น. ๑๐๙๐  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ

       [๗๕๔] เมื่อโยคีนั้นเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษอยู่อย่างนี้ ก็เบื่อหน่ายเอือมระอา ไม่อภิรมย์ในสังขารอันมีการแตกดับ ซึ่งดำเนินอยู่ในภพ (๓) กำเนิด (๔)คติ (๕) วิญญาณฐิติ (๗) สัตตาวาส (๙) ทั่วทุกหนทุกแห่ง เปรียบเหมือนพญาหงส์ทอง ผู้อภิรมย์ยินดีอยู่ ณ เชิงภูเขาจิตรกูฏ ไม่อภิรมย์ยินดีในบ่อน้ำสกปรกใกล้ประตูบ้านคนจัณฑาล อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในสระใหญ่ทั้ง ๓ (ในป่าหิมพานต์) เท่านั้น ชื่อแม้ฉันใด พญาหงส์ คือโยคีแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารซึ่งมีแต่การแตกดับ มีโทษร้าย ซึ่งตนได้กำหนดเห็นมาอย่างดีแล้ว แต่ทว่า ยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้งหลาย ๗*(1) เท่านั้น เพราะเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี (และ) ด้วยความยินดีในภาวนา อนึ่ง เปรียบเหมือนสีหะมฤคราชที่ถูกเขาขังไว้แม้ในกรงทอง ก็ไม่อภิรมย์ยินดี แต่ทว่า ยินดีพอใจอยู่แต่ในป่าหิมพานต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์เท่านั้นฉันใด สีหมฤคราช คือพระโยคีนี้ ก็ฉันนั้น ไม่อภิรมย์ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ๓ อย่าง แต่ทว่ายินดีอยู่แต่ในอนุปัสสนา ๓"(2) เท่านั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนพญาช้างฉัททันต์เผือกทั่วสรรพางค์ มีอวัยวะ ๗ จรดถึงพื้น มีฤทธิ์ เหาะไปได้ในเวหาส ก็ไม่อภิรมย์ยินดีอยู่ในท่ามกลางพระนคร อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในป่าชัฏริมสระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์เท่านั้น ฉันใด พญาช้างตัวประเสริฐคือโยคีผู้นี้ ก็ฉันนั้น ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารแม้ทั้งปวง อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในพระนิพพาน อันเป็นสันติบทที่ตนเห็นแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม" เป็นผู้มีใจน้อมไปในพระนิพพานนั้นโน้มไปในพระนิพพานนั้น โอนเอียงไปในพระนิพพานอันเป็นสันติบทนั้น ด้วยประการฉะนี้

       [๗๕๕] อนึ่ง  นิพพิทาญาณนี้นั้น โดยความหมายก็เป็นญาณเดียวกันกับญาณข้างต้น (คือ ภยตุปัฏฐานญาณและอาทีนวญาณ) เพราะเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า "ภยตุปัฏฐานญาณเดียวนั่นแล ได้ชื่อ ๓ ชื่อ คือชื่อว่าภยตูปัฏฐาน เพราะเห็นสังขาร ทั้งปวงโดยความน่ากลัว ๑ ชื่อว่าอาทีนวานุปัสสนาเพราะให้เกิด (ความเห็น) โทษร้ายขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง ๑ ชื่อว่า

------------------

(1) อนุปัสสนา ๗ คือ ๑. อนิจจานุปัสสนา ๒. ทุกขานุปัสสนา ๓. อนัตตานุปัสสนา ๔. นิพพิทานุปัสสนา ๕. วิราคานุปัสสนา ๖. นิโรธานุปัสสนา ๗. ปฏินิสสัคคานุปัสสนา

(2) อนุปัสสนา ๓ คือ ๑. อนิจจานุปัสสนา ๒. ทุกขานุปัสสนา ๓. อนัตตานุปัสสนา

-----------------

ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ ๑๐๙๑


นิพพิทานุปัสสนา เพราะเกิดเบื่อหน่ายขึ้นแล้วในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล ๑" แม้ในพระบาลี"(1) ท่านก็กล่าวไว้ว่า "ปัญญาใดในภยตุปัฏฐาน ๑ ญาณใดในอาทีนวะ ๑ นิพพิทาใด ๑ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน"


จบ นิพพิทานุปัสสนาญาณ


๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ

       (๗๕๖] แต่เมื่อกุลบุตรผู้นี้ เบื่อหน่ายอยู่ เอือมระอาอยู่ ไม่อภิรมย์ยินดีอยู่ด้วยนิพพิทาญาณนี้ จิตก็ไม่ข้อง ไม่เกาะ ไม่ติดอยู่ ในสังขารทั้งหลาย ซึ่งมีความแตกดับที่ดำเนินไปอยู่ในภพ (๓) กำเนิด (๔) คติ (๕) วิญญาณฐิติ (๗) และ สัตตาวาส (๙)ทุกหนทุกแห่งแม้แต่สังขารเดียวเป็นจิตที่ใคร่จะพ้นไป ปรารถนาจะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง

       (ถามว่า) เปรียบเหมือนอะไร ?

       (ตอบว่า) เปรียบเหมือนสัตว์และบุคคลเป็นต้นว่าอย่างนี้ คือ:

              ๑. ปลาติดอยู่ภายในอวน (หรือแห)

              ๒. กบอยู่ในปากงู

              ๓. ไก่ป่าถูกขังไว้ในกรง

              ๔. เนื้ออยู่ในบ่วงบาศอันเหนียวแน่น

              ๕. งูอยู่ในเงื้อมมือของหมองู

              ๖. ช้างกุญชรติดอยู่ในหล่มลึก

              ๗. พญานาคอยู่ในปากครุฑ

              ๘. พระจันทร์เข้าไปในปากราหู

              ๙. บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้

----------------

(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๗/๓๘๓

----------------

น. ๑๐๙๒  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       เป็นผู้มีความปรารถนาจะพ้นไป มีความมุ่งมั่นจะออกไปเสียจากที่นั้นๆ ชื่อฉันใดจิตของโยคีผู้นั้น ก็ฉันนั้น เป็นจิตปรารถนาจะพ้นไป ประสงค์จะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง ทันใดนั้น ครั้นโยคีท่านนั้น ผู้ปราศจากความอาลัยในสังขารทั้งปวงแล้วผู้ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารทั้งปวงอยู่อย่างนี้ มุญจิตุกัมยตาญาณก็เกิดขึ้น ด้วย


จบ มุญจิตุกัมยตาญาณ

[full-post]

ิคัมภีร์วิสุทธิมรรค,วิสุทธิมรรค,นิพพิทาญาณ,มุญจิตุกัมยตาญาณ,

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.