อธิบายในบาลีข้อที่ ๙ ที่แสดงถึงอัปปมัญญา ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ไม่มีจำกัดชื่อว่า อัปปมัญญา ดังแสดงวจนัตถะว่า "อปฺปมาเณสุ สตฺเตสุ ภวาติ =อปฺปมญฺญา" ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจำกัด ฉะนั้น ชื่อว่า อัปปมัญญา
ผู้เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น จะต้องมีการแผ่ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจำกัด จึงจะเรียกว่า เป็นการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่เป็นอัปปมัญญา ทั้งเป็นเหตุที่จะให้ได้รูปฌานด้วย สำหรับการแผ่เมตตา ฯลฯ โดยจำกัดบุคคล และ จำกัดสถานที่ ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน และไม่ทำให้รูปฌานเกิด เป็นแต่เพียงการแผ่อย่างธรรมดา อย่างไรก็ตาม การแผ่ที่มีการจำกัดบุคคล และ สถานที่นี้ก็ยังได้รับอานิสงส์อย่างไพศาล คือ ในภพนี้ก็ช่วยให้พันจากภัยต่างๆ ในภพหน้าก็ช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
อัปปมัญญา ๔ ที่ได้ชื่อว่า พรหมวิหาร นั้น เพราะว่า บุคคลใดกำลังดำเนินการปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจเสมือนพรหม ดังมีวจนัตถะว่า "พฺรหฺมานิ วิหาโรติ = พฺรหฺมวิหาโร" การปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้มีจิตใจเสมือนหนึ่งพรหม ฉะนั้น การปฏิบัติอัปปมัญญา ๔ นั้น ชื่อว่า พรหมวิหาร
หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า "พรหม" แปลว่า ผู้ประเสริฐ "วิหาร" แปลว่า ความเป็นอยู่ที่เข้าถึงอย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ เมื่อรวมแล้ว ความเป็นอยู่ที่เข้าถึงอย่างประเสริฐของบุคคลผู้ประเสริฐ ชื่อว่า พรหมวิหาร ดังมีวจนัตถะว่า "วิหรนฺติ เอเตหีติ = วิหารา" สัปบุรุษทั้งหลายย่อมเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญาฉะนั้น อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเครื่องให้สัปบุรุษทั้งหลายเข้าถึงความเป็นอยู่อย่างประเสริชื่อว่า วิหาร "พฺรหฺมานํ (เสฏฺฐาน) วิหาโร (เสฏฺฐภูโต) ติ = พฺรหฺมวิหาโร" ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐด้วยอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้ประเสริชื่อว่า "พรหมวิหาร"
เมตตา หมายความว่า การปรารถนาดีรักใครต่อสัตว์ทั้งหลาย ดังแสดงวจนัตถะว่า
"มิชฺชติ สินิยฺหตีติ = เมตฺตา" ธรรมชาติใดย่อมรักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เมตตา องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่มีปียมนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ปียมนาปบุคคล ได้แก่ บุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจปียมนาปบุคคลนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๒ จำพวกคือ จำพวกธรรมดาอย่างหนึ่ง จำพวกที่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนาสมาธิอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้ว่าการเจริญในระยะต้นๆ จะมีได้ก็เฉพาะปิยมนาปบุคคลธรรมดาเป็นอารมณ์ของเมตตาภาวนาก็จริง ครั้นการเจริญนั้นได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาแล้ว จิตใจในขณะนั้นก็จะแผ่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหลายได้หมดแม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรู หรือ บุคคลที่ตนไม่ชอบเข้าเป็นปียมนาปยุคคลอันเป็นอารมณ์ของอโทสเจตสิก ซึ่งเป็นตัวเมตตาได้ลิ้น สำหรับอโทสเจตสิกที่เกิดขึ้นในขณะสวดมนต์ไหว้พระ ฟังธรรมนั้น มิได้มีอารมณ์เป็นปียมนาปสัตวบัญญัติ ดังนั้น อโทสเจตสิกขณะนั้นจึงไม่เรียกว่า เมตตา
การนึกถึงและมองดูคนอื่นด้วยโทสะ ในขณะนั้นย่อมมีแต่ความเกลียดชังจิตใจไม่ชื่นบาน ส่วนการนึกถึงและมองดูบุคคลอื่นด้วยเมตตานั้น จิตใจก็จะมีแต่ความรักใคร่เบิกบาน ดังนั้น วจนัตถะของเมตตาจึงมีว่า "มิชฺชติ สินิยฺหติ" ย่อมรักใคร่ชื่นชมต่อสัตว์ ดังนี้ ความรักใคร่ชื่นชมนี้มี ๒ อย่าง คือ ๑. เมตตาอโทสะ ๒. ตัณหาเปมะ ใน ๒ อย่างนี้ -
- เมตตาอโทสะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมปรารถนาดีไม่มีการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงแต่อย่างใด ถึงจะจากไปอยู่ที่อื่นก็ไม่เดือนร้อน
- ส่วนตัณหาเปมะนั้น เป็นความรักใคร่ชื่นชมด้วยการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและแยกจากกันไม่ได้
ดังนั้น ความรักใคร่ชื่นชมที่เป็นชนิดตัณหาเปมะนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นเมตตาเทียม องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ถึงกระนั้น ตัณหาเปมะอันเป็นตัวเมตตาเทียมนี้ ก็ยังเป็นความดีในการที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ให้แก่เมตตาอโทสะเกิดขึ้นได้ง่าย และดำรงมั่นไม่เสื่อมถอย อานิสงส์ของเมตตาอโทสะ ที่เกิดจากตัณหาเปมะเป็นมูล มีแจ้งไว้ในวิสุทธิมรรดอรรถกถาแล้ว ความว่า แม่โคนมตัวหนึ่ง ยืนให้ลูกดื่มนม นายพรานคนหนึ่งจะฆ่า จึงหยิบหอกพุ่งตรงไปที่แม่โค แต่หอกนั้นหาได้ ทำอันตรายแม่โคไม่ กลับปลิวตกไปดุจใบตาลหล่นลงฉะนั้น
ฝ่ายผู้ที่แสวงหาโลกุตตรธรรมนั้น ถ้าจิตใจยังประกอบด้วยตัณหาเปมะต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โลกุตตรธรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ ตัณหาเปมะนี้ขัดกันกับสมาธิ ตลอดจนถึงสติสัมปชัญญะ ดังเช่น พระฉันนเถระ มีความรักในพระพุทธองค์อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากเคยอยู่ใกล้ชิด จึงถึงออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ดังนั้น ในระหว่างที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุฉันนะมิอาจปฏิบัติให้มรรด ผลเกิดได้ ต่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วการปฏิบัติจึงสำเร็จ ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาเปมะที่ขัดกับสมาธิ สติสัมปชัญญะ ได้หายไปจากใจหมดสิ้น
บุคคล ๖ จำพวกที่พึงรู้เป็นพิเศษในการแผ่เมตตา
ก. บุคคลที่แผ่เมตตาก่อนไม่ได้ มี ๔ จำพวก คือ
๑.) อัปปิยบุคคล บุคคลที่ไม่เป็นที่รัก
๒.) อติปิยบุคคล บุคคลที่รักมาก
๓.) มัชฌัตตบุคคล บุคคลที่ไม่รักไม่ชัง มีแต่ความเฉยๆ
๔.) เวรีบุคคล บุคคลที่เป็นศัตรู
ข. บุคคลที่แผ่เมตตาโดยเจาะจง (โอทิสผรณาเมตตา) ไม่ได้ มี ๑ จำพวก คือ
๕.) ลิงควิสภาคบุคคล บุคคลที่มีเพศตรงกันข้ามกับตน
ค. บุคคลที่แผ่เมตตาไม่ได้เลย มี ๑ จำพวก คือ
๖.) กาลังคตบุคคล บุคคลที่ตายไปแล้ว
บุคคลที่แผ่ก่อนไม่ได้นั้น เพราะมีแต่จะให้โทษ กล่าวคือ ถ้าแผ่ถึงอัปปียบุคคลก่อน ก็จะได้รับความอึดอัด หม่นหมอง ไม่สบายใจ เนื่องมาจากไม่เป็นที่รัก ถ้าแผ่ถึงอติปียบุคคลก่อน ถ้าบุคคลนั้นมีความทุกข์ยากลำบากเพียงเล็กน้อย ตนก็จะเดือนร้อนกลั้นไม่ไหวจนอาจร้องให้ออกมา ทั้งนี้ก็เพราะรักมาก ถ้าแผ่ถึงมัชฌัตตบุคคลก่อนจิตใจ ก็จะไม่สบาย เพราะบุคคลนั้นไม่มีคุณธรรมที่ทำให้เกิดความเคารพรักใคร่อันจะทำให้เมตตาเกิด ถ้าแผ่ถึงเวรีบุคคลก่อน ก็จะมีแต่โทสะ เนื่องจากเป็นศัตรูกันเมตตาไม่มีโอกาสเกิดได้
บุคคลแผ่โดยเจาะจงไม่ได้นั้น เพราะจะทำให้ราคะเกิดขึ้น เนื่องมาจากมีเพศตรงกันข้ามกับตน
บุคคลที่แผ่ไม่ได้เลยนั้น เพราะบุคคลนั้นตายไปแล้ว เมตตาและอุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิเกิดไม่ได้
บุคคลที่จะต้องทำการแผ่เมตตาก่อนพร้อมทั้งเหตุผล
การแผ่เมตตาที่มิได้มุ่งหวังจะได้อัปปนาฌาน มีการแผ่ไปในบุคคลอื่นสำหรับตนเองนั้นจะแผ่ได้ไม่แผ่ก็ได้ แต่ถ้าหวังจะได้อัปปนาฌาน จะต้องแผ่แก่ตนเองก่อน เพื่อประโยชน์อันที่จะได้เป็นสักขีพยานแก่การแผ่ไปยังบุคคลอื่นเพราะว่า ความรักต่อสิ่งอื่นๆ นั้นจะมีมากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่เหมือนความรักตนเอง (น จ อตฺตสมํ เปมํ) ดังนั้น เมื่อทำการแผ่แก่ตนก่อนอยู่เสมอฯ แล้วความปรารถนาสุข กลัวทุกข์ อยากมีอายุยืน ไม่อยากตาย ที่มีประจำใจอยู่นั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นพิเศษ แล้วนึกเปรียบเทียบไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ล้วนแต่มีความปรารถนาเช่นเดียวกับตนทุกประการ การนึกเปรียบเทียบระหว่างตนกับผู้อื่นอย่างนี้แหละ เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เมตตาจิตเกิดขึ้นได้ง่าย และตั้งอยู่มั่นคง ในเมื่อทำการแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนถึงอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิเกิด พระพุทธองค์ก็ได้ทรงเทศนาไว้ว่า
สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา เนวชฺฌคา ปียตรมตฺตนา กฺวจิ เอวํ ปีโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺถกาโมติ ฯ แปลความว่า บุคคลเอาจิตใจค้นคว้าพิจารณาไปทั่วทิศ ย่อมไม่เห็นใครเป็นที่รักยิ่งกว่าตน ในที่ใดๆ ก็ตามตนนั้นแหละเป็นที่รักอย่างมาก คนอื่นก็เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ที่รักตนไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่นแม้กระทั้งมด ปลวก
วิธีแผ่เมตตาแก่ตน และ คนอื่น
การแผ่เมตตาแก่ตนมี ๔ ประการ
๑. อหํ อเวโร โหมิ ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอก
๓. อหํ อพฺยาปชฺโช โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาท
๓. อหํ อนีโฆ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลำบาก ใจ พ้นจากอุปัทวเหตุ
๔. อหํ สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้นำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนาน
ใน ๔ ประการนี้ จะใช้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
การแผ่เมตตาแก่คนอื่น มี ๔ ประการเช่นกัน ถ้าแผ่ไปในคนหนึ่งๆ ตามลำดับแล้ว ก็มีคำแผ่เป็นเอกพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวโร โหตุ ขอจงไร้ศัตรูภายในและภายนอกทั้งนี้กี
๒. อพฺยาปชฺโช โหตุ ขอจงไร้ความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาท
๓. อนีโฆ โหตุ ขอจงไร้ความลำบากกาย ใจ พ้นจากอุปัทวภัย
๔. สุขี อตฺตานํ ปริหรตุ. ขอจงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกายสุขใจ ตลอดกาลนาน
ถ้าแผ่ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปจนถึงประมาณไม่ได้แล้ว ก็มีคำแผ่เป็นพหูพจน์ว่าดังนี้
๑. อเวรา โหนฺตุ ขอจงไม่มีศัตรูภายในและภายนอกทั่วกัน
๒. อพฺยาปชฺชา โหนฺตุ ขอจงไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาททั่วกัน
๓. อนีฆา โหนฺตุ ขอจงไม่มีความลำบากกายใจ พ้นจากอุปัทวภัยทั่วกัน
๔. สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ ขอจงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกายสุขใจตลอดกาลนานทั่วกัน
ให้แผ่ในบุคคลที่กำลังรู้จักกัน กำลังชอบพอกัน กำลังทำงานร่วมกัน กำลังอยู่ด้วยกัน จากนั้นก็แผ่ไปในยุคคลที่เคยรู้จักกัน เคยชอบกัน เคยทำงานร่วมกันเคยอยู่ด้วยกัน เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อเดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว ตลอดจนถึง ๑๐ ปี๑๕ ปี ตามแต่จะนึกได้ จนกระทั่งสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่เว้น ถ้าแผ่ไปในคนหนึ่งๆ ก็ใช้คำที่เป็นเอกพจน์มี อเวโร โหตุ เป็นต้น ถ้าตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ใช้คำที่เป็นพนูพจน์มี อเวรา โหนฺตุ เป็นตัน จากนั้นก็แผ่กลับมาหาคนที่กำลังรู้จักกัน กำลังชอบพอกัน ฯลฯ เสร็จแล้วก็แผ่ไปในบุคคลที่เคยรู้จักกัน เป็นต้น นั้นอีก กลับไปกลับมาเรื่อยๆ ไปคล้ายกับการพิจารณา ๓๒ โกฎฐาส
การแผ่เมตตาไปในบุคคลตามลำดับ
อนึ่ง บุคคลที่ตนรู้จัก ชอบพอ ร่วมการงานอยู่ด้วยกันเหล่านี้แบ่งออกเป็น ๔ จำพวก คือ ๑. ปียบุคคล ๒. อติปียบุคคล ๓. มัชฌัตตบุคคล ๔. เวรีบุคคล ในบรรดาบุคคลทั้ง ๔ จำพวกนี้ ต้องแผ่แก่ปียบุคคลก่อน ถัดไปก็เป็นอติปิยบุคคล ต่อไปก็เป็นมัชฌัตตบุคคล ส่วนเวรีบุคคลนั้นต้องเอาไว้เป็นขั้นสุดท้าย เพราะขณะที่ทำการแผ่ไปในเวรีบุคคลอยู่นั้น โทสะมักจะเกิด ส่วนเมตตาไม่ใคร่จะมีโอกาสเกิดได้ ดังนั้น ผู้ปฎิบัติจึงต้องหาทางทำการอบรมจิตใจให้ดี โดยคำนึงถึงว่าการที่จะไปสู่อบายภูมินั้น หาใช่ไปด้วยอำนาจของเวรีบุคคลไม่ หากแต่ไปด้วยอำนาจโทสะ โกธะ ของตนต่างหาก ฉะนั้น เมื่อจะค้นหาศัตรูที่แท้จริงแล้วก็ได้แก่โทสะ โกธะ ของตนนี้เอง หาใช่เป็นเวรีบุคคลไม่ แล้วก็นึกถึงอานิสงส์ผลที่เกิดจากขันติ เมตตาอโทสะที่สัปปุรุษได้สร้างสมไว้เป็นสักขีพยาน แล้วก็ทำการแผ่ต่อไป ถ้ายังไม่หายโกรธ ก็ต้องพิจารณาตาม อนมตัคคสังยุตต์ (สยา. สังยุตตนิกาย นิทานวัคค อนมตัดคสังยุตย์ ทุติยวัคค หน้า ๒๒๓-๒๒๕, ฉ. หน้า ๓๕๕-๓๕๖ และวิสุทธิมัคค ปฐมภาค พรหมวิหารนิทเทส (ฉ.) สรุปไว้ในหน้า ๒๙๘) ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "น โส ภิกฺขเว สตฺโต สุลภรูโป โย น มาตา ภูตปุพฺโพ, โย น ปีตา ภูตปุพฺโพ, โย น ภาตาภูตปุพฺโพ, โย น ภคินี ภูตปุพฺพา, โย น ปุตฺโต ภูตปุพฺโพ, โย น ธีตาภูตปุพฺพา ฯ" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่เคยเป็นมารดาบิดาของตน ไม่เคยเป็นพี่น้องของตน ไม่เคยเป็นบุตรธิดาของตน บุคคลที่เป็นดังนี้หามีไม่ ฉะนั้น เวรีบุคคลนี้ก็เคยเกี่ยวพันกันกับเรามาแล้วแต่ชาติก่อน ๆ ไม่ควรที่เราจะไปถือโทษโกรธเคือง แล้วก็ทำการแผ่ต่อไป
มื่อผู้เจริญได้พยายามพิจารณาตามวิธีต่างๆ ที่จะให้เมตตาเกิดต่อเวรีบุคคล แต่เมตตาก็หาได้เกิดไม่ มีแต่โทสะอันเป็นศัตรูของการที่จะได้ฌาน ดังนี้ จงหยุดแผ่ไปในเวรีบุคคลนี้เสีย วางใจเป็นอารัมมณุเบกขาต่อเวรีบุคคล โดยคิดเสียว่าบุคคลนี้ไม่ได้อยู่ในโลกนี้ แล้วพร้อมกับปลีกตัวไปอย่าให้ได้พบเห็น ทำการแผ่ต่อไปแต่ในปียบุคคลและมัชฌัตตบุคคลทั่วไป จนกระทั่งเมตตาเกิดต่อบุคคล ๒ จำพวกทั่วไปนี้เสมอเท่ากันกับตน สำหรับอติปียบุคคลก็สงเคราะห์เข้าในปียบุคคลนั้นเองการที่ต้องพยายามแผ่เมตตาไปในเวรีบุคคลโดยวิธีพิจารณาต่างๆ ดังกล่าวนี้เพราะประสงค์จะให้เมตตาของตนเข้าถึงขั้น สีมสัมเภท หมายความว่า ทำลายขอบเขตของเมตตา ให้มีการเสมอกันไปในบุคคลทุกจำพวก สำเร็จเป็น สมจิตตตา มีเมตตาจิตสม่ำเสมอทั่วไป ไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง ทำให้ได้ฌานเร็วและตั้งมั่นไม่เสื่อมคลาย
ลักษณะอาการของเมตตาที่เป็นสีมสัมเภท
สมมุติว่าพระโยคีบุคคลผู้ทำการเจริญเมตตา กำลังนั่งอยู่พร้อมกันกับบุคคล ๓ จำพวก คือ ปียยุคคล ๑ มัชมัตตบุคคล ๑ เวรีบุคคล ๑ รวมเป็น ๔ ด้วยกัน มีโจรพวกหนึ่งเข้ามาบังคับว่า เราต้องการคนๆ หนึ่งในจำนวน ๔ คนนี้ ท่านจะให้เราจับคนไหน พระโยคีก็ถามว่า ท่านต้องการคนไปทำอะไร โจรตอบว่าจะเอาไปฆ่าเพื่อเอาโลหิตทำการบวงสรวงบูชายัญ เมื่อพระโยคีได้ประสบเหตุการณ์คับขันเช่นนี้ ถ้ามีจิตคิดเอนเอียงให้โจรจับคนที่เป็นศัตรู หรือ คนที่ไม่รัก ไม่ชัง หรือ คนที่รักไปคนใดคนหนึ่ง อย่างนี้ไม่เรียกว่าสำเร็จในสีมสัมเภท แม้ที่สุดจะมีจิตคิดให้คนทั้ง ๓ พ้นอันตรายตนเองยอมรับเคราะห์แทนก็ตามที ก็ยังไม่นับว่าสำเร็จในสีมสัมเภทอยู่นั้นเอง เพราะเป็นเมตตาที่ยังมีขอบเขต ต่อเมื่อพระโยคีมีจิตเสมอภาคทั่วไปในระหว่างคนทั้ง ๓ และตนเอง ชี้ลงไปไม่ได้ว่าจะให้จับใครเช่นนี้แล้ว จึงจะกล่าวได้ว่าสำเร็จในสีมสัมเภท ดังนั้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา (ฉ. ปฐมภาค หน้า ๓๐๐) ท่านจึงแสดงว่า
๑. อตฺตนิ หิตมชฺฌตฺเต อหิเต จ จตุพฺพิเธ
ยทา ปสฺสติ นานตฺตํ หิตจิตฺโตว ปาณินํ
๒. น นิกามลาภี เมตฺตาย กุสลีติ ปวุจฺจติ
ยทา จตสฺโส สีมาโย สมฺภินฺนา โหนฺติ ภิกฺขุโน
๓. สมํ ผรติ เมตฺตาย สพฺพโลกํ สเทวกํ
มหาวิเสโส ปุริเมน ยสฺส สีมา น นายติ (ฉ. - ญายตีติ) ฯ
แปลความว่า เมื่อใดพระโยคีเห็นความแตกต่างในบุคคล ๔ พวก คือ ตน ๑ ปียบุคคล ๑ มัชฌัตตบุคคล เวรีบุคคล ๑ เวลานั้น ท่านย่อมกล่าวว่าเป็นแต่เพียงมีจิตปรารถนาดีมุ่งประโยชน์ต่อสัตว์ทั้งหลาย แต่ยังกล่าวไม่ได้ว่าเป็นผู้มีเมตตาจิตเกิดได้ตามความพอใจของตน และชำนิชำนาญในการแผ่เมตตา เวลาใดเมตตาทั้ง ๔ ของภิกษุเสมอกันไม่มีขอบเขต ย่อมแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกพร้อมทั้งเทวดา พรหม ได้อย่างสม่ำเสมอ ขอบเขตแห่งเมตตาของภิกษุนั้นจึงไม่ปรากฏเห็นได้ เวลานั้น ภิกษุนั้น เป็นผู้วิเศษยิ่งใหญ่กว่าภิกษุก่อนที่ยังไม่สำเร็จเมตตาสีมสัมเภท
สำหรับเมตตาของพระโยคีบุคคล ที่มีอารัมมณุเบกขาในเวรีบุคคล ที่สำเร็จเป็นสีมสัมเภทนั้น ก็ต่อเมื่อเมตตาได้เกิดขึ้นมีทั่วไปใน ปียบุคคล มัชฌัตตบุคคล เสมอกับตนเวลาใด เวลานั้นก็เป็นอันว่าได้สำเร็จเมตตาที่สีมสัมเภท เพราะว่า จิตใจของพระโยคีที่วางเฉยในเวรีบุคคลอยู่นั้น เท่ากับเวรีบุคคลนั้นได้ละโลกไปแล้ว การแผ่เมตตาโดยนัยที่ได้กล่าวแล้วนี้ เป็นไปในบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตใจของตนโดยตรง ทำให้เมตตาเกิดขึ้นได้ง่าย แต่เป็นการยากลำบากสำหรับผู้ทำการแผ่ เพราะวิธีแผ่แบบนี้มิใช่แบบบริกรรมท่องจำ แต่จะต้องระลึกถึงให้เห็นด้วยใจของตน แล้วจึงจะแผ่ไป ดังนั้น จิตใจผู้แผ่จะต้องประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มั่นคง จึงจะทำการแผ่ตามหลักนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เจริญเมตตาจะต้องทำการแผ่ตามหลักนี้ก่อน จนกว่าจะได้สำเร็จเป็นสีมสมเภท จากนั้นจึงจะใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรมท่องจำแผ่ไปโดยส่วนรวม ดังจะได้แสดงต่อไปนี้
แบบบริกรรมท่องจำแผ่เมตตา ทั่วไป อย่างสามัญนั้น ว่าโดยอาการแห่งเมตตามี ๔ อย่าง ว่าโดยยุคคลที่ได้รับการแผ่มี ๑๒ จำพวก อาการแห่งเมตตา มี ๔ อย่างนั้น คือ อเวรา โหนฺตุ เป็นต้น บุคคลที่ได้รับการแผ่ ๑๒ จำพวกนั้นคือ อโนทิสบุคคล (บุคคลทั่วไปมิได้เจาะจง) มี ๕ จำพวก โอทิสบุคคล (บุคคลที่เจาะจง) มี ๗ จำพวก อโนทิสบุคคล ๕ จำพวก ได้แก่
๑. สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย
๒. สพฺเพ ปาณา สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย
๓. สพฺเพ ภูตา สัตว์ที่ปรากฎชัดทั้งหลาย
๔. สพฺเพ ปูคฺคลา บุคคลทั้งหลาย
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา สัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลาย
โอทิสบุคคล ๓ จำพวก ได้แก่
๑. สพฺพา อิตฺถิโย หญิงทั้งหลาย
๒. สพฺเพ ปุริสา ชายทั้งหลาย
๓. สพฺเพ อริยา พระอริยบุคคลทั้งหลาย
๔. สพฺเพ อนริยา ปุถุชนทั้งหลาย
๕. สพฺเพ เทวา เทวดาทั้งหลาย
๖. สพฺเพ มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย
๗. สพฺเพ วินิปาติกา พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลาย
ว่าโดย ทิศที่จะทำการแผ่ไป มี ๑๐ ทิศ คือ
๑. ปุรตฺถิมาย ทิสาย ทิศตะวันออก
๒. ปจฺฉิมาย ทิสาย ทิศตะวันตก
๓. อุตฺตราย ทิสาย ทิศเหนือ
๔. ทกฺขิณาย ทิสาย ทิศใต้
๕. ปุรตฺถิมาย อนุทิสาย ทิศตะวันออกเฉียงใต้
๖. ปจฺฉิมาย อนุทิสาย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
๗. อุตฺตราย อนุทิสาย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
๘. ทกฺขิณาย อนุทิสาย ทิศตะวันตกเฉียงใต้
๙. เหฏฺฐิมาย ทิสาย ทิศเบื้องล่าง
๑๐. อุปริมาย ทิสาย ทิศเบื้องบน
การแผ่เมตตาตามแบบบริกรรมท่องจำตามลำดับ
๑. สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตู, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๒. สพฺเพ ปาณา อเวรา โหนตุ, อพฺยาปชฺชา โหนฺตู, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ
๓. สพฺเพ ภูตา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตู,สุขี อตฺตานํ ปริหรนุตุ
๔. สพฺเพ ปุคฺคลา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ,อนีฆา โหนฺตุ, สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
รวม อโนทิสผรณาเมตตา (แผ่เมตตาไม่เจาะจง) ๒๐
๑. สพฺพา อิตฺถิโย อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตู, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๒. สพฺพา ปุริสา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๓. สพฺพา อริยา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๔ . สพฺพา อนริยา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๕. สพฺพา เทวา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีมา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๖. สพฺพา มนุสฺสา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, อนีฆา โหนฺตุ,สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
๗. สพฺพา วินิปาติกา อเวรา โหนฺตุ, อพฺยาปชฺฌา โหนฺตู, อนีฆา โหนฺตุ, สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
รวม โอทิสผรณาเมตตา (แผ่เมตตาโดยเจาะจง) ๒๘
อโนทิสผรณาเมตตา ๒๐
โอทิสผรณาเมตตา ๒๘
การแผ่โดยทิศทั้ง ๑๐
ปุรตฺถิมาย ทิสาย สพฺเพ สตฺตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา อเวรา โหนฺตุ อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ อนีฆา โหนฺตุ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้งหลาย ที่อยู่ทางทิศตะวันออกจงไม่มีศัตรูภายนอกทั่วกัน จงไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาททั่วกัน จงไม่มีความลำบากกาย ใจ พ้นจากอุปัทวภัยทั่วกัน จงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกายสบายใจ ตลอดกาลนานทั่วกัน
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทำการแผ่ไปในทำนองเดียวกันนี้เมื่อนับจำนวนเมตตาที่แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่งๆ ได้เมตตา ๔๘ รวม ๑๐ ทิศได้เมตตา ๔๘๐ เรียกว่า ทิสาผรณาเมตตา
ปุคคลผรณาเมตตา ๔๘ และ ทิสาผรณาเมตตา ๔๘๐ ทั้งสองอย่างนี้รวมเป็น ผรณาเมตตาพิสดาร ๕๒๘
อนึ่ง เมตตา ๕๒๘ ที่มีขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินี้ หาใช่มีขึ้นจากการแผ่ไปในคนๆ เดียวไม่ หากแต่มีขึ้นจากการที่ได้แผ่ไปในบุคคลทั้งหมด ๑๒ จำพวก ที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามีเมตตาต่อท่านถึง ๕๒๘" นั้นเป็นการกล่าวไม่ถูก
นิมิต ๓ กับ ภาวนา ๓ ในการเจริญเมตตา
นับตั้งแต่เริ่มแผ่เมตตาให้กับตนเองเป็นตัน จนถึงเวรีบุคคล รวมทั้ง ๔ จำพวกนี้ เรียกว่า บริกรรมนิมิต เมื่อเมตตาจิตเกิดมีทั่วไปในบุคคลทั้ง ๓ จำพวก แต่ยังไม่เข้าถึงขั้นสีมสัมเภท เรียกว่า อุคคหนิมิต เมื่อสำเร็จเป็นสีมสัมเภทแล้ว เรียกว่าปฏิภาคนิมิต ๓ อย่างนี้ อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตเป็นไปโดยอ้อม เพราะเป็นกรรมฐานที่ใช้ใจอย่างเดียว มิได้อาศัยการเห็น การกระทบ ทำการเจริญ ดังนั้นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต จึงไม่มีโดยตรง
ในนิมิต ๓ อย่างนี้ อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต เป็นไปโดยอ้อม เพราะเป็นกรรมฐานที่ใช้ใจอย่างเดียว มิได้อาศัยการเห็น การกระทบ ทำการเจริญ ดังนั้น อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต จึงไม่มีโดยตรง
ในขณะที่นึกบริกรรมด้วยใจว่า อเวโร โหมิ หรือ อเวโร โหตุ หรือ อเวรา โหนฺตุ เป็นต้น ไปใน อัตตะ ปียะ มัชฌัตตะ เวรีบุคคล อยู่นั้น เรียกว่าบริกรรมภาวนา การแผ่เมตตาในระหว่างที่ได้อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตนั้น เรียกว่าอุปจารภาวนา เมื่อรูปฌานเกิด เรียกว่า อัปปนาภาวนา
อานิสงส์ที่ได้รับจากการแผ่เมตตามี ๑๑ อย่างคือ
๑. สุขํ สุปติ นอนหลับสบายคล้ายเข้าสมาบัติ
๒. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ เมื่อตื่นก็สบายคล้ายกับออกจากสมาบัติ
๓. น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ ไม่ผันเห็นสิ่งที่ชั่ว และ เรื่องที่น่าเกลียดน่ากลัวผันเห็นแต่สิ่งที่ดีที่น่าปลื้มใจ
๔. มนุสฺสานํ ปีโย โหติ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๕. อมนุสฺสานํ ปีโย โหติ เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายมี เทวดาเป็นต้น
๖. เทวตา รกฺขนฺติ เทวดาย่อมรักษา
๗. นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ไฟ หรือ ยาพิษ หรือศาสตราวุธต่างๆ ทำร้ายไม่ได้
๘. ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ มีจิตใจสงบได้เร็ว
๙. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ มีหน้าตาผ่องใส
๑๐. อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ เมื่อเวลาตายจิตใจไม่ฟันเฟือน
๑๑. อุตฺตรมปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ แม้ว่ายังไม่ได้บรรลุมรรคผล อันประเสริฐในภพนี้ก็ตาม ถ้าได้รูปฌาน ก็จักไปบังเกิดในพรหมโลก
ข้อความที่ควรรู้ในเมตตากรรมฐาน
ข้อความที่ควรรู้ในเมตตากรรมฐาน มี ๘ อย่าง คือ
๑. ลักขณะ เครื่องหมาย
๒. รส หน้าที่
๓. ปัจจุปัฏฐาน อาการที่ปรากฎ
๔. ปทัฏฐาน เหตุใกล้
๕. สัมปัตติ ความสมบูรณ์
๖. วิปัตติ ความเสียหาย
๗. อาสันนปัจจัตถิกะ ข้าศึกใกล้
๘. ทูรปัจจัตถิกะ ข้าศึกไกล
(อัปปมัญญา ที่เหลือ ๓ ก็มี ๘ อย่าง เช่นเดียวกัน)
๑. ลักขณะ :- หิตาการปฺปวตฺติลกฺขณา มีความเป็นไปแห่งกาย วาจาใจ ในอันที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
๒. รส :- หิตปสํหารรสา มีการนำประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย อย่างใกล้ชิด เป็นกิจ
๓. ปัจจุปัฏฐาน : อาฆาตวินยปจฺจุปฺฐานา มีการบำบัดความแค้นเป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณาเมตตา
๔. ปทัฏฐาน :- มนาปภาวทสฺสนปทฏฺฐานา การพิจารณาแต่ความดีที่น่าพึงพอใจของสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีการนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เป็นเหตุใกลั
๕. สัมปัตติ :- พฺยาปาทูปสโม สมฺปตฺติ การสงบความพยาบาทลงได้เป็นเวลานาน เป็นความสมบูรณ์ของเมตตา
๖. วิปัตติ :- สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ การเกิดขึ้นแห่งตัณหาที่เหนียวแน่นนี้เป็นความเสียหายแห่งเมตตา
๗. อาสันนปัจจัตถิกะ :- ราโค อาสนฺนปจฺจตฺถิโก ราคะ เป็นข้าศึกใกล้ของเมตตา
๘. ทูรปัจจัตถิกะ :- พฺยาปาโท ทูรปจฺจตฺถิโก พยาบาท เป็นข้าศึกไกลของเมตตา
จบเมตตา
------------///------------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ