การเจริญกรุณา
กรุณา หมายความว่า เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบาก จิตใจของ สัปบุรุษก็เกิดความหวั่นไหวนิ่งดูอยู่ไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่า ย่อมช่วยผู้ที่ได้รับความลำบากนั้นให้ได้รับความสุข ดังแสดงวจนัตถะว่า
"ปรทุกฺเข สติ สาธูนํ หทยกมฺปนํ กโรตีติ - กรุณา"
ธรรมชาติใดย่อมทำให้จิตใจของสัปบุรุษทั้งหลายหวั่นไหวนิ่งอยู่ไม่ได้ เมื่อผู้อื่นได้รับความลำบาก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา
"กิณาติ ปรทุกฺขํ หึสติ วินาเสตีติ = กรุณา" ธรรมชาติใดย่อมเบียดเบียนทำลายความลำบากของผู้อื่นเสีย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา องค์ธรรมได้แก่ กรุณาเจตสิกที่มีทุกขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
กรุณา เมื่อว่าโดยสามัญแล้ว มี ๒ อย่าง คือ กรุณาแท้ และ กรุณาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ กรุณาแท้ แม้ว่าจะมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความลำบากอยู่ หรือ จะได้รับความลำบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ทำการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบากอยู่ด้วยประการใด ๆ ก็ดี ความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นหมองใจไม่มี มีแต่ความแช่มชื่นผ่องใสซึ่งเป็นมหากุศล หรือ มหากริยาจิตตุปบาท ที่เนื่องมาจากกรุณาเจตสิก อันเป็นกรุณาปปมัญญาแท้ สำรับกรุณาเทียมนั้น เมื่อมีความสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความลำบากอยู่ หรือจะได้รับความลำบากต่อไปในข้างหน้าก็ดี ช่วยเหลือผู้ที่กำลังได้รับความลำบากอยู่ก็ดี ย่อมมีความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นมัว ซึ่งเป็นโทสจิตตุปบาทที่เนื่องมาจากโทมนัสเวทนา อันเป็นกรุณาเทียม การเจริญกรุณากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทำการแผ่โดยกรุณาแท้ ไปในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นทุกขิตบุคคล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ จำพวก คือผู้ที่กำลังได้รับความลำบากเนื่องมา จากพยสนะ ย่างใดอย่างหนึ่งและผู้ที่จะต้องประสบกับพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในข้างหน้าหรือจะได้เสวยความทุกข์ในอบายภูมิ หรือวัฎฎทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ ซึ่งใครๆ ก็มิอาจที่จะหนีพ้นไปได้ ถ้าผู้เจริญมิได้พบเห็น ทุกขิตบุคคล จำพวกที่ ๑ จะทำการแผ่ไปในทุกขิตบุคคลจำพวกที่ ๒ ก็ได้ โดยมาคำนึงว่า บุคคลเหล่านี้แม้กำลังได้รับความสุขสบายด้วยยศ อำนาจ ทรัพย์สิน บริวาร อยู่ก็ตาม แต่ก็มิอาจหลีกหนีให้พ้นจากความทุกข์ต่างๆ มีพยสนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งในวันข้างหน้า หรือวัฎฎทุกข์ ที่เป็นไปในภพนี้และภพหน้า หรืออบายทุกข์ได้เลย
เมื่อจะทำการแผ่ ผู้เจริญจะต้องแผ่ไปในบุคคลโดยลำดับ มีดังนี้
๑. ต้องแผ่แก่ตนเองก่อน
๒. ทุกขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นมัชมัตตบุคคล
๓. ทุกขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นปียบุคคล
๔. ทุกขิตบุคคล ประเภทที่หนึ่งและที่สอง ที่เป็นเวรีบุคคล
ในบุคคล ๔ จำพวกนี้ หลังจากการแผ่แก่ตนเองแล้ว จะต้องแผ่ไปในมัชฌัตตบุคคลก่อน เพราะถ้าแผ่ไปในปิยบุคคลก่น กรุณาแท้ก็จักไม่เกิด เกิดแต่กรุณาทียม ถ้าแผ่ไปในเวรีบุคคลก่อน กรุณาก็จักไม่เกิด เกิดแต่ความดีใจที่ศัตรูของตนได้รับความลำบากนเป็นตัวโลภะ จงทำการแผ่กรุณาไปในบุคคลตามลำดับโดยนัยนี้เรื่อยไป จนกว่าจะได้สำเร็จถึงขั้นสีมสัมเภท ดังที่กล่าวไว้แล้วในเมตตา ข้อปฏิบัติที่จะมิให้โลภะเกิดขึ้นในเวลาที่ทำการแผ่ไปในเวรีทุกขิตบุดคลจำพวกที่หนึ่ง และโทสะที่เกิดขึ้นในเวลาที่ทำการเผยแผ่ไปในเวรีทุกขิตบุคคลจำพวกที่สองนั้น คงเป็นไปในทำนองดียวกับที่ได้กล่าวไว้ในเมตตา จะมีการพิจารณาต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงมิได้แสดงซ้ำอีก จากนั้นจึงจะใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรมท่องจำแผ่ไปโดยส่วนรวม ดังจะแสดงต่อไปนี้
คำที่สำหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนใช้คำว่า "อหํ ทุกฺขา มุจฺจามิ" ข้าพเจ้าจงพันจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แผ่ไปในผู้อื่นถ้าเป็นคนเดียวใช้คำว่า "ทุกฺขา มุจฺจตุ" ขอท่านจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถ้า ๒ คนขึ้นไปก็ใช้คำว่า ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ ขอท่านทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แบบบริกรรมท่องจำแผ่กรุณาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งกรุณาก็มี หนึ่ง คือ "ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ" ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จำพวก คืออโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗ ทำการแผ่ไปดังนี้
๑. สพฺเพ สตฺตา ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งพลายจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิสผรณากรุณา
๑. สพฺพา อิตฺถิโย ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ หญิงทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ฯลฯ
๕. สพฺเพ วินิปาติกา ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลาย จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
รวมเป็น ๗ เรียกว่า โอทิสผรณากรุณา
อโนทิสผรณากรุณา ๕ โอทิสผรณากรุณา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณากรุณา
การแผ่โดยทิศทั้ง ๑๐
๑. ปุรตฺถิมาย ทิสาย สพฺเพ สตฺตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา ทุกฺขามุจฺจนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันออก จงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทำการแผ่ไปในทำนองเดียวกันนี้ เมื่อจะนับจำนวนกรุณาที่แผ่ไปในบคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่งๆ ได้กรุณา ๑๒ รวม ๑๐ ทิศได้กรุณา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณากรุณาปุคคลวารผรณากรุณา ๑๒ ทิสาผรณากรุณา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็นผรณากรุณาโดยพิสดาร ๑๓๒
นิมิต ๓ ภาวนา ๓ อานิสงส์ ๑๑ ก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับเมตตา
ข้อความ ๘ อย่างที่ควรรู้ มีลักขณะ รส เป็นต้น ดังนี้
๑. ลักขณะ :- ปรทุกฺขาปนยนาการปฺปวตฺติลกฺขณา มีความเป็นไปแห่งกาย วาจา ใจ ในอันที่จะบำบัดทุกข์ของผู้อื่นให้ปราศจากไป เป็นลักษณะ
๒. รส :- ปรทุกฺขาสหนรสา มีการอดกลั้นนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของผู้อื่นและอยากช่วย เป็นกิจ
๓. ปัจจุปัฏฐาน : - อวิหึสาปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณากรุณา
๔. ปทัฏฐาน :- ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสนปทฏฺฐานา การพิจารณาเห็นบุคคลที่ตกอยู่ในความทุกข์ไร้ที่พึ่ง เป็นเหตุใกล้
๕. สัมปัตติ : - วิหึสูปสโม สมฺปตฺติ ความสงบลงแห่งโทสจิตตุปบาทในอันที่จะทำการเบียดเบียนสัตว์ เป็นความสมบูรณ์แห่งกรุณา
๖. วิปัตติ :- โสกสมภโว วิปตฺติ มีการเกิดขึ้นแห่งความเศร้าโศก เป็นความเสียหายแห่งกรุณา
๗. อาสันนปัจจัตถิกะ : - เคหสิตํ โทมนสฺสํ อาสนฺนปจฺจตฺถิกํ ความเสียใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นศัตรูใกล้
๘. ทูรปัจจัตถิกะ :- วิหึสา ทูรปจฺจตฺถิกา ความเบียดเบียนสัตว์เป็นศัตรูไกล
จบกรุณา
----------///-----------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ