๒. ทุกขานุปัสสนา
"ทุกขานุปัสสนา" มีวจนัตถะแสดงว่า "ทุกฺขสฺส อนุปสฺสนา ทุกฺขานุปสฺสนา"
แปลว่า "การพิจารณารู้เห็นรูปนามที่เป็นทุกข์อยู่เนืองๆ จนทุกขลักษณะปรากฎชื่อว่าทุกขานุปัสสนา" หรืออีกนัยหนึ่ง
"ทุกฺขตาย อนุปสฺสนา ทุกฺขานุปสฺสนา" การพิจารณารู้เห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ชื่อว่า "ทุกขานุปัสสนา" องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก
แสดงความต่างกันของคำทั้ง ๓
๑. ทุกขธรรม ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่ รูปนาม (ขันธ์ ๕)
๒. ทุกขลักษณะ เครื่องหมายที่กำหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม
๓. ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่มีการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม
"ทุกขานุปัสสนา" ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม ที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งการเบียดเบียน โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กำหนครู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละปัญญานี้ชื่อว่า "ทุกขานุปัสสนา"
ดังนั้น นักศึกยาทั้งหลายพึงทราบความในระหว่างคำว่า "ทุกขะ" "ทุกขลักขณะ" "ทุกขานุปัสสนา" ทั้ง ๓ นี้ว่ามีความต่างกันคือ
"ทุกขะ" ธรรมที่เป็นทุกข์ได้แก่รูปนาม
"ทุกขลักขณะ" เครื่องหมายที่กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ได้แก่การเกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาคสาย,
"ทุกขานุปัสสนา" ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ
ในรูปนามหรือขณะที่เห็นความเกิดดับของรูปนามอยู่นั้น ความรู้สึกในขณะนั้นก็เกิดขึ้นว่า กายใจนี้เป็นของน่าเกลียดน่ากลัวไม่ดีเป็นภัย จะหาความสุขสบายจากกายใจอย่างแท้จริงนั้นหาไม่ได้เลยนี้ ได้แก่ปัญญาที่ในมหากุศล มหากิริยาที่กำหนดรู้รูปนาม
อธิบายทุกขานุปัสสนา
ตามธรรมดาคนทั้งหลายย่อมเข้าใจในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายว่า พรหมมีความสุข เทวดาชั้นสูงมีความสุข แต่เทวคาชั้นต่ำมีความทุกข์ มนุษข์มีร่างกายสมบูรณ์ อนามัยดี มั่งมีศรีสุข มีความสุข ร่างกายไม่สมบูรณ์มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอนามัยไม่ดี ยากจนเข็ญใจเหล่านี้เป็นทุกข์ สัตว์ดิรัจฉานบางพวกเป็นสุข บางพวกเป็นทุกข์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นทุกข์ ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นความเข้าใจถูกต้องเหมือนกันเพราะมองไปในด้านการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสของสัตว์ทั้งหลาย แต่ความเป็นจริงนั้นสุขกายสุขใจก็ดี ทุกข์กายทุกข์ใจก็ดี ล้วนแต่มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่คงที่ แล้วก็กลับเกิดขึ้นอีก ติดต่อกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไปโดยไม่ว่างเว้น ดังนั้นรูปนามที่มีสุขหรือไม่มีสุขก็ตาม ทั้งหมดจึงล้วนแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
ทุกขะ เมื่อว่าโดยย่อตามธรรมาธิษฐานแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ :
๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริงได้แก่ ทุกข์กายทุกข์ใจ
๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่หยุดยั้ง ได้แก่ สุขกาย สุขใจ
๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับได้แก่ รูปนาม หรือกาย ใจ ทั่วไป
ใน ๓ อย่างนี้ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ชื่อว่าทุกขทุกข์ก็เพราะกายมีอาการเป็นไปต่างๆ เช่น จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดฟัน เป็นแผลฝื ถูกตีฟันแทงเจ็บไข้ โรคต่างๆ นานาหลายอย่างหลายประการเหลือที่จะพรรณนา ดังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ ส่วนใจก็เพราะเสียอกเสียใจ โกรธ กลัว เนื่องจากที่ได้ประสบพบกับเหตุภัยต่างๆ ดังที่มีอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้ ทุกข์ ๒ นี้ล้วนแต่ทนได้ยากทั้งสิ้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าเป็นทุกขทุกข์
ความสุขกาย สุขใจ ที่ชื่อว่าวิปริณามทุกข์นั้น ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลงปรวนแปรไปไม่คงที่อยู่ได้นั้นเอง ดังเช่นในขณะที่ร่างกายกำลังกระทบกับความเย็นโดยที่ถูกลมเย็นพัดมาก็ดี หรือกำลังพัดอยู่ก็ดี ขณะนั้นความสุขกายสุขใจ ย่อมเกิดขึ้นครั้นลมหยุดพัดหรือหยุดนิ่ง ความสุขกายสุขใจก็หายไป
ดังนั้น จึงมีการอาบน้ำกันอยู่เสมอเพื่อความสุขกายสุขใจจะได้เกิดขึ้นอีกความสุขใจที่เกิดจากการเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรสที่ดีๆ เหล่านี้ เมื่อหยุดดูหยุดฟัง หยุดดม หยุครับประทานก็ดี หรืออารมณ์เหล่านี้หายไปก็ดี ความสุขใจก็หายไปพร้อมกันในขณะนั้นเอง เมื่อจะให้มีอยู่ก็ต้องคอยปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่อย่าให้ขาดความสุขใจจึงจะมีอยู่ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละท่านจึงกล่าวว่า ความสุขกายสุขใจเป็นวิปริณามทุกข์
รูปนาม ชื่อว่า "สังขารทุกข์" ก็เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยการเกิดดับ คือนามขันธ์ ( หรือจิตใจชั่วขณะดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งเกิดขึ้นแสนโกฏิครั้ง ดับไปก็แสนโกฏครั้งรูปหรือกายเกิดขึ้นมากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง ดับไปก็มากกว่าห้าพันโกฏิครั้ง การเกิดดับดังนี้คงรู้เห็นก็แต่ผู้ที่เจริญวิปัสสนา หรือผู้ที่มีการศึกษาดีในความเป็นไปแห่งรูปนามเท่านั้น ส่วนบุคคลนอกนั้นหาได้รู้เช่นนี้ไม่ แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้เห็นก็ตาม สภาพของรูปและนามก็คงเป็นดังนี้เสมอไป เช่นเดียวกันกับภาพที่ปรากฎในโทรภาพหรือบนจอภาพยนตร์ ภาพที่ปรากฏในโทรภาพหรือบนจอภาพยนตร์นั้นก็เพราะเนื่องมาจากการลำคับติคต่อกันของฟิล์มที่เขาถ่ายมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นำมาปะติดปะต่อเชื่อมกันไว้เป็นอย่างดี ทำการฉายออกมาให้เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพียงชั่ว ๑ นาทีภาพที่เป็นชิ้นๆ ก็ผ่านไปหลายร้อยแต่ผู้ดูบางคนก็หาได้รู้ไม่ ข้อนี้ฉันใด การเกิดดับติดต่อกันแห่งรูปนาม อย่างไม่ขาดสายก็ฉันนั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่ารูปนามทั้งหมดเป็นสังขารทุกข์
ทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ สังขารทุกข์อย่างเดียวที่มีอยู่ในสังขารธรรมทั่วไปทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เหตุนั้นพระอาจารย์ธัมมปาลเถระจึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาว่า "ตีสุ ทุกฺขตาสุ สงฺขารทุกฺขตาว พฺยาปีนิ ฯ" แปลว่าในทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนั้นสังขารทุกข์อย่างเดียวมีทั่วไปในสังขารธรรมทั้งปวงทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
"ทุกขลักขณะ" เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นทุกข์ก็มี ๓ อย่างคือ :-
๑. ทุกขทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นทุกขทุกข์ คือ ทุกข์จริงๆ ได้แก่อาการที่ทนได้ยากมีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๒. วิปริณามทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นวิปริ.ฌามทุกข์ คือ ไม่ใช่ทุกข์จริง ไม่มีใครคำนึงถึงทุกข์ชนิดนี้ ได้แก่อาการไม่คงที่ของความสุขสบายที่มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๓. สังขารทุกขลักขณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นสังขารทุกข์ คือ ทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก ได้แก่อาการที่เกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันไม่ขาดสาย
ดังนั้น ทุกข์ ๓ อย่างที่ได้กล่าวแล้ว หาได้มีเทวดาและพรหมที่มีอำนาจ หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดมาสมมุติให้เป็นไปก็หามิได้ หากแต่ลักษณะที่มีอยู่ในทุกข์ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้ชี้ขาดลงไปว่าธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ เสมือนหนึ่งงูทั้งปวงมากชนิดล้วนแต่มีรูปร่างสัญฐานกลมยาวด้วยกันทั้งสิ้น แต่กระนั้นก็ตามย่อมมีลักษณะเครื่องหมายที่จะให้รู้ได้ว่าดุหรือไม่ดู และเป็นชนิดอะไรออกไปอีกว่านี้ งูเห่า แมวเซาจงอาง สามเหลี่ยม งูเขียวธรรมดา หางไหม้ ก้านมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น ข้อนี้ฉันใดทุกข์ ๓ อย่างก็ฉันนั้น
ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูปนาม ก็มี ๓ อย่างคือ
๑. ทุกขทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่เป็นทุกข์แท้จริง
๒. วิปริณามทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่มิใช่เป็นทุกข์จริงอันบุคคลมิได้คำนึงถึงทุกข์ชนิดนี้
๓. สังขารทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก
"ทุกขานุปัสสนาทั้ง ๓ อย่างนี้" ทุกขทุกขานุปัสสนาและวิปริณามทุกขานุปัสสนาทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นทุกขานุปัสสนาเทียม หมายความว่าการรู้เห็นใน ทุกขทุกข์และวิปริณามทุกข์ ยังเป็นการรู้เห็นที่เป็นบัญญัติอยู่ ทั้งยังไม่ตรงตามหลักพุทธประสงค์ที่พระองค์ทรงวางไว้ในการที่จะได้มรรค ผล ส่วนสังขารทุกขานุปัสสนานั้นเป็นทุกขานุปัสสนาแท้ หมายความว่าการรู้เห็นสังขารทุกข์เป็นการรู้เห็นความเป็นไปแห่งรูปนามตามสภาวะไม่มีบัญญัติเข้ามาเจือปน และสามารถประหาณกิเลสได้ถูกตรงตามพุทธประสงค์ที่ทรงวางไว้ว่า :
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพนฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ
เมื่อใดผู้ปฏิบัติมาพิจารณาเห็นด้วยวิปัสสนาญาณว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทุกข์คือกายใจ การเบื่อหน่ายเช่นนี้เป็นหนทาง
แห่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ฯ
อนึ่ง รูปนาม ที่ได้ชื่อว่า ทุกข์นั้นก็เพราะว่าเป็นอนิจจะ มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ส่วนอาการที่เกิดดับนั้นเป็น ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่ทำให้รู้ได้ว่าธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ ฉะนั้นพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า "ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขนฺติ วจนโต ปน ตเทว ขนฺธปญฺจกํ ทุกฺขํ, กสฺมา ? อภิณฺหปฺปฏิปีหนา, อภิณฺหปฺปฏิปีหนากาโร ทุกฺขลกฺขณํ ๆ" ขันธ์ ๕ นั้นแหละเป็นธรรมที่เป็นทุกข์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ธรรมใดเป็นอนิจจะ ธรรมนั้นเป็นทุกข์", เพราะเหตุว่าขันธ์ ๕ นี้ได้ถูกความเกิดดับเบียดเบียนอยู่เสมอนั้นเอง อาการเบียดเบียนด้วยการเกิดดับอยู่เสมอนั้นเป็นทุกขลักขณะ
ความต่างกันระหว่างผู้ไม่มีสติกับผู้มีสติ
"ผู้ไม่มีสติกำหนด" ผู้ที่มิได้มีการกำหนดรู้รูปนามนั้น มิอาจที่จะรู้การเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนาม โดยไม่ขาคสายในทวาร ๖ ฉะนั้นเมื่อมีอาการปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อน เป็นต้นที่เป็นทุกข์กายเกิดขึ้นเนื่องมาจากการยืน เดิน นั่งนอน อย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปในเวลานั้นหาได้รู้เห็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามแต่อย่างใดไม่ แต่คงเห็นเป็นบัญญัติที่เนื่องมาจากสักกายทิฏฐิว่า เราปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อน เพราะนั่งหรือนอนเป็นต้นมากไปแล้ว ก็ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเสียใหม่ ดุจดังเด็กที่เห็นรูปเสือกะพริบตาอ้าปากเคลื่อนไหวไปมาด้วยเครื่องกลไกที่เขาประดิษฐ์ขึ้น เข้าใจว่าเป็นเสือจริง มีความกลัวไม่กล้าเข้าใกล้หนีไปเสีย ดังนั้นทุกข์กายที่เป็นทุกขทุกข์ และสภาพทนได้ยากที่เป็นทุกขลักขณะจึงมิอาจที่จะปรากฏแก่ผู้นั้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้ เนื่องมาจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ปกปิดความทุกข์กายและสภาพทนได้ยากไว้โดยที่ไม่มีการรู้ตัวเมื่อทุกขทุกข์ และทุกขทุกลักขณะมิอาจจะปรากฎโคยความเป็นสภาวะปรมัตถ์แก่ใจได้แล้ว การปรากฏแห่งวิปริณามทุกข์และวิปริณามทุกขลักขณะ สังขารทุกข์และสังขารทุกขลักขณะเหล่านั้นก็ไม่มีข้อที่จะต้องสงสัย เพราะจักปรากฏแก่ใจไม่ได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นผู้ที่ไม่มีสติคอยกำหนดรูปนามที่เกิดอยู่ในตัวทุกข์และทุกขลักขณะที่มีสภาพหยาบจึงไม่อาจปรากฏโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้ ทุกขานุปัสสนาที่แท้จริงซึ่งเป็นผู้นำเข้าสู่มรรควิถีนั้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้
"ผู้มีสติกำหนด" ส่วนผู้ที่มีการกำหนดรู้อยู่ในรูปนามนั้น ย่อมรู้เห็นการเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาดในทวารทั้ง ๖ ดังนั้นเมื่อวิปริณามทุกขลักขณะปรากฎคือความสุขกายที่เกิดขึ้น ในขณะแรกแห่งอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง แต่มากายหลังได้หายไป ผู้นั้นก็สามารถรู้เห็นวิปริณามทุกขลักขณะนี้ได้ ทั้งสามารถรู้เห็นในการปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด, ร้อน เป็นต้นที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามล้วนๆ มิได้เกี่ยวด้วยความรู้สึกว่าเป็นเราปวด, เมื่อย, เจ็บขัด, ร้อน ซึ่งเป็นบัญญัติแม้แต่ประการใดๆ เมื่อกำหนดการปวด, เมื่อย, เจ็บ, ขัด,ร้อนนั้นอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งทนไม่ไหว มีจิตคิดจะเปลี่ยนก็รู้ถึงวาระจิตที่ต้องการจะเปลี่ยนนั้นด้วยตลอดจนถึงกำลังทำการเปลี่ยนอิริยาบถโดยลำดับ ครั้นเปลี่ยนเสร็จแล้วความสุขกายเกิดขึ้น ก็สามารถรู้ในความสุขกายนี้ได้อีก ต่อมาภายหลังความสุขกายได้หายไป ผู้นั้นก็รู้เห็นได้อีกเป็นอันว่ามีสติกำหนดรู้อยู่ในสังขารทุกข์และสังขารทุกขลักขณะ, วิปริณามทุกข์และวิปริณามทุกขลักขณะ, ทุกขทุกข์ และทุกขทุกขลักขณะ, ที่เกิดขึ้นในอิริยาบถต่างๆ ได้โดยลำดับต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ฉะนั้นผู้ที่ทำการปฏิบัติรู้อยู่ในอิริยาบถ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวนี้ การปฏิบัติได้เช่นนี้ชื่อว่าเพิกอิริยาบถเป็นอันว่าทุกขานุปัสสนาที่แท้จริง ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสู่มรรควิถีได้เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดังที่พระมหาพุทธ โฆษาจารย์แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
"ทุกฺขลกฺขณํ อภิณฺหสมุปฏิปีฬนสฺส อมนสิการา อิริยาปเถหิ ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ, อภิณฺหํ สมุปฏิปีฬนํ มนสิกตฺวา อิริยาปเถ อุคฺฆาฏิเต ทุกฺขลกฺขณํ ยาถาวสรสโต อุปฏฺฐาติ ฯ"
แปลความว่าทุกขลักขณะไม่ปรากฎ ก็เพราะไม่มีการกำหนดพิจารณาความเบียดเบียน โดยอาการเกิดดับอยู่เสมอ และการเปลี่ยนอิริยาบถใหม่คือการยืน เดิน นั่ง นอน มาปกปิด, แต่เมื่อได้กำหนดพิจารณาความเบียดเบียนโดยอาการเกิดดับอยู่เสมอและเพิกอิริยาบถที่ปกปิดไว้ กล่าวคือมีการกำหนดการปวดเมื่อยก่อนที่จะทำการเปลี่ยนอิริยาบถ ตลอดจนจิตคิดจะเปลี่ยน การเปลี่ยนอิริยาบถ ความสุขที่เกิดขึ้นใหม่,เช่นนี้แล้วทุกขลักขณะย่อมปรากฏโดยสภาพของตนอย่างแท้จริง ฯ
อนึ่ง ในคำกล่าวของพระอรรถกถาจารย์นี้ ได้แสดงการปรากฎแห่งทุกขลักขณะทั้ง ๓ พร้อมกัน คือแสดงการปรากฏแห่งทุกขลักขณะด้วยคำว่า "อิริยาปเถ อุคฺฆาฏิเต" แสดงการปรากฏแห่งวิปริญามทุกขลักขณะและสังขารทุกขลักขณะทั้ง ๒ นี้ด้วยคำว่า "อภิณฺหสมุปฏิปีฬนํ มนสิกตฺวา"
การประหาณวิปัลลาสทั้ง ๓ เป็นต้นด้วยทุกขานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนาแท้ที่รู้เห็นรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นทุกข์เกิดขึ้น โดยอาศัยการปรากฎแห่งทุกขลักขณะ ขณะใด ขณะนั้นย่อมละวิปัลลาสทั้ง ๓ มีสุขสัญญาวิปัลลาส, สุขจิตตวิปัลลาส, สุขทิฏฐิวิปัลลาสพร้อมด้วยกิเลสที่เป็นบริวารตลอดจนการทำดีชั่วอันเป็นกุศลอกุศลกรรมได้ กล่าวคือ ตามธรรมดาวิสัยจิตใจของคนเรานั้น เมื่อมีการเห็นการ ได้ยินเป็นต้น ตลอจนการคิดนึกเกิดขึ้นที่เกี่ยวกับตนหรือคนอื่นนั้น ขณะนั้นวิปัลลาสทั้ง ๓ ก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นประจำ ดังเช่นขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รสได้ถูกต้อง ตลอดจนการคิดนึกนั้น เวลานั้นมีแต่ความจำ, ความคิด, ความเห็น, ในการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รส การถูกต้องนั้นว่า สบาย หรือเมื่อขณะคิดนึกเรื่องราวต่างๆ อยู่ก็มีความรู้สึกว่าสบาย ขณะนั้นกิเลสต่างๆ มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตลอดจนการทำดีชั่วอันเป็นกุศล อกุศลกรรม ก็เกิดขึ้นแล้วโดยอาศัยใจ หรือขณะที่กำลังเปลี่ยนอิริยาบถใหญ่มีการยืน เดิน นั่ง นอนอยู่ก็ดี เหลียวซ้ายแลขวา ก้ม เงย เหยียดแขนขา กะพริบตา อ้าปาก อันเป็นอิริยาบถน้อยก็ดี ขณะที่ตัวเย็นในฤดูร้อน ตัวอุ่นในฤดูหนาวก็ดี ตัวเบาหย่อนสบายก็ดี มีความจำ, คิด, เห็น, ว่าสบาย ขณะนั้นกิเลสต่างๆ มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตลอดจนการทำดีชั่วอันเป็นกุศลอกุศลกรรมก็เกิดขึ้นนี้แหละเป็นวิปัลลาสธรรมทั้ง ๓ พร้อมด้วยกิเลสที่เป็นบริวารกุศลอกุศลกรรมได้เกิดขึ้นแล้วโดยอาศัยกาย เมื่อเป็นเช่นนี้วิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูปอันเป็นสัตว์บุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากกุศลอกุศลกรรม ก็ย่อมเกิดขึ้นวนเวียนเป็นไปอยู่ในภพทั้ง ๓ โดยไม่มีโอกาสที่จะขาดสายลงได้ การเกิดขึ้นแห่งวิปัลลาสธรรมเป็นต้นจนถึงกุศลอกุศลกรรม อันเป็นเหตุและการเกิดขึ้นแห่งผลคือสัตว์บุคคลดังกล่าวนี้ ล้วนแต่เป็นโทษที่เนื่องมาจากมิได้มีการกำหนดรู้เห็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายใจนั้นเอง
ต่อมาเมื่อได้ทำการกำหนดรู้เห็นกายใจว่าเป็นทุกข์ โดยอาศัยการปรากฎแห่งทุกขลักขณะ เวลานั้นปัญญาที่รู้เห็นความเป็นทุกข์ในกายใจคือทุกขานุปัสสนาก็ทำการประหาณวิปัลลาสธรรมทั้ง ๓ พร้อมด้วยกิเลสอันเป็นบริวาร ตลอดจนถึงกุศลอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น เมื่อธรรมที่เป็นฝ่ายเหตุเกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมที่เป็นฝ่ายผลก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน ความเป็นไปดังนี้แหละจึงกล่าวว่าการประหาณวิปัลลาสธรรมทั้ง ๓ เป็นต้นด้วยทุกขานุปัสสนา
จบ ทุกขานุปัสสนา
--------///---------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ