อธิบายในสัททบัญญัติ

บาลีข้อที่ ๔

      ในบาลีข้อนี้แสดงให้รู้ถึงสัททบัญญัติอย่างเดียวเรียกชื่อได้  อย่าง มี นามะ นามกัมมะ เป็นต้น เช่นคำว่า ภูมิ คือแผ่นดินนี้เป็น นามะ นามกัมมะ นามเธยยะ นิรุตติ พยัญชนะ อภิลาปะ ได้ทั้ง ๖ อย่าง 


แสดงเหตุที่สัททบัญญัติอย่างเดียวเรียกชื่อได้ ๖ อย่าง

      ๑. ชื่อว่า "นามะ" หมายความว่า มีสภาพน้อมสู่เนื้อความและทำให้เนื้อความนั้นน้อมสู่ตน 

         "มีสภาพน้อมไปสู่เนื้อความ" เช่นคำว่า ภูมิ หรือแผ่นคินนี้ ย่อมสามารถทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่าน (สุนันตบุคคล) รู้เนื้อความ คือสภาพแผ่นดินนั้นได้ เพราะคำว่าภูมิก็ดี หรือแผ่นดินก็คื ย่อมน้อมอยู่ในการที่จะแสดงรูปร่างสัณฐานของตนให้ปรากฎอยู่เสมอ ดังแสดงวจนัตถะว่า 

      "อตฺถํ นมตีติ = นามํ" ธรรมใดย่อมมีสภาพน้อมไปสู่เนื้อความ ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นามะ 

      "ทำให้เนื้อความนั้นน้อมสู่ตน" เช่น คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ ย่อมสามารถทำให้ผู้ที่จะกล่าว หรือผู้ที่จะเขียน (วทันตะบุคคล) รู้ถึงเนื้อความคือ สภาพของเผ่นดินนั้นก่อนแล้วจึงกล่าวเรียกได้ว่าภูมิ หรือแผ่นดิน เพราะคำว่าภูมิก็ดี แผ่นดินก็ดี ย่อมทำให้เนื้อความนั้นน้อมสู่ตนได้ ดังแสดงวจนัตถะว่า 

      "อตฺตนิ อตฺถํ นาเมตีติ = นามํ" ธรรมใดย่อมทำให้เนื้อความน้อมสู่ตน ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นามะ

      ๒. ชื่อว่า "นามกัมมะ" หมายความว่า คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ เป็นคำที่นักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยโบราณเรียกขานกันมา ดังแสดงวจนัตถะว่า

         "กตฺตพฺพนฺติ = กมฺมํ" "นามเมว กมฺมํ = นามกมฺมํ" สิ่งที่นักปราชญ์ทั้งหลายพึงเรียก ฉะนั้นสิ่งนั้นชื่อว่า "กัมมะ" ชื่อสิ่งต่างๆ นั้นแหละ เป็นชื่อที่นักปราชญ์ทั้งหลายพึงเรียก ฉะนั้น ชื่อสิ่งต่างๆ นั้น จึงชื่อว่า "นามกัมมะ"

      ๓. ชื่อว่า "นามเธยยะ" หมายความว่า คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ เป็นคำที่นักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยโบราณสมมติตั้งชื่อไว้ ดังแสดงวจนัตถะว่า

         "ธียติ ถปียตีติ = เธยฺยํ" "นามเมว เธยฺยํ = นามเธยฺยํ" คำใดที่นักปราชญ์ทั้งหลายได้ตั้งชื่อไว้ ฉะนั้น คำนั้นชื่อว่า เธยยะ, ชื่อสิ่งต่างๆ นั้นแหละ เป็นชื่อที่นักปราชญ์ทั้งหลายตั้งขึ้นไว้ ฉะนั้น ชื่อสิ่งต่างๆ นั้น จึงชื่อว่า "นามเธยยะ"

      ๔. ชื่อว่า "นิรุตติ" หมายความว่า คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ เป็นคำที่นักปราชญ์ทั้งหลายคิดนึกพิจารณาแล้วตั้งชื่อขึ้น ชื่อต่างๆ เหล่านี้ก็ปรากฎขึ้นเหมือนกับคำว่า "พระไตรปีฎก" ในระหว่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้นในโลกนั้น พระไตรปีฎกก็ไม่มีโอกาสปรากฎขึ้น ต่อเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วพระไตรปีฎกก็ปรากฎขึ้นฉันนั้น ดังแสดงวจนัตถะว่า

      "อุจฺจเตติ = อุตฺติ" "นีหริตฺวา อุตฺติ - นิรุตฺติ" คำใดถูกกล่าวขึ้น ฉะนั้น คำนั้นชื่อว่า อุตติ, คำใดที่ถูกกล่าวให้ปรากฎออกมา ฉะนั้น คำนั้นชื่อว่า "นิรุตติ"

      ๕. ชื่อว่า "พยัญชนะ" หมายความว่า คำว่า ภูมิ หรือแผ่นคินนี้สามารถ แสดงเนื้อความให้ปรากฎขึ้นได้ ดังแสดงวจนัตถะว่า

         "อตฺถํ พฺยญฺชยติ ปกาเสตีติ = พฺยญชนํ" คำใดย่อมสามารถแสคงเนื้อความให้ปรากฏได้ ฉะนั้น คำนั้นชื่อว่า "พยัญชนะ"

      ๖. ชื่อว่า "อภิลาปะ" หมายความว่า คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ เมื่อผู้พูดทั้งหลายต้องการกล่าวขึ้นแล้ว ย่อมนึกถึงเนื้อความคือรูปร่างสัญฐานของแผ่นดินนั้นก่อนแล้วจึงกล่าวเรียกขึ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า

      "อภิลปฺปตีติ = อภิลาโป" คำใดที่ผู้กล่าวพึงนึกถึงเนื้อความก่อนแล้วจึงกล่าวขึ้น ฉะนั้น คำนั้นจึงชื่อว่า "อภิลาปะ"

      เมื่อสรุปความแล้ว คำว่า ภูมิ หรือแผ่นดินนี้ มีชื่อได้ ๖ อย่าง ดังที่กล่าวมานี้แม้ในชื่ออื่นๆ มีภูเขา ต้นไม้ ชาย หญิง เป็นต้น และภาษาต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในโลกนี้ คำหนึ่งๆ ก็มีชื่อได้ ๖ อย่าง มีนามะ นามกัมมะ เป็นต้น เช่นเดียวกับเพราะคำพูดและภาษาต่างๆ เหล่านี้ ก็เป็นสัททบัญญัติด้วยกันทั้งสิ้น อุปมาเหมือนคนๆ เดียวมีชื่อ ๖ ชื่อด้วยกันฉันนั้น และสัททบัญญัติเหล่านี้เรียกว่า "นามบัญญัติก็ได้"


อธิบายในสัททบัญญัติ หรือนามบัญญัติ ๖ ประเภท (บาลีข้อที่ ๕, ๖, ๗, ๘)

ในบาลีทั้ง ๔ ข้อนี้ แสดงถึงประเภทของสัททบัญญัติ ๖ ประการ และการยกตัวอย่างโดยเฉพาะๆ คือ

      ๑. วิชชมานบัญญัติ หมายความว่า เป็นสัททบัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถ์ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นิพพาน เป็นต้น หรือเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็ได้แก่คำพูดที่เกี่ยวกับจิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้นเองดังแสดงวจนัตถะว่า

         "วิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ - วิชฺชมานปญฺญตฺติ" คำสมมติของธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่ ชื่อว่า "วิชชมานบัญญัติ"

      ๒. อวิชชมานบัญญัติ หมายความว่า เป็นสัททบัญญัติที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฎอยู่ เช่นคำว่า แผ่นดิน ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ มหาสมุทร บ้าน ชาย หญิง เป็นต้น ดังแสดงวจนัตถะว่า

          "อวิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ - อวิชฺชมานปญฺญตฺติ" คำสมมติของธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่ ชื่อว่า "อวิชชมานบัญญัติ"

      ๓. วิชฺชมาเนนอวิชฺชมานบัญญัติ หมายความว่า เป็นสัททบัญญัติที่กล่าวถึงธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏรวมกันอยู่เช่นคำว่า "ฉฬภิญฺโญ, เตวิชฺโช, ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต, โสตาปนฺโน และคำเหล่านี่หมายถึง บุคคล ได้แก่ ฉฬภิญญบุคคล เตวิชชบุคคล ปฏิสัมภิทัปปัตตบุคคล โสดาบันบุคคล คำว่า ฉฬภิญญะ = อภิญญา ๖, เตวิชช = วิชชา ๓, ปฏิสัมภิทา =ปฏิสัมภิทาญาณ, โสดาบัน -= โสดาปัตติผล เหล่านี้ มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ส่วนคำว่า "บุคคล" นั้นไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ฉะนั้น คำว่า "ฉฬภิญญบุคคล" เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็น "วิชชมาเนนอวิชชามานบัญญัติ" ดังแสดงวจนัตถะว่า

      "วิชฺชมาเนน อวิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ - วิชฺชมาเนนอวิชฺชมานปญฺญตฺติ" คำกล่าวถึงธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ชื่อว่า "วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ"

      ในคำว่า ฉฬภิญโญ เตวิชโช เป็นต้น ซึ่งเป็นวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติเหล่านี้ เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว จะต้องพูดว่า บุคคลที่ได้อภิญญา ๖ บุคคลที่ได้วิชชา ๓ เป็นต้น ฉะนั้น คำกล่าวโดยภาษาไทยนี้จึงกลับเป็น "อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ" ไป

      ๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ หมายความว่า เป็นสัททบัญญัติที่กล่าวถึงธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏรวมกันอยู่ เช่นคำว่า อิตฺถีสทฺโท = เสียงหญิง, สุวณฺณวณุโณ = สีทอง, ปุปฺผคนฺโธ กลิ่นดอกไม้ เป็นต้น คำว่า อิตฺถี = หญิง, สุวณฺณ = ทอง, ปุปฺผ = ดอกไม้เหล่านี้ ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ส่วนคำว่า สทฺโท = เสียง, วณุโณ = สี, คนฺโธ =กลิ่น เหล่านี้ มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ฉะนั้น คำว่า "อิตฺถีสทฺโท" เป็นต้นเหล่านี้จึงเป็น "อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ" ดังแสดงวจนัตถะว่า

         "อวิชชมาเนน วิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ = อวิชฺชมาเนนวิชฺชมานปญญตฺติ" คำกล่าวถึงธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ชื่อว่า "อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ"

          สำหรับในภาษาไทยนั้นพูดว่า เสียงหญิง สีทอง กลิ่นดอกไม้ เป็นต้น ฉะนั้น คำกล่าวโดยภาษาไทยนี้จึงกลับเป็น "วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ"

      ๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ หมายความว่า เป็นสัททบัญญัติที่กล่าวถึงธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฎรวมกันอยู่เช่นคำว่า จกฺขุวิญญาณํ - วิญญาณที่อาศัยจักขุวัตถุเกิด, จกฺขุสมฺผสฺโส =การกระทบทางตา เป็นต้น, คำว่า จกฺขุ - จักขุปสาท, วิญฺญาณํ = จิต, ผสฺโส = ผัสสเจตสิก เหล่านี้ล้วนมีสภาวปรมัตถ์ปรากฏทุกคำ ฉะนั้น คำว่า "จกฺขุวิญฺญาณ" เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็น "วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ" ดังแสดงวจนัตถะว่า

         "วิชฺชมาเนน วิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ = วิชฺชมาเนนวิชฺชมานปญฺญตฺติ" คำกล่าวถึงธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฎ กับธรรมที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฎ ชื่อว่า "วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ"

      ๖. อวิชฺชมาเนนอวิชฺชมานบัญญัติ หมายความว่าเป็นสัททบัญญัติที่กล่าวถึงธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ กับธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏรวมกันอยู่ เช่นคำว่า ราชปุตฺโต - บุตรของพระราชา ราชนตุตา = หลานของพระราชา เสฏฐิภริยา = ภรรยาเศรษฐี เชฏฺฐภคินี = พี่สาว เป็นต้น คำว่า ราช =พระราชา ปุตฺโต = บุตร นตฺตา = หลาน เสฏฺฐี = เศรษฐี ภริยา = ภรรยา เชฏฐ =พี่ ภคินี = น้อง เป็นต้นเหล่านี้ ล้วนแต่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏทุกคำ ฉะนั้น คำว่า "ราชปุตฺโต" เป็นต้นเหล่านี้จึงเป็น "อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ" ดังแสดงวจนัตถะ ว่า

      "อวิชฺชมาเนน อวิชฺชมานสฺส ปญฺญตฺติ = อวิชฺชมาเนนอวิชฺชมานปญฺญตฺติ" คำกล่าวถึงธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฎ กับธรรมที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏ ชื่อว่า "อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ"


อธิบายในคาถาที่แสดงการรู้ถึงสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติและต้นเหตุที่นามบัญญัติปรากฎขึ้น

บาลีข้อที่ ๘

      ในคาถาข้อนี้แสดงถึงวิถีจิตที่รู้ในสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ และการตั้งชื่อให้ปรากฏขึ้นแก่ชนทั้งหลาย

      เมื่อได้ยินคำพูดว่า "โค" โสตวิญญาณวิถีย่อมเกิดขึ้นรับสัททารมณ์ คือคำว่า โค นี้ แล้วก็ดับไป ต่อจากนั้น ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี ย่อมเกิดขึ้นรับสัททารมณ์ คือคำว่า โค ที่ดับไปแล้วนั้นต่อไป เรียกว่า อตีตัคคหณวิถี ดังนั้นพระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงไว้ว่า "วจีโฆสานุสาเรน โสตวิญญาณวีถิยา" ในบาลีนี้ ไม่มีการแสดงถึงอตีตัคคหณวิถีโดยตรง แต่ตามธรรมดานามัคคหณวิถี และอัตถัคคหณวิถีทั้ง ๒ นี้ ย่อมเกิดหลังจากอตีตัดคหณวิถี หรือสมูหัคคหณวิถีเสมอไป จะเกิดต่อจากโสตวิญญาณวิถีโดยตรงนั้นไม่ได้ แต่ในคำว่า "โค" ที่ยกขึ้นเป็นตัวอย่างนี้เป็นคำพูดที่มีพยางค์เดียว ฉะนั้น จึงไม่มีสมูหัคคหณวิถีด้วย เหตุนี้ นามัคดหณวิถี และอัตถัคคหณวิถี จึงต้องเกิดต่อจากอตีตัคคหณวิถี จะเว้นอตีตัคคหณวิถีสียไม่ได้ ดังนั้น แม้จะไม่ได้แสดงถึงอตีตัคคหณวิถีโดยตรง ก็พึงเข้าใจว่าต้องมีอตีตัคคหณวิถีอยู่ด้วย โดยนัยนี้เรียกว่า "อวินาภาวนัย" คือเป็นนัยที่กล่าวถึงสิ่งหนึ่งแล้วจะเว้นเสียจากอีกสิ่งหนึ่งไม่ได้

      เมื่ออตีตัคคหณวิถีที่เกิดต่อจากโสตวิญญาณวิถีดับลงแล้ว ผู้ฟังนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ถึงความหมายของคำว่า โค นั้นได้ รู้แต่เพียงเสียงว่า โค เท่านั้นต่อจากนั้นวิถีที่ ๓ คือนามัคคหณวิถีย่อมเกิดขึ้น ขณะนั้นผู้ฟังย่อมสามารถรู้ถึงนามบัญญัติ คือความหมายของคำว่า โค นั้นได้ แต่ก็ยังไม่รู้ไปถึงอัตถบัญญัติ คือรูปร่างโค ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงไว้ว่า "ปวตฺตานนฺตรุปฺปนฺนมโนทฺวารสฺส โคจรา"

      เมื่อนามัคคหณวิถีดับลงแล้ว วิถีที่ ๔ คือ อัตถัคคหณวิถีก็เกิดขึ้น รับอัตถบัญญัติ ขณะนั้นผู้ฟังย่อมรู้ถึงรูปร่างสัญฐานของโคได้บริบูรณ์ ดังนั้นพระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงไว้ว่า "อตฺถา ยสฺสานุสาเรน วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ" การเกิดขึ้นของวิถีจิตที่รู้ถึงนามบัญญัติ และอัตถบัญญัติ เมื่อขณะได้ยินเสียงคำพูดที่มีพยางค์เดียวดังกล่าวมาแล้วนี้ สมกับคาถาที่แสดงว่า

            สทฺทํ ปฐมจิตฺเตนา-     ตีตํ ทุติยเจตสา

            นามํ ตติยจิตเตน        อตฺถํ จตุตฺถเจตสา ฯ

      ย่อมได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยปฐมโสตวิญญาณวิถี ย่อมรู้เสียงที่ดับไปแล้วด้วยทุติยมโนทวารวิถี คืออตีตัคคหณวิถี 

      ย่อมรู้ชื่อด้วยตติยมโนทวารวิถี คือนามัคคหณวิถี ย่อมรู้ความหมายรูปร่างสัณฐานด้วยจตุตถมโนทวารวิถี คืออัตถัคคหณวิถี


      สัททบัญญัติ และอัตถบัญญัติที่ปรากฏในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยโบราณและในสมัยปัจจุบัน ได้ตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของชาวโลกทีละเล็กละน้อย

      ในสมัยที่ได้มีการสร้างโลกใหม่ขึ้น และมีพวกมนุษย์เกิดอยู่แล้วนั้น บรรดาอัตถบัญญัติต่างๆ นับตั้งแต่พื้นแผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และวัตถุสิ่งต่างๆ นั้นมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีสัททบัญญัติ คือยังไม่มีชื่อเรียก ต่อมามีผู้เฉลียวฉลาดได้คิดตั้งชื่อขึ้นให้เหมาะสมแก่ความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เช่นเมื่อเห็นแผ่นดินแล้วก็ตั้งชื่อว่า ภูมิ หรือ ปถวี เมื่อเห็นภูเขาก็ตั้งชื่อว่า ปัพพโต เมื่อเห็นแม่น้ำก็ตั้งชื่อว่า นที เมื่อเห็นต้นไม้ก็ตั้งชื่อว่า รุกโข เป็นต้น และชนทั้งหลายเมื่อได้ยินคำว่า ภูมิ เป็นต้น ก็รู้ได้ว่าเป็นชื่อของสิ่งนั้นสิ่งนี้ และ เมื่อได้เห็นแผ่นดิน ภูเขา เป็นต้น ก็เรียกชื่อได้ว่า ภูมิ ปัพพโต เป็นต้น จนเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไป และรู้ทั่วไปในโลก สำหรับภาษาต่างๆ มีภาษาไทย พม่า เแขก ฝรั่ง เป็นต้น ก็มีผู้มีปัญญาคิดตั้งชื่อขึ้นใช้เรียกตามประเทศชาติของตนๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และถ้ามีวัตถุใดที่ใหม่แปลกปรากฎขึ้นแล้ว พวกนักปราชญ์ที่มีความรู้ในค้านพิจารณากันคว้า ก็ได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่อีก แล้วแต่ประเทศชาติของตน ดังนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงได้แสดงไว้ว่า  "สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเณยฺยา โลกสงฺเกตนิมฺมิตา" ดังนี้


จบ การจำแนกรูปนามและบัญญัติ

และ

จบคำแปลอภิธัมมัตถสังคหบาลี

พร้อมทั้งคำอธิบายในปริจเฉทที่ ๘

---------///-----------


 

[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปัจจยสังคหะ,อภิธัมมัตถสังคหะ,สัททบัญญัติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.