อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๕

แสดงการจำแนกกรรมฐาน ๓๐ ที่เข้าถึงอัปปนาโดยฌานทั้ง ๙

      ก. กสิณ ๑๐ อานาปานัสสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของรูปฌาน ๕ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้เจริญในกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมสำเร็จฌานทั้ง ๕ ตามลำดับได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน

      ข. อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ รวม ๑๑ กรรมฐานนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌานโดยเฉพาะ ดังนั้น จึงให้ได้แต่เพียงปฐมฌาน ถ้าต้องการถานเบื้องบนต่อไปก็จะต้องเปลี่ยนเป็นกรรมฐานอื่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ นี้เป็นอารมณ์ทยาบ น่าเกลียดมาก ที่ปฐมฌานเกิดได้ก็เพราะอาศัยวิตกองค์ฌานช่วยยกภาวนาจิตให้ขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐานเหล่านี้ ส่วนทุติยฌานจิต เป็นต้นนั้นไม่มีวิตกช่วยยกภาวนาจิตให้ขึ้นสู่อารมณ์ ดังนั้น กรรมฐานเหล่านี้จึงทำให้ผู้เจริญได้เพียงปฐมฌาน ดังที่ท่านฎีกาจารย์ได้แสดงเหตุผล อุปมาอุปไมยไว้ว่า

            นาวา อริตฺตพเลน     จณฺฑโสตมฺหิ ติฏฺฐติ

            เอวาสุเภสุ จิตฺตํปี     ตกฺกพเลน ติฏฺฐติ

            เตเนตฺถ ปฐมํ ฌานํ    น โหนฺติ ทุติยาทีนิ ฯ

      แปลความว่า เรือที่จอดนิ่งอยู่ได้ในกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยอำนาจถ่อไผ่ที่ปักไว้

      ฉันใด แม้ภาวนาจิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานที่ไม่สวย ไม่งาม ด้วยอำนาจวิตกก็

      ฉันนั้น เหตุนี้ ปฐมฌานที่มีวิตกองค์ฌานเท่านั้นจึงจะเกิดขึ้นได้ในอารมณ์เหล่านี้

      ทุติยฌานเป็นต้นที่ไม่มีวิตกย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เลย


      ค. เมตตา กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ ทำให้ผู้เจริญได้รูปฌานเบื้องต่ำ ๔

      ฆ. ส่วนผู้เจริญอุเบกขาพรหมวิหารนั้น ย่อมให้ได้แต่รูปปัญจมฌานอย่างเดียว

      ง. สำหรับอารุปปกรรมฐาน ๔ ย่อมทำให้ผู้เจริญได้อรูปฌาน ๔ โดยเฉพาะ ๆ 

      กล่าวคือ อากาสบัญญัติให้ได้แต่อากาสานัญจายตนฌาน ปฐมารุปปวิญญาณให้ได้แต่วิญญาณัญจายตนฌาน นัตถิกาวบัญญัติให้ได้แต่อากิญจัญญายตนฌาน ตติยารุปปวิญญาณให้ได้แต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

      ในที่นี้เมื่อได้พิจารณาดูการจำแนกกรรมฐาน ๓๐ โดยรูปฌาน อรูปฌานแล้วก็จะเห็นได้ว่า อารมณ์กรรมฐานของรูปฌานนั้นล้วนแต่เป็นบัญญัติ ส่วนอารมณ์กรรมฐานของอรูปฌานนั้นมีทั้งบัญญัติและปรมัตถั เมื่อสรุปแล้วก็คงได้จำนวนกรรมฐานและฌาน ดังนี้

      กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ โกฏฐาส ๑ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวม บัญญัติกรรมฐาน ๒๕ เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน

      กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ สัตวบัญญัติ ๓ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๔ นี้ เป็น อารมณ์ของทุติยฌาน จนถึงจตุตถฌาน

      กสิณ ๑๐ อัสสาสปัสสาสะ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ รวมบัญญัติกรรมฐาน ๑๒ นี้ เป็นอารมณ์ของรูปปัญจมณาน

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,อัปปนาฌาน

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.