๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ

       [๗๕๒] เมื่อโยคีนั้น เสพอยู่เนืองๆ ทำให้เกิดอยู่ ทำให้มากๆ อยู่ ซึ่งภยตุปัฏฐานญาณนั้น ก็ปรากฏว่า ในภพ (๓) กำเนิด (๔) คติ (๕) ฐิติ (๗) สัตตาวาส (๙)ทั่วทุกหนทุกแห่ง ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลี้ ไม่มีภูมิที่จะไป ไม่มีที่พึ่งอาศัย ไม่มีความปรารถนา หรือความยึดเหนี่ยว ในสังขารทั้งหลาย ที่ดำเนินไปในภพ (๓) กำเนิด(๔) คติ (๕) ฐิติ (๗) นิวาส (๙) ทั่วทุกหนทุกแห่ง แม้แต่เพียงสังขารเดียว ภพ ๓ ก็ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิงซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว มหาภูต ๔ ก็ปรากฏประดุจอสรพิษมีพิษร้าย ขันธ์ ๕  ก็ปรากฏประดุจเพชฌฆาตที่ยกดาบเงื้อง่าอยู่แล้ว อายตนะภายใน ๖ ก็ปรากฎประดุจหมู่บ้านร้าง อายตนะภายนอก ๖ ก็ปรากฏประดุจพวกโจรปลันฆ่าชาวบ้าน วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ก็ปรากฏประดุจถูกเผาด้วยไฟ ๑๑ กอง ลุกโพลงและโซติช่วงอยู่ สังขารทั้งหลายทั้งปวงก็ปรากฏเป็นประดุจหัวฝี เป็นโรค ถูกลูกศรเสียบ  เป็นสิ่งชั่วร้าย และเป็นอาพาธเป็นกองแห่งโทษร้ายใหญ่หลวง หาความอบอุ่นมิได้ ไม่มีรส

-----------------

ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ   น. ๑๐๘๕

       (ถามว่า) ปรากฎอย่างไร ?

       (ตอบว่า) ปรากฏดุจดังว่า ป่าซัฏ แม้ตั้งสงบอยู่โดยอาการเป็นที่น่ารื่นรมย์ แต่มีมฤคร้าย ปรากฏแก่บุรุษขลาด ผู้ปรารถนาดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข ปรากฏประดุจถ้ำมีเสือโคร่ง ประดุจน้ำมีรากษสสิงอยู่ ประดุจข้าศึกเงือดเงื้อพระขรรค์อยู่แล้ว ประดุจโภชนะมียาพิษ ประดุจมรรคาที่มีโจร ประดุจเรือนที่ไฟไหมั ประดุจสนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว ความจริง บุรุษผู้นั้น ครั้นมาถึงสถานที่เช่นป่าชัฏมีสัตว์ร้ายเป็นต้นเหล่านี้แล้ว ก็กลัว หวาดหวั่น ขนลุกขนพอง เห็นแต่โทษร้ายอย่างเดียวทุกทิศทาง ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นช่นกัน เมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนา ก็เห็นอยู่โดยทั่วไป แต่โทษร้าย ไม่มีรสไม่มีความอบอุ่นใจแต่อย่างเดียว

       เมื่อโยคาวจรท่านนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ญาณที่ชื่อว่า อาทีนวญาณ ก็เป็นอันเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นญาณที่ท่านระบุถึง กล่าวคำพะบาลีนี้ไว้ (แปลความ) ว่า

       "(ถามว่า) ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว เป็นอาทีนวญาณอย่างไร"

       "(ตอบว่า ) ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่กลัวว่า 'ความเกิดขึ้น เป็นที่น่ากลัว' ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ  ปัญญาในความปรากฎโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า'ความเป็นไปเป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'นิมิตเป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'ความขวนขวายเป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'ปฏิสนธิเป็นที่น่ากลัว' ว่า 'คติ (ภูมิที่ไป) เป็นที่น่ากลัว'*นิพพัตติ (ความบังเกิด) เป็นที่น่ากลัว ว่า 'อุปปัตติ (ความเข้าถึง) เป็นที่น่ากลัว'ว่า 'ชาติ (ความเกิด) เป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'ชรา เป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'พยาธิ(ความป่วยไข้) เป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'มรณะเป็นที่น่ากลัว' ... ว่า 'ความโศกเป็นที่น่ากลัว" ... ว่า 'ความคร่ำครวญเป็นที่น่ากลัว' ... ว่า ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัว" ดังนี้เป็น อาทีนวญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ปัญญา (ความรู้) ว่า 'ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม (ปลอดภัย)' ดังนี้เป็นสันติปทญาณ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือพระนิพพาน) ความรู้ว่า 'ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษม' .. ฯลฯ ... ความรู้ว่า ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

----------------

น. ๑๐๘๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       "ปัญญา (ความรู้) ว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นที่น่ากลัว ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม'ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือพระนิพพาน) ความว่า 'ความเป็นไป ... เลฯ...ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัวความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ปัญญาในความปรากฎโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์เป็นอาทีนวญาณ, ปัญญาในความปรากฎโดยความเป็นที่น่กลัวว่า 'ความเป็นไป'ฯลฯ.... ว่า 'ความคับแค้นใจเป็นทุกข์" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง" ความรู้ว่า 'ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข'ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า 'ความไม่เป็นไป' ... ฯลฯ 'ความไม่คับแค้นใจ เป็นสุข" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ว่า "ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข' ดังนี้ เป็นสันติปทญาณความรู้ว่า 'ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข' ....ฯลฯ ... 'ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส' ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ, ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า'ความเป็นไป ... ฯลฯ ... ความคับแค้นใจ เป็นการเจือด้วยอามิส" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ว่า 'ความไม่เกิดขึ้นเป็นการไม่มีอามิส' ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า 'ความไม่เป็นไป ... ฯลฯ ... ความไม่คับแค้นใจ เป็นการไม่มีอามิส" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส ความไม่เกิดขึ้น เป็นการไม่มีอามิส' ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า 'ความเป็นไป เป็นการเจือด้วยอามิสความไม่เป็นไปเป็นการไม่มีอามิส' ... ฯลขฯ ...' ความคับแค้นใจ เป็นการเจือด้วยอามิสความไม่คับแค้นใจ เป็นการไม่มีอามิส" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๘๗


       "ความรู้ในความปรากฎโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร' ดังนี้เป็นอาทีนวญาณ ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า 'ความเป็นไปเป็นสังขาร ... ฯลฯ 'ความคับแค้นใจ เป็นสังขาร" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ว่า "ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน'ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า 'ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน' .. ฯลฯ ... 'ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

       "ความรู้ว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นสังขารความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน'ดังนี้เป็นสันติปท. ญาณ ความรู้ว่า 'ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน' .. ฯลฯ'ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่างๆ พวกหนึ่ง)

                     "อุปฺปาทญฺจ ปวตฺตญฺจ     นิมิตฺตํ ทุกฺขนฺติ ปสฺสติ

                     อายูหนํ ปฏิสนฺธึ                 ญาณํ อาทีนเว อิทํ.

                     อนุปฺปาทํ อปฺปวตฺตํ            อนิมิตฺตํ สุขนฺติ จ

                     อนายูหนํ อปฺปฏิสนฺธึ         ญาณํ สนฺติปเท อิทํ.

                     อิทํ อาทีนเว ญาณํ             ปญฺจฏฺฐาเนสุ ชายติ

                     ปญฺจฏฐาเน สนฺติปเท        ทส ญาเณ ปชานาติ

                     ทฺวินฺนํ ญาณานํ กุสลตา    นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปตี"ติ.

       แปลความว่า

              "โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น และความเป็นไป และ

              นิมิตความขวนขวายและปฏิสนธิ ว่าเป็นทุกข์ นี้เป็น อาที-

              นวญาณ และเห็นความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความ

              ไม่มีนิมิต ความไม่มีขวนขวาย ไม่มีปฏิสนธิ ว่าเป็นสุข นี้

              เป็น สันติปทญาณ อาทีนวญาณนี้เกิดใน ๕ ฐาน สันติ-

              ปทญาณก็เกิดใน ๕ ฐาน โยคาวจรกำหนดรู้ญาณ ๑๐ ด้วย

              ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ๒ (คือ อาทีนวญาณ และ สันติ-

              ปทญาณ) จึงไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่างๆ" ด้วยประการฉะนี้

----------------

น. ๑๐๘๘  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       "ความเห็นนั้น ชื่อว่า ญาณ โดยความหมายว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา โดยความหมายว่า รู้ทั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว เป็นอาทีนวญาณ" ดังนี้(1)

       [๗๕๓] คำว่า "ความเกิดขึ้น" ในคำพระบาลี (ที่แปลไว้ข้างต้น) นั้น หมายถึงการเกิดขึ้นในภพ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย คำว่า "ความเป็นไป" หมายถึงความเป็นไปของสังขารซึ่งเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว คำว่า "นิมิต" หมายถึง นิมิต คือสังขารแม้ทุกประการ คำว่า "ความขวนขวาย" หมายถึง กรรมอันเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในภพต่อไป คำว่า "ปฏิสนธิ" หมายถึง การเกิดขึ้นในภพต่อไป คำว่า "คติ (ภูมิที่ไป)" หมายถึง ภูมิที่ไปซึ่งมีปฏิสนธิ คำว่า "นิพพัตติ (ความบังเกิด)" หมายถึง ความบังเกิดของข้นธ์ทั้งหลาย คำว่า "อุปปัตติ (ความเข้าถึง)" หมายถึง ความเป็นไปแห่งวิบาก ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นไปแห่งวิบาก ของผู้ถึงพร้อมแล้ว หรือว่าของผู้เข้าถึงแล้ว" คำว่า "ชาติ (ความเกิด)" หมายถึง ชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งชราเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะภพเป็นปัจจัย อาการทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้น เป็นอาการที่ปรากฏแล้วโดยเฉพาะ อนึ่ง ในพระบาลีนั้น อาการมีความเกิดขึ้นเป็นตัน ๕ อย่าง เท่านั้น ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) ของอาทีนวญาณ นอกนั้นท่านกล่าวไว้โดยเป็นไวพจน์ของอาการ ๕ อย่างเหล่านั้น เพราะว่า คำ "นิพพัตติ"(และ) "ชาติ" ๒ คำนี้ เป็นไวพจน์ของอุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) และของปฏิสนธิ คำว่า"คติ" (และ) "อุปปัตติ" ๒ คำนี้ เป็นไวพจน์ของปวัตตะ (ความเป็นไป) คำว่า "ชรา"เป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิด ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ข้างต้น (ด้วยคาถาซึ่งแปลความว่า)

              "โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้นและความเป็นไปและนิมิต

              ความขวนขวายและปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์นี้เป็นอาทีนวญาณ"

              ดังนี้ ๑ และว่า "อาทีนวญาณนี้เกิดใน ๕ ฐาน" ดังนี้ ๑

       ส่วนคำเป็นต้นว่า "ปัญญา (ความรู้ ว่า 'ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม' เป็น

------------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๓/๘๖

-----------------

ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๘๙


สันติปทญาณ" ท่านกล่าวไว้เพื่อชี้ให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามของอาทีนวญาณ อีกประการหนึ่ง  ท่านกล่าวคำนี้ไว้  เพื่อให้เกิดความอบอุ่นใจแก่โยคาวจรผู้เห็นโทษร้ายด้วยภยตุปัฏฐานญาณ แล้วมีหทัยไหวหวั่นว่า "แม้สิ่งที่ไม่น่ากลัว ที่เป็นแดนเกษมที่ไม่มีโทษร้าย ก็มีอยู่" ดังนี้บ้าง ก็หรือว่า เพราะอาการทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นต้นเป็นอาการตั้งอยู่ชัดเจนโดยความน่ากลัว แก่โยคาวจรผู้นั้นเล่า จิตของโยคาวจรนั้นก็น้อมไปในความเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาการเหล่านั้นอยู่แล้ว และเพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวคำนี้ไว้ เพื่อซี้ให้เห็นอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จได้ด้วยความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว

       อนึ่ง ในอาทีนวญาณนี้ เพราะสิ่งใดเป็นของน่ากลัว สิ่งนั้นเป็นทุกข์โดยแน่นอน และสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นของเจือด้วยอามิสโดยแท้ เพราะเป็นของไม่พ้นไปจาก(อามิส ๓ คือ) อามิสคือวัฏฏะ ๑ อามิสในโลก ๑ และอามิสคือกิเลส ๑ และสิ่งใดเจือด้วยอามิส สิ่งนั้นก็เป็นเพียงสังขารเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า 'ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ" ดังนี้ไว้ แม้เป็นอย่างนั้น ก็ควรทราบความแตกต่างกันในอาการทั้งหลายนี้ด้วยความเป็นไปโดยอาการต่างๆ กันอย่างนี้ คือ โดยอาการเป็นที่น่ากลัว ๑ โดยอาการเป็นทุกข์ ๑ โดยอาการมีอามิส ๑

       คำว่า "กำหนดรู้ญาณ ๑๐" หมายความว่า เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้อาทีนวญาณอยู่ชื่อว่า กำหนดรู้ คือแทงตลอด คือทำให้แจ้งซึ่งญาณ ๑๐ ได้แก่ ญาณ ๕ มีอาการเช่นความเกิดขึ้นเป็นต้นเป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) และญาณ ๕ มีอาการเช่นความไม่เกิดขึ้นเป็นต้นเป็นวัตถุ คำว่า "ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ๒" ความว่า ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ๒ เหล่านี้ คือ อาทีนวญาณ ๑ และสันติปทญาณ ๑ คำว่า "ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่างๆ" ความว่า ไม่ส่ายไปส่ายมาในทิฏฐิทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปด้วยความเห็นผิดว่า พระนิพพานเป็นบรมทิฏฐธรรมเป็นต้น คำที่ยังเหลืออยู่ในพระบาลีนี้ เป็นคำมีความหมายง่ายๆ ทั้งนั้นแหละ


จบ อาทีนวานุปัสสนาญาณ

-------------

[full-post]

คัมภีร์วิสุทธิมรรค,วิสุทธิมรรค,อาทีนวญาณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.