การเจริญวรรณกสิณ มีนีลกสิณเป็นต้น และอาโลกกสิณ,อากาศกสิณ


      นีลกสิณ พระโยคีบุคคล ประสงค์จะเจริญนีลกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งนีลกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นใบไม้ ดอกไม้สีเขียว หรือผ้าสีเขียว แก้วมณีสีเขียว วัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นสีเขียว แล้วก็เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า นีลํ นีลํ หรือ เขียว เขียว เท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็มิจำเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตและได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ต้องจัดทำเป็นองค์กสิณขึ้น

      การจัดทำองค์นีลกสิณนั้น พระโยคีบุคคลจะใช้ดอกไม้สีเขียว มีดอกอัญชัน ดอกอุบลเขียว เป็นต้น หรือ ผ้าสีเขียว วัตถุที่มีสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้วแต่ความพอใจของตน ถ้าจะใช้ดอกไม้ก็ต้องนำดอกไม้นั้นมาจัดใส่ผะอบ พาน กล่อง บาตร ขัน อย่าให้เกสร หรือ ขั้วปรากฏขึ้นมา ให้เต็มเสมอกับขอบภาชนะที่มีขนาคกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ องคุลี เมื่อจะใช้ผ้าก็ต้องใช้ผ้าเขียวเอามาทำเป็นวงกลมขึ้นถ้าจะใช้กระดาษ หรือสังกะสี ก็ต้องนำเอาสิ่งเหล่านี้มาตัดให้เป็นวงกลมกว้างประมาณคืบ กับ ๔ องคุลี แล้วเอาสีเขียวแก่ทาลงบนแผ่นวงกลมนี้ให้เรียบร้อย ตามขอบทาด้วยสีขาว หรือ แดง ใหญ่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสี่ของนิ้ว เพื่อช่วยให้สีเขียวนั้นปรากฏเด่นชัดขึ้น

      วัณณกสิณที่เหลือ ๓ พระโยคีบุคคลมีความประสงค์ที่จะเจริญ ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง โลหิตกสิณ กสิญสีแดง โอทาตกสิณ กสิณสีขาว ทั้ง ๓ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งวัณณกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง

      ในบรรดา ๓ อย่างนี้ ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้แลเห็นดอกไม้ ผ้า หรือ วัตถุสิ่งของที่มีสีเหลือง แดง ขาว เข้าแล้ว ก็เพ่งดูพร้อมกับบริกรรมว่า ปีตกํ ปีตกํ เหลือง เหลือง, โลหิตํ โลหิตํ แดง แดง, โอทาตํ โอทาตํ ขาว ขาว เพียงเท่านี้ อุคคหนิมิตก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฎขึ้นแล้ว ก็มิจำเป็นจะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากกพก่อน ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทำองค์กสิณขึ้น การจัดทำองค์กสิณทั้ง ๆ นี้ ก็เป็นไปเช่นเดียวกันกับการทำนีลกสิณนั้นเอง

      ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งวัณณกสิณนั้น สีเขียว เหลือง แดง ขาว ที่เป็นองค์กสิณนั้นเองเป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นก็ได้แก่สภาพของบริกรรมนิมิตนั้นเอง หากแต่เป็นสภาพที่ปรากฏให้เห็นได้ทางใจ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีสภาพใสบริสุทธิ์ สะอาดปราสจากมลทิน ยิ่งไปกว่าอุคคหนิมิตหลายสิบเท่า ถ้าเป็นนีลกสิณก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีสีเขียว ถ้าเป็นปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ก็ปรากฏเหมือนกับแก้วมณีที่เป็นสีเหลือง แดง ขาว

      ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัติ นับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงได้รูปฌาน อรูปฌานนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ สีอื่นๆ ก็จัดเข้าในวัณณกสิณทั้งสี่นี้ใด้ คือ สีดำ สีน้ำเงิน สีฟ้าแก่ สีเขียวใบไม้เป็นต้น เหล่านี้ อนุโลมเข้าในฝ่ายนีลกสิณ สีทองอนุโลมเข้าในฝ่ายปีตกสิณ สีชมพู สีแสด อนุโลมเข้าในฝ่ายโลหิตกสิณ สีไข่ไก่ สีฟ้าอ่อนๆ สีเทาอ่อนๆ เหล่านี้ก็อนุโลมเข้าในฝ่ายโอทาตกสิณได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปนั้นเมื่อใช้เพ่งแล้วก็ทำให้รูปฌานเกิดได้


จบวัณณกสิณ

----------------

การเจริญอาโลกกสิณ


      "อาโลกกสิณ" พระโยคีบุคคล มีความประสงค์จะเจริญอาโลกกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปฌานมาแล้วจากภพก่อนใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอาโลกกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้ เมื่อได้แลเห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ควงจันทร์ วงไฟ เป็นต้น แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างของสิ่งเหล่านี้พร้อมกับบริกรรมว่า โอภาโส โอภาโส แสง แสง หรือ อาโลโก อาโลโก สว่าง สว่าง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฏขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้ว ก็มิจำเป็นที่จะต้องเพ่งดูสิ่งเหล่านี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต และได้รูปฌาน ถ้าหากว่าไม่เคยมีบุญบารมีจากภพก่อนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องจัดทำเป็นองค์กสิณขึ้น

      การจัดทำอาโลกกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคล มิอาจเพ่งแสงสว่างของดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทำองค์กสิณขึ้นโดยวิธีเจาะฝาเรือน หรือหลังคาบ้าน เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้าไปภายใน ปรากฏที่ฝา หรือ พื้นเรือนแต่บางเวลาแสงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ก็ไม่มี เช่นนี้ก็ต้องจัดทำแสงขึ้นโดยจุดตะเกียง หรือ เปิดไฟเอาไว้ แล้วเอาม่านมากันกำบังไว้อย่างมิดชิด ม่านนั้นก็เจาะให้กว้างตามสมควร เพื่อแสงจะได้ส่องลอดออกมาเป็นดวงที่ฝา แล้วก็เพ่งดูแสงสว่างนั้นพร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต

      ความต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอาโลกกสิณ คือ แสงสว่างที่ปรากฏจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟต่างๆ เป็นต้นก็ดี แสงสว่างที่ตนจัดทำขึ้นก็ดี เหล่านี้ เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ คือ บริกรรมนิมิต มีแสงสว่างเท่าใด อุคคหนิมิตก็มีเพียงนั้น สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น แสงสว่างมีสัณฐานปรากฎเป็นกลุ่มก้อน คล้ายกับดวงไฟที่ปรากฏอยู่ในโป้ะไฟสีขาว สว่างรุ่งโรจน์ยิ่งไปกว่าแสงสว่างของอุคคหนิมิตมากมายหลายเท่า ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌานนั้นก็เป็นเช่นเดียวกันกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ


จบอาโลกกสิณ

---------///---------

การเจริญปริจฉินนากาสกสิณ

      ปริจฉินนากาสกสิณ หรือ อากาสกสิณ พระโยบุคคล มีความประสงค์ จะเจริญอากาสกสิณนั้น ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือ บุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยได้รูปมานมาแล้วในภพก่อน ๆ ใกล้ๆ กับภพนี้ โดยอาศัยการเพ่งอากาสกสิณนั้น ครั้นมาในภพนี้เมื่อได้เห็นอากาศตามช่องฝา ช่องลม ช่องประตู ช่องหน้าต่างเหล่านี้แล้วก็เพ่งดูอากาศตามช่องนั้นๆ พร้อมกับบริกรรมว่า อากาโส อากาโส หรือแจ้ง แจ้ง เพียงเท่านี้อุคคหนิมิตก็ปรากฎขึ้นได้ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏแล้วก็มิจำเป็นที่จะต้องเพ่งดูอากาศนี้อีก คงเพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ตนได้มาแล้วนั้นต่อไป จนกว่าจะได้ปฏิกาคนิมิตและได้รูปมาน ถ้าหากไม่เคยมีบุญบารมีมาจากภพก่น ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ต้องจัดทำเป็นองค์กสิณขึ้น

      การจัดทำองค์อากาสกสิณนั้น เมื่อพระโยคีบุคคลมิอาจเพ่งอากาศตามช่องฝาช่องลมเป็นต้น โดยตรงได้ ก็ต้องจัดทำอากาศองค์กสิณขึ้น โดยวิธีเจาะฝาเรือนที่มิดชิดหรือหลังคาที่มุงสนิทเรียบร้อยดีนั้นให้เป็นช่องกว้างประมาณ ๑ คืบ กับ ๔ นิ้ว แล้วเพ่งดูอากาศที่ปรากฏตามช่องนั้น ๆ พร้อมกับบริกรรมตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต

      ความแตกต่างกันระหว่างนิมิตทั้ง ๓ ในการเพ่งอากาสกสิณนั้น อากาศที่ปรากฏตามช่องฝา ช่องลม เป็นต้นก็ดี อากาศที่ปรากฏตามช่องฝา หลังคาที่ได้จัดทำขึ้นก็ดี เหล่านี้เป็นบริกรรมนิมิต ส่วนอุคคหนิมิตนั้นเหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ คือบริกรรมนิมิตมีขอบเขตของช่องฝาหลังคาอย่างใด อุคคหนิมิตก็คงปรากฏมีอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น ย่อมปรากฏเฉพาะแต่อากาศอย่างเดียว ขอบเขตของสิ่งเหล่านั้น มิได้ปรากฏ ทั้งทำการขยายให้กว้างใหญ่ออกไปเท่าใดๆ ก็ขยายได้ เพราะสมาธิมีกำลังมากพอ แต่อุคคหนิมิตนั้นพระโยดียังทำการขยายไม่ได้ เพราะสมาธิในขณะนั้นยังมีกำลังไม่พอ

      ส่วนการงานที่จะพึงปฏิบัตินับตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งได้รูปฌาน อรูปฌานนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการเจริญปถวีกสิณทุกประการ


จบปริจฉินนากาสกสิณ

--------///-------


การเพ่งกสิณอย่างหนึ่ง แต่ก็สามารถยังนิมิตที่เกี่ยวกับกสิณอื่นฯ ที่เหลืออีก ๙ ให้เกิดได้

      พระโยคีบุคคลที่ได้รูป ฌานทั้ง ๕ โดยอาศัยการเพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากสิณ ๑๐ นั้น ถ้าต้องการ อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ที่เกี่ยวกับกสิณที่เหลือ ยนอกจากที่ตนได้เคยเพ่งมาแล้วนั้น มิจำเป็นที่จะต้องจัดทำองค์กสิณขึ้นใหม่แต่ประการใด เมื่อได้แลเห็นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมดา มีดิน แม่น้ำ บ่อน้ำ ไฟ ลม สีต่างๆเแสงสว่าง อากาศ แล้วก็ทำการเพ่งพร้อมกับบริกรรม เพียงเท่านี้อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตก็จักปรากฎได้ เช่นเดียวกับผู้ที่เคยมีบุญบารมีมาแล้วจากภพก่อนๆ

------------///----------


[full-post]

ปริจเฉทที่๙,สมถกรรมฐาน,อภิธัมมัตถสังคหะ,กสิณ,การเพ่งกสิณ

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.