วิปัสสนูปกิเลส ๑๐
[๗๓๒] ในระยะนั้น ด้วยตรุณวิปัสสนานี้ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ (สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาหม่นหมอง) ก็เกิดขึ้ นแก่โยคีนั้น ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา ความจริงวิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่
๑. พระอริยสาวกผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
๒. ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
๓. ผู้ละทิ้งกัมมัฏฐาน และ
๔. บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกต้องมาแต่เริ่มตัน)
แต่จะเกิดขึ้นแก่กุลบุตรผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียรแล้วประกอบเล่า ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วเท่านั้น
แต่ว่า อุปกิเลส ๑๐ เหล่านั้น คืออะไรบ้าง? คือ
๑. โอภาส แสงสว่าง
๒. ญาณ ความรู้
๓. ปีติ ความเอิบอิ่ม
๔. ปัสสัทธิ ความสงบ
๕. สุข ความสุข
๖. อธิโมกข์ ความเชื่อ - ศรัทธา
๗. ปัคคาหะ ความเพียร - วีริยะ
๘. อุปัฏฐาน ความเข้าไปตั้งอยู่ - สติ
๙. อุเบกขา ความวางเฉย
๑๐. นิกันติ ความใคร่
ความจริง ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระก็ได้กล่าวคำนี้(1) ไว้แล้วว่า "ใจที่ถูกความฟุ้งซ่านในธรรม" (คืออุปกิเลส) ครอบงำ เป็นอย่างไร ? พระภิกษุเมื่อกระทำในใจอยู่โดยความไม่เที่ยง โอภาสก็เกิดขึ้น พระภิกษุนั้นรำพึงถึงโอภาสอยู่ว่า"โอภาสเป็นธรรม"*(2) ความฟุ้งซ่านเพราะโอภาสเป็นเหตุนั้น เป็นอุทธัจจะ พระภิกษุ
-------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๖/๔๒๕
(2) โปรดสังเกตรูคำว่า ธรรม ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง ทั้งอุปกิเลสและอริยมรรค
--------------
น. ๑๐๖๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ผู้มีใจอันอุทธัจจะนั้นครอบงำแล้ว ไม่กำหนดรู้ความปรากฎโดยความไม่เที่ยงตามเป็นจริง ไม่กำหนดรู้ความปรากฎโดยความเป็นทุกข์ ...โดยความเป็นอนัตตาตามเป็นจริง อนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจอยู่โดยความไม่เที่ยง ญาณก็เกิดขึ้น ปีติปัสสัทธิ สุข ... อธิโมกข์ ... ปัคคาหะ ... อุปัฏฐานะ ... อุเบกขา ... กันดิ ก็เกิดขึ้นพระภิกษุนั้นรำพึงถึงนิกันติอยู่ว่า "นิกันติเป็นธรรม" ความฟุ้งซ่านเพราะนิกันติเป็นเหตุนั้น เป็นอุทธัจจะ พระภิกษผู้มีใจอันอุทธัจจะนั้นครอบงำแล้ว ไม่กำหนดรู้ความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามเป็นจริง ไม่กำหนดรู้ความปรากฏโดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตาตามเป็นจริง" ดังนี้
๑. โอภาส
[๗๓๓) ในอุปกิเลส ๑๐ นั้น คำว่า "โอภาส - แสงสว่าง" ได้แก่ วิปัสสโนภาส (คือแสงสว่างในวิปัสนา) เมื่อวิปัสสโนภาสนั้นเกิดขึ้น โยคาวจรก็คิดว่า "แสงสว่างเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ฉันในกาลก่อนแต่นี้เลยหนอ ฉันเป็นผู้บรรลุมรรคแล้วฉันเป็นผู้บรรลุผลแล้วเป็นแน่"ดังนี้ แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคนั่นแหละว่า "มรรค"และถือเอาสิ่งมิใช่ผลนั่นแลว่า "ผล" เมื่อโยคาวจรนั้นถือเอาสิ่งที่มิใช่มรรคว่า "มรรค"สิ่งที่มิใช่ผลว่า "ผล" วิถีของวิปัสสนาก็ชื่อว่า ก้าวออกไปนอกทาง โยคาวจรนั้นก็ละทิ้งมูลกัมมัฏฐาน คือ กัมมัฏฐานเดิม"(1) ของตน แล้วนั่งชื่นชมโอภาสอยู่นั่นแล
อนึ่งสำหรับพระภิกษุบางท่านโอภาสนี้นั้นเกิดขึ้นส่องสว่างเพียงฐานบัลลังก์เท่านั้น สำหรับบางท่าน ส่องสว่างตลอดภายในห้อง สำหรับบางท่าน ส่องสว่างภายนอกห้องด้วย สำหรับบางท่าน ส่องสว่างไปทั่ววิหารทั้งสิ้น สำหรับบางท่านส่องสว่างไปตลอดคาวุต...ตลอดครึ่งโยชน์...ตลอด ๑ โยชน์ ... ตลอด ๒ โยชน์ ...ตลอด ๓ โยชน์ ฯลฯ ... สำหรับบางท่าน โอภาสนั้นทำให้สว่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตั้งแต่พื้นปฐพีขึ้นไปถึงพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ แต่ของพระผู้มีพระภาคเกิดขึ้นส่องสว่างไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ ในการประมาณแตกต่างกันของโอภาสนั้น โดยประการดังกล่าวนี้ มีเรื่อง(เป็นอุทาหรณ์)ดังนี้
-------------
(1) มูลกัมมัฏฐาน หมายถึง อารมณ์กัมมัฏฐานที่โยคาวจกำหนดมาแต่เดิม เช่น นั่งกำหนดพองหนอ ยุบหนอ มาแต่แรก พอเกิดโอภาสขึ้น ก็หยุดกำหนดพองหนอ - ยุบหนอ ซึ่งเป็นมูลกัมมัฏฐานเสียแล้วนั่งชมโอภาสนั้นเพลินไป
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๖๓
เล่ากันว่า พระเถระ 2 ท่านนั่งอยู่ภายในเรือนมีฝา : ด้าน ณ จิตตลบรรพตและวันนั้นเป็นวันอุโบสถข้างแรม ทั่วทิศปกคลุมไปด้วยแผ่นเมฆ ความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นไปอยู่ในภาคราตรีกาล ในคืนนั้น พระเถระท่านหนึ่งกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดอกไม้ ๕ สี ปรากฏแก่กระผมอยู่บนสีหาสนะในลานพระเจดีย์ ณ บัดนี้"อีกท่านกล่าวกะพระเถระนั้นว่า "อาวุโส ท่านพูดถึงสิ่งไม่น่าอัศจรรย์ ก็บัดนี้ เต่าและปลาทั้งหลายในสถานที่ ๑ โยชน์ ในมหาสมุทร ปรากฏอยู่แก่ผม"
แต่วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ได้สมถวิปัสสนาโดยมาก เพราะกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ด้วยสมาบัติไม่กำเริบ ท่านผู้ได้สมถวิปัสสนานั้นจึงเกิดความคิดว่า "ฉันเป็นพระอรหันต์" เหมือนท่านพระมหานาคเถระผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก เหมือนท่านพระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในห้งกนกะ และเหมือนท่านพระจูฬสุมนเถระผู้อยู่ในนิงกเปณณกปธานฆระ บนภูเขาจิตตละ บรรดาพระเถระ ๓ ท่านนั้น มีการแสดงด้วยเรื่องของพระเถระท่านหนึ่งดังต่อไปนี้
เรื่องท่านพระมหานาคเถระผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก
เล่ากันว่า พระเถระท่านหนึ่งมีนามว่า ท่านพระธัมมทินนเถระ ผู้อยู่ในตลังคระ เป็นพระมหาชีณาสพ ผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน เป็นผู้ให้โอวาทแก่พระภิกษุหมูใหญ่
วันหนึ่ง ท่านนั่งอยู่บนอาสนะสำหรับพักกลางวันของตนแล้วรำพึงอยู่ว่า "พระอาจารย์ของเราคือท่านพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก ถึงที่สุดกิจของความเป็นสมณะแล้ว หรือไม่หนอ" ก็เห็นว่า ท่านยังเป็นปุถุชนอยู่นั่นเอง และรู้ว่า "เมื่อเราไม่ไป ท่านก็จักทำกาลกิริยาของปุถุชนเป็นแท้" จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสด้วยฤทธิ์ ไปลง ณ ที่ใกล้พระเถระซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะสำหรับพักกลางวัน ไหว้แสดงวัตรแล้ว นั่งอยู่ ณด้านหนึ่ง เมื่อพระเถระ (ผู้เป็นพระอาจารย์) พูดขึ้นว่า "อาวุโส ธัมมทินนะ เหตุไรจึงมาผิดเวลา?" ท่านจึงกราบเรียนว่า "กระผมมาเพื่อถามปัญหาขอรับ" ครั้นแล้ว เมื่อพระเถระกล่าวอนุญาตว่า "ถามเถิด อาวุโส เมื่อรู้ก็จักบอก" ท่านพระธัมมทินนเถระจึงเรียนถามปัญหา ๑,๐๐๐ ปัญหา
พระเถระก็กล่าวแก้ปัญหา ที่ถามมาๆ ได้ไม่ติดขัดเลย จากนั้น เมื่อท่านพระธัมมทินนเถระเรียนถามว่า "ความรู้ของท่านอาจารย์แก่กล้ามาก ท่านอาจารย์ได้
--------------------
๑๐๖๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
บรรลุธรรมนี้แต่เมื่อไร" พระเถระก็กล่าวว่า "ในกาลแต่บัดนี้ไป ๖๐ ปี อาวุโส" จึงกราบเรียนว่า "โปรดใช้สมาธิเถอะ ขอรับ" พระเถระบอกว่า "เรื่องนี้ไม่หนักหนาอะไร อาวุโส" ท่านพระธัมมทินนเถระกราบเรียนว่า "ถ้ากระนั้นนิมนต์นิรมิตช้างขึ้นสักเชือกเถิดขอรับ" พระเถระก็นิรมิตช้างเผือกตลอดทั้งตัวขึ้น ท่านพระธัมมทินนเถระจึงกราบเรียนว่า "ท่านขอรับ คราวนี้ โปรดทำให้ช้างตัวนี้นั้นกางหูเหยียดหาง เอางวงใส่ไว้ในปาก ทำเสียงโกญจนาทอย่างน่ากลัวหันหน้าเดินตรงมาหาท่านอาจารย์" พระเถระก็ทำอย่างนั้นครั้นเห็นอาการอันน่ากลัวของช้างซึ่งเดินมาโดยเร็ว ก็ลุกขึ้นเริ่มจะหนีไป พระเถระผู้ขีณาสพจึงยื่นมือไปเหนี่ยวชายจีวรไว้ แล้วกราบเรียนท่านอาจารย์นั้นว่า "ท่านขอรับ ชื่อว่าความหวาดกลัวยังมีอยู่แก่พระขีณาสพหรือ"
พระเถระนั้นจึงรู้ในเวลานั้นว่าตนยังป็นปุถุชน แล้วพูดว่า "อาวุโส ธัมมทินนะ โปรดเป็นที่พึ่งของฉันด้วย" นั่งกระหย่ง ณ ใกล้เท้า ท่านพระธัมมทินนเถระจึงกราบเรียนว่า "ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมก็มาด้วยตั้งใจจักเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์อยู่แล้ว โปรดอย่าคิดไปเลย" แล้วก็บอกกัมมัฏฐาน (แก่พระเถระผู้เป็นอาจารย์) พระเถระรับกัมมัฏฐานแล้ว ก็ขึ้นสู่ที่จงกรม ในวาระย่างเท้าก้าวที่ ๓ (ท่าน) ก็บรรลุพระอรหัตตผลซึ่งเป็นผลชั้นยอด เขาว่า พระเถระเป็นคนโทสจริต พระภิกษุทั้งหลายเห็นปาน (ดังพระเถระ) นี้มัวเคลิบเคลิ้มอยู่ในโอภาสไปเสีย
๒. ญาณ
(๗๓๔] คำว่า "ญาณ" หมายถึง วิปัสสนาญาณ ทราบว่า เมื่อโยคีนั้นกำลังเทียบเคียงไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม (รูปและนาม) ทั้งหลายอยู่ ญาณซึ่งมีกระแสปราดเปรียว แหลมคม แก่กล้า ชัดแจ้ง ก็เกิดขึ้น ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป
๓. ปีติ
คำว่า "ปีติ" หมายถึง ปีติประกอบด้วยวิปัสสนา ทราบว่าในระยะนั้น ปีติ ๕ อย่างนี้ คือ-
๑. ขุททกาปีติ ความเอิบอิ่มเล็กน้อย
๒. ขณิกาปีติ ความเอิบอิ่มเพิ่มพูนทุกขณะ
๓. โอกกันติกาปีติ ความเอิบอิ่มซ่าเซ็น
--------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๖๕
๔. อุพเพงคาปีติ ความเอิบอิ่มโลดแล่น
๕. ผรณาปีติ ความเอิบอิ่มซาบซ่านเกิดขึ้นเต็มสรีรกายทั้งสิ้น
๔. ปัสสัทธิ
คำว่า "ปัสสัทธิ" หมายถึง ปัสสัทธิในวิปัสสนา ทราบว่า เมื่อโยคีนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนก็ดี ในที่พักกลางวันก็ดี ในสมัยนั้น ทั้งกายและจิตไม่มีความกระวนกระวาย ๑ไม่มีความหนัก ๑ ไม่มีความกระด้าง ๑ ไม่มีความไม่ควรแก่งาน (ในการปฏิบัติ) ๑ ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีความคดโกง แต่ทว่าในสมัยนั้นแล กายและจิตของโยคีนั้นสงบ ๑ เบา ๑ อ่อน ๑ ควรแก่งาน ๑ ผ่องใส ๑ เที่ยงตรง ๑ เป็นแท้เลย โยคีนั้นเป็นผู้มีกายและใจอันธรรมทั้งหลายมีปัสสัทธิเป็นต้นเหล่านี้อนุเคราะห์แล้ว ในสมัยนั้นก็เสวยความยินดี ที่เรียกว่า มิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์ ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสระบุถึงไว้ว่า:-(1)
สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสส ภิกฺขุโน
อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต
ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ
ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ.
แปลความว่า
ความยินดีมิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์ ก็มีแก่พระภิกษุผู้เข้า
สู่อาคารเงียบสงัด ผู้มีจิตสงบ เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ
พระภิกษุกำหนดรู้ความเกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลาย
(ด้วยอุทยพยญาณ) โดยรูปธรรม หรือโดยอรูปธรรมใดๆ
ได้ปีติและปราโมช ปีติและปราโมชของพระภิกษุผู้รู้แจ้ง
(ความเกิดและความดับ) นั้น เป็นอมตะ
ปัสสัทธิอันประกอบด้วยธรรมมีลหุตา (ความเบา) เป็นต้น ซึ่งทำให้สำเร็จความยินดีที่มิใช่ของมนุษย์นี้เกิดขึ้นอยู่แก่โยคีนั้น ด้วยประการดังกล่าวนี้
--------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗๓-๓๗๔/๑๔๙
----------------
น. ๑๐๖๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
๕. สุข
คำว่า "สุข" หมายถึง ความสุขประกอบด้วยวิปัสสนา ทราบว่า ในสมัยนั้นความสุขอันประณีตยิ่งเกิดขึ้นท่วมทันไปในสรีรกายทั้งสิ้น
๖. อธิโมกข์
คำว่า "อธิโมกข์" หมายถึง ศรัทธา เพราะว่า ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแล เป็นความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิก เป็นศรัทธามีกำลัง ก็เกิดขึ้นแก่โยนั้น
๗. ปัคคาหะ
คำว่า "ปัคคาหะ" หมายถึง วิริยะ (คือความเพียร) เพราะว่า ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแลเป็นความเพียรที่ไม่หย่อนเกินไปไม่ตึงเกินไป ประคับประคองไว้เป็นอย่างดี ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น
๘. อุปัฏฐานะ
คำว่า "อุปัฏฐานะ" หมายถึง สติ เพราะว่า สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแลเข้าไปตั้งอยู่อย่างตื่ มั่นคง ฝังลึก ไม่หวั่นไหว ประหนึ่งภูเขาหลวง เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น โยคีท่านนั้นรำพึงถึง รำลึกถึง ทำในใจถึง เจาะจงนึกเห็น ซึ่งฐานะใดๆ ฐานะนั้นๆ ก็ลิ่วแล่นเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสติแก่โยคีนั้น ประหนึ่งปรโลกปรากฏแก่ท่านผู้มีทิพย์จักษุ
๙. อุเบกขา
คำว่า "อุเบกขา" หมายถึง ทั้งวิปัสสนูเปกขาและทั้งอาวัชชนูเปกขา เพราะว่าในสมัยนั้น ทั้งวิปัสสนูเปกขา ซึ่งมีความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ทั้งอาวัชชนูเปกขาในมโนทวาร ก็มีกำลัง เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ความจริง เมื่อโยคีนั้นรำพึงถึงฐานะนั้นๆ อยู่ อุเบกขานั้นก็ดำเนินอย่างแก่กล้าแหลมคมประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไปและประดุจดั่งลูกศรที่เผาร้อนแล้วยิงไปในกองใบไม้
-----------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๖๗
๑๐. นิกันติ
คำว่า "นิกันติ" หมายถึง วิปัสสนานิกันติ (ความใครในวิปัสสนา) เพราะว่านิกันติ มีอาการสงบ สุขุม ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ทำความอาลัยอยู่ในวิปัสสนาอันประดับด้วยอุปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น ด้วยประการดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นความใคร่ที่ใครๆ ไม่สามารถแม้แต่กำหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส
อนึ่ง เมื่อโอภาสเกิดขึ้น โยคาวจรยึดถืออยู่ ฉันใด เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายแม้เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็ฉันนั้น โยคาวจรคิดว่า "ในกาลก่อนแต่นี้ ญาณเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามาก่อนเลย ปีติ ... ปัสสัทธิ ... สุข... อธิโมกข์ ... ปัคคาหะ ...อุปัฏฐานะ ... อุเบกขา ... นิกันติ เห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ช้าพเจ้ามาก่อนเลยข้าพเจ้าเป็นผู้บรรลุมรรคแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้บรรลุผลแล้วแน่นอน" แล้วยึดถือสิ่งที่มิใช่มรรคนั่นแหละว่าเป็นมรรค ยึดถือสิ่งที่มิใช่ผลนั่นแหละว่าเป็นผล เมื่อโยคาวจรนั้นยึดถือสิ่งมิใช่มรรค ว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผล ว่าเป็นผล วิปัสสนาวิถีก็ชื่อว่าก้าวออกนอกทางไปแล้ว โยคาวจรนั้นก็ละทิ้งกัมมัฏฐานเดิมของตนเสีย แล้วนั่งชื่นชมพอใจนิกันติอยู่อย่างเดียว ฉะนี้แล
จำแนกอุปกิเลส ๑๐ โดยคาหะ ๓ เป็น ๓๐
[๗๓๕) อนึ่ง ในอุปกิเลส ๑๐ นี้ ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ท่านเรียกว่า "อุปกิเลส" เพราะเป็น วัตถุ(ที่ตั้ง)ของอุปกิเลส มิใช่เพราะเป็นอกุศล ส่วนนิกันติเป็นทั้งอุปกิเลสเป็นทั้งวัตถุของอุปกิเลสด้วย และอุปกิเลสเหล่านี้ มี ๑. โดยทางวัตถุ(ดังกล่าวแล้ว) แต่โดยทางคาหะ(ความยึดถือ) มี ๓๐ ถ้วน มี ๓๐ ถ้วนโดยทางคาหะเป็นอย่างไร ? เพราะว่า เมื่อโยคาวจรยึดถืออยู่ว่า "โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้ว"ดังนี้ เป็นทิฏฐิคาหะ(ยึดถือด้วยทิฏฐิ เมื่อยึดถืออยู่ว่า "โอภาสน่าพึงพอใจจริงหนอเกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้ เป็นมานคาหะ(ยึดถือด้วยมานะ) ๑ เมื่อโยคาวจรชื่นชมโอภาสอยู่ เป็นตัณหาคาหะ(ยึดถือด้วยตัณหา) ๑ ในโอภาสมีคาหะ ๓ โดยทางทิฏฐิ ๑ มานะ ๑ และตัณหา ๑ ด้วยประการฉะนี้ แม่ในอุปกิเลสทั้งหลายที่เหลือก็มี (อย่างละ ๓) เหมือนกัน เพราะเหตุนี้ จึงมีอุปกิเลสรวม ๓๐ ถ้วน โดยทางคาหะ ด้วยอาการดังกล่าวนี้
-------------------
๑๐๖๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
โยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม ก็หวั่นไหว ฟุ้งซ่านอยู่ในอุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ด้วยอำนาจของคาหะเหล่านั้น เห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งอุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นตัน แต่ละอย่างๆ ว่า "นี้เป็นของฉัน ฉันเป็นนี้ นี้เป็นอัตตาของฉัน" ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า:-
โอภาเส เจว ญาเณ จ ปีติยา จ วิกมฺปติ
ปสฺสทฺธิยา สุเข เจว เยหิ จิตตํ ปเวธติ.
อธิโมกฺเข จ ปคฺคาเห อุปฏฺฐาเน จ กมฺปติ
อุเปกฺขาวชฺชนายญฺจ อุเปกฺขาย นิกนฺติยา.(1)
แปลความว่า
โยคาวจรหวั่นไหวอยู่ในเพราะโอภาส ในเพราะญาณ
และในเพราะปีติด้วย ในเพราะปัสสัทธิและในเพราะสุข
ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นเหตุหวั่นไหวของจิตและหวั่นไหว
อยู่ในเพราะอธิโมกข์ ในเพราะปัคคาหะและในเพราะ
อุปัฏฐานะด้วย ทั้งในเพราะอาวัชชนูเปกขาและในเพราะ
อุเบกขานิกันติด้วย
กำหนดมรรคและมิใช่มรรค
[๗๓๖] แต่โยคาวจรผู้ฉลาด ผู้เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ถึงพร้อมด้วยความรู้เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ ใคร่ครวญเห็นมัน ด้วยปัญญาดังนี้ว่า "โอภาสนี้แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่โอภาสนี้นั้นแล ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่งไว้ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา" ด้วยประการฉะนี้บ้าง ก็หรือว่าโยคาวจรนั้นมีความคิดในขณะนั้นอย่างนี้ว่า "ถ้าโอภาสนี้พึงเป็นอัตตาไซร้ การถือ(โอภาสนั้น) ว่า "อัตตา" ก็ควรแต่โอภาสนี้มิใช่อัตตาเลย ถือว่า "เป็นอัตตา" เพราะฉะนั้น
--------------------
(1) ขุ. ป. (บาลี) ๓๑/๗/๓๑๓
--------------------
ปริจเฉทที่ ๒ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๖๙
โอภาสนั้นเป็นอนัตตา โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เป็นอนิจจัง โดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ เป็นทุกขัง โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ" ดังนี้
พึงขยายคำทั้งปวงให้พิสดาร โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในอรูปสัตตกกัมมัฏฐานเถิด อนึ่ง ในโอภาสฉันใด แม้ในอุปกิเลสทั้งหลายที่เหลือก็ฉันนั้น
โยคาวจรท่านนั้นครั้นใคร่ครวญเห็นอย่างนี้แล้ว ก็เห็นอยู่เสมอเนื่อง ๆ ซึ่งโอภาสว่า"นี้มิใช่ของฉัน ฉันมิใช่สิ่งนี้ นี้มิใช่อัตตาของฉัน" ดังนี้ เห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งญาณฯลฯ ซึ่งนิกันติว่า "นี้มิใช่ของฉัน ฉันมิใช่สิ่งนี้ นี้มิใช่อัตตาของฉัน" ดังนี้ เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ (ท่าน) ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนในเพราะอุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
อิมานิ ทส ธานานิ ปญญา ยสส ปริจฺจิตา
ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ น จ วิกฺเขปํ คจฺฉติ.(1)
แปลความว่า
โยคีใดมีฐานะ ๑๐ (มีโอภาสเป็นต้น) เหล่านี้อบรมด้วย
ปัญญาแล้ว โยคีนั้น เป็นผู้ฉลาดในธัมมุทธัจจะและไม่ถึง
ความฟุ้งซ่าน
โยคาวจรท่านนั้นเมื่อไม่ถึงความฟุ้งซ่านดังกล่าวนี้ ก็ถากถางรกชัฏคืออุปกิเลสครบ ๓๐ อย่างนั้นได้แล้ว กำหนดรู้มรรคและมิใช่มรรคได้เองว่า "ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นมิใช่มรรค แต่วิปัสสนาญาณที่พ้นแล้วจากอุปกิเลส ดำเนินไปตามวิถี (ของวิปัสสนา) เป็นมรรค" ดังนี้ ญาณที่รู้มรรคและมิใช่มรรคว่า "นี้คือมรรค นี้มิใช่มรรคของโยคีนั้น พึงทราบว่าเป็น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ" ด้วยประการฉะนี้
------------
(1) ขุ. ป. (บาลี) ๓๑/๗/๓๑๗
------------
น. ๑๐๗๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ก็แล ด้วยประการดังกล่าวมาเพียงนี้ เป็นอันท่านโยคีนั้นได้กระทำการกำหนดรู้สัจจะ ๓ แล้ว ทำการกำหนดรู้แล้วอย่างไร ? คือว่า การกำหนดรู้สัจจะ ๓ เป็นอันโยคีนั้นทำก่อนแล้วด้วยญาณชั้นโลกิยะเท่านั้น อย่างนี้คือ :- การกำหนดรู้ทุกขสัจจ์ด้วยการกำหนดรู้นามและรูปเป็นอันโยคีนั้นกระทำมาก่อนแล้วในทิฏฐิวิสุทธิ การกำหนดรู้สมุทยสัจจ์ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย เป็นอันโยคีนั้นกระทำมาแล้วในกังขาวิตรณวิสุทธิ การกำหนดรู้มัคคสัจจ์ด้วยการจำกัดแต่เพียงมรรคโดยชอบ เป็นอันโยศีนั้นกระทำแล้วในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ นี้
ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค
อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมชแห่งสาธุชน ดังนี้
--------///-----------
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ