อธิบายในบาลีข้อที่ ๓ ที่แสดงถึงอสุภ ๑๐ 

พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติมี "อุทธุมาตก" เป็นต้น จนถึง "อิเม ทส อสุภา นาม" 


      "อสุภ" เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ อ + สุภ, อ เป็นคำปฏิเสธซึ่งเปลี่ยนมาจาก บทเดิม คือ น, สุภ = สวยงาม เมื่อรวมบททั้งสองนี้เข้ากันแล้วก็เป็นอสุภ = ไม่สวย ไม่งาม ดังแสดงวจนัดถะว่า "น สุภํ = อสุภํ" สิ่งที่ไม่สวยไม่งามชื่อว่า อสุภ คำว่า "อสุภ" ที่แปลว่าไม่สวยไม่งามในที่นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะความเปลี่ยนแปลงแห่งร่างกายของคนทั้งหลายที่ตายไปแล้วเท่านั้น

      ๑. อุทธุมาตกะ เมื่อแยกบทแล้ว ได้ ๓ บท คือ อุ + ธุมาต + ก, อุ = ภายหลัง ธุมาต = พอง ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้ เข้ากันแล้วก็เป็น อุทธุมาตก ศพที่น่าเกลียดโดยการพองขึ้นภายหลังที่ตาย ๒ - ๓ วัน ดังแสดงวจนัตถะว่า "อุทฺธํ ธุมาตํ - อุทฺธุมา, อุทฺธุมาติ กุจฺฉิตนฺติ = อุทฺธุมาตกํ" พองขึ้น ภายหลังชื่อว่า อุทธุมาตะ ศพที่พองขึ้นภายหลังที่ตายแล้ว เป็นสิ่งที่น่าเกลียดฉะนั้น จึงชื่อว่า "อุทธุมาตกะ"

      ๒. วินีลกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ วิ + นีล + ก, วิ = ปะปน คือ ที่มีเนื้อมากก็มีสีแดง ที่เป็นหนองก็มีสีขาว นีล = สีเขียว และดำเป็นส่วนมาก ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้เข้ากันแล้วก็เป็น "วินีลก" ศพที่น่าเกลียดโดยมีสีต่างๆ ปนกัน คือ สีแดง สีขาว สีเขียว และดำ อังแสดงวจนัตถะว่า "วิเสสโต นีลํ= วินีลํ, วินีลํ กุจฺฉิตนฺติ = วินีลก" สีเขียวเป็นพิเศยโดยมีสีแดงและขาวปนอยู่ด้วยชื่อว่า วินีละ ศพที่มีสีเขียวเป็นพิเศษโดยมีสีแดงและขาวปะปนอยู่ด้วยเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ

      ๓. วิปุพพกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ วิ + ปุพฺพ + ก, วิ = ไหล ปุพฺพ = หนอง ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้เข้าด้วยกันแล้วก็เป็น "วิปุพฺพก" ศพที่น่าเกลียด โดยมีน้ำเหลืองและน้ำหนองไหลจากเนื้อ ดังแสดงวจนัตถะว่า "วิสฺสวนฺตํ ปุพฺพํ = วิปุพฺพํ, วิปุพฺํ กุจฉิตนฺติ = วิปพฺพกํ " หนองที่ไหลออกมาจากเนื้อที่ปริแตกชื่อว่า "วิปุพพะ" ศพที่มีน้ำเหลืองและน้ำหนองไหลออกจากเนื้อที่ปริเปื่อยพังเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า "วิปุพพกะ"

      ๔. วิจฉิททกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ วิ + ฉิทฺท + ก, วิ =ขาดเป็น ๒ ท่อน ฉิทฺท = ศพที่ถูกศัตรูฟันขาดจากกัน ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้เข้ากัน แล้วก็เป็น "วิจฺฉิทฺทก" ศพที่น่าเกลียดโดยที่ร่างกายถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน ดังแสดงวจนัตถะว่า "ฉินฺทิตพฺพนฺติ = ฉิทฺทํ, ทฺวิธา ฉิทฺทํ วิจฺฉิทฺทํ, วิจฺฉิทฺทํ กุจฺฉิตนฺติ = วิจฺฉิทฺทกํ" ศพที่ถูกฟันขาด ชื่อว่า ฉิททะ ศพที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อน ชื่อว่า วิจฉิททะ ศพที่ถูกฟันขาดออกเป็น ๒ ท่อนเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า "วิจฉิททกะ"

      ๕. วิกขายิตกะ เมื่อแยกบทแล้วเป็น ๓ บท คือ วิ + ขายิต + ก, วิ =อาการต่างๆ ขายิต = ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ขี้อแย่ง ก = น่าเกลียดเมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้เข้ากันแล้วก็เป็น วิกฺขายิตก ศพที่น่าเกลียดโดย ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย่งกระจัดกระจายโดยอาการต่างๆดังแสดงวจนัตถะว่า "ขาทิตนฺติ = ขายิตํ, วิวิเธน ขายิตํ = วิกฺขายิตํ, วิกฺขายิตํ กุจฺฉิตนฺติ = วิกฺขายิตกํ" ศพที่ถูกกัด ฉะนั้น ชื่อว่า ขายิตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย้งโดยอาการต่างๆ ชื่อว่า วิกขายิตะ ศพที่ถูกแร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย้งกระจัดกระจายโดยอาการต่างๆ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า "วิกขายิตกะ"

      ๖. วิกขิตตกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท คือ วิ + ขิตฺต + ก, วิ -ประการต่างๆ ขิตฺต = เรี่ยรายเป็นชิ้นๆ ก = น่าเกลียด เมื่อรวมทั้ง ๓ นี้เข้าด้วยกันแล้วก็เป็น วิกฺขิตฺตก ศพที่น่าเกลียดโดยถูกทิ้งเรี่ยรายไว้ มี มือ เท้า ศีรษะอยู่คนละทาง ดังแสดงวจนัตถะว่า "วิวิเธน ขิตฺตํ = วิกฺขิตฺตํ, วิกฺขิตฺตํ กุจฺฉิตนฺติ = วิกฺขิตฺตกํ" ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรยะ อยู่คนละทางชื่อว่า "วิกขิตตะ" ศพที่ถูกทิ้งเรี่ยรายไว้โดยประการต่างๆ มี มือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทางเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า "วิกขิตตกะ"

      ๗. หตวิกขิตตกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๔ บท คือ หต + วิ + ขิตฺต + ก หต = ถูกสับฟันด้วยมืด ถูกแทงด้วยหอก เป็นริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา วิ =ประการต่างๆ ขิตฺต - เรี่ยรายเป็นชิ้นๆ ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๔ นี้เข้ากันก็เป็น หตวิกฺขิตฺตก ศพที่น่าเกลียดโดยถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็นริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ดังแสดงวจนัตถะว่า "หนิตฺวา วิวิธี ขิตฺตํ = หตวิกฺขิตฺตํ, หตวิกขิตฺตํ กุจฺฉิตนฺติ = หตวิกฺขิตฺตกํ" ศพที่ถูกฟันด้วยมีดทิ้งเรี่ยรายไว้เป็นชิ้นๆ โดยประการต่าง ๆ ชื่อว่า "หตวิกขิตตะ" ศพที่ถูกฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก เป็นริ้วเป็นรอยเหมือนตีนกา ทิ้งเรียรายไว้เป็นชิ้น ๆ โดยประการต่าง ฯ เป็นสิ่งที่น่าเกลียดฉะนั้น จึงชื่อว่า "หตวิกขิตตกะ"

      ๘. โลหิตกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ โลหิต + ก, โลหิต = เลือด ก - ไหล เมื่อรวมบททั้ง ๒ นี้เข้ากันแล้วก็เป็น "โลหิตก" ศพที่มีโลหิตไหลออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ดังแสดงวจนัตถะว่า "โลหิตํ กิรติ วิกฺขิปติ อิโตจิโตจ ปกฺมรตีติ = โลหิตกํ" ศพที่มีโลหิตหลั่งไหลซ่านออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังเอาโลหิตไปราดไว้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า "โลหิตกะ" คำว่ากะ ในบทนี้มุ่งหมายถึงความไหล (กิรณ) ส่วนคำว่า กะ ในบทอื่นๆ นั้นมุ่งหมายถึงความน่าเกลียด (กุจฺฉิต)

      ๙. ปุฬุวกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ ปุฬุว + ก, ปุฬุว = หนอน ก = ไหล เมื่อรวมบททั้ง = นี้เข้ากันแล้วก็เป็น ปุฬุวก ศพที่มีหนอนไซอยู่ทั่วร่างกาย ดังแสดงวจนัตถะว่า "ปุฬุเว กิรติ ปคฺฆรตีติ = ปุฬุวกํ" ศพที่มีหนอนไชไหลออกมา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฬุวกะ คำว่า กะ ในบทนี้มุ่งหมายถึงความไหลเช่นเดียวกันกับคำว่า กะ ในบท โลหิตกะ

      ๑๐. อัฏฐิกะ เมื่อแยกบทแล้วได้ - บท คือ อฏฺฐิ + ก, อฎฐิ = กระดูก ก = น่าเกลียด เมื่อรวมบททั้ง ๒ นี้เข้ากันแล้วก็เป็น "อฏฺฐิก" ศพที่น่าเกลียดโดยมีแต่กระดูกเหลืออยู่ ดังแสดงวจนัตถะว่า "อฏฺฐิเยว กุจฺฉิตนฺติ = อฏฺฐิกํ" ศพที่มีแต่กระดูกเหลืออยู่เป็นศพที่น่าเกลียด ฉะนั้น จึงชื่อว่า "อัฏฐิกะ"


วิธีเจริญอสุภกรรมฐาน และ นิมิตทั้งสาม

      "อุทธุมาตกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญอุทธุมาตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพอุทธุมาตกะที่เป็นสภาคะกันกับตน คือ หญิงก็ใช้ศพหญิง ชายก็ใช้ศพชาย แล้วพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูฬํ, อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูฬํ (ศพอุทธุมาตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธุมาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นที่ปรากฏทางใจ ตัวศพมีความน่าเกลียด น่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียนเพียงใดก็ปรากฎทางใจ ฉันนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นความน่าเกลียดน่ากลัว ชวนสะอิดสะเอียน ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นขนาดใหญ่ที่อ้วนพี่ล่ำสัน ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้น พระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง

      อนึ่ง อุทธุมาตกกรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานที่หาเจริญได้ยากกว่า อสุภกรรมฐานอื่น ๆ เพราะศพที่มีอาการอืดพองขึ้นนั้นจะมีอยู่เพียง ๑ หรือ ๒ วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นศพวินีลกะ วิปุพพกะไป อย่างไรก็ดี ในระยะที่ยังเป็นศพอุทธุมาตกะอยู่นั้น อุคคหนิมิตย่อมปรากฎแก่พระโยบุคคลบางท่านได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็มิจำเป็นที่จะพิจารณาศพนั้นอีก คงพิจารณาแต่อุคคหนิมิตต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และ ปฐมฌาน เมื่อพระโยคีได้มาซึ่งปฐมฌานแล้ว มีความประสงค์จะเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป ก็ต้องเปลี่ยนกรรมฐานเสียใหม่ จะใช้อสุภกรรมฐานต่อไปนั้นไม่สำเร็จ เพราะอสุกกรรมฐานเป็นกรรมฐานหยาบ มิอาจทำให้ผู้เจริญได้ถึงฌานเบื้องบนได้ และในระหว่างที่ยังไม่ถึงฌานนั้น หากอุคคหนิมิตเกิดการเสื่อมหายไปก็จะต้องไปหาศพอุทธุมาตกะเพื่อทำการพิจารณาใหม่ การหาศพอุทธุมาตกะใหม่นี้หากศพคนที่เป็นสภาคะกับตนไม่ได้ จะใช้ซากศพสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัขเป็นต้น แทนก็ได้

      "วินีลกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญวินีลกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวินีลกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วินีกํ ปฏิกูฬํ, วินีลกํ ปฏิกูฬํ (ศพวินีลกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพวินีลกะ ก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นสีเขียว สีดำ สีแดง ไปตามสีของศพที่ปรากฏมากที่สุดในขณะนั้น มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับการงานในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "วิปุพพกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิปุพพกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวิปุพพกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดพร้อมกับบริกรรมว่า วิปุพฺพกํ ปฏิกูฬํ, วิปุพุพกํ ปฏิกูฬํ (ศพวิปุพพกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอุทธุมาตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุดคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฎทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น หนองที่ไหลออกมา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้นไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "วิจฉิททกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิจฉิททกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวิจฉิททกะที่ป็นสภาคะกับตน มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดพร้อมกับบริกรรมว่า วิจฺฉิทฺทกํ ปฏิกูฬํ, วิจฺฉิทฺทกํ ปฏิกูฬํ (ศพวิจฉิททกะนี้เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด ข้อสำคัญก่อนที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ถ้าหากว่าร่างกายของศพที่ขาดเป็นท่อนวางอยู่ห่างจากกันมากนัก ก็ขอให้ผู้ใดจับวางให้ต่อกันห่างกันประมาณ ๑ องคุลี บริกรรมนิมิตของศพวิจฉิททกะก็ได้แก่ร่างศพที่ขาดเป็นสองท่อนนั้นเอง ส่วนอุดคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจสำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นร่างนั้นไม่เห็นขาดเป็นสองท่อน ให้เป็นที่น่าเกลียดน่ากลัวแต่อย่างใด คงเป็นเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางไว้นิ่งอยู่เป็นท่อนเดียวกันแต่ถึงกระนั้น พระโยดีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของที่น่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "วิกขายิตกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขายิตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพวิกขายิตกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดพร้อมกับบริกรรมว่า วิกฺขายิตกํ ปฏิกูฬํ, วิกฺขายิตกํ ปฏิกูฬํ (ศพวิกขายิตกะนี้เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพวิกขายิตกะ ก็ได้แก่ศพที่ถูก แร้ง กา สุนัข จิก กัด ทิ้ง ยื้อแย่ง เรี่ยรายไป นั้นเองส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฎทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น สภาพต่าง ๆ ที่เป็นของน่าเกลียด น่ากลัวเหล่านี้ มิได้ปรากฏมีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยดีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของที่น่าเกลียดน่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "วิกขิตตกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวหาศพที่วิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยขอให้ผู้อื่นช่วยเก็บให้แล้ววางไว้ให้เป็นลำดับต่อกันมาพิจารณโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า วิกฺขิตฺตํ ปฏิกูฬํ, วิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูฬํ (ศพวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิดบริกรรมนิมิตของศพวิกขิตตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฎทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ขาดจากกันเป็นชิ้น ๑ โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด หมดจด เรียบร้อย วางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณา โดยความเป็นของที่น่เกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตถกรรมฐานทุกประการ

      "หตวิกขิตตกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญหตวิกขิตตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพหตวิกขิตตกะที่เป็นสภาคะกับตน โดยวานให้ผู้อื่นช่วยเก็บแล้ววางให้เป็นลำดับต่อกัน มาพิจารณโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า หตวิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูฬํ, หตวิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูฬํ (ศพหตวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพหตวิกขิตตกะก็ได้แก่ตัวศพที่อยู่เฉพาะหน้านั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจสำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นสภาพที่ถูกแทงเป็นริ้วรอยเหมือนตีนกา โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อยวางนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรรมฐานทุกประการ

      "โลหิตกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญโลหิตกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพโลหิตกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดพร้อมกับบริกรรมว่า โลหิตกํ ปฏิกูฬํ, โลหิตกํ ปฏิกูฬํ (ศพโลหิตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง)  ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพโลหิตกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปเหมือนกับรูปปั้นที่ทำด้วยกำมะหยี่สีแดง ใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "ปุพวกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญปุฬุวกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพปุฬุวกะที่เป็นสภาคะกับตนมาพิจารณา โดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า ปุฬุวกํ ปฏิกูฬํ, ปุฬุวกํ ปฏิกูฬํ (ศพปุฬุวกะนี้ เป็นของน่าเกลียดน่าขยะแขยง) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพปุฬุวกะก็ได้แก่ตัวศพนั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้น เป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ตัวหนอนที่กำลังไชไหลออกมาจากร่างกาย โดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวนั้น ไม่มีแต่อย่างใด คงเป็นไปคล้ายๆ กับก้อนข้าวสาลีที่ปั้นไว้ มีความใสสะอาด เรียบร้อย ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัวอยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ

      "อัฏฐิกกรรมฐาน" ผู้มีความประสงค์จะเจริญอัฎฐิกกรรมฐานนั้น จะต้องแสวงหาศพอัฏฐิกะ มาพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด พร้อมกับบริกรรมว่า อฏฺฐิกํ ปฏิกูฬํ, อฏฺฐิกํ ปฏิกูฬํ (ศพอัฏฐิกะนี้ เป็นของน่าเกลียด) ไปจนกว่าอุคคหนิมิตจะเกิด บริกรรมนิมิตของศพอัฏฐิกะได้แก่อัฏฐินั้นเอง ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเป็นที่ปรากฎทางใจ สำหรับปฏิภานิมิตนั้น ความน่าเกลียด น่ากลัวของกระโหลกศีรษะที่กลวงช่องระหว่างซี่โครง นิ้วมือ และท่อนกระดูกมือ เท้า แข็ง ขา เป็นต้น ที่ต่อเชื่อมกันอยู่เป็นเปลาะ ๆ นั้นมิได้ปรากฎขึ้นแต่อย่างใด คงปรากฏเป็นไปโดยความสม่ำเสมอใสสะอาดหมดจด เป็นแท่งเดียวกัน ตั้งนิ่งอยู่ แต่ถึงกระนั้นก็ตามพระโยคีบุคคลก็ต้องพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียด น่ากลัว อยู่นั้นเอง ส่วนการงานที่เหลือจากนี้ก็คงเป็นไปเช่นเดียวกับในอุทธุมาตกกรรมฐานทุกประการ


ศพอัฏฐิกะที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน มีอยู่ ๕ อย่าง คือ

      ๑. สมํสโลหิตนหารุสมฺพนฺธอฏฺฐิกํ = ร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อ และ เลือดเส้นเอ็นรัดรึงอยู่

      ๒. นิมํสโลหิตมกฺขิตนหารุสมฺพนฺธอฏฺฐิกํ = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อแต่แปดเปื้อนด้วยโลหิต และยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่

      ๓. อปคตมิสํโลหิตนหารุสมฺพนฺธอฏฺฐิกํ = ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นรัครึงติดต่อกันอยู่

      ๔. อปคตนหารุสมฺพนฺธทิสาวิทิสาวิกฺขิตฺตฏฺฐิกํ = กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงไว้แล้วกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ

      ๕. เสตสงฺขวณฺณปฏิภาคอฏฺฐิกํ = ท่อนกระดูกที่มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์


ชี้แจงในเรื่องการเจริญอสุภกรรมฐาน

      การเจริญอสุภกรรมฐานตามที่ได้กล่าวนี้ หากว่าผู้นั้น มีบุญบารมีมาแล้วจากภพก่อน ๆ  ก็เพียงแต่พิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดตามที่ได้กล่าวแล้ว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฏแก่ผู้นั้นได้รวคเร็ว สำหรับบุคคลอื่นๆ นอกนั้นอุดคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิตจักปรากฏขึ้นได้เหมือนกัน แต่ไม่แน่นอน โดยอาศัยการพิจารณาตามหลักธรรมดานี้ ฉะนั้น หากอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตมิได้ปรากฎมีแก่พระโยดีบุคคลแล้วไซร้ พระโยคีบุคคลก็จะต้องหมั่นพิจารณาศพนั้นโดยอาการทั้งเพื่อจะได้ช่วยให้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฎขึ้นเร็ว เมื่อได้พิจารณาโดยอาการทั้ง ๖ นี้แล้ว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็ยังไม่ปรากฏ ก็จะต้องทำการพิจารณาโดยอาการทั้ง ๕ ต่อไป


อาการทั้ง ๖ นั้น คือ

      ๑. วณฺณโต กำหนดโดยสี รู้ว่าศพนี้เป็นคนผิวดำ ผิวขาว ผิวเหลือง

      ๒. ลิงฺคโต กำหนดโดยวัย รู้ว่าศพนี้อยู่ในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย โดยไม่ต้องไปกำหนดถึงเรื่องของเพศ เพราะคำว่า "ลิงคะ" ในที่นี้มิได้มุ่งหมายถึงเพศหากแต่ มุ่งหมายถึงวัย

      ๓. สณฺฐานโต กำหนดโดยสัณฐาน รู้ว่านี้เป็นศีรษะ คอ มือ ท้อง สะดือ เอว ขา อก แข็ง เท้า (. ทิสโต กำหนดโดยทิศ รู้ว่าตั้งแต่สะดือขึ้นไปเป็นส่วนบน ใต้สะดือลงมาเป็นส่วนล่าง หรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ทางทิศนี้ ศพอยู่ทางทิศนั้น

      ๕. โอกาสโต กำหนดโดยที่ตั้ง รู้ว่ามือ เท้า ศีรษะ กลางตัว อยู่ตรงนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ที่ตรงนั้น

      ๖. ปริจฺเฉทโต กำหนดโดยขอบเขต รู้ว่าเบื้องต่ำสุดของร่างศพนั้นแค่พื้นเท้า เบื้องบนสุดแค่ปลายผม ทั่วตัวสุดแค่ผิวหนัง


อาการทั้ง ๕ นั้น คือ

      ๑. สนฺธิโต กำหนดโดยที่ต่อ รู้ว่าในสรีระของศพนั้นมีที่ต่อส่วนใหญ่ ๆ อยู่ ๑๔ แห่ง คือ ที่ต่อมือขวา ๓ ที่ต่อมือซ้าย ๓ ที่ต่อเท้าขวา ๓ ที่ต่อเท้าซ้าย ๓ ที่ต่อ

คอ ๑ ที่ต่อเอว ๑

      ๒. วิวรโต กำหนดโดยช่อง รู้ว่านี้ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากช่องท้อง ช่องมือ ช่องเท้า หลับตา ลืมตา อ้าปาก หรือ หุบปาก

      ๓. นินฺนโต กำหนดโดยที่ลุ่ม รู้ว่านี้หลุมตา หลุมคอ ภายในปาก หรืออีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่ต่ำ ศพอยู่ ณ ที่สูง

      ๔. ถลโต กำหนดโดยที่ดอน รู้ว่าที่นูนขึ้นนี้เป็นหัวเข่า หน้าผาก หน้าอกหรือ อีกนัยหนึ่ง รู้ว่าตนอยู่ ณ ที่สูง ศพอยู่ ณ ที่ต่ำ

      ๕. สมนฺตโต กำหนดโดยรอบด้าน รู้ทั่วไปในร่างของศพ ในขณะที่กำหนดรู้ทั่วไปรอบ ๆ ด้านของศพอยู่นั้น ถ้าส่วนไหนปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ตามลักษณะของศพ อุทธุมาตกะ ศพวินีลกะ หรือ ศพวิปุพพกะแล้ว ก็จงตั้งจิตกำหนดลงที่ตรงนั้นพร้อมกับบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูฬํ หรือ วินีลกํ ปฏิกูฬํ หรือ วิปุพุพกํ ปฏิกูฬํ ดังนี้เป็นต้น


การเข้าไปทำการพิจารณาศพ

      พระโยคีบุคคลเมื่อจะเข้าไปทำการพิจารณาศพนั้นอย่าได้ไปทำการพิจารณาใต้ลมหรือ เหนือลม และไม่พึงอยู่เหนือศีรษะ หรือ ปลายเท้า แต่จงทำการพิจารณาอยู่ในระหว่างกลางตัวภายในระยะอันสมควร คือ อย่าให้ใกล้ หรือ ไกลออกไปนัก

      อนึ่ง ผู้ที่มีความกลัวผีเป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว เมื่อมาทำการพิจารณาอสุภกรรมฐานนี้ อุคคหนิมิตย่อมปรากฏได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีความกลัว ดังนั้น ถ้าหากว่ามีความจำเป็นเกิดขึ้นเกี่ยวแก่การโยกย้ายศพก็ดี . จัดทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ดีเหล่านี้ควรวานให้ผู้อื่นช่วยจัดทำให้จะเป็นการดีมาก สำหรับตนเองนั้นอย่าได้ไปจับต้องเป็นอันขาด ถ้าหากว่าจะต้องทำบ้างในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็จงใช้ไม้เท้าเขี่ยแทนมือ เพราะถ้าไปจับต้องด้วยมือ อยู่เสมอๆ แล้ว ก็จะทำให้ความหวาดเสียวกลัวที่มีอยู่นั้นค่อยๆ จางหายไป และจะทำให้กลายเป็นคนที่ไม่กลัวเพราะชินกันกับศพเสียแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ อุคคหนิมิตก็ไม่มีทางที่จะปรากฏได้ เช่นเดียวกับนายป่าช้า หรือ สัปเหร่อถึงแม้ว่าจะได้พบเป็นศพมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งหลายเดือน หลายปี ก็ตามที แต่การปรากฏขึ้นแห่งอุคคหนิมิตที่เกี่ยวกับศพต่างๆ เหล่านั้นไม่มีเลย


ศพที่มีผีเข้าสิงได้

      ในบรรดาอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น อสุภที่จะทำให้จิตใจของพระโยดีบุคคลเกิดการวิปริตผิดแผกไปได้ มีอยู่ ๓ อย่างคือ อุทธุมาตกะ วินีลกะ วิปุพพกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนหน้าอุคคหนิมิตจะเกิดนั้น พระโยดีบุคคลอาจมีความคิดนึกไปต่างๆ ว่าศพนี้กำลังลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน การที่คิดเช่นนี้ ถ้าเป็นผู้มีความกลัวอยู่แล้วก็อาจทำให้เสียสติได้ ดังนั้น ผู้ที่มีนิสัยกลัวผี เมื่อจะไปทำการพิจารณาจะไปด้วยกัน ๒ - ๓ คนก็ได้ และในขณะที่คิดนึกไปต่างๆ นั้นก็จงทำการพิจารณาห้ามใจตนเองว่า ตามธรรมดาศพนั้นไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ หรือ ท่อนไม้ เพราะเป็นร่างที่ปราศจากจิตใจอาศัยอยู่ ฉะนั้น จะลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน ไม่ได้เป็นอันขาด แต่การที่เห็นเป็นไปดังนี้ก็เพราะเนื่องมาจากจิตใจที่คิดนึกไปเอง ส่วนศพนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อมีการพิจารณาห้ามใจได้เช่นนี้ ความกลัวก็จะเลือนหายไป แต่อย่างไรก็ตาม ศพที่ยังสดอยู่อาจลุกขึ้นนั่ง ยืน เดินได้ก็มี โดยมีผีอื่นๆ มาเข้าสิง เมื่อมีผีมาเข้าสิงทำให้ศพทำอาการต่างๆ ขึ้นแล้ว พระโยคีบุคคลก็จงขับไล่ผีนั้นโดยการสวดมนต์ มีรัตนสูตรเป็นต้น หรือมิฉะนั้นก็ใช้ไม้เท้าตีให้ล้มลง เหตุนั้น เมื่อจะไปพิจารณาศพก็จงเอาไม้เท้าติดตัวไปด้วย อุคคหนิมิตจะกลับเป็นภัยแก่ผู้ที่มีนิสัยกลัว

      หลังจากที่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว พระโยดีบุคคลที่มีนิสัยค่อนข้างกลัวอยู่ ในระหว่างนั้น ถ้าขาดอาจารย์คอยแนะนำตักเตือน ทั้งตนเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องอุคคหนิมิตด้วยแล้ว ก็เห็นไปว่าถูกผีหลอก ถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เกิดเจ็บป่วยต้องหาหมอมาทำการรักษากันยกใหญ่ก็มี หรือ ผู้ที่มิได้ตั้งใจจะพิจารณาศพแต่อย่างใดเมื่อได้ไปเห็นศพอยู่นานๆ แล้ว ไม่ว่าจะไปข้างไหน อยู่ในอิริยาบถใด ก็คงเห็นแต่ภาพศพนั้นมาปรากฎอยู่เฉพาะหน้า ติดตา ติดใจอยู่ การที่ภาพศพมาอยู่เฉพาะหน้า ติดตาติดใจอยู่อย่างชัดเนเช่นนี้ เป็นอุคคหนิมิตอันเป็นของดี หากแต่สำคัญผิดไปว่าไม่ดีจึงเกิดกลัวถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องล้มป่วย เช่นเดียวกับผู้ไม่มีความรู้ในเรื่องอุคคหนิมิตที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น


ความต่างกันในระหว่างการเห็นบริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิต

      พระโยดีบุคคลผู้เจริญอสุภกรรมฐาน โดยมากมักจะเข้าใจผิดในเรื่องบริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิตทั้งสองนี้อยู่เสมอ คือ หลังจากที่ได้ไปพิจารณาศพมาแล้วพระโยดีบุคคล ก็จำรูปร่างสัณฐานของศพนั้นได้อย่างชัดเจน เมื่อจำได้ชัดเจนเช่นนี้ ก็สำคัญผิดไปว่าได้อุคคหนิมิต ซึ่งที่จริงนั้นหาใช่อุคคหนิมิตไม่ เพียงแต่เป็นสัญญาความจำอารมณ์บริกรรมนิมิต  ที่เป็นอดีตมาปรากฏแก่ใจต่างหาก แต่การปรากฏแห่งอุคคหนิมิตนั้นก็หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เป็นการปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าอยู่เสมอไม่ว่าจะไปข้างไหน และอยู่ในอิริยาบถใดโดยไม่มีการนึกถึงเลย ส่วนการจำรูปร่างสัณฐานศพได้อย่างชัดเจนนั้นเป็นการน้อมนึกถึงภาพที่ตนได้ไปพิจารณาแล้วจำมา หาใช่เป็นภาพที่ติดตามมาปรากฏเฉพาะหน้าแต่อย่างใดไม่ เปรียบเหมือนกับผู้ที่อ่านหนังสือ เมื่อปีดหนังสือแล้วก็ยังคงจำตัวอักษรในหน้าหนังสือนั้นได้อยู่ แต่ถ้าให้อ่านดูให้ถูกเหมือนกับเปิดหนังสือดูนั้นก็มิอาจทำได้ ฉะนั้น การจำอารมณ์ที่เป็นบริกรรมนิมิตได้ก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับการจำตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน แต่มิอาจที่จะอ่านให้ถูกได้ทั้งหมด ฉันนั้นส่วนการเห็นที่เป็นอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับผู้ที่อ่านข้อความในหนังสือนั้นได้ถูกต้องโดยไม่ต้องเปิดดู แม้ในการเพ่งองค์กสิณ พระโยคีบุคคลก็มีความสำคัญผิดในบริกรรมนิมิตที่เรียกว่า การจำรู้ กับอุคคหนิมิตที่เรียกว่า การเห็นรู้เช่นกัน


อสุภกรรมฐานที่อุดคหนิมิตปรากฏเร็ว และ ช้า

      ในอสุก ๑๐ อย่างนั้น แต่ละอย่างๆ เมื่อว่าโดยความน่าเกลียด น่ากลัวก็มีเป็น ๓ ประเภท คือ ที่น่ากลัวมาก และที่น่ากลัวน้อย ศพที่น่ากลัวมากย่อมทำให้อุคคหนิมิตเกิดได้เร็ว ส่วนศพที่น่ากลัวน้อยทำให้อุคคหนิมิตเกิดได้ช้า หรืออีกนัยหนึ่งการพิจารณาอสุภที่ไม่มีชีวิต อุคคหนิมิตย่อมเกิดได้เร็ว ส่วนการพิจารณาอสุภที่ยังมีชีวิตอยู่ อุคคหนิมิตเกิดได้ช้า อสุภที่ไม่มีชีวิตได้แก่อสุก ๑๐ อย่าง มีศพอุทธุมาตกะเป็นตัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเอง อสุภที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ได้แก่ร่างกายของตนและของคนอื่น การพิจารณาอสุภที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น คือ

      ๑. ในขณะที่มีการบวมขึ้น โดยอาการอย่างใด อย่างหนึ่ง ก็พิจารณาโดยความเป็นอุทธุมาตกะ

      ๒. ในขณะที่เป็นแผล เป็นฝี มีโลหิตหนองไหลออกมา ก็พิจารณาโดยความเป็นวิปุพพกะ

      ๓. ในขณะที่ ขาขาด แขนขาด มือขาด เนื่องมาจากอุปัทวเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็พิจารณาโดยความเป็นวิจฉิททกะ

      ๔. เห็นโลหิตเปรอะเปื้อนตามร่างกาย ก็พิจารณาโดยความเป็นโลหิตกะ

      ๕. ในขณะที่แลเห็นฟัน ก็พิจารณาโดยความเป็นอัฏฐิกะ การพิจารณาอสุภในสิ่งที่มีชีวิตนี้ ถึงแม้ว่าอุคคหนิมิตจะปรากฎได้ช้าก็ตาม แต่ก็เป็นที่นิยมของบัณฑิตทั้งหลายอยู่ไม่น้อยเพราะว่าความเป็นอสุภนั้นหาใช่มีต่อเมื่อตายแล้วไม่ แม้ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอสุภเหมือนกัน ดังนั้น พระมหาพุทธโฆสาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า

            ยเถว มตสรีรํ         ชีวํ ปี อสุภํ ตถา

            อาคนฺตุกาลงฺกาเรน   ฉนฺนตฺตา ตํ น ปากฏํ ฯ

      แม้ว่ายังมีชีวิตอยู่ ร่างกายก็คงเป็นอสุภะ คือ ไม่สวยงามอยู่นั้นเอง เช่นเดียว

      กับศพต่างๆ มีศพอุทธุมาตกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นของน่าเกลียดนั้นแหละ แต่สภาพที่ไม่

      สวยไม่งามโดยเป็นอสุภะต่างๆ ไม่ปรากฏให้เห็นได้ชัดนั้นแหละ ก็เพราะอาศัยเครื่อง

      ภายนอกที่นำมาประดับตบแต่งปกปิดเอาไว้


            สเจ อิมสิส กายสิส        อนฺโต พาหิรโก สิยา

            ทณฺฑํ นูน คเหตฺวาน       กาเก โสเณ นิวารเย ฯ (ฉ. วิสุทธิมัคค ปฐมภาค หน้า ๑๙๐)

      ถ้าหากจะเอาเนื้อและสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ภายในร่างกาย กลับออกมาอยู่เสียข้าง

      นอกแล้วไซร้ ทุกๆ คนก็จะต้องพากันถือไม้ไล่กา สุนัข อย่างแน่แท้


            ยถาปี ปุปฺผิตํ ทิสฺวา          สิงฺคาโล กึสุกํ วเน

            มํสรุกฺโข มยา ลทฺโธ          อิติ คนฺตฺวาน เวคสา ฯ

            ปติตํ ปติตํ ปุปฺผํ                 ฑํสิตฺวา อติโลลุโป

            นยิทํ มํสํ อทุํ มํสํ                 ยํ รุกฺขสฺมินฺติ คณฺหติ ฯ

            อิมญฺหิ สุภโต กายํ              คเหตฺวา ตตฺถ มุจฺฉิตา

            พาลา กโรนฺตา ปาปานิ      ทุกฺขา น ปริมุจฺจเร ฯ(ฉ. วิสุทธิมัคค ปฐมภาค หน้า ๑๙๐)

      สุนัขจิ้งจอกพบดอกทองกวาวที่กำลังบานอยู่ในป่า เข้าใจว่าตนได้ต้นไม้เนื้อ จึงวิ่งมาอย่างเร็วด้วยความดีใจ 

      กัดดอกไม้ที่ร่วงลงมาๆ นั้นด้วยความอยากจัด แล้วคิดว่านี้ยังไม่ใช่เนื้อแดง ๆ ที่อยู่บนตันไม้นั้นจึงจะเป็นเนื้อ 

      ข้อนี้อุปมาฉันใด ชนทั้งหลายที่ขาดปัญญาย่อมมีการยึดมั่นโดยความเข้าใจตรงกันข้ามในร่างกายตนและคนอื่น

      ที่มีลักษณะไม่สวยไม่งาม ว่าเป็นของสวยงาม หลงอยู่ในร่างกายตนและคนอื่นแล้วทำการชั่วต่างๆ ฉันนั้น 

      ด้วยเหตุนี้ จึงมิอาจไปจากทุกข์ มี อบาย และการเกิด แก่เจ็บ ตายได้


            ตสฺมา ปสฺเสยฺย เมธาวี     ชีวโต วา มตสฺส วา

            สภาวํ ปูติกายสฺส          สุภภาเวน วชฺชิตํ ฯ" (ฉ. วิสุทธิมัคค ปฐมภาค หน้า ๑๙๐)

      ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายควรพิจารณาให้เนสภาพตามความเป็นจริงที่ปราศ-

      จากความสวยงามของกายเน่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือ ตายแล้วนั้นด้วย เทอญ


อสุภที่ใช้แทนวัณณกสิณเพื่อเจริญทุติยฌาน เป็นต้น ต่อไป

      ได้กล่าวแล้วว่า การเจริญอสุภกรรมฐานนี้มิอาจให้ฌานเบื้องบน มีทุติยฌานเป็นต้นเกิดได้ ดังนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลได้ปฐมฌานแล้ว ถ้าหากว่าไม่ต้องการจะเปลี่ยน ก็จงเพ่งสีต่างๆ ที่ปรากฏชัดมากที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในศพ ซึ่งจัดเข้าในประเภทแห่งวัณณกสิณพร้อมกับบริกรรมว่า เขียวๆ หรือ เหลืองๆ แดงๆ ขาวๆ จนกว่าอุคคหนิมิตจะปรากฏ เมื่อุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็เจริญต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและทุติยฌานตามวิธีการของกสิณที่ได้กล่าวแล้ว


การพิจารณาอสุภใช้ได้ทั้งสองนัย

      การพิจารฌาอสุภกรรมฐานนี้มีอยู่สองนัย คือ สมถนัย เป็นนัยที่ให้ได้ฌาน และวิปัสสนานัย เป็นนัยที่ให้ได้มรรค ผล ในนัยทั้งสองนี้ สมถนัยได้กล่าวมาแล้ว สำหรับวิปัสสนานัยนั้นมิได้มีการพิจารณาโดยความเป็นของน่าเกลียดแต่อย่างใด หากแต่พิจารณาเป็นไปโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่า

      ๑. ความเป็นอยู่ของตนนี้ก็ไม่เที่ยง คือ จะต้องตายลงเช่นเดียวกัน เพียงแต่เขาตายก่อนและตนจะตายทีหลังเท่านั้น เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ

      ๒. ชีวิตและร่างกายของตน ที่กำลังได้รับความทุกข์ยากลำบากอยู่ในบัดนี้นั้นยังไม่ถึงซึ่งยอดทุกข์แต่อย่างใด แต่มิวันใดก็วันหนึ่งจะต้องถึงซึ่งยอดทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่มิอาจทนสู้ได้ถึงกับสิ้นชีวิตลงเช่นเดียวกับผู้ตายนี้ เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

      ๓. ผู้ที่ตายอยู่จำเพาะหน้าตนนี้ ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ไม่มีความประสงค์ในการแก่ เจ็บ ตาย แต่อย่างใด แต่ก็มิอาจเปีนไปตามความประสงค์ได้ เพราะร่างกายมิได้อยู่ใต้บังคับบัญชาของตน คงเป็นไปตามสภาวะของรูป นาม ที่เป็นอนัตตะ ตนนี้ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้เหมือนกัน  คือ มิอาจหลีกเสี่ยงให้เป็นไปอย่างอื่นได้ จะต้องเป็นไปอย่างนี้โดยแน่แท้เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาว่า สพฺเพ ธมมา อนตฺตา รูป นาม ทั้งหลายไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของใครฯ ทั้งสิ้น

      อนึ่ง การพิจารณาศพตามวิปัสสนานัยดังที่ได้กล่าวนี้ พระโยคีบุคคลไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกศพว่าเป็นหญิง หรือ.ชาย...... ดังที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิตศพหญิงให้แก่พระกุลลเถระที่มีราคจริตพิจารณา และทรงใช้ให้ภิกษุหนุ่มไปพิจารณาศพนางสิริมา นครโสเกณี ที่ภิกษุนั้นหลงรักมากที่สุดถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


อธิบายในบาลีข้อที่ ๗ ที่แสดงถึงอสุภ ๑๐ จบลงเพียงเท่านี้

------------///----------- 

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,อสุภกรรมฐาน

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.