปของภวจักรทั้ง ๒ ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวมาแล้วนี้ ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมีปัจจุบันภพแล้ว ก็ต้องมีอดีตภพและอนาคตภพต่อไป กล่าวคือสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ใน ภพนี้ก็เคยเกิดเคยตายมาแล้วนับไม่ถ้วน และจะต้องเกิดต้องตายต่อไปข้างหน้าอีกนับไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน และในการหาเหตุหาสมุฏฐานที่ ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีเกิดมีตายอยู่เรื่อยๆ ไปนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหาที่อื่น มีอยู่แล้วในตัวของเรา ซึ่งได้แก่การกระทำต่างๆ ด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง ใจบ้าง อันมีอวิชชาตัณหาเป็นเหตุนั้นเอง ดังนั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า "ผู้ที่กระทำทุจริตอันนำให้ไปสู่ทุคติภูมินั้น เพราะอาศัยอวิชชาเป็นเหตุพิเศษ และตัณหาเป็นเหตุสามัญ ผู้ที่กระทำสุจริตอันนำให้ไปสู่สุคติภูมินั้นเพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุพิเศษ และมีอวิชชาเป็นเหตุสามัญ"

      อธิบายว่า ผู้ที่กระทำทุจริตต่างๆ นั้น ก็เนื่องมาจากว่า ผู้นั้นมองไม่เห็นโทษของทุจริต คือการกระทำทุจริตต่างๆ นี้ ไม่ได้นำความชื่นบานมาสู่ตน ไม่มีประโยชน์อันใด มีแต่จะเสียประโยชน์ และนำผลร้ายมาให้เท่านั้น การมองไม่เห็นโทษต่างๆ เหล่านี้ก็ด้วยอำนาจของอวิชชาเป็นผู้ครอบงำปกปิดไว้ และตัณหาเป็นผู้สนับสนุนให้กระทำ อุปมาเหมือนโคที่ถูกทรมานด้วยการเอาไฟเผาแล้วตีด้วยค้อน โคนั้นย่อมมีอาการดิ้นรนทุรนทุราย และมีความกระหายน้ำเป็นกำลังเมื่อพบน้ำร้อนที่เขานำมาให้กิน ก็รีบดื่มกิน เมื่อได้ดื่มกินเข้าไปแล้ว ก็ยิ่งได้รับความทรมานหนักขึ้นไปอีก เพราะน้ำร้อนได้ลวกปากและคอ แต่โคนั้นก็ต้องพยายามกินด้วยอำนาจแห่งความร้อนกระวนกระวายกระหายน้ำนั้นเอง ข้อนี้ฉันใดผู้ที่พยายามกระทำทุจริตอันเป็นเหตุนำให้ไปเกิดในทุติภูมิ ด้วยอำนาจแห่งอวิชชาและตัณหาก็ฉันนั้น

      ส่วนผู้ที่กระทำสุจริตต่างๆ กัน ก็เนื่องมาจากว่า ผู้นั้นกลัวต่อความทุกข์ความลำบากที่จะได้รับในทุคติภูมิ และปรารถนาจะได้รับความสุขเป็นมนุษย์เทวดา พรหม ต่อไป จึงได้พยายามกระทำกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา อันเป็นการงานที่น่ายินดีนำความชื่นบานมาสู่ตน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์นำผลดีมาให้ แต่ผู้นั้นก็ยังไม่เห็นโทษในวัฏฏทุกข์ ที่ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด หนีไม่พ้นอุปมาเหมือน โคที่ถูกทรมานด้วยประการต่างๆ อังกล่าวมาแล้ว มีความหิวกระหายน้ำเมื่อพบน้ำเย็นที่เขานำมาให้ดื่ม ก็รีบดื่ม เมื่อได้ดื่มน้ำเย็นแล้วก็รู้สึกชุ่มชื่นบรรเทาความร้อนความกระหายไปได้ ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่พยายามกระทำสุจริตอันเป็นเหตุนำให้ไปเกิดในสุติภูมิด้วยอำนาจแห่งตัณหาและอวิชชาก็ฉันนั้น

      ความเป็นไปของภวจักรที่มีหัวหน้าเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า และข้างหลังอันได้แก่ อวิชชา และตัณหา ซึ่งนำสัตว์ทั้งหลายวนเวียนไปในภูมิที่สูงบ้างต่ำบ้างไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ก็เปรียบเหมือนรถไฟที่มีหัวรถจักร ๒ หัวอยู่ข้างหน้าและข้างหลัง นำขบวนรถแล่นไต่ขึ้นเขาบ้างลงเขาบ้าง แล่นคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาบ้าง เมื่อเวลาที่รถขึ้นเขาก็ใช้หัวรถจักรที่อยู่ข้างหน้าเป็นผู้นำ เมื่อเวลาที่จะลงจากเขา ก็ใช้หัวรถจักรที่อยู่ข้างหลังเป็นผู้นำ ผลัดเปลี่ยนกันมาดังนี้ ด้วยเหตุนี้ท่านฎีกาจารย์จึงแสดงถึงความเป็นไปของวัฏฏมูลทั้ง ๒ เปรียบเทียบเหมือนกับรถไฟที่มีหัวรถ ๒ หัวว่า

      โอคฺคจฺฉนฺโตว จุคฺคจฺฉํ     ทุสีโส อคฺคิโก รโถ

      เอวํ ภวรโถ ยาติ                จิรํ สํสารอญฺชเส ฯ

      แปลความว่า รถภวจักรที่มีหัว ๒ หัว คืออวิชชาและตัณหา แล่นไปมาลงๆ ขึ้นๆ ในถนนวัฏฏสงสาร คือลงสู่ทุคติภูมิบ้าง ขึ้นสู่สุคติภูมิบ้าง อยู่ตลอดกาลนานเหมือนกับรถไฟที่มีรถจักร ๒ หัว แล่นลงบ้างขึ้นบ้างวนเวียนอยู่บนยอดเขาฉันนั้น

      อนึ่งคำว่า สังสาระหรือสังสารวัฏ นี้ไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นสืบต่อกันของสัตว์บุคคลใดๆ แต่เป็นการเกิดขึ้นสืบต่อกันของขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันได้แก่ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นเอง ดังนั้น ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า

      ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ           ธาตุอายตนาน จ 

      อพฺโพจฺฉินฺนํ วฏฺฏมานา    สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ (* อัฏฐสาลินี หน้า ๑๕)

      แปลความว่า การเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ติดต่อกันไม่ขาคสายของขันธ์

      ธาตุ อายตนะ เหล่านี้เรียกว่า สังสาระ


--------///----------

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปฏิจจสมุปบาท,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.