การเจริญอุเบกขา
อุเบกขา หมายความว่า ความวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายโดยมีจิตใจที่ปราศจากอาการทั้ง ๓ กล่าวคือ ไม่น้อมไปในความปรารถนาดี ในการที่จะบำบัดทุกข์ ในการชื่นชมยินดี ในความสุขของสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังแสดงวจนัตถะว่า "อเวราโหนฺตุ อาทิพยาปารปุปหาเนน มชุมตุต ภาวูป คมเนน จ อุเปกฺขตีติ =อุเปกฺขา" ธรรมชาติใดพิจารณาในสัตว์ทั้งหลายพอประมาณด้วยการที่ไม่รักไม่ชัง คือสละความ วุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มี อเวรา โหนฺตุ เป็นต้นและมีสภาพเข้าถึงความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีมัชฌัตตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มัชฌัตตบุคคลที่เป็นอารมณ์ของอุเบกขาพรหมวิหารนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ จำพวกคือ พวกธรรมดา อย่างหนึ่ง พวกที่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนาสมาธิ อย่างหนึ่ง พวกธรรมดานั้นได้แก่ บุคคลที่ไม่รัก ไม่ชัง เฉยๆ ซึ่งเป็นวิสัยธรรมดาของจิตใจของคนทั่วไป พวกที่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนาสมาธินั้นได้แก่ ปียบุคคล เวรีบุคคล ที่มีความสุขหรือมีความทุกข์อยู่
การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ เป็นไปด้วยอำนาจแห่งตัตตรมัชฌัตตตา หรือเป็นไปด้วยอำนาจโมหะ ชนิดที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งตัตตรมัชฌัตตตานั้น ไม่มีการเกี่ยวข้องกับ เมตตา กรุณา มุทิตา ดังที่ได้กล่าวแล้วนั้นแต่อย่างใด นี้เป็น อุเบกขาแท้ ที่เป็นไปด้วยอำนาจโมหะนั้น เมื่อได้ประสบกับสิ่งที่น่รักก็ไม่รู้จักรัก น่าขวนขวายน่าอยากได้ ก็ไม่มีการขวนขวายอยากได้ เฉยๆ ไปน่าเคารพเลื่อมใส ก็ไม่รู้จักทำการเคารพเลื่อมใส น่ากลัว น่าเกลียดก็ไม่รู้จักกลัวจักเกลียด ควรสนับสนุน ส่งเสริม ก็ไม่รู้จักสนับสนุนส่งเสริม ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีให้สมบูรณ์ในการงานทั้งปวงก็นิ่งเฉยเสีย นี้เป็น อุเบกขาเทียม เรียกว่า อญาณอุเบกขา การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ ผู้เจริญต้องทำการแผ่อุเบกขาแท้ไปในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นมัชฌัตตบุคคล
ความแตกต่างระหว่างอุเบกขาพรหมวิหาร กับ อุเบกขาบารมี
ในสองอย่างนี้ แม้ว่าจะมีการวางเฉยต่อสัตว์ด้วยกันก็จริง แต่อารมณ์ที่จะให้เกิดความวางเฉยนี้ต่างกันคือ อุเบกขาพรหมวิหาร มีการวางเฉยต่อสัตว์ คือ ละความวุ่นวายที่เนื่องด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา มีสภาพเข้าถึงความเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย สำหรับ อุเบกขาบารมี นั้น เป็นการวางเฉยในบุคคลที่กระทำดีและไม่ดีต่อตน โดยไม่มีการยินดียินร้ายแต่ประการใด คือ ผู้ที่กระทำความดี มีความเคารพนับถือ บูชาสักการะ เกื้อกูล อนุเคราะห์ สงเคราะห์ เป็นประโยชน์แก่ตนสักเท่าใดๆ ก็คงมีจิตใจวางเฉยอยู่ และผู้ที่กระทำความไม่ดีมีการประทุษร้ายต่อตนสักเพียงใดก็ตามก็คงวางเฉยอยู่ได้เช่นกัน ในการวางเฉยทั้ง ๒ อย่างนี้ ฝ่ายบารมีประเสริฐยิ่งการบำเพ็ญก็สำเร็จได้ยาก
การเจริญอุเบกขากรรมฐานจนถึงได้อัปปนา
ในการเจริญพรหมวิหารนี้ การเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา จนถึงได้อัปปนา-ฌานนั้น ไม่จำกัดบุดคล ทั้งกรรมฐานก็ไม่จำกัด แต่การเจริญอุเบกขานั้น ผู้เจริญจะต้องเป็นจตุตถฌานลากีบุคคล และ จตุตถฌานที่ตนได้นั้นก็ต้องเนื่องมาจากการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่ง หาใช่สำเร็จจากกรรมฐานอื่นๆ ไม่ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่ามีการจำกัดบุคคล และจำกัดกรรมฐาน เหตุผลในการจำกัดบุคคลและกรรมฐานนั้น เพราะการเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้ให้ได้แต่เพียงรูปาวจรปัญจมฌานอย่างเดียว ดังนั้น ผู้ที่จะทำการเจริญอุเบกขากรรมฐาน ถ้ามิใช่เป็นจตุตถฌานลาภีแล้วก็มิอาจเจริญอุเบกขาให้สำเร็จจนถึงฌานได้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่ามีการจำกัดบุคคลสำหรับกรรมฐานที่มีการจำกัดนั้นเนื่องด้วยจตุตถฌานที่เกิดจากการเพ่งกสิณก็ดี หรือการเจริญอานาปานัสสติก็ดี ก็มิอาจที่จะช่วยอุดหนุนให้การเจริญอุเบกขากรรมฐานนี้สำเร็จถึงฌานได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากสิณบัญญัติ หรือ อานาปานบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ของจตุตถฌานที่ตนได้มานี้ กับมัชฌัตตสัตวบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ของรูปาวจรปัญจม-ฌานที่จักเกิดต่อไปนั้น มีสภาพไม่ถูกกัน (วิสภาคะ) ส่วนจตุตถมานที่เกิดจากการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยอุดหนุนในการเจริญอุเบกขาให้สำเร็จถึงฌานได้นั้น เพราะว่า ปียมนาปสัตวบัญญัติ ทุกขิตสัตวบัญญัติหรือ สุขิตสัตวบัญญัติที่เป็นอารมณ์ของจตุตถฌาน ที่ตนได้มา กับมัชฌัตตสัตวบัญญัติที่เป็นอารมณ์ของรูปววจรปัญจมฌาน ที่จักเกิดต่อไปมีสภาพถูกกัน (สภาคะ) กิจขั้นต้นก่อนที่จะทำการเจริญอุเบกบา
พระโยดีบุคคลก่อนที่จะทำการแผ่อุเบกขานั้น จะต้องชำนาญในจตุตถฌานด้วยอำนาจแห่งวสีทั้ง ๕ เสียก่อน จากนั้นก็มีการพิจารณาโทษของฌานที่ได้มาจากการแผ่ เมตตา กรุณา มุทิตา และพิจารณาคุณของฌานที่เกิดจากการเจริญอุเบกขาดังต่อไปนี้
๑. เมตฺตาทโย โอฬาริกา สตฺตเกลายเนน จ
ยุตฺตา สมีปจาริกา ปฏิฆานุนยาน จ ฯ
๒. อุเปกฺขา ตุ สนฺตภาวา สุขุมปณีตา(1) ปี จ
กิเลเสหิ จ วิทูรา สเวปุลฺลผลา ตถา ฯ
(1)สุขุมปฺปณีตา
แปลความว่า
๑. เมตตา กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ นี้มีสภาพหยาบ เพราะองค์ฌานประกอบด้วยโสมนัสเวทนา และยังมีความยินดีรักใครในสัตว์ ทั้งยังประพฤติเป็นไปใกล้ต่อความเกลียดและความรัก
๒. สำหรับอุเบกขานั้นมีสภาพสงบ สุขุม ประณีต ห่างไกลจากกิเลสด้วยมีผลไพบูลย์ดีงามมากด้วย
ครั้นได้พิจารณาโทษของเมตตา กรุณา มุทิตา และพิจารณาคุณของอุเบกขา ดังนี้แล้ว จากนั้นก็มีการพิจารณาในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามอำนาจแห่งการ กระทำของตนๆ ดังต่อไปนี้
๑. อตฺตนา กตกมฺเมน อาคโตยํ จ คจฺฉติ
อตฺตนา กตกมฺเมน อาคโต ตฺวํ จ คจฺฉสิ ฯ
๒. น ตสฺส ตว โยเคน ลพฺภา กิญฺจิ สุขํ ทุกขํ
อุปเนติ อปเนตุํ กมฺมสฺสโก หิยํ ชโน ฯ
แปลความว่า
๑. ผู้นี้ได้เกิดมาในภพนี้ ก็เพราะการกระทำของเขาเอง ก็เกิดในภพหน้าต่อไป ก็เพราะการกระทำของเขาเอง ตัวฉันเองที่เกิดมาในภพนี้และจักเกิดต่อไปในภพหน้า ก็เพราะการกระทำของฉันเอง ไม่ต่างอะไรกัน ฉะนั้น ฉัน--
๒. จะนำความสุข และทำลายความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งของผู้นี้ ด้วยความพยายามของฉันเองนั้นย่อมทำไม่ได้ เพราะธรรมดาชนทั้งหลายย่อมมีการกระทำของตนเองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง
เมื่อจะทำการแผ่ ผู้เจริญจะต้องแผ่ไปในบุคคลโดยลำดับมีดังนี้
๑. ต้องแผ่แก่ตนเองก่อน
๒. มัชมัตตบุคคล
๓. ปียบุคคล
๔. อติปียบุคคล
๕. เวรีบุคคล
ในบุคคล ๕ จำพวกนี้ หลังจากการแผ่แก่ตนเองแล้ว จะต้องแผ่ไปในมัชฌัตตบุคคลก่อนปียบุคคล เพราะอุเบกขาเทียมย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยมัชฌัตตบุคคลจำพวกธรรมดาได้ง่าย ฉันใด อุเบกขาแท้ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยมัชฌัตตบุคคลจำพวกธรรมดาได้ง่าย ฉันนั้น ส่วนปียบุคคล อติปียบุคคล และเวรีบุคคล เหล่านี้อุเบกขาทั้งแท้และเทียมเกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้นจึงต้องแผ่ไปในมัชฌัตตบุคคลก่อน จงทำการแผ่อุเบกขาไปในบุคคลตามลำดับโดยนัยนี้เรื่อยไป จนกว่าจะได้สำเร็จขั้นสีมสัมเกท ดังได้กล่าวไว้แล้วในเมตตา ข้อปฏิบัติที่จะมิให้โทสะ อิสสา เกิดขึ้นในเวลาที่ทำการแผ่ไปในเรรีบุคคล คงเป็นไปในทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ในเมตตา จะมีการพิจารณาต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงมิได้แสดงซ้ำอีก
จากนั้นจึงแผ่ไปโดยส่วนรวมตามแบบบริกรรมท่องจำ ดังต่อไปนี้คำที่สำหรับใช้แผ่นั้นมีอยู่อย่างเดียวกันทั้งตนเองและคนอื่น คือ แผ่แก่ตนเองใช้คำว่า อหํ กมฺมสฺสโก - เรามีกรรมเป็นของของเรา แผ่ไปให้คนอื่น ถ้าคนเดียวใช้คำว่า กมฺมสฺสโก = บุคคลนี้มีกรรมเป็นของของตน ถ้า ๒ คนขึ้นไปก็ใช้คำว่า กมฺมสฺสกา = สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
แบบบริกรรมท่องจำแผ่อุเบกขาทั่วไปอย่างสามัญนั้น ว่าโดย อาการแห่งอุเบกขา ก็มีหนึ่ง คือ กมฺมสฺสกา ว่าโดย บุคคลที่ได้รับการแผ่ มี ๑๒ จำพวก คือ อโนทิสยุดคล ๕ โอทิสบุคคล ๓ ทำการแผ่ไปดังนี้
๑. สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๒. สพฺเพ ปาณา กมฺมสฺสกา สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลายมีกรรมเป็นของ
๓. สพฺเพ ภูตา กมฺมสฺสกา สัตว์ที่ปรากฎชัดทั้งหลายมีกรรมเป็น
๔. สพฺเพ ปุคฺคลา กมฺมสฺสกา บุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา กมฺมสฺสกา สัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายมี กรรมเป็นของของตน
รวมเป็น ๕ เรียกว่า อโนทิสผรณาอุเบกขา
๑. สพฺพา อิตฺถิโย กมฺสสกา หญิงทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๒. สพฺเพ ปุริสา กมุมสฺสกา ชายทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๓. สพฺเพ อริยา กมฺมสฺสกา พระอริยบุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็น
๔. สพฺเพ อนริยา กมฺมสฺสกา ปูถุชนทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๕. สพฺเพ เทวา กมฺมสฺสกา เทวดาทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๖. สพฺเพ มนุสฺสา กมฺมสฺสกา มนุษย์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
๗. สพฺเพ วินิปาติกา กมฺมสฺสกา พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
รวมเป็น ๗ เรียกว่า โอทิสผรณาอุเบกขา
อโนทิสผรณาอุเบกขา ๕ โอทิสผรณาอุเบกขา ๗ รวมเป็น ๑๒ เรียกว่า ปุคคลวารผรณาอุเบกขา
เมื่อแผ่ตามทิศทั้ง ๑๐
๑. ปุรตฺถิมาย ทิสาย สพฺเพ สตฺตา ฯลฯ สพฺเพ วินิปาติกา กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ วินิปาติกอสุราทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันออกมีกรรมเป็นของของตน
ทิศที่เหลือ ๙ ก็คงทำการแผ่ไปในทำนองเดียวกันนี้ เมื่อจะนับจำนวนอุเบกขา ที่แผ่ไปในบุคคลที่มีอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ แล้ว ในทิศหนึ่งๆ ได้อุเบกขา ๑๒ รวม ๑๐ ทิศ ได้อุเบกขา ๑๒๐ เรียกว่า ทิสาผรณาอุเบกขา
ปุคคลวารผรณาอุเบกขา ๑ ทิสาผรณาอุเบกขา ๑๒๐ สองอย่างรวมเป็นผรณาอุเบกขาโดยพิสดาร ๑๓๒
นิมิต ๓ ภาวนา ๓ อานิสงส์ ๑๑ ก็คงเป็นเช่นเดียวกับเมตตา
ข้อความ ๘ อย่างที่ควรรู้มี ลักขณะ รส เป็นต้นมีดังนี้
๑. ลักขณะ :- สตฺเตสุมชฺฌตฺตาการปฺปวตฺติลกฺขณา มีอาการเป็นไปอย่างกลางในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
๒. รส :- สตฺเตสุสมภาวทสฺสนรสา มีการมองดูในสัตว์ทั้งหลายด้วยความเสมอกัน เป็นกิจ
๓. ปัจจุปัฏฐาน : - ปฏิฆานุนยวูปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีการสงบ ความเกลียด และไม่มีความรักในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ทำการพิจารณาอุเบกขา
๔. ปทัฏฐาน :- กมฺมสฺสกา สตฺตา เต กมฺมสฺส รุจิยา สุขิตา วา ภวิสฺสนฺติ ทุกฺขโต วา มุจฺจิสฺสนฺติ ปตฺตสมฺปตฺติโต วา น ปริหายิสฺสนฺตีติ เอวํ ปวตฺตกมฺมสฺสกตาทสฺสนปทฏฺฐานา ปัญญาที่พิจารณาเห็นการกระทำของตนเป็นของตนเอง เป็นไปอย่างนี้ว่า "สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำของตนเป็นของตนเองสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จะมีความสุข หรือ พ้นจากทุกข์ หรือ จักไม่เสื่อมจากทรัพย์สมบัติของตนที่มีอยู่เหล่านี้ด้วยความประสงค์ของผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย" เป็นเหตุใกล้
๕. สัมปัตติ : - ปฏิฆานุนยวูปสโม สมฺปตฺติ สงบความเกลียดและไม่มีความรัก เป็นความสมบูรณ์แห่งอุเบกขา
๖. วิปัตติ :- เคหสิตาย อญฺญาณุเปกฺขาย สมฺภโว วิปตฺติ การเกิดขึ้นแห่ง อญาณุเปกขาโดยอาศัยกามคุณอารมณ์ เป็นความเสียหายแห่งอุเบกบา
๗. อาสันนปัจจัตถิกะ - อญฺญาณุเปกฺขา อาสนฺนปจฺจตฺถิกา การวางเฉยด้วยอำนาจโมหะ เป็นศัตรูใกล้
๘. ทูรปัจจัตถิกะ : - ราคปฏิฆา ทูรปจฺจตกา ราคะ และ โทสะเป็นศัตรูไกล
จบอุเบกขา
---------///---------
เหตุที่อัปปมัญญามีเพียง ๔
การที่อัปปมัญญามีเพียง ๔ นั้น เพราะเหตุที่จะทำให้จิตใจบริสุทธิ์จากการพยาบาท วิหิงสา อรติ ราคะ ที่มีอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายนั้นมีอยู่เพียง ๔ และการใฝ่ใจของสัตว์ทั้งหลายที่มีต่อกันนั้นเล่าก็มีเพียง ๔ เช่นกัน ดังนั้นอัปปมัญญาจึงมี๔ เหตุที่ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ๔ อย่างนั้นก็ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี้เองเพราะธรรมดาจิตใจของสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมหมกมุ่นเกี่ยวพันอยู่ด้วยเรื่องพยาบาทวิหิงสา อรติ ราคะ อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป ต่างกันก็แต่เพียงบางอย่างมาก บางอย่างน้อย ซึ่งเป็นไปตามกาลเวลาเท่านั้น
ดังนั้นผู้ที่มีพยาบาทมาก จึงต้องทำการปราบด้วยเมตตา จิตใจจึงจะสงบลงและเข้าถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสได้ ส่วนผู้ที่มีวิหิงสามาก ต้องทำการปราบด้วยกรุณาผู้ที่มีอรติมากต้องทำการปราบด้วยมุทิตา และผู้ที่มีราคะมาก ต้องทำการปราบด้วยอุเบกขา จิตใจจึงจะสงบและเข้าถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสได้
อนึ่ง การใฝ่ใจของสัตว์ทั้งหลายที่มีต่อกัน ๔ อย่างนั้นคือ นำประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวเมตตาอย่างหนึ่ง บำบัดปัดป้องสิ่งที่ไร้ประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวกรุณา อย่างหนึ่ง ยินดีในความสุข ทรัพย์สินเงินทอง ของสัตว์ทั้งหลายซึ่งเป็นตัวมุทิตา อย่างหนึ่ง วางเฉยในเรื่องจะนำประโยชน์ ในเรื่องบำบัดปัดป้องสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ในเรื่องยินดีในความสุขสบาย ทรัพย์สินเงินทอง ของสัตว์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นตัวอุเบกขา อย่างหนึ่ง
เปรียบเหมือนมารดาที่มีบุตรอยู่ ๔ คน คนหนึ่งยังเล็กอยู่ คนหนึ่งเจ็บไข้ไม่สบาย คนหนึ่งโตแล้ว คนหนึ่งประกอบการงานเลี้ยงตนเองได้แล้ว ใน ๔ คนนี้มารดาย่อมมีจิตใจฝักใฝ่รักใคร่บำรุงเลี้ยงดูเพื่อการเจริญวัยในบุตรคนเล็ก อนึ่ง มารตาย่อมฝักใฝ่ในการบำบัดความเจ็บไข้ให้แก่บุตรที่ไม่สบาย และย่อมมีความชื่นชมในความงามเป็นหนุ่มสาวของบุตรที่เจริญเดิบโตขึ้นแล้ว แต่มารดาย่อมไม่มีความกังวลห่วงใยคอยแนะนำพร่ำสอนแก่บุตรที่ประกอบการเลี้ยงชีพตนเองได้แล้ว ข้อนี้ฉันใด การใฝ่ใจของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีต่อกันนั้นก็ไม่พันออกไปจาก อย่างนี้ ฉะนั้น อัปปมัญญาจึงมี ๔
ในอัปปมัญญา ๔ อย่างนี้ การเจริญเมตตามีประโยชน์กว้างขวางอย่างมหาศาลทั้งเป็นกำลังช่วยอุดหนุนให้ กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกิดขึ้นง่าย และยังช่วยทำให้การสร้างบารมีต่างๆ สำเร็จลงได้อย่างสะดวกสบาย เหตุนั้นผู้ที่ปรารถนาสมมาสัมโพธิ -ญาณทั้งหลายจึงมีการเจริญเมตตา และการเจริญพุทธคุณประกอบไปด้วย โดยมาคำนึงนึกถึงว่าตนจะต้องทำการสร้างสมบารมี ๓๐ ทัศ เป็นเวลาอย่างช้านานอยู่ในวัฎฎสงสาร
จบอัปปมัญญา
---------//////////---------
[full-post]
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ