ปัญหาในปริจเฉทที่ ๘

ปัญหาในปฏิจจสมุปบาท

(ปัญหาที่มี อักษร อ. อยู่ข้างหน้า เป็นปัญหาสำหรับชั้นอาจารย์ ส่วนปัญหาที่ไม่มีอักษร อ. นั้น เป็นปัญหาทั่วไป)

-----------------------

๑. จงเขียนภาพที่แสดงถึงการจำแนกปฏิจจสมุปบาทธรรมโคยองค์และอัทธา เป็นต้น

๒. จงเขียนภาพที่แสดงถึงอัทธา ๓ องค์ ๑๒ อาการ ๒๐ สันธิ ๓ สังเขป ๔ วัฏฏะ ๓ มูล ๒ ภวจักร ๒

๓. จงเขียนภาพที่แสดงถึงปุพพันตภวจักร

๔. จงเขียนภาพที่แสดงถึงอปรันตภวจักร

๕. ทำไมปริจเฉทที่ ๘ นี้จึงชื่อว่า ปัจจยสังคหะ และให้แสดงเหตุผลในการที่พระอนุรุทธาจารย์แสดงบัญญัติต่างๆ ไว้ในปริจเฉทนี้ด้วย พร้อมทั้งแปลคำปฏิญญาของพระอนุรุทธาจารย์มี "เยสํ สงฺขตธมฺมานํ" เป็นต้น

๖. ให้แสดงความหมายของคำว่า "ปัจจัยกับปัจยุปบัน" และธรรมที่เป็นปัจจัยได้แต่เป็นปัจจยุบันไม่ได้นั้น ได้แก่ธรรมอะไรบ้าง?

๗. จงอธิบายในคาถาปฏิญญาโดยละเอียด

๘. ปัจจัยสังคหะนี้มีกี่นัย คืออะไรบ้าง? และจงแสดงถึงความแตกต่างกันระหว่างนัยนั้นๆ (ไม่ต้องยกวจนัตถะ)

๙. จงแสดงวจนัตถะของคำดังต่อไปนี้ "ปฏิจฺจสมุปฺปาโท, ปฏฺฐานํ, นโย, ปฏิจฺจสมฺปปาทนโย, ปฏฺฐานนโย"

๑๐. ปฏิจจสมุปบาทธรรม หมายความว่ากระไร มีจำนวนเท่าไร คืออะไร? , ปฏิจจสมุปปันนธรรม หมายความว่ากระไร มีจำนวนเท่าไร คืออะไร? และให้แสดงวจนัตถะที่มีความหมายถึงธรรมที่เป็นผลมาด้วย

๑๑. ให้แปลในพระบาลีปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่ "อวิชชาปจุจยา สงขารา" เป็นต้น จนถึง "สมุทโย โหติ"

อ. ๑๒. จงบรรยายถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้รูปนาม ตามเหตุผลโดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทธรรม และปัฎฐาน

๑๓. อวิชชา เมื่อแยกบทแล้วมีกี่บท คืออะไรบ้าง? ให้บอกความหมายของบทนั้นๆ และให้แสดงวจนัตถะของคำว่า อวิชชา วิชชา สำหรับอวิชชานั้นแสดงเพียง ๒ นัย

๑๔. การไม่รู้ตามความเป็นจริงของอวิชชานั้น มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? ให้ยกขึ้นอธิบายมาให้เห็นสัก ๑ อย่าง

อ. ๑๕. จงอธิบายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

๑๖. ให้แสดงถึงความเป็นไปของผู้ที่ ไม่รู้ในการที่ตนเคยเกิดมาแล้ว และไม่รู้ในการที่จะต้องเกิดต่อไปอีกข้างหน้า

๑๗. อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺญาณํ แปลว่ากระไร? ให้อธิบายความหมายของบทนี้ด้วย

๑๘. ผู้ที่มีอวิชชาหนามาก ผู้มีอวิชชาเบาบางแล้ว และผู้มีอวิชชาบางที่สุด ทั้ง ๓ พวกนี้ได้แก่บุคคลชนิดใดบ้าง? ให้อธิบายมาโดยเฉพาะ?

อ. ๑๙. ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ที่ไม่มีอวิชชา เมื่อเป็น เช่นนี้ พระอรหันต์ก็ต้องเป็นผู้มีความรู้ทั่วไป และถ้ายังไม่มีความรู้ทั่วไป ก็จะมิเป็นการขัดกันหรือที่กล่าวไว้ว่า พระอรหันต์

ปราศจากอวิชชาแล้ว! ขอให้อธิบายวินิจฉัยโดยถี่ถ้วนด้วย

๒๐. ให้แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของอวิชชา

๒๑. คำว่า สังขาร หมายความว่ากระไร? ให้ยกวจนัตถะขึ้นแสดงด้วย และสังขารที่เป็นผลของอวิชชานั้นมีเท่าไร? ให้แสดงองค์ธรรมโดยเฉพาะๆ ด้วย

๒๒. เจตนาที่อยู่ในวิบากและกริยาเหล่านี้ ไม่จัดเป็นสังขาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นเพราะเหตุไร และกุศลเจตนาที่ชื่อว่าบุญ แต่ไม่จัดเป็นปุญญาภิสังขารหรืออาเนญชาภิสังขารนั้นมีหรือไม่ ถ้ามีจะ

ได้แก่กุศลเจตนาชนิดไหน? ให้อธิบาย

๒๓. ให้แสดงวจนัตถะของบทคังต่อไปนี้ ปุญฺญํ, อปุญฺญํ, อาเนญฺชํ, ปุญฺญาภิสงฺขารํ, วจีสงฺขารํ ?

๒๔. จงจำแนกปุญญาภิสังขาร เป็นต้น โดยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทาน ศีล ภาวนา และทุจริต ๑๐

อ. ๒๕ . ให้บรรยายถึงปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เกิดขึ้นโดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุ

อ. ๒ ๖. อกุศลต่างๆ สำเร็จลงได้โดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนั้นไม่ขัดข้อง แต่กุศลต่างสำเร็จลงได้โดยอาศัยอวิชชาเป็นเหตุนี้ ยังเป็นข้อที่น่าสงสัยขอให้อธิบายมาให้เป็นที่เข้าใจด้วย

อ. ๒๓. ในบทที่ว่า "อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา" นั้นทำให้เข้าใจว่า ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศลเหล่านี้ เกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้ที่ยังมีอวิชชาอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมไม่มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อีกต่อไปเพราะปราศจากอวิชชาแล้ว กระนั้นหรือ! ขอให้ท่านจงอธิบายวินิจฉัยเรื่องนี้มาโดยตลอดชัดเจนด้วย

๒๘. ให้แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของสังขาร

อ. ๒๘. จงแปลและอธิบายโดยสังเขปในคาถาดังต่อไปนี้ 

        มรุปปาตํ ทีปจฺจึ      ฯลฯ  ปีสาจ นครํ ยถา ฯ

        พาโล กโรติ สงฺขาเร ฯลฯ  ภาวโต โหติ ปจฺจโย ฯ

        ยถาปี นาม ชจฺจนฺโธ ฯล   กุมมคฺเคนาปิ เอกทา ฯ

        สํสาเร สํสรํ พาโล   ฯลฯ อปุญฺญมฺปิ เอกทา ฯ

อ. ๓๐. อวิชชาเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สังขารทั้ง ๓ นั้น ได้อำนาจปัจจัยเท่าไร คืออะไรบ้าง? ให้แสดงโดยเฉพาะๆ

๓๑. ให้แสดงความแตกต่างกันระหว่างสังขารที่เป็นผลของอวิชชา กับสังขารที่เป็นเหตุของวิญญาณ และให้แสดงองค์ธรรมของสังขารที่เป็นเหตุของวิญญาณ

๓๒. จงแสดงวจนัตถะของคำว่า วิญญา พร้อมทั้งองค์ธรรม

๓๓. ให้แสดงองค์ธรรมของวิญญาณตามนัยทั้ง ๒ พร้อมทั้งอธิบาย

อ. ๓๔. จงอธิบายในวจนัตถะของ วิญญาณํ ข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ และวิญญาณที่เป็นผลของสังขารนี้แบ่งออกเป็นกี่พวก คืออะไรบ้าง?

๓๕. จงจำแนกปฏิสนธิวิญญาณ ๑๘ โดย มิสสกะ สุทธะ ภูมิ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส

๓๖. ให้แสดงจำนวนวิญญาณดังต่อไปนี้

     รูปมิสสกวิญญาณ รูปอมิสสกวิญญาณ กามวิญญาณ

     รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณ อัณฑชวิญญาณ ชลาพุชวิญญาณ

     สังเสทชวิญญาณ โอปปาติกวิญญาณ เทวคติวิญญาณ มนุสสคติ

     วิญญาณ นิรยคติวิญญาณ ติรัจฉานคติวิญญาณ

๓๓. จงจำแนกวิปากวิญญาณ ๓๒ โคยสังขารทั้ง ๓ มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นว่า วิญญาณชนิดนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยสังขารชนิดใจเป็นปัจจัย

๓๘. วิปากวิญญาณที่เกิดขึ้นในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ในปวัตติกาลนั้น ได้แก่อะไร และเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นได้แก่อะไรบ้าง? ให้แสดงโดยเฉพาะๆ

๓๙. จงแสดงวิปากวิญญาณดังต่อไปนี้

     ก. วิปากวิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาลได้ แต่เกิดในปวัตติกาลไม่ได้

     ข. วิปากวิญญาณที่เกิดในปวัตติกาลได้ แต่เกิดในปฏิสนธิกาลไม่ได้

     ค. วิปากวิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ทั้ง ๒ ได้

     ง. วิปากวิญญาณที่เกิดในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ทั้ง ๒ ไม่ได้

๔๐. ให้แสดง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของวิญญาณ และในการที่สังขารเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณนั้น ได้อำนาจปัจจัยกี่ปัจจัย คืออะไรบ้าง?

๔๑. ให้แสดงประเภทวิญญาณที่เป็นเหตุของนามรูป พร้อมทั้งองค์ธรรม และคำว่า นามรูปั นั้น นามได้แก่อะไร รูปได้แก่อะไร?

๔๒. จงจำแนกนามรูปที่เป็นผลของวิญญาณนั้นโคยปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล และให้อธิบายในวจนัตถะที่ว่า "นามญฺจ รูปญฺจ นามรูปญฺจ = นามรูปํ"

๔๓. ให้แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของนามรูป

๔๔. ให้แสดงอำนาจปัจจัยที่เข้ากันได้ในการช่วยอุปการะดังต่อไปนี้

     ก. วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามคือเจตสิกที่ประกอบ

     ข. ปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่หทัยวัตถุรูป

     ค. ปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูป (เว้นหทัยวัตถุ)

     ง. กัฆมวิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปฏิสนธิกัมมชรูปในอสัญญสัตตภูมิ

     จ. กัฆมวิญญาณเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปวัตติกัมมชรูป ในปัญจโวการภูมิ และเอกโวการภูมิ

๔๕. ให้แสดงองค์ธรรมในบทว่า "นามรูปปจุจยา สพายตนํ สมุภวติ" โดยเฉพาะ และจงแสดงวจนัตถะของบทดังต่อไปนี้ อายตนํ, สฬายตนํ

๔๖. จงอธิบายคำว่า สพายตนํ ในบทที่ว่า นามรูปปจุจยา สพายตนํและให้แปลบทดังต่อไปนี้

     ก. อายตนลกฺขณํ

     ข. ทสฺสนรสํ

     ค. วตฺถุทฺวารภาวปจฺจุปฏฺฐานํ 

     ง. นามรูปปทฏฺฐานํ

อ. ๔๗. ให้แสดงปัจจัยสงเคราะห์ในบท นามรูปปจุจยา สพายตนั ทั้งหมด

๔๘. จงแสดงอำนาจปัจจัยในบท นามรูปปจุจยา สพายตนํ ข้อใดข้อหนึ่งมา ๑ ข้อ

๔๙. จะแสดงวจนัตถะอย่างไรในคำว่า ผัสสะ สัมผัสสะ จักขุสัมผัสสะ มโนสัมผัสสะ?

อ. ๕๐. จงบรรยายในบทที่ว่า "สพายตนปจุจยา ผสุโส สมุภวติ"

๕๑. ให้แปลในบทคังต่อไปนี้

     "จกฺขุญจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส"

     "มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส"

๕๒. ให้อธิบายถึงการกระทบอารมณ์ของผัสสะว่า กระทบอารมณ์อย่างไร เรียกว่าผัสสะได้

๕๓. ให้จำแนกผัสสะ ๖ โดยภูมิ 

๕๔. ผัสสะที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสฬายตนะเป็นปัจจัยนี้ เมื่อนับโดยพิสดารแล้ว มีจำนวนเท่าไร คืออะไรบ้าง?

๕๕. ตามธรรมดาผัสสะอย่างเดียว เกิดขึ้นโดยอาศัยอายตนะทั้งหมดก็หามิได้ ผัสสะทั้งหมดเกิดขึ้นโดยอาศัยอายตนะอย่างเดียวก็หามิได้ แต่ทำไมพระพุทธองค์ทรงเทศนาโดยใช้บทที่เป็นเอกพจน์ ว่า "สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส"

๕๖. ให้แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของผัสสะ และแสดงปัจจัยสงเคราะห์ในบทว่า "สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส" ด้วย

๕๗. เวทนาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยมีกี่อย่าง และความหมายของแต่ละอย่างนั้น มีอย่างไรบ้าง?

๕๘. จงแสดงวจนัตถะของคำว่า เวทนา และจักขุสัมผัสสชาเวทนา พร้อมทั้งจำแนกเวทนา ๖ โดยสุข ทุกข์ อุเบกขา

อ. ๕๙. ให้อธิบายในการที่ความสุข ความทุกข์ มีมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่ความเป็นไปของผัสสะ พร้อมทั้งแสดงลักษณะ รส ปัจจฺปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของเวทนา และการสงเคราะห์ปัจจัยในบท "ผสฺสปจฺจยาเวทนา"

อ. ๖๐. จงบรรยายในบท "เวทนาปจฺจยา ตณฺหา สมฺภวติ"

๖๑. จงแสดงวจนัตถะของคำว่า ตัณหา และตามหลัก ตัณหา คือความยินดี พอใจ อยากได้ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะอาศัยการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น ในอารมณ์ที่ดี ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ตัณหาเกิดจากอารมณ์ทั้ง ๖ แต่ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า "เวทนาปจฺจยา ตณฺหา" ไม่ทรงแสดงว่า "อารมฺมณปจฺจยา ตณฺหา" เพราะเหตุไร? ให้อธิบาย

อ. ๖๒. ให้อธิบายในการที่ตัณหาเกิดขึ้นโดยอาศัยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาโดยเฉพาะ

๖๓. ตัณหาเกิดขึ้นโดยอาศัยสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนานั้น ก็พอจะเข้าใจ แต่ตัณหาเกิดขึ้นโดยอาศัยทุกขเวทนานั้นเป็นได้อย่างไร? ขอให้อธิบาย

๖๔. ตัณหา ๖ มีอะไรบ้าง? ให้แสดงความหมายด้วย

๖๕. ให้อธิบายในพระบาลีที่ว่า "จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกขฺวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส, ผสฺสปจฺจยา เวทนา, เวทนาปจฺจยา ตณฺหา" พร้อมทั้งแสดงการเกิดขึ้นของธัมมตัณหา

๖๖. ถ้ามีคนบอกว่า รูปตัณหานี้ เป็นกามตัณหาก็ได้ เป็นภวตัณหาก็ได้เป็นวิภวตัณหาก็ได้ ท่านจะคัดค้านหรือเห็นด้วยประการใด? ให้แสดงมาโดยชัดเจน

๖๗. ความยินดีติดใจในการเจริญสมถะ วิปัสสนา เป็นธัมมตัณหาได้ หรือไม่? ให้อธิบายวินิจฉัยยกหลักฐานขึ้นประกอบด้วย

๖๘. เวทนาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้อาศัยผัสสะเป็นปัจจัยนั้นมีหรือไม่ และเวทนาจำพวกไหนที่เป็นเหตุให้ตัณหาเกิด และการเสวยคือเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะเห็น ได้ยิน เป็นต้นนั้น จะกล่าวได้ไหมว่า ตัณหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ? ให้อธิบาย

๖๙. ตัณหาที่ชื่อว่า กามตัณหา และภวตัณหานั้นเป็นอย่างไร? ให้ยกวจนัตถะขึ้นแสดงประกอบด้วย 

๗๐. ภวตัณหา เมื่อแสดงตามสุตตันตมหาวรรคอรรถกถาแล้ว มีจำนวนเท่าไร คืออะไรบ้าง? ให้แสดงความหมายพร้อมทั้งยกหลักฐานขึ้นประกอบด้วย 

๗๑. ที่กล่าวว่า วิภวตัณหานั้น ท่านมีความเข้าใจอย่างไร? ให้อธิบายตามความเข้าใจของท่านให้ถูกหลัก

๗๒. วิธีนับตัณหา ๑๐๘ นั้น จะนับอย่างไร? ให้แสดงการนับโดยชัดเจน

๗๓. จงแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของตัณหาและให้แสดงปัจจัยสงเคราะห์ในบท "เวทนาปจุจยา ตณหา" ด้วย

๗๔. ตัณหาและทิฏฐิ ที่ชื่อว่าอุปาทานได้นั้น เป็นตัณหาชนิดไหน เป็นทิฏฐิชนิดไหน? และจงแสดงวจนัตถะของอุปาทานด้วย

อ. ๗๕. ทิฏฐุปาทานมีเท่าไร คืออะไรบ้าง? ให้แสดงโดยละเอียด

๗๖. มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ นั้น คืออะไรบ้าง?

๗๗. จงแสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ พร้อมทั้งความหมาย

๗๘. ความเห็นผิดชนิดไหนได้ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน? ให้อธิบายโดยสังเขป

อ. ๗๙. จงอธิบายในเรื่องสีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานโดยละเอียด

๘๐. สักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นโดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ นั้นโดยย่อมีเท่าไร โดยพิสดารมีเท่าไร? และจงแสดงการเกิดขึ้นของสักกายทิฏฐิโดยย่อและโดยพิสดาร ด้วยการอาศัยขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมาให้เห็นโดยชัดเจน

๘๑. ให้เพิ่มเติมเนื้อความในเรื่องดังต่อไปนี้ 

     "อธิบายว่า ผู้ที่มีอัตตวาทุปาทานนี้ไม่เห็นไม่เข้าใจ.....ฯลฯ......ร่างกายก็ทำไปตามอัตตะสั่ง"

อ. ๘๒. จงบรรยายในเรื่องปรมอัตตะและชีวอัตตะโดยละเอียด

๘๓. ความยึดมั่นว่าเป็นอัตตะนี้มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? ให้อธิบายโดยย่อ

๘๔. จงแปลในพระบาลีดังต่อไปนี้

     อยํ โข ภวํ พฺรหฺมา มหาพฺรหฺมา อภิภู อนภิภูโต อญฺญทตฺถุทโส วสวตฺติ อิสฺสโร กตฺตา นิมฺมาตา เสฏฺโฐ สชฺชิตา วสี ปิตา ภูตภพฺยานํ อิมินา มยํ โภตา พฺรหฺมุนา นิมฺมิตา"

๘๕. ให้แสดงความหมายของคำว่า การกะ เวทกะ สามี นิวาสี สยังวสี วสะวัตตนะ และให้อธิบายในคำเหล่านี้มาสักคำหนึ่ง

๘๖. ถ้าไม่มีสักกายทิฏฐิแล้ว มิจฉาทิฏฐิต่างๆ เกิดขึ้นได้หรือไม่! ให้วินิจฉัยและอธิบาย

อ. ๘๗. จงแสดงความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับกามุปาทาน มาโดยละเอียด

๘๘. ขอให้เพิ่มเติมเนื้อความในเรื่องดังต่อไปนี้

    "อนึ่ง พุทธศาสนิกชนโดยมาก แม้จะชี้ขาดไปไม่ได้ว่า เป็นพวกชีวอัตตะใดอย่างหนึ่งก็ตาม ฯลฯ แปลความว่า มนุษย์ทั้งหลายมีความยึดถือว่า ในต้นไม้นี้มีชีวิต"

๘๙. จงแปลในคาถาดังต่อไปนี้

     สตฺติยา ยสฺส ชีวสฺส ฯลฯ นิวาสี โส สยํวาสี ฯ พร้อมทั้งวินิจฉัยในข้อที่ว่า "ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งของตน" หรือที่พูดกันว่า "เชื่อตัวเอง" คำพูดเหล่านี้จัดเป็นอัตตวาทุปาทานได้หรือไม่? และทิฏฐิชนิดไหนชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน ให้อธิบายยกหลักฐานขึ้นแสดงด้วย

อ. ๙๐. จงบรรยายในตัณหาเป็นปัจจัยให้อุปาทานทั้ง ๔ เถิด 

๙๑. ให้แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของอุปาทาน และให้แสดงปัจจัยสงเคราะห์ในบท "ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ" ด้วย

๙๒. ภวะมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ให้แสดงทั้งธรรมาธิษฐาน และปุคคลาธิษฐาน พร้อมทั้งแสดงวจนัตถะของบท ดังต่อไปนี้ ภวะ กัมมภวะ อุปปัตติ อุปัตติภวะ

๙๓. ให้จำแนกกัมมภวะ โดยทวาร และจงแสคงอุปปัตติภวะ ๙ มีกามภวะเป็นต้น

๙๔. จงแสดงอุปปัตติภวะทั้ง ๔ โคยปุคคลาธิษฐาน และแสดงองค์ธรรมของอุปปัตติภวะ ๙ มีนานัตตกายนานัตตสัญญีภวะ เป็นต้น

๙๕. อุปปัตติภวะ ๙ เมื่อย่อลงแล้วได้เท่าไร และกัมมภวะกับอุปปัตติภวะทั้ง ๒ นี้ เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันได้นั้น เป็นได้อย่างไร? ให้อธิบาย

อ. ๙๖. จงแปลในคาถาดังต่อไปนี้

        อมตํ มิยฺยมาเนน ฯลฯ นิเมยฺย โพนฺธินา สิวํ ฯ

        และจงแสดงการเกิดขึ้นของกัมมภวะและอุปปัตติภวะ โคยอาศัยอุปาทานทั้ง ๔

๙๗. ให้แสดงความหมายของทิฏฐิดังต่อไปนี้ นัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ

๙๘. ให้แสดงความแตกต่างกันระหว่างสังขาร กับกัมมภวะ พร้อมทั้งแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของกัมมภวะ

อ. ๙๙. ให้แสดงการสงเคราะห์ปัจจัยในบทว่า "อุปาทานปจุจยา ภโว" มาโดยละเอียด

๑๐๐. ให้บรรยายในบท "ภวปจฺจยา ชาติ สมฺภวติ"

๑๐๑. คำว่า "ชาติ" แปลว่ากระไร แสดงวจนัตถะอย่างไร? และชาตินี้ว่าโดยธรรมาธิษฐานและ โดยกาลแล้ว มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง?

๑๐๒. ปฏิสนธิชาติ เมื่อว่าโดยกำเนิดก็มี ๔ ว่าโดยขันธ์มี " อยากทราบว่ามี ๔ นั้นคืออะไร มี ๆ คืออะไร?

๑๐๓. ให้เพิ่มเติมเนื้อความใบเรื่องคังต่อไปนี้

       "ชาติ คือการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ โดยประเภทต่างๆ มีพวกอบายสัตว์ มนุษย์ เทวคา พรหม เหล่านี้ ฯลฯ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบกัมมภวะนี้ว่าเป็นปัจจัยของชาติ"

๑๐๔. ให้แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของชาติ และกัมมภวะเป็นปัจจัยอุปการะแก่ชาตินั้น ได้อำนาจปัจจัยเท่าไร คืออะไรบ้าง? พร้อมทั้งแสดงความเห็นของมูลฎีกาจารย์ และพระอรรถกถาจารย์ ในบทว่า "ภวปจฺจยา ชาติ" นี้

อ. ๑๐๕. จงบรรยายในบทว่า "ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ" โดยสังเขป

๑๐๖. ให้แสดงวจนัตถะของคำว่า ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ

๑๐๓. องค์ธรรมของชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เหล่านี้ได้แก่อะไร?

๑๐๘. ชรา มีกี่อย่าง อะไรบ้าง? ให้บอกความหมายมาด้วย

๑๐๙. ท่านกล่าวว่า วโยวุทธิชรานี้ เมื่อว่าโดยวัยแล้ว มี ๓ หรือมี ๑. อยากทราบว่า ๆ นั้นได้แก่อะไร ๑. นั้นได้แก่อะไร มีกำหนดขอบเขตอย่างไร?

๑๑๐. คำว่า ชรา ในปฏิจจสมุปบาทนี้ มุ่งหมายเอาชราชนิดไหน? และจงจำแนกชราต่างๆ เหล่านั้น โดยปรมัตถ์และบัญญัติ

อ. ๑๑๑. บางท่านกล่าวว่า ชรานี้เห็นได้ บางท่านก็กล่าวว่าเห็นไม่ได้ เรื่องนี้ขอให้ท่านวินิจฉัยตัดสินให้เห็นชัดเจนด้วย

๑๑๒. มรณะมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง และในปฏิจจสมุปบาทนี้ประสงค์เอามรณะชนิดไหน?

อ. ๑๑๓. จงบรรยายในเรื่อง การทำลายชาติอันเป็นเหตุของชรามรณะพร้อมทั้งยกอุปมาอุปไมยด้วย

๑๑๔. ให้แปลในคาถาคังต่อไปนี้

       "อนุมตฺโตปี ปุญเถน ฯลฯ เต มาโร วตุตุมรหติ"

        พร้อมทั้งแสคงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของชราและมรณะ

๑๑๕. ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ชรามรณะนั้น ได้ปัจจัยเท่าไร คืออะไรบ้าง?

๑๑๖. พยสนะ ที่เป็นเหตุของความเศร้าโสกเสียใจนั้นมีเท่าไร คืออะไรบ้าง? ให้แสดงความหมายด้วย และลักษณะ รส ปัจจุปัฎฐาน ปทัฏฐาน ของโสกะ ปริเทวะ มีอะไรบ้าง?

๑๑๗. ความทุกข์มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? พร้อมทั้งความหมาย และความทุกข์ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้แก่ทุกข์ชนิดไหน?

๑๑๘. การกระทำ ๓๒ อย่างที่ให้เกิดความทุกข์กายนั้น มีอะไรบ้าง?

๑๑๕. ให้แปลคาถาดังต่อไปนี้

      "มา ปีเยหิ สมาคญฺฉิ ฯลฯ อปฺปียานญฺจ ทสฺสนํ"

       และแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของทุกขะ โทมนัสสะ

อ. ๑๒๐.  อุปายาสะ เมื่อแยกบทแล้วได้กี่บท คืออะไร มีความหมายอย่างไร? ให้อธิบายสภาพของอุปายาสะ และบอกถึงความแตกต่างกันระหว่างโสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ

๑๒๑. จงแปลคาถาที่แสดงถึงความแตกต่างกันระหว่าง โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ และให้แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของอุปายาสะ

๑๒๒. ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่โสกะ ปริเทวะ เป็นต้นนั้น ได้อำนาจปัจจัยเท่าไร คืออะไร? และให้อธิบายในบทว่า "เอวเมตสฺสเกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ" โดยถี่ถ้วน

อ. ๑๒๓. จงแปลในปฏิจสมุปบาท ปฏิโลมเทศนา มี "อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ" เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบาย

๑๒๔. การที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลมเทศนานั้นเพราะเหตุไร?

อ. ๑๒๕. ให้อธิบายในข้อที่ว่า "ความดับสูญสิ้นแห่งอวิชชานี้ก็ได้แก่พระนิพพานนั้นเอง" และจงบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่ไม่เข้าใจสภาพของพระนิพพานในสมัยพุทธกาล และในสมัยนี้

๑๒๖. การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ นัยนั้น คืออะไรบ้าง? ให้แสดงความหมาย พร้อมทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงตามนัยนั้นๆ

๑๒๓. ให้อธิบายในการที่กล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ เป็นสมันตภัททกธรรมและในบาลีที่ว่า "ตตฺถ ตโย อทฺธา เป็นต้นจนถึง เทฺว มูลานิ จ เวทิตพฺพานิ" เหล่านี้มีความมุ่งหมายอย่างไร?

๑๒๘. คำปุจฉามีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? และคำว่า กถํ นี้เป็นปุจฉาชนิดไหน?

๑๒๙. จงจำแนกปุจฉาทั้ง ๕ มีอทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นต้น โดยบุคคล

๑๓๐. องค์ปฏิจจสมุปบาทมีเท่าไร คืออะไรบ้าง? และให้จำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้นโดยกาลทั้ง ๓ พร้อมทั้งอธิบาย

๑๓๑. จงแปลในบาลีที่ว่า "โสกาทิวจนํ ปเนตฺถ นิสฺสนฺทผลนิทสฺสนํ" และอธิบาย

๑๓๒. จงเพิ่มบาลีที่ทำเครื่องหมาย ฯลฯ ไว้คังต่อไปนี้ พร้อมทั้งแปล

       อวิชฺชาสงฺขารคฺคหเณน ฯลฯ คหิตา ภวนฺติ ตถา ตณฺหุปาทานภวคฺคหเณน จ ฯลฯ คหิตนฺติ กตฺวา ฯ อตีเต เหตโว ปญฺจ ฯลฯ จตุสงฺเขปา จ ภวนฺติ

๑๓๓. จงบรรยายในประเภท ๒๐

๑๓๔. ให้แสดงวัฎฏะ ๓ มูล ๒ พร้อมทั้งองค์ธรรม

๑๓๕. สันธิ สังเขป หมายความว่ากระไร? และให้จำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยสันธิ ๓ และสังเขป ๔

อ. ๑๓๖. คำว่า วัฎฏะ จะแสดงวจนัตถะอย่างไร? และให้อธิบายวัฏฏะ ๓

๑๓๗. คำว่า มูล หมายความว่ากระไร และปฏิจจสมุปบาทธรรม เมื่อว่าโดยภวจักรแล้วมีกี่อย่าง คืออะไร? ให้แสดงถึงความเป็นไปแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทในภวจักรเหล่านั้นด้วย

อ. ๑๓๘. จงอธิบายในข้อที่ว่า "องค์ทั้ง ๗ มีอวิชชา สังขาร เป็นต้น ที่กำลังหมุนเวียนอยู่นั้น ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ ชาติ ชรามรณะองค์ทั้ง ๕ เหล่านี้ก็หมุนเวียนตามไปด้วย"

๑๓๙. ให้อธิบายในข้อที่ว่า "องค์ทั้ง ๕ มีตัณหา อุปาทาน เป็นต้น ขณะกำลังหมุนเวียนอยู่นั้น องค์ ๓ มีอวิชชา สังขาร เป็นต้น ก็หมุนตามไปด้วย"

๑๔๐. ขณะที่ท่านพิจารณาองค์ปฏิจจสมุปบาทในปุพพันตภวจักร และอปรันตภวจักรทั้ง ๒ ฝ่ายนี้แล้ว ท่านมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง? ให้อธิบาย

๑๔๑. จงบรรยายความรู้ที่ได้จากภวจักรทั้ง ๒

๑๔๒. จงแสดงคาถาที่แสดงถึงการขาดลงแห่งวัฏฏะทั้ง ๓ ทั้งบาลีและดำแปล

อ. ๑๔๓. ให้อธิบายในเหตุที่ทำให้วัฏฏะทั้ง ๓ ขาคลง

อ. ๑๔๔. จงอธิบายในคาถาคังต่อไปนี้โดยละเอียด 

          ชรามรณมุจฺฉาย ฯลฯ อวิชฺชา จ ปวตฺตติ ฯ

๑๔๕. ให้แสดงความแตกต่างกันระหว่างชาติ และอาสวะทั้ง ๔ ที่เป็นเหตุของโสกะ เป็นต้น

๑๔๖. จงแปลในบาลีดังต่อไปนี้

      ก. "อาสวสมุทยา เจเต โสกาทโย โหนฺติ"

      ข. "อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย"

      ค. "อาสวานํ สมุปฺปาทา อวิชฺชา จ ปวตฺตติ"

      ง. "อิติ ยสฺมา อาสวสมุทยา เอเต ธมฺมา โหนฺติ ตสฺมา เอเต สิชฺฌามานา อวิชฺชาย เหตุภูเต อาสเว สาเธนฺติ อาสเวสุ จ สิทฺเธสุ ปจฺจภาเว ภาวโต สิทฺธา โหติ"

อ. ๑๔๗. จงบรรยายการเกิดขึ้นของโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น โดยอาศัยอาสวะทั้ง ๔

๑๔๘. ให้แสดงเหตุที่เอาอวิชชาขึ้นตั้งไว้เป็นเหตุอันดับแรกในปฏิจจสมุปบาทและสมุฏฐานของอาสวะนั้นได้แก่อะไร?

๑๔๙. จงแปลและอธิบายในคาถาดังต่อไปนี้

       "วฏฺฏมาพนฺธมิจฺเจวํ ฯลฯ ปฏฺฐเปสิ มหามุนิ"

๑๕๐. จะหาเบื้องต้นแห่งการเกิดของสัตว์ทั้งหลายได้หรือไม่? ให้อธิบายและยกหลักฐานประกอบ และจงจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาทโดยอริยสัจ ตามอภิธรรมภาชนียนัย

อ. ๑๕๑. การพิจารณาปฏิจจสมุปบาท เพื่อละทิฏฐิทั้ง ๗ นั้นมีกี่นัย? ให้บรรยาย

๑๕๒. จงแปลในคาถาดังต่อไปนี้

        "อนาทิกํ ภวจกฺกํ ฯลฯ อสุญฺญํ ปสฺเส ปุนปฺปุนํ"

       พร้อมทั้งแสดงความคิดพิจารณาอันเป็นเหตุให้อเหตุกทิฏฐิ และอิสสรนิมมานวาททิฎฐิเกิดขึ้น

๑๕๓. สิ่งที่ไม่ควรคิดนั้นมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? และจงตัดสินในเรื่องผู้ที่ยังไม่รู้ในความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น ว่าสำเร็จเป็นพระอริยะได้ มีหรือไม่?

อ. ๑๕๔. จงบรรยายในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทของพระอานนท์เถระและพระโอภาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งยกอุปมาอุปไมย

๑๕๕. ที่พระอานนท์เถระมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทชัดเจนถี่ถ้วนนั้นเพราะอาศัยเหตุอย่างไร?

อ. ๑๕๖. จงแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอภิธรรมภาชนียนัย ทั้งในกุศลบทอกุศลบท อพยากตบท

๑๕๗. ให้แสดงปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตาเป็นต้นเหตุ และวิธีที่จะทำลายปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตานี้จะมีวิธีทำลายได้อย่างไรบ้าง?


จบ ปัญหาในปฏิจจสมุปบาท

----------///-----------


ปัญหาในปัฏฐาน

๑. จงแสดงในปัจจุทเทศพระบาลีมี เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย เป็นต้น

๒. จงบอกชื่อปัจจัยที่มีการอุปการะดังต่อไปนี้

    ก. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นทีเดียว

    ข. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน

    ค. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก

    ง. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน

    จ. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง

    ฉ. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สำเร็จลง

    ช. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำ

    ซ. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์

    ฌ. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่

    ญ. ปัจจัยที่มีการช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป

๓. จงแสดงคาถาสังคหะที่กล่าวถึงปัจจัย ๖ จำพวก พร้อมทั้งคำแปล

๔. จงแปลในบาลีดังต่อไปนี้

   "อนนฺตรนิรุทฺธา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ฯลฯ ฉธา นาม นามสฺส ปจฺจโย โหติ"

๕. ให้แสดงชื่อปัจจัยที่อยู่ในหมวดดังต่อไปนี้

    ก. นาม เป็นปัจจัย, นามรูป เป็นปัจจยุปบัน

    ข. นาม เป็นปัจจัย, รูป เป็นปัจจยุปบัน

    ค. รูป เป็นปัจจัย, นาม เป็นปัจจยุปบัน

    ง. บัญญัตินามรูป, เป็นปัจจัย นาม เป็นปัจจยุปบัน

    จ. นามรูป เป็นปัจจัย, นามรูป เป็นปัจจยุปบัน

๖. ให้แสดงประเภทแห่งอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย พร้อมทั้งยกองค์ธรรมและปัจจัยทั้ง ๒ นี้ สงเคราะห์เข้าอยู่ในปัจจัยพวกไหนในบรรดาปัจจัย ๖ พวกนั้น?

๓. จงแสดงประเภทแห่งอธิปติปัจจัย และธรรมที่ได้รับการช่วยอุปการะจากปัจจัยเหล่านั้น เป็นธรรมเป็นพวกไหน?

๘. จงแสดงปัจจุปบันธรรมของสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย ดังต่อไปนี้

    ก. จิต เจตสิก เป็นสหชาตปัจจัย

    ข. มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย

    ค. ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย

    ง. ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็นสหชาตปัจจัย

    ก. จิต เจตสิก  เป็นอัญญมัญญปัจจัย

    ข. มหาภูตรูป ๔  เป็นอัญญมัญญปัจจัย

    ค. ปฏิสนธินามขันธ์ ๔  เป็นอัญญมัญญปัจจัย

    ง. ปฏิสนธิหทยวัตถุ  เป็นอัญญมัญญปัจจัย

    ก. จิต เจตสิก เป็นนิสสยปัจจัย

    ข. มหาภูตรูป ๔ เป็นนิสสยปัจจัย

    ค. วัตถุรูปทั้ง ๖ เป็นนิสสยปัจจัย

๙. จงแสดงปัจจัยธรรมของอาหารปัจจยุปบันธรรม และอินทริยปัจจยุปบันธรรม คังต่อไปนี้

    ก. ร่างกาย เป็นอาหารปัจจยุปบัน

    ข. นามรูป คือจิต เจตสิก จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นอาหารปัจจยุปบัน

    ค. ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เป็นอินทริยปัจจยุปบัน

    ง. อุปาทินนรูป คือกัมมชรูปเป็นอินทริยปัจยุปบัน

    จ. นามรูป คือจิต เจตสิก จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นอินทริยปัจจยุปบัน

๑๐. จงแสดงปัจจัยที่เข้าร่วมกันได้ ในการช่วยอุปการะแก่กันและกันของธรรมดังต่อไปนี้

    ก. จิต และเจตสิก

    ข. มหาภูตรูป ๔

    ค. หทยวัตถุ และวิบากนามขันธ์ ๔ ในปฏิสนธิกาล

๑๑. ให้แสดงปัจจยุปบันธรรมของวิปปยุตตปัจจัยดังต่อไปนี้

    ก. ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็น วิปปยุตตปัจจัย

    ข. จิต เจตสิก เป็น วิปปยุตตปัจจัย

    ค. จิต เจตสิกที่เกิดหลังๆ เป็น วิปปยุตตปัจจัย

    ง. วัตถุรูป ๖ ในปวัตติกาล เป็น วิปปยุตตปัจจัย

๑๒. ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยได้นั้นมีกี่ชนิด? พร้อมทั้งยกหลักฐานบาลีขึ้นแสดงด้วย (ไม่ต้องแปล)

๑๓. ปัจจัยอันเป็นที่ประชุมแห่งปัจจัยทั้งปวงได้นั้นได้แก่ปัจจัยอะไรบ้าง? และให้แสดงรูปที่ชื่อว่า สหชาตรูป

๑๔. จงแปลในคาถาทั้ง ๒ ดังต่อไปนี้

      อิติ เตกาลิกา ธมฺมา ฯลฯ สงฺขตาสงฺขตา ตถา ฯ

      ปญฺญตฺตินามรูปานํ ฯลฯ จตุวีสติ สพฺพถา ฯ


จบ ปัญหาในปัฏฐาน

-------------

ปัญหาในบัญญัติ

๑. บาลีที่แสดงจำแนกถึง รูป นาม บัญญัติ นั้น แสดงว่าอย่างไร? และให้แปลในคำบาลีคังต่อไปนี้

    ก. ปญญาปิยตฺตา ปญญตฺติ

    ข. ปญญาปนโต ปญญตฺติ

    ค. อัตถบัญญัติมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง? พร้อมทั้งแปลบาลีดังต่อไปนี้

       "ตํตํภูตวิปริณามาการมุปาทาย ฯลฯ อยํ ปญฺญตฺติ ปญฺญาปิยตฺตา ปญฺญตฺติ นาม"

อ. ๓. จงบรรยายในอัตถบัญญัติทั้ง ๖ มีสันตานบัญญัติ เป็นต้น

๔. สัททบัญญัติมีกี่ประเภท คืออะไรบ้าง? พร้อมทั้งยกตัวอย่างขึ้นแสดงด้วย

๕. สัททบัญญัติอย่างเดียวเรียกได้กี่ชื่อ คืออะไรบ้าง? พร้อมทั้งแสดงความหมาย

อ. ๖. จงบรรยายในสัททบัญญัติ ๖ ประเภท

๗. ให้แปลในบาลีคังต่อไปนี้

    "สา วิชฺชมานปญฺญตฺติ ฯลฯ อวิชฺชมาเนน อวิชฺชมานปญฺญตฺติ เจติ ฉพฺพิธา โหติ"

๘. จงแปลในคาฤาที่แสดงถึงการรู้บัญญัติทั้ง ๒ และการเกิดขึ้นของสัททบัญญัติ

อ. ๙. ให้บรรยายในคาถาทั้ง ๒ คังต่อไปนี้

      วจีโฆสานุสาเรน ฯลฯ      มโนทฺวารสฺส โคจรา ฯ

      อตฺถา ยสฺสานุสาเรน ฯลฯ โลกสงฺเกตนิมฺมิตา ฯ


จบ ปัญหาในบัญญัติ

------------------

เฉลยปัญหาข้อที่ ๕๕

(๕๕. ตามธรรมดาผัสสะอย่างเดียว เกิดขึ้นโดยอาศัยอายตนะทั้งหมดก็หามิได้ ผัสสะทั้งหมดเกิดขึ้นโดยอาศัยอายตนะอย่างเดียวก็หามิได้ แต่ทำไมพระพุทธองค์ทรงเทศนาโดยใช้บทที่เป็นเอกพจน์ ว่า "สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส")


      เพราะตามธรรมดาผัสสะอย่างหนึ่งๆ จะปรากฎขึ้นได้นั้น อาศัยอายตนะอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีอายตนะเป็นที่อาศัยมากกว่าหนึ่งขึ้นไป กล่าวคือต้องมีการประชุมร่วมกัน ทั้งอายตนะภายในและภายนอก เช่น จักขุสัมผัสสะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยมีอายตนะ ๔ อย่าง คือ

      จักขายตนะ ได้แก่จักขุปสาท

      รูปายตนะ ได้แก่ รูปารมณ์

      มนายตนะ จักขุวิญญาณ

      ธัมมายตนะ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นผัสสะ)

      ในโสตสัมผัสสะ ฆานสัมผัสสะ ชิวหาสัมผัสสะ กายสัมผัสสะ ก็อาศัยมีอายตนะ ๔ อย่างเช่นเดียวกันกับจักขุสัมผัสสะ

      สำหรับมโนสัมผัสสะนั้น อาศัยอายตนะได้ทั้งหมด แต่ในขณะที่เกิดขึ้นคราวหนึ่งๆ นั้น อาศัย ๒ ก็มี ๓ ก็มี เช่น มโนสัมผัสสะที่เกี่ยวกับธรรมารมณ์ก็อาศัย ๒ มนายตนะและธัมมายตนะ ถ้ามโนสัมผัสสะที่เกี่ยวกับรูปารมณ์ก็อาศัย ๓ คือรูปายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ดังนี้ 

      แต่ในการที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาโดยใช้บทที่เป็นเอกพจน์ว่า "สพายตนปจฺจยา ผสฺโส" ก็เพื่อให้รู้ว่า ผัสสะอย่างหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยอายตนะมากกว่าหนึ่ง จะอาศัยเพียงอายตนะอย่างเดียวนั้นไม่ได้

-------------------

เฉลยปัญหาข้อที่ ๑๕๗

(๑๕๗. ให้แสดงปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตาเป็นต้นเหตุ และวิธีที่จะทำลายปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตานี้จะมีวิธีทำลายได้อย่างไรบ้าง?)


      ปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นต้นเหตุนั้น คือ "จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส, ผสฺสปจฺจยา เวทนา, เวทนาปจฺจยา ตณฺหา, ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ,

อุปาทานปจฺจยา ภโว, ภวปจฺจยา ชาติ, ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ"

     อาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์แล้ว จักขุวิญญาณ คือการเห็นย่อมเกิดขึ้น ทั้ง ๓ อย่างนี้ร่วมกันเข้าแล้ว ผัสสะคือการกระทบก็เกิดขึ้น ผัสสะเป็นเหตุให้เวทนา คือการเสวยอารมณ์เกิดขึ้น เวทนาเป็นเหตุให้ตัณหา คือความชอบเกิดขึ้น ตัณหา เป็นเหตุให้อุปาทาน คือความยึดมั่นเกิดขึ้น อุปาทานเป็นเหตุให้กัมมภวะ คือการกระทำกรรมต่างๆ เกิดขึ้น กัมมภวะเป็นเหตุชาติ คือความเกิดขึ้นในภูมิต่างๆ

เกิดขึ้น ชาติเป็นเหตุให้ ชรา มรณะ คือความแก่ความตาย และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ คือความเศร้าโศก ความร่ำไห้รำพัน ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความกับแค้นใจเกิดขึ้น เหตุและผลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้แหละเป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งหลาย

      วิธีที่จะทำลายปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตาเป็นต้นเหตุ คือเมื่อจักขุปสาท รูปารมณ์ และจักขุวิญญาณร่วมกันเข้าเป็นเหตุให้เกิด ผัสสะ และผัสสะเป็นเหตุให้เวทนา คือการเห็นเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว การตัดปฏิจจสมุปบาทต้องตัดที่ตรงเวทนานี้ เพื่อมิให้เป็นปัจจัยแก่ตัณหาเกิดขึ้นต่อไป โดยใช้สติกำหนดในการเห็นนั้นว่า "เห็นหนอ" การกำหนคว่า "เห็นหนอ" นี้ ไม่ใช่ใช้กล่าวด้วยวาจา ต้องใช้จิตใจกำหนดลงไปจริงๆ ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็ไม่สามารถจะทำลายตัณหาได้เลย เมื่อเอาสติกำหนดว่า เห็นหนอๆ แล้ว ในขณะนั้นตัณหาย่อมเกิดไม่ได้ เพราะอำนาจของสติและสัมปชัญญะนั้นเอง เมื่อตัณหาเกิดไม่ได้แล้ว อุปาทานคือความยึดมั่นก็ไม่เกิด เมื่ออุปาทานไม่เกิดกัมมภวะก็ไม่เกิด เมื่อกัมมภวะไม่เกิด ชาติก็ไม่เกิด เมื่อชาติไม่เกิด ชรามรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ ก็ไม่เกิด เป็นอันว่าปฏิจจสมุปบาทหยุดไม่หมุนเวียนอีกต่อ ไป ดังมีบาลีแสดงไว้ในสังยุตตพระบาลีว่า

      "ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรธา อุปาทานนิโรโธ, อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ, ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ, ชาตินิโรธา ชรามรณ์ โสกปริเทว.ทุกุขโทมนสุสุปายาสา นิรุชุฌนฺติ เอวเมตสุส เกวลสุส ทุกขกุขนุธสุส นิโรโธ โหติ" เพราะการดับสูญสิ้นแห่งตัณหาโดยไม่มีเหลือนี้แหละ อุปาทานจึงดับลงเพราะการดับสูญสิ้นแห่งอุปาทาน ภวะจึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งภวะชาติ จึงดับลง เพราะการดับสูญสิ้นแห่งชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสสะ อุปายาสะ จึงดับลง ความสูญสิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ย่อมเป็นไปดังที่กล่าวมานี้


(ความมุ่งหมายในทางพุทธศาสนาที่แท้จริง การจะทำลายวงจรของปฏิจจสมุปบาท ไม่ว่าจะเป็นช่วงใดของปฏิจจสมุปบาทก็ตาม มีการทำลายได้ที่เดียวคือ "เจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตมรรคญาณ, เจตนา พร้อมด้วยองค์มรรค ๘ ในอรหัตตมรรคญาณนั่นแหละ จะทำลาย อวิชชา - ตัณหาได้เด็ดขาด ทำลายวิบากแห่งอกุศลและโลกียกุศลได้ทั้งหมด... ต่อแต่นั้น บุคคลนั้นก็เป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพาน ไม่อุบัติในภพไหน ๆ อีก คือไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ, เมื่อไม่มีปฏิสนธิ ไม่จำต้องกล่าวถึง นาม-รูป,สฬายตนะ,ผัสสะ,เวทนา... เพราะทั้งหมด เมื่อดับกิเลส-กรรมได้แล้ว วิบากก็ดับหมด โดยคำว่า "วิบากดับ" ก็คือไม่มีปฏิสนธิวิญญาณในภพไหน ๆ นั่นเอง " )

(ถ้าอธิบายเพียงแค่ว่า มีสติตรงที่เกิดเวทนา ....มองวิถีจิตไม่ออกเลยจริง ๆ....(วิถีจิตเกิดยังไง?) หรือแม้จะมีสติเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น จิตที่จะเกิดตอนนั้นก็คงเป็นมหากุศล .... มหากุศลเกิด.... ถามว่า ละตัณหา ได้หรือยัง ? จริง ๆ ก็ต้องตอบว่า "ยังละไม่ได้" ตัณหาที่อยู่ในระดับอนุสัย ต้องละด้วยมรรคเท่านั้น... 


ส่วนการเฉลยปัญหาในข้ออื่นๆ นั้น มีแจ้งอยู่แล้วในหลักสูตร

จบ ปฏิจจสมุปปาททีปนี และปัจจัย ๒๔ โดยย่อ



      อิมินา ปุญฺญกมฺเมน       พุทฺโธ โหมิ อนาคเต

      ยตฺถ ยตฺถ ภเว ชาโต     มา ทลิทฺโท ภวามหํ ฯ

     ด้วยอำนาจแห่งกุศลที่เกิดจากการแต่งปกรณ์นี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้ปัญญาธิกะ-

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า และขออย่าให้ข้าพเจ้าต้องเป็นคนยากจน

     ในภพต่างๆ ที่ยังต้องเกิดอยู่


      อปตฺตํ ยาว พุทฺธตฺตํ     ปญฺญาธิกํ ภวามิหํ

      ชาติสรญาณิโกว         เชฏฺฐเสฏฺโฐ นิรนฺตรํ ฯ

    ตราบใดที่ปัญญาธิกะพุทธภาวะของข้าพเจ้า ยังไม่ถึงซึ่งสัมฤทธิผล

    ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ และมีญาณอันเป็นเครื่องระลึกชาติได้

    ตลอดกาลนิรันดร ฯ


      กเรยฺยํ คารวํ ครุํ       มาเนยฺยํ มานนารหํ

      วนฺเทยฺยํ วนฺทนารหํ      ปูเชยฺยํ ปูชนารหํ ฯ

      ขอให้ข้าพเจ้าได้เคารพผู้ที่ควรเคารพ ขอให้ข้าพเจ้าได้นับถือผู้ที่ควรนับถือ

ขอให้ข้าพเจ้า ได้กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้ ขอให้ข้าพเจ้า ได้บูชาผู้ที่ควรบูชา

-------------


[full-post]

ปริจเฉทที่๘,ปฏิจจสมุปบาท,ปัฏฐานย่อ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.