อธิบายความตามลำดับใน มหาวิปัสสนา ๑๘

๑. อนิจจานุปัสสนา

      อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของรูปนาม ที่เนื่องมาจากการเห็นเป็นประจักษ์แห่งความเกิดขึ้นและดับไป ในขณะที่กำหนครู้รูปนาม อยู่นั้นแหละ ปัญญานี้ได้ชื่อว่า "อนิจจานุปัสสนา" 

      ดังนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบความต่างกันระหว่างคำว่า อนิจจะ อนิจจลักขณะ อนิจจานุปัสสนา

      อนิจจะ ธรรมที่ไม่เที่ยง

      อนิจจลักขณะ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง

      อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนื่องๆ ในรูปนามขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยา ขณะที่กำหนครู้รูปนามขันธ์ ๕ หรือ กายใจ ดังที่วิสุทธิมรรคแสดงว่า 

     "อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ ฯ กสฺมา ฯ อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา, อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ หุตฺวา อภาวสงฺขาโต วา อาการวิกาโร ฯ" (มาในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิวัณณนา) 

     "นิพฺพตฺตานิ เอเตเนวากาเรน อฐตฺวา ขณภงฺเคน เภโทติ อตฺโถ, อนิจฺจานุปสฺสนาติ ตสฺสา อนิจฺจตาย วเสน รูปาทีสุ อนิจฺจนฺติ อนุปสฺสนา ฯ" (มาในอานาปานัสสติวัณณนา) 

      รูปนาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า "อนิจจัง" เพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปด้วยความเกิดดับ และเป็นอย่างอื่น (ชรา) หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือ ความเป็นไปที่มีอาการผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับและเป็นอย่างอื่น (ชรา) ชื่อว่า "อนิจจลักขณะ" หรืออีกนัยหนึ่งอาการเป็นไปที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า "อนิจจลักขณะ" หมายเอาความสลายด้วยการดับไปแห่งรูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ตั้งอยู่ในอาการนั้นอย่างเดียว (นั่นแหละเรียกว่า อนิจจลักขณะ) การพิจารณาเห็นในรูปธรรมเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักขณะนั้น ได้ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา

      อนิจจลักขณะทั้ง ๒ มี "อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ" และ "หุตฺวา อภาว" ที่ได้กล่าวแล้วนี้ ลักขณะที่ ๒ คือ "หุตฺวา อภาว" เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีเหลือ เป็นลักขณะที่ประเสริฐสำคัญกว่าลักขณะที่ ๑ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะลักขณะที่ ๒ นี้ จะมีการปรากฏชัดแก่ปัญญาของพระโยคี ในเมื่อวิปัสสนาญาณเบื้องบนตั้งแต่ภังคญาณเกิดเป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาเห็นรูปนาม โดยความเป็นอนิจจังตามลักขณะที่ ๒ แล้ว ก็กล่าวได้ว่า อนิจจานุปัสสนานี้ได้เจริญดียิ่งเป็นพิเศษ เหตุนั้นพระอาจารย์อานันทเถระ จึงได้แสดงไว้ในวิภังคมูลฎีกาว่า :-

      "หุตฺวา อภาวฏฺเฐนาติ อิทํ อิตเรสํ จตุนฺนํ อาการานํ สงฺคหํ กตฺวา วิสุํ วุตฺตํ" แปลความว่า อนิจจลักขณะทั้ง ๔ ที่นอกจาก "หุตฺวา อภาว" นั้น ย่อมรวมเข้าในอนิจจลักขณะที่เป็น "หุตฺวา อภาว" อยู่แล้ว ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงได้แสดงคำว่า "หุตฺวา อภาวฏฺเฐน" โดยเฉพาะ

      อธิบายว่า พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงใว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า "รูป นามขันธ์ ๒ นี้ เป็นอนิจจัง เพราะมีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีเหลือ (หุตฺวา อภาว)" แล้วได้แสดงต่อไปว่า ยังมีลักขณะอีก ๔ ประการ ในการที่จะทำให้รู้ได้ว่า รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ลักขณะ ๔ อย่างนั้นคือ

      ๑. อุปฺปาทวยวนฺตตฺตา มีการเกิด ดับ เป็นที่สุด

      ๒. วิปริณาม มีการเปลี่ยนไป ไม่คงที่

      ๓. ตาวกาลิก ตั้งอยู่ชั่วขณะ

      ๔. นิจฺจปฏิกฺเขป มีการปฏิเสธความเที่ยง

      ลักขณะทั้ง ๕ (รวมทั้ง หุตฺวา และอภาว) อันเป็นเครื่องหมายที่จะให้รู้ได้ว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังนี้ พระอรรถกถาจารย์หาได้ยกมาแสดงพร้อมกันทั้ง ๕ อย่างไม่ คงยกมาแสดงเฉพาะแต่คำว่า "หุตฺวา อภาว" อย่างเดียวขึ้นไว้เป็นประธานเท่านั้น การที่ท่านมิได้ยกลักขณะอีก ๔ มาแสดงพร้อมกันไปด้วยนั้น ก็เพราะว่าลักขณะทั้ง ๔ มี "อุปฺปาทวยวนฺตตฺตา" เป็นต้นนี้ได้รวมอยู่ในลักขณะ "หุตฺวา อภาว" อยู่แล้ว หมายความว่า เมื่อพระโยดีบุคคลได้พิจารณาเห็นรูปนาม โดยความเป็นอนิจจัง ตามลักขณะ "หุตฺวา อภาว" เวลาใด เวลานั้น ก็มีความรู้ในลักขณะทั้ง ๔ นี้ไปด้วย

      ธรรมเหล่าใด มีปัจจัย ๔ ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า "สังขตะ" ธรรมดาสังขตธรรมทั้งหลายย่อมมีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (อุปปาทะ, ฐีติ,ภังคะ) อันเป็นสังขตลักขณะ เครื่องหมายที่ให้รู้จำได้ว่านี้เป็นสังขตธรรม และอุปปาทะ ฐีติ ภังคะ ทั้ง ๓ นี้เรียกว่า ชาติ ชรา มรณะ (เกิด แก่ ตาย) ก็ได้สั่งขตะ และสังขตลักขณะทั้ง เ๒  นี้ เมื่อว่าโดยการพิจารณาเห็นของวิปัสสนาญาณแล้ว สังขตธรรมเป็นอนิจจัง สังขตลักขณะเป็นอนิจจลักขณะ เหตุนั้น อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ แต่ละขณะๆ นี้ จึงเป็นอนิจจลักขณะด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับภังคขณะ นั้นมีการแสดงถึงความไม่เที่ยงให้ปรากฏเด่นชัดอย่างสมบูรณ์ถูกต้องตามลักขณะที่ได้ชื่อว่า อนิจจัง ยิ่งกว่าขณะทั้ง ๒ นั้น ดังนั้น

      ถ้าหากว่ามีการพิจารณาเห็นแต่เพียงแค่อุปปาทขณะ ฐีติขณะ ทั้ง ๒ ส่วนภังคขณะยังมิได้มีการรู้เห็นแต่ประการใด การพิจารณาเห็นเช่นนี้ยังไม่จัดว่าได้รู้เห็นอย่างแท้จริงในความเป็นอนิจจัง เพียงแต่กล่าวได้ว่า มีการอนุมานเอาเองว่า ธรรมเหล่านี้เมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้ว ก็จะต้องมีการดับไป ถ้ามีการดับ ธรรมเหล่านี้เป็นอนิจจัง 

      การอนุมานเอาเองเช่นนี้หาใช่เป็นการรู้เห็นในความเป็นอนิจจังที่แท้ไม่ ต่อเมื่อไค้พิจารณาเห็นภังคขณะของสังขตธรรมโดยชัดเจนอย่างสมบูรณ์แล้ว ในขณะนั้นแหละจึงจะได้ชื่อว่ามีการรู้เห็นความเป็นอนิจจังที่แท้จริงได้ เหตุนี้พระอรรถกถาจารย์จึงได้ขยายในคำว่า "หุตฺวา อภาว" ที่แสดงถึง อนิจจลักขณะต่อไปด้วยคำว่า "ขณภงฺเคนเภโท" ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะประสงค์ที่จะให้รู้ถึงความเป็นเยี่ยมส่วนหนึ่ง ในอนิจจลักขณะ ดังที่พระอาจารย์ธรรมปาลเถระ แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า "กิญฺจาปี อุปฺปาทาทิ ติวิธมฺปิ สงฺขตลกฺขณตฺตาย อนิจฺจลกฺขณํ ตถาปี ชาติชราทีสุ น ตถา อนิจฺจลกฺขณํ ปากฏํ  หุตฺวา อุปฺปฏฺฐาติ ยถาวยกฺขเณติ อาห ภงฺโค นามอนิจฺจตาย ปรมา โกฎีติ ฯ" ขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้น แม้ว่าจะเป็นอนิจจลักขณะ โดยความเป็นเครื่องหมายของสังขตธรรมด้วยกันก็จริง แต่กระนั้นก็ตาม ขณะเกิดและขณะแก่นั้น อนิจจลักขณะหาใช่ปรากฏชัดเหมือนกับขณะดับไม่ ด้วยเหตุนี้ พระธรรถกถาจารย์จึงได้กล่าวว่า ขณะดับนั้นแหละเป็นธรรมส่วนเยี่ยมในอนิจจลักขณะ


อนิจจานุปัสสนา แท้ และ เทียม

      ธรรมที่เป็น อนิจจัง และ อนิจจลักขณะ ทั้ง ๒ นี้ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่า มีความต่างกัน แต่กระนั้นก็ตามถ้าได้มีการกำหนดรู้ในอนิจจธรรม คือ รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าแล้ว  นิจจลักขณะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ย่อมจะปรากฏ แล้วเห็น โดยความเป็นอนิจจังในขณะนั้นพร้อมกันไปด้วย การรู้เห็นในความเป็นอนิจจังด้วยการกำหนดรู้อยู่เช่นนี้แหละเรียกว่า "อนิจจานุปัสสนาแท้" ถ้าหากว่ามิได้มีการกำหนดรู้ในอนิจจธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าแต่ประการใด เพียงแต่ทำการนึกดิดพิจารณาไปในอนิจจลักขณะ ด้วยการบริกรรมว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา" สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อันเป็นบัญญัติอนิจจะอยู่อย่างนี้ อนิจจลักขณะไม่มีโอกาสที่จะปรากฏได้ การปฏิบัติดังนี้เรียกว่า "อนิจจานุปัสสนาเทียม" ดังที่ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า :

      ๑. วุฏฺฐานคามินี ปน วิปสฺสนา กิมารมฺมณาติ ? ลกฺขณารมฺมณาติ,

      ๒. ลกฺขณํ นาม ปญฺญตฺติคติกํ นวตฺตพฺพธมฺมภูตํ,

      ๓. โย ปน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาติ ตีณิ ลกฺขณานิ สลฺลกฺเขติ ตสฺส ปญฺจกฺขนฺธา กณฺเฐ พทฺธกุณปํ วิย โหนฺติ,

      ๔. สงฺขารารมฺมณเมว ญาณํ สงฺขารโต วุฏฺฐาติ,

      ๕. ยถา  เอโก ภิกฺขุ ปตฺตํ กินิตุกาโม ปตฺตวาณิเชน ปตฺตํ อาภตํ ทิสฺวา หฏฺฐปหฏฺโฐ คณหิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา วีมํสมาโน ตีณิ ฉิทฺทานิ ปสฺเสยฺย,

      ๖. โส น ฉิทฺเทสุ นิราลโย โหติ, ปตฺเต ปน นิราลโย โหติ,

      ๗. เอวเมว ตีณิ ลกฺขณานิ สลฺลกฺเขตฺวา สงฺขาเรสุ นิราลโย โหติ, สงฺขารา รมฺมเณเนว ญาเณน สงฺขารโต วุฏฺฐาตีติ เวทิตพฺพํ,

      ๘. ทุสฺโสปมายปี เอเสว นโย ฯ 

แปลความว่า

      ๑. ถามว่า "วุฏฺฐานคามินีวิปัสสนา" คือ สังขารุเปกขาญาณเบื้องปลายและอนุโลมญาณนั้นมีอะไรเป็นอารมณ์ (เพราะมีข้อสงสัยอยู่ว่า วุฏฺฐานคามินีวิปัสสนานี้ มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีลักขณะ ๓ เป็นอารมณ์ ถ้ามีสังขารธรรม เป็นอารมณ์แล้ว ลักขณะ ๓ ก็เป็นอารมณ์ไม่ได้ ถ้ามีลักขณะ ๓ เป็นอารมณ์ก็ไม่น่า จะกล่าวว่า "โคตรภูและมรรค" นี้ พ้นจากอารมณ์ที่เป็นสังขารธรรม ควรจะกล่าวว่า "โคตรภูและมรรค" นี้ พ้นจากอารมณ์ไตรลักษณ์ เหตุนี้จึงได้ตั้งคำถามนี้ขึ้น) ตอบว่า "วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์"

      ๒. ตามธรรมดาไตรลักษณ์นั้นมีสภาพเป็นบัญญัติ หาใช่เรียกว่าเป็นกามธรรม มหัคคตธรรม โลกุตตรธรรมแต่ประการใดไม่

      ๓. แต่ผู้ใดได้กำหนดรู้เห็นไตรลักษณ์ มีอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะอนัตตลักขณะอยู่ ขันธ์ ๕ ที่เกี่ยวกับไตรลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่กำหนดรู้เห็นไตรลักษณ์นี้ ก็ย่อมจะปรากฎแก่วิปัสสนาญาณของผู้นั้นเป็นประดุจ ซากงู ซากสุนัขเน่าผูกห้อยอยู่ที่คอ

      ๔. เหตุที่พิจารณาเห็นไตรลักษณ์อยู่นั้นก็พ้นไปจากอารมณ์ที่เป็นสังขารธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕

      ๕. ข้อนี้มีอุปมาว่า ภิกษุรูปหนึ่งไปหาซื้อบาตร ได้เห็นบาตรที่เจ้าของร้านนำมาให้ชม รู้สึกมีความพอใจคิดว่าจะซื้อบาตรนี้ แล้วจึงตรวจดูอย่างถี่ถ้วนก็ได้เห็นบาตรนั้นมีรูทะลุ ๓ รู ความพอใจต้องการที่จะซื้อก็หมดไป

      ๖. ในการที่ความพอใจอาลัยรักใคร่พัวพันหมดไปนั้น ภิกษุรูปนั้นหาใช่หมดความพอใจอาลัยรักใคร่พัวพันในรูทะลุนั้นก็หามิได้ หากแต่หมดความพอใจอาลัยรักใคร่พัวพันในบาตรนั้นต่างหาก

      ๗. ข้ออุปมานี้ฉันใค เมื่อพิจารณารู้เห็นไตรลักษณ์แล้ว ความพอใจอาลัยรักใคร่พัวพันอยู่ในสังขารธรรมก็หมดลง เพราะฉะนั้น "โคตรภูและมรรคญาณ ที่เกิดต่อจากวุฏฐานคามินีวิปัสสนานั้นก็พ้นไปจากอารมณ์ ที่เป็นสังขารธรรมด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณที่มีสังขารธรรมพร้อมด้วย ไตรลักษณ์เป็นอารมณ์"

      ๘. บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบเนื้อความดังนี้ พร้อมด้วยข้ออุปมาด้วยการซื้อผ้าที่มีรอยขาด ๆ แห่ง ก็เช่นกัน

พระอาจารย์อานันทเถระก็ได้แสดงไว้ในอัฏฐสาลินีมูลฎีกาว่า

      ๑. อนิจฺจนฺติ อาทินา สงฺขาเรสุ ปวตฺตมาเนน ญาเณน ลกฺขณานิปี ปฏิวิทฺธานิ โหนฺติ,

      ๒. ตทาการสงฺขารคฺคหณโตติ อาห ลกฺขณารมฺมณาติ,

      ๓. สงฺขารมฺมณา เอว ยถาวุตฺตาธิปฺปาเยน ลกฺขณารมฺมณาติ วุตฺตาติ ทสฺเสนฺโต ลกฺขณํ นามาติ อาทิมาห,

      ๔. อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตาติ หิ วิสุ คยฺหมานํ ลกฺขณํ ปญฺญตฺติ คติกํ ปรมตฺถโต อวิชฺชมานํ,

      ๕. อวิชฺชมานตฺตา เอว ปริตฺตาทิวเสน น วตฺตพฺพธมฺมภูตํ,

      ๖. ตสฺมา วิสุํ คเหตพฺพสฺส ลกฺขณสฺส ปรมตฺถโต อภาวา อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตาติ สงฺขาเร สภาวโต สลฺลกฺเขนฺโตว ลกฺขณานิ นามาติ อาห โย ปน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาติ ตีณิ ลกฺขณานิ สลฺลกฺเขตีติ,

      ๗. ยสฺมา จ อนิจฺจนฺติ อาทินา สงฺขาราว ทิสฺสมานา ตสฺมา เต กณฺเฐ พทฺธกุณปํ วิย ปฏินิสฺสชฺชนียา โหนฺติ ฯ

แปลได้ความว่า -

      ๑. ได้รู้แจ้งแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณที่พิจารณาเห็นในสังขารธรรมโดยความเป็นอนิจจัง เป็นต้น

      ๒. ถามว่า เหตุใดจึงได้รู้แจ้งแทงตลอดไตรลักษณ์ ? ตอบว่า เพราะมีการกำหนดรู้เห็นสังขารธรรมที่มีอาการทั้ง ๓ คือ นิจจลักขณะ ทุกขลักขณะอนัตตลักขณะ ดังนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า "วุฎฐานคามินีวิปัสสนาญาณมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์"

      ๓. ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วว่า "วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ" ที่มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์นั่นแหละ มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้นพระอรรถกถาจารย์เมื่อมีความประสงค์จะแสดงเรื่องนี้จึงกล่าวต่อไปว่า "ลกุขณํ นาม" เป็นต้น หมายความว่า ความเป็นไปแห่งการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ของวุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณนี้หาใช่ว่าพิจารณาไตรลักษณ์ในสังขารธรรม โดยทำนองบริกรรมว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา" เป็นต้น แล้วเห็นไตรลักษณ์ดังนี้ก็หามิได้ หากแต่มีการพิจารณาสังขารธรรมที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วต่อมาไตรลักษณ์ก็ปรากฎขึ้น

      ๔. อธิบายในคำว่า "ลกฺขณํ นาม" เป็นต้น ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้คือไตรลักษณ์ ที่พระโยคีพิจารณาเอาโดยฉพาะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกำหนดรู้รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นมีสภาพเป็นบัญญัติ ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ

      ๕. เหตุที่พิจารณาไตรลักษณ์เอาโดยเฉพาะไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ นั่นแหละจึงกล่าวไม่ได้เลยว่าเป็นกามธรรมแต่อย่างใด

      ๖. ด้วยเหตุที่พิจารณาไตรลักษณ์เอาโดยเฉพาะ มิได้มีการกำหนดรู้รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าซึ่งเป็นไตรลักษณ์ที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ ส่วนผู้ที่พิจารณากำหนดสังขารธรรม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามสภาวะที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าเท่านั้น จึงจะเรียกว่าได้กำหนดรู้เห็นไตรลักษณ์ เหตุนี้แหละพระอรรกถาจารย์จึงได้แสดงว่า "โย ปน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาติ ตีณิ ลกฺขณานิ สลฺลกฺเขติ"

      ๓. เหตุที่พระโยคีบุคคลได้พิจารณากำหนดรู้เห็นสังขารธรรมรูปนามเหล่านี้ โดยความเป็นอนิจจัง เป็นต้นนั้นแหละ เหตุนั้นพระโยคีบุคคลนั้นจึงได้สละ สลัดสังขารธรรม รูปนาม เหล่านี้ทิ้งเสียให้ห่างไกลประดุจดังได้ปลดซากงูชากสุนัขเน่าผูกห้อยอยู่ที่คอออกขว้างทิ้งไปให้ไกล ฉันนั้น

      เมื่อสรุปแล้วคงได้ความตามอรรถกถาและฎีกาว่า ปัญญาที่พิจารณาเห็นอนิจจลักขณะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาศัยการกำหนดรู้ในสังขารธรรม รูปนาม ตามสภาวะที่เกิดอยู่เฉพาะหน้านั้นแหละได้ชื่อว่า "อนิจจานุปัสสนา"

      ก็การกำหนดระยะ "อนุปัสสนาญาณ" ของพระโยคีที่เข้าถึงความเป็น "อนิจจานุปัสสนา" และการกำหนดรู้เห็น "ไตรลักษณ์" เป็นคนละขณะ

      ปัญญาที่กำหนดรู้ในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าติดต่อกันเสมอไม่ขาดสาย ปัญญานี้ได้ชื่อว่า "อนุปัสสนาญาณ" และ "อนุปัสสนาญาณ" นี้แม้ว่า จะได้เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณที่เป็นญาตปริญญาแล้วก็ตาม แต่หาได้เรียกว่าเป็น "อนิจจานุปัสสนา" เป็นต้นไม่เพราะเพียงแต่เป็นการรู้เห็นในสังขารธรรม รูปนาม และเหตุ-ปัจจัยของ รูปนาม ที่มีอยู่ตามธรรมเท่านั้น ต่อเมื่ออนุปัสสนาญาณ นี้ได้เข้าสู่ขั้นวิปัสสนาญาณเบื้องบนมีสัมมนญาณเป็นต้นไปแล้ว จึงจะเรียกว่า เป็น อนิจจานุปัสสนา, ทุกขานุปัสสนา, อนัตตานุปัสสนา, อย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้วแต่การกำหนดพิจารณารู้เห็นของพระโยดีบุคคล, กล่าวคือถ้ามีการกำหนดพิจารณารู้เห็นในสังขารธรรม รูปนาม โดยความไม่คงที่ถาวรก็เรียกว่า อนิจจานุปัสสนาไม่เรียกว่า ทุกขานุปัสสนาหรืออนัตตานุปัสสนา ถ้าพิจารณารู้เห็นโดยความเป็นทุกข์ก็เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา ถ้าพิจารณารู้เห็น โดยความเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ก็เรียกว่า อนัตตานุปัสสนา ดังนั้นพระอาจารย์อานันทเถระจึงได้แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนีขมูลฎีกา ว่า

      ๑. อนิจฺจาทีหิ นิจฺจลกฺขณาทีนํ อญฺญตฺตวจนํ รุปฺปนาทิวเสน ปวตฺตรูปาทิคฺคหณโต วิสิฏฺฐสฺส อนิจฺจาทิคฺคหณสฺส สพฺภาวา.

      ๒. น หิ นามรูปปริจฺเฉทมตฺเตน กิจฺจสิทฺธิ โหติ อนิจฺจาทโย จ รูปาทีนํ อาการา ทฏฺฐพฺพา.

      ๓. อนิจฺจนฺติ จ คณฺหนโต ทุกฺขํ อนตฺตาติ น คณฺหาติ ตถา ทุกฺขาทิคฺคหณํ อิตรสฺสาคฺคหณํ ฯ

แปลความว่า - 

      ๑. การที่แสดงความเป็นอย่างอื่นของอนิจจลักขณะเป็นต้น ที่นอกจากรูปนามขันธ์ ๕ ที่เป็นอนิจจะ เป็นต้นนั้น ก็เพราะว่ามีการพิจารณาเห็นอนิจจลักขณะเป็นต้น ที่เป็นพิเศษออกไปจากการกำหนดรู้ รูปนาม ที่กำลังเป็นไปอยู่ตามรุปปนลักขณะ ความสลายไป นมนลักขณะ การน้อมไปสู่อารมณ์อยู่นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้

      ๒. ความจริง การกำหนดรู้ของพระโยคีที่สำเร็จเป็น อนิจจานุปัสสนา,ทุกขานุปัสสนา, อนัตตานุปัสสนา, โดยอาศัยเพียงแต่การรู้เห็นในรูปนามเท่านั้น ยังหาเป็นความสำเร็จไม่ ควรต้องพิจารณาอาการทั้ง ๓ ของรูปนาม ที่มีอนิจจลักขณะเป็นต้นด้วย จึงจะสำเร็จเป็นอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น

      ๓. พระโยคีบุคคลที่กำหนดรู้เห็นสังขารธรรมรูปนาม ว่าเป็นอนิจจังอยู่นั้น เวลานั้นไม่มีการกำหนดรู้เห็นว่าเป็น ทุกขัง, อนัตตา แต่ประการใด โดยทำนองเดียวกันเมื่อได้กำหนดรู้เห็นว่าเป็นทุกขัง เป็นต้นอยู่ ก็ไม่มีการกำหนดรู้เห็นว่าเป็นอนิจจัง,อนัตตา ที่เหลืออีกสองแต่ประการใดเช่นกัน (หมายความว่ารู้เห็นลักขณะทั้ง ๓ พร้อมกันไม่ได้) นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้

      สรุปความในบาลีข้อที่ ๑ และที่ ๒ ว่าวิปัสสนาญาณที่กำหนดพิจารณารู้เห็นในสังขาร ธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะและวิปัสสนาญาณที่กำหนด พิจารณารู้เห็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรม รูปนามอยู่นั้นหาใช่เป็นอันเดียวกันไม่ หากแต่เป็นคนละอย่าง ถ้าวิปัสสนาญาณทั้ง ๒ นี้เป็นอันเดียวกันแล้ว เมื่อพระโยดีบุคคลกำหนดรู้เห็นสังขารธรรม รูปนาม คือนามรูปปริเฉทญาณ ปัจายปริคคหญาณอันเป็นญาตปริญญานั้น ก็จักมีการได้รู้เห็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรม รูปนาม ไปด้วย แต่นี่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ พระโยคีบุคคลจะต้องเจริญวิปัสสนาญาณเบื้องบนมีสัมมสนญาณเป็นต้น ที่เป็นตีรณปริญญาต่อไป จึงจะมีการรู้เห็นในไตรลักษณ์ของสังขารธรรม รูปนาม เหตุนี้พระอรรถกถาจารย์จึงได้แสดงไตรลักษณ์ที่นอกจากสังขารธรรม รูปนาม ที่เป็น อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา ไว้โดยเฉพาะอีก


ข้อปฏิบัติที่ทำให้สันตติบัญญัติขาด มนบัญญัติแตก

เพื่อวิปัสสนาญาณได้เข้าถึง อนิจจานุปัสสนา ที่แท้จริง

      เมื่อพระโยคีบุคคลได้กำหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่กำบัง ปกปิดการเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ก็ขาดแตกไป เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ เกิดขึ้นเวลาใด เวลานั้น วิปัสสนาญาณของพระโยคีบุคคลก็เข้าถึงความเป็น "อนิจจานุปัสสนา" เป็นต้น ได้

       อธิบายว่า ผู้ที่ไม่มีการกำหนดรู้ในสังขารธรรม รูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าทุกๆ ระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังขารธรรม รูปนามเลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้ว คงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่นเมื่อได้เห็นสีก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือนผ้าผ่อน, เมื่อได้ยินเสียงก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นเสียงขาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้, เมื่อได้กลิ่น ก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระปัสสาวะ, เมื่อลิ้มรสก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นรสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล, เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง, หย่อน, ตึง, ก็คงรู้คงเข้าใจไปแต่เรื่องต่างๆ ว่านี้เป็นน้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ, สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน, ยุบ พอง ร่างกาย หย่อนเบา แข็ง ตึง หนัก, ยกมือ ยกขา เหยียดมือ เหยียดขา ดังนี้เป็นต้น, นี้ก็เป็นด้วยสันตติบัญญัติและฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆ และอารัมมณิกวิถีจิตภายในเอาไว้นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจเป็นไปดังนี้ เรียกว่า "สันตติบัญญัติ" ไม่ขาด และ "ฆนบัญญัติ" ก็ไม่แตก

      แต่ตามความเป็นจริงนั้นขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือการเห็นนั้นเล่าก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดขึ้นแทนติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูผู้เห็นก็เข้าใจผิดไป ในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กำลังเห็นอยู่ก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังๆ คงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี, กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ดี, รสกับการรู้ รสก็ดี, เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสเหล่านี้ก็ดีมีสภาพเช่นกัน คือเก่าดับไปใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ

      การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเป็น "สันตติบัญญัติ" การเกิดขึ้นสืบต่อกันมีสภาพไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิต ภายในนั้นแหละคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มเป็นก้อนนี้เป็น "ฆนบัญญัติ" ในบัญญัติ ๒ ประการนี้เมื่อ "สันตติบัญญัติ" ปรากฏในใจ "ฆนบัญญัติ" ก็ปรากฏในใจด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้ง ๒ อย่างว่า "สันตติฆนบัญญัติ" ก็ได้ สันตติมนบัญญัติได้กำบังปกปิดไว้ดังกล่าวแล้วนี้แหละ จึงทำให้ผู้ที่ไม่มีสติกำหนดรูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีการรู้เห็นความเกิด-ดับ ที่เป็น "อนิจจลักขณะ" ได้

      ฝ่ายผู้ที่ทำการกำหนดสังขารธรรม รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติที่กำบังปกปิด การเกิดดับของสังขารธรรม รูปนาม ไปได้ ด้วยการกำหนดรู้เห็นวิถีจิตที่เกิดก่อนและวิถีจิตที่เกิดทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ, ปวด, ดีใจ, เสียใจ, คิดนึกต่างๆเหล่านี้นั้นขาดลงเป็นตอนๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านรูปก็คงกำหนดรู้เห็นรูปที่เกิดก่อน และรูปที่เกิดทีหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น, ยุบลง, หายใจเข้า, หายใจออก, ยกมือ, ยกขา, ก้าวไปช้างหน้า, ถอยมาข้างหลัง, ลุกขึ้น, นั่งลง, เหลียวซ้าย, แลขวา, กะพริบตา, อ้าปาก, เหล่านี้ก็ขาดเป็นตอนๆ มิใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, การรู้เห็นในวิถีและอารมณ์เป็นตอนๆ ดังนี้แหละเรียกว่า สันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติแตก อนิจจลักขณะคือ ความเกิดขึ้นดับไปก็ปรากฎขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นได้เข้าถึงความเป็น "อนิจจานุปัสสนา" ที่แท้จริง

      ครั้นวิปัสสนาญาณได้เข้าถึงความเป็น อนิจจานุปัสสนา อย่างแท้จริงแล้วการกำหนดรู้ในอิริยาบถใหญ่น้อย ลมหายใจเข้าออก การเห็นการ ได้ยิน เมื่อยปวด ดีใจ เสียใจ คิดนึกเหล่านี้นั้น ในระยะนี้ พระโยคีบุคคลอาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาโดยทำความไว้ในใจถึงความไม่เที่ยงๆ ดังนี้ก็ได้ (ในทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนาที่แท้เกิดขึ้นก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาทำไ ว้ในใจถึงความเป็นทุกข์ๆ อนัตตาๆไม่ใช่เราเขาๆ ดังนี้ได้เช่นกัน) แต่ทว่าการเปลี่ยนไปพิจารณาดังนี้นั้นหามีความสำคัญแต่อย่างใดไม่ ความสำกัญอยู่ที่การพิจารณาเห็น "อนิจจลักขณะ" เป็นต้นทุกๆ ระยะในขณะที่มีการกำหนดรู้อยู่เท่านั้น ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะว่า "อนิจจลักขณะ" มิได้ปรากฎเนื่องมาจากอสัปปายะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับจิตใจนั้นคงรู้เห็น "อนิจจลักขณะ" ด้วยอำนาจสัญญาที่เกิดจากการน้อมนึกไปตามมนสิการถึงความไม่เที่ยงๆ เท่านั้น แล้วก็เข้าใจผิดไปว่าตนได้รู้เห็น "อนิจจลักขณะ" ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นการเปลี่ยนมาพิจารณาดังนี้จึงไม่มีความสำคัญ การอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้จะพึงเห็นได้จากคำของพระอรรถกถา ฎีกาที่ท่านพรรณนาไว้ดังต่อไปนี้. 

ใน วิสุทธิมรรค ตอนนิเทศปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ท่านแสดงว่า - 

      ๑. อนิจฺจลกฺขณํ ตาว อุทยพฺพยานํ อมนสิการา สนฺตติยา ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ ฯ

      ๒. อุทยพฺพยํ ปน ปริคฺคเหตฺวา สนฺตติยา วิโกปีตาย อนิจฺจลกฺขณํ ยาถาวสรสโต อุปฏฺฐาติ ฯ 

แปลว่า-

      ๑. อนิจจลักขณะที่พระองค์ทรงเทศนาเป็นอันดับแรกย่อมไม่ปรากฎเพราะไม่มีการพิจารณาเห็นการเกิดดับและสันตติบัญญัติปกปิดไว้ก่อน

      ๒. แต่เมื่อมีการกำหนดพิจารณาซึ่งความเกิดดับแล้ว ก็ได้ทำลายสันตติบัญญัติขาดลง อนิจจลักขณะก็ปรากฎตามสภาพของตนๆ อย่างแท้จริง

ใน วิสุทธิมรรคมหาฎีกา ท่านแสดงว่า - 

      ๑. สนฺตติยา หิสฺส ปฏิจฺฉนฺนตฺตา อนิจฺจลกฺขณํ น อุปฏฺฐาติ สาจสนฺตติ อุทยพฺพยามนสิกาเรน ปฏิจฺฉาทิกา ชาตา ฯ

      ๒. อุทยพฺพยํ ปสฺสโต น อุทยาวตฺถา วยาวตฺถึ ปาปุณาติ วยาวตฺถา วา อุทยาวตฺถํ อญฺโญว อุทยกฺขโณ อญฺโญ วยกฺขโณติ เอโกปี ธมฺโม ขณวเสน เภทโต อุปฏฺฐาติ ปเคว อตีตาทิโกติ อาห อุทยพฺพยํ ปน ฯลฯ อุปฏฺฐาตีติ ฯ

      ๓. ตตฺถ สนฺตติยา วิโกปีตายาติ ปุพฺพาปริเยน ปวตฺตมานานํ ธมฺมานํ อญฺโญญฺญภาวลกฺขเณน สนฺตติยา อุคฺมาฏิตาย น หิ สมฺมเทว อุทยพฺพยํ สลฺลกฺเขน ตสฺส ธมฺมา สมฺพนฺธภาเวน อุปฏฺฐหนฺติ ฯ

      ๔. อถโข อโยสลากา วิย อสมฺพนฺธภาเวนาติ สุฏฺฐุตรํ อนิจฺจลกฺข ปากฏํ โหติ ฯ  


แปลความว่า

      ๑. อนิจจลักขณะไม่ปรากฏแก่ผู้ที่ไม่มีการกำหนดพิจารณาสังขาร ธรรมรูปนาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า เพราะสันตติบัญญัติปกปิดไว้ การเกิดสืบต่อกันแห่งรูปนามนี้มีการปกปีดอนิจจลักขณะ เพราะไม่มีการกำหนดพิจารณาการเกิดดับ

      ๒. ผู้ที่กำหนดพิจารณาเห็นการเกิดดับอยู่นั้น ขณะเกิดก็ไม่ถึงขณะดับๆ ก็ไม่ถึงขณะเกิด ขณะเกิดปรากฎเป็นอย่างหนึ่ง ขณะดับปรากฎเป็นอย่างหนึ่งไม่ปะปนกัน แม้ในรูปอันหนึ่งหรือนามอันหนึ่งก็ปรากฎเป็นคนละอย่างในขณะเกิดและในขณะดับดังที่กล่าวมานี้ สำหรับรูปนามที่เป็นอดีตและอนาคต คือ อดีตกับปัจจุบัน ปัจจุบันกับอนาคตนั้น ไม่มีข้อที่น่สงสัยต้องปรากฏโดยเฉพาะๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นพระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า "อุทยพุพยํ ปน ฯลฯ อุปฏฺฐาติ"

      ๓. ในคำของพระอรรถกถาจารย์ที่กล่าวว่า "สนฺตติยา วิโกปีตาย" (ทำลายสันตติบัญญัติขาคลง) นั้นอธิบายว่า เมื่อได้เพิกการเกิดขึ้นสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย ด้วยการกำหนดรู้เห็นความเป็นไปแห่งรูปนามที่เกิดก่อนและเกิดหลังโดยเฉพาะๆ นั้นความจริงมีอยู่ว่า ผู้ที่ทำการกำหนดพิจารณาความเกิดดับติดต่อกันโดยถูกต้องอย่างสมบูรณ์อยู่นั้น รูปนามเหล่านี้จักปรากฎเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ได้

      ๔. ซึ่งความจริงนั้น รูปนามเหล่านี้ คงปรากฎเป็นคนละระยะไม่ปะปนกันอยู่แล้ว เสมือนหนึ่งเส้นเหล็กที่เขามัดรวมไว้เป็นมัดหนึ่งๆ คงปรากฎเป็นเส้นๆ โดยเฉพาะๆ ไม่ปะปนกัน ฉะนั้น อนิจจลักขณะจึงปรากฏชัดดีมากทีเดียว

      อนึ่ง ที่วิสุทธิมรรคมหาฎีกากล่าวว่า "ปเคว อตีตาทิโก" สำหรับรูปนามที่เป็นอดีตและอนาคตคืออดีตกับปัจจุบัน ปัจจุบันกับอนาคตนั้นไม่มีข้อที่น่าสงสัยต้องปรากฏโดยเฉพาะๆ อย่างแน่นอน  ข้อนี้หมายถึงการพิจารณาเห็นอนิจจลักขณะในรูปนามที่เป็นอดีตอนาคตนั้น หาใช่พิจารณาเห็นเป็นประจักษ์ไม่เพียงแต่เป็นการรู้เห็นโดยอานุภาพเรียกว่า อนุมานอนิจจานุปัสสนาหรือ อนุวยอนิจจานุปัสสนา สำหรับการพิจารณาเห็นอนิจจลักขณะในรูปนามที่เป็นปัจจุบัน คือ เกิดอยู่เฉพาะหน้านั้นเป็นการพิจารณารู้เห็นโดยประจักษ์เรียกว่า "ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา"


ธรรมที่ถูกประหาณด้วยอนิจจานุปัสสนา

      เมื่อวิปัสสนาญาณได้รู้เห็น "อนิจจลักขณะ" ตามสภาวะแล้ว สัญญาความจำหมายว่าเที่ยงคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่เป็นนิจจสัญญาวิปัลลาสก็หายไป เมื่อนิจจสัญญาวิปัลลาสหายไป นิจจทิฏฐิวิปัลลาส นิจจจิตวิปัลลาสทั้ง ๒ ก็บรรเทาเบาลงไปด้วย พร้อมกันนั้นเองก็มีการประหาณกิเลสวัฏ กัมมวัฏ วิปากวัฏ ที่เนื่องมาจากนิจจสัญญาวิปัลลาสอันจักเกิดต่อไปนั้นลงได้อีกตามสมควร 

      - กิเลสวัฏนั้นหมายเอา อวิชชาความหลงความไม่รู้ในสภาวะที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า และตัณหาความยินดีพอใจรักใคร่อยู่ในอารมณ์ อุปาทานความยึดมั่นในอารมณ์ด้วยอำนาจของโลภะและทิฏฐิ 

      - กัมมวัฏนั้นหมายเอาสังขาร คือการจัดแจงปรุงแต่งกาย วาจา ใจ ในสิ่งที่ดีและไม่ดี และกัมมภวะ คือเจตนากรรมที่เป็นไปทางกาย วาจา ใจ ในเรื่องที่ดีและ ไม่ดี 

      - วิปากวัฎนั้น หมายเอาวิญญาณนามรูป สพายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ

      อนึ่ง การปรากฏแห่ง "อนิจจานุปัสสนา" (ทุกขา-อนัตตานุปัสสนา) นี้ ถ้าว่าตามวิปัสสนาญาณแล้วจะปรากฏต่อเมื่อสัมมสนญาณและอุทยัพพยญาณเกิด แต่ยังไม่สมบูรณ์แท้เท่านั้นเพราะว่าในขณะนั้นยังมิได้มีการประหาณนิจจสัญญา ที่เนื่องด้วยสันตติฆนบัญญัติไม่ขาดแตกออกไป

      การประหาณวิปัลลาสธรรมต่างๆ ของ "อนิจจานุปัสสนา" ตามที่ได้บรรยายมานี้ปรากฎมีอยู่ในปฏิสัมภิทามรรคพระบาลีและวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า "อนิจฺจโต อนุปสฺสนฺโต นิจฺจสญฺญํ ปชหติ ฯ" แปลความว่า ผู้พิจารณาเห็นสังขารธรรม รูป นามโดยความเป็นอนิจจัง ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ และอนิจจานุปัสสนาที่แท้จริงนี้ เมื่อว่าตามวิปัสสนาญาณแล้ว จะต้องปรากฏมาถึงภังคญาณเป็นต้นไป อันเป็นปหานปริญญา จึงจะประหาณนิจจสัญญาลงได้ ด้วยอำนาจตทังคประหาณ 

      ๑. นิจฺจสญฺญนฺติ นิจฺจคาหํ สญฺญาสีเสน นิทฺเทโส สุขสญฺญํ อตฺตสญฺญนฺติ เอตฺถาปี เอเสว นโย ฯ

      ๒. นิจฺจสญฺญายาติ สงฺขตธมฺมา นิจฺจา สสฺสตาติ เอวํ ปวตฺตาย มิจฺฉาสญฺญาย สญฺญคฺคหเณเนว ทิฏฐิจิตฺตานมฺปี คหณํ ทฏฺฐพฺพํ เอส นโย อิโต ปราสุ ฯ" (วิสุทธิมรรคมหาฎีกา)

      ๑) ความยึดมั่นในสังขารธรรม รูปนามว่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงชื่อว่านิจจสัญญา คำว่า "นิจจสญญา" นี้เป็นคำที่แสดงยกสัญญาขึ้นไว้เป็นหัวหน้าเป็นประธาน ในคำว่า "สุขสัญญา อัตตสัญญา" ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้

      ๒) คำว่า "นิจฺจสญฺญาย" คือความยินดีพอใจด้วยนิจจสัญญานั้น อธิบายว่า ความยินดีพอใจด้วยมิจฉาสัญญา ความจำผิดไปในทำนองว่า สังขารธรรมคือรูป เสียงเป็นต้น และการเห็น การได้ยินดีเป็นต้นเหล่านี้เที่ยงอยู่เป็นนิจ ตั้งอยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบในข้อนี้ว่า เมื่อได้ยกคำว่า สัญญาขึ้นแสดง ทิฏฐิวิปัลลาสและจิตตวิปัลลาส ทั้ง ๒ นี้ก็เป็นอันว่าได้แสดงไปด้วย นอกจากนี้ในทุกขานุปัสสนาและ อนัตตานุปัสสนา ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้

      ถ้าจะถามว่ากิเลสต่างๆ มี "นิจจสัญญาวิปัลลาส" เป็นต้น ที่อนิจจานุปัสสนาได้ประหาณไปแล้วนั้นเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ? ตอบว่าไม่ใช่เป็นกาลใดๆ ทั้งสิ้นเป็นกาลวิมุตติกิเลส คือ อนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยความยังไม่ปรากฏเป็นสภาวปรมัตถ์

      จริงอยู่ ในบรรดากิเลสต่างๆ เหล่านั้น กิเลสที่เป็นอดีตก็ได้ดับไปแล้วในอนาคตก็ยังไม่เกิดเพียงแต่จักเกิดขึ้นเท่านั้น สำหรับปัจจุบันกิเลสนั้นเล่าก็ไม่มีเพราะในขณะนั้นมีแต่มหากุศลจิต คือ อนิจจานุปัสสนาเกิดอยู่ ดังนั้นกิเลสที่ได้ประหาณไปแล้วนั้น จะเรียกว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันแต่อย่างใดๆ ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น จึงเป็นกาลวิมุตติแห่งกิเลส คือ อนุสัยนั้นเอง (จะกล่าวว่า อนุสัยเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่ได้ เพราะอนุสัยไม่เคยเกิด แต่อนุสัย มีอยู่ โดยฐานะที่ยังละไม่ได้)

      ในบรรดากิเลสต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในกาล ๓ และพ้นจากกาล ๓ นั้น อนาคตกิเลสกับอนุสัยกิเลสนี้มีสภาพคล้ายๆ กันโดยความที่ยังไม่ปรากฏเป็นสภาวปรมัตถ์ แต่เมื่อว่าโดยการเกิดขึ้นแล้วก็ต่างกันคือ กิเลสที่จักเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเป็นอนาคตกิเลส ดังเช่น 

      - ในขณะที่มีความยินดีพอใจอยู่นั้น (โลภะ,โมหะกำลังเกิด) ในขณะนั้นกิเลสอื่นๆ (กิเลสอีก ๘ ชนิด) นอกจากโลภะ โมหะนี้เป็น "อนาคตกิเลส" เพราะว่าจักเกิดต่อไปอย่างแน่นอน  

      - ขณะที่มีความกลุ้มใจเสียใจโกรธเคืองอยู่นั้น (โทสะ โมหะ กำลังเกิด) ในขณะนั้นกิเลสอื่นที่นอกจากโทสะ โมหะ นี้เป็น "อนาคตกิเลส" เพราะว่าจักเกิดต่อไปอย่างแน่นอน 

      - ขณะที่ไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสคงมีแต่ความลังเล สงสัยในสิ่งที่ควรเชื่อ มีคุณของพระรัตนตรัยเป็นต้นอยู่นั้น (วิจิกิจฉา โมหะ กำลังเกิด) ในขณะนั้นกิเลสอื่นๆ ที่นอกจากโมหวิจิกิจฉานี้เป็น "อนาคตกิเลส" เพราะว่าจักเกิดต่อไปอย่างแน่นอน 

      กิเลสที่จักเกิดไม่แน่นอนเป็นอนุสัยกิเลส และอนุสัยกิเลสนี้เมื่อว่าโดยธรรมาธิษฐานแล้วมีอยู่อย่างเดียว คือจักเกิดไม่แน่นอน แต่เมื่อว่าโดยบุคคลอันเป็นที่นอนเนื่องอยู่แห่งอนุสัยกิเลสนี้แล้วก็มีอยู่ด้วยกัน ๔ จำพวก คือ :

      ๑) พวกที่อนุสัยกิเลส "จักเกิดแน่นอน"

      ๒) พวกที่อนุสัยกิเลส "จักเกิดแต่ไม่แน่นอน"

      ๓) พวกที่อนุสัยกิเลส "จักไม่เกิดแน่นอน"

      ๔) พวกที่อนุสัยกิเลส "จักไม่เกิดแต่ไม่แน่นอน"


พวกที่อนุสัยกิเลสจักไม่เกิดแต่ก็ไม่แน่นอน

      ในบรรดา ๔ อย่างนี้ 

      ๑) ผู้ที่กำลังบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา นอนหลับอยู่ อนุสัยกิเลสของบุคคลเหล่านี้ "จักเกิดแน่นอน" 

      ๒) ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยติเหตุ กำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่อย่างเคร่งครัดพร้อมกับอธิษฐานใจว่า 'จักปฏิบัติจนกระทั่งได้มรรคผล' อนุสัยกิเลสของบุคคลเหล่านี้บางอย่างหรือทั้งหมด "จักเกิดแต่ไม่แน่นอน"   

      ๓) ผู้ที่ปฏิบัติได้สำเร็จมรรคผลแล้ว อนุสัยกิเลสของบุคคลเหล่านี้ บางอย่างหรือทั้งหมด "จักไม่เกิดแน่นอน" (แล้วแต่มรรคผลที่ตนได้) และโทสานุสัยกิเลสของพรหมโสดาบัน สกทาคามีก็ "จักไม่เกิดแน่นอน"  

      ๔) เช่นกัน ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยติเหตุ ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเคร่งครัดพร้อมกับอธิษฐานใจว่า 'จักปฏิบัติจนกระทั่งได้มรรคผล' อนุสัยกิเลสของบุคคลเหล่านี้ บางอย่างหรือทั้งหมด "จักไม่เกิดแต่ไม่แน่นอน" และโทสานุสัยกิเลสของพรหมปุถุชนที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ก็ "จักไม่เกิดแต่ไม่แน่นอน" 

      ดังนั้นเมื่อจะสรุปแล้วอนุสัยกิเลสนี้ ถ้าไม่ยกบุคคลขึ้นมากล่าวคงกล่าวเฉพาะแต่สภาพความเป็นจริงตามธรรมาธิษฐานแล้วเป็นอนาคตกิเลสไม่ได้เลย คงเป็นแต่กาลวิมุตติกิเลสเท่านั้น แต่ถ้ายกบุคคลขึ้นมากล่าวอนุสัยกิเลสนี้จัดเป็นอนาคตกิเลสก็มี ไม่เป็นอนาคตกิเลสก็มี 


การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส และธรรมที่ประหาณ 

      การนอนเนื่องของ อนุสัยกิเลส นี้มีอยู่ ๒ ประการคือ

      ๑. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูปนาม ชื่อว่า "สันตานานุสยกิเลส"

      ๒. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปียรูป สาตรูป อปียรูป อสาตรูปชื่อว่า "อารัมมณานุสยกิเลส"

      ใน ๒ ประการนี้ มรรคทั้ง ๔ ทำการประหาณสันตานานุสยกิเลส วิปัสสนาญาณที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ทำการประหาณอารัมมณานุสยกิเลส ฉะนั้น อนุสัยกิเลสที่อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ได้ประหาณไปนั้นเป็นอารัมมณานุสยกิเลส ส่วนสันตานานุสยกิเลสนั้น เมื่อยังเป็นปูถุชนอยู่ตราบใด แม้ว่าผู้นั้นจะได้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้วหลายครั้งหลายหนหรือกำลังปฏิบัติอยู่ก็ตาม หรือผู้ที่เป็นญานลาภี อภิญญาลาภี ทำฤทธิ์เคชต่างๆ นานาได้ก็ตาม หรือจะได้ไปบังเกิดเป็นพรหมติดต่อกันหลายภพหลายชาติก็ตาม สันตานานุสยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ โดยอาการที่ยังมิได้ถูกประหาณลงเลยแม้แต่เล็กน้อย สำหรับอารัมมณานุสยกิเลสนั้น เมื่อวิปัสสนาญาณของพระโยคีได้เข้าถึงขั้นภังคญาณ อารัมมณานุสยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่ญาณนี้เรื่อยๆ ไป ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระวิภังคบาลีว่า :

      "สตฺตานุสยา กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฺฐานุสโย วิจิกิจฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชฺชานุสโย ยํ โลเก ปียรูปํ สาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ, : โลเก อปฺปิยรูปํ อสาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา, ตเทกฏฺโฐ มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา ฯ"

      แปลความว่า อนุสัยกิเลสมี ๗ อย่าง คือ 

      ๑) กามราคานุสัย ธรรมชาติที่ยินดีพอใจรักใคร่ในกามคุณอารมณ์ที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๒) ปฏิฆานุสัย ธรรมชาติที่คับแค้นใจในอารมณ์นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๓) มานานุสัย ธรรมชาติที่ถือตัวนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๔) ทิฏฐานุสัย ธรรมชาติที่เห็นผิดนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๕) วิจิกิจฉานุสัย ธรรมชาติที่สงสัยในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูอาจารย์ นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๖) ภวราคานุสัย ธรรมชาติที่ยินดีพอใจในภพชาตินอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

      ๗) อวิชชานุสัย ธรรมชาติที่หลงอยู่ในเรื่องเห็นผิดนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน 

       (นี้เป็นสันตานานุสยกิเลส) 

       ปียรูปสาตรูป (โลกียจิต ๘๑,เจตสิก ๕๒,รูป ๒๘) สภาพที่น่ารักน่ายินดีอันใด มีอยู่ในโลก คือสังขารธรรมรูปนามภายในตน กามราคะและภวราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในปียรูป สาตรูป สภาพที่น่ารักน่ายินดีเหล่านี้, อปียรูป อสาตรูป สภาพที่ไม่น่ารักไม่น่ายินดีอันใดมีอยู่ในโลก คือสังขารธรรมรูปนามภายในตน ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอปียรูป อสาตรูป สภาพที่ไม่รักไม่น่ายินดีเหล่านี้เมื่อเป็นดังนี้ อวิชชานุสัยก็ย่อมนอนเนื่องอยู่ในราคะและปฏิฆะ ทั้ง ๒ นี้ด้วย ส่วนมานานุสัย ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัยเหล่านี้ก็ย่อมตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับจิตที่มีอวิชชา (นี้เป็นอารัมมณานุสยกิเลส) นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้

      สันตานานุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยอาการที่ยังไม่ปรากฏเป็นสภาวปรมัตถ์ คือยังไม่เข้าถึงขณะทั้ง ๓ (เกิด ตั้ง ดับ) นั้นได้ชื่อว่าสันตานานุสยกิเลส ดังนั้น ผู้ที่ยังมิได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสโดยสมุจเฉทนั้น ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชน และปุถุชนคนเหล่านี้ แม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ตาม เป็นเด็กเล็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ แก่เฒ่าลงไปก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ บรรพชิตก็ตาม ได้ฌานอภิญญาเหาะดำดินไปได้ก็ตาม แม้ที่สุดจะได้บังเกิดเป็นพรหมอยู่หลายภพหลายชาติก็ตาม ปุถุชนคนเหล่านี้ก็ยังเป็นผู้ที่มีอนุสัยอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน สกทาคามีแล้วก็ตาม อนุสัย อีก ๕ อย่างก็ยังเหลืออยู่ ยังหาได้ประหาณให้หมดไปไม่ คงประหาณได้แต่ทิฏฐิ วิจิกิจฉานุสัย ๒ อย่างนี้เท่านั้น ครั้นเป็นพระอนาคามี ภวราคะ มานะ อวิชชานุสัย ทั้ง ๓ ก็ยังมีอยู่หาได้หมดไปเพียงขั้นนี้ไม่

      ฉะนั้นบุคคลทั้ง ๔ จำพวกนี้จึงยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่หายไข้ มีผู้มาถามว่าท่านสบายดีหรือ ? แม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้เป็นไข้แต่ก็ตอบว่าเป็นไข้อยู่ โดยมาคำนึงนึกถึงไข้ที่เคยเป็นมาแล้วและจักเป็นอีกในวันหน้า หรืออุปมาเหมือนกับผู้ที่ยังมิได้มีการเว้นขาดจากการรับประทานเนื้อ เมื่อถูกถามว่าท่านรับประทานเนื้อหรือเปล่า ? ถึงแม้ว่าในขณะนั้นจะมิได้รับประทานอยู่ก็จริงแต่ก็ตอบว่าข้าพเจ้ารับประทานอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะว่ามาคำนึงนึกถึงที่ได้เคยรับประทานมาและจักรับประทานอีกในวันหน้า สมดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุสยยมกว่า :-

      ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ ?

      กามราคานุสัยเกิดอยู่แก่บุคคลใดปฏิฆานุสัยก็เกิดอยู่แก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? อามนฺตา ใช่ การที่ทรงวิสัชนาดังนี้ก็เพราะทรงหมายถึงความที่ยังเป็นอนุสัยอยู่ โดยอาการที่เคยเกิดและจักเกิด ดังที่ได้ยกอุปมามาเปรียบเทียบให้เห็นแล้วทั้ง ๒ ข้อนั้น แต่ถ้าจะถามว่า

      ยสฺส กามราโค อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิโฆ อุปฺปชฺชตีติ ?

      กามราคะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? วิสัชนาว่า นุปฺปชฺชติ ไม่ใช่กำลังเกิด (มุ่งหมายว่า กิเลสทั้ง ๒ นี้เข้าประกอบกับจิตแล้ว เมื่อเป็นดังนั้น โลภะและโทสะ จะเกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันไม่ได้)

      อนึ่ง อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ประการนี้เมื่อปรากฎขึ้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์คือเข้าถึงปริยุฏฐานแล้วนั้นเกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี แต่เมื่อยังเป็นอนุสัยอยู่นั้นได้นอนเนื่องอยู่พร้อมกันทั้ง ๗ อย่าง (แต่เมื่อยังไม่ประกอบในจิต จะกล่าวว่านอนเนื่องในจิตดวงเดียวกันก็ไม่ได้) เหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงในอนุสยยมกว่า : 

      ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ ?

      กามราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลนั้นใช่ไหม ? 

      อามนฺตา ใช่ 

      ฉะนั้น การประหาณสันตานานุสยกิเลสได้โดยเด็ดขาดนั้น ก็มีแต่มรรคญาณอย่างเดียว สำหรับวิปัสสนาญาณนั้น คงประหาณได้โดยตทังคปหานเท่านั้น ส่วนฌานจิต สามารถประหาณด้วยวิกขัมภนะ คือด้วยการข่มไว้เป็นเวลานานๆ คือหลายวันหลายเดือนหลายปีหลายมหากัป

      อารัมมณานุสัยกิเลส การเกิดขึ้นของกิเลส โดยไม่สิ้นสุดในอารมณ์ที่ยังมิได้มีการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยวิปัสสนาญาณ มรรดญาณ กิเลสนี้ชื่อว่าอารัมมณานุสัยกิเลส ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานโอวาทแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า - "สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาตพฺโพ ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสโย ปหาตพโพ, อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสโย ปหาตพฺโพ ฯ" (มาในเวทนา สังยุตตพระบาลี) แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายควรละราคานุสัยในการเสวยสุข ควรละปฏิฆานุสัยในการเสวยทุกข์ ควรละอวิชชานุสัยในการเสวยเวทนาที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์

      พระโอวาทนี้ทรงมุ่งหมายถึง "อารัมมณานุสัยกิเลส" ทั้งพระอรรถกถาจารย์ก็ยังได้กล่าวไว้ว่า - "อิมสฺมึ สุตฺเต อารมฺมณานุสโย กถิโต" ในสูตรที่มี "สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย" เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอารัมมณานุสัยกิเลส แต่ก็หาได้ทรงชี้แจงถึงข้อปฏิบัติที่จะทำการละอารัมมณานุสัยกิเลสนี้แต่ประการใด ไม่เพียงแต่ทรงเตือนให้ทำการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ เท่านั้น เพราะว่าถ้าภิกษุทั้งหลายมิได้ทำการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔ แล้วก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลสนี้ได้ ถ้าว่าได้ทำการปฏิบัติตามแนวทางสติปัฎฐานทั้งนี้อยู่โดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่ามีการละกิเลสในการเสวยอารมณ์นั้นๆ ได้ดังที่พระฎีกาจารย์ได้แสดงไว้ในอานาปานัสสติกรรมฐานแห่งวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า :

      "อนิจฺจานุปสสนา ตาว ตทงฺคปฺปหานวเสน นิจฺจสญฺญํ ปริจฺจชติ ปริจฺจชนฺติ จ ตถา อปฺปวตฺติยํ เย นิจฺจนฺติ ดหณวเสน กิเลสา ตมมูลกา อภิสงฺขารา ตทุภยมูลกา จ วิปากา ขนฺธา อนาคเต อุปฺปชฺเชยฺยุํ เต สพฺเพ อปฺปวตฺติกรณวเสน ปริจฺจชติ ตถา ทุกฺขานุปสฺสนาทโย เตนาห วิปสฺสนา หิ ตทงฺควเสน สทฺธึ ขนฺธาภิสงฺขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ ฯ"

      แปลความว่า อนิจจานุปัสสนาที่แสดงในอันดับแรกนี้ย่อมสละละทิ้งนิจจสัญญาด้วยอำนาจแห่งตทังคประหาณ เมื่ออนิจจานุปัสสนาได้สละละทิ้งนิจจสัญญาได้แล้ว ถ้าหากว่ามิได้มีการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงโดยอาการดังที่กล่าวนี้ กิเลสต่างๆ อาจเกิดได้ในภายหลังด้วยอำนาจแห่งความยึดถือว่ารูปนามนี้เที่ยง และอภิสังขารคืออกุศล โลกียกุศลกรรมที่มีกิเลสเป็นมูลก็ดี วิบากนามขันธ์อันเป็นตัวภพใหม่ที่มีกรรมและกิเลสทั้ง ๒ นี้เป็นมูลก็ดี อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง อนิจจานุปัสสนาที่สละละทิ้งนิจจสัญญาได้นั้น ย่อมสละละทิ้งกิเลส กรรม วิบาก แม้เหล่านี้ทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นได้พร้อมกันอีกด้วย ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่สละละทิ้งสุขสัญญา อัตตสัญญาเป็นต้นได้นั้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า "วิปัสสนาญาณย่อมสละกิเลสพร้อมด้วยวิบากนามขันธ์และอภิสังขารด้วยอำนาจตทังคปหาน เมื่อ "อนิจจานุปัสสนา" เกิด "ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา" ก็ย่อมเกิดขึ้นตาม

      ในเรื่องนี้ เมื่อมีการพิจารณาเห็นว่าเป็นอนิจจะแล้วกิเลสที่เกี่ยวกับนิจจสัญญาก็เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นไม่ได้ อันนี้เห็นได้โดยแจ้งชัดไม่มีข้อที่จะต้องสงสัย แต่ปัญหามีอยู่ว่าที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญานั้นจะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวกันนี้ได้หรือไม่ ? แก้ว่า เกิดไม่ได้เพราะว่า ผู้ปฏิบัติที่ได้พิจารณาเห็นในอารมณ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยอำนาจการปรากฏแห่งอนิจจลักขณะ คือเกิดดับๆ นั้น ครั้นได้หวนกลับไปพิจารณาดูในอารมณ์นั้นอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นสุข คงเห็นว่าเป็นทุกข์โดยการเกิดขึ้นดับไปไม่หยุดยั้ง ทั้งมิได้เห็นว่ามีตัวตนเป็นแก่นสารแต่อย่างใดเลยในอารมณ์นั้นอีกด้วย คงเห็นแต่ว่าไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ไม่เป็นไปตามประสงค์คงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ดังนั้น กิเลสที่เกี่ยวกับสุขสัญญาและอัตตสัญญาจึงเกิดขึ้นไม่ได้ในอารมณ์ที่มีการพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงดังนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ใน อังอุตตรพระบาลี ว่า :

      "อนิจฺจสญฺญา ภาเวตพฺพา อสฺมิมานํ สมุคฺฆาตาย, อนิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สญฺชาติ อนตฺตสญฺญี อสฺมิมานสมุคฺฆาตํ ปาปุณาติ ทิฏฺเฐว ธมฺเม นิพฺพานํ"  แปลความว่า พึงเจริญอนิจจสัญญาคือความจำหมายว่าไม่เที่ยงเพื่อถอนออกเสียซึ่งอัสมิมานะที่มีอาการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ให้หมดไปโดยสิ้นเชิงดูกรภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจำหมายว่าไม่ใช่ตน เรา เขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดีแก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ ผู้ที่พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตะ คือไม่ใช่ตนเขานั้น ย่อมเป็นผู้ที่เข้าถึงซึ่งการถอนออกแห่งอัสมิมานะที่มีอาการยกตนว่า เรา แล้วเข้าถึงนิพพาน คือความสงบแห่งกิเลสในภพที่ปรากฎอยู่เฉพาะหน้านี้นั่นเทียวในพระบาลีนี้คำรับรองที่เป็นพยานหลักฐานอย่างสำคัญในเรื่องนี้ ก็อยู่ตรง พระบาลีที่กล่าวว่า นิจุจสญมิโน ภิกุขเว อนตุตสญญา สณฺชาติ และพระอรรถกถาจารย์ก็ยังได้กล่าวคำอธิบายขยายความตามพระบาลีนี้ไว้ใน อังคุตตรอรรถกถาอีกว่า :-

      "อนตฺตสญฺญา สณฺฐาตีติ อนิจฺจลกฺขเณ ทิฏฺเฐ อนตฺตลกฺขณํ ทิฏฺฐเมว โหติ, เอเตสุ หิ ตีสุ ลกฺขเณสุ เอเกกสฺมึ ทิฏฺเฐ อิตรทฺวยิ ทิฏฺเฐเมว โหติ, เตน วุตฺตํ อนิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สญฺชาตีติ ฯ" แปลความว่า ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ (อนัตตสัญญาความจำหมายว่า ไม่ใช่ตน เรา เขาย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี) นั้น อธิบายว่า เมื่อพิจารณาเห็นการเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะแล้วก็จักเห็นอนัตตลักขณะ คือไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา มีแต่เกิดดับเป็นไปตามเหตุปัจจัยสำเร็จไปด้วย เป็นความจริงดังนั้นเมื่อได้เห็นลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาลักษณะ ๓ อย่างนั้นก็จะต้องได้เห็นลักษณะทั้ง ๒ ที่เหลืออีกด้วยอย่างแน่แท้ เหตุนั้นพระผู้มีพระกากเจ้าจึงทรงแสดงว่า "นิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ" ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา ความจำหมายว่าไม่ใช่ตน เราเขา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี แก่ผู้ที่มีการพิจารณาเห็นเป็นอนิจจะ


อธิบายอัสมิมานะ

      "อัสมิมานะ"  หมายความว่าการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ พระอริยบุคคลทั้งหลายที่นอกจากพระรหันต์นั้น แม้ว่าจะเป็นผู้ไม่มีสักกายทิฏฐิคือความเข้าใจผิดในรูปนามว่าเป็นเราเป็นเขา ชาย หญิง สัตว์ บุคคล ตัวตน ดังเช่นปุถุชนคนทั้งหลายเห็นอยู่นั้นก็จริง แต่ทว่าอัสมิมานะการถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ โดยอาศัยคุณความดีที่มีอยู่ในตนยังมีอยู่เพราะว่าอัสมิมานะนี้เป็นฝ่ายยาถาวมานะ การถือตัวตามความเป็นจริงหาใช่เป็นอยาถาวมานะ การถือตัวไม่ใช่ตามความเป็นจริงแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การทำพูด คิด ของพระอริยะ ๓ จำพวกนี้บางทีก็ประกอบด้วยอัสมิมานะ เช่นมีการถือตัวว่าเราเป็นอริยะ มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงมีศีลบริสุทธิ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีก็มีการถือเป็นพิศษออกไปอีกว่าเราไม่มีความยินดียินร้ายในอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ ถ้ามีความรู้ความสามารถก็ถือว่าเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถคิดนึกอยู่ภายในใจบ้าง แสดงออกมาทางกายบ้าง เปล่งออกมาทางวาจาบ้าง ซึ่งมีอาการละม้ายกล้ายคลึงกันกับสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นอัสมิมานะนี้เรียกว่า ทิฏฐิมานะก็ได้ และกาลที่แสดงว่าสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ มีหน้าที่ประหาณมิจฉาทิฏฐินั้น ก็มุ่งหมายเอาอัสมิมานะนี้เอง บรรดาสัมมาทิฎฐิในอริยมรรคเบื้องบน ๓ นี้ สัมมาทิฏฐิที่อยู่ในอรหัตตมรรคเท่านั้นที่จะทำการประหาณอัสมิมานะให้เด็ดขาดหมดไปได้ อีกประการหนึ่ง ปุถุชนทั้งหลายที่ทำการกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ เมื่ออนิจจสัญญาทุกขสัญญา อนัตตสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฎขึ้นนั้น ปูถุชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมประหาณอัสมิมานะลงได้บ้างเหมือนกันแต่มิใช่เป็นสมุจเฉทปหาน


แสดงอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะโดยสมมุติ และอนัตตลักขณะ

ในลักษณะ ๓ ประการนี้ "อนิจจะและทุกขะ" มีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ

      ๑. โดยสมมุติ

      ๒. โดยสภาวะ

      โดยสมมุตินั้นอยู่ในขอบเขตของสักกายทิฏฐิอันเป็นของชาวบ้านที่นิยมพูดกัน กล่าวคือเมื่อได้เห็นของสิ่งหนึ่งสิ่งใดแตกหักทำลายลง สัตว์ บุคคล ตายไปเคยมั่งมีกลับจน มียศมีอำนาจกลับเสื่อมยศเสื่อมอำนาจ ดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่าอนิจจังๆ เมื่อตนเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี มีการป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นหรือถูกตี ฟัน แทง เป็นแผลฝืเสี้ยนหนามตำ เสียอกเสียใจดังนี้แล้วก็มักจะกล่าวกันว่า ทุกข์จริงๆ นี้แหละเรียกว่า อนิจจะ ทุกขะ โดยสมมุติซึ่งเป็นไปตามความเห็นของชาวบ้าน สำหรับอนัตตลักขณะนั้นชาวบ้านมอง ไม่เห็นเลย และไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่มีการนิยมพูดกันว่าเป็น อนัตตา

      โดยสภาวะนั้นอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิอันเป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวคือมีสภาพเกิดดับ ดังที่กล่าวแล้ว เหตุนี้แหละในสมัยที่ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนานั้น อนิจจะ ทุกขะที่เป็นสภาวะจึงไม่มีใครกล่าวกัน แม้ที่สุคพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็มิอาจที่จะกล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะที่เป็นสภาวะให้ชนทั้งหลายฟังได้เพียงแต่กล่าวหรือแสดงอนิจจะ ทุกขะที่เป็นไปตามสมมุติเท่านั้น สำหรับอนัตตลักขณะนั้นทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมิได้มีการกล่าวถึงและแสดงได้เลย ฉะนั้น ชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังธรรมที่เป็นอนิจจะและทุกขะ จากพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี จากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ดี จึงมิอาจที่จะบรรลุมรรคผลได้ เพียงแต่ยังจิตใจให้เป็นมหากุศลเกิดขึ้นเท่านั้น

      อนึ่ง ความสำเร็จในการรู้เห็นและการแสดงธรรมที่เป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะโดยสภาวะนั้นต่างกันคือ การรู้เห็นสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา การแสดงธรรมสำเร็จได้ด้วยการศึกษาพระอภิธรรม ดังนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้ว่าจะรู้เห็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ ที่เป็นสภาวะจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็จริง แต่ทว่าขาดการศึกษาพระอภิธรรมอันเป็นฝ่ายปริยัติ ฉะนี้แหละจึงมิอาจที่จะแสดงสภาวะ อนิจจะทุกขะได้ ส่วนพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นแม้จะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอย่างล้นพ้นประการใดก็ตาม แต่ก็ยังมิได้รู้เห็นอนิจจะ ทุกขะ ตามสภาวะ สรุปแล้วก็คงได้ความว่า อนิจจ,ทุกขลักขณะที่เป็นสภาวะอยู่ในขอบเขตของสัมมาทิฏฐิ และอนัตตลักขณะนั้นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก สาวิกาที่มีการศึกษาในพระอภิธรรมเป็นอย่างดีเท่านั้นที่จะแสดงได้  ดังที่พระมหาพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา ว่า :-

      ๑. อนิจฺจทุกฺขลกฺขณานิ อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ปญฺญายนฺติ ฯ

      ๒. อนตฺตลกฺขณํ วินา พุทฺธุปฺปาทา น ปญฺญายติ พุทฺธุปฺปาเทเยว ปญฺญายติ ฯ

      ๓. มหิทฺธิกา หิ มหานุภาวา ตาปสปริพุพาชกา สรภงฺคสตฺถาราทโยปี อนิจฺจํ ทุกฺขนฺติ วุตฺตํ สกฺโกนฺติ อนตฺตาติ วตฺตุํ น สกฺโกนฺติ ฯ

      ๔. สเจปี เต สมุปตุตปริสาย อนตุตาติ วตุตํ สกุกุเณยยำ สมปตุตปริสาย มคุคผลปฏิเวโธ ภเวยุย ฯ

      ๕. อนตุตลกขณ์ ปญมาปนสส หิ อญณสุส กสสจิ อวิสโย สพฺพญญู พุทฺธานเมว วิสโย ฯ

      ๖. เอวเมตํ อนตุตลกขณํ อปากฏิ ฯ

      ๗. ตสุมา สตถา อนตุตลกขณ์ ทสเสนฺโต อนิจเจน วา ทสเสสิ ทุกเขน วา อนิจจทุกเขหิ วา ฯ 


แปลความว่า

      ๑. สมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม อนิจจลักขณะทุกขลักขณะทั้ง ๒ นี้ ย่อมปรากฎมีอยู่เสมอ

      ๒. ยกเว้นพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเสียแล้ว อนัตตลักขณะย่อมไม่ปรากฎ จักปรากฏก็เฉพาะแต่ในสมัยที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น

      ๓. ดาบสปริพาชกทั้งหลายมีโพธิสัตว์ ศาสดาจารย์สรภังคะเป็นต้น ที่มีฤทธิ์มากอานุภาพมากเหล่านี้ ย่อมสามารถแสดงได้แต่เพียงแค่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง ๒ ประการนี้เท่านั้นไม่สามารถแสดงความเป็นอนัตตาได้เลย

      ๔. ความจริงเป็นดังนั้น ถ้าหากว่าท่านเหล่านั้นสามารถแสดงความเป็นไปแห่งรูปนาม โดยความเป็นอนัตตาให้แก่บริษัทที่มาหาตนฟังได้แล้ว บริษัทเหล่านั้นก็อาจบรรลุมรรคผลได้บ้าง

      ๕. แท้จริงการปรากฎแห่งอนัตตลักขณะนี้ หาใช่เป็นวิสัยของผู้ใดผู้หนึ่งอื่นนอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ แต่เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพวกเดียวเท่านั้น

      ๖. อนัตตลักขณะไม่ปรากฏในสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนา ดังนี้แล

      ๗. เพราะฉะนั้น พระศาสดาเอกของชาวโลก เมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักขณะนั้น ย่อมแสดงชี้แจงด้วยสภาพความเป็นอนิจจังบ้าง ทุกขังบ้าง และทั้งอนิจจังทุกขังทั้ง ๒ บ้าง

      ตามหลักฐานนี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า การแสดงอนัตตลักขณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ทรงยกความเป็นทุกขะขึ้นมาเปรียบเทียบ บางทีก็ทรงยกความเป็นอนิจจทุกขะ ทั้ง ๒ ขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อจะได้เห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ก็เหตุไฉนบริษัททั้งหลายที่ได้ฟังอนิจจทุกขะจากพระโพธิสัตว์ศาสดาจารย์สรภังคะนั้น จึงมิได้รู้เห็นในความเป็นอนัตตา และได้มรรคผลเล่า

      แก้ว่า การแสดงอนิจจะ ทุกขะของท่านเหล่านั้นเป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะโดยสมมุติ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นหาใช่เป็นอนิจจะ ทุกขะแท้อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณแต่อย่างใดไม่ สำหรับการแสดงอนิจจะ ทุกขะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวนี้เป็นการแสดงอนิจจะ ทุกขะโดยสภาวะที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ ฉะนั้นผู้ฟังจึงสามารถรู้เห็นในความเป็นอนัตตาได้ ฉะนั้นพระอาจารย์อานันทเถระจึงได้แสดงไว้ในมูลฎีกาว่า :-

      "อนตฺตลกฺขณํ ปญฺญาปนสฺส อญฺเญสํ อวิสยตฺตา อนตฺตลกขณทีปกานํ อนิจฺจทุกฺขลกฺขณานญฺจ ปญฺญาปนสฺส อวิสยตา ทสฺสิตา โหติ เอวํ ปน ทุปฺปญฺญาปนตา เอเตสํ ทุรุปฏฺฐานตาย โหติ ฯ"

      แปลความว่า ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าการแสดงให้ชนทั้งหลายรู้เห็นอนัตตลักขณะมิใช่เป็นวิสัยของผู้อื่นนั้น เป็นอันว่าได้แสดงถึงอนิจจทุกขลักขณะที่แท้ที่ทำให้ชนทั้งหลายได้รู้แจ่มแจ้งในอนัตตลักขณะก็มิใช่เป็นวิสัยของผู้อื่นด้วยเช่นกันการรู้เห็นและการแสดงไตรลักษณ์ ที่แท้เป็นของยากมากที่สุดอย่างนี้ ที่เพราะการปรากฎแห่งไตรลักษณ์ที่แท้ในปัญญาของชนทั้งหลายนั้นยากมากนั้นเองเป็นสาเหตุ

      หมายเหตุ การขยายความในมหาวิปัสสนาที่เหลือทุกขานุปัสสนาเป็นต้นนั้นจะแสดงเฉพาะแต่ข้อความพิเศษๆ ที่ยังมิได้กล่าวไว้ในอนิงจานุปัสสนา ส่วนข้อความที่เหมือนกันกับอนิจจานุปัสสนานั้นจะไม่กล่าวซ้ำอีก


จบ อนิจจานุปัสสนา

---------///---------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,อนิจจานุปัสสนา

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.