อธิบายในสัปปายะ และ สัปปายะ ๗ อย่าง


      ๑. อาวาสอสัปปายะ และ อาวาสสัปปายะ คือ ที่อยู่ที่อาศัยที่หลับนอนอันไม่สมควร และสมควร, อาวาสอสัปปายะ พระโยคีบุคคลเข้าไปพักอาศัยอยู่ในสถานที่ใด นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็สูญหายไป สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏขึ้น จิตใจที่ยังไม่สงบ ยังไม่ตั้งมั่น ก็คงเป็นไปอยู่อย่างเดิม ฉะนั้น สถานที่นั้นจึงเป็นอาวาสอสัปปายะแก่พระโยคีนั้น

      อาวาสสัปปายะ สถานที่ใดพระโยคีบุคคลเข้าไปพักอาศัยอยู่แล้ว นิมิตที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งมั่นอยู่ได้ไม่หายไป สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏขึ้นจิตใจที่ยังไม่สงบ ยังไม่ตั้งมั่น ก็มีความสงบตั้งมั่นขึ้นได้ ฉะนั้น สถานที่นั้นจึงเป็นอาวาสสัปปายะแก่พระโยคีนั้น

      ดังนั้นถ้าสำนักใด บ้านใด มีกุฎี มีเรือนอยู่หลายหลัง หรือท้องถิ่นใดตำบลใดมีที่พักที่อาศัยอยู่หลายแห่ง พระโยคีบุคคลก็จงไปทำการปฏิบัติอยู่ในกฎีนั้นเรือนนั้น สถานที่นั้นๆ แห่งละ ๓ วันๆ เพื่อเป็นการทดลองว่า แห่งใดจะเป็นที่ที่สัปปายะแก่ตนได้ ถ้าที่นั้นเป็นอสัปปายะแก่ตนแล้ว ก็จงเว้นเสียจากที่นั้นแห่งนั้น


๒. โคจรอสัปปายะ และ โคจรสัปปายะ คือ หมู่บ้านหรือท้องถิ่นที่ไม่ควรและควรเข้าไปบิณฑบาต


โคจรอสัปปายะ มี ๓ ประเภท ได้แก่

            ๑.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่น ที่มีอยู่จากเสนาสนะไปทางด้านทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันตก ที่มีแสงอาทิตย์ขึ้นส่องหน้าในเวลาไป หรือ กลับจากบิณฑบาต

            ๒.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่น ที่มีอยู่ห่างไกลออกไปจากเสนาสนะเกินกว่าหนึ่งโกสะครึ่ง เท่ากับมากกว่า ๓ ไมล์ หรือ ๕ กิโลเมตร ที่การคมนาคมไปมายังไม่สะดวก

            ๓.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่น ที่เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตนั้น ได้อาหารมาไม่พอแก่การฉัน


โคจรสัปปายะ มี ๓ ประเภท ได้แก่

            ๑.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่นใด ที่มีอยู่ห่างจากเสนาสนะไปทางด้านทิศเหนือ หรือ ทางทิศใต้ ที่พ้นจากแสงอาทิตย์ขึ้นส่องหน้าในเวลาไป หรือ กลับจากบิณฑบาต

            ๒.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่น ที่มีอยู่ใกล้กันกับเสนาสนะ ประมาณหนึ่งโกสะครึ่ง เท่ากับ ๓ ไมล์ หรือ ๕ กิโลเมตร ที่มีการคมนาคมไปมาสะดวกสบาย

            ๓.) หมู่บ้าน หรือ ท้องถิ่น ที่เข้าไปรับบิณฑบาตนั้น ได้อาหารมาเพียงพออย่างบริบูรณ์แก่การฉัน

      ๓. ภัสสอสัปปายะ และ ภัสสสัปปายะ คือ ถ้อยคำอันไม่สมควร และภัสสอสัปปายะ ถ้อยคำที่นับเนื่องอยู่ในดิรัจฉานกถา ๓๒ และ วิคคาหิกกถา ชื่อว่า ภัสสอสัปปายะ ดิรัจฉานกถา ๓๒ เป็นถ้อยคำที่เป็นเครื่องขัดขวางกับมรรค ผล นิพพานนั้น มีดังนี้

            ๑.) ราชกถา พูดเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ตลอดจนถึงเชื้อพระญาติ พระวงศ์ น้อยใหญ่ในราชตระกูลทั้งหมด

            ๒.) โจรกถา พูดเรื่องโจรต่างๆ

            ๓.) มหามตฺตกถา พูดเรื่องมหาอำมาตย์ราชมนตรีที่เป็นคณะรัฐบาล

            ๔.) เสนากถา พูดเรื่องทหาร ตำรวจ

            ๕.) ภยกถา พูดเรื่องภัยต่างๆ

            ๖.) ยุทฺธกถา พูดเรื่องยุทธศาสตร์

            ๗.) อนฺนกถา พูดเรื่องอาหารการกิน มีข้าว และ กับ เป็นต้น

            ๘.) ปานกถา พูดเรื่องเครื่องดื่มต่างๆ ได้แก่ น้ำดื่ม และสุรา

            ๙.) วตฺถกถา พูดเรื่องเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่างๆ

            ๑๐.) สยนกถา พูดเรื่องที่หลับที่นอน

            ๑๑.) มาลากถา พูดเรื่องเครื่องระเบียบดอกไม้ต่างๆ

            ๑๒.) คนฺธกถา พูดเรื่องกลิ่นหอมต่างๆ

            ๑๓.) ญาติกถา พูดเรื่องวงศ์ญาติ

            ๑๔.) ยานกถา พูดเรื่องยวดยานต่างๆ

            ๑๕.) คามกถา พูดเรื่องหมู่บ้านต่างๆ

            ๑๖.) นิคมกถา พูดเรื่องนิคมต่างๆ

            ๑๗.) นครกถา พูดเรื่องจังหวัดต่างๆ

            ๑๘.) ชนปทกถา พูดเรื่องชนบทต่างๆ

            ๑๙.) อิตฺถิกถา พูดเรื่องผู้หญิง

            ๒๐.) ปุริสกถา พูดเรื่องผู้ชาย

            ๒๑.) สุรกถา พูดเรื่องความกล้าหาญ

            ๒๒.) วิสิขากถา พูดเรื่องถนนสายต่างๆ และคนที่อยู่ในถนนสายนั้นๆ

            ๒๓.) กุมฺภฐานกถา พูดเรื่องท่าน้ำ หรือ เรื่องนางทาสีของนายช่างหม้อ

            ๒๔.) ปุพพเปตกถา พูดเรื่องวงศาคณาญาติที่ล่วงลับไปแล้วในปางก่อน

            ๒๕.) นานตฺตกถา พูดเรื่องอื่นๆ โดยเว้นจากเรื่องแรก และเรื่องหลัง

            ๒๖.) โลกกฺขายิกกถา พูดเรื่องใครเป็นผู้สร้างโลกหรือเรื่องแผนที่โลก

            ๒๗.) สมุทฺทกฺขายิกกถา พูดเรื่องมหาสมุทร โดยเป็นคำปุจฉาวิสัชชนาว่า ทำไมมหามหาสมุทรจึงเรียกว่า สาครเพราะพระเจ้าสาครเป็นผู้สร้าง เป็นต้น

            ๒๘.) อิติภวาภวกถา พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อม ว่าการกระทำ ดังนี้เป็นเหตุแห่งความเจริญ การกระทำดังนี้เป็นเหตุแห่งความเสื่อม เป็นต้น

            ๒๙.) อรญฺญกถา พูดเรื่องป่า

            ๓๐.) ปพุพกถา พูดเรื่องภูเขา

            ๓๑.) นทีกถา พูดเรื่องแม่น้ำ

            ๓๒.) ทีปกถา พูดเรื่องเกาะต่างๆ

      หมายเหตุ ดิรัจฉานกถาทั้ง ๓๒ ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ แม้ว่าบางอย่างจะเป็นประโยชน์ในทางโลกได้ก็จริง แต่ทว่าในด้านทางธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแล้วก็เป็นอุปสรรคอย่างยิ่ง ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เป็นดิรัจฉานกถา ส่วนในด้านการปริยัตินั้นเล่า ส่วนมากก็คงเป็นอุปสรรคได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ทำให้ไม่ได้รับผลดีเต็มที่จากการศึกษานั้นๆ ดังนั้น จึงเป็นดิรัจฉานกถาฝ่ายด้านปริยัติอีกด้วย

      อนึ่ง ในดิรัจฉานกถาทั้ง ๓๒ นี้ ถ้าหากว่าได้กล่าวปรารภถึงคุณงามความดีของพระมหากษัตริย์ หรือ ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม ที่มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ดี หรือปรารกถึงผู้ที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ก็ดีหรือ ผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมายปานใดก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่ต้องตกอยู่ในห้วงแห่งความตายด้วยกันทั้งนั้น หรือยกขึ้นมา กล่าวเปรียบเทียบประกอบ ในการอธิบายข้อธรรมบางอย่างบางประการก็ดี ไม่จัดว่าเป็นโทษแต่อย่างใด คงมีแต่การได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ตามสำหรับนักปฏิบัติแล้วก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำเอาเรื่องเหล่านี้มาคุยมาสนทนากันแต่อย่างใดทั้งสิ้น


วิคคาหิกกถา คือ ถ้อยคำที่แก่งแย่งกันนั้น มีอังนี้

      ๑.) น ตวํ อิมํ ธมฺมวินยํ อาชานิสฺสติ ท่านไม่รู้ธรรมวินัย

      ๒.) อหํ อิมํ ธมฺมวินยํ อาชานามิ แต่ข้าพเจ้ารู้ธรรมวินัย

      ๓.) กึ ตวํ อิมํ ธมฺมวินยํ อาชานิสฺสสิ  ท่านจะรู้ธรรมวินัยได้อย่างไร

      ๔.) มิจฺฉาปฏิปนฺโน ตวมสิ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด

      ๕.) อหมสฺมึ สมฺมาปฏิปฺปนฺโน ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูก

      ๖.) สหิตํ เม คำพูดของข้าพเจ้าในเบื้องต้น  และเบื้องปลายนั้นตรงกัน ฉะนั้น จึงเป็นคำพูดที่มีประโยชน์

      ๗.) อสหิตํ เต คำพูดของท่านในเบื้องต้นและเบื้องปลายนั้นไม่ตรงกัน ฉะนั้น คำพูดของท่านจึงไม่มีประโยชน์

      ๘.) ปุเรวจนิยํ ปจฺฉา อวจ  คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกลับนำมากล่าวทีหลัง

      ๙.) ปจฺฉาวจนิยํ ปุเร อวจ คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกลับยกขึ้นมากล่าวก่อน

      ๑๐) ปริจิณฺณนฺเต วิปราวตฺตํ คำพูดของข้าพเจ้าเพียงดำเดียว สามารถ ทำลายคำพูดของท่านอย่างช่ำชองมาแล้วให้ล้มเหลวไปหมดสิ้น

      ๑๑) อาโรปิโต เต วาโท ข้าพเจ้าจับผิดความเห็นของท่านได้แล้ว

      ๑๒) นิคฺคหิโต ตวมสิ ท่านเป็นผู้ถูกข้าพเจ้าข่มไว้อยู่

      ๑๓) จร วาทปโมกฺขาย ท่านจงพยายามแสวงหาความรู้จากสำนักต่างๆ มาปลดเปลื้องแก้ไขคำพูดของท่านที่ถูกข้าพเจ้าข่มไว้นี้ด้วย

      ๑๔.) นิพฺเพเฐหิ วา สเจ ปโหสิ ถ้าท่านยังเชื่อในความสามารถของท่าน ก็จงแก้ไขมาในบัดนี้

      หมายเหตุ วิคคาหิกกถา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ แต่ละประการล้วนเป็นโทษไร้ประโยชน์ทั้งฝ่ายด้านปริยัติ และปฏิบัติ ตลอดจนฝ่ายทางโลก กล่าวคือ ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ทำลายความดีงามและความเจริญของตน พร้อมกับทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ อีกด้วย ครั้นถึงคราวที่ละจากโลกนี้ไปก็ต้องไปสู่ทุคติภูมิอีก ดังนั้นผู้ที่มีความประสงค์ใคร่ที่จะวางตนเป็นบัณฑิต หรือ สัปบุรุษ ก็ควรเว้นจากถ้อยคำที่เป็นวิคคาทิกกถาเหล่านี้เสีย


ภัสสสัปปายะ ถ้อยคำที่นับเนื่องอยู่ในกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ชื่อว่าภัสสสัปปายะ

      กถาวัตถุเป็นถ้อยคำที่ไม่ขัดกันกับมรรค ผล นิพพาน มี ๑๐ นั้น ดังนี้

            ๑.) อปีจฺฉตากถํ พูดเรื่องความมักน้อย

            ๒.) สนฺตุฏฺฐิกถํ พูดเรื่องความพอใจตามมีตามได้ ในสิ่งของของตนที่ได้มา

            ๓.) . ปวิเวกกถํ พูดเรื่องความสงบทางกาย วาจา ใจ

            ๔.) อสสดุดกถํ พูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์

            ๕.) วิริยารมฺภกถํ พูดเรื่องการขยันหมั่นเพียร

            ๖.) สีลกถํ พูดเรื่องศีล

            ๗.) สมาธิกถํ พูดเรื่องสมาธิ

            ๘.) ปญญากถํ พูดเรื่องปัญญา

            ๙.) วิมุตฺติกถํ พูดเรื่องอรหัตตผล

            ๑๐.) วิมุตฺติญาณทสฺสนกถํ พูดเรื่องปัจจเวกขณญาณ ที่เกี่ยวกับอรหัตตผล และนิพพาน


      ๕. โภชนอสัปปายะ และ โภชนสัปปายะ อาหารที่ไม่ควร และ ควรบริโภคอาหารที่ควรและไม่ควรบริโภคในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น พระโยคีบุคคลบางท่านได้รับประทานอาหารที่มีรสหวานแล้วก็ไม่ถูกปาก ไม่มีความชุ่มชื่นผาสุกใจจิตใจไม่มั่นคง แต่เมื่อได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวแล้ว ก็รู้สึกชุ่มชื่นผาสุกใจ ทำให้จิตใจมั่นคงและถาวรยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาหารที่มีรสหวานนั้นจึงเป็นอสัปปายะ ส่วนอาหารที่มีรสเปรี้ยวเป็นสัปปายะแก่พระโยคีนั้น บางท่านเมื่อได้รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวแล้วก็ไม่ถูกปาก ไม่มีความชุ่มชื่นผาสุกใจ จิตใจไม่มั่นคง แต่เมื่อได้อาหารที่มีรสหวานแล้วก็รู้สึกชุ่มชื่นผาสุกใจ ทำให้จิตใจถาวรและมันคงยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาหารที่มีสเปรี้ยวนั้นจึงเป็นอสัปปายะ ส่วนอาหารที่มีรสหวานเป็นสัปปายะแก่พระโยคีนั้น สำหรับรสเค็ม ขม เผ็ด ฝาด ๔ อย่างนี้ ไม่ได้กล่าวโดยเฉพาะๆ นั้น ก็เพราะรสเหล่านี้เพียงแต่เป็นเครื่องปรุงให้รสทั้งสองนั้นดีขึ้น ดังนั้น เมือยกรสหวานและเปรี้ยวขึ้นมากล่าวแล้ว ก็เป็นอันว่าได้กล่าวถึงรส ๔ อย่างนี้ ตามสมควรไปด้วย

      ๖. อุตุอสัปปายะ และ อุตุสัปปายะ คือ อากาศที่ไม่สบายและสบายอากาศที่ไม่สบายและสบายในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น พระโยคีบางท่านเมื่อได้รับอากาศร้อนแล้ว ก็รู้สึกไม่ค่อยจะสบาย จิตใจที่ยังไม่แจ่มใส ไม่ตั้งมั่น กลับกระสับกระส่ายขุ่นหมองยิ่งขึ้น จิตใจที่สงบระงับแจ่มใสดั้งมั่นแล้วก็กลับหงุดหงิด ฟุ้งซ่านขึ้นมา แต่ถ้าได้รับอากาศเย็นก็รู้สึกสบาย จิตใจที่ยังไม่แจ่มใส ไม่ตั้งมั่น ก็กลับแจ่มใสตั้งมั่นขึ้น จิตใจที่สงบระงับแจ่มใสตั้งมั่นแล้วก็ถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป ฉะนั้น อากาศร้อนจึงเป็นอสัปปายะ สำหรับอากาศเย็นเป็นสัปปายะแก่พระโยคีบุคคลนั้น บางท่านเมื่อได้รับอากาศเย็นแล้วก็รู้สึกไม่ค่อยจะสบายจิตใจที่ยังไม่แจ่มใส ไม่ตั้งมั่นก็กลับกระสับกระส่ายขุ่นหมองยิ่งขึ้น จิตใจที่สงบระงับแจ่มใสตั้งมั่นแล้ว ก็กลับหงุดหงิดฟุ้งซ่านขึ้นมา แต่ถ้าได้รับอากาศร้อนแล้วร่างกายก็รู้สึกสบาย จิตใจที่ยังไม่แจ่มใส ไม่ตั้งมั่น ก็กลับแจ่มใสตั้งมั่นขึ้น จิตใจที่สงบระงับแจ่มใสตั้งมั่นแล้วก็ถาวรยิ่งๆ ขึ้นไปฉะนั้น อากาศเย็นจึงเป็นอสัปปายะ สำหรับอากาศร้อนเป็นสัปปายะแก่พระโยดีบุคคลนั้น

      ๗. อิริยาปถอสัปปายะ และ อิริยาปถสัปปายะ คือ อิริยาบถไม่สบายและสบาย

      หมายเหตุ กถาวัตถุ ๑๐ ประการดังกล่าวมาแล้วนี้ แม้ว่าจะเป็นถ้อยคำที่ไม่ขัดกันกับมรรค ผล นิพพานแต่ประการใดก็จริง สำหรับผู้ปฏิบัตินั้น ไม่ควรพูดมากควรพูดแต่พอประมาณ เพื่อจะได้เป็นการรักษาสมาธิ และปฏิภาคนิมิต ดังนั้นท่านอรรถกถาจารย์จึง ได้สั่งไว้ว่า ตมฺปี มตฺตาย ภาสิตพฺพํ แม้เป็นกฤาวัตถุ ๑๐ ก็ตาม ก็จงพูดแต่เพียงพอประมาณ อย่าให้มากเกินไปนัก

      ๔. ปุคคลอสัปปายะ และ ปุคคลสัปปายะ บุคคลที่ไม่สมควรและสมควร ปูคคลอสัปปายะ บุคคลที่ไม่สมควร ชื่อว่า ปุคคลอสัปปายะ, ปุคคลอสัปปายะ บุคคลที่ไม่สมควรแก่การเข้าไปสนทนาปราศรัยในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น มีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ

      ๑.) กายทฬฺหีพหุโล บุคคลที่มีปกติชอบบำรุงประคบประหงมตบแต่งร่างกาย

      ๒.) ติรจฺฉานกถิโก บุคคลที่มีปกติชอบคุยชอบพูดแต่ในดิรัจฉานกถา ๓๒

      ทั้ง ๒ จำพวกนี้ย่อมทำให้จิตใจของพระโยคีบุคคลนั้น เกิดความหม่นหมอง ไม่สงบโดยแท้ ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้จึงจัดเป็น ปุคคลอสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ คคลที่สมควร ชื่อว่า ปุคคลสัปปายะ

      ปุคคลสัปปายะ บุคคลที่สมควรแก่การเข้าไปสนทนาปราศรัยในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น ก็มีอยู่ ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ

      ๑.) อติรจฺฉานกลิโก บุคคลที่มีปกติไม่ใคร่คุยไม่ใคร่พูดในเรื่องดิรัจฉานกถา

      ๒.) สีลาทิคุณสมฺปนฺโน ยุคคลที่ถึงพร้อมด้วย ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณทั้ง ๒ จำพวกนี้ ย่อมทำให้จิตใจของพระโยคีบุคคลเกิดความสงบเยือกเย็นผ่องใสได้โดยแท้ ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้จึงจัดเป็นปุคคลสัปปายะ

      ในอิริยาบถ ๔ อย่างนั้น พระโยคีบุคคลบางท่านเมื่อทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถนอนแล้ว ก็ทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ไม่ค่อยจะได้รับผลดี ถ้าทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถอื่น ๆ ก็รู้สึกว่ามีการสบายกาย สบายใจ ทั้งได้รับผลดีโดยไม่มีนิวรณ์เกิดขึ้นกวนใจ บางท่านก็ไม่ได้รับผลดีแต่ประการใดในอิริยาบถนั้ง ยืน เดิน แต่กลับได้รับผลดีในอิริยาบถนอน บางท่านเมื่อทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถ นั่ง ยืน เดิน แล้วรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่ค่อยจะได้รับผลดี ถ้าทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถเดินกับนอน ก็รู้สึกว่ามีความสบายกาย สบายใจทั้งได้รับผลดีด้วย บางท่านก็ไม่ได้รับผลดีแต่ประการใดในอิริยาบถ เดิน นอน แต่กลับได้รับผลดีในอิริยาบถ นั่ง ยืน บางท่านเมื่อทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถเดิน แล้วรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่ค่อยจะได้รับผลดี ถ้าทำการปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถอื่น ๆ ก็รู้สึกว่ามีความสบายกายสบายใจทั้งได้รับผลดีโดยไม่มีนิวรณ์เกิดขึ้นกวนใจ บางท่านก็ไม่ได้รับผลดีแต่ประการใดใน อิริยาบถ นั่งยืน นอน แต่กลับได้รับผลดีในอิริยาบถเดิน ฉะนั้น อิริยาบถใดไม่ได้รับผลดี คือ ทำให้จิตใจไม่ค่อยสงบ อิริยาบถนั้นชื่อว่า อสัปปายะ อิริยาบถใดได้รับผลดี คือ ทำให้จิตใจแจ่มใสสงบระงับดับเสียซึ่งนิวรณ์ อิริยาบถนั้นจัดเป็นสัปปายะแก่พระโยคีบุคคลนั้นเหตุนั้น พึงทดลองดูในอิริยาบถนั้นๆ  อยู่อย่างละ ๓ วัน เช่นเดียวกันกับทำการทดลองในอาวาสะ ดังที่ได้แสดงมาแล้ว

      พระโยคีบุคคลที่กำลังทำการเพ่งปฏิภาคนิมิตอยู่ โดยมีการเว้นจาก อสัปปายะอย่าง แล้วเสพสัปปายะ ๗ อย่าง ตามที่ได้พรรณนามานี้แล้ว ต่อจากนี้ไปไม่นานนัก บางท่านก็จะสำเร็จฌานลาภีได้ คือ รูปาวจรปฐมฌานย่อมเกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่า รูปาวจรปฐมฌานยังมิได้เกิดขึ้นแล้วไซร้ พระโยคีบุคคลนั้นพึงบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ ให้เกิดขึ้นในสันดานของตนอย่างบริบูรณ์


อัปปนาโกศล ๑๐ ประการ นั้น มีนัยดังต่อไปนี้

      ๑. วตถุวิสทกริยตา จงชำระร่างกายและเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด ตลอดจนทำการปัดกวาด เช็ดถู สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้ให้หมดจด สะอาดสะอ้าน แล้วจงจัดวางไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูเย็นตา

      ๒. อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา กระทำอินทรีย์ทั้ง ๔ มี ศรัทธากับปัญญาวิริยะกับสมาธิ ให้เสมอกันในหน้าที่ของตนๆ โดยเฉพาะๆ สำหรับสตินั้นต้องกระทำให้มากยิ่งกว่าธรรมทั้งปวงในการงานนั้นๆ จึงจะควร เพราะกุศลธรรมเหล่านั้นย่อมมีสติเป็นที่พำนักเป็นเครื่องป้องกันรักษาไมให้จิตตกไปสู่นิวรณ์ได้ ทั้งเป็นเครื่องปลอบและปราบจิตอีกด้วย

      ๓. นิมิตตกุสลตา มีความฉลาดในการรักษานิมิตกรรมฐาน และทำให้สมาธิเจริญขึ้น

      ๔. จิตฺตปคฺคโห ขณะใดรู้สึกว่าจิตใจมีการท้อถอยจากอารมณ์กรรมฐานเนื่องจากปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ขณะนั้นควรยกจิตขึ้น โดยทำให้โพชฌงค์ทั้ง ๓ คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงก์ เจริญขึ้น

      ๕. จิตฺตนิคฺคโห ขณะใดรู้สึกว่าจิตใจมีความฟุ้งซ่าน เนื่องจากโพชฌงค์ ๓ คือ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติสัมโพชณงค์ ขณะนั้นควรข่มจิตไว้ โดยทำให้โพชฌงค์ทั้ง ๓. คือ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขสัมโพชฌงค์ เจริญขึ้น

      ๖. จิตฺตสมฺปหํโส เวลาใดรู้สึกว่ามีการเบื่อหน่ายในการเจริญกรรมฐาน เวลานั้นควรปลูกความเชื่อ ความเลื่อมใสในการเจริญกรรมฐานนั้น เพื่อยังจิตใจให้ร่าเริงโดยนึกถึงสังเวควัตถุ ๘ และคุณของพระรัตนตรัย

      ๗. จิตฺตอชฺชุปกฺโข เวลาใดจิตใจไม่มีการท้อถอย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เบื่อหน่ายในการเจริญกรรมฐาน เวลานั้นควรประคองจิตไว้ให้เพ่งเฉยอยู่ โดยไม่ต้องยกจิตข่มจิต และทำจิตให้ร่าเริงแต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น

      ๘ อสมาหิตปุคฺคลปริวชฺชนํ เว้นจากบุคคลที่มีจิตใจไม่สงบ มีความประพฤติเหลาะแหละ วอกแวก ไม่มั่นคงในการงาน เตร็ดเตร่เที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ

      ๙. สมาหิตปุคฺคลเสวนํ จงคบหาสมาคมกับผู้ที่มีความประพฤติมั่นคง ไม่จับจด เป็นหลักเป็นฐาน

      ๑๐. ตทธิมุตฺติ จงน้อมใจอยู่แต่ในเรื่องฌานสมาธิ คือ มีความพยายามเพ่งอยู่ในปฏิภาคนิมิตที่เป็นเหตุให้ถึงฌาน สืบต่อเนื่องกันอยู่เรื่อยๆ ไปไม่ขาดสาย


-----------///----------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,สัปปาย,อสัปปายะ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.