มหาวิปัสสนา ๑๘
(๗๒๒] โยคีท่านนั้นป็นผู้มีทั้งรูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐานคล่องแคล่วเพียงพออย่างนี้ เมื่อแทงตลอด(รู้แจ้ง)เฉพาะ ณ ที่นี้ก่อน แต่เพียงเอกเทศของมหาวิปัสสนา๑๘ ที่ตนพึงบรรลุโดยอาการทั้งปวง ด้วยสามารถปหานปริญญา เริ่มต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ(โดยลำดับ)ขึ้นไป ก็ละธรรม (มีนิจจสัญญาเป็นต้น) ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ของมหาวิปัสสนา ๑๘ นั้นได้
ที่เรียกว่า มหาวิปัสสนา ๑๘ ได้แก่ ปัญญา มีอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ซึ่งโยคี เมื่อ...
๑. ทำ อนิจจานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ว่าไม่เที่ยง) ก็ละ นิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ได้
---------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๕๓
๒. ทำ ทุกขานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ก็ละ สุขสัญญา (ปัญญาเห็นเนืองๆ ว่าเป็นทุกข์) ได้
๓. ทำ อนัตตานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ว่าไม่มีอัตตา) ก็ละ อัตตสัญญา (ความสำคัญว่ามีอัตตา) ได้
๔. ทำ นิพพิทานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น(ปัญญาเห็นเนื่องๆ ด้วยความเบื่อหน่าย) ก็ละ นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ได้
๕. ทำ วิราคานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ด้วยปราศจากความกำหนัด) ก็ละ ราคะ (ความกำหนัด) ได้
๖. ทำ นิโรธานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ) ก็ละ สมุทัย (สิ่งที่เป็นแดนเกิด) ได้
๗. ทำ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ด้วยการสละทิ้งไป) ก็ละ อาทานะ (ความยึดถือไว้) ได้
๘. ทำ ขยานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ซึ่งความสิ้นไป) ก็ละ ฆนสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นก้อน) ได้
๙. ทำ วยานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ซึ่งความเสื่อมไป) ก็ละ อายูหนะ (ความขวนขวาย) ได้
๑๐. ทำ วิปริณามานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ซึ่งความแปรผัน) ก็ละ ธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ได้
๑๑. ทำ อนิมิตตานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ว่าไม่มีนิมิต) ก็ละ นิมิตตะ (ความมีนิมิต) ได้
๑๒. ทำ อัปปณิหิตานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ว่าไม่มีที่ตั้ง) ก็ละ ปณิธิ (ตัณหาเป็นที่ตั้ง) ได้
๑๓. ทำ สุญญตานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนื่องๆ โดยความว่างเปล่า) ก็ละ อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) ได้
๑๔. ทำ อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ให้เกิดขึ้น (วิปัสสนาในธรรมคือปัญญาอันยิ่ง) ก็ละ สารทานาภินิเวสะ (ความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่ามีสาระ) ได้
๑๕. ทำ ยถาภูตญาณทัสสนะ ให้เกิดขึ้น (ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง) ก็ละ สัมโมหาภินิเวสะ (ความยึดถือด้วยความลุ่มหลง) ได้
--------------
๑๐๕๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
๑๖. ทำ อาทีนวานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนื่องๆ โดยความเป็นโทษ) ก็ละ อาลยาภินิเวสะ (ความยึดถือด้วยความอาลัย) ได้
๑๗. ทำ ปฏิสังขานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนื่องๆ ด้วยพิจารณาทบทวน) ก็ละ อัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณาทบทวน) ได้
๑๘. ทำ วิวัฏฏานุปัสสนา ให้เกิดขึ้น (ปัญญาเห็นเนืองๆ ด้วยจิตถอยกลับ) ก็ละ สังโยคาภินิเวสะ (ความยึดมั่นด้วยสังโยค) ได้
ใน มหาวิปัสสนา ๑๘ นั้น เพราะเหตุที่โยคีท่านนี้ได้เห็นสังขารทั้งหลายโดยทางพระไตรลักษณ์มีอนิจจะเป็นต้นแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่าโยคีท่านนี้ได้แทงตลอดอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา (ได้ ๗ มหาวิปัสสนา) แล้ว
อนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า "อนิจจานุปัสสนาใด ก็ดี และ อนิมิตตานุปัสสนาใด ก็ดี ธรรม (๒) นี้มีความหมายเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน
อนึ่ง ทุกขานุปัสสนาใด ก็ดี และอัปปณิหิตานุปัสสนาใด ก็ดี ธรรม (๒) นี้มีความหมายเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน อนัตตานุปัสสนาใด ก็ดี และสุญญตานุปัสสนาใด ก็ดี ธรรม (๒) นี้มีความหมายเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน" ดังนี้เพราะฉะนั้น แม้อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนาเหล่านั้นก็เป็นอันโยคีท่านนี้แทงทะลุด้วย ส่วนอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ก็คือวิปัสสนาแม้ทั้งปวง ยถาภูตญาณทัสสนะก็สงเคราะห์เข้ากับกังขาวิตรณวิสุทธินั่นเอง เพราะเหตุนี้ แม้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาและยถาภูตญาณทัสสนะทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นอันโยคีท่านนี้ แทงทะลุแล้วเหมือนกัน
ในวิปัสสนาญาณทั้งหลายที่เหลือ (จากที่กล่าวถึงนี้ อีก ๑๐ มีนิพพิทานุปัสสนาเป็นตัน) บางญาณก็แทงทะลุ (โดยเอกเทศ) แล้ว บางญาณก็มิได้แทงทะลุเราจักทำการจำแนกวิปัสสนาญาณทั้งหลายเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งข้างหน้า เพราะว่าคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า "โยคีท่านนั้นป็นผู้มีทั้งรูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐานคล่องแคล่วอย่างนี้ เมื่อแทงตลอด (รู้แจ้ง) เฉพาะ ณ ที่นี้ก่อน แต่เพียงเอกเทศของมหาวิปัสสนา ๑๘ ที่ตนพึงบรรสุโดยอาการทั้งปวง ด้วยสามารถปหานปริญญา เริ่มต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ(โดยลำดับ)ขึ้นไป ก็ละธรรมซึ่งเป็นปฏิปักษ์ของมหาวิปัสสนา ๑๘ นั้นได้" นี้ข้าพเจ้าหมายถึงวิปัสสนาญาณ ซึ่งโยคีท่านนี้แทงตลอดแล้วนั่นเอง
----------------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๕๕
๔. (ก) ตรุณอุทยพยญาณกถา
[๗๒๓] เพราะละนิจจสัญญาเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่อวิปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้ โยคีท่านนั้นเป็นผู้มีญาณหมดจดวิเศษถึงฝั่งฟากแห่งสัมมสนญาณแล้ว จึงเริ่มทำความเพียรเพื่อบรรลุอุทยพยานุปัสสนาญาณซึ่งท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งสัมมสนญาณว่า "ปัญญาในการเห็นเนืองๆ ซึ่งความแปรผันของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอุทยพยานุปัสสนาญาณ" ดังนี้*(1) และเมื่อเริ่มทำ ก็เริ่มต้นโดยสังเขปก่อน ในการเริ่มต้นโดยสังเขปนั้น มีพระบาลี (แปลความ)ดังต่อไปนี้
"ถามว่า ปัญญาในการเห็นเนือง ๆ ซึ่งความแปรผันของปัจจุบันธรรมทั้งหลายชื่อว่าอุทยพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า ปัญญาในการเห็นเนืองๆ ซึ่งความแปรผันของธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยพยานุปัสสนาญาณ คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะแห่งความเกิดของรูปนั้น เป็นอุทยะ (ความเกิดขึ้น) ลักษณะแห่งความแปรผัน(ของรูปนั้นเป็นวยะ (ความดับไป ปัญญาเห็นเนืองๆ เป็น ญาณ เวทนาที่เกิดแล้ว ... สัญญาที่เกิดแล้ว ... สังขารที่เกิดแล้ว ... วิญญาณที่เกิดแล้ว ... จักษุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะแห่งความเกิดของภพนั้น เป็นอุทยะ (ความเกิดขึ้น) ลักษณะแห่งความแปรผัน เป็นวยะ (ความดับไป ปัญญาเห็นเนืองๆ เป็นญาณ" ดังนี้ "(1)
โยคีท่านนั้นเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งลักษณะแห่งความเกิด ซึ่งความเกิด ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งอาการใหม่เอี่ยมของนามและรูปที่เกิดแล้ว ว่าอุทยะ (ความเกิดขึ้น) เห็นอยู่เสมอเนือง ๆ ซึ่งลักษณะแห่งความแปรผัน ซึ่งความสิ้นหวัง ซึ่งความแตกดับไปว่าวยะ (ความดับไป) ตามนัยแห่งพระบาลี (ดังกล่าว) นี้
โยคีนั้นกำหนดรู้อย่างนี้ว่า "ในกาลก่อนแต่การเกิดขึ้นของนามและรูปนี้ กองหรือที่เก็บไว้ของนามและรูป ที่ยังไม่เกิดขึ้น หามีไม่ แม้เมื่อนามและรูปเกิดขึ้นอยู่ ก็หามีที่เรียกว่า การมาจากกองหรือที่เก็บไว้ไม่ แม้เมื่อนามและรูปกำลังดับอยู่ ก็หามี
--------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/ ๔๙/๗๗
-------------------
คัมภีร์วิสุทธิมรรค น. ๑๐๕๖
ที่เรียกว่าไปสู่ทิศใหญ่และทิศน้อยไม่ แม้นามและรูปที่ดับไปแล้ว ก็หามีสถานที่ตั้งโดยเป็นกอง โดยเป็นที่เก็บไว้ โดยเป็นที่ฝังไว้ ในสถานที่แห่งหนึ่ง มิได้ เปรียบเหมือนพิณเมื่อบรรเลงอยู่ ก่อนแต่การบังเกิดขึ้นของเสียงที่บังเกิดขึ้นแล้ว หามีที่เก็บ (เสียง)ไว้ (ก่อน) ไม่ เสียงที่กำลังบังเกิดขึ้น ก็มิได้มาจากที่เก็บ(เสียง) ไว้ เมื่อเสียงดับไป ก็มิได้มีการไปสู่ทิศใหญ่และทิศน้อย เสียงที่ดับไปแล้วก็มิได้เก็บไปตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ๆ เสียง(พิณ) นั้นไม่มี (อยู่ก่อน) เกิดมีขึ้นเพราะอาศัยพิณ และการบรรเลงพิณ และความพยายามอันควรแก่การบรรเลง นั้นของบุรุษโดยแท้แล ครั้น (เสียงของพิณนั้น) มีแล้วก็กลับหายไป ฉันใด ธรรมทั้งหลายทั้งที่มีรูปและที่ไม่มีรูปแม้ทั้งปวง ไม่มี ก็มีขึ้น มีแล้วก็กลับดับไป ฉันนั้น" ดังนี้
๕๐ ลักษณะของการเกิดและดับของขันธ์ ๕
[๗๒๔] โยคีนั้นครั้นทำมนสิการความเกิดและความดับโดยสังเซปอย่างนี้แล้ว จึงทำมนสิการโดยพิสดารทางปัจจัยและทางขณะต่อไปอีกว่า "ความเกิดขึ้นของรูปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ความดับไปของรูปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปเกิดขึ้นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปดับไปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (เป็นต้น) ด้วยสามารถแห่งลักษณะ ๕0 ซึ่งท่านกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งอุทยพยญาณนี้นั่นเอง เพราะทำ (จำแนก) ให้เป็นขันธ์ละ ๑๐โดยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของขันธ์หนึ่งๆ (แต่ละขันธ์) อย่างนี้
๕ ลักษณะแห่งความเกิดขึ้นของรูปขันธ์
"พระภิกษุเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์โดยความหมายว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัย คือ อวิชชาสมุทยา รูปสมุทโย - เพราะอวิซชาเกิดขึ้น รูปจึงเกิดขึ้น ๑" เห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ โดยความหมายว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือ ตณฺหาสมุทยา ... กมฺมสมุทยา ... อาหารสมุทยา รูปสมุทโย - เพราะตัณหาเกิดขึ้นรูปจึงเกิดขึ้น ๑ เพราะกรรมเกิดขึ้น รูปจึงเกิดขึ้น ๑ เพราะอาหารเกิดขึ้น รูปจึงเกิดขึ้นทั้งเมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็เห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ด้วย ๑ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ ก็เห็นอยู่ ๕ ลักษณะเหล่านี้"
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๕๗
๕ ลักษณะแห่งความดับของรูปขันธ์
"พระภิกษุเห็นความดับของรูปขันธ์โดยความหมายว่าดับไปเพราะปัจจัย คือ อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอวิชชาดับไป รูปจึงดับไป ๑ "เห็นความดับของรูปข้นธ์โดยความหมายว่าดับไปเพราะปัจจัยคือ ตณฺหานิโรธา... กมฺมนิโรธ ... อาหารนิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะตัณหาดับไป รูปจึงดับไป ๑ เพราะกรรมดับไป รูปจึงดับไป ๑ เพราะอาหารดับไป รูปจึงดับไป ๑ ทั้งเมื่อเห็นลักษณะของความแปรผันก็เห็นความดับของรูปขันธ์ด้วย ๑ เมื่อเห็นความดับของรูปขันธ์ ก็เห็นอยู่ ๕ ลักษณะเหล่านี้"
ลักษณะแห่งความเกิดของเวทนาขันธ์ ฯลฯ
"อนึ่งพระภิกษุเห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์โดยความหมายว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัย คือ อวิชฺชาสมุทยา เวทนาสมุทโย - เพราะอวิชชาเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิดขึ้น ๑" เห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ โดยความหมายว่า เกิดขึ้นเพราะปัจจัย คือ ตณฺหาสมุทยา ... กมฺมสมุทยา ... ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย - เพราะตัณหาเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิดขึ้น ๑ เพราะกรรมเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิดขึ้น ๑ เพราะผัสสะเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิดขึ้น ๑ ทั้งเมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ก็เห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ด้วย ๑ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ ก็เห็นอยู่ ๕ ลักษณะเหล่านี้"
๕. ลักษณะแห่งความดับของเวทนาขันธ์ ฯลฯ
"พระภิกษุเห็นความดับของเวทนาขันธ์โดยความหมายว่าดับไปเพราะปัจจัย คืออวิชชานิโรธา ... ตณฺหานิโรธา ... กมฺมนิโรธา ... ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ - เพราะอวิชชาดับไป เวทนาจึงดับไป ๑ เพราะตัณหาดับไป เวทนาจึงดับไป ๑ เพราะกรรมดับไป เวทนาจึงดับไป เพราะผัสสะดับไป เวทนาจึงดับไป ๑ ทั้งเมื่อเห็นลักษณะของความแปรผัน ก็เห็นความดับของเวทนาขันธ์ด้วย ๑ เมื่อเห็นความดับของเวทนาขันธ์ ก็เห็นอยู่ ๕ ลักษณะเหล่านี้"
"และของสัญญาขันธ์ ของสังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็เหมือนของเวทนาขันธ์ ส่วนของวิญญาณขันธ์มีความแตกต่างกันดังนี้ คือ ในที่ "ผสฺส ... " (เปลี่ยนเป็น) ว่า
----------------------
น. ๑๐๕๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
"นามรูปสมุทยา ... นามรูปนิโรธา ... เพราะนามและรูปเกิดขึ้น ... เพราะนามและรูปดับไป ... "ดังนี้ "(1)
[๗๒๕] เมื่อโยคีนั้นมนสิการอยู่อย่างนี้ ญาณ (คือความรู้ ว่า "ทราบว่าธรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่มี แล้วมีขึ้น มีแล้ว กลับดับไป ด้วยประการฉะนี้ ก็ปรากฎแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
เมื่อโยคีนั้นเห็นความเกิดและความดับโดย ๒ ทาง คือ โดยปัจจัย ๑ และ โดยขณะ ๑ อยู่อย่างนี้ ความแตกต่างกันของสัจจะ ของปฏิจจสมุปบาท ของนัยและของลักษณะ ก็ปรากฏชัด
เห็นโดยปัจจัยและโดยขณะ
(๗๒๖] เพราะว่าการที่โยคีนั้นเห็นความเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลายเพราะมีปัจจัยคืออวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น และเห็นความดับของขันธ์ทั้งหลายเพราะมีปัจจัยคืออวิชชาเป็นต้นดับไป นี้เป็นการเห็นความเกิดและความดับโดยปัจจัยของโยคีนั้น แต่ว่าการที่โยคีเห็นอยู่ซึ่งลักษณะแห่งความเกิดและลักษณะแห่งความแปรผัน ก็เห็นความเกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลาย นี้เป็นการเห็นความเกิดและความดับโดยขณะของโยคีนั้นเพราะว่าลักษณะแห่งความเกิด (นิพพัตติลักขณะ) ก็มีเฉพาะในขณะเกิดขึ้นเท่านั้นและลักษณะแห่งความแปรผันก็มีเฉพาะในขณะแตกดับ (ภังคขณะ) เท่านั้น
[๗๒๗) เพราะเหตุนี้ เมื่อโยคีนั้นเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดย ๒ ทางคือ โดยปัจจัย ๑ และโดยขณะ ๑ อยู่อย่างนี้ สมุทยสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงปัจจัยผู้ให้เกิด ทุกขสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะเพราะรู้ลงไปถึงว่าความเกิดเป็นทุกข์ นิโรธสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความดับโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงความไม่เกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัย เพราะความไม่เกิดขึ้นของปัจจัย ทุกขสัจจ์อีกนั่นแหละปรากฏชัดด้วยการเห็นความดับไปโดยขณะเพราะรู้ลงไปถึงว่าความตายเป็นทุกข์ และการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป (โดยปัจจัยและโดยขณะ) ใดของโยคีนั้น นี้เป็นมรรคฝ่ายโลกิยะ
-----------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๕๐/๗๘-๘๑
-----------------
ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๕๙
เพราะเหตุนี้ มัคคสัจจ์จึงปรากฏชัดเพราะกำจัดเสียได้ซึ่งความฟั่นเฝือในความเกิดขึ้นและความดับไปนั้น
[๗๒๔] อนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลมก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้นด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงว่า "อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ - เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงมี"(1) ดังนี้ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายปฏิโลมก็ปรากฏชัด ด้วยการเห็นความดับไปโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงว่า "อิมสส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ - เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ" ดังนี้"(2) แต่ว่าธรรมทั้งหลายที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปปันนธรรม) เป็นธรรมปรากฎชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดยขณะ เพราะรู้ลงไปถึงสังขตลักษณะว่า "เพราะธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายมีความเกิดและความดับ และธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น" ดังนี้
[๗๒๙] อนึ่ง เอกัตตนัย (นัยแห่งความเป็นธรรมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ก็ปรากฎชัดแก่โยคีนั้น ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปถึงความไม่ขาดสายของความสืบต่อ ด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล ในขณะนั้น โยคีก็ละอุจเฉททิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น นานัตตนัย (นัยแห่งความเป็นธรรมต่างๆ กัน) ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะ เพราะรู้ลงไปถึงความเกิดขึ้นของสังขารใหม่ๆ ในขณะนั้นโยคีก็ละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น และ อัพยาปารนัย (นัยแห่งความไม่ขวนขวาย) ก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้น ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปถึงความที่ธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปในอำนาจ ในขณะนั้น โยคีก็ละอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีอัตตา) ได้ดียิ่งขึ้น และ เอวังธัมมตานัย (นัยแห่งความเป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลายอย่างนั้นเอง) ก็ปรากฎชัด ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปถึงความเกิดขึ้นของผลโดยสมควรแก่ปัจจัย ในขณะนั้น โยคีก็ละอกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่ากรรมที่กระทำไปไม่เป็นกรรม) ได้ดียิ่งขึ้น
[๗๓๐] อนึ่ง อนัดตลักษณะก็ปรากฎชัดแก่โยคีนั้น ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย เพราะรู้ลงไปถึงความที่ธรรมทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยโดยปราศจากการกระทำ อนิจจลักษณะก็ปรากฎชัด ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป
------------------
(1) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/ ๔๐๔/ ๔๓๘
(2) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/๔๐๖/๔๔๑
-----------------
น. ๑๐๖๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
โดยขณะ เพราะรู้ลงไปถึงความมีและความไม่มี (เกิดแล้วดับ) และเพราะรู้ลงไปถึงความว่างเปล่าของปัจจัย อันเป็นที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลายด้วย แม้ทุกขลักษณะก็ปรากฏชัดเหมือนอนัตตลักษณะ เพราะรู้ลงไปถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับ แม้สภาวลักษณะก็ปรากฏชัดเหมือนทุกขลักษณะ เพราะรู้ลงไปถึงธรรมที่กำหนดด้วยความเกิดขึ้น และความดับไป แม้ความที่สังขตลักษณะเป็นไปเพียงชั่วขณะ ก็ปรากฏชัดในสภาวลักษณะ (ลักษณะโดยสภาพตามเป็นจริงเช่น ไฟ - ร้อน น้ำ - เหลว เพราะรู้ลงไปถึงความไม่มีแห่งความดับในขณะแห่งความเกิดขึ้น และเพราะไม่มีความเกิดขึ้นในขณะแห่งความดับไป ฉะนี้แล
[๗๓๑] เมื่อโยคีนั้นเป็นผู้เห็นความแตกต่างกันของสัจจะ ของปฏิจจสมุปบาทของนัย และของลักษณะ ปรากฏชัดอย่างนี้ สังขารทั้งหลายก็ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์ทีเดียวว่า "ทราบว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีชื่ออย่างนี้ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นแต่ก่อน ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป" และมิใช่แต่ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์เท่านั้น สังขารทั้งหลายยังปรากฏว่ามีปกติตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย ประดุจหยาดน้ำค้างในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น*(1) ประดุจฟองน้ำ"(2) ประดุจรอยขีดด้วยไม้บนผิวน้ำ"(3) ประดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเข็ม"(4) และประดุจสายฟ้าแลบ อีกทั้งปรากฏว่าไม่มีแก่นสารและไร้สาระ ประดุจมายากล"(5) พยับแดด"(6) ความฝัน"(7) ควงดุ้นฟัน (ที่ติดไฟ) คนธรรพนคร(วิมานในอากาศ) ฟองน้ำ(8) และต้นกล้วย"(9) เป็นต้น
ด้วยภาวนาวิธีเท่าที่กล่าวมานี้ เป็นอันว่าโยคีท่านนี้ได้บรรลุแล้ว ซึ่ง ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน) อันดับแรก มีชื่อว่า อุทยพยานุปัสสนา-ญาณ (อย่างอ่อน) ซึ่งแทงตลอดลักษณะครบถ้วน ๕๐ โดยอาการนี้ว่า "สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดานั่นเองเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความดับไป" ดังนี้ ซึ่งโดยเหตุที่ได้บรรลุ (ตรุณวิปัสสนาญาณนี้) โยคีท่านนั้นก็ถึงการนับว่า "อารทฺธวิปสฺสโก - ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา"
--------------
(1) ดูเทียบ อง. สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๗๔/๑๖๘
(2) ดูเทียบ สํ. ข. (ไทย) ๑๗/๙๕/๑๘๑
(3) ดูเทียบ อง. สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๗๔/๑๖๘
(4) ดูเทียบ ขุ. สุ. (ไทย) ๒๕/๖๓๑/๖๕๐
(5) ดูเทียบ สํ. ข. (ไทย) ๑๗/๙๕/๑๘๑
(6) ดูเทียบ สํ. ข. (ไทย) ๑๗/๔๕/๑๘๑
(7) ดูเทียบ ขุ. สุ. (ไทย) ๒๕/๘๑๔/๖๙'๖
(8) ดูเทียบ ขุ. ธ. (ไทย) ๒๕/๕๖/๔๑
(9) ดูเทียบ สํ. ข. (ไทย) ๑๗/๙๕/๑๘๑
-------------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ