น. ๑๐๔๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน

       [๗๑๕] รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูปปรากฎชัดด้วยความมีโสมนัสและโทมนัสเป็นความจริง รูปที่เกิดขึ้นในเวลามีโสมนัสเป็นรูปละเอียดอ่อน นุ่มนวล เปล่งปลั่งน่าแตะต้อง รูปที่เกิดขึ้นในเวลามีโทมนัสเป็นรูปซีดเชียว อิดโรย ผิวพรรณหม่นหมองครั้นโยคีนั้นกำหนดรู้รูปมีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นแล้ว จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปนั้นอย่างนี้ว่า "รูปที่เป็นไปในเวลามีโสมนัส ยังไม่ทันถึงเวลามีโทมนัส ก็ดับเสียในเวลามีโสมนัสนี้นั่นแล รูปที่เป็นไปในเวลามีโทมนัส ยังไม่ทันถึงเวลามีโสมนัสก็ดับเสียในเวลามีโทมนัสนี้นั่นแล เพราะฉะนั้น แม้รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นก็เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา" ดังนี้

       เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้รูปมีจิตเป็นสมุฏฐานแล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปนั้นอยู่อย่างนี้ ความก็ปรากฎชัด ดังต่อไปนี้

                     ชีวิตํ อตฺตภาโว จ     สุขทุกฺขา จ เกวลา

                     เอกจิตฺตสมายุตฺตา    ลหุโส วตฺตเต ขโณ.

       แปลความว่า

                     ชีวิต อัตภาพ สุข และทุกข์ แต่ละอย่าง ประกอบร่วมอยู่

                     กับจิตดวงหนึ่งๆ ขณะ (ของจิตดวงหนึ่งๆ) ผ่านไปรวดเร็ว


                     จุลฺลาสีติสหสฺสานิ       กปฺปํ ติฏฺฐนฺติ เย มรู

                     น เตฺวว เตปิ ติฏฺฐนฺติ   ทฺวีหิ จิตฺเตหิ สโมหิตา.

       แปลความว่า

                     เทวดาทั้งหลายเหล่าใดตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัปป์(1)

                     แม้เทวดาทั้งหลายเหล่านั้นก็หาตั้งอยู่ด้วยจิต ๒ ดวง ซึ่งตั้งอยู่พร้อมกันไม่.

------------------------

(1) เป็นกำหนดอายุของ อรูปพรหม ชั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งมีอายุยืนยาวที่สุด ในบรรดาท่านผู้ได้ฌานสมาบัติ

--------------

ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๔๕


                     เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส       ติฏฺฐมานสฺส วา อิธ

                     สพฺเพว สทิสา ขนฺธา       คตา อปฺปฏิสนฺธิกา.

       แปลความว่า

                     ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใดที่ดับไปแล้วของสัตว์ที่ตายก็ดี

                     หรือว่าของสัตว์ที่ยังตั้งอยู่ในปวัตติกาลนี้ก็ดี ขันธ์ทั้งหลาย

                     เหล่านั้น ก็เป็นเช่นเดียวกันทั้งหมดนั่นแล คือ ดับไป

                     ไม่มีการติดต่อกัน (เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งๆ)


                     อนนฺตรา จ เย ภคฺคา      เย จ ภคฺคา อนาคเต

                     ตทนุตฺรา นิรุทฺธานํ         เวสมํ นตฺถิ ลกฺขเณ.

       แปลความว่า

                     สังขารทั้งหลายเหล่ใดที่แตกดับแล้วเป็นลำดับๆ (ใน

                     อดีต) ก็ดี และสังขารทั้งหลายเหล่าใดที่จักแตกดับใน

                     อนาคตก็ดี สังขารทั้งหลายที่แตกดับอยู่ ในระหว่างอดีต

                     และอนาคตนั้นก็ดี หามีความแตกต่างกันในลักษณะไม่


                     อนิพฺพตฺเตน น ชาโต     ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ

                     จิตฺตภงฺคา มโต โลโก    ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา.

       แปลความว่า

                     เพราะจิตไม่เกิด สัตวโลกชื่อว่ายังไม่เกิด เพราะจิตยังเกิด

                     อยู่เป็นปัจจุบัน สัตวโลกชื่อว่ามีชีวิตอยู่ เพราะจิตแตกดับ

                     สัตวโลกชื่อว่าตาย (นี้) เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์


                     อนิธานคตา ภคฺคา       ปุญฺโช นตฺถิ อนาคเต

                     นิพฺพตฺตา เยปี ติฏฐนฺติ   อารคฺเค สาสปูปมา.

       แปลความว่า

                     สังขารทั้งหลายที่แตกดับแล้ว มิได้ไปสู่ที่เก็บไว้ (ณ

                     ที่ไหนๆ) ในอนาคตก็ไม่มีกอง (สังขารเก็บไว้) อีกทั้ง

                     สังขารทั้งหลายใดที่บังเกิดมาแล้วก็ตั้งอยู่ (ชั่วเวลา)

                     เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด บนปลายเข็ม ฉะนั้น

------------------

คัมภีร์วิสุทธิมรรค น. ๑๐๔๖


                     นิพฺพตฺตานญฺจ ธมฺมานํ     ภงฺโค เนสํ ปุรกฺขโต

                     ปโลกธมฺมา ติฏฺฐนฺติ       โปราเณหิ อมิสฺสิตา.

       แปลความว่า

                     และพอสังขารธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นมา ความแตกดับ

                     ของสังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็ห้อมล้อมอยู่แล้ว

                     สังขารธรรมทั้งหลายมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา ตั้ง

                     อยู่เป็นปัจจุบัน หาสัมพันธ์ปะปนกับสังขารธรรมโบราณ

                     (คืออดีต) ทั้งหลายไม่


                     อทสฺสนโต อายนฺติ       ภคฺคา คจฺฉนฺตฺยทสฺสนํ

                     วิชฺชุปฺปาโทว อากาเส    อุปฺปชฺชนฺติ วยนฺติ จ.

       แปลความว่า

                     สังขารธรรมเหล่านั้นมาจากที่ซึ่งใครไม่เห็นแตกดับแล้ว

                     ก็ไปสู่ความไม่เห็น เกิดขึ้นและดับไป เหมือนสายฟ้าแลบ

                     เกิดขึ้น (และดับไป) ในอากาศ ฉะนั้น"(1)


       [๗๑๖] ครั้นโยคีนั้นยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปทั้งหลายมีรูปที่เกิดด้วยอาหารเป็นตันอย่างนี้แล้ว จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปธรรมดา ต่อไปอีกรูปธรรมดาโดยธรรมชาติ

       รูปที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งวิวัฏฏกัปป์ เป็นรูปภายนอกไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ มีประเภทต่างๆ เช่น เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ หิน (มีค่า)ประพาฬ ทับทิม แก้วลาย แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ต้นหญ้า ต้นไม้ และ เถาวัลย์ เป็นต้นชื่อว่ารูปธรรมดา

----------------------

(1) ดูเทียบ ขุ ม. (บาลี) ๒๙/๑๐/๓๔-๓๕; (ไทย) ๒๙/ ๑๐/๕๑-๕๒

----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๐๔๗


ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปธรรมดา

       รูปธรรมดานั้นเป็นรูปปรากฏชัดแก่โยคีนั้น โดยทางกล้าไม้มีกล้าไม้อโศกเป็นต้นเพราะว่า กล้าไม้อโศกนั้นเริ่มต้นทีเดียวก็มีสีแดงอ่อน ล่วงไป ๒ วัน ๓ วันจากนั้นก็แดงเข้มขึ้น ล่วงไป ๒ วัน ๓ วันต่อมาอีกก็แดงนวลลง จากนั้น (แตกเป็นใบอ่อน)มีสีเหมือนใบไม้อ่อน ต่อจากนั้น มีสีเป็นใบไม้แก่ขึ้น จากนั้นมีสีเป็นใบไม้เขียว จากนั้นมีสีใบเขียวแก่ ตั้งแต่เวลาที่ใบเป็นสีเขียวแก่นั้นไป ก็ทำความสืบต่อของรูปใบที่ยังเหมือนกันให้ติดต่อสืบเนื่องกันอยู่ โดย (เวลาผ่านไป)ประมาณ ๑  ปี ก็ (เปลี่ยนสี)เป็นใบไม้เหลือง แล้วหลุดจากขั้ว หล่นไป

       โยคีนั้นครั้นกำหนดรู้ใบอโศกนั้นแล้ว จึงยกพระไตรลักษณ์ข้าในใบอโศกนั้นอย่างนี้ว่า "รูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงอ่อน ยังไม่ทันถึงกาลมีสีแดงเข้มเลย ก็ดับไปเสียรูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงเข้ม ยังไม่ทันถึงกาลมีสีแดงนวล ... รูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงนวล ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้อ่อน รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้อ่อนยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้แก่ ... รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้แก่ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้เขียว รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้เขียว ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้เขียวแก่...รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้เขียวแก่ ยังไม่ทันถึงกาลเป็นใบไม้เหลืองรูปที่เป็นไปในกาลเป็นใบไม้เหลือง ยังไม่ทันถึงกาลหลุดจากขั้วหล่นไปก่อน ก็ดับเสียเพราะฉะนั้น ใบอโศกนั้นจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ดังนี้ แล้วกำหนดรู้รูปธรรมดาแม้ทุกชนิดโดยนัยนี้

       โยคียกพระไตรลักษณ์ขึ้นแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลาย โดยทางรูปสัตตกะ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ก่อน


ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ทางอรูปสัตตกะ

       [๗๑๓]  อนึ่งคำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้ว (ข้างต้น) ว่า "ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย โดยทางอรูปสัตตกะ" ในคำนั้นมีมาติกาดังนี้ คือ:

       ๑. กลาปโต โดยความเป็นกลุ่ม

       ๒. ยมกโต โดยความเป็นคู่

       ๓. ขณิกโต โดยความเป็นไปโดยขณะ (จิต)

---------------

น. ๑๐๔๘ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       ๔. ปฏิปาฏิโต โดยลำดับ

       ๕. ทิฏฐิอุคฆาฏนโต โดยเพิกถอนความเห็นผิด

       ๖. มานสมุคฆาฏนโต โดยเพิกถอนมานะ

       ๗. นิกันติปริยาทานโต โดยความสิ้นไปแห่งความใคร่


       ในอาการ ๗ อย่างนั้น คำว่า "โดยความเป็นกลุ่ม" หมายถึง (กลุ่ม) ธรรมมีผัสสะเป็น (อันดับ) ที่ ๕

       ถาม - กำหนดรู้โดยความเป็นกลุ่มอย่างไร ?

       ตอบ - พระภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า "ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้ใด เกิดขึ้นแล้วในการกำหนดรู้ว่า "ผมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัดตา"และธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้ใดเกิดขึ้นแล้วในการกำหนดรู้ว่า"ขนทั้งหลาย ... ฯลฯ ... มันสมอง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นยังไม่ทันถึงธรรมนอกนี้และนอกนี้ ก็ทำเสียงตฎะต ะพินาศไปเป็นปล้อง ๆ เป็นท่อน ๆ เหมือนงาที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน (แตกอยู่เปรี๊ยะๆ)

       ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย (มีผัสสะเป็นที่ ๕) เหล่านั้นจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้


       นี้เป็นนัยในวิสุทธิกถาก่อน


       ส่วนใน อริยวังสกถา ท่านกล่าวไว้ว่า "เมื่อโยคีกำหนดรู้อยู่ซึ่งจิตที่เป็นไปอยู่ว่า "รูปใน ๗ ฐานะในรูปสัตตกะ (ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่า "จิตดวง(ที่เป็นไปอยู่)นั้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้ ชื่อว่า "กำหนดรู้โดยความเป็นกลุ่ม" คำที่กล่าวไว้ในอริยวังสกถานั้นถูกต้องกว่า เพราะฉะนั้น เราจักจำแนกการกำหนดรู้โดยความเป็นคู่เป็นต้น)แม้ที่ยังเหลือ โดยนัย(อริยวังสกถา)นั้นทางเดียว"

       [๗๑๘] คำว่า "โดยความเป็นคู่" ความว่า พระภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้ (ปฏิสนธิ และความปล่อยวาง (จุติ) ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" แล้วกำหนดรู้ จิตแม้ดวงนั้น เองด้วย จิตอีกดวงหนึ่งว่า "(แม้จิตดวงนั้น) ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"ดังนี้ พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความแตกดับ

-----------------------

ปริจเฉทที่ ๒๐  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๔๙


ด้วยการเติบโตขึ้นตามวัย - รูปเกิดขึ้นด้วยอาหาร ๑ รูปเกิดขึ้นด้วยฤดู ๑ รูปเกิดจากกรรม ๑ รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ รูปธรรมดา ๑ ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" แล้วกำหนดรู้จิตแม้ดวงนั้นเองด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่า " (แม้จิตดวงนั้น) ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"

       พระภิกษุนั้นชื่อว่า กำหนดรู้ (นามธรรมและรูปธรรม) โดยความเป็นคู่กัน ด้วยอาการดังกล่าวนี้

       [๗๑๙] คำว่า "โดยความเป็นไปโดยขณะ (จิต)" ความว่า พระภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้และความปล่อยวางว่า "เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา" แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ ๑ นั้น ด้วยจิตดวงที่ ๒ ว่า "เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา" กำหนดรู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิตดวงที่ ๓ ... กำหนดรู้จิตดวงที่ ๓ ด้วยจิตดวงที่กำหนดรู้จิตดวงที่ ๔ ด้วยจิตดวงที่ ๕ ว่า "แม้จิตดวงที่ ๔ นี้ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา" ดังนี้

       พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเดิบโตขึ้นตามวัย ๑ รูปเกิด ด้วยอาหาร ๑ รูปเกิดด้วยฤดู ๑ รูปเกิดจากกรรม ๑ รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ รูปธรรมดา ๑ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้แล้ว ควรกำหนดรู้จิตดวง ที่ ๑ นั้นด้วยจิตดวงที่ ๒ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิตดวงที่ ๓ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๓ ด้วยจิตดวงที่ ๔ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๔ ด้วยจิตดวงที่ ๕ ว่า "แม้จิตดวงนี้ แต่ละดวงก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้

       พระภิกษุเมื่อกำหนดรู้จิตทีละ ๔ ดวง เริ่มต้นตั้งแต่จิตที่กำหนดรู้รูป (ก่อน) อย่างนี้ ชื่อว่า กำหนดรู้โดยความเป็นไปโดยขณะ (จิต)

       (๗๒๐] คำว่า "โดยลำดับ" ความว่า พระภิกษุกำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้และความปล่อยวางว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัดตา" ดังนี้ แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ ๑ ด้วยจิตดวงที่ ๒ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิตดวงที่ ๓ ... กำหนดรู้จิตดวงที่ ๓ ด้วยจิตดวงที่ ๔ ... ฯลฯ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๑๐ ด้วยจิตดวงที่ ๑๑ ว่า "แม้จิตดวงนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้

----------------------

น. ๑๐๕๐ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัย ๑ รูปเกิดด้วยอาหาร ๑ รูปเกิดด้วยฤดู ๑ รูปเกิดจากกรรม ๑ รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ รูปธรรมดา ๑ ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้แล้วควรกำหนดรัจิตดวงที่ ๑ นั้นด้วยจิตดวงที่กำหนดรู้จิตดวงที่ ๒ ด้วยจิตดวงที่ ๓... ฯลฯ กำหนดรู้จิตดวงที่ ๑๐ ด้วยจิตดวงที่๑๑ ว่า "แม้จิตดวงนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" ดังนี้ ตลอดเวลากลางวันสิ้นทั้งวันโดยลำดับวิปัสสนาอย่างนี้

       แต่ว่า ทั้งรูปกัมมัฏฐาน"(1) ทั้งอรูปกัมมัฏฐาน"(2) เพียงกำหนดรู้ถึงจิตดวงที่ ๑๐ ก็เป็นการเพียงพอ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ (ในอริยวังสกถา) ว่า ควรพักไว้แค่ในจิตดวงที่ ๑๐ เท่านั้น


พระภิกษุผู้กำหนดรู้ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ชื่อว่ากำหนดรู้ โดยลำดับ (จิต)

       [๗๒๑] ในอาการ ๆ อย่าง คือ :- โดยเพิกถอนความเห็นผิด , โดยเพิกถอนมานะ ๑ โดยความสิ้นไปแห่งความใคร่ ๑ เหล่านี้ชื่อว่านัยแห่งการกำหนดรู้แยกกันหามีไม่ (ต้องกำหนดรู้ร่วมกัน)

       อนึ่ง พระภิกษผู้เห็นอยู่ซึ่งรูป (ที่กำหนดรู้แล้ว) ข้างต้นนั้นก็ดี และอรูปที่กำหนดรู้ในที่นี้ก็ดี นี้นั้น จะไม่เห็นสิ่งอื่นที่เรียกว่าสัตว์นอกไปจากรูปและอรูป จำเดิมแต่ไม่เห็นสัตว์ ก็เป็นอันเพิกถอนสัตตสัญญา (ความสำคัญว่ามีสัตว์ ได้แล้ว เมื่อพระภิกษุกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่ถอนสัตตสัญญาได้แล้ว ทิฏฐิก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อทิฏฐิไม่เกิดขึ้น ก็ชื่อว่าเป็นอันเพิกถอนทิฏฐิได้แล้ว เมื่อพระภิกษุกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกถอนทิฏฐิได้แล้ว มานะก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อมานะไม่เกิดขึ้น ก็ชื่อว่าเป็นอันถอนมานะได้แล้วเมื่อพระภิกษุกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกถอนมานะได้แล้วตัณหาก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อตัณหาไม่เกิดขึ้น นิกันติ (ความใคร่) ก็ชื่อว่าเป็นอันสิ้นไปฉะนี้แลคำนี้ท่านกล่าวไว้ใน วิสุทธิกถา ก่อน

-------------------

(1) รูปกัมมัฏฐาน = กัมมัฏฐานมีรูปเป็นอารมณ์

(2) อรูปกัมมัฏฐาน - กัมมัฏฐานมีอรูปเป็นอารมณ์ ๒

------------------

ปริจเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๕๑


       แต่ใน อริยวังสกถา ท่านตั้งมาติกาไว้ว่า "โดยเพิกถอนทิฏฐิ , โดยเพิกถอนมานะ ๑ โดยความสิ้นไปแห่งนิกันติ (ความใคร่) ๑" แล้วแสดงนัย (คือวิธีกำหนดรู้ไว้ดังนี้ว่า "ความจริง เมื่อโยคีถือว่า "ข้าพเจ้าเห็นแจ้งอยู่ วิปัสสนา (เป็น) ของข้าพเจ้า" ดังนี้ ยังหาชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิได้ไม่ แต่เมื่อโยถือว่า "สังขารทั้งหลายนั่นแลเห็นแจ้ง พิจารณา กำหนด กำหนดรู้ จำแนกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ดังนี้*(1) จึงชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิ เมื่อโยคีถือว่า "ข้าพเจ้าเห็นแจ้งด้วยดี ช้าพเจ้าเห็นแจ้งสิ่งที่พึงพอใจ" ดังนี้ ยังหาชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะไม่ แต่เมื่อโยคีถือว่า "สังขารทั้งหลายนั่นเอง เห็นแจ้งพิจารณา กำหนด กำหนดรู้ จำแนกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ดังนี้ จึงชื่อว่ามีการถอนมานะ เมื่อโยคีพอใจวิปัสสนาอยู่ว่า "ข้าพเจ้าสามารถเห็นแจ้ง" ดังนี้ หาชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใครไม่ แต่เมื่อโยคืถืออยู่ว่า "สังขาร ทั้งหลายนั่นเอง เห็นแจ้ง พิจารณากำหนด กำหนดรู้จำแนกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ดังนี้ จึงชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่ เมื่อโยคีเห็นอยู่ว่า "ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นอัตตาไซร้ การถือ (สังขารทั้งหลายนั้น)ว่า "อัตตา" ก็ควร แต่ว่า (สังขารทั้งหลาย) ไม่มีอัตตาเลย ถือว่า เป็นอัตตา เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นอนัตตา โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจเป็นของไม่เที่ยง โดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ (คือเกิดแล้วดับไป) เป็นทุกข์ โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ" ดังนี้ ชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิ เมื่อโยคีเนอยู่ว่า "ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นของเที่ยงไซร้ การถือ(สังขารทั้งหลายนั้น) ว่า "เป็นของเที่ยง" ก็ควร แต่ว่า (สังขารทั้งหลาย) ไม่เที่ยงเลยถือว่าเป็นของเที่ยง เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นของไม่เที่ยงโดย

------------------

(1) ในหนังสือนี้มีศัพท์กิริยาอธิบายธรรมและขความของกันและกันอยู่ ๕ คำ คือ :- วิปสฺสนฺติ สมฺมสนฺติ ววฏฺฐเปนฺติ ปริคฺคณฺหนฺติ ปริจฺฉินฺทนฺติ แปลกันมาทางปริยัติว่า- 

วิปสฺสนฺติ, วิปัสสนา = เห็นแจ้ง, 

สมฺมสนุติ, สมฺมสน = พิจารณา, 

ววฏฺฐเปนฺติ, ววฏฺฐานำ (หรือ ววตฺถานํ) - กำหนด, 

ปริคฺคณฺหนฺติ, ปริคฺคโห, ปริคฺคหิตํ = ยึดถือ, หวงแหน, 

ปริจฺฉินฺทนฺติ, ปริจฺเฉโท = กำหนด, จำแนก, ขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติมีความหมายตามไขคำว่า วิปสฺสนฺติ = เห็นด้วยวิปัสสนาญาณ (ตามลำดับญาณนั้น ๆ) 

สมฺมสนฺติ, สมฺมสนํ = กำหนดรู้ อธิบายว่า กำหนด (เฉย ๆ) ไม่รู้จะกำหนดไปทำไม ? และจะแปลว่า พิจารณา (ตามที่เรียนมาทางปริยัติ) ก็เช่นกัน จะไปมัวพิจารณาอยู่ทำไม ? กำหนดรู้ไปเลย และท่านใช้เป็นชื่อญาณด้วยคือ สัมมสนญาณ - ญาณกำหนดรู้ 

ววฏฺฐเปนฺติ ก็แปลว่า กำหนดรู้ เช่น จตุธาตุววฏฺฐาน - กำหนดรู้ธาตุ ๔, 

ปริคฺคณฺหนฺติ, ปริคฺคเหตฺวา, ปริคฺคโห ปริคฺคหิตํ แปลว่า กำหนดรู้ ซึ่งในฎีกา (ปรมตุถมญชูสา, ตติยภาค, น. ๔๘๘-๙ ให้แปลอย่างนั้น โดยอธิบายไว้ว่า "ปริคฺคเหตฺวาติ ณาเณน ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา - กำหนดถือไว้ ด้วยญาณ" 

ส่วน ปริจฺฉินฺทนฺติ แปลว่า จำแนก, กำหนด จึงแปลไว้ในที่นี้ตามแนวไขคำ

----------------------

น. ๑๐๕๒ คัมภีร์วิสุทธิมรรค


ความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ เป็นทุกข์โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ เป็นอนัตตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ดังนี้ ชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะ เมื่อโยคีเห็นอยู่ว่า "ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นสุขไซร้ การถือ(สังขารทั้งหลายนั้น) ว่า "เป็นสุข" ก็ควร แต่ว่า (สังขารทั้งหลาย) เป็นทุกข์โดยแท้ถือว่าเป็นสุข เพราะฉะ นั้น สังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นทุกข์ โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ เป็นของไม่เที่ยงโดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ เป็นอนัดตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ดังนี้ ชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่

       "เมื่อโยคีเห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิเมื่อโยคีเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะ เมื่อโยคีเห็นอยู่โดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่ ด้วยอาการดังกล่าวนั้น เพราะเหตุนี้วิปัสสนานี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะโดยเฉพาะของตนๆ" ดังนี้

       โยคียกพระไตรลักษณ์ขึ้นกำหนดรู้สังขาร (ด้วยสัมมสนญาณ) โดยทางอรูปสัตตกะด้วยอาการดังกล่าวนี้

       อนึ่ง ทั้งรูปกัมมัฏฐานทั้งอรูปกัมมัฏฐานของโยคีนั้น เป็นกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่วเพียงพอด้วยอาการเพียงนี้

-------------------


[full-post]

คัมภีร์วิสุทธิมรรค,วิสุทธิมรรค,ไตรลักษณ์

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.