เหตุผลในการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา ที่ให้ได้แต่เพียงรูปฌานเบื้องต่ำ ๔

      อนึ่งผู้เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา ที่ให้สำเร็จแต่เพียงมานเบื้องต่ำ ๔ นั้นก็เพราะว่ากรรมฐานทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุให้พ้นจากพยาบาท คือ ความปองร้าย วิหิงสาคือ ความเบียดเบียน และอนภิรติ คือ ความไม่ยินดีในสมบัติของผู้อื่น ซึ่งล้วนแต่เกิดมาจากโทสะทั้งสิ้น ธรรมดาเมตตานั้นเป็นสภาพที่มีความรักใคร่ ปรารถนาดีในอันที่จะให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์อยู่เสมอ ส่วนพยาบาทนั้น มีความปองร้าย ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น เมื่อว่าโดยองค์ธรรมก็ได้แก่ โทสเจตสิก ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนสเวทนา จะนั้น เมตตาซึ่งเป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับพยาบาทนี้ จึงเป็นธรรมที่ต้องเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาเสมอ เหตุนี้ผู้ได้ฌานที่เกิดจากการเจริญเมตตาภาวนาจึงได้เพียงรูปฌานเบื้องต่ำ ๔ ซึ่งเป็นฌานที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา

      กรุณานั้น มีความสงสารต่อสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์ ความลำบาก หรือจะได้รับความลำบากในภายหน้า นิ่งดูอยู่ไม่ได้ มีจิตคิดที่จะช่วยให้พันจากความทุกข์ยากลำบากเหล่านั้น ส่วนวิหิงสานั้นมีการเบียดเบียนสัตว์ ไม่มีความสงสารต่อผู้อื่นเมื่อว่าโดยองค์ธรรมก็ได้แก่ โทสเจตสิก ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา ฉะนั้น กรุณาซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับวิหิงสา จึงเป็นธรรมที่ต้องเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา เหตุนี้ผู้ได้ฌานที่เกิดจากการเจริญกรุณา จึงได้แต่เพียงรูปฌานเบื้องต่ำ ๔ ซึ่งเป็นฌานที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา

      มุทิตานั้น มีความยินดีพอใจในสมบัติของผู้อื่น ส่วนอนภิรตินั้น ไม่มีความยินดี พอใจในสมบัติของผู้อื่น เมื่อได้เห็นได้ยินความดีของผู้อื่นแล้ว มีการไม่สบายใจเกิดขึ้นและชอบติเตียนกล่าวร้ายดูหมิ่นคุณสมบัติของผู้อื่น เมื่อว่าโดยองค์ธรรมก็ได้แก่โทสเจตสิก ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา ะนั้น มุทิตาซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับอนภิรติ จึงเป็นธรรมที่ต้องเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา เหตุนี้ผู้ได้ฌานที่เกิดจากการเจริญมุทิตา จึงได้แต่เพียงรูปฌานเบื้องต่ำ ๔ ซึ่งเป็นฌานที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาสมดังที่ท่านฎีกาจารย์ได้แสดงไว้ว่า

            เมตฺตาทโย ตโย ปุพฺพา        โทมนสฺสชนิสฺสรา

            โสมนสฺสาวิปฺปโยคา            เหฏฺฐา จตุกฺกฌานิกา ฯ

      แปลความว่า พรหมวิหารข้างต้น ๓ มีเมตตา กรุณา มุทิตา เหล่านี้ย่อม

      ประกอบกับโสมนัสเวทนาเสมอ เนื่องด้วยก้าวล่วงพยาบาท วิหิงสา อนภิรติ ที่เกิด

      จากโทมนัสเวทนา ฉะนั้น จึงได้แต่รูปฌานเบื้องต่ำ ๔ ที่มีสุขเป็นองค์ฌาน

      เหตุผลของการเจริญอุเบกขาให้ได้เฉพาะแต่รูปปัญจมฌาน และ ผู้ที่ได้

      รูปปัญจฌานโดยการเจริญอุเบกขา


      การเจริญอุเบกขาที่ให้สำเร็จแต่รูปปัญจมฌานอย่างเดียวนั้น เพราะอุเบกขานี้มีการวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย โดยมีจิตใจปราศจากอาการทั้ง ๓ กล่าวคือ ไม่น้อมไปในความปรารถนาดี ในการที่จะบำบัดทุกข์ ในการชื่นชมยินดีในความสุขของสัตว์แต่อย่างใดสิ้น แม้ว่าในขณะที่กำลังเจริญอยู่ กามชวนะจะเกิดพร้อมด้วยโสมนัสบ้างอุเบกขาบ้างก็ตาม แต่เมื่อเข้าถึงอัปปนาชวนะแล้ว จะต้องประกอบกับอุเบกขาเวทนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้การเจริญอุเบกขา จึงให้ได้แต่รูปปัญจมฌานอย่างเดียว

      อีกประการหนึ่ง ผู้ที่เจริญกสิณเรื่อยมาจนถึงได้จตุตถฌาน ครั้นต่อมาได้เปลี่ยนมาทำการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร แทนการเจริญกสิณ เพื่อจะให้ได้ปัญจมฌานนั้น การเจริญอุเบกขาพรหมวิหารของพระโยคีนี้ย่อมไม่สำเร็จ เพราะอารมณ์ไม่เหมือนกัน กล่าว คืออารมณ์ของรูปฌานเบื้องต่ำที่พระโยคีได้มานั้นเป็นกสิณบัญญัติอารมณ์ อารมณ์ของปัญจมฌานที่พระโยคีหวังจักได้ต่อไปเป็นสัตวบัญญัติ เหตุนั้นจึงทำให้รูปปัญจมฌานเกิดขึ้นไม่ได้ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌานเบื้องต่ำ ๔ โดยอาศัยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว จากนั้นก็เจริญอุเบกขาต่อไปเพื่อจะได้รูปปัญจมฌานนั้น การเจริญอุเบกขาของพระโยคีนี้ย่อมสำเร็จได้ เพราะมีสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ด้วยกัน ดังนั้นท่านฎีกาจารย์จึงได้แสดงไว้ว่า

            มชุฌตฺตเวทนาโยคา      ปญฺจเม ชาตุเปกฺขกา

            เมตฺตาทีหิ จ ลทฺธชฺฌา-  นิกสฺเสเวส วตฺตติ ฯ

      แปลความว่า อุเบกขาพรหมวิหารนี้ย่อมเกิดในปัญจมฌาน เพราะประกอบ

      กับอุเบกขาเวทนา ผู้ที่ได้รูปจตุตถฌานโดยอาศัยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตาเท่านั้น

      จึงจะทำการเจริญอุเบกขาให้สำเร็จได้


จบภาวนาเภท

----------------///------------------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,พรหมวิหาร

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.