๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
[๗๕๗] โยคีผู้นั้น เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากสังขารทั้งหลายซึ่งมีแต่ความแตกดับ อันดำเนินไปอยู่ในภพ ในกำเนิด ในคติ ในฐิติ และในนิวาส ทุกหนทุกแห่งดังกล่าวนั้น จึงยกเอาสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกำหนดรู้ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณต่อไปอีก เพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง โยคีนั้นก็เห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง ด้วยเหตุทั้งหลาย เป็นต้นว่า...
- อนัจจันติกโต(1) โดยไม่เป็นไปเลยที่สุด
- ตาวกาลิกโต โดยเป็นไปชั่วคราว
- อุปปาทวยปริจฉินนโต โดยกำหนดได้ด้วยความเกิดและความดับ
- ปโลกโต โดยแตกทำลาย
- ขณิกโต โดยเป็นไปชั่วขณะ
- จลโต โดยความหวั่นไหว
- ปภังคุโต โดยผุพัง
- อัทธุวโต โดยไม่ยั่งยืน
- วิปริณามธัมมโต โดยมีความแปรผันอยู่เป็นธรรมดา
- อสารกโต โดยไม่มีสาระ
- วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ
- สังขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งขึ้นไว้
- มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา
----------------
(1) ถ้ารูปศัพท์เป็น "อนิจฺจนฺติกโต" แปลว่า โดยมีจุดจบโดยความไม่เที่ยง
----------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๙๓
เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) ว่า เป็นทุกข์ ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า...
- อภิณหปฏิปีฬนโต โดยเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ
- ทุกขมโต โดยทนได้ยาก
- ทุกขวัตถุโต โดยเป็นที่ตั้งของทุกข์ ทุกขวัตถุโต
- โรคโต โดยเป็นโรค
- คัณฑโต โดยเป็นแผลฝี
- สัลลโต โดยเป็นลูกศรเสียบ
- อฆโต โดยความชั่วร้าย
- อาพาธโต โดยความป่วยไข้
- อีติโต โดยความหายนะ
- อุปัททวโต โดยเป็นอุปัทวะ
- ภยโต โดยเป็นภัย
- อุปสัคคโต โดยเป็นอุปสรรค
- อตาณโต โดยไม่เป็นที่ต้านทาน
- อเลณโต โดยไม่เป็นที่หลบลี้
- อสรณโต โดยไม่เป็นที่พึ่ง
- อาทีนวโต โดยเป็นโทษร้าย
- อฆมูลโต โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย
- วธกโต โดยเป็นฆาตกร
- สาสวโต โดยมีอาสวะ
- มารามิสโต โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร
- ชาติธัมมโต โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา
- ชราธัมมโต โดยมีความแก่เป็นธรรมดา
- พยาธิธัมมโต โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา
- มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา
- โสกธัมมโต โดยมีความโศกเป็นธรรมดา
- ปริเทวธัมมโต โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา
- อุปายาสธัมมโต โดยมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
- สังกิเลสิกธัมมโต โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
-------------
น. ๑๐๙๔ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) โดยอสุภะ (ความไม่งาม) โดยเป็นบริวารของทุกขลักขณะ ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า...
- อชัญญโต โดยเป็นของไม่งาม
- ทุคคันธโต โดยมีกลิ่นเหม็น
- เชคุจฉโต โดยเป็นของน่าเกลียด
- ปฏิกูลโต โดยเป็นของปฏิกูล
- อมัณฑนโต โดย (ปรากฎชัดด้วย) การไม่ตบแต่ง
- วิรูปโต โดยเป็นรูปพิการ
- วิภัจฉโต โดยเป็นของควรสลัดทิ้งไป
เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) โดยความเป็นอนัตตา ด้วยเหตุทั้งหลาย เป็นต้นว่า
- ปรโต โดยเป็นอื่น
- ริตตโต โดยเป็นของเปล่า
- ตุจฉโต โดยความเป็นของเปล่า
- สุญญโต โดยความเป็นของสูญ
- อัสสามิกโต โดยความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ
- อนิสสรโต โดยความไม่มีอิสระ
- อวสวัสติโก โดยความไร้อำนาจ
[๗๕๘] โยคีท่านนี้ ผู้เห็นอยู่ด้วยประการดังกล่าวมานี้แหละ เป็นอันเรียกได้ว่ายกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่
อุปมาด้วยบุรุษจับปลา
(ถามว่า) แต่โยคาวจรผู้นี้กำหนดรู้สังขารทั้งหลายเหล่านี้อยู่อย่างนั้นเพื่ออะไร :
(ตอบว่า เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพันไป (จากสังขารทั้งหลาย) ในการบรรลุอุบายแห่งการพ้นไปนั้น มีอุปมาดังต่อไปนี้
สมมติว่า บุรุษผู้หนึ่ง คิดจักจับปลา คว้าเอาสุมจับปลาไปสุ่มลงในน้ำ บุรุษผู้นั้นหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม จับเอางูไว้ที่คอใน (ใต้) น้ำ ก็ดีใจว่า ข้าจับปลาได้แล้ว
------------------
ปริจเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ น. ๑๐๙๕
เขานึกอยู่ว่า "ข้าได้ปลาตัวใหญ่จริงๆ" จึงยกขึ้นมาดู พอเห็นสวัสติกะ (ดอกจัน) ๓ อันก็รู้ได้ว่าเป็นงู จึงกลัว เห็นโทษร้าย ท้อใจในการจับ (งู) ไว้ ปรารถนาเพื่อที่จะพ้นไปจึงทำอุบายเพื่อพันไป (จากงู) แกะปลดมือออก (จากงู) ตั้งแต่ปลายหาง แล้วยกแขนขึ้นแกว่ง (งู) เหนือศีรษะ ๒-๓ รอบ ทำให้งูเปลี้ย แล้วเหวี่ยง (งู) ไปด้วยคำว่า "ไป ! เจ้างูร้าย" แล้วรีบขึ้นขอบหนอง ยืนมองดูทางที่ตนมา โดยรำพึงอยู่ว่า "เอาละเป็นอันว่าเรารอดพ้นจากปากของเจ้างูใหญ่มาได้แล้ว"
ในอุปมานั้น กาลเวลาที่โยคีแม้นี้ได้อัตภาพ (เกิดเป็นมนุษย์) แล้ว ยินดีพอใจมาตั้งแต่แรก (รู้ความ) นั่นเลย เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษผู้นั้นจับงูที่คอมันไว้แล้วดีใจว่าเป็นปลา การที่โยคีผู้นี้ทำการย่อยความเป็นก้อน (ของสังขาร) ออกไป แล้วเห็นพระไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เปรียบความเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นนำเอาหัว(งู)ออกมาจากปากสุ่ม แล้วเห็นสวัสติกะ ๓ อัน ภยตุปัฏฐานญาณ (ญาณกำหนดรู้ในความปรากฎโดยความเป็นที่น่กลัว) ของโยคีท่านนี้ เปรียบเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นกลัว(งู) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนื่องๆ ซึ่งโทษร้าย) เปรียบเหมือนการเห็นโทษร้ายจากการจับงูนั้น, นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนือง ๆ ด้วยความเบื่อหน่าย) เปรียบความท้อใจในการจับ (งู) ไว้ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาที่จะพ้นไป) เปรียบเหมือนความมุ่งหมายที่จะพ้นงู การยกพระไตรลักษณ์เข้าในสังขารทั้งหลายด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณเปรียบเหมือนการทำอุบายแห่งการพ้นไป (จากงู)
ความจริง บุรุษผู้นั้นแกว่งงูทำให้มันเปลี้ย ทำให้มันไม่สามารถวกมากัดได้ แล้วปล่อยมันไป เป็นการปล่อยอย่างดี ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้น เวียนกำหนดสังขารทั้งหลายด้วยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ทำให้ทุพลภาพ ทำให้ถึงความไม่สามารถปรากฎโดยอาการเที่ยงเป็นสุข เป็นของงดงาม และเป็นอัตตาได้อีกต่อไปชื่อว่าพ้นไป เป็นการพ้นไปอย่างดี เพราะฉะนั้น จึงกล่าวไว้ (ข้างต้น) ว่า "กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพ้นไป"
[๗๕๙ เป็นอันว่า ปฏิสังขาญาณ เกิดขึ้นแล้วแก่โยคาวจรท่านนั้น ด้วยการกำหนดเพียงเท่านี้ ซึ่งเป็นญาณที่ท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ว่า-
----------------------
น. ๑๐๕๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
(ถามว่า) "เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณกำหนดรู้ทบทวน(ปฏิสังขาญาณ) อะไรเกิดขึ้น ? เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณกำหนดรู้ทบทวนอะไรเกิดขึ้น"
(ตอบว่า) "เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณกำหนดทบทวนซึ่งนิมิตเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณกำหนดรู้ทบทวนความเป็นไป (ของสังขารทั้งหลาย) เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณกำหนดรู้ทบทวนทั้งนิมิตและความเป็นไปเกิดขึ้น" ดังนี้ "(1)
และคำว่า "กำหนดรู้ทบทวนซึ่งนิมิต" ในพระบาลีนั้น หมายความว่า รู้นิมิตคือสังขาร โดยอนิจจลักษณะว่า "ไม่ยั่งยืน เป็นไปชั่วคราว" ก็และเป็นความจริงว่า รู้ก่อนแล้ว ญาณเกิดขึ้นภายหลัง ถึงกระนั้น ท่านก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยโวหาร ดุจดังคำว่า "อาศัยใจและธรรมารมณ์ โนวิญญาณเกิดขึ้น"(2) ดังนี้เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะทำคำหน้า (ปฏิสังขา - รู้ทบทวน) และคำหลัง(อุปฺปชซติ - เกิดขึ้น ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเอกัตตนัย ถึงแม้ในอีก ๒ บท ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้
จบ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
-----------------------
(1) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๒๒๗/๓๘๓
(2) ดูเทียบ ม. อุ. (ไทย ๑๔/๔๒๑/๔๗๗
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ