ปัจจยปริคคหญาณในชื่ออื่น
ปัญญาที่กำหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามเรียกว่า ปัจจัยปริคคหญาณ โดยทางอาการดับและเกิดของรูปนาม เมื่อกำลังของปัจจยปริคคหญาณนี้มีมากขึ้นก็สามารถละความสงสัย ๑๖ อย่างได้ ถึงความสงสัยอีก ๘ อย่างก็ละได้ แม้ทิฎฐิ ๖๒ ประการก็ระงับไปด้วย
ความเห็นที่บริสุทธิ์ เพราะข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัยของรูปและนามเรียกว่า "กังขาวิตรณวิสุทธิ"
การกำหนดรู้ถึงความตั้งอยู่ของธรรมที่เป็นปัจจัยเรียกว่า "ธัมมฐิติญาณ"
การกำหนดรู้ถึงรูปนามตามความเป็นจริงเรียกว่า "ยถาภูตญาณ"
ความเห็นโดยชอบเรียกว่า "สัมมาทัสสนะ"
คำว่า "ธัมมฐิติญาณ" "ยถาภูตญาณ" และ "สัมมาทัสสนะ" เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า "กังขาวิตรณวิสุทธิ"
อานิสงส์ของปัจจยปริคคหญาณ
ถ้าพระโยคาวจรใดเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสมาธิญาณแก่กล้าขึ้น เห็นรูปนามชัดเจนแล้วก็จะสามารถรู้ได้ว่า รูปนามทั้งสองนั้นเป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน คือ รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล หรือนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล หาใช่เป็นตัวตน สัตว์บุคคล เราเขาไม่ ก็จะข้ามพ้นความสงสัยต่างๆ ไปได้ เช่นนี้เรียกว่า "กังขาวิตรณวิสุทธิ"
อานิสงส์ของญาณนี้ ในพระบวรพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นพระจุลโสดาบันเป็นผู้ที่สมควรจะเบาใจได้ในเมื่อตายไปแล้วคือ หากว่าญาณที่ตนได้บรรลุนี้ไม่เสื่อมในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้ก็จะได้ไปเกิดในสุคติภูมิคือ เทวโลก เป็นต้น ปีดอบายภูมิทั้ง ๔ ได้อย่างแน่นอน แต่ในชาติต่อไปอีกคือ ชาติที่ ๓ นั้นการปีดอบายภูมิไม่แน่นอนถ้าต้องการปีดให้ได้อย่างแน่นอนเด็ดขาด ต้องอุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต่อไปอีกจนกระทั่งบรรลุพระอริยมรรค อริยผล สมกับคำที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า
อิมินา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฏฺโฐ นิยตคติโก จูลโสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ อปปริหีนกงฺขาวิตรณวิสุทฺธิโก วิปสฺสโก โลกิยสีลสมาธิปญฺญาสมฺปทาหิ สมนฺนาคตตฺตา อุตุตรี อปุปฏิวิชุมนุโต สดติปรายโนว โตีติ วุตุตํ นิยตคติโกติ ตโต เอว จูลโสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ
พระโยคาวจรบุคคลผู้บรรลุถึงญาณนี้แล้ว ย่อมถึงความเบาใจและได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า จุลโสดาบัน มีคติที่เที่ยงแท้ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้จะไปสู่สุคติ ปีคอบายภูมิเสียได้ถ้าหากว่าญาณนี้ไม่เสื่อม แต่ในชาติที่ ๓ ต่อจากนั้นไปไม่แน่นอน จะปิดอบายภูมิได้อย่างแน่นอนคือ ชาติ ๒ เท่านั้น ถ้าต้องการปิดแน่นอนต้องบำเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป จนกระทั่งบรรถอริยมรรด อริยผลผู้เจริญวิปัสสนา ซึ่งประกอบด้วยปัจจยปริดคญาณนี้ เป็นผู้ใด้ความเบาใจได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนา และเป็นผู้มีคติที่แน่นอน เรียกได้ว่า พระดูพโสดาบันบุคคล
ฉะนั้นผู้มีความประสงค์จะข้ามพ้นความสงสัย พึงเป็นผู้มีสติกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม ตามความเป็นจริงเถิด.
[right-side]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ