การเจริญสีลานุสสติ


      สีลานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้โดยปราศจากโทษ ๔ อย่างมี อขัณฑะเป็นต้นอยู่เนืองๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ ดังแสดงวจนัตถะว่า "สลํ อนุสฺสติ  สีลานุสสติ" การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้โดยปราศจากโทษเนืองๆ ชื่อว่า สีลานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีการเวัน การรักษา ตามสิกขาบทนั้นๆ


วิธีเจริญสีลานุสสติ

การเจิรญสีลานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทั้ง ๕ ประการเสียก่อน คือ

      ๑. จะต้องชำระศีลของตนให้พ้นจากโทษทั้ง ๔ แล้วตั้งอยู่ในคุณทั้ง ๔ จนครบบริบูรณ์ อย่างหนึ่ง

      ๒. จะต้องมีจิตใจพ้นไปจากความเป็นทาสแห่งตัณหา กล่าวคือ การรักษาศีลที่ไม่มีความมุ่งหวังต่อโลกียสมบัติ อย่างหนึ่ง

      ๓. มีการปฏิบัติกาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในสิกขาบทอย่างเคร่งครัด จนมิอาจที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะมาจับผิดโดยอ้างวัตถุขึ้นแสดงเป็นหลักฐานได้ อย่างหนึ่ง

      ๔. ความประพฤติด้วยกาย วาจา ของตนนั้น แม้ว่าคนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูแก่ตนจะไม่มีความเห็นดีเห็นชอบด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญอย่างหนึ่ง

      ๕. ต้องประกอบด้วยความรู้ว่า ศีลนี้เป็นเหตุทำให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิและ มรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นได้

      เมื่อความประพฤติปฏิบัติของตนถูกต้องตรงตามหลักทั้ง ๕ ประการนี้แล้วก็ลงมือทำการระลึกไปในศีลดังต่อไปนี้

            อโห เม วต สีลํ เห     อขณฺฑํ อฉิทฺทํ หเว

            อสพลํ อกมฺมาสํ        ภุชิสฺสํ อปรามสํ

            ปสฏฺฐํ สพฺพวิญฺญูหิ      สมาธิ สํวตฺตนกํฯ

      ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ดีน่าปลื้มใจจริงหนอ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

      โดยแน่นอน ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ ทำให้เราพ้นไปจากการเป็นทาสของตัณหา ศีลของ

      เรานี้มิอาจที่จะมีผู้มากล่าวหาได้ ศีลของเรานี้ คนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูกับเราจะไม่มี

      การเห็นดีด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายนั้นย่อมสรรเสริญ ศีลของเรานี้เป็นเหตุทำให้

      อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และมรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน


แสดงศีลที่มีโทษ และ พ้นไปจากโทษ

      ศีลที่มีโทษนั้นมี ๔ อย่าง คือ ๑. ขณฺฑสีลํ = ศีลขาด ๒. ฉิทฺทสีลํ =ศีลเป็นรู ๓. สพลสีลํ = ศีลด่าง ๔. กมฺมาสสีลํ = ศีลพร้อย ศีลที่พันไปจากโทษมี ๔ อย่าง คือ ๑. อขณฺฑสีลํ - ศีลไม่ขาด ๒. อฉิทฺทสีลํ = ศีลไม่เป็นรู  ๓. อสพลสีลํ = ศีลไม่ด่าง  ๔. อกมฺมาสสีลํ = ศีลไม่พร้อย 

      ขณฺฑสีล ได้แก่ ศีลของกฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบทข้อต้นหรือ ข้อปลายอย่างใดอย่างหนึ่งขาดไป เช่นในศีล ๘ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณี หรืออุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป ศีลอย่างนี้ เรียกว่า ขัณฑศีล, อขณฺฑสีล ได้แก่ ศีลของคฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบทข้อต้น หรือข้อปลายทั้ง ๒  อย่างนั้นมิได้ขาด คงรักษาไว้ได้เป็นปกติ ศีลอย่างนี้เรียกว่าอขัณฑศีล

      ฉิทฺทสีลํ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป ศีลอย่างนี้เรียกว่า ฉิททศีล

      อฉิทฺทศีลํ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลางทั้ง ๖ ข้อนั้นไม่ขาด คงรักษาไว้ได้เป็นปกติ ศีลอย่างนี้เรียกว่า อฉิททศีล

      สพลสีลํ ได้แก่สิกขาบทท่ามกลาง คือ ข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ นั้นขาดไปหรือ ๓ ข้อ แต่ไม่ใช่ขาดไปเป็นลำดับ (คือติดกัน) เช่น ในศีล ๘ นั้นสิกขาบทข้อที่๒ กับ ข้อที่ ๔ หรือข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๒ ที่ ๔ กับที่ ๖ หรือข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๕ หรือข้อที่ ๒ กับที่ ๗ หรือข้อที่ ๒ ที่ ๕ กับที่ ๓ เหล่านี้ขาดไป หรือข้อที่ ๓ กับที่ ๕ หรือข้อที่ ๓ กับที่ ๗ หรือข้อที่ ๕ กับที่ ๗ หรือข้อที่ ๓ ที่ ๕ กับ ที่ ๓ หรือข้อที่ ๓ กับที่ ๖ ขาดไป หรือพูดกลับ เอาข้อปลายย้อนไปหาข้อต้นในหลักเช่นเดียวกัน ที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ ศีลอย่างนี้เรียกว่า สพลศีล, 

      อสพลสีลํ ได้แก่ สิขาบทท่ามกลางทั้ง ๖ ข้อนั้น แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ขาด คงรักษาไว้ได้เป็นปกติ ศีลอย่างนี้เรียกว่า อสพลศีล 

      กมฺมาสสีลํ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ นั้น ขาดไป ๗ หรือ ๓ (หรือ ) ติดต่อกันโดยลำดับ (ถ้าขาดไปถึง ๔ ข้อก็นับว่าหนัก) เช่นในศีล ๘ นั้น สิกขาบทข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๓ หรือข้อที่ ๒ ข้อที่ ๓ กับข้อที่ ๕ หรือข้อที่ ๒ ข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๕ หรือข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๕ หรือข้อที่ ๓ ข้อที่  กับข้อที่ ๕ หรือ ข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๕ หรือข้อที่ ๔ ข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๔ ข้อที่ ๕ ข้อที่ ๖ กับข้อที่ ๗ หรือข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๕ ข้อที่ ๖ กับข้อที่ ๗ หรือข้อที่ ๖ กับข้อที่ ๗ ขาดติดต่อกันไปโดยลำดับ ศีลอย่างนี้เรียกว่า กัมมาสศีล 

      อกมฺมาสสีลํ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลางทั้ง ๖ ข้อนั้นไม่ขาด แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง คงรักษาไว้ได้เป็นปกติบริบูรณ์ ศีลอย่างนี้เรียกว่า อกัมมาสศีล


จบสีลานุสสติ

------------///-----------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,สีลานุสสติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.