อธิบายขยายความในโลกียอภิญญา
๑. อิทธิวิธอภิญญา
"อิชฺฌตีติ = อิทฺธิ" ธรรมชาติใดย่อมทำให้สำเร็จ จะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า อิทธิ
"อิทฺธิยา วิโธยสฺสาติ = อิทฺธิวิธิ" อิทธิฤทธิ์ต่างๆ มีอยู่แก่ญาณใด ฉะนั้น ฌาณนั้นชื่อว่า อิทธิวิธะ
อิทธิวิธอภิญญามี ๓ อย่าง คือ ก. อธิฏฐานาอิทธิ ข. วิกุพพนาอิทธิ ค. มโนมยาอิทธิ
ก. อธิฏฐานาอิทธิ
"พหุภาวาธิกสฺส อธิฏฺฐานิ ยสฺสาติ = อธิฏฺฐานา" การตั้งจิตอธิษฐานให้มีจำนวนมากเกิดขึ้น มีอยู่แก่อิทธิใด ฉะนั้น อิทธินั้นชื่อว่า "อธิฏฐานา"
"อธิฏฺฐานา จ สา อิทฺธิ จาติ = อธิฏฺฐานาอิทฺธิ" อภิญญานี้มีการตั้งจิตอธิบฐานให้มีจำนวนมากเป็นต้นเกิดขึ้นด้วย เป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า "อธิฏฐานาอิทธิ"
ความสำเร็จต่างๆ ของอธิฏฐานาอิทธินั้น คือ
๑. คนๆ เดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคน
๒. หลายร้อยหลายพันคนให้เป็นคนๆ เดียวกัน
๓. แสดงตัวให้ปรากฎที่อื่น
๔. หายตัว
๕. ทะลุฝา กำแพง ภูเขาหินเข้าไปได้
๖. ทำพื้นแผ่นดินให้เป็นทะเล
๗. ทำทะเลให้เป็นพื้นแผ่นดิน
๘. เหาะ
๙. ดำดิน
๑๐. ลูบคลำดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
๑๑. ไปสู่พรหมโลก และอื่นๆ อีกหลายอย่าง
ข. วิกุพพนาอิทธิ
"วิวิธ กุพฺพนํ ยสฺสาติ = วิกุพฺพนา" การแสดงเนรมิตสิ่งต่างๆ มีอยู่แก่อิทธิใด ฉะนั้น อิทธินั้นชื่อว่า "วิกุพพนา"
"วิกุพฺพนา จ สา อิทฺธิ จาติ = วิกุพฺพนาอิทฺธิ อภิญญานี้ แสดงเนรมิตสิ่งต่างๆ ด้วย เป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า "วิกุพพนาอิทธิ"
ความสำเร็จต่างๆ ของวิกุพพนาอิทธินั้นคือ แปลงตัวเป็นเด็ก เป็นพระยานาคยักษ์ คนธรรพ์ เทวดา พรหม ช้าง ม้า กองทัพ ป่า เขา มหาสมุทร เรือ วัดบ้านเมืองต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
ค. มโนมยาอิทธิ
"มนสา นิพฺพตฺตา = มโนมยา" ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจชื่อว่า "มโนมยา"
"มโนมยา จ สา อิทฺธิ จาติ - มโนมยาอิทฺธิ" อภิญญานี้ เป็นฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจด้วย เป็นอิทธิฤทธิ์ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า "มโนมยาอิทธิ"
ความสำเร็จต่างๆ ของมโนมยาอิทธิ คือ เนรมิตร่างกายให้ผุดออกมาจากกายของตน โดยที่ร่างกายเดิมคงอยู่เป็นปกติ เสมือนหนึ่งการชักดาบออกจากฝัก หรืองูลอกคราบ ฉะนั้น
๒. ทิพพโสตอภิญญา
"ทิวิ ภวิ = ทิพฺพํ" ความเป็นไปในเทวโลกและพรหมโลกชื่วว่า ทิพพ
"ทิพพญฺจ ตํ โสตญฺจาติ = ทิพฺพโสตํ" รูปนี้เป็นไปในเทวโลก พรหมโลกด้วย เป็นโสตประสาทด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพพโสตะ ได้แก่โสตประสาทของพวกเทวดา พรหม
"ทิพฺพโสตํ วิยาติ = ทิพฺพโสตํ" อภิญญานี้ มีการได้ยินเสมือนหนึ่งหูของเทวดาและพรหม ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพพโสตะ ได้แก่ทิพพโสตอภิญญา
อันประสาทหูของเทวดาชั้นสูงและพรหมทั้งหลายนั้น เกิดจากมหากุศลกรรมอันประเสริฐ และรูปกุศลกรรม ทั้งปราศจากสิ่งโสโครก มีเสมหะ ดี เลือด ลม เป็นตันอย่างใด ๆ รบกวนอีกด้วย ฉะนั้น ประสาทหูจึงมีความใสสะอาดเป็นพิเศษสามารถได้ยินเสียงที่ไกลที่สุดและเบาที่สุดได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่ามนุษยภูมิจะตั้งอยู่ในระยะอันห่างไกลจากเทวภูมิ พรหมภูมิ หลายหมื่นหลายแสนโยชน์ก็ตาม แต่เทวดา พรหมทั้งหลายเหล่านั้นย่อมได้ยินเสียงของมนุษย์ได้ ส่วนเสียงเบาที่สุด เช่น เสียงของมดปลวก ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ภายในเรือนอันคนทั้งหลายมิอาจได้ยิน แต่เทวดา พรหมทั้งหลายนั้นได้ยิน โดยไม่มีสิ่งใดที่สามารถปกปีดกีดขวางเสียงเหล่านั้นไว้ได้นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงอีกชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างเสียงคนกับวัตถุภายนอก ตามธรรมดาเสียงคนที่เปล่งออกทุกๆ ครั้งก็ดี เสียงระฆัง เสียงปืนก็ดี เหล่านี้ เมื่อดังขึ้นแล้วย่อมแผ่กระจายไปในอากาศหลายร้อยหลายพันโยชน์ในขณะที่แผ่กระจายออกไปนั้น ถ้าไปกระทบกับมหาภูตรูปที่มีปถวีมาก เช่น ต้นไม้แผ่นดิน ภูเขา เข้าแล้ว เสียงก็เกิดขึ้นอีกเรียกว่า สัททนวกกลาป อันเป็นเสียงที่เบาที่สุดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเทวดา พรหมทั้งหลายสามารถได้ยิน มนุษย์นั้น ย่อมได้ยินแต่เสียงคน เสียงระฆัง เสียงปืน ที่ดังขึ้นเท่านั้น สำหรับเสียงที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างเสียงคน เสียงระฆัง เสียงปืน เป็นต้น กับวัตถุภายนอกที่มีปถวีธาตุมากนั้นโดยมากคนเราได้ยินไม่ได้
ทิพพโสตอภิญญาก็สามารถได้ยินเสียงที่ไกลและเบาที่สุดได้เช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวว่า
"ทิพพโสตํ วิยาติ = ทิพพโสตํ"
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา
"ปเรสํ จิตฺตํ = ปรจิตฺตํ" ใจของผู้อื่นชื่อว่าปรจิตตะ
"ปรจิตฺตํ วิชานาตีติ = ปรจิตฺตวิชานนา" อภิญญาใดย่อมรู้ใจของผู้อื่นฉะนั้น อภิญญานั้นชื่อว่า "ปรจิตตวิชานนะ"
หรืออีกนัยหนึ่ง
"ปเรสํ จิตฺติ วิชานนฺติ เอเตนาติ = ปรจิตฺตวิชานํ" ฌานลากีบุคคลทั้งหลายย่อมรู้จิตใจของผู้อื่นด้วยอภิญญานี้ ฉะนั้น อภิญญานี้ จึงชื่อว่า "ปรจิตตวิชานนะ"
ปรจิตตวิชานนอภิญญานี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เจโตปริยอภิญญา" การที่เรียกชื่อว่าดังนี้ ก็เพราะอภิญญานี้มีการรู้ไจของผู้อื่นได้โดยชัดจริงอย่างเด็ดขาดนั้นเอง
การกระทำอภิญญานี้มีข้อพิเศษอยู่ว่า ในระยะแรกที่ยังมิได้มีความชำนาญในการกำหนดรู้นั้น ภิญญาลาภีบุคคลได้ทำทิพพจักขุอภิญญา เพื่อดูโลหิตที่อยู่ภายในหัวใจก่อน เพราะธรรมดาใจดีและใจร้ายย่อมเกิดดับอยู่ที่ภายในหัวใจ หาได้มีการเกิดดับที่อื่นไม่ ดังนั้น เมื่อจิตใจเป็นอย่างใด สีของโลหิตก็คงเปลี่ยนไปตามจิตใจนั้นๆด้วย กล่าวคือ ผู้ใดมีจิตใจหนักไปในทางตัณหาราคะมาก โลหิตที่อยู่ภายในหัวใจนั้นก็มีสีแดงจัด ถ้ามีโทสะมากก็มีสีดำ โมหะมากก็มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ วิตกมากก็มีสีเหมือนกับน้ำต้มถั่วแขก ศรัทธามากก็มีสีเหลือง ปัญญามากก็มีสีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์เมื่อว่าโดยเวทนา คือ ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์แล้ว ขณะใดมีจิตใจสบาย ขณะนั้นโลหิตที่อยู่ภายในหัวใจก็มีสีแดง ขณะใดจิตใจไม่สบายก็มีสีดำ ขณะที่เฉยๆ ก็มีความใสเหมือนน้ำมันงา ดังนั้น เมื่อทำทิพพจักขุอกิญญาเห็นโลหิตภายในหัวใจแล้วก็อนุมานรู้ได้ไปตามสีของโลหิตนั้น
ต่อจากนั้นก็มีการอธิษฐานว่า ขอให้ได้รู้ถึงจิตใจของผู้นั้น แล้วก็เข้าปาทกฌาน เมื่อออกมาปรจิตตวิชานนอภิญญาวิถีก็เกิด มีการรู้จิตใจของผู้นั้นโดยชัดแจ้งเมื่อมีความชำนาญดีแล้ว ก็ไม่ต้องทำทิพพจักขอภิญญาเพื่อดูสีโลหิตอีก คงทำแต่ปรจิตตวิชานนอภิญญาอย่างเดียว
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา
"นิวสียึสูติ = นิวาสา" เคยอาศัยอยู่มาแล้ว จะนั้น จึงชื่อว่า "นิวาสะ"
"ปุพฺเพ นิวาสาติ = ปุพฺเพนิวาสา" เคยอาศัยอยู่มาแล้วในชาติปางก่อน ฉะนั้น จึงชื่อว่า "ปุพเพนิวาสะ"
คำว่า "นิวาสะ" นี้ แม้ว่าจะเป็นชื่อของภูมิโดยตรงก็จริง แต่เมื่อว่าโดยอ้อมแล้ว ขันธ์ ๕ ของตนที่เคยพบเห็นมาและขันธ์ ๕ ของผู้อื่น ตลอดจนถึงชาติ สกุล ทุกข์ สุข เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับขันธ์และพระนิพพานของผู้ที่เข้าถึง เหล่านี้ก็ชื่อว่า นิวาสะ เช่นกัน
"ปูพฺเพนิวาสานํ อนุสฺสติ = ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ" การระลึกถึงภูมิและขันธ์ ๕ เป็นต้น ที่เคยเกิดเคยพบเห็นมาแล้วแต่ในชาติก่อน ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปุพเพนิวาสานุสสติ ปุพเพนิวาสะ ที่อภิญญาลากีบุคคลระลึกได้นี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. อารัมมณปุพเพนิวาสะ ได้แก่ขันธ์ : ชาติ ชื่อ สกุล เป็นต้น ของผู้อื่นในชาติก่อนๆ และพระนิพพานที่ผู้นั้นเข้าถึง
๒. อัชฌาวุตถปุพเพนิวาสะ ได้แก่ขันธ์ : ชาติ ชื่อสกุล เรื่องราวของตนที่เคยเกิดเคยเป็นมาแล้วแต่ในชาติก่อนๆ
ดังนั้น ผู้ที่ทำปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา จึงมีการรู้ถึงเรื่อง ๒ ประการนี้ แต่การรู้นี้จะกำหนดรู้ภพชาติได้มากน้อยเท่าใดนั้น ก็แล้วแต่บารมีที่ตนได้สร้างสมมา การระลึกชาติได้นั้น หาใช่เป็นปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญาไม่ เป็นแต่เพียงสัญญาพิเศษที่เกิดจากกุศลที่ตนได้ปรารถนาไว้เท่านั้น
๕. ทิพพจักขุอภิญญา
"ทิพฺพญฺจ ตํ จกฺขุ จาติ = ทิพฺพจกฺขุ" รูปนี้เป็นไปในเทวโลก พรหมโลกด้วย เป็นจักุประสาทด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า "ทิพพจักขุ"
"ทิพฺพจกฺขุ วิยาติ - ทิพฺพจกฺขุ" อภิญญานี้มีการเห็นเสมือนหนึ่งตาของเทวดาและพรหม ฉะนั้น จึงชื่อว่า "ทิพพจักขุ"
จักขุประสาทของเทวดาชั้นสูง และ พรหมทั้งหลายนั้น เกิดจากมหากุศลกรรมอันประเสริฐ และรูปกุศลกรรม ทั้งปราศจากสิ่งโสโครก มีเสมหะ ดี เลือด ลม เป็นต้นอย่างใด ๆ รบกวนอีกด้วย ฉะนั้น จักขุประสาทจึงมีความใสสะอาดเป็นพิเศษ สามารถเห็นได้ไกลที่สุด และสิ่งที่เด็กที่สุดได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่ามนุษยภูมิจะตั้งอยู่ห่างไกลจากเทวภูมิ พรหมภูมิมากแต่ เทวดา พรหมทั้งหลายย่อมเห็นได้ ตลอดจนถึงสถานที่ที่ลี้ลับมิดชิด หรือวัตถุที่มีสิ่งปกปิดกำบังอยู่ ส่วนสิ่งที่เล็กที่สุด คือ ปรมาณูนั้น ในขณะที่กำลังนั่งอยู่ก็ดี หรือ ยืน เดิน อยู่ก็ดี รอบๆ ตัวก็ลัวนแต่ปรมาณูทั้งนั้นแต่เรามิอาจแลเห็นได้ คงมีแต่ความสว่างและความมืด เป็นต้น สำหรับ เทวดา พรหมทั้งหลายนั้นเห็นปรมาณูเหล่านี้ได้
ทิพพจักขอภิญญา สามารถแลเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในระยะไกลและเล็กที่สุดตลอดจนถึงสถานที่ที่ลี้ลับมิดชิด หรือวัตถุที่มีสิ่งปกปิดกำลังไว้ได้เช่นกัน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า "ทิพพจกุขุ วิยาติ = ทิพฺพจกุขุ"
อีกประการหนึ่ง ภายในสิ่งที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิตนั้น ย่อมมีรูปกลาปที่เล็กละเอียดยิ่งไปกว่าปรมาญเกิดอยู่ ในกลาปหนึ่งๆ นั้นมีรูปารมณ์อยู่ด้วย รูปารมณ์ที่มีอยู่ในรูปกลาปหนึ่งๆ นี้ ทิพพจักขุอกิญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่เห็นได้ ทิพพจักขุอกิญญา อื่น ๆ มิอาจที่จะเห็นได้เช่นนั้น คงเห็นแต่รูปารมณ์ที่อยู่ในกลาปอย่างน้อย ๑๐ กว่ากลาปรวมกันเป็นกองอยู่แล้ว
ส่วนการเห็นด้วยตาธรรมดานั้น คงเห็นแต่รูปารมณ์ของสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นกอง ประกอบด้วยรูปกลาปหลายล้านหลายโกฏิ จนนับไม่ถ้วนภาพต่างๆ ที่ปรากฏในโทรทัศน์นั้น ก็เพราะมีเครื่องรับคอยรวบรวมรูปกลาปหลายล้านหลายโกฏิจนนับไม่ถ้วนให้เป็นกลุ่มเป็นกองขึ้น จึงมีการเห็นได้ ส่วนรูปารมณ์ที่กำลังผ่านมายังไม่เข้าไปในเครื่องรับนั้น มิอาจที่จะเห็นได้ ทั้งนี้ก็เพราะยังมิได้มีการรวบรวมขึ้นนั้นเอง
อนึ่ง ทิพพจักขุอภิญญาของท่านที่มีบารมีเป็นพิเศษนั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จุตูปปาตญาณ" (จุติ + อุปปาต + ญาณ) เพราะสามารถแลเห็นสัตว์ทั้งหลายในขณะที่จะตายและในขณะที่เกิดแล้ว
๖. ยถากัมมูปคอภิญญา
"ยถากมฺมํ อุปคจฺฉตีติ = ยถากมฺมูปคา" สัตว์ทั้งหลายย่อมไปเกิดในกพต่างๆ ตามกรรมของตน ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่ายถากัมมูปคา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภพนั้น ๆ ตามอำนาจแห่งกรรม
ยถากัมมูปคอภิญญาคือปัญญาที่รู้เห็นกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่จัดแจงให้เกิดในภพต่างๆ ตลอดจนถึงสุข ทุกข์ ที่สัตว์เหล่านั้นกำลังได้รับอยู่ การทำอภิญญานี้ถ้าสัตว์นั้นอยู่ห่างไกลต้องทำทิพพจักขุอภิญญาเพื่อเห็นสัตว์นั้นๆ ก่อน แล้วจึงทำยถากัมมูปคอภิญญาทีหลัง สำหรับผู้ที่มีการพบเห็นกันอยู่นั้น คงทำแต่ยถากัมมูปคอภิญญาอย่างเดียว
๗. อนาคตังสอภิญญา
"อนาคเต ปวตฺโต อํโส = อนาคตํโส" ขันธ์ที่จักเกิดในอนาคต ชื่อว่า อนาคตังสะ ได้แก่ ภพชาติที่จักมีขึ้นในภายหน้า
อนาคตังสอภิญญานั้น นอกจากจะรู้ถึงภพชาติของสัตว์ทั้งหลาย และของตนที่จักมีขึ้นในภายหน้าแล้ว ยังรู้ทั่วไปตลอดจนถึง ชาติ ชื่อ สกุล สุข ทุกข์ และการเข้าถึงพระนิพพานของตนและคนอื่นได้อีกด้วย การทำอนาคตังสอภิญญานี้ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับยถากัมมูปคอภิญญา คือ ผู้ที่อยู่ห่างไกลมิอาจพบเห็นกันได้ก็ต้องทำทิพพจักขุอภิญญาเสียก่อน แล้วจึงทำนาคตังสอภิญญาทีหลัง ถ้าอยู่ใกล้ได้พบเห็นกันอยู่ก็ไม่ต้องทำทิพพจักขุอภิญญา
-----------//-------------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ