๗. อธิบายญาณทัสสนวิสุทธิ


ความบริสุทธิ์ คือความรู้แจ้งในอริยสัจ

      คำว่า "ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ" เมื่อแยกบทแล้ว มี ๓ บท คือ ญาณ ความรู้ + ทัสสน ความเห็น + วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ เมื่อรวมกันแล้วเป็น "ญาณทัสสนวิสุทธิ" แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งความรู้และความเห็น ดังมีวจนัตถะ แสดงว่า

      ๑. "จตุสจฺจํ ชานาตีติ ญาณํ" รู้อริยสัจ ๔ ได้ ฉะนั้น เรียกว่า ญาณ

      ๒. "ปจฺจกฺขโต ปสฺสตีติ ทสฺสนํ" เห็นพระนิพพานโดยประจักษ์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัสสนะ

      ๓. "กิเลสมลโต วิสุชฺฌตีติ วิสุทฺธิ" ความบริสุทธิ์จากกิเลสซึ่งเป็นมลหิน ฉะนั้น จึงเรียกว่า วิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่ในมรรถจิต


เรื่อง ๘ อย่าง คือ

      ๑. ไม่รู้ว่า กาย ใจ นี้เป็นทุกข์

      ๒. ไม่รู้ว่า ความยินดีพอใจนั้นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

      ๓. ไม่รู้ว่า พระนิพพานเป็นธรรมที่ดับทุกข์

      ๔. ไม่รู้ว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งพระนิพพาน

      ๕. ไม่รู้ภพชาติที่เคยมีมา หมายถึงไม่มีความเชื่อในภพก่อนๆ (แต่ไม่หลงในภพชาติที่จักมีต่อไป)

      ๖. ไม่รู้ในภพชาติที่จักมีในข้างหน้า หมายถึงไม่เชื่อในการที่จักเกิดต่อไป (แต่ไม่หลงในภพชาติที่เคยมีมา)

      ๗. ไม่รู้ในภพชาติที่เคยมีมาและจักมีต่อไป หมายถึงไม่มีความเชื่อทั้งในภพก่อนและภพหน้า คงเชื่ออยู่ในแต่ปัจจุบันภพนี้ว่า ได้กำเนิดมาจากบิดามารดา เมื่อตายแล้วก็หมดเรื่องกัน

      ๘. ไม่รู้ในความเป็นไปแห่งสัตว์ทั้งหลายว่า ไม่ได้อาศัยธรรมที่เป็นเหตุและผล มีอวิชชา ตัณหา เป็นที่อาศัยเกิด และเข้าใจว่าการเกิดขึ้นติดต่อเกี่ยวเนื่องกันในระหว่างที่ยังไม่เข้าถึงพระนิพพานนั้น ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุและเป็นผลแต่อย่างใด คงเป็นไปตามอำนาจของพระเจ้าที่สร้างขึ้น

      ผู้ที่มุ่งหวังจะ สำเร็จเป็นพระอริยะ แล้วเข้าสู่พระนิพพานนั้น พึงทราบความสำคัญแห่งวิสุทธิทั้ง ๓ ว่า เบื้องต้นแห่งการปฏิบัติจะต้องมี "สีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ" ทั้ง ๒ นี้ เป็นรากฐานแห่งการปฏิบัติเสียก่อน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นจนถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ จึงจะสำเร็จลงได้ตามลำดับ ต่อแต่นั้น "ญาณทัสสนวิสุทธิ" อันเป็นวิสุทธิที่สำคัญยิ่ง ก็จักสำเร็จต่อไป ถ้าการปฏิบัติของตนขาดสีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิทั้งสองนี้เสียแล้ว ทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นจนถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อวิสุทธิทั้ง ๔ นี้เกิดขึ้นไม่ได้ "ญาณหัสสนวิสุทธิ" อันเป็นวิสุทธิสุดท้าย ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเปรียบวิสุทธิทั้ง ๗ ประการนี้ เสมือนหนึ่งการสร้างพระสถูปเจดีย์


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,อภิธัมมัตถสังคหะ,วิปัสสนากรรมฐาน,วิสุทธิ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.