ปัจจัย ๒๔ โดยย่อ
แสดงบาลีและคำแปลตามอภิธัมมัตถสังคหะ
๑. เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย สมนนฺตรปจฺจโย สหชาตปจฺจโย อญฺญมญฺญปจฺจโย นิสฺสยปจฺจโย อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺมปจฺจโย วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปจฺจโย ฌานปจฺจโย มคฺคปจฺจโย สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย อยเมตฺถ ปฏฺฐานนโย ฯ
๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นทีเดียว
๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความแก่กันและกัน
๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นที่อาศัย
๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก
๑๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
๑๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ
๑๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สำเร็จลง
๑๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก คือเข้าถึงความสุขและหมดกำลังลง
๑๕. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำ
๑๖. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครอง
๑๗. ธรรมที่ช่วยอุปการะโคยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์
๑๘. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง
๑๙. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ประกอบ
๒๐. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ
๒๑. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
๒๒. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี
๒๓. ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ปราศจากไป
๒๔. ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป
รวมปัจจัยธรรม ๒๕ อังกล่าวมานี้แหละ เป็นปัฏฐานนัย ในปัจจยสังคหะ
คาถาสังคหะที่แสดงถึงปัจจัย ๖ จำพวก
๒. ฉธา นามนฺตุ นามสฺส ปญฺจธา นามรูปินํ
เอกธา ปุน รูปสฺส รูปํ นามสฺส เจกธา
ปญฺญตฺตินามรูปานิ นามสฺส ทุวิธา ทฺวยํ
ทุวยสฺส นวธา เจติ ฉพฺพิธา ปจฺจยา กถํ ฯ
จำแนกปัจจัย ๒๔ ออกเป็นพวกๆ คือ
- นาม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม มี ๖ ปัจจัย
- นาม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป มี ๕ ปัจจัย
- นาม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูป อีก ๑ ปัจจัย
- รูป เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม มี ๑ ปัจจัย
- บัญญัตินามรูปทั้ง ๓ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม มี ๒ ปัจจัย
- นามรูปทั้ง ๒ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปทั้ง ๒ มี ๙ ปัจจัย
ปัจจัยธรรมทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๖ พวก ดังนี้
การแบ่งปัจจัยออกเป็น ๖ พวกอย่างใดนั้น จะแสดงไปตามลำดับดังต่อไปนี้
๓. อนนฺตรนิรุทฺธา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ปฏุปฺปนฺนานํ จิตฺตเจตสิกานํ ธมฺมานํ อนนฺตรสมนนฺตรนตฺถิวิคตวเสน, ปุริมานิ ชวนานิ ปจฺฉิมานํ ชวนานํ อาเสวนวเสน, สหชาตา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา อญฺญมญฺญํ สมฺปยุตฺตวเสเนติ ฉธา นามํ นามสฺส ปจฺจโย โหติ ฯ
นามเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม ๖ ปัจจัยนั้น คือ
- จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น เหล่านี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ติดต่อกัน ด้วยอำนาจแห่งอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย
- ชวนะที่เกิดก่อนๆ เหล่านี้ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ชวนะที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจแห่งอาเสวนปัจจัย
- จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดพร้อมกันเหล่านี้ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน ด้วยอำนาจแห่งสัมปยุตตปัจจัย
๔. เหตุฌานงฺคมคฺคงฺคานิ สหชาตานํ นามรูปาน เหตาทิวเสน, สหชาตา เจตนา สหชาตานํ นามรูปานํ นานกฺขณิกา เจตนา กมฺมาภินิพฺพตฺตานํ นามรูปานํ กมฺมวเสน วิปากกฺขนฺธา อญฺญมญฺญํ สหชาตาน รูปานํ วิปากวเสเนติ จ ปญฺจธา นามํ นามรูปานํ ปจฺจโย โหติ ฯ
นามเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ๕ ปัจจัยนั้น คือ
- เหตุ ๖ องค์ฌาน ๕ องค์มรรค เหล่านี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน ด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น (ซึ่งได้แก่เหตุปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย)
- เจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันอย่างหนึ่ง
- และเจตนาที่เกิดต่างขณะกันคือดับไปแล้วนั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรมที่ดับไปแล้วอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัย อันได้แก่ สหชาตกัมมปัจจัย และนานักขณิกกัมมปัจจัย
- วิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกัน ด้วยอำนาจแห่งวิปากปัจจัย
๕. ปจฺฉาชาตา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ปจฺฉาชาตวเสเนติ เอกธาว นาม รูปสฺส ปจฺจโย โหติ ฯ
นามเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูป ๑ ปัจจัยนั้น คือ
- จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดหลังๆ เหล่านี้ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กายที่ เกิดก่อนๆ ด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตปัจจัย
๖. ฉ วตุถูนิ ปวตฺติยํ สตฺตนฺนํ วิญญาณธาตูนํ ปญฺจารมฺมณานิ จ ปญฺจวิญฺญาณวีถิยา ปุเรชาตวเสเนติ เอกธาว รูปํ นามสฺส ปจฺจโย โหติ ฯ
รูปเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม 1 ปัจจัยนั้น คือ
- วัตถุทั้ง ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก้วิญญาณธาตุ ๗ ในปวัตติกาลอย่างหนึ่ง
- อารมณ์ทั้ง ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจวิญญาณวิถีอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งปุเรชาตปัจจัย อันได้แก่ วัตถุปเรชาตปัจจัย และอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๗. อารมฺมณวเสน อุปนิสฺสยวเสเนติ จ ทุวิธา ปญฺญตฺตินามรูปานิ นามสฺเสว ปจฺจยา โหนฺติ ฯ
- บัญญัติ นาม รูป ทั้ง ๓ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม ๒ นั้น คือด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย
๘. ตตฺถ รูปาทิวเสน ฉพฺพิธํ โหติ อารมฺมณํ ฯ ในปัจจัย ๒ อย่างนั้น อารัมมณปัจจัยมี ๖ อย่าง โดยประเภทแห่งอารมณ์มีรูปารมณ์ เป็นต้น
๙. อุปนิสฺสโย ปน ติวิโธ โหติ อารมฺมณูปนิสฺสโย อนนฺตรูปนิสฺสโย ปกตูปนิสฺสโย เจติ ฯ
ส่วนอุปนิสสยปัจจัยมี ๓ อย่าง คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย
๑๐. ตตฺถ อารมฺมณเมว ครุกตํ อารมฺมณูปนิสฺสโย ฯ ในอุปนิสสยปัจจัยทั้ง ๓ นั้น อารมณ์ที่พึงกระทำให้เอาใจใส่เป็นพิเศษ ชื่อว่า อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๑๑. อนนฺตรนิรุทฺธา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา อนนฺตรูปนิสฺสโย ฯ จิต และเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้นเอง ชื่อว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๑๒. ราคาทโย ปน ธมฺมา สทฺธาทโย จ สุขํ ทุกฺขํ ปุคฺคโล โภชนํ อุตุ เสนาสนญฺจ ยถารหํ อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ กุสลาทิธมฺมานํ กมฺมํ วิปากานนฺติ จ พหุธา โหติ ปกตูปนิสฺสโย ฯ
ส่วนอกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น กุศลธรรมมีศรัทธาเป็นต้น ความสุขกาย ทุกข์กาย บุคคล อาหาร อากาศ ที่อยู่เหล่านี้ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ธรรมทั้งหลาย มีกุศลธรรม เป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ทั้งภายในและภายนอกตามสมควรก็ดี และกรรมที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากนามขันธ์ก็ดี ชื่อว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยทั้งสิ้น ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้
๑๓. อธิปติ สหชาต อญฺญมญฺญ นิสฺสย อาหาร อินฺทฺริย วิปฺปยุตฺต อตฺถิ อวิคตวเสเนติ ยถารหํ นวธา นามรูปานิ นามรูปานํ ปจฺจยา ภวนฺติ ฯ
นามรูปเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ๙ ปัจจัยนั้น คือ โดยประเภทแห่งอธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตามสมควร
๑๔. ตตฺถ ครุกตมารมฺมณํ อารมฺมณาธิปติวเสน นามานํ สหชาตาธิปติ จตุพฺพิโธปี สหชาตวเสน สหชาตานํ นามรูปานนฺติ จ ทุวิโธ โหติ อธิปติปจฺจโย ฯ
ในบรรดาปัจจัยทั้งนั้น อธิปติปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
- อารมณ์ที่พึงกระทำให้เอาใจใส่เป็นพิเศษ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามด้วยอำนาจแห่งอารัมณาธิปติปัจจัยอย่างหนึ่ง
- องค์อธิบดีทั้ง ๔ มีฉันทะเป็นต้นที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกัน ด้วยอำนาจแห่งสหชาตาธิปติปัจจัยอย่างหนึ่ง
๑๕. จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา อญฺญมญฺญํ สหชาตรูปานญฺจ มหาภูตา อญฺญมญฺญํ อุปาทารูปานญฺจ, ปฏิสนฺธิกฺขณํ วตฺถุวิปากา อญฺญมญฺญนฺติ จ ทุวิโธ โหติ สหชาตปจฺจโย ฯ
สหชาตปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ
- จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันอย่างหนึ่ง
- มหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่อุปาทายรูปอย่างหนึ่ง
- ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุและวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกันอย่างหนึ่ง
๑๖ . จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา อญฺญมญฺญํ มหาภูตา อญฺญมญฺญํ ปฏิสนฺธิกฺขเณ วตฺถุวิปากา อญฺญมญฺญนฺติ จ ติวิโธ โหติ อญฺญมญฺญปจฺจโย ฯ
อัญญมัญญปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ
- จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกันอย่างหนึ่ง
- มหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกันอย่างหนึ่ง
- ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ และวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กันและกันอย่างหนึ่ง
๑๗. จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา อญฺญมญฺญํ สหชาตรูปานญฺจ, มหาภูตา อญฺญมญฺญํ อุปาทารูปานญจ, ฉ วตฺถูนิ สตฺตนฺน วิญฺญาณธาตูนนฺติ จ ติวิโธ โหติ นิสฺสยปจฺจโย ฯ
นิสสยปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ
- จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนอย่างหนึ่ง
- มหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่อุปาทายรูปอย่างหนึ่ง
- วัตถุรูป ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๓ อย่างหนึ่ง
๑๘. กพฬีกาโร อาหาโร อิมสฺส กายสฺส อรูปโน อาหารา สหชาตานํ นามรูปานนฺติ จ ทุวิโธ โหติ อาหารปจฺจโย ฯ
อาหารปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ
- อาหารที่พึงกระทำให้เป็นคำ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กายอย่างหนึ่ง
- นามอาหารทั้ง ๓ มีผัสสะเป็นต้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันอย่างหนึ่ง
๑๙. ปญฺจ ปสาทา ปญฺจนฺนํ วิญฺญาณานํ รูปชีวิตินทฺริยํ อุปาทินฺนรูปานํ, อรูปโน อินฺทฺริยา สหชาตานํ นามรูปานนฺติ จ ติวิโธ โหติ อินฺทฺริยปจฺจโย ฯ
อินทริยปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ
- ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจวิญญาณอย่างหนึ่ง
- รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนรูปอย่างหนึ่ง
- นามอินทรีย์องค์ธรรม ๘ มีชีวิตินทรีย์เจตสิกเป็นต้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันอย่างหนึ่ง
๒๐. โอกฺกนฺติกฺขเณ วตฺถุ วิปากานํ, จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา สหชาตรูปานํ สหชาตวเสน, ปจฺฉาชาตา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ปจฺฉาชาตวเสน, ฉ วตฺถูนิ ปวตฺติยํ สตฺตนุนํ วิญฺญาณธาตูนํ ปุเรชาตวเสเนติ จ ติวิโธ โหติ วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ฯ
วิปปยุตตปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ
- ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากนามขันธ์ ๔ และจิตเจตสิกธรรมเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกัน ด้วยอำนาจแห่งสหชาตวิปปยุตตปัจจัยอย่างหนึ่ง
- จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดหลังๆ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กายที่เกิดก่อนๆ ด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยอย่างหนึ่ง
- ในปวัตติกาล วัตถุรูป ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๗ ด้วยอำนาจแห่งปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยอย่างหนึ่ง อันได้แก่ วัตถุปเรชาตวิปปยุตตปัจจัยและวัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒๑. สหชาตํ ปูเรชาตํ ปจฺฉาชาตญฺจ สพฺพถา
กพฬีกาโร อาหาโร รูปชีวิตมิจฺจยนฺติ
ปญจวิโธ โหติ อตฺถิปจฺจโย อวิคตปจฺจโย จ ฯ
อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยมีอย่างละ ๕ ดังนี้ คือ
- โดยความเป็นสหชาตชาติอย่างหนึ่ง
- โดยความเป็นปุเรชาตชาติอย่างหนึ่ง
- โดยความเป็นปัจฉาชาตชาติอย่างหนึ่ง
- โดยความเป็นกพพีการาหารอย่างหนึ่ง
- โดยความเป็นรูปชีวิตินทรีย์อย่างหนึ่ง โดยประการทั้งปวง
๒๒. อารมฺมณูปนิสฺสยกมฺมตฺถิปจฺจเยสุ จ สพฺเพปี ปจฺจยา สโมธานํ คจฺฉนฺติ ฯ
ถ้าจะแสดงปัจจัยโดยย่อแล้ว ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ย่อมรวมลงในอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อัตถิปัจจัย ทั้งสิ้น
๒๓. สหชาตรูปนฺติ ปเนตฺถ สพฺพตถาปี ปวตฺเต จิตฺตสมุฏฺฐานานํ ปฏิสนฺธิยํ กฏตฺตารูปานญจ วเสน ทุวิธํ โหตีติ เวทิตพฺพํ ฯ
หมายเหตุ ในปัฏฐานนัยนี้ ที่ว่าสหชาตรูปในสหชาตชาติทั่วไปทั้งหมดนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง โดยประเภทแห่งจิตตชรูปที่เกิดในปวัตติกาล และกัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาล นักศึกยาทั้งหลายพึงทราบคังนี้
ปัจฉิมคาถาในปัฏฐานนัย
๒๔. อิติ เตกาลิกา ธมฺมา กาลมุตฺตา จ สมฺภวา
อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ สงฺขตาสงฺขตา ตถา ฯ
ปญฺญตฺตินามรูปานํ วเสน ติวิธา ฐิตา
ปจฺจยา นาม ปฏฺฐาเน จตุวีสติ สพฺพถา ฯ
โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในกาลทั้ง ๓ และที่เป็น
กาลวิมุติที่เกิดในอัชฌัตตะและพหิทธะ ที่เป็นสังขตะและอสังขตะ หรือที่มี ๓
โดยประเภทแห่งบัญญัตินามรูปเหล่านี้ ชื่อว่า ปัจจัย ๒๔ ในปัฏฐานปกรณ์
โดยประการทั้งปวง ตามสมควรที่จะเป็นไปได้
จบ ปัฏฐานนัย
หมายเหตุ สำหรับการแสดงปัฏฐานนัยโดยพิสดารนั้น มีอยู่ใน
มหาปัฏฐานปกรณ์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นหลักสูตรของชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก
------------------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ