๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ สมฺภวติ

      อุปาทานย่อมปรากฎขึ้น เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ


คำว่า "อุปาทาน" หมายถึงการยึดมั่นในสิ่งที่ผิดโดยโลภะ และทิฏฐิ

ดังแสดงวจนัตถะว่า

      "ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คยฺหนฺตีติ - อุปาทานานิ" 

      ธรรมเหล่าใดยึดถืออย่างแรงกล้า คือถือไว้ไม่ปล่อย ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า "อุปาทาน"

      อีกนัยหนึ่ง 

      "อุปาทิยนฺตีติ - อุปาทานานิ"

      ธรรมเหล่าใดเข้าไปยึดมั่น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อุปาทาน ได้แก่ตัณหา และทิฏฐิที่มีกำลังมาก

      วจนัตถะนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาและทิฏฐิอย่างธรรมดา ยังไม่ได้ชื่อว่า อุปาทาน ต่อเมื่อตัณหาและทิฏฐินั้นมีกำลังแรงมากขึ้น กล่าวคือ การยินดีติดใจในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย เวลานั้นตัณหานั้นได้ชื่อว่า อุปาทาน และเมื่อเวลาที่มีความเห็นผิดนั้นติดแน่นแก้ไม่ได้แล้ว เวลานั้นทิฏฐินั้นก็ได้ชื่อว่าอุปาทาน

      อุปาทาน มี ๔ อย่าง คือ

            ๑. กามุปาทาน  ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น ได้แก่ โลภะเจตสิกที่ยึดมั่นในอารมณ์ ๖ ที่เป็นวัตถุกาม

            ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ และอันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่นอกจากสีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ

            ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโคและสุนัขเป็นต้น ได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ

            ๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ของตน และของคนอื่น ได้แก่สักกายทิฏฐิ


      แสดงอุปาทาน ๔ โดยพิสดาร

      ๑. กามุปาทาน มี ๖ คือ

            ๑. รูปกามุปาทาน             ๒. สัททกามุปาทาน

            ๓. คันธกามุปาทาน           ๔. รสกามุปาทาน

            ๕. โผฏฐัพพกามุปาทาน       ๖. ธัมมกามุปาทาน


      ๒. ทิฏฐุปาทาน มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ รวม ๗๕ คือ

         นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ

          ๑) นัตถิกทิฏฐุปาทาน ๒) อเหตุกทิฏฐุปาทาน ๓) อกิริยทิฏฐุปาทาน ทั้ง ๓ นี้เป็นทิฏฐิใหญ่

         มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ คือ  (ดูการแสดงมิจฉาทิฏฐิ ๖๒ โดยพิสคารในพรหมชาลสูตร แห่งทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)

         - ปุพพันตกัปปีกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ที่ล่วงมาแล้ว มี ๑๘

         - อปรันตกัปปีกทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดโดยการคิดนึกเอาเองในเรื่องความเป็นไปของขันธ์ ๕ ในข้างหน้า มี ๔๔

          รวมเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๖๒

        *ปุพพันตกัปปีกทิฏฐิ ๑๘ คือ

           สัสสตทิฏฐิ ๔ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ  อันตานันตทิฏฐิ ๔ อมราวิกเขปทิฏฐิ ๔ อธิจจสมุปปันนทิฎฐิ ๒

        *อปรันตกัปปีกทิฏฐิ ๔๔ คือ

         - อุทธมาฆาตนิกสัญญีวาททิฏฐิ ๑๖

         - อุทธมาฆาตนิกอสัญญีวาททิฏฐิ ๘

         - อุทธมาฆาตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาทิฏฐิ ๘

         - อุจเฉทวาททิฏฐิ ๗

         - ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕

     

อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ คือ

      ๑. สสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกเที่ยง

      ๒. อสสฺสโต โลโก เห็นว่า โลกไม่เที่ยง

      ๓. อนฺตวา โลโก เห็นว่า โลกมีที่สิ้นสุด

      ๔. อนนฺตวา โลโก เห็นว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด

      ๕. ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นอันเดียวกัน

      ๖. อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรํ เห็นว่า ชีวะและสรีระ เป็นคนละอัน

      ๗. โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นหลังจากตายแล้วเกิดต่อไปอีก

      ๘. น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นหลังจากตายแล้วไม่เกิดต่อไปอีก

      ๙. โหติ จ น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี

      ๑๐. เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณา เห็นว่า สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้


๓. สีลัพพตุปาทาน

      การปฏิบัติผิดแนวทางที่ถูกต้อง เช่น ปฏิบัติตนให้เหมือนกับโคหรือสุนัข โดยผู้นั้นต้องการจะพ้นจากความทุกข์ความลำบากต่างๆ ในสังสารวัฏ หรือต้องการไปเกิดในเทวโลก แต่ไม่มีโอกาสได้สมาคมกับสัปบุรุษทั้งหลาย มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่มีโอกาสได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง บุคคลจำพวกนี้คิดเห็นว่าอกุศลต่างๆ ที่เกิดมาแล้วแก่ตนนั้น มีจำนวนมากหาประมาณมิได้ จะต้องหาหนทางกำจัดอกุศลต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป เพราะอกุศลเหล่านี้ทำให้ตนไม่สามารถไปเสวยความสุขในแดนสวรรค์ได้ เมื่อนึกเช่นนี้แล้วก็เกิดมีความคิดเห็นขึ้นว่า ตนเป็นหนี้อกุสลอยู่ จะต้องพยายามใช้หนี้อกุศลเก่าให้หมดไป และอกุศลใหม่ตนก็จะไม่ทำขึ้นอีก เช่นนี้จึงจะสามารถล้างหนี้ให้หมดไปได้ และอกุศลเก่าเป็นเจ้าหนี้นั้นทำให้ตนต้องลำบาก ตนก็จำเป็นต้องเอาความลำบากนั้นใช้หนี้ตอบแทนกันไป ข้อนี้อุปมาเหมือนหนึ่งผู้ที่เป็นลูกหนึ่เงินทองเขาอยู่ ไม่สามารถหาเงินทองใช้หนี้เขาได้ก็จำเป็น ต้องเอาตัวของตัวเองไปต่อสู้กับความลำบาก คือ ยอมเป็นทาสให้เขาใช้เงินแทน ความลำบากนั้นแหละสามารถจะช่วยตัวให้หลุดพ้นจากหนี้สินเหล่านั้นได้ ข้อนี้ฉันใด ตนเป็นหนี้อกุศลอยู่ก็ฉันนั้น จะต้องเอาความลำบากอย่างพวกสัตว์ดิรัจฉาน มีโคและสุนัขเป็นต้น ที่กำลังได้รับอยู่นั้นมาเป็นเครื่องช่วยเหลือตนให้พ้นจากเจ้าหนี้อกุศลตนจึงจะพ้นจากอกุศลได้ เมื่อคิดเห็นหนทางเช่นนี้แล้วก็พากันประพฤติปฏิบัติตนให้เหมือนกับโคและสุนัข มีการกิน การนอน การนั่ง การยืน การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ตลอดจนกระทั่งตบแต่งรูปร่างสัญฐานให้เหมือนกับโคหรือสุนัขนั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติตรงกันข้ามกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย การปฏิบัติเช่นนี้แหละชื่อว่า "สีลัพพตุปาทาน"


๔. อัตตวาทุปาทาน

      ได้แก่ อัตตทิฏฐิ หรือ สักกายทิฏฐิ ที่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตนมีอยู่ ๒๐ อย่าง หรือโดยพิสดาร ๒๕๖ คือ

      สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ หรือ ๑๑๒

      สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์ มี ๔ หรือ  ๗๒

      สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์ มี ๔ หรือ  ๒๔

      สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์ มี ๔ หรือ  ๒๔

      สักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์ มี๔ หรือ  ๒๔


สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ

      ๑. รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ มีความเห็นว่า รูปเป็นเรา เราเป็นรูป (เข้าใจว่าเรากับร่างกายเป็นอันเดียวกัน เหมือนกับที่เห็นเปลวไฟกับแสงไฟ ฉะนั้น)

      ๒. รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ มีความเห็นว่า เรามีรูป (เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งต้นไม้กับเงา ฉะนั้น) 

      ๓. อตฺตนิ วา รูปํ มีความเห็นว่า รูปอยู่ในเรา (เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนกลิ่นดอกไม้ที่อยู่ในดอกไม้ ฉะนั้น)

      ๔. รูปสฺมึ วา อตฺตานํ มีความเห็นว่า เราอยู่ในรูป (เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนหนึ่งแก้วมณีที่อยู่ในหีบฉะนั้น)


      สำหรับจำนวนพิสดาร ๑๑๒ นั้น คือ

      สักกายทิฏฐิ ที่มีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ ๔ อย่างนี้ เกิดขึ้นโดยอาศัยปถวีก็มี เกิดขึ้นโดย อาศัย อาโป เป็นต้น จนถึง ชรตา อนิจจตา ก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยรูป ๒๘ จึงเป็น ๑๑๒


สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ

      ๑. เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการเสวยอารมณ์เป็นเรา เราคือการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)

      ๒. เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ เรามีการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)

      ๓. อตฺตนิ วา เวทนํ การเสวยอารมณ์อยู่ในเรา (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน)

      ๔. เวทนาย วา อตฺตานํ เราอยู่ในการเสวยอารมณ์ (เข้าใจว่า เราและการเสวยอารมณ์ เป็นคนละอัน) 

          (ข้ออุปมาที่เกี่ยวกับเวทนาทั้ง ๔ ข้อนี้ เหมือนที่แสดงในรูปขันธ์) 


      สำหรับจำนวนพิสดาร ๗๒ นั้น คือ

      เวทนาเมื่อว่าโดยทวาร มี ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น ในเวทนา ๖ อย่างนี้ อย่างหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา รวมเป็นเวทนา ๑๘

      สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาสุขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาทุกขเวทนาก็มี เกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุสัมผัสสชาอุเบกขาเวทนาก็มี และสักกายทิฏฐิ ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัย สุข ทุกข์ อุเบกขา ที่เกี่ยวกับโสตะเป็นต้น จนถึง มนะ ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเวทนา ๑๘ จึงเป็น ๗๒


สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ

      ๑. สญฺญํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการจำอารมณ์เป็นเรา เราคือการจำอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการจำอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)

      ๒. สญฺญาวนฺตํ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการจำอารมณ์

      ๓. อตฺตนิ วา สญฺญํ เห็นว่า การจำอารมณ์อยู่ในเรา

      ๔. สญญาย วา อตฺตานํ เห็นว่า เราอยู่ในการจำอารมณ์

(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่า เรากับการจำอารมณ์เป็นคนละอัน และข้ออุปมาก็เหมือนกับที่แสดงในรูปขันธ์)


      สำหรับจำนวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ

      การจำอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้ว มี ๖ อย่าง ได้แก่ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา 

      สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปสัญญาก็มี อาศัยสัททสัญญาเป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยสัญญา ๖ จึงเป็น ๒๔ 


สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ

      ๑. สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นเรา เราคือการปรุงแต่งในอารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นอันเดียวกัน)

      ๒. สงฺขารวนฺตํ วา อตฺตานํ เห็นว่า เรามีการปรุงแต่งในอารมณ์

      ๓. อตฺตนิ วา สงฺขาเร เห็นว่า การปรุงแต่งในอารมณ์อยู่ในเรา

      ๔. สงฺขาเรสุ วา อตฺตานํ เห็นว่า เราอยู่ในการปรุงแต่งอารมณ์

(ข้อ ๒, ๓, ๔ เข้าใจว่าเรากับการปรุงแต่งในอารมณ์เป็นคนละอันและข้ออุปมาก็เหมือนที่แสคงในรูปขันธ์)


      สำหรับจำนวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ

      การปรุงแต่งในอารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยอารมณ์แล้วมี ๖ อย่าง ได้แก่รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฎฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา

      สักกายทิฏฐิทั้ง ๔ เกิดขึ้นโคยอาศัยรูปสัญเจตนาก็มี อาศัยสัททสัญเจตนา เป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยเจตนา ๖ จึงเป็น ๒๔ 


สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ มี ๔ คือ

      ๑. วิญญาณ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นว่าการรู้อารมณ์เป็นเรา เรา คือการรู้อารมณ์ (เข้าใจว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นอันเดียวกัน)

      ๒. วิญฺญาณวนฺตํ วา อตฺตานํ เห็นว่าเรามีการรู้อารมณ์

      ๓. อตฺตนิ วา วิญฺญาณํ เห็นว่าการรู้อารมณ์อยู่ในเรา

      ๔. วิญฺญาณสฺมึ วา อตฺตานํ เห็นว่าเราอยู่ในการรู้อารมณ์

(ข้อ ๒, ๓, เข้าใจว่าเรากับการรู้อารมณ์เป็นคนละอัน และข้ออุปมาเหมือนที่แสดงในรูป)


      สำหรับจำนวนพิสดาร ๒๔ นั้น คือ

      การรู้อารมณ์นี้ เมื่อว่าโดยทวารแล้วมี ๖ อย่างได้แก่ จักขุวิญญาณโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณสักกายทิฏฐิ ทั้ง < เกิดขึ้นโคยอาศัยจักขุวิญญาณก็มี อาศัยโสตวิญญาณเป็นต้นก็มี ฉะนั้น สักกายทิฏฐิ ๔ คูณด้วยวิญญาณ ๖ จึงเป็น ๒๔

      อธิบายว่า ผู้ที่มีอัตตวาทุปาทานนี้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ และไม่เชื่อว่ารูปนามขันธ์ ๕ นี้เป็นอนัตตะ คือเป็นสภาวะที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครไม่มีตัว ไม่มีตน เข้าใจว่ารูปนามขันธ์ ๕ นี้ เป็นอัตตะมีตัวตน และตัวตนนี้เป็นอิสระ สามารถบังกับบัญชารูปนามขันธ์ ๕ ได้ อัตตะสั่งให้ร่างกายยืน เดินนั่ง นอน พูด ดู ฟัง เป็นต้นเหล่านี้ ร่างกายก็ทำไปตามอัตตะสั่ง 


ความยึดมั่นว่าเป็นอัตตะนี้ มี ๒ อย่าง คือ ๑. ปรมอัตตะ ๒. ชีวอัตตะ 

      ความยึดมั่นว่าอัตตะนี้ สามารถสร้างโลกขึ้นได้ บรรคาสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เกิดมาด้วยอำนาจของอัตตะทั้งสิ้น ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า "ปรมอัตตะ"

      ความยึดมั่นว่าบรรคาสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ มีตัวมีตน คือมีชีวิตรักษาอยู่ ความยึดมั่นเช่นนี้ได้ชื่อว่า "ชีวอัตตะ"

      อธิบายว่า ปรมอัตตะนี้ มีประวัติมาว่า เมื่อสมัยที่โลกได้ถูกทำลายด้วยไฟแล้ว และเริ่มสร้างขึ้นใหม่นั้น ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้สร้างขึ้นก่อนภูมิอื่นๆ ในเวลาที่สร้างเสร็จใหม่ๆ นี้ ยังไม่มีพรหมองค์ใดองค์หนึ่งเกิดขึ้นเลย ต่อมาพรหมที่อยู่เบื้องบนตั้งแต่ทุติยฌานภูมิ องค์ใดองค์หนึ่งสิ้นบุญจากภูมินั้นแล้ว ก็จุติลงมาเกิดในปฐมฌานภูมินี้ ปรากฏเป็นมหาพรหมองค์แรก ท้าวมหาพรหมนี้รัศมีรุ่งเรืองมาก ครั้นนานมา มหาพรหมองค์นี้เกิดรู้สึกว้าเหว่ขึ้นมา จึงนึกปรารถนาให้มีพรหมองค์อื่นๆ มาเกิดอยู่ด้วยอีก (ข้อความนี้ ผิดหลักความจริงของพรหม) เผอิญประจวบเหมาะกับในเวลานั้นพรหมที่อยู่ในภูมิเบื้องบนบางองค์หมดบุญหมดอายุ ก็พากันจุติลงมาเกิดในปฐมฌานภูมินี้ในเวลาติดๆ กันหลายองค์ แต่พวกพรหมที่ลงมาเกิดรุ่นหลังนี้ไม่ได้เป็นมหาพรหม เป็นพรหมปาริสัชชาบ้าง เป็นพรหมปุโรหิตาบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นบริวารของท้าวมหาพรหมทั้งนั้น ความรุ่งเรืองแห่งรัศมีในกายก็มีน้อยกว่าท้าวมหาพรหม เมื่อท้าวมหาพรหมได้เห็นพวกพรหมทั้งหลายมาบังเกิดขึ้นในเวลานั้นก็คิดว่า เมื่อเรามีความปรารถนาอยากได้พรหมมาเกิดร่วมอยู่ด้วยความปรารถนาของเราก็สำเร็จสมความประสงค์ ฉะนั้น เรานี้แหละจึงเป็นผู้ที่สร้างพรหมทั้งหลายให้ปรากฎขึ้นใน โลก

      ส่วนพวกพรหมทั้งหลายที่เกิดใหม่นั้น ได้แลเห็นท้าวมหาพรหมมีรัศมีรุ่งเรือง เครื่องอาภรณ์ที่ประดับกายตลอดจนกระทั่งวิมานที่อยู่ก็สวยงามมาก จึงพากันปรารภขึ้นว่า "อยํ โข ภวํ พฺรหฺมา มหาพฺรหฺมา อภิภู อนภิภูโต อญฺญทตฺถุทโส วสวตฺติ อิสฺสโร กตฺตา นิมฺมาตา เสฏฺโฐ สชฺชิตา วสี ปีตาภูตภพฺยานํ อิมินา มยํ โภตา พฺรหมฺนา นิมฺมิตา" (มาในพรหมชาลสูตรพระบาลีแห่งสีลขันธวรรค) (ที.สี. ๔ ข้อ ๔l๒)

      แปลความว่า "พรหมองค์นี้เป็นท้าวมหาพรหม สามารถปกครองสัตว์ทั้งหลายได้ ไม่ได้อยู่ในความปกครองของผู้อื่นเลย เป็นพระเจ้าที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ได้โดยแน่นอน สามารถทำให้สัตว์ทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นไปตามความพอใจของตนได้ เป็นท้าวอิศวรปรเมศวรที่เป็นผู้ปกครองสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้สร้างโลกและสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เป็นผู้จัดจำแนกสัตว์ให้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นเศรษฐี เป็นคนรวย คนจน ตามสมควรแก่ฐานะเป็นบิดา ของสัตว์ที่ปรากฏขึ้นแล้ว และที่จะปรากฎต่อไปข้างหน้า แม้เราทั้งหลายที่ปรากฏเกิดขึ้น ณ สถานที่นี้ ก็เพราะท้าวมหาพรหมองค์นี้นั้นเองเป็นผู้สร้างขึ้น" เมื่อปรารภกันเช่นนี้แล้วก็พากันมาเฝ้าคอยปรนนิบัติรับใช้ท้าวมหาพรหมทุกประการ

      ต่อมาพวกพรหมที่เป็นบริวารเหล่านี้ เมื่อสิ้นบุญสิ้นอายุจากพรหมแล้วก็จุติลงมาเกิดในมนุษยโลก สำหรับท้าวมหาพรหมนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ เพราะอายุขัยยืนยาวกว่าพรหมพวกนั้น ส่วนพรหมทั้งหลายที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วนั้นบางพวกก็ทำสมถะ ได้ฌานอภิญญา สามารถเห็นท้าวมหาพรหมได้ ก็เกิดความยึดมั่นยิ่งขึ้นว่า โลกและสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ ท้าวมหาพรหมเป็นผู้สร้างขึ้นทั้งสิ้น ฉะนั้น ท้าวมหาพรหมนี้เป็นพระเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ชื่อว่า "ปรมอัตตะ" เป็นผู้ไม่ตายไม่สูญหายไปไหน ความเห็นยึดมั่นเช่นนี้ได้ติดต่อแพร่หลายสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ฉะนั้น พวกที่มีความเห็นว่า บรรดาสิ่งต่างๆ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ตลอดจนกระทั่งความสบาย ความลำบาก ความมั่งมี ความจน ความสวย ความไม่สวย ตระกูลสูง ตระกูลต่ำเป็นต้นเหล่านี้ ก็เพราะปรมอัตตะเป็นผู้สร้างขึ้นนั้น ก็เกิดมาจากคนในสมัยต้นกัปที่ได้ฌาน อภิญญา สามารถแลเห็นท้าวมหาพรหมได้นั้นเอง เป็นต้นเหตุคนที่เกิดในสมัยต่อๆ มาก็มีความเห็นดังนี้ดำเนินรอยตามกันมา แต่คนในสมัยหลังๆ นี้ไม่สามารถมองเห็นท้าวมหาพรหม เพราะไม่ได้อภิญญา เมื่อมีผู้ถามขึ้นว่า พระเจ้าผู้สร้างโลกนั้นอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้แต่เพียงว่า อยู่เบื้องบนอากาศเท่านั้น

      ปรมอัตตะนี้ มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง ตามเชื้อชาติและภาษาของผู้ถือ สิทธิชนิดนี้คือ

      ตามภาษาสันสกฤตและฮินดู เรียกว่า อิศวร ปรเมศวร ปรมาตมัน

      ตามภาษาเปอร์เซียน เรียกว่า โคด้า

      ตามภาษาอารเบียน อ้าหล่า

      ตามภาษาอังกฤษ ก๊อต

      ตามภาษาพม่า ถาวระพยา

      ตามภาษาไทย พระเจ้า

      ตามภาษาญวน ดึ๊กจั๊ว

ซึ่งล้วนแต่เป็นปรมอัตตะทั้งสิ้น


ชีวอัตตะ

      ๑. ผู้ที่มีความเห็นว่า ภายในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนี้มีอัตตะที่เรียกว่าตัวชีวิตๆ นี้ มีความสามารถกระทำการงานต่างๆ ได้ เช่นในเวลาที่กำลังเดินอาการกิริยาที่ก้าวเดินไปนั้น หาใช่เป็นไปด้วยอำนาจของเท้าไม่ หากเป็นไปด้วยอำนาจของชีวอัตตะนั้นเอง เป็นผู้สั่งให้ยกเท้าก้าวเดินไป หรือในเวลาใดชีวอัตตะมีความประสงค์จะทำในสิ่งที่ไม่ดี กาย วาจา ก็กระทำในสิ่งที่ไม่ดีนั้นตามความประสงค์ของชีวอัตตะ หรือชีวอัตตะอยากจะทำสิ่งที่ดี กาย วาจา ก็กระทำสิ่งที่ดีตามคำสั่งของชีวอัตตะ เช่น ในเวลาที่กำลังยกมือไหว้อยู่ต่อหน้าพระพุทธรูปนั้นการยกมือขึ้นประนมไหว้ให้ตรงหน้าพระพุทธรูปได้นั้น ก็ด้วยอำนาจของชีวอัตตะหรือเวลาที่กำลังสวดมนต์อยู่ การเปล่งวาจาสวดได้นั้นก็ด้วยอำนาจของชีวอัตตะและการสวดได้ถูกต้องก็ด้วยอำนาจของชีวอัดตะอย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้น ชีวอัตตะนี้จึงเรียกว่า "การกะ" (ผู้กระทำ) ประการหนึ่ง

      ๒. ผู้ที่มีความเห็นว่า ชีวอัตตะนี้ เป็นผู้เสวยผลที่เกิดจากกรรมดี และกรรมชั่ว ความสุข ความทุกข์ เจ็บ ปวด และการเสพอาหารรสดี รสไม่ดีเหล่านี้ ชีวอัตตะก็เป็นผู้เสวย การทำดี ทำไมดี ที่จะได้รับผลในกาลข้างหน้านั้นชีวอัตตะก็จะเป็นผู้ได้เสวย ฉะนั้น ชีวอัตตะนี้ จึงเรียกว่า "เวทกะ" (ผู้เสวย)ประการหนึ่ง

      ๓. ผู้มีความเห็นว่า ชีวอัตตะนี้ เป็นเจ้าของร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย เพราะสามารถเป็นผู้ปกครองอวัยวะทั่วร่างกายได้ ฉะนั้น ชีวอัตตะนี้จึงเรียกว่า "สามี" (เจ้าของ) ประการหนึ่ง

      ๔. ผู้ที่มีความเห็นว่า ชีวอัตตะนี้ เมื่อร่างกายของสัตว์ทั้งหลายเสียไปแล้วด้วยความเก่าแก่หรือด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่เป็นอุปัทวเหตุก็ตาม ชีวอัตตะนี้ก็จัดแจงสร้างร่างกายขึ้นใหม่ แล้วก็ข้ายไปอยู่ในร่างกายใหม่นั้น ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย แม้ว่าจะเสียไป แต่ชีวอัตตะนี้ก็ไม่มีเสีย สามารถสร้างร่างกายใหม่ๆอยู่ได้เรื่อยไป

      หรือบางพวกก็เห็นว่า ชีวอัตตะนี้เป็นส่วนหนึ่งของปรมอัตตะ เมื่อสัตว์ใกล้จะตาย ร่างกายก็กลับไปสำนักของปรมอัตตะที่อยู่เบื้องบนทันที หมายความว่าปรมอัตตะเป็นผู้เรียกกลับไป เป็นอันว่า ชีวอัตตะนี้ ไม่มีการตาย ฉะนั้น ชีวอัตตะนี้จึงเรียกว่า "นิวาสี" (อยู่เป็นนิจ) ประการหนึ่ง

      ๕. ผู้มีความเห็นว่า ชีวอัตตะนี้มีอำนาจในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายสามารถบังคับร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้น ทำทุกสิ่งทุกอย่างตามความประสงค์ของตนได้ ฉะนั้น ชีวอัตตะนี้ จึงเรียกว่า "สยํวาสี" (ผู้สามารถบังคับร่างกาย) ได้ประการหนึ่ง

      เมื่อรวมความเห็น ๒ อย่าง คือ นิวาสี กับ สยํวาสี เข้าด้วยกันแล้ว ก็หมายความว่า พวกที่มีความเห็นทั้ง  อย่างนี้ เข้าใจว่าชีวอัตตะนี้เป็นแก่นเป็นสารมั่นคงที่สุด ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสามารถจะมาทำลายให้สูญเสียไปด้วย และมีอำนาจพิเศษที่สามารถจะบังคับร่างกายของสัตว์ทั้งหลายให้ทำไปตามประสงค์ของตนได้ เรียกว่า "วสวัตตนะ" (ผู้มีอำนาจพิเศษ)

      ความยึคถือว่าเป็นชีวอัตตะ ๒ ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ บางพวกก็ยึดเอาวิญญาณขันธ์เป็นตัวชีวิต บางพวกก็ยึดเอารูปขันธ์เป็นตัวชีวิต และบางพวกก็ยึดเอาเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ หรือสังขารขันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวชีวิตคือเป็นตัวของตน ฉะนั้น ความเห็นที่ยึดถือในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวของตนเช่นนี้แหละ จึงชื่อว่า "สักกายทิฏฐิ" และก็เข้าอยู่ในจำพวกที่เรียกว่า "อัตตวาทุปาทาน"

      มิจฉาทิฏฐิต่างๆ ปรากฎเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยสักกายทิฏฐินั้นเองเป็นมูล ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไ ว้ในจิตตวรรค แห่งสฬายตนสังยุตตพระบาลีว่า "สักกายทิฏฐินี้ เป็นพืชพันธุ์ของมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง" ถ้าจะแสดงวจนัตถะ ของสักกายทิฏฐินี้แล้ว ก็มีดังนี้คือ "สนฺโต กาโย - สกฺกาโย" "สกฺกาย ปวตฺตาทิฏฺฐิ -สกฺกายทิฏฺฐิ" หมู่ขันธ์ ๕ ที่มีประกอบอยู่ตามสภาวปรมัตถ์ ชื่อว่า สักกายะ ได้แก่ ขันธ์ ๕, ทิฏฐิ คือความยึคมั่นที่เกิดขึ้นในหมู่ขันธ์ ๕ ที่มีปรากฎอยู่ตามสภาวปรมัตถ์นั้น ชื่อว่า "สักกายทิฏฐิ"

      อนึ่ง พุทธศาสนิกชนโดยมาก แม้ว่าจะชี้ขาดลงไปไม่ได้ว่า เป็นพวกชีวอัตตะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่ตามความเห็นที่ยึดมั่นในรูปนามว่าเป็นตัวของตนนี้ก็ย่อมมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นแต่อริยบุคคลเท่านั้น ความยึดถือ ส่วนมากนั้นก็คือยึดถือในวิญญาณขันธ์ เช่น ผู้ใดผู้หนึ่งตายลง ผู้ที่อยู่มักจะกล่าวว่า ผู้นั้นผู้นี้ชีวิตแตกดับออกจากร่างกายไปแล้ว หรือเด็กเล็กๆ ที่สะดุ้งตกใจผู้ใหญ่มักจะพูดว่า "ขวัญหนี" ซึ่งความหมายของคำว่าขวัญหนีนี้ ก็คงหมายเอาว่าจิตหรือวิญญาณของเด็กนั้นหนีออกจากร่างไปชั่วขณะนั้นเอง หรือบางทีคนที่ตายไปแล้ววิญญาณยังคงลอยอยู่ ยังไม่ได้ไปเกิดที่ไหน และบางทีวิญญาณของผู้นั้นก็มาเรียกชักชวนพี่น้อง ลูกหลาน สามี ภรรยา เป็นต้น ให้ไปอยู่ด้วยกัน หรือบางที วิญญาณของผู้ตายนั้นก็เข้ามาสิงอยู่ในร่างกายของญาติพี่น้อง ภรรยา สามีเหล่านั้น ทำให้ต้องเกิดมีการทำพิธีขับไถ่วิญญาณกันอย่างนี้เป็นต้น ความยึดถือที่เป็นอัตตทิฏฐินี้กว้างขวางมาก ไม่เฉพาะแต่จะยึดเพียงขันธ์ ๕ คือร่างกายเท่านั้น แม้ว่าสิ่งที่อยู่ภายนอก เช่น ภูเขา ต้นไม้ แผ่นดิน น้ำ เหล่านี้ก็ยึดเอาว่ามีตัวตน คือชีวอัตตทิฏฐิทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงไว้ในภูตคามสิกขาเสนาสนะแห่งภิกขุปาจิตตีย์พระบาลีว่า "ชีวสญฺญิโน หิ โมฆปุริสา มนุสฺสา รุกฺขสฺมึ" (วิ. มหาวิภังค์ ๒/ข้อ ๓๕๔) แปลความว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ มนุษย์ทั้งหลายมีความยึดถือว่า ต้นไม้นี้มีชีวิต


แสดงคาถาที่สรุปความในชีวอัตตะ

          สตฺติยา ยสฺส ชีวสฺส     โลโก วตฺตติ มญฺญิโต

          การโก เวทโก สามี     นิวาสี โส สยํวสี ฯ 

      ปุถุชนทั้งหลายมีความเห็นอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าใครที่กำลังทำการงานต่างๆ ของตนได้ และตั้งอยู่ได้นั้นก็เพราะอาศัยอำนาจของตัวชีวิตนั้นเองและตัวชีวิตนี้ เป็นผู้สามารถกระทำการงานต่างๆ ได้เป็นผู้เสวยผลดีผลไม่ดีต่างๆ ได้ เป็นเจ้าของร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย สามารถสร้างร่างกายขึ้นใหม่ หรือกลับไปสำนักปรมอัตตะได้ไม่สูญหาย มีอำนาจบังกับร่างกายของสัตว์ทั้งหลายให้ทำทุกสิ่งทุกอย่างตามความประสงค์ของตนได้

      ชีวอัตตะนี้ในภาษาสันสกฤต เรียกว่า อาตมา อาตมัน 

      - ในภาษาเรียกว่ามคธ เรียกว่า อาตุมา

      - ในเรียกว่าพระไตรปีฎก  เรียกว่า ชีวะ สรีระ ปุคคละ สัตตะ

      - ในภาษาอารเบียน เรียกว่า รูห์

      - ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า โซล (Soul)

      - ในภาษาญวน เรียกว่า ทั้งโห่ง

      - ในภาษาไทย เรียกว่า ชีวิต

      - ในภาษาพม่า เรียกว่า อแต๊ะ

      อัตตทิฏฐิที่เป็นอัตตวาทุปาทานได้นั้น ผู้นั้นจะต้องยึดถือว่า ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าในการแสดงธรรม หรือในการที่ใช้พูดกันว่า "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ" ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งของตน หรือคำว่า "เชื่อตนเอง" เหล่านี้ไม่ใช่เป็นอัตตวาทุปาทาน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในนิกเขปกัณฑ์ แห่งธัมมสังคณีปกรณ์ว่า

      "ฐเปตฺวา สีลพฺพตปาทานญฺจ อตฺตวาทุปาทานญฺจ สพฺพาปี มิจฺฉาทิฏฺฐิ ทิฏฺฐุปาทานํ " (อภิ.สํ ๓๔/ข้อ ๗๙๒) 

      แปลความว่า ยกเว้นสีลัพพตุปาทานทิฏฐิ และอัตตวาทุปาทานทิฏฐิเสียแล้ว มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น เป็นทิฏฐุปาทานทั้งสิ้น


แสดงความแตกต่างระหว่างตัณหา กับ กามุปาทาน

      ตัณหา เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ โลภะ

      กามุปาทาน เมื่อว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ โลภะ เช่นเดียวกัน

      ฉะนั้น ในการที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิดขึ้นนั้น ก็หมายความว่า โลภะเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ โลภะที่ได้ชื่อว่า ตัณหา กับ โลภะที่ได้ชื่อว่า กามุปาทาน นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร

      อธิบายว่า ความติดใจ อยากได้ในอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา

      ความติดใจ ความอยากได้นี้แหละ เมื่อมีกำลังมากขึ้นแล้ว ย่อมมีจิตใจผูกพันอยู่กับอารมณ์นั้นๆ อยู่เสมอไม่หายไปได้ หรือเมื่อได้สิ่งที่ตนปรารถนามาแล้วก็มีความหวงแหนทะนุถนอมสิ่งนั้นไว้ไม่ยอมปล่อย เช่นนี้ เรียกว่า กามุปาทาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตัณหาเป็นปัจจัย

      ตัณหานี้ คือความยินดีพอใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด

      กามุปาทาน คือความติดใจยึดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ อย่างไม่ยอมปล่อย

      ตัณหา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่พึ่งเริ่มงอกขึ้นใหม่ๆ

      กามุปาทาน เปรียบเหมือนต้นไม้ที่งอกงามเจริญเดิบโตแล้ว


      ธรรมดาต้นไม้ที่พึ่งอกขึ้นใหม่ๆ นั้น รากยังเล็กและหยั่งลงในดินยังตื้นๆ อยู่ ถ้าจะต้องการ โยกย้ายไปปลูกที่อื่น ก็สามารถถอนได้ง่ายและไม่ทำให้รากนั้นขาดเสียหายแต่อย่างใด ส่วนต้นไม้ที่เจริญเติบ โตแล้ว ย่อมมีรากยาวหยั่งลงในดินลึกและยึดแน่นแล้ว ยากแก่การที่จะถอนโยกย้ายไปที่อื่น เพราะอาจทำให้รากขาดตายได้ข้อนี้ฉันใค ความเป็นไปแห่งตัณหาและกามุปาทานก็เช่นเดียวกัน

      ตัณหาคือความพอใจในอารมณ์ต่างๆ ที่ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ยังไม่ได้ยึดแน่นในอารมณ์เหล่านั้น ส่วนกามุปาทานนั้น คือความพอใจในอารมณ์ที่มีกำลังแรงขึ้นแล้วและยึดแน่นในอารมณ์นั้นๆ ไว้ไม่ยอมปล่อย

      ตัณหานี้ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปีจฉตาคุณ คือความเป็นผู้ปรารถนาน้อย

      กามุปาทาน เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสันโตสคุณ คือความเป็นผู้พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่

      ตัณหา เป็นเหตุแห่งปริเยสนทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการขวนขวายแสวงหาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ

      กามุปาทาน เป็นเหตุแห่งอารักขทุกข์ คือความทุกข์ที่เกี่ยวกับการระวังรักษาในกามคุณอารมณ์ต่างๆ ที่ตนได้มานั้นไม่ให้สูญหายไป


๑. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานเกิด 

         ตัณหาเป็นปัจจัยให้กามุปาทานนั้น ยกตัวอย่างเช่นเรื่องพระโพธิสัตว์ในชาติที่เป็นดาบส ได้สำเร็จฌานอภิญญาสามารถเหาะไปในอากาศได้ ได้ไปพักอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี แล้วเข้าไปฉันอาหารในพระราชวังทุกๆ วันต่อมาพระเจ้าพาราณสีมีกิจที่จะต้องเสด็จากเมืองไปชั่วคราว ได้สั่งพระมเหสีผู้มีพระนามว่า มุทุลักขณา ให้จัดอาหารถวายแก่พระดาบสแทนพระองค์ พระมเหสีก็ทำตามคำสั่งของพระราชาโดยเรียบร้อย วันหนึ่งพระนางจัดเตรียมอาหารสำหรับพระดาบสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นอนพักกายรอพระดาบสอยู่บนพระแท่นณ ท้องพระโรง เมื่อถึงกำหนดเวลาพระดาบสก็เหาะเข้ามาทางช่องพระแกลพระนางเมื่อได้ยินเสียงพระดาบสมาก็รีบเสด็จลุกขึ้นต้อนรับ เผอิญผ้าแพรทรงของพระนางนั้นลื่นหลุดจากพระวรกายไม่ทันรู้ตัว พระดาบสได้เห็นร่างของพระนางแล้ว ขาดการสำรวมอินทรีย์ เกิดความกำหนัดยินดีในรูปโฉมของพระนางตัณหาที่สงบอยู่ภายในนั้นก็กำเริบขึ้น เหมือนหนึ่งต้นไม้มียางที่ถูกมีดกรีดทันใดนั้นเอง ฌานของท่านก็เสื่อมลง ยืนตะลึงรับอาหารหาได้บริโภคไม่ เลยลงจากปราสาทเดินไปพระราชอุทยานเข้าในบรรณศาลาวางอาหารไว้ใต้เตียงนอนแล้วนอนรำพันถึงพระนาง ไม่เป็นอันกินอันนอนเป็นเวลาถึง ๗ วัน

      เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดกามุปาทาน คือขณะที่พระดาบสได้เห็นร่างของพระนางเกิดความยินดีพึงพอใจขึ้นเป็นครั้งแรกนั้นเป็นตอนที่ตัณหาเกิด ต่อมาความพอใจนั้นมีกำลังแรงมากขึ้น ถึงกับไม่เป็นอันกินอันนอนตลอด ๗ วันนั้น เป็นตอนที่กามุปาทานเกิดขึ้นแล้ว 

      ในกามชาดกแห่งทวาทสนิบาต ได้ยกเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของกามุปาทาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตัณหาเป็นเหตุนั้น มีดังนี้คือพระเจ้าพรหมทัตแห่งนครพาราณสี มีโอรส ๒ พระองค์ โอรสองค์ใหญ่ได้ตำแหน่งอุปราช โอรสองค์เล็กได้ตำแหน่งเสนาบดี ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พวกอำมาตย์พร้อมกันจะมอบราชสมบัติแก่พระโอรสองค์ใหญ่แต่ท้าวเธอไม่ต้องการ ได้สละราชสมบัติให้แก่อนุชาขึ้นครองแทน แล้วเสด็จออกจากพระนครไปสู่ชนบทปลายแคน ไปอาศัยอยู่กับสกุลเศรษฐีตระกูลหนึ่งทรงทำงานอยู่ ณ ที่นั้น ต่อมาพวกเหล่านั้นรู้ว่าเธอเป็นพระราชกุมาร ก็ไม่ยอมให้เธอทำงาน และได้อุปการะเธอในฐานะเป็นพระราชกุมาร ครั้นนานมาท่านเศรษฐีก็เข้าไปเฝ้าพระราชกุมาร กราบทูลขอให้ท้าวเธอช่วยบอกไปยังพระราชาผู้เป็นน้องให้ลดส่วยอากรให้แก่พวกเขา ท้าวเธอก็รับปาก และช่วยจัดการให้สมความประสงค์ ครั้งนั้นพวกชาวบ้านหมู่นั้นและชาวบ้านหมู่อื่นๆ ได้พากันมาเฝ้าท้าวเธอ ขอร้องให้พระราชาทรงยกเว้นส่วยแก่พวกเขา แล้วพวกเขาจะถวายส่วยแก่ท้าวเธอ ท้าวเธอก็ส่งสาสน์ไปถวายพระราชาให้ทรงยกเว้นเงินส่วยแก่พวกชาวบ้านนั้น พระราชาก็ทรงอนุญาตให้ ตั้งแต่นั้นมาพวกชาวบ้านก็พากันถวายส่วยแก่ท้าวเธอ ทำให้เกิดลาภสักการะใหญ่ขึ้น ด้วยเหตุนี้ความทะยานอยากของท้าวเธอก็กำเริบเติบใหญ่ตามไปด้วย ท้าวเธอทูลขอชนบทนั้นทั้งหมด แล้วขอราชสมบัติกึ่งหนึ่ง พระราชาผู้น้องก็พระราชทานให้ แม้กระนั้นก็ยังไม่เป็นที่พอพระทัย เพราะความทะยานอยากนั้นได้กำเริบมากขึ้นเป็นลำคับ จึงทรงคิดจะยึดราชสมบัติ แล้วก็รวบรวมผู้คนยกทัพไปติดพระนคร ส่งสาสน์ให้แก่พระราชาให้ยกราชสมบัติคืนให้มิฉะนั้นก็จะต้องรบกัน พระราชาผู้เป็นน้องทรงดำริว่าพระเชฏฐานี้เป็นพาล เมื่อก่อนนี้ไม่ยินดีในราชสมบัติ แต่เดี๋ยวนี้คิดจะมาชิงราชสมบัติคืน แล้วพระราชาผู้รักความสงบก็ถวายราชสมบัติคืนให้แก่พระเชษฐาท้าวเธอก็ทรงครองราชสมบัติ ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา มิได้พอพระทัยในราชสมบัติเพียงพระนครเดียว มีความปรารถนาราชสมบัติแห่งนครอื่นๆ อีก ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งความทะยานอยาก

      ครั้งนั้นท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูความเป็นไปในมนุษยโลก ทรงทราบถึงความที่ท้าวเธอตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา จึงทรงดำริว่าพระราชาองค์นี้เป็นพาล ไม่มีความพอใจในราชสมบัติแห่งตน เราจะต้องทำให้ท้าวเธอรู้สึกตนเสียบ้าง แล้วก็จำแลงเพศเป็นมาณพเข้าไปในพระราชวัง แล้วเข้าเฝ้าพระราชาทูลกับพระราชาว่า ข้าพระองค์เห็นพระนคร ๓ แห่ง มั่งคั่งสมบูรณ์มากข้าพระองค์จะขออาสายึดพระนครเหล่านั้นมาถวายแก่พระองค์ ขอให้พระองค์จัดเตรียมไพร่พลให้พร้อมเถิด พระราชาผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ก็ดีพระทัยมิได้ถามว่ามาณพนั้นคือใคร มาจากไหน ท้าวสักกะตรัสเท่านั้นแล้วก็เสด็จกลับไปยังดาวดึงส์พิภพ พระราชาก็ให้หาพวกอำมาตย์มาเฝ้า แล้วเล่าให้ฟังว่า มีมาณพผู้หนึ่งมาอาสายึคราชสมบัติแห่ง ” นครมาให้กับพวกเรา ฉะนั้น ขอให้พวกท่านจงเตรียมผู้คนให้พร้อมสรรพแล้วเรียกตัวมาณพนั้นมาหาเราด้วย พวกอำมาตย์กี่พากันไปค้นหาตัวมาณพ แต่ก็มิได้พบ จึงกลับมาทูลพระราชาให้ทรงทราบท้าวเธอก็ทรงโทมนัส และดำริว่าราชสมบัติในพระนครทั้ง ๓ นั้นได้สูญสิ้นเสียแล้ว ความโทมนัสที่เกิดขึ้นโดยอาศัยโลภะเป็นเหตุนั้นกำเริบมากขึ้น ทำให้พระราชาเกิดประชวรหนัก นายแพทย์ไม่สามารถจะเยียวยาได้

      ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์สำเร็จการศึกษาจากเมืองตักกสิลา กลับมาสู่บ้านในพระนครพาราณสีนั้น ได้ยินข่าวพระราชาประชรหนัก ก็เข้าไปอาสาถวายการรักษา แต่ได้ขอให้พระราชาทรงเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้ประชวรให้ฟังพระราชาก็ทรงเล่าให้ฟังทุกประการ พระโพธิสัตว์จึงทูลให้พระสติว่า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตนตลอดจนสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้ว่าพระองค์จะยึดครองราชสมบัติในพระนครทั้ง ๔ ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในภาชนะทั้ง ๔ บรรทมเหนือพระที่ทั้ง ๔ ทรงเครื่องประดับทั้ง ๔ พร้อมกันในคราวเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น พระองค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้เมื่อเจริญขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้ความทุกข์และไม่พ้นไปจากอบายทั้ง ๔ ได้ ต่อจากนั้นพระโพธิสัตว์ก็ได้แสดงธรรมที่เป็นคติเตือนใจอีกเป็นอันมาก จนสามารถทำให้พระราชารู้สึกพระองค์ หายจากความเศร้าโศกและอาการประชวร ตลอดจนตัดความทะยานอยากเหล่านั้นเสียได้

      เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นทีแรกนั้น ถ้าไม่พยายามป้องกับ ปล่อยให้ลุกลามมากขึ้นแล้วก็กลายเป็นอุปาทานไป และยากที่จะทำลายให้หายได้


๒. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้ทิฏฐุปาทานเกิด 

         ความยินดีติดใจในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุให้ความเห็นผิดที่ไม่เกี่ยวกับสีลัพพตทิฏฐิ และอัตตทิฏฐิทั้ง ๒ เกิดขึ้นก่อน ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อารมณ์ที่เป็นเครื่องให้เกิดความชอบใจ พอใจ นั้นมีได้ทั้งอารมณ์ภายในและภายนอก อารมณ์ที่เป็นภายในก็คือตัวของตนนั้นเอง ความชอบใจพอใจตัวของตนเองเป็นเหตุให้ทำให้ทิฏฐิเกิดขึ้นก็ได้ และความชอบใจพอใจในอารมณ์ภายนอก คือสิ่งที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ก็เป็นเหตุให้ทิฏฐิเกิดขึ้น ได้ ตัวอย่างเช่น

      พระเจ้าอังคติ ผู้ครองเมืองมิถิลา อยู่ในแคว้นวิเทหะ พระเจ้าอังคติองค์นี้มีความเชื่อถือในคำพูดของเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อว่า อลาตะ เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้แนะนำให้พระเจ้าอังคติไปยังสำนักของอาจารย์มิจฉาทิฏฐิผู้หนึ่ง ชื่อว่า คุณะเป็นสกุลกัสสปะ ถือลัทธิเปลือยกาย พระเจ้าอังคติได้ถามปัญหาแก่อาจารย์คุณะว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะไปเกิดในสุดติภูมิได้ อาจารย์คุณะตอบว่า การกระทำกุศลก็ดีอกุศลก็ดี เหล่านี้ไม่ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใดเลย การปฏิบัติดีต่อบิดา มารคา ครูอาจารย์ และผู้ที่ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิเหล่านี้ ก็ไม่ได้รับผลอย่างใดเช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้ที่ถือตัวว่ามีปัญญานั้น แท้จริงผู้นั้นเป็นคนโง่ ชอบสร้างการบริจาค ผู้มีปัญญาคือบัณฑิตทั้งหลายนั้นแหละเป็นผู้รับทาน ซึ่งผลสุดท้ายผู้ที่บริจาคนั้นก็ไม่ได้รับผลอย่างใด เสียเปล่าๆ ไม่จำเป็นต้องทำ เมื่อมหากัปครบ ๘๔ มหากัปแล้วจิตใจของสัตว์ทั้งหลายก็จะสะอาดบริสุทธิ์ไปเอง และพากันเข้าถึงพระนิพพานพ้นจากสังสารวัฏกันทั้งสิ้น

      เมื่ออาจารย์คุณะแสดงจบแล้ว เสนาบดีอลาตะก็สนับสนุนขึ้นทันทีว่า ที่อาจารย์คุณะกล่าวเช่นนี้ เป็นการถูกต้องที่สุด เพราะตัวข้าพเจ้าเองนั้นแหละ เมื่อภพก่อน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นคนฆ่าวัว แต่เมื่อข้าพเจ้าตายลง แทนที่จะไปตกในอบายกลับได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ และได้รับความสุขสบายเป็นถึงเสนาบดีเช่นนี้จึงแสดงให้เห็นว่า การทำอกุศลก็ไม่ทำให้ได้รับผลอย่างใด สมจริงดังคำกล่าวของท่านอาจารย์

      เสนาบดีอลาตะผู้นี้ได้ชาติสรญาณ คือระลึกชาติได้ แต่ระลึกได้เพียงชาติเดียวเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะรู้ไปถึงความเป็นไปของตนในชาติที่ ๓ ได้ ซึ่งความจริงในชาติที่ ๓ นั้น เสนาบคือลาตะผู้นี้ได้เคยสร้างกุศล คือเอาดอกไม้ไปบูชาพระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เมื่อเวลาใกล้จะตายในชาตินั้น กุศลที่บูชาพระสารีริกธาตุไม่มีโอกาสได้ส่งผลกุศลอื่นๆ ที่เป็นกุศลที่ต่ำกว่ามีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น จึงได้ส่งผลให้มาเกิดเป็นคนชั้นต่ำมีอาชีพเป็นคนฆ่าวัวในชาติที่ ๒ และเมื่อตายจากชาติที่ ๒ อกุศลที่ฆ่าวัว นั้นยังไม่มีโอกาสให้ผลกุศลที่เคยบูชาพระสารีริกธาตุได้โอกาสให้ผลจึงได้ส่งให้มาเป็นมนุษย์ชั้นสูง เป็นเสนาบดีมีความสุขในปัจจุบันชาตินั้น แต่เสนาบดีงลาตะไม่สามารถรู้ถึงเรื่องราวของตนในชาติที่ ๓ นั้นได้ จึงเข้าใจผิดไปว่าอกุศลที่ตนทำไว้ในชาติที่ ๒ นั้นไม่ได้ให้ผลประการใด ชีวิตของตนที่เจริญรุ่งเรืองในปัจจุบันชาตินั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นผลของกรรมอันใคเลยในขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งเป็นทาส ชื่อว่า พีชกะ เป็นผู้ปฏิบัติถือศีลอยู่เสมอได้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นด้วย เมื่อได้ยินอาจารย์คุณะแสดงธรรม และเสนาบคือลาตะกล่าวสนับสนุนรับรอง พร้อมทั้งแสดงเรื่องราวของตนให้ฟังเช่นนั้นแล้วทาสพืชกะก็ร้องไห้ขึ้นทันที กล่าวธรรมของท่านอาจารย์นั้นถูกต้องทีเดียวเพราะข้าพเจ้าเองก็เช่นเดียวกัน เมื่อชาติก่อนนี้ข้าพเจ้าได้เคยเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ และข้าพเจ้าก็ได้ทำบุญรักษาศีลอยู่เสมอๆ ไม่ได้ทำทุจริตอย่างใดเลยแต่เมื่อเวลาข้าพเจ้าตายลงนั้น กุศลที่ข้าพเจ้าได้เคยทำนั้น ก็ไม่เห็นให้ผลแก่ข้าพเจ้าให้ได้รับความสุขความสบายอย่างใดเลย ข้าพเจ้าต้องมาเกิดเป็นคนชั้นต่ำเป็นทาสเขาอยู่ดังนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ข้าพเจ้าก็ยังอุตส่าห์ทำบุญรักษาศีลอยู่เสมอไม่ได้นึกถึงความลำบากและเว้นจากการทำทุจริตต่างๆ เช่นเดียวกัน เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังท่านอาจารย์และท่านเสนาบดี แสคงเรื่องราวเช่นนี้ ก็รู้สึกว่ากุศลต่างๆ ที่ข้าพเจ้าได้อุตส่าห์ลงทุนลงแรงทำไปนี้ เห็นจะเสียประโยชน์ไปเปล่าๆ เป็นแน่เพราะเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยทำกุศลไว้ในชาติก่อนก็มิได้ปรากฎผลแก่ข้าพเจ้าในชาตินี้เห็นประจักษ์อยู่แล้ว นะนั้น กุศลที่ข้าพเจ้า ได้ทำขึ้นใหม่ในชาตินี้ ก็คงจะไม่ให้ผลในชาติหน้าอีกแน่ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเสียใจมาก

      เรื่องราวของทาสพีชกะคนนี้ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับเสนาบดีอลาตะ คือทาสพีชกะนี้ระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว หาได้รู้ไม่ว่าในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทาสพืชกะผู้นี้ได้เกิดเป็นคนเลี้ยงวัว วันหนึ่งวัวที่เลี้ยงนั้นหายไป ก็ออกติดตามไปในป่า ขณะนั้นมีพระองค์หนึ่งเดินหลงทางมาเมื่อพบคนเลี้ยงวัว จึงถามถึงหนทางที่จะไปว่าไปทางไหน คนเลี้ยงวัวนั้นก็ไม่ได้สนใจต่อคำถามของพระองค์นั้น เพราะมุ่งอยู่แต่จะหาวัวให้พบเท่านั้น พระจึงถามซ้ำอีกว่า หนทางที่จะไปนั้นไปทางไหนช่วยบอกให้อาตมาทราบด้วย คนเลี้ยงวัวรู้สึกไม่พอใจจึงกล่าววาจาไม่สุภาพออกไปว่า พระองค์นี้ยุ่งมากไม่รู้จักกาลเทศะ เห็นจะเป็นสกุลทาสีทาสาเป็นแน่ วาจาที่กล่าวเช่นนี้ก็สำเร็จเป็นวจีกรรมลงแล้ว เพียงแต่ว่าจะมีโอกาสให้ผลก่อน ฉะนั้น อกุศลวจีกรรมจึงยังไม่มีโอกาสให้ผล ต่อเมื่อถึงชาติที่ได้เกิดมาเป็นเศรษฐีแล้วตายลงนั้นแหละอกุศลวจีกรรมที่เคยด่าพระไว้นั้นจึงมี โอกาสให้ผล ด้วยเหตุนี้เมื่อตายจากเศรษฐีแล้วจึงได้มาเป็นคนสกุลต่ำ และต้องเป็นทาสเขา

      พระเจ้าอังคติ เมื่อฟังอาจารย์คุณะแสคงเรื่องราวจบลง พร้อมทั้งได้ฟังประวัติของเสนาบคือลาตะกับทาสพืชกะแล้ว ก็รู้สึกพอพระทัยและลงความเห็นพ้องด้วย ไม่เห็นประ โยชน์ของการทำดี และไม่เห็นโทษของการทำไม่ดี ในเวลานั้นทิฏฐิคือ ความเห็นผิดได้เข้าปกครองพระเจ้าอังคติเสียแล้ว เมื่อกลับมาถึงพระราชวัง ก็เลิกทำบุญทำทาน และสั่งให้รื้อโรงทานเสีย กิจการงานเมืองต่างๆก็มอบภาระให้แก่อำมาตย์ผู้อื่นทำแทนไป พระองค์เองเอาใจใส่แต่ในการเสวยกามคุณต่างๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สุจริตหรือทุจริตก็ตาม ถ้าลงพอพระทัยแล้วเป็นต้องทำ หญิงสาวและไม่สาวในบ้านเมืองของพระองค์ ถ้าหากเป็นที่ถูกพระทัยแล้ว เป็นต้องบังคับให้มาบำเรอความสุขแก่พระองค์จนได้ ทำให้ประชาชนทั้งหลายได้รับความเดือดร้อนยิ่งนัก แม้พระราชธิดาซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในการทำกุศลรักษาศีลอยู่เสมอ จะได้ทูลให้สติกับพระราชบิดา ขอร้องให้เลิกประพฤติผิดเสีย โดยยกเหตุผลเรื่องราวต่างๆ มาให้ฟัง แต่พระเจ้าอังคติก็หาได้เชื่อไม่ ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์ที่เป็นพรหมมีนามว่า นารทะได้เนรมิตเป็นดาบสลงมาเทศนาโปรด ทรมานด้วยประการต่างๆ แล้ว ผลสุดท้ายพระเจ้าอังคติจึงยอมสละทิฏฐุปาทานนั้นได้

      เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความสนุกสนานยินดีในกามคุณอารมณ์เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐุปาทาน คือความเห็นผิดว่า ทำดีไม่ได้รับผลดี ทำชั่วไม่ได้รับผลชั่ว การแสวงหาความสุขในกามคุณอารมณ์นั้นแหละที่ทำให้ใได้รับประโยชน์มากที่สุด


๓. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้สีลัพพตุปาทานเกิด 

         ความต้องการความสุข คือให้พ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างหนึ่งหรือมีความต้องการความสุขในเทวโลกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้ ได้ชื่อว่า ตัณหา เมื่อตัณหาเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมหาหนทางปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับความสุขดังที่ตนปรารถนา ในการปฏิบัติตนนี้ ถ้าได้พบกับพวกสัปบุรุษที่เป็นบัณฑิต หรือตนเองมีความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นปริยัติศาสนาดีพอแล้วการปฏิบัตินั้นก็ดำเนินไปด้วยดีไม่ผิดแนวทางที่ บัณฑิตทั้งหลายประพฤติกันหากว่าผู้นั้นไม่ได้คบหากับพวกบัณฑิตหรือไม่มีความรู้ในปริขัติศาสนาแล้วการปฏิบัตินั้นก็จะดำเนินไปในทางที่ผิด โดยหลงเข้าใจว่าเป็นทางที่ถูกซึ่งมีอยู่ ๒ ทางด้วยกัน คือปฏิบัติไปในทางทรมานร่างกายของตนให้ได้รับความลำบากต่างๆเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค อย่างหนึ่ง หรือปฏิบัติไปในทางบำรุงบำเรอร่างกายของตนให้ได้รับความสุขต่างๆ เรียกว่า กามสุขัลลิกานฺโยด อย่างหนึ่ง การปฏิบัติทั้ง ๒ ทางนี้ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติที่ผิดแนวทางทั้งสิ้น ซึ่งแทนที่จะได้รับผลเป็นความสุขตามที่ตนปรารถนาไ ว้ กลับให้ผลตรงกันข้าม คือย่อมได้รับความทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก

      การปฏิบัติในแนวทางอัตตกิลมถานุโยคนี้ ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่นการทรมานร่างกายโดยอดอาหาร ไม่นอน ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่อาบน้ำ หรือเผาร่างกาย โดยตากแดดบ้าง ผิงไฟบ้าง แช่ตัวในน้ำบ้าง นอนบนขวากหนามนอนบนตะปูบ้าง เหล่านี้เป็นต้นก็ดี หรือปฏิบัติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัขก็ดีเหล่านี้เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยคทั้งสิ้น

      ในที่นี้ ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน นั้น ได้แก่ การปฏิบัติตนในแนวทางอัตตกิลมถานุโยค โดยวิธีประพฤติตนให้เหมือนโค เหมือนสุนัข ซึ่งการปฏิบัติตนชนิดนี้ก็เป็นผลที่เนื่องมาจากตัณหาเป็นเหตุนั้นเอง

      ในเรื่องที่ยกขึ้นแสดงไว้ในกุกกูโรวาทสูตรแห่งมัชฌิมปัณณาสก็พระบาลีว่า

      ยังมีปริพาชก ๒ คนๆ หนึ่งชื่อ ปุณณะ อีกคนหนึ่งชื่อ เสนียะ ทั้งสองคนนี้ต้องการความสุขในเทวโลก อยากเป็นเทวดาที่มีอำนาจ จึงพากันปฏิบัติตนประพฤติเหมือนโค เหมือนสุนัข โดยเข้าใจว่าถ้าประพฤติเช่นนี้แล้วจะทำให้กิเลสต่างๆ ไม่เกิดและอกุศลกรรมเก่าก็หายไปได้ ปุณณะปริพาชกปฏิบัติตนเหมือนสุนัข เสนียะปริพาชกปฏิบัติตนเหมือนโค ปฏิบัติดังนี้อยู่เรื่อยๆ มา ต่อมาทั้งสองคนนี้เกิดมีความสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่า ข้อปฏิบัติของใครจะดีกว่ากันโต้เถียงกันตัดสินไม่ถูก ผลสุดท้ายพากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วทูลถามกันว่า ข้อปฏิบัติที่ข้าพเจ้าทั้งสองประพฤติอยู่นี้ มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ปฏิบัติตนเหมืนสุนัขดีกว่าปฏิบัติเหมือนโค หรือว่าปฏิบัติเหมือนโคดีกว่าปฏิบัติเหมือนสุนัข และข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้วจะไปเกิดที่ไหน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงฟังแล้ว พระองค์ก็ทรงห้ามปริพาชกทั้ง ๒ ว่า อย่าถามเช่นนี้เลย ทรงห้ามเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง แต่ปริพาชกทั้ง ๒ ก็ไม่ยอมนิ่ง ยังคงทูลถามช้ำอยู่อีกเป็นคำรบที่ ๔ พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวขึ้นว่า "ดูกร ปริพาชก ผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนสุนัขทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เมื่อตายแล้วก็จะไปเกิดเป็นสุนัขแน่นอน และผู้ที่ปฏิบัติตนเหมือนโคทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเวลาตายแล้วก็จะไปเกิดเป็นโคแน่นอนเช่นเดียวกัน และหากว่าผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้นมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติของตนนั้นจะเป็นเหตุให้ได้รับผลให้ไปเกิดในเทวโลกเป็นเทวดาที่มีอำนาจอย่างนี้แล้ว ก็จัดว่าความเห็นชนิดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น เมื่อเวลาตายจะต้องไปเสวยทุกข์ในนรกเสียก่อน เมื่อพ้นจากนรกแล้ว จึงมาเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานอีกทีหนึ่ง" เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจบลงแล้ว ปริพาชกทั้ง ๒ ก็ร้องไห้ขึ้นทันที ด้วยรู้สึกเสียใจที่ตนได้หลงประพฤติผิดไปเป็นเวลาช้านาน ต่อจากนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ปริพาชกทั้ง ๒ ฟัง เมื่อทรงแสดงจบแล้ว ปุณณะปริพาชกก็กล่าวคำถึงซึ่งไตรสรณาคมน์เป็นที่พึ่งที่ระลึก สลัดทิ้งลัทธิเก่า เข้าเป็นพุทธศาสนิกชนนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมาส่วนเสนียะปริพาชกนั้นก็ขอบรรพชาในพระพุทธศาสนาและได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา

      เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาได้แก่ความต้องการให้ได้รับความสุขในชาติหน้า เป็นเหตุให้เกิดสีลัพพตุปาทาน คือปฏิบัติผิดจากแนวทาง ดังที่ได้แสดงมานี้


๔. แสดงตัณหาเป็นปัจจัยให้อัตตวาทุปาทานเกิด

      ตามธรรมดาคนเราที่มีการเห็น การ ได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสได้นั้น จะต้องประกอบด้วยเหตุด้วยปัจจัยตามสมควร เช่น การเห็น คือจักขุทวารวิถีจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยมีเหตุมีปัจจัยตามสมกวร คือ

      ๑. จะต้องมีจักขุปสาท คือ มีตาดี

      ๒. จะต้องมีรูปารมณ์ คือ มีสีต่างๆ

      ๓. จะต้องมีอาโลกะ คือ แสงสว่าง

      ๔. จะต้องมีมนสิการ คือ ความตั้งใจ

เมื่อครบปัจจัย ๔ อย่างนี้แล้ว จักขุทวารวิถีก็เกิดขึ้น และต่อมาก็จะต้องมีมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นอีก ๔ วิถี คือ

      วิถีที่ ๑ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากจักขุทวารวิถี ชื่อว่า อดีตัคคหนวิถี

      วิถีที่ ๒ เป็นวิถีที่รับรูปารมณ์ต่อจากอตีตัคคหนวิถี ชื่อว่า สมูหัคคหนวิถี

      วิถีที่ ๓ เป็นวิถีที่รู้รูปร่างสัณฐานของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า อัตถัคคหนวิถี

      วิถีที่ ๔ เป็นวิถีที่รู้ชื่อของรูปารมณ์นั้นๆ ชื่อว่า นามัคคหนวิถี

      เมื่อมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นครบ ๔ อย่างนี้แล้ว ผู้ที่เห็นนั้นก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การได้ยินเป็นต้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ที่ได้อธิบายมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปอยู่ในโลกนี้นอกจากรูปกับนามแล้ว ก็ไม่มีอะไรอื่นอีก และในการเห็นดังกล่าวแล้วนั้น ผู้เห็นก็มิใช่อื่นไกล รูปกับนามนั้นเองเป็นผู้เห็น คือจักขุปสาท กับ จักขุทวารวิถี และหทัยวัตถุ กับ มโนทวารวิถี ทั้ง ๒ นี้เท่านั้น เป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น เป็นสภาพอนัดตะแท้ๆ ไม่ใช่เป็นอัตตะ คือไม่ใช่เราเห็น คนนั้นเห็น คนนี้เห็นหรือในอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน และการเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อยต่างๆ ที่จะสำเร็จกิจลงได้นั้น ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกันเช่น ในการเดินที่จะสำเร็จลงได้นั้น ต้องมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ

      ๑. จะต้องมีการตั้งใจที่จะเดิน

      ๒. จะต้องมีจิตสั่ง

      ๓. จะต้องมีจิตตชวาโยธาตุเกิดขึ้น

      ๔. จะต้องมีขาดี

      เมื่อครบ ๔ อย่างนี้แล้ว การเดินก็สำเร็จลงได้ และผู้ที่กำลังเดินอยู่นั้นเมื่อว่าตามสภาวะแล้ว ผู้เดิน ได้แก่ จิต เจตสิก เป็นผู้มีความตั้งใจที่จะเดิน และเป็นผู้สั่ง จิตตชวาโยธาตุที่อยู่ในร่างกายนั้นเป็นผู้กระตุ้น ปถวีธาตุ คือร่างกายเป็นผู้เดินและสมมติกันว่า เราเดิน นาย ก. เดิน นาย ข. เดิน ดังนี้เป็นต้น ซึ่งความจริงนั้นเราหรือสัตว์บุคคล ที่สามารถเดินไปได้นั้นไม่มี มีแต่รูปกับนามทั้งสิ้นในอิริยาบถอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้

------------

ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระอภิธรรมปีฎกวิภังค์บาลี หน้าที่ ๔๖๑ ตั้งแต่คำว่า "อิธ ภิกฺขุ อภิกฺกมนฺโต วา" เป็นต้น ส่วนฉบับแปล หน้า ๓๘๘ เนื้อความที่กล่าวสรุปแล้วว่า การที่จะเคลื่อนไหวได้ก็ต้องประกอบด้วย ๑. มีจิต ๒. มีความตั้งใจที่จะเดิน ๓. มีจิตตชวาโยธาตุแผ่ไป

--------------

      แม้ว่า การเห็น การได้ยิน เป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้จัดแจงก็จริง แต่ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อมีการเห็นการได้ยินเกิดขึ้นแล้ว ถ้าอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ดีก็เกิดความชอบใจพอใจขึ้น เรียกว่าโลภะหรือตัณหาเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ถ้าอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ก็เกิดความไม่ชอบใจขึ้น เรียกว่าโทสะเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น แต่อารมณ์ที่เป็นเหตุให้โทสะเกิดขึ้น ไม่สามารถที่จะยึดจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้มีอุปาทานเกิดขึ้นได้ ส่วนอารมณ์ที่เป็นเหตุให้โลภะเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีอำนาจที่ผูกจิตใจสัตว์ทั้งหลายให้เกิดอุปาทานยืดมั่นขึ้นได้กล่าวคือเมื่อได้เห็น หรือได้ยินอารมณ์ที่เป็นที่ชอบใจพอใจบ่อยๆ ครั้งเข้าแล้วก็ทำให้จิตใจของผู้นั้น ยึคอารมณ์ๆ นั้นไว้ไม่ยอมปล่อย การยึดอารมณ์ไว้โดยไม่ขอมปล่อยเช่นนี้ เรียกว่าเป็นอุปาทาน และในเวลาเดียวกันนั้น ผู้นั้นก็เข้าใจผิดในรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นในขณะเห็น ขณะได้ยินเป็นต้นนั้นว่า เราเห็น เราได้ยินเราคิด เราพูด เรากิน เรานั่ง เรานอน เราเดิน ดังนี้เป็นต้น เช่นนี้จัดเป็นอัตตวาทุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ

      ดังมีเรื่องสาธกเป็นตัวอย่าง (ม.มู. ๑๑๒/ข้อ ๓๙๒-๔๐๔ จูฬสัจจกสูตร) คือ

      ในเมืองเวสาลีมีนิครนถ์ชื่อว่า สัจจกะ อัคคิเวสสนโคตร สัจจกนิครนถ์ ผู้นี้ได้เอาแผ่นเหล็กมาคาดไว้ที่ท้องติดตัวอยู่เสมอ เพราะมีความเห็นว่าตนเป็นผู้มีปัญญามาก ถ้าไม่เอาแผ่นเหล็กมาคาดเพื่อรักษาปัญญาไว้แล้ว ท้องของตนนั้นจะต้องแตกออกเป็นแน่ สัจจกนิครนถ์ผู้นี้ประกาศตนว่า "ไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดอาจารย์หนึ่งอาจารย์ใดก็ตาม ถ้ามาโต้วาทีกับเราแล้ว ผู้นั้นจะต้องมีอาการสะดุ้งตกประหม่า ตัวสั่น เหงื่อไหลไปทั้งนั้น อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่ท่อนไม้ ถ้าเรากล่าววาจาออกไปแล้ว ท่อนไม้นั้นก็จะต้องเกิดอาการสั่นเช่นเดียวกัน" สัจจกนิครนณ์ประกาศเช่นนี้อยู่เสมอๆ ซึ่งความจริงในเวลานั้น ผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ต่างๆ ก็ไม่สามารถจะโต้ตอบวาทะกับสัจจกนิครนถ์ได้จริงๆ เหมือนกันด้วยเหตุนี้จึงทำให้สัจจกนิครนถ์มีความหยิ่งทะนงตัวมากขึ้นต่อมาวันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้ยินว่า พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาว่า สัตว์ทั้งหลายนี้ล้วนแต่เป็นรูปนามขันธ์ ๒ ทั้งสิ้น และมีความเกิดดับอยู่เสมอ ฉะนั้น จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกขะ ไม่คงทนอยู่ได้เป็นอนัตตะ หาตัวตนผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ ดังนั้นสัตว์ทั้งหลายอย่าเข้าใจผิดในร่างกายของตนว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นหญิง เป็นชาย เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้ยินข่าวดังนี้แล้ว ก็นึกอยากจะไปเฝ้าและโต้คารมกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชวนพวกกษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ให้ไปด้วยกัน และพูดอวดต่อกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้นว่าขอให้พวกท่านคอยดู เราจะกระทำให้พระสมณโคคมหวั่นไหวสะคุ้งกลัวต่อวาทะของเราให้เหมือนแพะที่ถูกจับคอเขย่าฉะนั้น แล้วสัจจกนิครนถ์พร้อมด้วยกษัตริย์ลิจฉวี ๕๐๐ องค์ ก็พากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขออนุญาตแล้วสัจจนิครนถ์ก็ทูลถามขึ้นว่า "ข้าแต่พระสมณโคคม ท่านอบรมสาวกของท่านด้วยธรรมอันใด" พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า "เราอบรมสาวกของเราด้วยธรรม คือรูปนามขันธ์ ๕ ที่ปรากฎเป็นสัตว์ทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่ตัวตน เรา เขาดังนี้"

      สัจจกนิครนถ์จึงพูดขึ้นว่า "ข้าแต่พระสมณโคดม ธรรมดาพืชผลไม้ต่างๆที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยแผ่นดินฉันใด สัตว์ทั้งหลายอาศัยขันธ์ ๕ แล้วก็ย่อมได้เสวยความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทำกุศลบ้าง อกุศลบ้าง แสวงหาความสุขในมรรคบ้าง ผลบ้าง และในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น อัตตาตัวตนก็ยังคงปรากฎอยู่ฉะนั้น ในการที่ท่านสมณโคดมกล่าวว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" นั้นจะถูกได้อย่างไร"

      พระพุทธองค์จึงทรงตอบว่า "ในการที่ท่านกล่าวเช่นนี้ หมายความว่าท่านมีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ นั้น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้ใช่ไหม" สัจจกะทูลตอบว่า "ความเห็นชนิดนี้มิใช่เป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว แม้พวกที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ก็มีความเห็นดังนี้ด้วยเหมือนกัน" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ท่านไม่ต้องยกเอาผู้อื่นเข้ามาอ้างด้วย ตถาคตอยากทราบความเห็นของท่านคนเดียว" สัจจกะทูลตอบว่า "จริงข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นนั้น" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เมื่อท่านมีความเห็นเช่นนั้นตถาคตอยากถามว่า ธรรมดาผู้ที่เป็นกษัตริย์นั้น มีอำนาจเป็นอิสระภายในประเทศของตนว่า ผู้ที่ควรกด ก็กดได้ ผู้ที่ควรยกย่อง ก็ยกย่องได้ ผู้ที่ควรฆ่าก็ฆ่าได้ ผู้ที่ควรไล่ ก็ไล่ได้ ดังนี้หรือ" สัจจกะทูลตอบว่า "ถูกแล้ว" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านยอมรับได้หรือไม่ว่า ท่านมีอิสระในร่างกายของท่าน ท่านสามารถบังคับให้รูปร่างที่ไม่สวย หรือบังคับไม่ให้ผมหงอก ฟันหักหนังเหี่ยว ให้มีรูปร่างผิวพรรณเหมือนกับคนหนุ่มๆ อายุ ๑๖ ดังนี้จะได้หรือไม่" สัจจกะ เมื่อได้ยินคำถามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ ก็อ้ำอึ้งคิดในใจว่า "ถ้าเราตอบว่า สามารถบังคับร่างกายให้เป็นไปตามความพอใจขอเราได้แล้ว พวกกษัตริย์ลิจฉวีก็จะพากันขอร้องให้เราบังคับร่างกายของเราที่ไม่สวยให้กลับสวยงามขึ้น เราก็จะตกอยู่ในฐานะที่ลำบากแน่ๆ แต่ถ้าเราจะตอบว่าไม่สามารถจะบังคับให้ร่างกายของเราเป็นไปตามความปรารถนาได้ เช่นนี้แล้วก็จะเป็นการรับรองคำพูดของพระสมณโคคมที่ว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" และพระสมณ โดคมก็จะชนะเราเป็นแน่ สัจจกะคิดไปคิดมาแล้วก็พูดไม่ออก จึงนิ่งเฉยอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเตือนว่า "ทำไมท่านจึงนิ่งเสีย ขอให้แก้วาทะของตถาคต" สัจจกะก็ยังคงนิ่งอยู่พูดไม่ออก

      ในเวลานั้นท้าวสักกะเทวราชก็เนรมิตกายเป็นยักษ์ มือถือกระบองเหล็กเข้ามาที่สัจจกะ เงื้อกระบองขึ้นทำท่าจะตี แล้วกล่าวว่า "สัจจกะ พระตถาคตทรงถามท่าน ทำไมท่านจึงนิ่งเสียไม่ตอบ ถ้าท่านไม่ตอบ เราจะตีท่านด้วยกระบองนี้ให้ศีรษะของท่านแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงเตี๋ยวนี้" เวลาที่พระอินทร์เนรมิตเป็นยักษ์เข้ามาพูดกับสัจจกะนั้น คนอื่นๆ ณ ที่นั้นไม่มีใครแลเห็น มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจจกะเท่านั้นที่แลเห็น เมื่อสัจจกะเห็นดังนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ ตอบว่า "ข้าพเจ้ายอมแก้วาทะของพระตถาคตเดี๋ยวนี้" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงถามขึ้นอีกว่า "สัจจกะ รูปของท่านที่ท่านเป็นอิสระอยู่นั้นไม่สวยไม่งาม ท่านจะบังคับให้สวยงามเหมือนกับรูปของพวกกษัตริย์ลิจฉวีนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่" สัจจกะทูลตอบว่า "จะบังคับให้เป็นไปดังนั้นไม่ได้" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "สัจจกะท่านจงระวังคำแก้ของท่านให้ดี คำพูดของท่านตอนต้นกับตอนปลายไม่ตรงกัน" แล้วทรงถามอีกว่า "นามขันธ์ของท่านที่เป็นอิสระอยู่นั้น ท่านจะบังกับให้เปลี่ยนแปลงไปตามความปรารถนาของท่านได้หรือไม่" สัจจกะทูลว่า "นามขันธ์ของข้าพเจ้าก็ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความพอใจได้เช่นเดียวกัน" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า "มีผู้หนึ่งกำลังได้รับความลำบากกาย ลำบากใจอยู่ แต่ผู้นี้เห็นว่า ความลำบากนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ความลำบากนั้นจะหายไปได้หรือไม่" สัจจกะทูลตอบว่า "ไม่ได้" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า "ขันธ์ ๕ ที่เป็นทุกข์อยู่นั้น ท่านกำลังยึดถือเอาว่า เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา ดังนี้มิใช่หรือ" สัจจกะทูลตอบว่า"ใช่แล้ว ข้าพเจ้ายึดถือเช่นนั้น" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามอีกว่า "บุคคลที่แสวงหาแก่นไม้ แต่ไปตัดต้นกล้วยผ่าออก เพื่อจะหาแก่น หาเท่าไรก็ไม่พบเพราะต้นกล้วยนั้น เป็นต้นไม้ที่หาสาระมิได้อยู่แล้ว ผลสุดท้ายก็เลยไม่ได้อะไรที่เป็นแก่นสาร ข้อนี้ฉันใด วาทะของท่านก็เป็นฉันนั้น เวลาที่ท่านกล่าวแต่ผู้เดียวก็รู้สึกคล้ายกับว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้ มีตัวตนเป็นแก่นสาร แต่เมื่อผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในขันธ์ ๕ ดีพอ มีตถาคตเป็นต้น ถามไปถามมาแล้ว ก็แลเห็นได้ว่าวาทะของท่านไม่มีอะไรเป็นแก่นเป็นสาร ได้เลย และตามที่ท่านได้เคยกล่าวว่าไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่มาโต้วาทะกับท่านนั้น จะต้องมีอาการสะดุ้งสะเทือน ตกประหม่าเหงื่อไหลไปทั้งสิ้นนั้น บัดนี้ตถาคตเป็นผู้ได้โต้วาทะกับท่าน แต่ตถาคตก็ไม่เห็นรู้สึกเป็นอย่างไร เหงื่อก็ไม่ไหล ท่านเองนั้นแหละเป็นผู้เหงื่อไหล" สัจจกะก็ไม่อาจจะพูดโต้แย้งอย่างไรได้ นั่งกัมหน้านิ่งอยู่ ณ ที่นั้น ในที่สุดสัจจกนิครนถ์ก็ได้ทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก ให้ไปฉันอาหารที่สำนักของตนในวันรุ่งขึ้น

      เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้อัตตวาทุปาทานเกิด ดังเช่นสัจจกนิครนถ์ผู้มีความพอใจในขันธ์ ๕ ของตน เป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ของตน เป็นอัตตวาทุปาทาน ดังที่ได้แสดงมานี้


แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของอุปาทาน

      ๑. คหณลกฺขณํ มีการยึดไว้เป็นลักษณะ

      ๒. อมุญฺจนรสํ มีการไม่ปล่อยเป็นกิจ (กิจจรส)

      ๓. ตณฺหาทฬฺหตฺตทิฏฺฐิปจฺจุปฏฺฐานํ มีตัณหาที่มีกำลังอย่างมั่นคง และมีความเห็นผิดเป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย

      ๔. ตณฺหาปทฏฺฐานํ มีตัณหาเป็นเหตุใกล้


แสดงการสงเคราะห์ปัจจัย ๒๔ เข้าในบท ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ

      ๑. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามปาทาน ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย

      ๒. ตัณหาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นได้ปัจจัย ๗ คือ

         ๑) เหตุปัจจัย ๒) สหชาตปัจจัย ๓) อัญญมัญญูปัจจัย ๔) สหชาตนิสสยปัจจัย ๕) สัมปยุตปัจจัย ๖) สหชาตัตถิปัจจัย ๗) สหชาตอวิดตปัจจัย

      ๓. ตัณหาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทาน ๓ (เว้นกามุปาทาน) ที่เกิดหลังๆ นั้น ได้ปัจจัย ๑ คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย


จบ ตณุหาปจุจยา อุปาทานํ

----------///---------



[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปฏิจจสมุปบาท,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.