อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๖
แสดงการจำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยนิมิต ๓
คำว่า "โคจระ" และ "นิมิต" ทั้งสองนี้เป็นคำที่แสดงถึงอารมณ์ หมายความว่า อารมณ์กรรมฐานนี้เรียกว่า โคจระก็ได้ เรียกว่า นิมิตก็ได้ ดังนั้น ในการจำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยนิมิต ๓ พระอนุรุทธาจารย์จึงให้ชื่อว่า โคจรเภท
ก. ที่ท่านกล่าวว่า บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตทั้ง ๒ นี้ ย่อมเกิดในกรรมฐานได้ทั้งหมด แต่มีคำท้ายประกอบว่า โดยปริยายตามสมควร (ยถารหํ ปริยาเยน) นั้นหมายความว่า กรรมฐานบางอย่างได้บริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิตโดยปริยาย บางอย่างก็ได้โดยตรง เหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์จึงกล่าวว่าได้โดยปริยายตามสมควรแก่กรรมฐาน
กรรมฐานที่ได้นิมิตทั้ง ๒ โดยปริยายนั้นได้แก่อนุสสติ ๘ อัปปมัญญา ๔ สัญญา ๑ ววัตถาน ๑ อารุปป ๔ เนื่องด้วยการเจริญกรรมฐานประเภทนี้ไม่มีการเพ่งการกระทบ ไม่มีภาพมาปรากฏทางใจ ส่วนกรรมฐานที่ได้นิมิตทั้ง ๒ โดยตรงนั้นได้แก่กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานัสสติ ๑ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกรรมฐานเหล่านี้มีการเพ่ง การกระทบมีภาพปรากฏติดทางใจ
ความเป็นไปแห่งบริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิต ของกรรมฐานที่ได้โดยปริยายและโดยตรงนี้ ความมีแจ้งชัดอยู่แล้วในเรื่องกรรมฐานนั้นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ข. การเจริญกรรมฐาน ๑๘ อย่าง คือ อนุสสติ ๘ อัปปมัญญา ๔ สัญญา ๑ ววัตถาน ๑ อารุปป ๔ เหล่านี้ ภาวนาจิตของผู้เจริญครั้งแรกขณะที่สมาธิยังอ่อนอยู่และ ครั้งหลังขณะที่สมาธิได้แก่กล้าขึ้นแล้ว ก็คงมีพุทธคุณเป็นต้น เป็นอารมณ์อยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การเจริญกรรมฐาน ๑๘ อย่างนี้จึงไม่ได้ปฏิภาคนิมิต และฌานที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญอัปปมัญญา ๔ ก็ดี และอารุปป ๔ ก็ดี ฌานเหล่านี้ คงมีอุคคหนิมิตเป็นปริยายเป็นอารมณ์เท่านั้น สำหรับปฏิภาคนิมิตที่แสดงไว้ในวิธีเจริญอัปปมัญญา ๔ ณ ข้างต้นนั้นก็เพียงแต่อนุโลมเข้าโดยปริยายเช่นเดียวกัน
ส่วนการเจริญกสิณ ๑๐ อสุก ๑๐ โกฏฐาส ๑ อานาปานัสสติ ๑ นั้นผู้เจริญย่อมได้ปฏิกาคนิมิตโดยตรงอย่างแน่นอน เพราะกรรมฐานเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้กล่าวคือ ภาวนาจิตครั้งแรกขณะที่สมาธิยังอ่อนอยู่ก็มีบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตเป็นอารมณ์ ครั้นต่อมาเมื่อภาวนาจิตครั้งหลังมีสมาธิแก่กล้าขึ้นแล้วก็มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ และฌานจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็รับปฏิคาคนิมิตเป็นอารมณ์ต่อไป
ตามข้อความทั้ง ๒ ข้อที่พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงไว้นี้ สรุปเรื่องนิมิต และภาวนา ได้ว่า กรรมฐานที่มีปฏิกาคนิมิตโดยตรงนั้น บริกรรมสมาธิมีบริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิมีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ ส่วนกรรมฐานที่ไม่ได้ปฏิกาคนิมิตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมนั้น บริกรรมสมาธิมีบริกรรมนิมิตเป็นอารมณ์อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิมีอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์
อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๗-๑๘-๙๕-๒๐
ข้อความในบาลีข้อที่ ๑๗ นั้น พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงการจำแนกนิมิต ๓ ภาวนา ๓ ที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน ๒๒ ด้วยการยกปถวีกสิณขึ้นเป็นตัวอย่างสำหรับคำพรรณนาเนื้อความโดยละเอียดในบาลีข้อนี้ มีแจ้งชัดไว้แล้วในหน้า ๔๗ เป็นต้นจนถึง ๖๔
ข้อความในบาข้อที่ ๑๘ นั้น พระอนุรุทธาจารย์ได้ขี้แนวทางการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ได้ทุติยฌานเป็นต้น หลังจากที่ได้ปฐมฌานแล้ว คำพรรณนาเนื้อความโดยละเอียดมีในหน้า ๖๖ จนถึง ๗๒
ข้อความในบาลีข้อที่ ๑๙ นั้น พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงอารมณ์ที่ให้ได้ถึงอัปปนาฌานด้วยการเจริญอัปปมัญญา ๔ และอารุปป ๔ ซึ่งเป็นกรรมฐานที่มิได้มีนิมิต ๓ โดยตรง คำพรรณนาเนื้อความโดยละเอียดมีในหน้า ๗๒ จนถึง ๘๑ และหน้า ๑๗๘ จนถึง ๒๐๕
ข้อความในบาลีข้อที่ ๒๐ นั้น พระอนุรุทธาจารย์ได้จำแนกนิมิต และ ภาวนา ในการเจริญกรรมฐาน ๑๐ อย่าง มีพุทธานุสสติ เป็นตัน ซึ่งเป็นกรรมฐานที่มิได้ถึงอัปปนาและไม่ได้ปฏิภาคนิมิต คำพรรณนาเนื้อความโดยละเอียดมีอยู่แล้วในการแสดงกรรมฐานแต่ละอย่างโดยเฉพาะๆ
สำหรับคำว่า "ปริพนฺธ" ที่มีอยู่ในข้อ ฆ. แห่งบาลีข้อที่ ๑๗ นั้น มีวจนัตถะแสดงว่า "จิตฺตํ ปริพนฺเธนฺติ นิวาเรนฺตีติ = ปริพนฺธา" ธรรมเหล่าใดย่อมกั้นกางกุศลจิตมิให้เกิด จะนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ปริพันธะ องค์ธรรมได้แก่ นิวรณ์ ๕
จบการจำแนกกรรมฐาน ๔๐ โดยนิมิต ๓ และภาวนา ๓
----------///----------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ