อธิบายบาลีข้อที่ (๔) หรือ ๓

(ลกฺขณรสปจฺจุปฺปฏฺฐานปทฏฺฐานวเสน นามรูปปริคฺคโห ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ นาม ฯ )


แสดงวิปัสสนาญาณ ๑๐ ตามนัยพระอภิธัมมัตถสังคหบาลี และญาณ ๑๖ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนาม โดยเป็น

     ลักษณะ ๑ 

     เป็นรส ๑ 

     เป็นปัจจุปัฏฐาน ๑ 

     เป็นปทัฏฐาน ๑ 

ว่าโดยวิสุทธิเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ อันได้แก่ปัญญา เจตสิก ที่มีการกำหนดรู้ลักขณาทิจตุกะ ของรูปนามคังต่อไปนี้


ลักขณาทิจตุกะของจิต

            ๑. วิชฺชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

            ๒. ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเป็นประธานของเจตสิกและกัมมชรูป

            ๓. ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีการสืบต่อกันระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นอาการปรากฏในปัญญาของบัณฑิต

            ๔. สงฺขารปทฏฺฐานํ วา วตฺถารมฺมณปทฏฺฐานํ มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้ หรือ มีวัตถุอารมณ์ ๖ เป็นเหตุใกล้


ลักขณาทิจตุกะของเจตสิก

            ๑. นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ

            ๒. สมฺปโยครสํ มีการประกอบกันกับจิต และประกอบกับตนเองโดยเป็นเอกุปปาทตาเป็นต้น เป็นกิจ

            ๓. อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่แยกกันกับจิตเป็นอาการปรากฎในปัญญาของบัณฑิต

            ๔. วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้


ลักขณาทิจตุกะของรูป

            ๑. รุปฺปนลกฺขณํ มีการสลายแปรปรวนเป็นลักษณะ

            ๒. วิกิรณรสํ มีการกระจัดกระจายไปเป็นกิจ

            ๓. อพฺยากตปจฺจุปฺปฏฺฐานํ มีการเป็นอัพยากตะเป็นอาการปรากฎในปัญญาของบัณฑิต

            ๔. วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้

-------------------

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ

      นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กำหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่แท้จริงของสมถยานิกบุคคล สำหรับบุคคลผู้ปรารถนาบรรลุถึงความเห็นที่บริสุทธิ์ (ทิฏฐวิสุทธิ)ถ้าเคยปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อนเมื่อออกจากรูปาวจรฌานจิต ๕ ฌานใดฌานหนึ่งแล้ว หรืออรูปาวจรฌานจิต ๓ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต) ฌานใดฌานหนึ่งมาแล้วต้องกำหนดองค์ฌานมี วิตก เป็นต้น หรือกำหนดสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานมี ผัสสะสัญญา เป็นต้น

      การกำหนดองค์ฌาน หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับองค์ฌานนั้นก่อนอื่นต้องกำหนดสภาวธรรมนั้นโดยสภาวลักษณะ (ลักษณะ) หน้าที่ หรือกิจ (รส)อาการที่ปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน) และเหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ต่อไปจึงกำหนดสภาวธรรมทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นธรรมชาติที่น้อมไป (นาม) มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ เมื่อจะพิจารณาดูนามธรรมเหล่านั้นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงติดตามดูว่นามธรรมเหล่านั้นอาศัยอะไรก็จะทราบว่าอาศัยหทยวัตถุรูป เปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นงูภายในเรือนแล้วจึงติดตามมันไปก็จะพบที่อาศัยของมัน

      เมื่อทราบว่าหทยวัตถุรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมเหล่านั้นแล้วก็พิจารณาต่อไปว่า แม้หทยวัตถุรูปก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย เกิดขึ้นและอุปาทายรูปทั้ง ๒๓ (เว้นหทยวัตถุรูป) ก็อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แล้วจึงพิจารณารูปธรรมทั้งหมดว่าเป็นสภาวธรรมที่มีอาการเสื่อมสิ้นสลายไป (รูป)

      สำหรับสมถยานิกบุคคล ครั้นออกจากมานจิตแล้วจะพิจารณากำหนดนามธรรมว่ามีอาการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ หรือกำหนดรูปธรรมว่า มีอาการเสื่อมสิ้นสลายไปเป็นลักษณะก็ได้


การกำหนดรูปนามทางธาตุ ๔

      สำหรับวิปัสสนายานิก หรือสมถยานิกบุคคล เมื่อกำหนดธาตุทั้ง ๔ คือ ปถวีอาโป เตโช วาโย ให้ปรากฏโดยลักษณะและหน้าที่เป็นต้นแล้ว รูปธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมกันกับธาตุ ๔ ก็จะปรากฏด้วยเช่น ในเส้นผมนอกจากจะมี ปถวีธาตุ ซึ่งมีลักษณะแข็งอ่อนเป็นประธานแล้ว ยังประกอบด้วยรูป ๔๔ รูป คือ

      ๑. รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ๑๐ รูปคือ กายทสกกลาป ๑๐ (ได้แก่อวินิพโภครูป ๘ กายปสาท ๑ ชีวิตรูป ๑) ภาวทสกกลาป ๑ (ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ภาวรูป ๑ ชีวิตรูป ๑)

      ๒. รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานคือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่อวินิพโภครูป ๘

      ๓. รูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานคือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่อวินิพโภครูป ๘

      ๔. รูปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน คือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ในผมมีรูป ๔๔ ฉันใด ในโกฎฐาสะ ๒๔ คือปถวีธาตุ ๑๗ (เว้นผมอาหารใหม่ อาหารเก่า) และอาโปธาตุ ๖ คือ น้ำดี เสมหะ เลือด น้ำมันข้น น้ำมันเหลว น้ำไขข้อ ที่เป็นจตุสมุฏฐานิกรูป ก็มีรูปอย่างละ ๔๔ ฉันนั้น

      ส่วนรูปที่เกิดจากจิตและอุตุเป็นสมุฏฐานมี ๔ คือ เหงื่อ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก มีรูปอย่างละ ๑๖ คือ

      ๑. รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานคือสุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘

      ๒. รูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานคือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่อวินิพโภครูป ๘

      สำหรับรูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานอย่างเดียวมี ๔ คือ อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำหนอง น้ำมูตร มีรูปอย่างละ ๘ คือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่อวินิพโภค รูป ๘ ตามที่ได้แสดงมาแล้วนี้เป็นนัยในโกฏฐาสะ ๓๒ อาการ ๑. อื่นอีกคือ เตโชธาตุ ๔ มีสันตัปปนเตโช เป็นต้น วาโยธาตุ ๖ มี อุทธังคมวาโยเป็นต้น ซึ่งมีสมุฏฐาน ดังนี้รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียวมี ๑ คือ ปาจกเตโชมี ๙ รูป คือชีวิตนวกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑

      รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียวมี ๑ คือ อัสสาสปัสสาสวาโยมี ๘ รูป คือ สัททนวกกลาป = ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ อาการที่เหลืออีก ๘ คือเตโซธาตุ ๓ ได้แก่ สันตัปปนเตโช ทหนเตโช ชิรณเตโช และวาโยธาตุ  ได้แก่ อุทธังคมวาโย อโธคมวาโย กุจฉิฏฐวาโย โกฏฐาสยวาโย คังคมังคานุสารีวาโย อันเป็นจตุสมุฏฐานิกรูป มีรูปอย่างละ ๓๓ คือ

      ๑. รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานคือ ชีวิตนวกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภค รูป ๘ ชีวิตรูป ๑

      ๒. รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน คือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘

      ๓. รูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานคือ สุทธัฏฐกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘

      ๔. รูปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน คือ สุทธัฎฐกกลาป ๘ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ 

      เมื่ออาการ (คือธาตุ) ทั้ง ๔๒ เหล่านี้เกิดปรากฎแก่วิปัสสนายานิกและสมถยานิกบุคคลด้วยภาวะแห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูปโดยพิสดารแล้ว รูปทั้งหลายอีก ๖๐ รูป ในจักขุทสกกลาปเป็นต้น จนถึงวัตถุทสกกลาปอันเป็นรูปที่เกี่ยวข้องกับวัตถุและทวาร ก็จักปรากฏแก่ปัญญาของผู้นั้นเช่นกัน

      เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณารูปธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็จะเห็นลักษณะที่เหมือนกันคืออาการเสื่อมสิ้นสลายไปเมื่อกำหนดเห็นอย่างนี้แล้ว นามธรรมทั้งหลายจะปรากฎในมโนทวาร นามธรรมเหล่านั้นได้แก่โลกียจิต ๘๑ เจตสิกที่ประกอบ ๕๒ ส่วนโลกุตตรจิต ๘ เจตสิกที่ประกอบ ๓๖ นั้น ไม่สามารถถูกกำหนดรู้ได้โดยสุทธวิปัสสนายานิกบุคคล และสมถยานิกบุคคล เพราะว่านามธรรมเหล่านั้นยังไม่เคยเกิดแก่บุคคลทั้งสองเลย และเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณานามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็จะเห็นลักษณะที่เหมือนกันคืออาการที่น้อมไป หรือมุ่งไปสู่อารมณ์การกำหนดรูปธรรมและนามธรรมโดยพิสดารทางธาตุ ๔๒ ก็มีด้วยประการดังกล่าว


การกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘

      สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อะกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘ พึงพิจารณา ดังนี้ว่า

      ในอัตภาพนี้มี จักขุธาตุ โสตธาตุ ชิวหาธาตุ เป็นต้นแล้วก็ไม่เห็นว่าก้อนเนื้อที่สายเอ็นยึดรัดไว้ในเบ้าตา ที่มีลักษณะยาวและกว้าง วิจิตรด้วยวง สีขาว สีดำ และสีดำมากนั้นที่ชาวโลกเข้าใจกันว่าเป็นจักษุ แต่แท้จริงแล้วจักษุที่ชาวโลกเข้าใจกันก็คือกลุ่มของรูป ๕๔ รูปคือ จักขุทสกกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐ ภาวทสกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ ในจำนวนรูปทั้ง ๕๔ รูปนี้ จักขุปสาทเท่านั้นที่ชื่อว่า จักขุหรือจักขุธาตุ ส่วนรูปอีก ๕๓ นั้นมิใช่จักขุ

      เมื่อพิจารณาจนทราบว่าจักขุปสาทรูปเป็นสภาวธรรมที่ชื่อว่า จักษุ แล้วก็จะทราบว่าลักษณะของจักขุปสาทรูปนั้นคือ อาการเสื่อมสิ้นสลายไป ซึ่งเป็นอาการของรูปธรรมนั่นเอง

      ถึงแม้ใน โสตธาตุจนถึงชิวหาธาตุ ก็เป็นไปเหมือนกันกับจักขุธาตุ 

      ส่วนกายธาตุนั้นประกอบด้วยรูป ๔๓ รูปคือ กายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปสาท) ภาวทสกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าประกอบด้วยรูป ๔๕ รูป คือกายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปลาทรูป) ภาวทสกกลาป ๑๐ สัททนวกกลาปที่เกิดจากจิต ๘ และเกิดจากอุตุ ๙ (อวินิพโภครูป ๘ และสัททรูป ๑) และเกิดจากอาหาร ๘

      รูป ๑๒ รูปคือ ปสาทรูป ๕ เป็นจักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ และวิสยรูป ๗ เป็นรูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ส่วนรูปที่เหลือ คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมธาตุบางส่วน

      สำหรับนามธรรมที่เป็นจิตคือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นวิญญาณธาตุ ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น ปัญจทวารวัชชนจิต ๑ กับสัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ ส่วนโลกียจิตที่เหลือ ๖๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ ส่วนนามธรรมที่เป็นเจตสิกคือ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ นั้น เป็นธัมมธาตุบางส่วน ฉะนั้น ในธาตุ ๑๘ นี้ ธาตุ ๑๐ กับธัมมธาตุบางส่วน (สุขุมรูป ๑๖) เป็นรูปธรรม และธาตุ ๗ กับธัมมธาตุอีกบางส่วน (เจตสิก ๕๒) เป็นนามธรรม การกำหนดรูปธรรมและนามธรรมทางธาตุ ๑๘ เป็นหลักก็มีด้วยประการดังกล่าว


การกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒

      สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็กำหนดทำนองเดียวกันกับธาตุ ๑๘ นั่นเอง ต่างกันตรงโลกียจิต ๘๑ หรือวิญญาณธาตุ ๗ นั้นเป็นมนายตนะและอายตนะ ๑๒ อายตนะ ๑๐ กับมมายตนะบางส่วน คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรมและอายตนะ ๑ กับธัมมายตนะบางส่วนคือ เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรมการกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็มีด้วยประการฉะนี้


การกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕

สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ ก็กำหนดดังนี้

      ในสรีระร่างกายนั้นนิปผันนรูป ๑๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้นและอนิปผันนรูป ๑๐ มีปริจเฉทรูป เป็นต้น กำหนดเป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ (เว้นเวทนา สัญญา) ที่ประกอบกับโลกียกิจ ๘๑ กำหนดเป็นสังขารขันธ์ โลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็น วิญญาณขันธ์ ในลำดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ที่เหลือว่าเป็น นามธรรม การกำหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก ก็มีด้วยประการฉะนี้ 


การกำหนดรูปให้นามปรากฏ

      เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรูปธรรมแล้วก็ย้อนมากำหนดนามธรรม แต่นามธรรมนั้นยังมิได้ปรากฏ ก็อย่าท้อถอยเลิกละการกำหนดเสีย ควรใส่ใจใคร่ครวญในรูปธรรมเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะว่ารูปธรรมเหล่านั้นที่พิจารณาดีแล้ว สะสางชำระออกแล้วบริสุทธิ์ดีแล้ว เห็นจนชัดแจ้งดีแล้ว นามธรรมซึ่งมีรูปธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฎขึ้นเอง มีอุปมาดังนี้ :

      ๑. บุรุษมองดูเงาหน้าในกระจกที่มัว เงาหน้าก็ไม่ปรากฏ แต่บุรุษนั้นไม่ทิ้งกระจกไป กลับเช็ดถูกระจกนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนใสสะอาดบริสุทธิ์ เงาหน้าของบุรุษนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาเอง

      ๒. บุรุษผู้ต้องการน้ำมันงาเอาน้ำประพรมลงไปบนเมล็ดงาแล้วบีบคั้น ๒-๓) ครั้ง น้ำมันงาก็ไม่ไหล บุรุษนั้นก็ไม่ทิ้งไป กลับเอาน้ำอุ่นประพรมแล้วบีบคั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนน้ำมันงาที่ใสดีไหลออกมา

      ๓. บุรุษต้องการทำน้ำให้ใสก็หยิบเอาเมล็ดกตกะ (หรือสารส้ม) หย่อนลงในน้ำแกว่งไปมา ๒-๓ ครั้ง น้ำยังไม่ใสบุรุษนั้นก็ยังไม่ทิ้งเมล็ดกตกะ กลับเอาเมล็ดกตกะแกว่งไปมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนโคลนตมจมลง น้ำก็ใสสะอาดขึ้นมาเอง

      ๔. การหีบอ้อย

      ๕. การทรมานโจร

      ๖. การฝึกโค

      ๗. การเคี่ยวนมส้ม

      ๘. การปิ้งปลา


การปรากฎของรูปนาม

      การพิจารณารูปธรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนชัดแจ้งและบริสุทธิ์ดีแล้ว บรรดากิเลสทั้งหลายที่เป็นข้าศึกต่อการกำหนดรู้นามธรรมนั้นก็สงบลง นามธรรมก็จะปรากฎขึ้นเองการปรากฎของนามธรรมนั้นเกิดขึ้น ๓ ทาง คือ ๑. ทางผัสสะ ๒. ทางเวทนา ๓. ทางวิญญาณ

      เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่น พิจารณาว่าธาตุดินมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ ผัสสะคือ ธรรมชาติที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างอารมณ์กับผู้รู้อารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นและขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา สังขาร (มีเจตนาเป็นต้น) วิญญาณ (จิต) ซึ่งประกอบกับเวทนานั้นก็ปรากฎขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหลาย ปรากฎขึ้นทางเวทนาด้วยอาการอย่างนี้

      เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้วเช่นพิจารณาว่าธาตุดินในลมหายใจเข้าออกมีลักษณะอ่อนแข็งอยู่ วิญญาณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์หรือรับอารมณ์ก็ปรากฎขึ้นและในขณะนั้นเอง เวทนา สัญญา ผัสสะ สังขาร (มีเจตนาเป็นต้น) ซึ่งประกอบกับวิญญาณนั้นก็ปรากฎขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหลายปรากฎขึ้นทางวิญญาณด้วยอาการอย่างนี้

      เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังกำหนดรูปอยู่แล้วเลิกกำหนด กลับไปเริ่มกำหนดนามธรรมแทน การปฏิบัติดั่งนี้ไม่อาจทำให้วิปัสสนากรรมฐานเจริญขึ้น แต่การกำหนดรูปจนปรากฎชัดเจนดีแล้ว จะเป็นเหตุให้นามธรรมปรากฎขึ้นโดยอาศัยผ่านทางผัสสะ เวทนา วิญญาณ

      ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ) คือ ธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ ขันธ์ ๕ เมื่อสรุปแล้วก็คือ รูปและนาม อุปมาเหมือน การเปิดสมุด (ย่อมมี ๒ ส่วน) และการผ่าลอนตาลก็ย่อมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเช่น นอกไปจากรูปและนามแล้ว หามีสัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่นๆ อีกไม่


จุดประสงค์ของการกำหนดรูปนาม คือ :

      ๑. เพื่อละชื่อสมมุติทางโลก

      ๒. เพื่อให้พ้นความเข้าใจผิดว่ามี สัตว์ บุคคล

      ๓. เพื่อให้จิตประกอบด้วยปัญญา คือ การรู้จริงเรื่องรูปและนาม และคำอุปมาจากพระสุตตันตปิฎกว่า

            ยถา หิ องฺคสมฺภารา    โหติ สทฺโท รโถ อิติ

            เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ      โหติ สตฺโตติ สมฺมติ ฯ

            ความจริงเมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมุติเรียกว่าสัตว์ก็มีขึ้น

            เหมือนเสียงว่า รถ มีขึ้นก็เพราะเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันเข้า

            ฉะนั้น

      (จาก วชิราสูตร สํ.ส. เล่ม ๑๕ ข้อ ๕๕๔)


      ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า อาวุโส เพราะอาศัยไม้ เถาวัลย์ ดิน และหญ้าล้อมเอาอากาศเข้าไว้จึงเรียกว่า อาคาร ฉันใดก็ดี อาวุโส เพราะอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อและหนังล้อมเอาอากาศเข้าไว้ จึงเรียกกันว่า สัตว์ บุคคล

(จาก ม.มู. ๑๒/๓๕๘)


ยถาภูตทัสสนะ

      เมื่อมีเพลา ล้อ ตัวถัง และงอน ตั้งอยู่รวมกัน คำว่า รถ จึงเกิดขึ้น เมื่อสัมภาระของเคหะทั้งหลาย เช่น ไม้ เป็นต้น ตั้งล้อมอาคารเข้าไว้ คำว่า เคหะ จึงเกิดขึ้น เมื่อนิ้วทั้งหลายมีนิ้วมือและแม่มือเป็นต้นตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกันคำว่า กำปั้นจึงเกิดขึ้น ส่วนทั้งหลายมีกะโหลกและสายเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการอันเดียวกัน คำว่าพิณ จึงเกิดขึ้น

      เมื่อช้างและม้าเป็นต้นตั้งอยู่รวมกัน คำว่า เสนา (กองทัพ) จึงเกิดขึ้น เมื่อกำแพงและเคหะกับทั้งประตูและซุ้มเป็นต้น ตั้งอยู่โดยอาการเดียวกัน คำว่า นคร จึงเกิดขึ้น เมื่อลำต้น กิ่ง และใบเป็นต้น ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า ต้นไม้ จึงเกิดขึ้น เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีอยู่ คำว่า สัตว์ บุคคล จึงเกิดขึ้นสิ่งที่เรียกว่า รถ, เคหะ, พิณ, เสนา, นคร, ต้นไม้, สัตว์, บุดคล เหล่านี้เมื่อเข้าไปพิจารณาธรรมนั้นๆ โดยปรมัตถ์แล้ว สิ่งที่เรียกเหล่านั้นหามีไม่ คงมีอยู่แต่เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้ที่มีความเห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้ชื่อว่ามี "ยถาภูตทัสสนะ"


ความเห็นล้าหลัง ล้ำหน้า

      เมื่อละทิ้ง ยถาภูตทัสสะ เสียแล้ว ก็ต้องยึดถือว่าสัตว์หรือบุคคลมีอยู่ เมื่อยอมรับว่าสัตว์หรือบุคคลมีอยู่ ก็ต้องยอมรับรู้ถึงความพินาศ หรือไม่พินาศของสัตว์บุคคลเหล่านั้นด้วย การรับรู้ถึงความไม่พินาศก็ตกไปอยู่ในฝ่ายสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่ายั่งยืน การรับรู้ถึงความพินาศก็ตกไปอยู่ในฝ่าย อุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าขาดสูญบุคคลที่ยึดถือว่าสัตว์ยั่งยืน ก็เรียกได้ว่ามีความเห็นล้าหลัง บุคคลที่ยึดถือว่าสัตว์ขาดสูญก็เรียกได้ว่ามีความเห็นล้ำหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถูกครอบงำด้วยทิฏฐิ ๒ ประการ คือ ความเห็นที่ล้าหลังและความเห็นที่ล้ำหน้า

      เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งมีความยินดีพอใจ เพลิดเพลินในภพ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อดับภพ จิตของพวกเขาก็ไม่เข้าใจไม่เลื่อมใส บุคคลที่มีความเห็นเช่นนี้ ชื่อว่าล้าหลัง

      เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งเบื่อหน่ายเกลียดชัง ไม่พอใจในภพ ชื่นชมยินดีความปราศจากภพด้วยคิดว่าเวลาใดหนออัตตานี้จะขาคสูญพินาศไป เพราะเมื่อร่างกายแตกดับภายหลังมรณะนั่นเป็นความสงบ ความเห็นนี้ชื่อว่า ล้ำหน้าไปพระพุทธองค์ตรัสว่าภิกษุทั้งหลายที่มีปัญญาย่อมเห็น ภูต (ขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง คือเห็นเป็นภูต เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในขันธ์ ๕ อย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดและเพื่อความดับของภูต นี้คืออาการของผู้มีปัญญา ผู้มีจักษุ


รูปนามอาศัยกัน

      ตัวหุ่นเป็นของว่างเปล่าไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่เพราะการประกอบกันของไม้และเส้นเชือกชักตัวหุ่นนั้นจึงเคลื่อนไหวได้ ปรากฏคล้ายกับมีชีวิตขึ้นฉันใดรูปและนามนี้ก็เช่นกัน ว่างเปล่า ไม่มีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว แต่เพราะการอิงอาศัยซึ่งกันและกันรูปและนามจึงเคลื่อนไหวได้ ปรากฏมีชีวิตชีวาขึ้นฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า

      นามญฺจ รูปญฺจ อิธตฺถิ สจฺจโต

      น เหตฺถ สตฺโต มนุโชว วิชฺชติ

      สุญฺญํ อิทํ ยนฺตมิวาภิสงฺขตํ

      ทุกฺขสฺส ปุญฺโช ติณกฏฺฐสาทิโส ฯ

      โดยความจริงแล้ว ในโลกนี้มีแต่รูปและนามเท่านั้น มิได้มีสัตว์และมนุษย์แต่ประการใดเลย รูปและนามเป็นของว่างเปล่า ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเหมือนตัวหุ่นเป็นกอง ทุกข์เช่นเดียวกับกองหญ้าและ ไม้ รูปและนามในปัญจโวการภพ ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้ำจุนอีกสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อสิ่งหนึ่งล้มลงไปด้วยการแตกทำลาย อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วยการแตกทำลายลงด้วย เช่นเดียวกับฟ่อนต้นอ้อ  มัดพิงกันไว้ ฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่งก็ค้ำฟ่อนต้นอัออีกมัดหนึ่งไ ว้ เมื่อฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่งล้มลง ฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งก็ล้มลงด้วย ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

      ยมกํ นามรูปญฺจ        อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา

      เอกสฺมึ ภิชฺชมานสฺมึ     อุโภ ภิชฺชนฺติ ปจฺจยา ฯ

      รูปและนามนั้นเป็นของคู่กัน ทั้งสองต่างอาศัยกันและ

      กัน เมื่ออย่างหนึ่งแตกทำลายไป สิ่งทั้งสองที่อาศัยกันก็

      แตกทำลายไปด้วย

      เสียงเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกลองที่ถูกตีด้วยไม้กลองเป็นอย่างหนึ่ง เสียงก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง กลองและเสียงไม่ปนกันไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในกลองก็ไม่มีเสียงในเสียงก็ไม่มีกลองฉันใด นามเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยรูปคือ วัตถุ ทวาร และอารมณ์รูปอย่างหนึ่งรูปและนามไม่ปนกัน ไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในนามก็ไม่มีรูป ในรูปก็ไม่มีนามฉันนั้นอีกประการหนึ่ง นามอาศัยรูปจึงเกิดขึ้นเหมือนเสียงอาศัยกลองจึงดังขึ้น ท่านผู้รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า

      ผัสสะที่เกิดทางทวารทั้ง ๕ นั้น มิได้เกิดจากตาหรือรูปหรือในระหว่างตาและรูป, มิได้เกิดขึ้นจากหูหรือเสียง หรือในระหว่างหูและเสียง, มิได้เกิดขึ้นจากจมูกหรือกลิ่น หรือในระหว่างจมูกและกลิ่น, มิได้เกิดขึ้นจากลิ้นหรือรส หรือในระหว่างลิ้นและรส, มิได้เกิดจากกายหรือโผฎฐัพพะ หรือในระหว่างกายและโผฎฐัพพะ แต่ผัสสะที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๕ นั้นเป็นสภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุ คือการกระทบกันระหว่างทวารและอารมณ์จึงเกิดขึ้น เหมือนเสียงอาศัยเหตุ คือการที่กลองถูกตีจึงเกิดขึ้น ฉะนั้น


รูปนามไร้อำนาจในตัวเอง

      รูปและนามนี้ นามไม่มีอำนาจ ไม่มีความสามารถในตัวเองไม่สามารถกิน ดื่มพูด หรือสำเร็จอิริยาบถใดได้ ถึงแม้รูปก็เช่นเดียวกันไม่มีความปรารถนาหรือต้องการที่จะกิน ดื่ม พูด หรือสำเร็จอิริยาบถใดๆ รูปเป็นไปได้ก็อาศัยนาม นามเป็นไปได้ก็อาศัยรูป เมื่อนามปรารถนาอย่างไร รูปก็เป็นไปอย่างนั้น เพื่อต้องการให้เข้าใจชัดเจนดีขึ้น พระอาจารย์ทั้งหลายจึงยกข้ออุปมาขึ้นเป็นอุทาหรณ์อังนี้ :

      ชายตาบอดแต่กำเนิดไม่สามารถห็นได้ด้วยตนเอง กับชายเป็นง่อยไม่สามารถเดินไปมาได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าชายทั้งสองคนอาศัยซึ่งกันและกันคือ ชายตาบอดแบกชายเป็นง่อยไว้บนบ่า โดยมีชายเป็นง่อยคอยบอกทางเดินให้ ชายทั้งสองก็สามารถไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย แต่ถ้าชายสองคนนี้แยกจากกัน มิได้อาศัยซึ่งกันและกัน ชายทั้งสองคนก็ไม่สามารถไปในที่ต่างๆ ได้เลย เพราะต่างก็เป็นคนทุพพลภาพด้วยกัน เช่นเดียวกับรูปและนาม นามก็ไม่มีอำนาจให้สำเร็จกิริยาต่างๆ ได้ รูปก็ไม่มีอำนาจในการทำกิริยาต่างๆ แต่การเกิดขึ้นของกิริยาต่าง ๆ นั้น สำเร็จได้ด้วยการอาศัยซึ่งกันและกันของรูปและนาม

      น สกฺเกน พเลน ชายเร     โนปี สเกน พเลน ติฏฺฐเร

      ปรธมฺมวสานุวตฺติโน        ชายเร สงฺขตา อตฺตทุพฺพลา

      ปรปจฺจยโต จ ชายเร        ปรอารมฺมณโต สมุฏฺฐิตา

      อารมฺมณปจฺจเยหิ จ        ปรธมฺเมหิ จิเม ปภาวิตา ฯ

      สภาวธรรมทั้งหลายที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นเป็นสภาพทุพพลภาพ

      ไม่สามารถเกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยอำนาจของตัวเอง ต้องอาศัย-

      สภาวธรรมอย่างอื่นจึงดำเนินไปไล้ สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งเหล่านี้

      เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น เกิดจากอารมณ์อื่น เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ปัจจัยและธรรมอื่นด้วย ฯ


      ยถาปี นาว นิสฺสาย       มนุสฺสา ยนฺติ อณฺณเว

      เอวเมว รูปํ นิสฺลาย       นามกาโย ปวตฺตติ

      ยถา มนุสฺเส นิสฺลาย      นาวา คจฺฉติ อณฺณเว

      เอวเมว นามํ นิสฺสาย      รูปกาโย ปวตฺตติ ฯ

      มนุษย์ทั้งหลาย เดินทางไปในห้วงน้ำได้ เพราะอาศัยเรือ ฉันใด 

      นามกายเป็นไปได้ก็เพราะอาศัยรูป, เรือแล่นไปในห้วงน้ำได้

      เพราะอาศัย มนุษย์ฉันใด, รูปกายเป็นไปได้ก็เพราะอาศัยนาม ฉันนั้น ฯ


      อุโภ นิสฺสาย คจฺฉนฺติ     มนุสฺสา นาวา จ อณฺณเว 

      เอวํ นามญฺจ รูปญฺจ       อุโภ อญฺโญญนิสุสิตา ฯ 

      มนุษย์และเรือต่างอาศัยกัน จึงเดินทางไปในทะเลได้ รูปและนามก็ฉันนั้น 

      ต้องอาศัยซึ่งกันและกันเป็นไป

      การที่ โยคาวจรบุคคลตั้งสติกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ จนสามารถแยกนามแยกรูปจนเห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้น นอกจากรูปกับนามแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเช่นนี้เพราะตั้งใจกำหนดด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกำหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถจะรู้เห็นได้เลย เพราะรูปนามนี้ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณ์ย่อมปรากฎได้ และเมื่อจะปรากฏนั้น รูปปรากฏดีแล้ว นามก็ปรากฏตามมา

      ในการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาและบรรลุถึงญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณนี้แล้ว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอชี้แจงไว้ดังนี้ว่า "ที่เรียกว่าได้บรรลุถึงนามรูปปริจเฉทญาณ คือ มีปรีชากำหนครูปนามได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมานั้น" พึงเข้าใจว่าต้องเป็นการรู้การเห็นโดยปัญญา อันเกิดจากการเจริญภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้ได้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งท่านอธิบายว่า รูปเป็นอย่างนั้นมีจำนวนเท่านั้นๆ นามเป็นอย่างนั้นมีจำนวนเท่านั้นๆ แล้วก็ใช้ปัญญาคิดไปตามที่มีกล่าวไว้ในตำรา เสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่ารูปเป็นอย่างนี้เอง การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนาญาณคือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอาเดาเอาอย่างนี้เป็นเพียงแต่สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับรับฟังมาและจินตามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงขั้นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาซึ่งเป็นปัญญาที่ละเอียดประเสริฐหนักหนาเพราะเป็นปัญญาที่สามารถตัดกิเลสตัณหาได้ตามที่มุ่งหมาย ฉะนั้น พึงทำความเข้าใจว่าความรู้ความเห็นทั้งปวงในเรื่องการเจริญวิปีสสนาเป็นความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ ไม่ใช่ความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการคิดเอาๆ นึกเอา เดาเอา ซึ่งเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่แน่นอนแต่ญาณหรือความรู้ความเห็นที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาที่กำลังกล่าวถึงในเรื่องวิปัสสนาญาณนี้ เป็นความรู้ความเห็นที่แน่นอนเด็ดขาด อันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้อย่างแท้จริง เพราะมีอำนาจที่จะตัดกิเลสตัณหาได้ในที่สุด

      เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่เรา เขา ความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ก็จะประหาณสักกายทิฏฐิได้ที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นที่บริสุทธิ์

      เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นรูปและนามตามความเป็นจริงแล้วก็จะละสัตตสัญญาคือความสำคัญหมายรู้ว่ามีสัตว์บุคคลเสียได้ แล้วก็จักตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่ลุ่มหลง ซึ่งเป็นทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นอันบริสุทธิ์ หรือรูปนามววัฏฐาน คือการกำหนดรู้รูปและนามหรือสังขารปริจเฉท คือการกำหนดรู้สังขาร ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของการเห็นรูปและนามตามความเป็นจริง


จบ นามรูปปริอเฉทญาณ

-------///--------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,นามรูปปริจเฉทญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.