อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๑ ที่แสดงถึงธาตุทั้ง ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
จตุธาตุววัตถาน หมายความว่า การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่ปรากฏในร่างกาย จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียงกองแห่งธาตุ โดยปราศจากความจำว่าเป็น หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคลเสียใด้ เรียกว่า จตุธาตุววัตถาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมหากุศล มหากริยา
ในจตุธาตุววัตถานนี้ ผู้เจริญจะต้องทำการพิจารณาธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตนธาตุ ๔ ที่มีอยู่ภายในตนนี้ เมื่อนับโดยพิสดารแล้วมี ๔๒ คือ ปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโซธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖
บรรดาธาตุ ๔๒ นี้
- เกสา โลมา เป็นต้นจนถึงมัตถลุงคัง รวมเป็น ๒๐ โกฏฐาส มีลักษณะสัญฐานเป็นก้อนเป็นแท่ง ฉะนั้นท่านจึงจัดเป็นปถวีธาตุ
- ปีตตัง เป็นต้นจนถึงมุตตัง รวมเป็น ๑๒ โกฏฐาส มีลักษณะเหลวและไหลได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอาโปธาตุ
- ไออุ่นที่ทำให้ร่างกายมีความร้อนมากเรียกว่า สันตัปปนเตโช ไออุ่น ที่มีความร้อนสูงสามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไปเรียกว่า ทหนเตโช ไออุ่นที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง เรียกว่า ชีรณเตโช ไออุ่นที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร เรียกว่า ปาจกเตโช รวมเป็นเตโชธาตุ ๔ (สำหรับอุสมาเตโช นั้นไม่ต้องนับโดยเฉพาะอีก เพราะเข้าอยู่ในเตโช ๓ อย่างข้างต้นนั้นแล้ว) ทั้งหมดนี้ จัดเป็น เตโชธาตุ ๔
- ลมพัดขึ้นเบื้องบน เรียกว่า อุทธังคมวาโย ลมพัดลงสู่เบื้องล่าง เรียกว่า อโธคมวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง เรียกว่า กุจฉิฏฐวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ เรียกว่า โกฏฐาสยวาโย ลมที่อยู่ทั่วร่างกาย เรียกว่า อังคมังคานสารีวาโย ลมหายใจเข้าออก เรียกว่า อัสสาส-ปัสสาสวาโย รวมเป็นวาโยธาตุ ๖
ดังนั้น ที่เรียกกันว่า หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล มนุษย์ เทวดา พรหมนั้น หาใช่อื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ธาตุ ๔ ที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นกอง ปรากฏขึ้นเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ กันตามอำนาจของกรรมนั้นเอง
การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่มีในกายตนนี้ มี ๒ ประการ คือ โดยย่อและโดยพิสดารใน ๒ ประการนี้ ผู้ที่เป็นติกขบุคคล ทำการพิจารณาเพียงแต่โดยย่อ ธาตุทั้ง ๘ ก็ปรากฎแจ่มแจ้ง ขจัดความเห็นว่าเป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตตชีวะลงได้ ส่วนมันทบุคคล นั้น ต้องพิจารณาโดยพิสดาร ธาตุทั้ง ๔ จึงจะปรากฏแจ่มแจ้ง ขจัดความเห็นว่าเป็นหญิง ชาย ฯลฯ ให้หายไป
วิธีพิจารณาโดยย่อ
ผู้ปฏิบัติจะต้องทำการพิจารณาด้วยใจก่อน ตามหลักที่พระธรรมเสนาบดีได้กล่าว แนะนำว่า บรรดาที่อาศัยต่างๆ อันชาวโลกทั้งหลายกล่าวเรียกกันว่าเป็นเคหสถานบ้านเรือนเหล่านี้ หาใช่อะไรอื่นไม่ แท้จริงนั้นก็ได้แก่ไม้ อิฐ ปูน ทราย สังกะสี กระเบื้อง ตะปู เหลีก รวมกันปรากฎขึ้น โดยส่วนล่างมีเป็นแผ่นดินรองรับส่วนบนและรอบบริเวณมีเป็นอากาศล้อมรอบ ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของเรานี้ก็ได้แก่กระดูก ๓๐๐ ท่อนเศษ เส้นเอ็น ๙๐๐ ก้อนเนื้อ ๙๐๐ ผิวหนังทั่วกายใหญ่ประมาณเท่าเมล็ดมะขามป้อม ก็อยู่เพียงเท่านี้เอง ควบคุมกันเข้าเป็นรูปร่างสัญฐานปรากฎขึ้นในที่ที่มีอากาศล้อมรอบ
กายที่มีแต่กระดูก เส้นเอ็น กัอนเนื้อ ผิวหนัง ควบคุมกันอยู่นี้ เมื่อจะค้นคว้า หาสิ่งที่มีจริงและปรากฏชัดแล้ว ก็แต่เพียง ๔ อย่าง คือ สิ่งที่แข็งกระด้างเป็นปถวีธาตุธาตุดิน สิ่งที่เกาะกุมเหนียวและเอิบอาบซึมซาบไหลเป็นอาโปธาตุ-ธาตุน้ำ สิ่งที่ทำให้สุกโดยอาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลง และ ความเย็นร้อนในกายทั่วไปเป็นเตโซธาตุ-ธาตุไฟ สิ่งที่ทำให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่นและ คลื่อนไหวไปมาได้เป็นวาโยธาตุ-ธาตุลม จากนี้ก็มีการพิจารณาทั้งทางวาจาและใจพร้อมกันไปมีดังนี้
ยถา ปฏิจฺจ กฏฺฐาทึ อาคารนฺติ ปวุจฺจติ
เอวํ ปฏิจฺจ อฏฺฐฺยาทึ สรีรนฺติ ปวุจฺจติ ฯ
แปลความว่า อาศัยไม้เป็นต้น แล้วเรียกว่า บ้าน กุฎี ศาลา อาคารต่างๆ ฉันใด
อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง แล้วเรียกว่า ร่างกาย ก็ฉันนั้น
อฏฺฐิ นหารุญฺจ มิสญฺจ จมฺมญฺจ จตุกํ ปตํ
ปริวาริโต อากาโส สงฺขยํ รูปนฺติ คจฺฉติ ฯ
แปลความว่า ช่องอากาศที่ล้อมรอบโดยอาศัยบริวาร ๔ อย่าง มีกระดูก ๓๐๐ เศษ เส้นเอ็น ๙๐๐ ก้อนเนื้อ ๙๐๐ หนังหนาและหนังผิวรวมกันอยู่ได้ชื่อว่า ร่างกาย
โย อิมสฺมึ กาเย ถทฺธภาโว วา ขรภาโว วา อยํ ปฐวีธาตุ, โย อาพนฺธนภาโว วา ทฺรวภาโว วา อยํ อาโปธาตุ, โย ปริปาจนภาโว วา อุณฺหภาโว วา อยํ เตโซธาตุ, โย วิตฺถมฺภนภาโว วา สมุทีรณภาโว อยํ วาโยธาตุ ฯ
แปลความว่า ในร่างกายนี้ ส่วนที่แข็งและกระด้าง ส่วนนั้นเป็นปถวีธาตุ ส่วนที่เกาะกุมเหนียวเอิบอาบซึมซาบไหล ส่วนนั้นเป็นอาโปธาตุ สิ่งที่ทำให้สุกโดยอาการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว หนังเหี่ยวย่น แก่หง่อมลงก็ดี ความเย็นร้อนในกายทั่วไปก็ดี เหล่านี้เป็นเตโชธาตุ สิ่งใดทำให้อิริยาบถใหญ่น้อยเคร่งตึงตั้งมั่นก็ดี ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้ก็ดี เหล่านี้เป็นวาโยธาตุ
อิติ อยํ กาโย อเจตโน อพฺยากโต สุญฺโญ นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว ธาตุสมูโหเยว ฯ
แปลความว่า ร่างกายนี้ไม่มีจิตใจ เป็นอพยากตะ ปราศจากการวุ่นวาย
สูญจากความเป็นตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวะอะไรๆ ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุทั้ง ๔ รวมกันอยู่
เท่านั้น ดังที่ได้กล่าวแล้ว
วิธีพิจารณาโดยพิสดาร
ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาธาตุทั้ง ๔๒ มีปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ โดยเฉพาะฯ ไปตามลำดับดังนี้
เกสา ได้แก่ผมที่งอกอยู่บนศีรษะนั้น มิได้รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ หนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิได้เป็นสัตตชีวะ แต่ประการใด เพียงแต่เป็นปถวีธาตุเท่านั้น ต่อไปก็พิจารณาดูว่า ผมที่มีรูปร่างสัณฐานเป็นเส้นๆ นี้ นอกจากเป็นปถวีธาตุแล้วก็ยังมีอาโป เตโช วาโย อันเป็นนิสสยธาตุที่อาศัย ๓ และวัณณะ คันธะ รสะ โอชา อันเป็นนิสสิตธาตุ ธาตุอาศัยเกิด ๔ รวมอยู่ด้วย เป็นแต่อวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น หาใช่เป็นสัตตชีวะแต่อย่างใดไม่
สำหรับการพิจารณาโลมาเป็นต้นจนมาถึงมัตถลุงคัง โดยความเป็นปถวีธาตุก็ดี แล้วจำแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี อาโปธาตุ ๑๒ มีปีตตังเป็นต้น จนถึง มุตตังโดยความเป็นอาโปธาตุ แล้วจำแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี เตโชธาตุ ๔ มีสันตัปปนเตโชเป็นต้นจนถึงปาจกเตโช โดยความเป็นเตโชธาตุ ก็ดี แล้วจำแนกออกไปโดยความเป็นอวินิพโภครูป ๘ ก็ดี วาโยธาตุมีอุทธังคมวาโย เป็นต้นจนถึง อัสสาสปัสสาสวาโย โดยความเป็นวาโยธาตุก็ดีแล้วจำแนกออกไปโดยความเป็น อวินิพโภครูป ๘ ก็ดี ทั้งหมดนี้ก็มีการพิจารณาไปเช่นเดียวกันกับการพิจารณาเกสานั้นเอง
เมื่อสรุปการพิจารณาธาตุ ๔๒ ที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และสี กลิ่น รสโอชาแล้ว พระโยดีบุคคลก็พึงรู้ได้ดังนี้ คือความเป็นธาตุดิน ราตุไฟ ธาตุลม รวม ๓ ธาตุนี้ รู้ได้โดยอาศัยการสัมผัสทางกาย ความเป็นธาตุน้ำรู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ ความเป็นสีรู้ได้โดยอาศัยการเห็นทางตา ความเป็นกลิ่นรู้ได้โดยอาศัยการดมทางจมูก ความเป็นรสรู้ได้โดยอาศัยการชิมทางลิ้น ความเป็นโอชารู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ
การพิจารณาธาตุ ๕๒ โดยอาการ ๑๓
ผู้เจริญได้ทำการพิจารณาธาตุ ๔๒ โดยเฉพาะๆ ไปตามลำดับดังกล่าวแล้วแต่ธาตุนิมิตก็ไม่ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องทำการพิจารณาต่อไปโดยอาการ ๑๓ ดังต่อไป นี้
๑. วจนตฺถโต ความหมายแห่งศัพท์มีปถวี เป็นต้น
๒. กลาปโต โดยความเป็นหมวดหมู่ที่โตประมาณเท่ากับปรมาณูเม็ดหนึ่ง
๓. จุณฺณโต โดยความเป็นผงเล็กละเอียดได้แก่ ปถวีที่รวมอยู่ในรูปกลาป
๔. ลกฺขณาทิโต ด้วยลักขณะ รส ปัจจุปัฏฐาน
๕. สมุฏฐานโต โดยสมุฏฐานทั้ง ๔ มีกรรม เป็นต้น
๖. นานตฺตเอกตฺตโต โดยความต่างกันและเหมือนกัน
๗. วินิพฺโภคาวินิพฺโภคโต โดยความแยกออกจากกันได้และไม่ได้
๘. สภาควิสภาคโต โดยความเข้ากันได้และไม่ได้
๙. อชุฌตฺติกพาหิรวิเสสโต โดยความเป็นภายในภายนอกที่แปลกกัน
๑๐. *สงฺคโห (สงฺคหโต) โดยความสงเคราะห์
๑๑. ปจฺจโย (ปจฺจยโต) โดยความอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน
๑๒. อสมนฺนาหารโต ไม่มีการรู้สึกในอารมณ์
๑๓. ปจฺจยวิภาคโต โดยการจำแนกปัจจัยธรรมของธาตุนั้นฯ
(คำนี้น่าจะเป็น สงคหโต เช่นเดียวกับคำบาลีในข้ออื่นๆ อีก ๑๒ ที่ประกอบวิภัติอยู่ แม้ในวิสุทธิมัคคปฐมภาค หน้า ๓๖๕ (ฉ.) ก็ใช้ สงคหโต) (ปจฺจโย ก็ควรใช้ ปจฺจยโต ด้วย)
อธิบาย
๑. พิจารณาโดย วจนตฺถโต ว่าปถวีมีความใหญ่และแผ่ไป อาโปมีความไหลซึมซาบชุ่มอยู่ เตโชมีความเย็นร้อนอบอุ่น วาโยมีความเคร่งตึงพัดไหว ธาตุเหล่านี้มีการทรงไว้ซึ่งสภาพของตนๆ แล้วแสดงสภาพนั้นๆ ให้ปรากฎขึ้น ฉะนั้น ในร่างกายของตนนี้ส่วนที่ใหญ่แผ่ไปเป็นปถวี ส่วนที่ไหลซึมซาบชุ่มอยู่เป็นอาโป ความเย็นร้อนอบอุ่นเป็นเตโช ความเคร่งตึงพัดไหวเป็นวาโย
๒. พิจารณาโดย กลาปโต ว่า ธาตุบางอย่างมี หทยัง หัวใจ นั้นมีรูปรวมอยู่ ๑๒ อย่าง คือ อวินิพโภครูป ๘ กายะ ภาวะ หทยะ และ ชีวิตะ เนื้อ เอ็น หนังตับ ปอด สมอง เหล่านี้มีรูปรวมอยู่ ๑๑ อย่าง คือ อวินิพโภครูป ๘ กายะ ภาวะและ ชีวิตะ ปาจกเตโชมีรูปรวมอยู่ ๙ อย่าง คือ อวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑ ผม ขน เล็บ และธาตุบางอย่างมีเลือด หนอง เป็นต้น ธาตุไฟที่เหลือ กับ ธาตุลม เหล่านี้มีรูปรวมอยู่ ๘ อย่าง คือ อวินิพโกครูป ๘ ดังนั้น ที่กล่าวกันว่าเป็นสัตตะ ชีวะ เรา เขา หญิง ชาย เหล่านี้จึงไม่ควรที่จะกล่าวถึงเลย
๓. พิจารณาโดย จุณฺณโต ว่า ร่างกายที่มีขนาดปานกลางนี้ เมื่อจะทุบให้แหลกละเอียดลงจนเป็นผงเล็กเท่าปรมาณู แล้วตวงดูด้วยเครื่องตวงก็จะได้ประมาณ ๒๐ - ๓๐ ลิตร ที่ปรากฎเป็นรูปร่างสัณฐานได้ก็เพราะมีอาโปธาตุเชื่อมเกาะกุมยึดอยู่ มีเตโชธาตุเป็นผู้เลี้ยงรักษา มีวาโยธาตุคอยค้ำจุนให้ตั้งมั่น นอกจากธาตุ ๔ นี้ ก็หามีอะไรอื่นไม่
๔. พิจารณาโดย ลกฺขณาทิโต ว่า ปถวีธาตุนี้มีความแข็งเป็นลักษณะ เป็นที่ตั้งแห่งรูปอื่น ๆ เป็นกิจ มีการรองรับรูปอื่นๆ เป็นอาการปรากฏ อาโปธาตุมีความไหลและเกาะกุมเป็นลักษณะ ทำให้รูปอื่น ๆ เจริญขึ้นเป็นกิจ มีการรวบรวมรูปอื่นๆ ให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นอาการปรากฏ เตโชธาตุมีความเป็นไออุ่นเป็นลักษณะ ทำให้รูปอื่นๆมีความสุกแก่ขึ้นเป็นกิจ มีการทำให้รูปอื่นๆ อ่อนนุ่มเป็นอาการปรากฏ วาโยธาตุมีการอุดหนุ่นรูปอื่น ๆ ให้ตั้งมั่นเป็นลักษณะ มีการชักดึงรูปอื่นๆ เป็นกิจ มีการเคลื่อนไหวพัดไปมาเป็นอาการปรากฏ นอกจากธาตุ ๔ นี้แล้วหามีอะไรอื่นอีกไม่
๕. พิจารณาโดย สมุฏฺฐานโต ว่า ในธาตุ ๔๒ นี้ อาหารใหม่ อาหารเก่าหนอง ปัสสาวะ ๔ อย่างนี้เกิดจากอุตุ น้ำตา เหงื่อ น้ำมูก น้ำลาย ๔ อย่างนี้บางทีก็เกิดจากอุตุ บางทีก็เกิดจากจิต ปาจกเตโชนั้นเกิดจากกรรม ลมหายใจเข้าออกเกิดจากจิต ธาตุที่เหลือ ๑๒ เกิดจากสมุฏฐาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ทั้งนั้น
๖. พิจารณาโดย นานตฺตเอกตฺตโต ว่า ธาตุทั้ง ๔ นี้ ล้วนแต่มีลักขณะรส ปัจจุปัฏฐานต่างๆ กัน แต่ถึงกระนั้นก็คงเป็นมหาภูตรูป เป็นธาตุ มีความเกิดดับเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อย่างเดียวกันนั้นเอง
๗. พิจารณาโดย วินิพฺโภคาวินิพฺโภคโต ว่า ธาตุทั้ง ๔ นี้แยกจากกันได้ (วินิพโภค) ก็เพราะแต่ลักขณะ รส ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น สำหรับธาตุนั้นแยกจากกันไม่ได้ (อวินิพโภค)
๘. พิจารณาโดย สภาควิสภาคโต ว่า ปถวีธาตุกับอาโปธาตุ ๒ อย่างนี้เป็นสภาคะถูกกัน เพราะเป็นครุกธาตุ ธาตุหนักด้วยกัน เตโชธาตุกับวาโยธาตุ ๒ อย่างนี้เป็นสภาคะถูกกัน เพราะเป็นลหุธาตุ ธาตุเบาด้วยกัน แต่ระหว่างปถวี อาโป กับ เตโชวาโย ธาตุทั้ง ๒ ฝ่ายนี้เป็นวิสภาคะไม่ถูกกัน ที่เป็นดังนี้เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นครุกธาตุอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลหุธาตุ
๙. พิจารณโดย อชฺฌตฺติกพาหิรวิเสสโต ว่า ธาตุทั้ง ๔ ที่เกิดอยู่ในร่างกายสัตว์ทั้งหลายนี้ เป็นที่อาศัยของปสาททั้ง ๕ หทยะ ภาวะ ชีวิตะ วิญญัติรูป ๒ ประกอบไปด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ และเกิดจากสมุฏฐาน ๔ ครบบริบูรณ์ (อัชมัตติกวิเสส) ส่วนธาตุทั้ง ๔ ที่เกิดภายนอกสัตว์นั้น มิได้เป็นที่อาศัยเกิดของรูปดังกล่าวแล้ว และมิได้ประกอบด้วยอิริยาบถใหญ่ สมุฏฐานก็ไม่ครบ ๔ มีแต่อุตุสมุฎฐานอย่างเดียว (พาหิรวิเสส)
๑๐. พิจารณาด้วย สงฺคโห (สงฺคหโต) ว่า ปถวีธาตุที่เกิดจากกรรมนี้นับสงเคราะห์เข้ากับอาโป เตโช วาโย ที่เกิดจากกรรมด้วยกันได้ สำหรับปถวีธาตุที่เกิดจากจิต อุตุอาหาร นั้นก็นับสงเคราะห์เข้ากับมหาภูตรูป ๓ ที่เหลืออันเกิดจากจิต อุตุ อาหารด้วยกัน
๑๑. พิจารณาโดย ปจฺจยโต ว่า ปถวีธาตุนี้เป็นที่ตั้งแห่งมหาภูตรูปที่เหลือ ๓ มีธาตุน้ำยึดเกาะกุมมิให้กระจัดกระจาย ธาตุไฟรักษา ธาตุลมช่วยประคองค้ำจุน แล้วช่วยอุดหนุ่นแก่มหาภูตรูปที่เหลือด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะ อัญญมัญญะ เป็นต้น อาโปธาตุ มีการยึดเกาะกุมมหาภูตรูปที่เหลือ ๓ มิให้กระจัดกระจาย มีธาตุดินเป็นที่ตั้งธาตุไฟรักษา ธาตุลมประคองค้ำจุน แล้วช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูปที่เหลือด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะ อัญญมัญญะ เป็นต้น เตโชธาตุมีการทำให้มหาภูตรูปที่เหลือ ๓ สุกแก่อ่อนนุ่ม มีธาตุดินเป็นที่ตั้ง ธาตุน้ำยึดเกาะกุมมิให้กระจัดกระจาย ธาตุลมช่วยประคองค้ำจุน แล้วช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูปที่เหลือด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะอัญญมัญญะ เป็นตัน วาโยธาตุมีการประคองค้ำจุนมหาภูตรูปที่เหลือ ๓ ให้ตั้งมั่น มีธาตุดินเป็นที่ตั้ง ธาตุน้ำยึดเกาะกุมมิให้กระจัดกระจาย ธาตุไฟรักษา แล้วช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูปที่เหลือด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะ อัญญมัญญะ เป็นต้น
๑๒. พิจารณาโดย อสมนฺนาหารโต ว่า ปถวีธาตุนี้มิได้รู้ว่าตนเป็นธาตุดิน และมิได้รู้ว่าตนนี้กำลังทำการช่วยอุดหนุ่นแก่ธาตุที่เหลือ ๓ โดยความเป็นที่ตั้ง ธาตุที่เหลือ ๓ ก็มิได้รู้ว่ามีปถวีธาตุเป็นที่ตั้ง อาโปธาตุก็มิได้รู้ว่าตนเป็นธาตุน้ำ และ มิได้รู้ว่าตนนี้กำลังทำการช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ โดยการเกาะกุมและให้ไหลไป ราตุที่เหลือ ๓ ก็มิได้รู้ว่ามี อาโปธาตุมาช่วยเกาะกุมและทำให้ไหลไป เตโชธาตุก็มิได้รู้ว่าตนเป็นธาตุไฟ และมิได้รู้ว่าตนช่วยอุดหนุ่นแก่ธาตุที่เหลือ ๓ โดยการทำให้สุกแก่อ่อนนุ่มธาตุที่เหลือ ๓ ก็มิได้รู้ว่า เตโซธาตุช่วยทำให้ตนสุกแก่อ่อนนุ่ม วาโยธาตุก็มิได้รู้ว่าตนเป็นธาตุลม และมิได้รู้ว่าตนนี้ ได้ช่วยประกองดั้จุนธาตุที่เหลือ ๓ ให้ตั้งมั่น ธาตุที่
เหลือ ๓ ก็มิได้รู้ว่ามีวาโยธาตุ มาช่วยประคองค้ำจุน แต่คงเป็นไปตามสภาพของตนๆ มิใช่เป็นสัตว์ เป็นชีวะบุคคล แต่อย่างใดเลย
๑๓. พิจารณาโดย ปจฺจยวิภาคโต ว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฎมีขึ้นได้นี้ ก็เพราะเนื่องมาจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ด้วยกันสิ้น คือ บางส่วนมีกรรมเป็นประธานให้เกิด จิต อุตุ อาหาร ทั้ง ๓ ช่วยอุดหนุ่นแก่การเกิดขึ้น มีอยู่ ๑๘ อย่าง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นตัน ที่เรียกว่า กัมมชรูป บางส่วนมี อุตุ อาหารเป็นประธานให้เกิด กรรม จิต ๒ อย่างช่วยอุดหนุนแก่การเกิดขึ้น มีอยู่ ๑๒-๑๓ อย่างได้แก่โครงกายทั้งหมด เลือด เนื้อ หนัง เส้นเอ็น ตับ ปอด เป็นต้น ที่เรียกว่าอุตุชรูป อาหารษรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของ ตา หู และการเคลื่อนไหวต่างฯ อาการของกาย วาจา มีจิตเป็นประธานให้เกิดกรรม อุตุ อาหาร ช่วยอุดหนุนแก่การเกิดขึ้นมีอยู่ ๑๕ อย่าง ได้แก่ การเคลื่อนไหวของกาย วาจา เช่น หัวเราะ ร้องไห้ หายใจเป็นต้น ที่เรียกว่า จิตตชรูป
เมื่อจำแนกโดยปัจจัยแล้ว กรรมเป็นชนกปัจจัยของกัมมชรูป และเป็นอุปนิสสยปัจจัยของรูปที่เหลือ ๓ อุตุเป็นชนกปัจจัยของอุตุชรูป และเป็นอัตถิปัจจัยอวิคตปัจจัยของรูปที่เหลือ ๓ จิตเป็นชนกปัจจัยของจิตตชรูปทั้งหลาย และเป็นปัจฉาชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิดตปัจจัยของรูปที่เหลือ ๓
มหาภูตรูปที่เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่กันและกัน คือ ปถวีธาตุที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากกรรมด้วยกัน ด้วยอำนาจสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตะและด้วยอำนาจของการเป็นที่ตั้ง แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนให้เกิด และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ด้วยอำนาจนิสสยะ อัตถิ อวิคตะ แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนโดยเป็นที่ตั้ง และให้เกิดอาโปธาตุที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากกรรมด้วยกัน ด้วยอำนาจสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะอัตถิ อวิคตะ และด้วยอำนาจการเกาะกุมแต่มิใช่ช่วยอุดหนุนให้เกิด และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจาก จิต อุตุ อาหาร ด้วยอำนาจนิสสยะ อัตถิ อวิคตะ แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนโดยการเกาะกุมและให้เกิด เตโชธาตุ ที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากกรรมด้วยกันด้วยอำนาจ สหชาตะ อัญญมัญญะนิสสยะ อัตถิ อวิคตะ และ ด้วยอำนาจให้สุกแก่อ่อนนุ่ม แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนให้เกิดและช่วยอุดหนุ่นแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ด้วยอำนาจ นิสสยะอัตถิ อวิคตะ แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนโดยให้สุกแก่อ่อนนุ่มและให้เกิด วาโยธาตุที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากกรรมด้วยกันด้วยอำนาจสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิ อวิดตะ และด้วยอำนาจประคองค้ำจุนให้ตั้งมั่น แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนให้เกิด และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากจิตอุตุ อาหาร ด้วยอำนาจ นิสสยะ อัตถิ อวิคตะ แต่มิใช่ช่วยอุดหนุนโดยการประคองค้ำจุนและให้เกิด
ปถวีธาตุที่เกิดจาก จิต อุตุ อาหาร ช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ด้วยกัน และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากสมุฎฐานทั้ง ๔ ก็ดี อาโปธาตุที่เกิดจาก จิต อุตุ อาหาร ช่วยอุดหนุนแก่ชาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ด้วยกัน และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ก็ดี วาโยธาตุที่เกิดจาก จิต อุตุ อาหาร ช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ด้วยกันและช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากสมุฏฐานทั้งก็ดี เหล่านี้ก็ได้อำนาจปัจจัยเช่นเดียวกันกับปถวีธาตุที่เกิดจากกรรมช่วยอุดหนุนแก่ธาตุที่เหลือ ๓ ที่เกิดจากกรรมด้วยกัน และช่วยอุดหนุนแก่มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดจากจิต อุตุ อาหาร ดังที่กล่าวแล้วนั้นเอง ความเป็นไปของธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ย่อมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น คือ อาศัยธาตุ ๑-๒-๓ แล้ว ธาตุที่เหลือ ๓-๒-๑ ย่อมเกิดขึ้นในธาตุทั้ง ๔ อย่างนี้ ปถวีธาตุเป็นเหตุแห่งการยันในเวลก้าวไป ถอยกลับและวางลง ปถวีที่อาโปธาตุซาบซึมเกิดขึ้นตามนั้น ย่อมเป็นเหตุแห่งการยืนตั้งอยู่ได้อาโปธาตุที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับปถวีเป็นเหตุแห่งการเหยียดมือเหยียดเท้าลง เตโชธาตุที่เกิดพร้อมกับวาโย ย่อมเป็นเหตุแห่งการยกมือยกเท้า วาโยธาตุที่เกิดพร้อมกับเตโชเป็นเหตุแห่งการก้าวเดินไป ถอยหลัง และหลบหลีก
นิมิต ภาวนา และ มรรค ผล ในการเจริญจตุธาตุววัตถาน
การเจริญจตุธาตุววัตถานนี้ ไม่มีอุคคหนิมิตและปฏิกาคนิมิตเกิด คงมีแต่บริกรรมนิมิตอย่างเดียว คือ ธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนนั้นเอง ส่วนภาวนานั้นได้ ๒ อย่าง คือ บริกรรมภาวนา และอุปจารภาวนา สำหรับอัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธาตุทั้ง ๔ นี้เป็นสกาวะล้วนๆ ผู้เจริญต้องใช้ปัญญาอย่างแรงกล้า จึงจะรู้เห็นในสภาวะเหล่านี้ได้ เหตุนี้สมาธิของผู้เจริญจึงไม่มีกำลังพอที่จะเข้าถึงฌาน ดังนั้น ถ้าหากว่าการพิจารณาทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในกายตนโดยมีปัญญาเป็นประธานนี้ได้เห็นธาตุทั้ง ๔ โดยความเกิดดับแล้ว ก็จะทำให้ผู้เจริญนั้นได้สำเร็จมรรค ผล
อานิสงส์ ๘ อย่างที่ได้รับจากการเจริญธาตุทั้ง ๘
๑. สุญฺญตํ อวคาหติ อนัตตลักขณะปรากฎทางใจ
๒. สตฺตสญฺญํ สมุคฺฆาเฏติ ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ชาย หญิง เสียได้
๓. ภยเภรวสโห โหติ ไม่มีการหวาดกลัวต่อภัยใหญ่น้อย ที่เนื่องมาจากสัตว์ร้ายต่างๆ มีจิตใจคล้ายจะเป็นพระอรหันต์
๔. อรติรติสโห โหติ สามารถละความไม่ยินดีในการงานที่เป็น คันถธุระ วิปัสสนาธุระ ทั้งสามารถละความยินดีในกามคุณอารมณ์เสียได้
๕. อิฏฺฐานิฏฺเฐสุ อุคฺฆาฏนิคฺฆาฏํ น ปาปุณาติ ไม่มีการรื่นเริงสนุกสนานจนลืมตัวในอารมณ์ที่น่ารักและไม่มีการอึดอัด ขุ่นหมองใจในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก
๖. มหาปญฺโญ โหติเป็นผู้มีปัญญากว้างขวางมาก
๗. อมตปริโยสาโน โหติมีพระนิพพานเป็นที่สุดในภพนี้
๘. สุคติปรายโน โหติ ถ้ายังไม่เข้าสู่พระนิพพานในภพนี้ก็มีสุคติภูมิ เป็นที่ไปในภพหน้า
จบจตุธาตุววัตถาน
--------///------
อธิบายในบาลีข้อที่ ๑๒ ที่แสดงถึงอารุปป ๔ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติ
ในที่นี้อารุปป ๔ มีอากาสานัญจายตนฌานเป็นต้นนั้น หาใช่เป็นอารมณ์กรรมฐาน เหมือนกสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ อัปปมัญญา ๔ แต่อย่างใดไม่เพียงแต่เป็นอารัมมณิกกรรมฐาน คือ ตัวฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอารมณ์กรรมฐานทั้ง ๔ มี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ อากาสานัญจายตนฌาน นัตถิภาวบัญญัติ อากิญจัญญายตนฌาน เหมือนกับอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอาหารต่างๆ และธาตุทั้ง ๔ ฉันนั้น
สำหรับเนื้อความพร้อมด้วยแนวทางปฏิบัตินั้นได้แสดงไว้แล้ว ในลำดับแห่งการได้รูปปัญจมฌาน โดยอาศัยการเพ่งปถวีกสิณ (ในหน้า ๗๖) ดังนั้นจึงมิได้แสดงไว้ในที่นี้อีก
จบอารุปป ๔
----------///---------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ