การเจริญ กายคตาสติ

      กายคตาสติ หมายความว่า การระลึกถึง ๓๒ โกฏฐาส มี เกสา โลมา นขา ทันตา เป็นต้นเนืองๆ ชื่อว่า กายคตาสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มี ๓๒ โกฎฐาสเป็นอารมณ์ 

      คำว่า "กาย" แปลว่ากอง หมายความว่ากองแห่งหมวด๓๒ มีผม ขน เล็ก ฟัน หนัง เป็นต้น ดังมีวจนัตถะว่า "กาเย คตา = กายคตา, กายคตา จ สา สติ จาติ = กายคตาสติ" การเป็นไปโดยกระทำให้เป็นอารมณ์

      ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขนเป็นต้น ชื่อว่า กายคตา ธรรมชาติที่เป็นไป โดยกระทำให้เป็นอารมณ์ในกองแห่งหมวด ๓๒ มีผม ขน เป็นต้นนั้นด้วย เป็นสติด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า "กายคตาสติ"  ในวจนัตถะนี้ เมื่อสำเร็จเป็นบทรวมแล้วควรจะเป็น กายคตสติ แต่ที่มิได้เป็นไปเช่นนั้นก็เพราะว่า อา สระที่อยู่หลัง ๓ นั้นพระพุทธองค์มิได้ทรงรัสสะ ฉะนั้น จึงคงเป็น "กายคตาสติ"

      กายคตาสติกรรมฐานนี้เรียกว่า ทวัตติงสกายกรรมฐาน ก็ได้ หรือโกฏฐาสกรรมฐาน ก็ได้ เพราะคำว่า กายะ และ โกฏฐาส นั้นมีความหมายอย่างเดียวกันคือ กายะ แปลว่า กอง ได้แก่กองส่วนต่างๆ มี ๓๒ นั้นเอง โกฏฐาส แปลว่า หมวด ได้แก่ ส่วนต่างๆ มี ๓๒ หมวดนั้นเอง


วิธีเจริญกายคตาสติ

      ผู้ที่จะเจริญกายคตาสติ ก่อนลงมือปฏิบัติต้องรู้กิจเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้ดีเสียก่อน กิจเบื้องต้นนั้นมีอยู่ ๒ ประการ คือ 

      ๑. อุคฺคหโกสลฺล ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่าง 

      ๒. มนสิการโกสลฺล ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่าง


อุคฺคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่างนั้น คือ:-

      ๑. วจสา การพิจารณาโดยใช้วาจา

      ๒. มนสา การพิจารณาด้วยใจ

      ๓. วณฺณโต การพิจารณาโดยความเป็นวรรณะ (สีดำ ขาว หรือแดง)

      ๔. สณฺฐานโต การพิจารณาโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน

      ๕. ทิสาโต การพิจารณาโดยที่เกิด (คือ เกิดอยู่ส่วนบน หรือส่วนล่างของร่างกาย)

      ๖. โอกาสโต การพิจารณาโดยที่ตั้ง (คือ ตั้งอยู่ในร่างกายส่วนใด)

      ๗. ปริจฺเฉทโต การพิจารณาโดยกำหนดขอบเขต (เช่น เส้นผมกำหนดเขต โดยผมนั้นหยั่งลงในศีรษะประมาณเมล็ดข้าวเปลือก และในรูที่เส้นผมหยั่งลงนั้น ไม่มีผม ๒ เส้นอยู่ด้วยกัน กำหนดเขตปลายผมนั้น สุดความยาวของเส้นผม) 


มนสิการโกสัลละ ความฉลาดในการพิจารณา ๑ อย่างนั้น คือ:-

      ๑. อนุปุพฺพโต การพิจารณาไปตามลำดับ (ไม่กระโดดข้ามหมวด)

      ๒. นาติสีฆโต การพิจารณา โดยไม่รีบร้อนนัก

      ๓. นาติสณิกโต การพิจารณา โดยไม่เฉื่อยชานัก

      ๔. วิกฺเขปปฺปฏิพาหนโต การพิจารณา โดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น

      ๕. ปณฺณตฺติสมติกฺกมโต การพิจารณา โดยก้าวล่วงบัญญัติ

      ๖. อนุปุพฺพมุญฺจนโต การพิจารณา โดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฎโดยสีสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขตตามลำดับ

      ๗. อปฺปนาโต การพิจารณา ในโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอัปปนา

      ๘.,๙.,๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร


อธิบายในอุคคหโกสัลละ ๒ ข้อแรก

      เนื่องด้วยข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง ในอุคคหโกสัลละ ๗ ประการ มีคำว่า วจสา การพิจารณาโดยใช้วาจา มนสา การพิจารณาด้วยใจ ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติควรทราบถึงพุทธภาษิตที่เกี่ยวกับ ๓๒ โกฎฐาส ดังต่อไปนี้

      อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย

      เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ, มํสํ นหารุ อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ, หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปีหกํ ปปฺผาสํ, อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลฺุงคํ,ปีตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท, อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆานิกา ลสิกา มุตฺตนฺติ

      ในร่างกายของเรานี้ มีส่วนต่างๆ อยู่ คือ

      ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง, เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม, หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด, ใส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง, น้ำดี เสมหะน้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น, น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร

      หมายเหตุ บท มตฺถลุงคํ สมองนี้ เดิมทีนั้น ในพุทธภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมบท มตฺถลุงฺคํ สมอง ไว้ในบท อฏฺฐิมิญฺชํ เยื่อในกระดูกแล้ว ครั้นต่อมา ปฐมสังคีติการกาจารย์ทั้งหลายได้แยกบท มตฺถลุงฺคํ จากบท อฏฺฐิมิญฺชํ มาโดยเฉพาะ ต่อจากบท กรีสํ เพื่อจะได้ครบจำนวนปถวีธาตุ ๒๐

      สำหรับการบริกรรมนั้น บทต้น คือ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย และบทสุดท้าย คือบท อิติ ที่อยู่ท้าย มุตตนฺติ ไม่ต้องบริกรรม คงบริกรรมแต่ ๓๒ โกฏฐาส มี เกสาเป็นต้นจนถึง มุตฺตํ เป็นที่สุดเท่านั้น

      อนึ่งผู้ทำการพิจารณโดยใช้วาจา และพิจารณาด้วยใจนั้น มิใช่จะบริกรรมว่า เกสา โลมา นขา ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนถึง มุตตํ ก็หามิได้ หากแต่ต้องแบ่งการบริกรรมนั้นออกไปเป็นหมวดๆ มี ๖ หมวดด้วยกัน คือ


หมวดที่ ๑ ชื่อว่า ตจปัญจกะ มีโกฏฐาส ๕ ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา  ตโจ

หมวดที่ ๒ ชื่อว่า วักกปัญจกะ มีโกฏฐาส ๕ ได้แก่ มํสํ นหารุ อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ

หมวดที่ ๓ ชื่อว่า ปัปผาสปัญจกะ มีโกฏฐาส ๕ ได้แก่ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปีหกํ ปปฺผาสํ

หมวดที่ ๔ ชื่อว่า มัตถลุงคปัญจกะ มีโกฏฐาส ๕ ได้แก่ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ

หมวดที่ ๕ ชื่อว่า เมทฉักกะ มีโกฏฐาส ๖ ได้แก่ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท

หมวดที่ ๕ ชื่อว่า มุตตฉักกะ มีโกฏฐาส ๖ ได้แก่ อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆานิกา ลสิกา มุตฺตํ


      ในการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ พระอรรถกถาจารย์แนะไว้ว่า ผู้เจริญจะต้องทำการท่องด้วยวาจาทุกๆ คนไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ บุคคลที่ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก (ติปีฏกธรปุคคล) ก็ตาม เพราะว่าการท่องด้วยวาจานั้นเป็นเหตุสำคัญที่จะให้ได้รับความสะดวกสบายในการพิจารณาด้วยใจ


วิธีเจริญกายคตาสตินี้ ผู้เจริญจะต้องบริกรรมในหมวดหนึ่งๆ โดยความเป็น อนุโลม ๕ วัน ปฏิโลม ๕ วัน อนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ดังแสดงต่อไปนี้

      หมวดที่ ๑ :- 

               เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยอนุโลม ๕ วัน, 

               ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

               เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

               รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดตจปัญจกะ


      หมวดที่ ๒ :- 

               มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

               วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

               มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง, วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ทั้งอนุโลมปฎิโลม ๕ วัน 

               รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดวักกปัญจกะ

      ๕ หมวดรวมกัน :-  

               เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ, มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

               วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

               เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง, วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมและปฏิโลม ๕ วัน 

               รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดทั้ง ๒ รวมกัน มี ตจปัญจกะ และวักกปัญจกะ


      หมวดที่ ๓ :- 

              หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

              ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

              หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง, ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง ทั้งอนุโลมปฎิโลม ๕ วัน,

              รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดปัปผาสปัญจกะ

      ๓ หมวดรวมกัน :- 

            เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

            ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฎิโลม ๕ วัน, 

            เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง โลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง, 

            ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

            รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดทั้ง ๓ รวมกัน มี ตจปัญจกะเป็นต้น จน ถึงปัปผาสปัญจกะ


      หมวดที่ ๔ :- 

            อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง โดยอนุโลม ๕ วัน 

            มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคณัง อันตัง โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

            อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง, มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน, 

            รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดมัตถลุงคปัญจกะ 

      ๔ หมวดรวมกัน :- 

            เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฎฐิมิญชัง วักกัง นทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง โดยนุโลม ๕ วัน,

            มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุนัง อันตัง ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฎฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโถม ๕ วัน,

            เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง, 

            มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

              รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดททั้ง ๔ รวมกันมี ตจปัญจกะเป็นต้น จนถึงมัตถลุงคปัญจกะ


      หมวดที่ :- ๕ 

              ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท โดยอนุโลม ๕ วัน, 

              เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปีตตัง โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

              ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท, เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปีตตัง ทั้งอนุโลม ปฎิโลม ๕ วัน 

              รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดเมทฉักกะ

      ๕ หมวดรวมกัน :- 

              เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท โดยอนุโลม ๕ วัน, 

              เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปีตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

              เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท, เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฎฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

              รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดทั้ง ๕ รวมกัน มีตจปัญจกะเป็นต้น จนถึงเมทฉักกะ


      หมวดที่ ๖ :- 

             อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

             มุตตัง ลสิกา สิงฆานิกา เขโฬ วสา อัสสุ โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

             อัสสุ วสา ขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง, มุตตัง ลสิกา สิงฆานิกา เขโฬ วสา อัสสุ ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

             รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดมุตตฉักกะ 

      ๖ หมวดรวมกัน :- 

              เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

              มุตตัง ลสิกา สิงฆานิกา เขโพ วสา อัสสุ เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปีตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฎฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

              เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปีหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปีตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง, มุตตัง ลสิกา สิงฆานิกา เขโฬ วสา อัสสุ เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปีตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปีหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารุ มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน 

              รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดทั้ง ๖ รวมกัน 

              เมื่อรวมทั้ง ๖ หมวดแล้วเป็นเวลา ๕ เดือน กับ ๑๕ วัน

      วิธีเจริญดังกล่าวนี้ เป็นการเจริญโดยใช้คำบริกรรมเป็นภาษาบาลี ครั้นเจริญไปจนครบบริบูรณ์ถูกต้องตามหลักทั้ง ๖ หมวดแล้ว มิหมวดใดก็หมวดหนึ่งจักปรากฏขึ้นแก่ใจ เมื่อหมวดใดหมวดหนึ่งปรากฏในเวลานั้น สัญญาความจำไว้ว่าเป็นสัตตชีวะก็จักหายไป ถ้าหากไม่ปรากฏ สัญญาความจำไว้ว่าเป็นสัตตชีวะก็ยังคงมีอยู่ การที่หมวดใดหมวดหนึ่งมิได้ปรากฏเลยนั้น ก็อาจเนื่องมาจากการบริกรรมเป็นภาษาบาลีซึ่งมิใช่เป็นภาษาของตนนั้นเอง ฉะนั้น ควรบริกรรมเป็นภาษาของตนๆ จึงจะเป็นการดีที่สุด เพราะการเจริญกายคตาสตินี้ มีความมุ่งหมายอย่างเดียว คือ ให้โกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นกับใจ เพื่อจะได้ทำลายสัญญา ความจำว่าเป็นสัตตชีวะอันเป็นต้นเหตุให้เกิดสุภสัญญา วิธีเจริญเป็นภาษาของตนๆ นั้นก็คงเป็นไปในทำนองเดียวกันกับภาษาบาลีนั้นเอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดดังจะแสดงเป็นภาษาไทยเป็นตัวอย่างเพียง ๒ หมวดแรก

      หมวดที่ ๑ :- 

           ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยอนุโลม ๕ วัน, 

           หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

           ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง, หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน, 

           รวมเป็น ๑๕ วัน ในหมวดตจปัญจกะ

       หมวดที่ ๒ :- 

            เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม โดยอนุโลม ๕ วัน, 

            ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

            เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกม้าม, ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ ทั้งอนุโลมปฎิโลม ๕ วัน 

            รวมเป็น ๑๕วัน ในหมวดวักกปัญจกะ

      ๒. หมวดรวมกัน :- 

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม โดยอนุโลม ๕ วัน, 

            ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม โดยปฏิโลม ๕ วัน, 

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกม้าม, ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน, 

            รวมเป็น ๑๕ วัน ใน ๒ หมวดรวมกัน มีตปัญจกะ และ วักกปัญจกะ 

      สำหรับหมวดที่ ๓ ถึงหมวดที่ ๖ นั้นก็คงเป็นไปในทำนองเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตน ๆ เท่านั้น รวมเป็นเวลา ๕ เดือน กับ ๑๕ วัน ดังนั้น พระมหาพุทธโฆสาจารย์จึงได้แสดงไว้ในสติปัฏฐานวิภังค์ แห่งสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา (ฉบับฉัฏฐสังคายนา. หน้า ๒๓๗) ว่า

      ๑. ตจปญฺจเก ตาว เหฏฺฐา วุตฺตนเยเนว อนุโลมโต ปญฺจาหํ, ปฏิโลมโต ปญฺจาหํ, อนุโลมปฏิโลมโต ปญฺจาหนฺติ อฑฺฒมาสํ สชฺฌาโย กาตพฺโพ

      ๒. ตโต อาจริยสฺส สนฺตํ คนฺตฺวา วกฺกปญฺจ อุคฺคณฺหิตฺวา ตเถว อฑฺฒมาสํ สชฺฌาโย กาตพฺโพ

      ๓. ตโต เต ทสปิ โกฏฺฐาเส เอกโต กตฺวา อฑฺฒมาสํ

      ๔. ปุน ปปฺผาสปญฺจกาทีสุปิ เอเกกํ อุคฺคณฺหิตฺวา อฑฺฒมาสํ

      ๕. ตโต เต ปญฺจทสปิ โกฏฺฐาเส อฑฺฒมาสํ

      ๖. มตฺถลุงฺคปญฺจกํ อฑฺฒมาสํ

      ๗. ตโต เต วีสติ(ฉ. เตวีสติ) โกฏฺฐาเส อฑฺฒมาสํ

      ๘. เมทฉกฺกํ อฑฺฒมาสํ

      ๙. ตโต เต ฉพฺพีสติปิ โกฏฺฐาเส เอกโต กตฺวา อฑฺฒมาสํ

      ๑๐. มุตฺตฉกฺกํ อฑฺฒมาสํ

      ๑๑. ตโต สพฺเพปี ทวตฺตึส โกฏฺฐาเส เอกโต กตฺวา อฑฺฒมาสนฺติ เอวํ ฉ มาเส สชฺฌาโย กาตพฺโพ ฯ

แปลความว่า

      ๑. ในตจปัญจกะอันเป็นหมวดแรกนี้ พระโยคีบุคคลพึงท่องบ่นตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน ได้แก่อนุโลม ๕ วัน ปฎิโลม ๕ วัน ทั้งอนุโลมปฏิโลม ๕ วันโดยนัยดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

      ๒. หลังจากการท่องบ่นตจปัญจกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้ว พระโยคีบุคคลไปสู่สำนักอาจารย์ ศึกษาวักกปัญจกะแล้ว พึงท่องบ่นตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน เช่นเดียวกับหมวดตจปัญจกะทุกประการ

      ๓. หลังจากการท่องบ่นวักกปัญจกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้ว พึงท่องบ่นหมวดทั้ง ๒ รวมกัน มีโกฎฐาส ๑๐ อย่าง ตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน 

      ๔. พระโยคีบุคคลต้องศึกษา แล้วพึงท่องบ่นเฉพาะหมวดหนึ่งๆ ตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน ในหมวดที่เหลืออีก ๔ มี ปัปผาสปัญจกะ เป็นต้น

      ๕. หลังจากการท่องบ่นปัปผาสปัญจกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้ว พึงท่องบ่นหมวดทั้ง ๓ รวมกัน มี โกฏฐาส ๑๕ อย่าง ตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน

      ๖. มัตถลุงคปัญจกะ ก็มีการท่องบ่นตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน

      ๗. หลังจากการท่องบ่นมัตถลุงคปัญจกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้ว พระโยคีพึงท่องบ่นหมวดทั้ง ๔ รวมกัน มี โกฏฐาส ๒๐ อย่าง ตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕

      ๘. เมทฉักกะ ก็มีการท่องบ่นตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน

      ๙. หลังจากการท่องบ่นเมหจักกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้ว พระโยคีบุคคลพึงท่องบ่นหมวดทั้ง ๕ รวมกัน มีโกฏฐาส ๒๖ อย่าง ตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน

      ๑๐. มุตตฉักกะ ก็มีการท่องบ่นตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน

      ๑๑. หลังจากการท่องบ่นมุตตฉักกะ ๑๕ วัน เสร็จแล้วพระโยคีบุคคลพึงท่องบ่นหมวดทั้ง ๖ รวมกัน มี โกฏฐาส ๓๒ ทั้งหมดตลอดเวลาครึ่งเดือน คือ ๑๕ วัน รวมการท่องบ่นเป็นเวลาร่วม ๖ เดือน ด้วยประการฉะนี้

      การปฏิบัติกายคตาสติ ใช้เวลาดังที่ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ฉ มาเส รวมการท่องบ่นเป็นเวลา ๖ เดือนนั้น เพราะท่านนับตามแบบอธิกสังขยา แต่แท้จริงแล้วก็สิ้นเวลาประมาณ ๕ เดือนกับ ๑๕ วัน เท่านั้น

      บุคคลที่ทำการเจริญกรรมฐานนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๓ พวก คือ ๑. ติกขบุคคล บุคคลที่มีบารมีแก่กล้า ๒. มัชฌิมบุคคล บุคคลที่มีบารมีปานกลาง ๓. มันทบุคคลบุคคลที่มีบารมีอ่อน ในบรรดาบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ ติกขบุคคลที่ทำการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน จะสำเร็จเป็นปฐมฌานลามีและอริยะได้โดยใช้เวลาไม่ถึง ๕ เดือน ๑๕ วัน บางท่านยังไม่ทันทำการเจิรญท่องบ่นแต่อย่างใด เพียงแต่กำลังศึกษาอยู่กับอาจารย์โกฏฐาสก็ปรากฏแก่ใจ ต่อแต่นั้นฌาน มรรค ผล ก็เกิดเป็นขึ้นเป็นลำดับไปในเวลานั้นเอง ถ้าเป็นมันทบุคคลก็จะสำเร็จได้ช้า คือเกินกว่า ๕ เดือน ๑๕ วัน สำหรับมัชฌิมบุคคลนั้น เมื่อปฏิบัติครบกำหนด เวลา ๕ เดือน ๑๕ วันแล้ว ก็จักสำเร็จ ที่ระบุไว้ว่า ฉ มาเส นั้นก็มุ่งหมายเอามัชฌิมบุคคล นี้เอง ดังนั้นท่านอรรถกถาจารย์"(ฉ. สัมโมนวิโนทนีอัฏฐกถา สติปัฏฐานวิภังค์ กายานุปัสสนานิทเทสวัฒณนา หน้า ๒๓๗-๒๓๘) จึงได้กล่าวว่า

      ๑. ตตฺถ อุปนิสฺสยสมฺปนฺนสฺส สปฺปญฺญสฺส ภิกฺขุโน กมฺมฏฺฐานํ อุคฺคณฺหนฺตสฺเสว โกฏฺฐาสา อุปฏฺฐหนฺติ

      ๒. มชฺมิมปญฺญสฺส หิ วเสน อาจริยา ฉหิ มาเสหิ ปริจฺฉินฺทิตฺวาตนฺตึ ฐปยึสุ

      ๓. ยสฺส ปน เอตฺตาวตาปี โกฏฺฐาสา ปากฏา น โหนฺติ เตนตฺโต ปรมฺปี สชฺฌาโย กาตพฺโพ เอวํ โน จ โข อปริจฺฉินฺทิตฺวา ฉ ฉมาเส ปริจฺฉินฺทิตฺวา กาตพฺโพ


แปลความว่า

      ในบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น 

      ๑. พระภิกษุผู้เจริญกรรมฐานที่มีปฏิสนธิปัญญาและเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย อันเป็นเหตุสำคัญยิ่งในการที่จักสำเร็จ มรรค ผล โกฏฐาสเหล่านั้น ย่อมปรากฎแก่ใจในขณะที่กำลังศึกษากายคตาสติกรรมฐานอยู่นั้นเอง

      ๒. ท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้วางระเบียบกำหนดเวลาไว้ถึงหกเดือนนั้น ว่าโดย ผู้มีปัญญาปานกลาง

      ๓. เมื่อโกฏฐาสไม่ปรากฎแก่ผู้ที่มีปัญญาอ่อนตามกำหนดเวลาหกเดือนดังที่ท่านได้วางไว้ มันทบุคคลผู้นั้นก็จะต้องท่องบ่นต่อไปมากกว่าเวลาที่ได้กำหนดไว้อีกหกเดือน แต่การท่องบ่นต่อไปนั้น ใช่ว่าจะกระทำการท่องบ่นไปโดยไม่มีระเบียบก็หามิได้ หากแต่ต้องท่องบ่นไปตามระเบียบกำหนดเวลาหกเดือนๆ คือ เที่ยวที่หนึ่ง และเที่ยวที่สอง

      การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดหนึ่งๆนั้น ผู้เจริญะต้องท่องบ่นโดยความเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้นประการเดียว ไม่ต้องพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นปฏิกูลเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ แต่อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น ฝ่ายอาจารย์ผู้สอน ก็ไม่ต้องสอนให้พิจารณาถึงสี ถึงปฏิกูล ถึงธาตุ แต่อย่างใดๆ เลย เพียงแต่สอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น หมายความว่า ถ้าสอนให้ท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีแล้ว ขณะที่ทำการท่องบ่นพิจารณาอยู่นั้น หากวัณณนิมิต คือ สีปรากฎขึ้น ผู้เจริญก็ไม่มีความเข้าใจ ผิด เพราะตรงกับคำสอนของอาจารย์ หากวัณณนิมิตมิปรากฏดังที่สอนคงปรากฎแต่ปฏิกูลนิมิต คือ ความปฏิกูล ธาตุนิมิต คือ ความเป็นปถวีธาตุ อาโป-ธาตุเช่นนี้ ผู้เจริญก็จะเข้าใจผิดไปว่า การเจริญนี้ผิดไปเสียแล้ว เพราะนิมิตที่ปรากฏนั้นไม่ตรงกับคำสอน ทำให้การสอนนั้นกลับกลายเป็นโทษไป ถ้าอาจารย์เพียงแต่สอนให้ท่องบ่นพิจารณโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ประการเดียว เมื่อวัณณนิมิตปรากฏก็ดี ปฏิกูลนิมิตปรากฎก็ดี ธาตุนิมิตปรากฏก็ดี ผู้เจริญก็ไม่มีความเข้าใจผิด ครั้นถึงเวลาสอบอารมณ์ อาจารย์ก็มีโอกาลชี้แจงสนับสนุนแก่ผู้เจริญได้เช่นถ้าวัณณนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าดีมาก เพราะผู้เจริญมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญวัณณกสิณมาแต่ภพก่อน ๆ ฉะนั้น วัณณนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าวัณณกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีต่อไป ถ้าปฏิกูลนิมิตปรากฏ ก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลมาแต่ภพก่อน ฉะนั้น ปฏิกูลนิมิตจึงปรากฏ เป็นอันเชื่อได้ว่าปฏิกูลกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้นั้นควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปถ้าธาตุนิมิตปรากฏก็บอกว่าผู้เจริญเคยพิจารณาโดยความเป็นปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุมาแต่ภพก่อนๆ ฉะนั้น ธาตุนิมิตจึงเกิด เป็นอันเชื่อได้ว่าธาตุกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้นั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป

      การที่วัณณนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดมีสีอยู่ ขณะที่กำลังท่องบ่นว่าเกสาๆ หรือ ผม ๆ อยู่นั้น สีดำ สีขาว สีแดง อันเป็นวัณณนิมิตก็จักปรากฏได้ เพราะผมมีหลายสี ส่วน ขน เล็บ ฟัน หนัง งเป็นต้นนั้น วัณณนิมิตก็ปรากฎได้เช่นเดียวกันผลจากการเพ่งวัณณนิมิตต่อไปนั้น คือให้ได้รูปฌาน ๕ เมื่อได้รูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปมาน ๕ นั้นแล้ว ก็อาศัยรูปฌานนั้นๆ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจนสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ปฏิกูลนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดเป็นปฏิกูลอยู่แล้ว ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลต่อไปนั้น คือให้ได้ถึงรูปปฐมฌาน จากนั้นก็อาศัยปฐมฌานสมาธิเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจนสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล การที่ธาตุนิมิตปรากฎก็เพราะโกฏฐาส ๒๐ มี เกสาเป็นต้น จบถึงมัตถลุงคัง เหล่านี้วนแต่เป็นปถวีธาตุ โกฏฐาสที่เหลือ ๑๒ มีปีตตังเป็นต้น จนถึง มุตตัง เป็นอาโปธาตุ ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณา โดยความเป็นธาตุต่อไปนั้นได้แต่เพียงอุปจารสมาธิ ไม่ถึงรูปฌาน จากนั้นก็อาศัยอุปจารสมาธินี้แหละ เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไป จนสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล

      ในบรรดานิมิตทั้ง ๓ อย่างนั้น วัณณนิมิตและปฏิกูลนิมิตปรากฏไม่ยาก เมื่อปรากฏแล้วผู้เจริญก็ตัดสินได้ถูก ว่าเป็นวัณณนิมิตหรือปฏิกูลนิมิต ฝ่ายอาจารย์ก็วินิจฉัยได้โดยง่าย สำหรับธาตุนิมิตนั้นปรากฏก็ยาก เมื่อปรากฎแล้วผู้เจริญก็รู้ได้ยากฝ่ายอาจารย์ก็วินิจฉัยได้ลำบากเช่นกัน ดังนั้นะได้กล่าวถึงการปรากฏขึ้นแห่งธาตุนิมิตพร้อมทั้งวิธีท่องบ่นพิจารณาความเป็นธาตุพอสังเขปดังต่อไปนี้

      การปรากฎขึ้นแห่งธาตุนิมิตนั้นคือ ในขณะที่ผู้เจริญกำลังท่องบ่นโกฏฐาสในหมวดต่างๆ อยู่ เวลาที่ธาตุนิมิตปรากฏนั้น อัตถบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐานของ ผมขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เหล่านี้ไม่มี สัญญาที่เคยจำไว้ว่าเป็นสัตตชีวะ ก็หายไปจากใจ อุปมาเหมือนผู้ที่เห็นเถ้าจากการเผาศพ ขณะนั้น ไม่ได้เห็นเป็นรูปร่างสัญฐานหรือเป็นบุคคล หญิง ชาย แต่อย่างใดเลย คงเห็นแต่ความเป็นเถ้าอยู่เท่านั้น ข้อนี้ฉันใดขณะที่กำลังท่องบ่นพิจารณาว่าผมๆ ขนๆ เป็นต้นอยู่นั้น ผมก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหญ้าคาที่ขึ้นอยู่บน จอมปลวก ขนก็ปรากฏเสมืนหนึ่งหญ้าแพรกที่ขึ้นอยู่ในบ้านร้าง เล็บก็ปรากฎเสมือนหนึ่งลูกมะซางที่เสียบติดอยู่กับปลายไม้ ฟันก็ปรากฎเสมือนหนึ่งเมล็ดน้ำเต้าที่เสียบไว้กับก้อนดิน หนังก็ปรากฏเสมือนหนึ่งหนังโคสดที่ขึงไว้บนพื้นเนื้อก็ปรากฏเสมือนหนึ่งดินเหนียวที่ฉาบฝาเรือน เอ็นก็ปรากฎเสมือนหนึ่งเถาวัลย์ที่ผูกพันทัพพสัมภาระเรือนไว้ กระดูกก็ปรากฏ เสมือนหนึ่งเสาฝาและตัวเรือน ดังนี้เป็นต้น มิได้ปรากฏว่าเป็น คน ชาย หญิง สัตว์แต่อย่างใด จิตของผู้เจริญมีความรู้สึกดังนี้แหละ จึงตัดสินได้ว่าเป็นการปรากฏแห่งธาตุนิมิต

      วิธีท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุนั้น พิจารณาเห็นว่าผมนี้ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ในหนังบนศีรษะ ส่วนหนังที่หุ้มศีรษะอยู่ก็ไม่รู้ว่าผมได้งอกขึ้นบนตน ฉะนั้น ผมนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น ขนก็ไม่รู้ว่าตนได้ขึ้นอยู่ในหนังทั่วร่างกาย หนังที่หุ้มร่างกายอยู่นั้นก็ไม่รู้ว่าขนขึ้นอยู่ในตนทั่วไป ฉะนั้น ขนจึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือปถวีธาตุเท่านั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าตนได้งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าส่วนปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าก็ไม่รู้ว่ามีเล็บงอกอยู่ ฉะนั้น เล็บมือ เล็บเท้า เหล่านี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีเท่านั้น ฟันก็ไม่รู้ว่าตนได้งอกขึ้นมาจากกระดูก ส่วนกระดูกคางก็ไม่รู้ว่าฟันได้งอกขึ้นมาจากตน ฉะนั้น ฟันนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น หนังก็ไม่รู้ว่าตนได้ปกกลุมอยู่ทั่วไปตลอดร่างกาย ร่างกายก็ไม่รู้ว่ามีหนังปกคลุมหุ้มห่อตนไว้ ฉะนั้น หนังนี้จึงมิใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น

      ปถวีโกฏฐาสที่เหลือ ๑๕ ตั้งแต่มังสัง เป็นตัน จนถึงมัตถลุงคังก็ไม่มีการรู้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น มังสังป็นต้น  จนถึงมัตถลุงคังจึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงเป็นรูป คือ ปถวีธาตุเท่านั้น สำหรับอาโปโกฏฐาส ๑๒ มีปีตตัง เป็นต้นจนถึงมุตตังก็ไม่มีการรู้ความเป็นอยู่ของตนๆ เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ปีตตัง เป็นต้นจนถึงมุตตังเหล่านี้จึงไม่ใช่เป็นคน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นรูป คือ อาโปธาตุเท่านั้น

      ในขณะที่ท่องบนพิจารณาเห็นว่าเป็นแต่ปถวีราตุ อาโปธาตุ มิใช่คน ไม่มีชีวิตจิตใจแต่ประการใด ๆ นั้น อุสสทาเตโช เตโชธาตุที่มีกำลังกล้า ปรากฎที่ท้องมากรู้ได้อย่างชัดเจน อุสสทาวาโย วาโยธาตุที่มีกำลังกล้า ปรากฏที่ปลายจมูกมาก รู้ได้อย่างชัดเจน เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ สำเร็จเป็นจตุธาตุววัตถานกรรมฐานด้วย เมื่อพิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกายตนจนครบบริบูรณ์แล้วจากนั้น ก็พิจารณาเห็นอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดอยู่ภายในกายของตนนั้นๆ พร้อมไปด้วย เป็นอันว่าได้พิจารณาเห็นรูปขันธ์ที่เกิดอยู่ภายในตนโดยภาวนามัย ต่อแต่นั้นนามขันธ์ ๔ ก็ปรากฎขึ้นด้วยอำนาจแห่งการกระทบกันระหว่างอารมณ์กับทวารเป็นอันว่าผู้เจริญได้เห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่ภายในตนครบถ้วยทุกประการ การปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ๕ โดยลำดับดังที่ได้กล่าวแล้วนี้แหละ ทำให้ผู้เริญใด้กำหนดรู้ต่อไปได้อีกว่าขันธ์ ๕ นี้ก็คืออายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๔ นั้นเอง สำเร็จเป็นนามรูปปริจเฉทญาณจากนั้นได้พิจารณาเห็นว่า รูป นาม ที่กำลังเป็นไปอยู่นี้เกิดขึ้นโดยอาศัย อวิชชา ตัณหากรรม อาหารเป็นเหตุ หาใช่เกิดขึ้น โดยปราศจากเทตุแต่อย่างใดไม่ สำเร็จเป็นปัจยปริคคหญาณ  ปราศจากความเห็นว่าเป็น สัตว์ เป็นคน มีชีวิต หรือ ไม่มีชีวิตคงเห็นแต่ รูป นาม กับเหตุทั้ง ๔ ที่ให้ รูป นาม เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นญาตปริญญาผู้เจริญทำการเจริญตลอดมานับแต่การเริ่มต้นท่องบ่นพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็นธาตุจนถึงปัจจยปริคคหญาณเกิดนั้นได้ชื่อว่า จูฬโสดาบัน  เป็นพระโสดาบันขั้นแรกบังเกิดความภาคภูมิใจในผลกำไรที่ตนได้รับจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ในสมัยที่มีพระพุทธศาสนา ถ้าหากเจริญต่อไปมิได้หยุดยั้งเพียงนี้ก็จักสำเร็จเป็นมัชฌิมโสดาบันมหาโสดาบัน ตลอดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้

      ดังที่ได้พรรณนามานี้เป็นการพรรณนาถึงวิธีเจริญ และผลที่ได้รับจากการเจริญโกฏฐาสหลังจากธาตุนิมิตได้ปรากฎแล้ว

      ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานได้ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล ให้ได้เพียงรูปปฐมฌานถ้าผู้เจริญมีความประสงค์อยากได้ฌานเบื้องบนต่อไป ก็จงทำการเพ่งสีของโกฏฐาสนั้นๆ แทนการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล เพราะว่าสีของโกฏฐาสเป็นวัณณกสิณซึ่งจะทำให้รูปฌานเบื้องบน  เกิดได้เช่นกัน

      สำหรับ มรรค ผล ที่เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น หลังจากได้ปฐมฌาน หรือ ฌานเบื้องบนอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้เจริญจะต้องทำการท่องบ่นโกฏฐาสให้ปรากฎขึ้นโดยความเป็นธาตุ ครั้นธาตุนิมิตปรากฏแล้วก็ทำการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไป ดังที่ได้แสดงมาแล้ว

      อนึ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้เจริญได้อาศัยอัปปนาสมาธิ และอุปจารสมาธิที่เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานโดยมีวัณณนิมิต ปฏิกูลนิมิต ธาตุนิมิต แล้วเจริญวิปัสสนาต่อไปจนได้สำเร็จอรหัตตมรรค  อรหัตตผลนั้น เป็นการกล่าวแต่เพียงว่าได้อาศัยสมาธิที่เกิดจากกายคตาสติกรรมฐานเท่านั้น สำหรับวิธีเจริญและอารมณ์ที่จะให้ได้มรรคผล นั้นเป็นคนละอย่างไม่เหมือนกัน กล่าวคือ อารมณ์ที่จะให้ได้ มรรค ผล เป็นองค์ฌานหรือ รูป นามที่เกิดอยู่ภายในตน หาใช่เป็นโกฏฐาสหมวดหนึ่งหมวดใดไม่ ส่วนวิธีเจริญก็มีการกำหนดรู้องค์ฌาน ที่ดับไป หรือ รูป นาม โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิได้ทำการท่องบ่นว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้นแต่อย่างใดไม่ส่วนในตอนที่กล่าวว่า มรรค ผล ก็เกิดจากการเจริญกายคตาสติกรรมฐานได้นั้น ก็เพราะว่าวิธีเจริญก็ดี อารมณ์ที่จะให้ได้ มรรค ผล ก็ดีมิได้เปลี่ยนออกไปจากกายคตาสติกรรมฐานนี้เลย คงอาศัยกายคตาสติกรรมฐานนี้เจริญต่อไป เพียงแต่พยายามทำการท่องบ่นโกฏฐาสให้ปรากฎโดยความเป็นธาตุอย่างเดียว ะนั้น จึงได้กล่าวว่า การเจริญกายคตาสติกรรมฐานก็สำเร็จมรรค ผลได้ นี้เป็นการกล่าวถึงข้อปฏิบัติที่จะให้ได้ฌานเบื้องบน และ มรรค ผล ในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน


อธิบายในอุคคหโกสัลละ ๕ ข้อที่เหลือ

      ในอุคคหโกสัลละ ๗ อย่างนั้น ข้อที่หนึ่ง วจสา และข้อที่สอง มนสา เป็นหลักของการสอน เป็นประธานในการเจิรญกายคตาสติกรรมฐาน ส่วนที่เหลืออีกข้อนั้นเป็นเครื่องประกอบของมนสา กล่าวคือ เมื่อใจพิจารณาเห็นโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งตามวาจาที่ท่องบ่นอยู่ ในเวลานั้น การพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นรูปร่างสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และกำหนดขอบเขตก็มีพร้อมกันไป ฉะนั้น จะได้แสดงถึงการพิจารณาโดยความเป็นสี (วณฺณโต) เป็นรูปร่างสัณฐาน (สณฐานโต) ที่เกิด (ทิสาโต) ที่ตั้ง (โอกาสโต และกำหนดโดยขอบเขต (ปริจเฉทโต) เฉพาะในหมวดตจปัญจกะ ส่วนหมวดอื่นๆ ก็ให้ถือตามแนวนี้

      ๑. เกสา ผม สีดำ แดง ขาว มีสัณฐานยาวกลม เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งหุ้มกะโหลกศีรษะ สองข้างจดหมวกหู ข้างหน้าจดหน้าผาก ข้างหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของผมเบื้องต่ำเส้นหนึ่งๆ หยั่งลงในหนังหุ้มศีรษะเข้าไปประมาณเท่าปลายข้าวเปลือก เบื้องบนมีขอบเขตแค่อากาศ (หมายความว่าสุดแค่ความยาวและความสั้น) ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกันเส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ

      ๒. โลมา ขน สีดำบ้าง เหลืองบ้าง คือ ไม่ดำวน มีสัญฐานดังรากตาลปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย ขึ้นอยู่ในหนังทั่วตัว เว้นไว้แต่ที่เกิดแห่ง ผม และ ฝ่ามือ ผ่าเท้า ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยรากของตนที่แยงเข้าในหนังหุ้มร่างกายประมาณเท่าไข่เหา เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน - เส้นไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ

      ๓. นขา เล็ก สีขาว มีสันฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้ง ๒ ส่วน คือเล็บมือเกิดอยู่ส่วนบน เล็บเท้าเกิดอยู่ส่วนล่าง ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบเขตกำหนด ด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้าน ภายในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน เล็บ ๒ อันติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ

      ๔. ทันตา ฟัน สีขาว มีสันฐานต่างๆ คือ ฟันสี่ซี่ในท่ามกลางระเบียบฟันข้างล่างเหมือนเม็ดน้ำเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลำดับบนก้อนดินเหนียว ฟันซี่หนึ่งๆ ในข้างทั้ง  ของหน้าพัน ๔ ซึ่ มีรากอันเดียวปลายอันเดียว ทรวดทรงเหมือนดอกมะลิตูม กรามมีราก ๒ ง่ามปลาย ๒ ง่าม ทรวดทรงเหมือนไม้ค้ำเกวียน ถัดกรามเข้าไปมีราก ๓ ง่ามปลาย ๓ ง่าม ถัดนั้นเข้าไปมีราก ๔ ง่ามปลาย ๔ ง่าม แม้ในระเบียบฟันข้างบนก็มีนัยนี้เหมือนกัน เกิดอยู่ในส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ฟัน ๒ ซี่ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ

      ๕. ตโจ หนัง หนังที่หุ้มทั่วร่างกายที่ได้ชื่อว่าผิวนั้น ดำบ้าง ดำคล้ำบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้าง ส่วนหนังหนานั้นมีแต่สีขาวอย่างเดียว มีสัณฐานเท่ากันกับร่างกายติดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตั้งอยู่โดยรึงรัดทั่วไปทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาส ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาสัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น บุคคลใดได้เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็ดี หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายกันกับโกฏฐาสเหล่านี้ก็ดี ตกอยู่ในภาชนะอาหารแล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะเป็นอาหารดีและชอบก็ตาม ย่อมเกลียด รับประทานไม่ลง สั่งให้เททิ้งเสีย ความน่าเกลียดในหมวดอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้


ประโยชน์ของการพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็น วัณณะ สัญฐาน ทิศ โอกาส ปริจเฉท

      ตามธรรมดาคนทั้งหลายเมื่อได้เห็นกันและกันแล้ว ย่อมสำคัญผิดถือว่าเป็นคนนั้น เป็นคนนี้ เป็นชาย เป็นหญิง งาม ไม่งาม อยู่อย่างนี้เสมอไป จิตใจก็เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมีราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้นอยู่ตลอดเวลา ครั้นได้ทำการพิจารณา โกฏฃาส โดยความเป็น วัณณะ สัณฐาน เป็นต้นแล้ว ความสำคัญผิดที่เคยจำไว้ว่าเป็นคนนั้น คนนี้ ชาย หญิง งาม ไม่งาม ก็หายไป มีแต่วัณณนิมิต หรืออื่นๆ

      ปฏิกูลนิมิต หรือ ธาตุนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น จิตใจก็ผ่องใสปราศจากราคะโทสะ โมหะ เป็นสาเหตุสำคัญที่จะให้ได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล อุปมาดังตัวเสือที่นายช่างประดิษฐ์ขึ้นตามหลักวิทยาศาสตร์ มีการเคลื่อนไหวไปมา อ้าปาก กระพริบตาได้ดุจเสือจริง ๆ เด็ก ๆ ทั้งหลายแลเห็นเข้าก็ย่อมมีความกลัวไม่กล้าเข้าไปจับต้องครั้นนายช่างจัดการถอดออกเป็นชิ้นๆ วางไว้ให้ดูแล้ว ความกลัวก็หายไป เข้าไปจับถือเล่นได้ ข้อนี้ฉันใด การพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็นสี สัณฐาน เป็นต้นของพระโยดีบุคคลก็เพื่อที่จะให้โกฏฐาสเหล่านั้นปรากฎเป็นส่วนๆ ได้ก็ฉันนั้นแนะวิธีปฏิบัติในเมื่อนิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฎ

      ข้อนี้พระมหาพุทธโฆสาจารย์ได้แสดงไว้ในสติปัฏฐานวิภังค์ แห่งสัมโมหวิโนทนีอรรถกถา(ฉ น. หน้า ๒๔๒) ว่า ยสฺส ปน เนว วณฺณโต อุปฏฺฐาติ น ปฏิกูลโตสุญฺญโต เตน น เม อุปฏฺฐาตีติ น กมฺมฏฺฐาน วิสฺสชฺเชตฺวา นิสีทิตพฺพิโกฏฺฐาสมนสิกาเรเยว ปน  โยโค กาตพฺโพ โปราณกตฺเถรา กิร โกฏฺฐา สมนสิกาโรว ปมาณนฺติ อาหํสุ ฯ

      แปลความว่า ผู้ใดพิจารณาโกฏฐาสอยู่ แต่นิมิตทั้ง ๓ คือ วัณณนิมิต สีปฏิกูลนิมิต ความน่าเกลียด ธาตุนิมิต ความสูญจากเป็นสัตตชีวะ อย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ปรากฏเลย ผู้นั้นก็ไม่ควรละทิ้งกรรมฐานนี้ โดยไปเข้าใจเสียว่านิมิตไม่ปรากฏแก่ตนแล้ว แต่ควรพยายามในการพิจารณาโกฏฐาสต่อไปอยู่เนืองๆ เพราะได้ฟังสืบต่อกันมาว่า ในครั้งโบราณพระมหาเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า การพิจารณาโกฏฐาสนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญอยู่

      เมื่อผู้เจริญไม่ละทิ้ง พยามยามปฏิบัติต่อไป ตามที่ท่านอรรถกถาจารย์ได้สั่งไว้นี้ ก็จักได้รับผลอย่างแน่นอน โดยโกฏฐาสเหล่านั้นจะปรากฏขึ้นโดยเฉพาะๆ ทั้งภายในตนและคนอื่นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยที่เขาร้อยด้วยดอกไม้ ๓ ชนิค ฉะนั้นเมื่อจะมองดูตนก็ดี หรือ เห็นคนใดคนหนึ่ง สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งผ่านไปก็ดี ในขณะนั้นย่อมรู้สึกว่าเป็นแต่เพียงโกฏฐาสต่างๆ รวมกันอยู่ ไม่มีความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นคนนั้น 

      คนนี้ สัตว์ตัวนั้น ตัวนี้ เหมือนเมื่อก่อนเลย และในขณะที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ก็ไม่มีความรู้สึกว่าตนกำลังตักอาหารใส่ปากเคี้ยว กลืน แต่อย่างใด คงมีความรู้สึกแต่เพียงว่ากำลังตักอาหารใส่ลงในโกฏฐาสเท่านั้น จจากนั้นนิมิตก็จะปรากฏตามความประสงค์ของตน หลังจากนิมิตปรากฏแล้ว ฌาน มรรค ผล ก็ จะบังเกิดต่อไปแล้วแต่การพิจารณานิมิตนั้นๆ

      อนึ่ง ท่านอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จากการเจริญกายกตาสติกรรมฐานเพียงแต่อุคคหโกสัลละ ๗ ประการนี้ มีมากมาย เท่าที่ได้กล่าวแล้วนี้เป็นการอธิบายในอุคคหโกสัลละ ๗ ข้อ


อธิบายในมนสิการโกสัลละ ๑๐ ข้อ

      ๑. อนุปพพโต การพิจารณาไปตามลำดับ ข้อนี้อธิบายว่า ภายหลังจากการศึกษาอุคคหโกสัลละ ๗ ประการจบเรียบร้อยแล้ว พระโยคีบุคคลไม่ต้องทำการท่องบ่นด้วยวาจา แต่ต้องทำการพิจารณาโกฏฐาส ๓๒ เหล่านั้นด้วยใจ โดยสี สัณฐาน ที่ตั้งที่เกิด ขอบเขต ให้ถูกตรงตามหลักแห่งข้อนี้ คือ พิจารณาไปตามลำดับ ไม่ลักลั่น

      ๒. นาติสีฆโต การพิจารณาโดยไมรีบร้อนนัก ข้อนี้อธิบายว่า ในขณะที่กำลังพิจารณาไปโดยลำดับอยู่นั้น อย่าพิจารณาให้เร็วนัก เพราะว่า ถ้าพิจารณาเร็วแล้วสี สัณฐาน เป็นต้นของโกฏฐาสนั้นจะปรากฎไม่ชัด

      ๓. นาติสนิกโต การพิจารณโดยไม่เฉื่อยช้านัก ข้อนี้อธิบายว่า ในขณะที่กำลังพิจารณาไปโดยลำดับอยู่นั้น ก็อย่าพิจารณาให้ช้านัก เพราะว่า ถ้าพิจารณาช้ามากไป  สัฐาน เป็นต้นของโกฏฐาสนั้นก็จะปรากฎโดยความเป็นของสวยงามทำให้กรรมฐานไม่ถึงที่สุด คือไม่ให้ได้ฌาน มรรด ผล นั้นเอง

      ๔. วิกฺเขปปฺปฏิพาหนโต การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น ข้อนี้อธิบายว่า การเจริญกรรมฐานของพระโยดีบุคคลนั้น เปรียบดังคนที่เดินไปใกล้เหว ซึ่งมีช่องทางชั่วรอบเท้าเดียว จะต้องระวังอย่างที่สุดเพื่อไม่ให้พลาดตกลงไป ข้อนี้ฉันใด พระโยคีบุคคล พึงป้องกันความฟุ้งช่านของจิตใจ แล้วให้ตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์กรรมฐานก็เช่นเดียวกัน

      ๕. ปณฺณตฺติสมติกฺกมโต การพิจารณาโดยก้าวล่วงบัญญัติ ข้อนี้ อธิบายว่า ในขณะที่พิจารณาไปตามลำดับอยู่นั้น พระโยคีบุคคล ได้มีการพิจารณานามบัญญัติและ สันฐานบัญญัติอยู่ด้วย เพื่อจะให้ปฏิกูลนิมิตปรากฏ ครั้นปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้วก็มิจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงนามบัญญัติ คือ เกสา โลมา เป็นต้น และสัณฐานบัญญัติคือ รูปร่างสัญฐานแต่อย่างใดอีก เปรียบดังคนเห็นบ่อน้ำในป้าเวลาหาน้ำยาก จึงได้จัดทำเครื่องหมายเพื่อจำไว้ จะได้สะดวกแก่การที่จะมาหาน้ำดื่ม และอาบในครั้งต่อๆ ไปครั้นไปมาบ่อย ๆ เข้าก็ชำนาญในทางนั้นดี ไม่จำเป็นที่จะต้องจำเครื่องหมายนั้นอีก ข้อนี้ฉันใด เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ผู้เจริญก็พึงก้าวล่วงบัญญัติเสีย ก็ฉันนั้น

      ๖. อนุปุพฺพมุญฺจนโต การพิจารณาโดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฎโดย สี สัณฐานที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ตามลำดับ ข้อนี้อธิบายว่า ในขณะที่พิจารณาไปตามลำดับตั้งแต่เกสา จนถึง มุตตํ โดยอนุโลม และตั้งแต่ มุตตํ จนถึง เกสา โดยปฏิโลมอยู่นั้นพระโยคีบุคคลพึงสังเกตดูว่า โกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏไม่ชัด ก็พึงละการพิจารณาโกฏราสอันนั้น หรือ หมวดนั้นเสีย แล้วพิจารณาโกฏฐาสอันอื่น หรือหมวดอื่นที่เหลือ ซึ่งมีการปรากฏชัดมากต่อไป และในระหว่างนั้นก็พึงสังเกตดูอีกว่าโกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏชัดกว่า ก็จงพิจารณาแต่โกฏฐาสอันนั้น หรือหมวดนั้น แล้วละทิ้งที่ไม่ค่อยชัดนั้นเสีย ให้คัดเลือกอย่างนี้เรื่อยไปจนเหลือโกฏฐาส ๒ ใน ๒ อย่างนั้นจงสังเกต ดูอีกว่า อันไหนปรากฏชัดมากว่า ก็พิจารณาอันนั้น ละอันที่ปรากฏชัดน้อยนั้นเสีย เพราะ การพิจารณาโกฏฐาสนี้ เมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ต้องถือเอาแต่เพียงอันเดียว หาใช่ถือเอาทั้ง ๓๒ นั้นไม่

      ท่านอรรถกถาจารย์ได้เปรียบเทียบข้อนี้ว่า ดุจดังนายพรานต้องการจับลิงซึ่งอยู่ในป่าตาล มีตาล ๓๒ ต้น เอาลูกศรยิงใบตาลซึ่งลิงเกาะอยู่ในต้นแรกแล้วทำการตะคอก ลิงจึงโดดไปที่ต้นตาลอื่น ๆ โดยลำดับจนกระทั้งถึงต้นสุด นายพรานก็ตามไปทำอย่างนั้นอีกที่ในต้นสุดนั้น ลิงก็โดดกลับมาสู่ตาลต้นแรกโดยทำนองนี้อีก กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ โดยที่ถูกตะคอกตลอดเวลา ที่สุดก็หมดแรงต้องหยุดอยู่ที่ตันตาลต้นหนึ่งโดยยึดใบตาลอ่อนไว้แน่น แม้ถูกนายพร้านแทงเท่าใดก็ไม่กระโดดหนี ฉันใดจิตใจของพระโยคีบุคคลที่ยึดอยู่ในโกฏฐาส อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓๒ นั้นก็เช่นกันโกฏฐาสทั้ง ๓๒ เปรียบเหมือนต้นตาล ๓๒ ต้นในป่าตาล ใจเปรียบเหมือนลิง พระโยคีบุคคลเปรียบเหมือนนายพราน

      ๗. อปฺปนาโต การพิจารณาโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอัปปนา ข้อนื้อธิบายว่า เมื่อพระโยคีบุคคลได้พิจารณาโดยการละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ค่อยชัดไปตามลำดับจนกระทั่งเหลืออันใดอันหนึ่ง ต่อจากนั้นก็พิจารณาในโกฏฐาสอันนั้นจนถึงได้ฌานไม่ต้องพิจารณาโกฏฐาสที่ละทิ้งไปแล้ว ๆ นั้นอีก เพราะโกฏฐาสแต่ละอย่างก็ให้ได้ฌานด้วยกันทั้งสิ้น การที่ต้องเจริญโกฏฐาสทั้ง ๓๒ ในระยะแรกนั้น ก็เพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ ประการ ประการหนึ่ง คือ ในขณะที่กำลังพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็นนุโลม ปฏิโลม ในหมวดทั้ง ๖ ตามลำดับอยู่ ปฐมฌานอาจเกิดขึ้นก็ได้ อีกประการหนึ่ง ถ้าหากว่าฌานไม่เกิด ก็จะได้พิจารณาคัดเลือกโกฏฐาสอื่นต่อไปว่า โกฏฐาสใดจะเหมาะสมที่สุดกับอัธยาศัยของตนตามหลักข้อที่ ๖

      ๘-๙-๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา การพิจารณาในพระสูตร ๓ อย่าง คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร ข้อนี้อธิบายว่า พระโยคีบุคคลพึงตรวจดูการปฏิบัติของตนให้ถูกตรงตามหลักแห่งสูตรทั้ง ๓ เพื่อสมาธิและวิริยะ จะได้มีกำลังเสมอกันอันจะทำให้ได้ฌาน มรรค ผล

      การปฏิบัติตามหลัก อธิจิตตสูตร นั้น พระโยคีบุคคลต้องพิจารณาในนิมิตทั้ง๓ คือ สมาธินิมิต จิตใจที่สงบ ปัคคหนิมิต ความพยายาม อุเบกขานิมิต ความวางเฉย ว่าอย่างใดมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป แล้วแก้ไขเพิ่มเติมนิมิตนั้นๆ ให้เสมอกัน จนกระทั่งสมาธิของตนขึ้นสู่ขั้นอธิจิต คือ สมาธิที่มีกำลังยิ่งสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าถ้าสมาธินิมิตมาก โกสัชชะ ความเกียจคร้านย่อมเกิดขึ้น ถ้าปัคคหนิมิตมาก ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้น ถ้าอุเบกขานิมิตมาก ก็จะไม่ถึงซึ่งฌาน มรรค ผล ดังนั้น พระโยดีบุคคลจึงไม่ควรใฝ่ใจในนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งให้มากเกินไป แต่ควรใฝ่ใจนิมิตทั้ง ๓ นั้นให้เสมอกัน พระพุทธองค์ทรงอุปมาไว้ว่า เสมือนหนึ่งช่างทอง ก่อนที่จะทำทองย่อมผูกเบ้า ครั้นผูกเบ้าแล้วจึงฉาบปากเบ้า ครั้นฉาบปากเบ้าแล้วจึงเอามือหยิบทองใส่เข้าที่ปากเบ้า ย่อมเป้าตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร พักตามกาลอันควร ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่อง และทั้งสุกปลั่งใช้ทำสิ่งใดก็ได้ดี ถ้าหากว่าการงาน ๓ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่ากันและกัน ทองนั้นก็จะไหม้ละลายไป เย็นไป ไม่สุกปลั่งจะทำเป็นเครื่องประดับอันใดก็มิได้

      การปฏิบัติตามหลัก สีติภาวสูตร นั้น พระโยคีบุคคลต้องปฏิบัติตามข้อธรรม ๖ ประการ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เรียกว่า สีติภาวะ ความเยือกเย็นอย่างยอดธรรม ๖ ประการนั้นคือ 

      ๑. ย่อมข่มจิตใจในคราวที่ควรข่ม คือ จิตมีความเพียรมากไป 

      ๒. ย่อมประคองจิตในคราวที่ควรประคอง คือ จิตมีการง่วงเหงา ท้อถอยหดหู่ 

      ๓. ย่อมปลอบจิตในคราวที่ควรปลอบ คือ จิตไม่ยินดีในการงาน 

      ๔. ย่อมพักผ่อนจิตในคราวที่ควรพักผ่อน คือ จิตดำเนินอยู่ด้วยดีในอารมณ์กรรมฐาน ไม่มีการฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา ท้อถอย 

      ๕. มีจิตใจน้อมไปในมรรค ผล 

      ๖. มีความยินดีในพระนิพพาน

      การปฏิบัติตามหลัก โพชฌังคโกสัลลสูตร นั้น คราวใดจิตใจมีการง่วงเหงาท้อถอย ไม่มีความเพียร ในคราวนั้น ต้องอบรมธัมมวิจยสัมโพชณงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น และคราวใดจิตใจมีความเพียรมากจนฟุ้งซ่านในคราวนั้นต้องอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น


ความลำบากในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน

      ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นั้น อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ทำการปฏิบัติลำบากมากว่ากรรมฐานอื่นๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อนจึงจะลงมือปฏิบัติได้ มิฉะนั้นก็จะปฏิบัติไม่ถูก สำหรับการเจริญ กายคตาสดินี้ ยิ่งลำบากมาก กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาวิธีเจริญกายคตาสติกรรมฐาน ตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการ เช่นเดียวกับนักศึกษาทั้งหลายที่กำลังศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักอาจารย์  บางท่าน เมื่อได้ศึกยาจบตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการแล้ว นิมิตทั้ง ๓ อย่างใด อย่างหนึ่งก็ปรากฏขึ้นหลังจากนั้นก็ได้ฌาน มรรค ผลต่อไป สำหรับบางท่านนั้น แม้ว่าจะได้ศึกษาจบตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการแล้วก็ตาม แต่นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ปรากฏเลย ต่อเมื่อได้ทำการปฏิบัติพิจารณาโดยส่วนเดียวตามนัยมนสิการโกสัลละ ๑๐ ประการต่อไปแล้ว จึงจะได้นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง และได้ฌาน มรรค ผลตามความปรารถนาทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะลำบากสักเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อได้นึกถึงอานิสงส์และคำยกย่อง ชมเชยของท่านอรรถกถาจารย์ที่แสดงไว้ใน สัมโมหวิ โนทนีอรรถกถาแล้ว พุทธมามกชนก็ควรยินดีพอใจในการปฏิบัตินี้โดยไม่ย่อท้อ อานิสงส์และคำยกย่องชมเชยนั้นมีดังนี้

      ๑. อิมํ กมฺมฏฺฐาน ภาเวตฺวา อรหตฺตํ ปตฺตานํ ภิกขูนํ วา ภิกขุนีนํ วา อุปสกานํ วา อุปสิกานํ วา คณนปริจฺเฉโท นาม นตฺถิ ฯ

      ๒. โย หิ อิมํ ปฏิปตฺตึ ปฏิปชฺชติ โส ภิกฺขุ นาม โหติ, ปฏิปนฺนโก หิ เทโว วา โหติ มนุสฺโส วา ภิกขูติ สงฺขยํ คจฺฉติเยว ฯ

แปลความว่า

      ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยอาศัยการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้มีมากมาย นับจำนวนมิได้

      ๒. บุคคลใดทำการปฏิบัติกายคตาสติกรรมฐาน บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นภิกษุเป็นความจริง ดังนั้น ผู้ที่ปฎิบัติกายคตาสติกรรมฐานนี้ เทวดาก็ตาม มนุษย์กีตามย่อมนับสงเคราะะห์ว่าเป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น

      นอกจากนี้ ท่านอรรถกถาจารย์ก็ยังได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่าการเจริญกายคตาสตินี้จะมีได้เฉพาะในสมัยพุทธกาลเท่านั้น นอกจากสมัยพุทธกาลแล้วจะมีไม่ได้เลย แม้ว่าพวกเดียรถีย์ที่ตั้งตัวเป็นศาสดาทำการปฏิบัติเผยแผ่ลัทธิแก่ชนทั่วไปในสมัยใด ๆ  ก็ตาม ก็มิอาจรู้ถึงวิธีเจริญกายคตาสดิกรรมฐานนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมิใช่เป็นวิสัยของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น หากแต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพวกเดียว และ พระพุทธองค์ก็ได้ทรงสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ว่า เอกธมฺโม ภิกฺขเว ภาวิโต พลีกโต มหโต สํเวคาย สํวตุตติ ฯลฯ เยสํ กายคตาสติ อารทฺธาติ ฯ

      แปลความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อภิกษุได้เจริญแล้ว และเจริญติดต่อกันให้เพิ่มพูนทวีมากยิ่งขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชสลดใจอย่างใหญ่หลวงในกาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ในปัจจุบันภพนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความโปร่งใจอย่างใหญ่หลวงจากโยคะ ย่อมเป็นไปเพื่อมีสติสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า ย่อมเป็นไปเพื่อความเห็นในกายเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในภพนี้ทันตาเห็น ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ พระนิพพาน และผลสมาบัติ ธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร ? คือ กายคตาสตินี้เองดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดประพฤติปฏิบัติกายคตาสติ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน บุคคลเหล่าใดมิได้ประพฤติปฏิบัติกายคตาสติบุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดพยายามปฏิบัติกายคตาสติจนสำเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน ไม่ผิดทางพระนิพพาน บุคคลเหล่าใดไม่พยายามปฏิบัติกายคตาสติให้สำเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน เสื่อมจากพระนิพพาน ผิดทางพระนิพพาน ดังนี้

      หมายเหตุ กายคตาสติที่ท่านอรรถกถาจารย์และพระพุทธองค์ทรงยกย่องชมเชยนี้ มิได้มุ่งหมายเฉพาะแต่ ๓๒ โกฎฐาสอย่างเดียว แม้อสุภ ๑๐ ก็ดี อานาปานัสสติก็ดี การกำหนดอิริยาบถใหญ่น้อยก็ดี พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่จัดเข้าเป็นกายตาสติด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่แจ้งไว้ในกายานุปัสสนาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร สำหรับกายคตาสติในนุสสติ ๑๐ นี้มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ ๓๒ โกฎฐาสเท่านั้น


จบกายคตาสติ

---------////------------

[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,กายคตาสติ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.