ปริจเฉทที่ ๒๑ 

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ


       [๗๓๗] แต่ทว่า วิปัสสนาที่บรรลุถึงยอดด้วยญาณ ๘*(1) และสัจจานุโลมิกญาณอันดับที่ (๙) นี้ เรียกชื่อว่า "ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ" คือ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก และในคำว่า "ญาณ ๘" นี้ พึงทราบไว้ว่า หมายถึงญาณ ๘ เหล่านี้คือ:

       ๔. อุทยพยานุปัสสนาญาณ (อย่างแก่) ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินไปตามวิถี (ของวิปัสสนา) (๑)

       ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ (๒)

       ๖. ภยตุปัฏฐานญาณ ญาณกำหนดรู้โดยปรากฎเป็นของน่ากลัว (๓)

       ๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษชั่วร้าย (๔)

       ๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ด้วยความเบื่อหน่าย (๕)

       ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาจะพ้นไป (๖)

       ๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ โดยพิจารณาทบทวน (๗)

       ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร (๘)


       คำว่า "สัจจานุโลมิกญาณ อันดับที่ (๙)" นั้นเป็นคำเรียก อนุโลมญาณ เพราะฉะนั้น โยคาวจรผู้ปรารถนาบรรลุอนุโลมญาณนั้น จะต้องกระทำโยคะในญาณทั้งหลายดังกล่าวนี้ ตั้งแต่ อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ซึ่งพันแล้วจากอุปกิเลส เป็นต้นไป

-------------------

(1) เลขข้างหน้าชื่อญาณตั้งแต่ ๔,๕-๑๐ และ ๑๐ หมายถึงลำดับญาณตั้งแต่ญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ สังขารปริจเฉท ตามลำดับ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ดังกล่าวมาข้างต้น ส่วนเลขข้างหลังชื่อญาณ ภายในวงเล็บ ( ) เป็นลำดับตามที่กล่าวถึงในวิสุทธิมรรคนี้

-------------------

น. ๑๐๗๒  คัมภีร์วิสุทธิมรรค


       ๔. (ข) พลวอุทยพยญาณ หรือ อุทยพยญาณอย่างแก่

       [๗๓๘] หากมีคำถามว่า กระทำโยคะในอุทยพยญาณต่อไปอีก มีประโยชน์อะไร ?

       (ตอบว่า มีประโยชน์ในการกำหนดรู้ (พระไตร) ลักษณ์ เพราะว่า อุทยัพยญาณในตอนต้น ๆ (อย่างอ่อน) เป็นญาณที่ถูกอุปกิเลส ๑๐ ทำให้มัวหมอง ไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริงได้ แต่อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่พันจากอุปกิเลสแล้ว สามารถกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) ได้ เพราะฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทำโยคะ(ทำความพยายามในการตามกำหนดรู้-)ในอุทยพยญาณนี้ต่อไปอีก เพื่อกำหนดรู้ (พระไตร) ลักษณ์

       [๗๓๙ (ถามว่า แต่ทว่า พระไตรลักษณ์ทั้งหลาย ก็ยังมิปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้ ? เพราะไม่มนสิการอะไร ?

       (ตอบว่า) ก่อนอื่น 

       - อนิจจลักษณะไม่ปรากฏ เพราะสันตติปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ 

       - ทุกขลักษณะไม่ปรากฎ เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ 

       - อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ เพราะแท่ง (หรือก้อน) ปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ๆ 

       แต่ว่า เมื่อโยคาวจร"(1) กำหนดรู้ความเกิดและความดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไป อนิจจลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักษณะก็ปรากฎ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อกระจายธาตุต่าง ๆ ออกไป แล้วทำการกระจายความเป็นก้อน"(2) (เป็นแท่ง เป็นกลุ่ม) ออกไป อนัตตลักษณะก็ปรากฏ


วิภาค ๖

       (๗๔๐] อนึ่ง โยคี ควรทราบวิภาค (คือ การจำแนก) ในลักษณะทั้ง ๓ นี้ไว้ดังนี้คือ:-

----------------

(1) ในวิสุทธิมรรค ท่านใช้ทั้ง โยคาวจร และ โยคี บางทีก็ใช้ กุลบุตร หรือ ภิกษุ บ้าง ในคำแปลนี้ ณ ที่ใดท่านใช้คำใด จะใช้ตามท่าน แต่ ณ ที่ใดไม่ปรากฏ ขอใช้คำว่า "โยคี"

(2) สํ. สฬา. (ไทย) ๑๘/๑,๔/๑,๔

---------------

ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ  น. ๑๐๗๓


              ๑. อนิจจะ ความไม่เที่ยง

              ๒. อนิจจลักษณะ ลักษณะของความไม่เที่ยง

              ๓. ทุกขะ ความเป็นทุกข์

              ๔. ทุกขลักษณะ ลักษณะของความเป็นทุกข์

              ๕. อนัตตา ความไม่มีอัตตา

              ๖. อนัตตลักษณะ ลักษณะของความไม่มีอัตตา

       ในวิภาคนั้น 

       ๑. ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจะ (ถาม) เพราะเหตุไร ? (ตอบ) เพราะเกิดขึ้น ดับไป และมีความเป็นอย่างอื่น หรือว่า เพราะมีแล้วหามีไม่ (ได้แก่ เพราะเกิดแล้วดับไป)

       ๒. ความเกิดขึ้น ดับไป และความเป็นอย่างอื่น เป็น อนิจจลักษณะ หรือว่าอาการและพิการ กล่าวคือ ความมีแล้วหามีไม่ (เกิดแล้วดับไป) เป็นอนิจจลักษณะ

       ๓. แต่ขันธ์ ๕ นั้นนั่นแลเป็น ทุกขะ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์"(1) เพราะเหตุไร ? เพราะเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ

       ๔. อาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ เป็น ทุกขลักษณะ

       ๕. และขันธ์ ๕ นั้นนั่นเอง ชื่อว่าเป็น "อนัตตา" เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา - สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา"*(1) เพราะเหตุไร ?เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ

       ๖. อาการไม่เป็นไปในอำนาจ เป็น อนัตตลักษณะ

       โยคาวจรนี้กำหนดรู้วิภาคนี้นั้นอยู่แม้ทั้งหมด ด้วยอุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่ท่านเรียกว่า วิปัสสนาซึ่งพันไปแล้วจากอุปกิเลส ดำเนินไปตามวิถี โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง


จบ อุทยพยานุปัสสนาญาณ

-----------------

(1) ดูเทียบ สํ. ข. (ไทย) ๑๗/๑๕/๒๙

----------------

[full-post]

คัมภีร์วิสุทธิมรรค,วิสุทธิมรรค,ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.