แสดงการทำอภิญญาต่างๆ

๑. อิทธิวิธอภิญญา 

         การแสดง อธิฏฐานาอิทธิ นั้น เพ่งกสิณแล้วเข้าปาทกฌาน เพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง แล้วออกมาทำการอธิษฐานตามที่ต้องการ เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานใหม่ เมื่อออกมา อภิญญาวิถีที่มีปรมัตถ์และบัญญัติเป็นอารมณ์ ตรงกับที่ตนได้อธิษฐานไว้ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรมอุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง ครั้นควังคจิตเกิดต่อไป ฤทธิ์ต่างๆที่ตนประสงค์ก็สำเร็จขึ้น ในขณะเดียวกับที่อภิญญาจิตเกิดนั้นเอง แล้วตั้งอยู่เป็นไปตามที่ได้กำหนดเวลาไว้ เมื่อถึงเวลาก็อันตรธานไปเอง โดยมิต้องทำอภิญญาให้หายไปแต่อย่างใด ถ้ามิได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฤทธิ์นั้นก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่หายไป เมื่อต้องการให้หายไป ก็ต้องทำอกิญญาใหม่ โดยเข้าปาทกฌาน ออกจากปาทกมานแล้ว ก็ทำการอธิษฐานว่าขอให้ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่นี้สูญสิ้นไป แล้วกลับเข้าปาทกฌานอีก เมื่อออกมาอภิญญาวิถีที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้น คือ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ ปริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู อภิญญาชวนะ ๑ ครั้ง แล้วภวังคจิตเกิดต่อไป ฤทธิ์ที่ตั้งอยู่ก็อันตรธานไปในขณะเดียวกับที่อภิญญาชวนะเกิดนั้นเอง 

      อธิษฐานาอิทธินี้ ย่อมให้สำเร็จโดยประการต่างๆ คือ ทำตนเอง หรือ คนอื่นเพียงคนเดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคน แต่ละคน ๆ ก็มีกิริยาอาการต่างๆ กันไปส่วนตนเอง หรือ คนอื่นนั้นคงเป็นอยู่อย่างเดิม การที่จะให้สำเร็จเป็นไปได้โดยประการต่างๆ นั้น ข้อสำคัญอยู่ที่การอธิษฐานของผู้แสดง เพราะอธิษฐานาอิทธินี้กว้างขวางมาก ถ้าต้องการแสดงฤทธิ์อันใด ก็เพ่งกสิณให้ตรงกับเรื่องที่ตนประสงค์ ฤทธิ์ต่างๆก็จักเกิดขึ้นดังเช่น

      ก. ถ้าประสงค์จะดำดินลงไป แล้วโผล่ขึ้นมาจากดินเหมือนกับดำน้ำแล้วโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ผู้นั้นจะต้องเพ่งอาโปกสิณแล้วอธิษฐานว่า ให้แผ่นดินนี้จงเป็นน้ำ

      ข. ถ้าประสงค์จะเดินจงกรมภายในกูเขา กำแพง หรือ แผ่นดิน ก็ให้เพ่งอากาสกสิณ แล้วอธิยฐานว่า ขอให้ภายในภูเขา กำแพง หรือ แผ่นดิน จงมีช่องว่าง

      ค. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไป และเดินจงกรมในท้องอากาศ เหมือนกับเดินจงกรมบนพื้นดิน ก็เพ่งปถวีกสิณและอธิษฐานว่า ขอให้ท้องอากาศจงเป็นพื้นแผ่นดิน

      ฆ. ถ้าประสงค์จะเหาะขึ้นไปในอากาศเหมือนกับเครื่องบิน ก็เพ่งวาโยกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเหาะไปได้ จงเหาะไปได้เร็ว หรือ ช้านั้นอยู่ที่อธิษฐาน ถ้าต้องการจะไปที่หนึ่งที่ใดให้ถึงโดยเร็วพร้อมกับอภิญญาจิต เหมือนกับการไปของโลหิตดาบส ก็ให้อธิยฐานว่า ขอให้ตัวของข้าพเจ้าเบาเหมือนกับจิต

      ง. ถ้าประสงค์จะให้ผู้อื่นแลเห็นนิรยภูมิ ก็เพ่งอากาสกสิณ แล้วอธิษฐานว่า ขอให้พื้นแผ่นดินนี้จงเป็นอากาศ ถ้าจะให้ผู้อื่นเห็นเทวภูมิ พรหมภูมิ ก็เพ่งอากาสกสิณแล้วอธิษฐานว่า ขอให้สถานที่เหล่านี้จงปรากฏให้แลเห็นได้สำหรับอานุภาพแห่งกสิณ ๑๐ นั้น ได้แสดงไว้แล้วในตอนต้นแห่งปกรณ์นี้การแสดง วิกุพพนาอิทธิ นั้น ตัวของตนเองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามฤทธิ์ เช่นจะแสดงเป็นพระยานาค ร่างกายของตนก็กลายเป็นพระยานาค จะแสดงเป็นภูเขาร่างกายของตนก็เปลี่ยนแปลงเป็นภูเขาไป ส่วนการเพ่งกสิณ เข้าปาทกฌาน การอธิษฐาน ตลอดจนถึง การเกิดขึ้นของอภิญญาวิถีเหล่านี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เป็นไปทำนองเดียวกันกับการแสดง อธิษฐานาอิทธิ

      การแสดง มโนมยาอิทธิ นั้น ผู้แสดงจะแสดงให้เป็นคนๆ เดียว หรือหลายร้อยหลายพันคนก็ตาม ร่างกายของผู้นั้นคงเป็นปกติอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นการแสดงของท่านจูฬบัณถก แต่การแสดงฤทธิ์ชนิดนี้ผู้แสดงจะต้องอธิยฐาน ๒ ครั้ง ทำอภิญญาก็ ๒ ครั้ง จึงจะสำเร็จ คือ ครั้งแรกเพ่งกสิณเข้าปาทกมาน แล้วออกมาอธิษฐาน ขอให้ภายในร่างกายของตนเป็นช่องอากาศ เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกณานอีกออกมาอภิญญาวิถีเกิด สำเร็จเป็นช่องอากาศขึ้นภายในตนในขณะนั้นเอง จากนั้นก็เพ่งกสิณเข้าปาทกฌานอีกเป็นครั้งที่สองแล้วออกมาอธิยฐานขอให้ตนเองมีเป็น ๒ คนหรือ หลายร้อยหลายพันเสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีเกิดปรากฏเป็นคนขึ้นมีจำนวนดังที่ตนได้อธิษฐานไว้

๒. ทิพพโสตอภิญญา 

         การทำภิญญาแต่ละอย่างๆ นั้น แม้ว่าฌานลาภีบุคคลจะได้อภิญญาก็ตาม หาใช่ว่าทำได้โดยทันทีทันใดไม่ ดังนั้นก่อนที่จะทำจึงต้องฝึกหัดในเรื่องที่เกี่ยวกับอภิญญานั้นๆ เสียก่อน เช่น ก่อนที่จะทำทิพพโสตอภิญญาก็ต้องฝึกหัดฟังเสียงด้วยบริกรรมสมาธิ คือ เพ่งวาโยกสิณ หรือ อากาสกสิณ เข้าปาทกฌาน แล้วออกมาแสวงหาเสียงที่มีอยู่ ณ ที่ต่างๆ ชั้นแรกน้อมใจนึกถึงเสียงของราชสีห์ ช้าง เสือ เหล่านี้ เป็นต้นที่มีอยู่ในป่า ซึ่งเป็นเสียงหยาบในที่ไกลด้วยประสาทหู แล้วก็นึกถึงเสียงละเอียดเป็นชั้นๆ ขึ้นไปโดยลำดับ ตั้งแต่เสียงหยาบๆ มีเสียงระฆังในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสวดมนต์ท่องบ่นดังๆ ของภิกษุ สามเณร เสียงคุยกัน เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ำเดือด เสียงใบไม้ที่แห้งกรอบ เสียงมดเป็นต้น ไปในทิศต่างๆ มีทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ เบื้องล่าง เบื้องบน แม้ในทิศเล็กทั้ง ๔ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ด้วยบริกรรมสมาธิประกอบด้วยมหากุศลญาณสัมปยุตต์ เมื่อได้ยินเสียงเหล่านี้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงทำทิพพโสตอภิญญาต่อไปการทำทิพพโสตอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิกาคนิมิตที่เกี่ยวกับวาโยกสิณ หรืออากาสกสิณ แล้วขยายไปตามระยะที่ตนประสงค์จะฟัง ดังนั้น ถ้ามีการขยายปฏิภาคนิมิตให้กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล เบื้องบนจดเทวภูมิ พรหมภูมิ เบื้องต่ำจดนิรยภูมิแล้ว ก็สามารถได้ยินเสียงที่มีอยู่ ณ สถานที่ต่างๆ เหล่านั้นได้ทั้งหมดสับสนปะปนกันไป เมื่อมีความประสงค์จะฟังเฉพาะแต่เสียงใดเสียงหนึ่ง ให้อธิยฐานว่าขอให้ได้ยินเฉพาะแต่เสียงนี้แล้วก็จะได้ยินแต่เสียงที่ต้องการ เช่น ต้องการได้ยินแต่เสียงที่มีอยู่ภายในบริเวณบ้าน มีเสียงมด ไร ปลวก เท่านั้น ก็จักได้ยินเฉพาะดังประสงค์การได้ยินเสียงที่มีอยู่ทั่วๆ ไปทั้งหมดนั้น รู้ความหมายก็มี ไม่รู้ความหมายก็มี ฉะนั้น ถ้าต้องการรู้ความหมายของเสียงใดเสียงหนึ่งโดยชัดแจ้งแล้ว ก็ต้องทำปรจิตตวิชานนอภิญญาเพื่อรู้ถึงจิตใจเจ้าของเสียงนั้นก่อนว่ามีความประสงค์อันใดเมื่อรู้แล้วก็รู้ความหมายของเสียงนั้นฯ ด้วย

๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา 

         การทำปรจิตตวิชานนอภิญญานี้ คือ เพ่งอาโลกกสิณ เข้าปาทกฌาน แล้วออกมาอธิยฐานขอให้รู้ถึงจิตใจของผู้นั้น เสร็จแล้วกลับเข้าปาทกฌานใหม่ ออกมาปรจิตตวิชานนอภิญญาวิถีก็เกิด สามารถรู้จิตใจของบุคคลทั้งหลายได้หมดตลอดจนถึงอรูปพรหม

      เนื้อความการทำปรจิตตวิชานนอภิญญาที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา 

         ก่อนที่จะทำปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดนึกทบทวนในการทำ การพูด การคิดต่างๆ ตลอตจนถึงสถานที่ที่ตนอยู่อาศัย โดยการเพ่งกสิณ ๓ มี เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเข้าปาทกฌานเพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง จากนั้นก็ออกมาทำการระลึกถึงกิจการต่างๆ ที่ตนได้กระทำไปทั้งสิ้น ตลอดจนถึงสถานที่ที่อยู่ นับแต่ขณะนั้นเป็นต้นทวนถอยหลังเรื่อยไปโดยลำดับ จนถึงสมัยที่ตนยังอยู่ในครรภ์มารดา แล้วก็กลับน้อมนึกจากสมัยนั้นมาโดยลำดับจนถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยความเป็นปฏิโลมอนุโลมด้วยบริกรรมสมาธิที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ถ้านึกไม่ได้ก็เข้าปาทกฌานใหม่ แล้วออกมาทำการน้อมนึกไปในทำนองนี้อีก ทำเช่นนี้ จนกว่าจะนึกได้ แล้วจึงจะทำปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาต่อไป

      การทำปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญานี้ มีการเพ่งปฏิกาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้ว โดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปจนจดขอบจักรวาล แล้วเข้าปาทกฌานออกมาทำการอธิษฐานขอให้ได้รู้ถึงภพชาติของตนในปางก่อน ตลอดจนถึงความเป็นอยู่นับจากภพที่แล้วเป็นต้น ถอยหลังไปโดยลำดับแล้วกลับเข้าปาทกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิด สำเร็จในการระลึกรู้ได้ดังที่ตนประสงค์ทุกประการ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิด ก็กลับเข้าปาทกมานอีก แล้วออกมาอธิษฐานใหม่ ทำอยู่อย่างนี้จนอภิญญาวิถีเกิดขึ้น

      ส่วนการที่จะรู้ถึงความเป็นไปของผู้อื่น โดยนับจากภพปัจจุบันถอยหลังเรื่อยไปโดยลำดับ แล้วย้อนกลับมาใหม่จนถึงภพนี้นั้น ก็คงมีการปฏิบัติเช่นเดียวกัน เมื่ออภิญญาวิถีเกิดก็รู้ได้ดังประสงค์ ตลอดจนถึงผู้นั้นได้เข้าสู่พระนิพพานแล้วก็สามารถรู้ได้เช่นกัน แต่การรู้การเข้าสู่พระนิพพนของผู้อื่นนั้น มีพิเศษอยู่ว่า อภิญญาลากีบุคคลต้องเป็นพระอริยะจึง จะรู้ได้

      อนึ่ง การระลึกรู้ถึงภพชาติในอดีตได้นั้น มีการระลึกรู้ได้ไม่เหมือนกัน คือปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาของพระสมมาสัมพุทธเจ้า ทรงระลึกรู้ได้โดยไม่มีจำกัดทั้ไม่ต้องนึกไปตามลำดับแห่งภพ และไม่ต้องค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิและ จุติแต่อย่างใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายระลึกได้ ๒ อสงไขยแสนมหากัป พระอัครสาวกระลึกได้ ๑ อสงไขยแสนมหากัป ท่านเหล่านี้มิต้องมีการนึกไปโดยลำดับแห่งกพแต่อย่างใด เพียงแต่นึกค้นหาต้นและปลายของภพ คือ ปฏิสนธิ และ จุติเท่านั้น ก็รู้ได้, มหาสาวกทั้งหลายระลึกได้แสนมหากัป ปกติสาวกระลึกได้ระหว่างร้อยถึงพันมหากัป แล้วแต่บารมีที่ได้สร้างสมมา ทั้งสองพวกนี้จะทำการระลึกนึกไปโดยลำดับแห่งภพก็ได้ หรือ จะค้นหาตันและปลายของภพนั้นฯ คือ ปฏิสนธิ และ จุติก็ได้ส่วนพวกเดียรถีย์นั้น ระลึกรู้ได้เพียง ๔๐ มหากัปเท่านั้น และต้องมีการนึกไปโดยลำดับแห่งกพด้วย ต้องค้นหาต้นและปลายของภพนั้น คือ ปฏิสนธิ และ จุติด้วยจึงจะรู้ได้

๕. ทิพพจักขุอภิญญา 

          ก่อนที่จะทำทิพพจักขุอภิญญานั้น ได้มีการฝึกหัดดูเสียก่อนโดยการเพงกสิณที่มีความสว่าง ได้แก่ เตโชกสิณ โอทาตกสิญ อาโลกกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเข้าปาทกฌาน เพื่อปลุกสมาธิที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เสร็จแล้วออกมาแสวงดูสิ่งต่างๆ ที่ปกปีดกำบังไว้มีอยู่ภายในบริเวณของตนด้วยบริกรรมสมาธิ ถ้ายังไม่เห็นก็เข้าปาทกมานใหม่ แล้วออกมาดูอีก ทำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะเห็นได้ เมื่อเห็นได้ด้วยบริกรรมสมาธิแล้วจึงจะทำทิพพจักขุอกิญญาต่อไป กสิณทั้ง ๓ อย่างนี้ท่านอรรถกถาจารย์ ยกย่องอาโลกกสิณว่า ดีที่สุด

      การทำทิพพจักขุอภิญญานั้น มีการเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณ ๓ อย่างอย่าง ใดอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวแล้วโดยขยายให้กว้างแผ่ออกไปตามสถานที่ต่างๆ มีบ้านเรือน จังหวัด ประเทศ ทวีป จนถึงขอบจักรวาล เทวภูมิ พรหมภูมิ นิรยภูมิเป็นต้น ตามที่ตนประสงค์จะดู แล้วเข้าปาทกฌาน ออกมาทำการอธิษฐานขอให้เห็นสิ่งนั้น ๆ เสร็จแล้วก็เข้าปาทกฌานอีก ออกมาอภิญญาวิถีก็เกิดมีการเห็นสิ่งนั้นๆ ได้ดังที่ตนอธิษฐานไว้ ถ้าอภิญญาวิถีไม่เกิดก็กลับเข้าปาทกฌานอีก แล้วออกมาอธิษฐานใหม่ ทำเช่นนี้จนกว่าอภิญญาวิถีเกิดขึ้น

      เนื้อความต่าง ๆ ที่นอกจากนี้ ได้แสดงไว้แล้วในการขยายความโลกียอภิญญา 

๖.-๗. ยถากัมมูปคอภิญญา และ อนาคตังสอภิญญา 

               อภิญญาทั้งสองนี้กสิณที่ใช้เพ่งนั้นเป็นอย่างเดียวกับทิพพจักขุอภิญญา ส่วนเนื้อความนั้นก็มิได้มีอะไรเป็นพิเศษไปอีก พึงเข้าใจตามความที่ได้แสดงไว้ในการขยายความโลกียอภิญญา


อารมณ์ของอภิญญาต่างๆ

      ๑. อิทธิวิธอภิญญาทั้ง ๓ เกิดขึ้นในอารมณ์ ๗ อย่างได้แก่ กามอารมณ์มหัคคตอารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ อดีตอารมณ์อนาคตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์พหิทธอารมณ์

      ๒. ทิพพโสตอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์  อย่าง ได้แก่ กามอารมณ์ปัจจุบันอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์

      ๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์ ๘ อย่าง ได้แก่กามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ มัคคอารมณ์ ผลอารมณ์ อดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ พหิทธอารมณ์

      ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์ ๗ อย่าง ได้แก่ กามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ อดีตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์ บัญญัติอารมณ์

      ๕. ทิพพจักขุอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์ ๔ อย่าง ได้แก่ กามอารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์

      ๖. ยถากัมมูปคอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์ ๕ อย่าง ได้แก่ กามอารมณ์มหัคคตอามรณ์ อดีตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์

      ๗. อนาคตังสอภิญญา เกิดขึ้นในอารมณ์ ๔ อย่าง ได้แก่ กามอารมณ์มหัคคตอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ อนาคตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์บัญญัติอารมณ์

---------////---------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิญญา,อภิธัมมัตถสังคหะ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.