คัมภีร์มหาวรรคและจูฬวรรคเป็นไฉน? 

   ท่านใช้คำว่า " วรรค " ซึ่งเป็นอรรถปกาสนา(อรรถบอกประเด็น) ก็เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเรื่องประวัติความเป็นมา(วรรค) เช่น กลุ่มเรื่อง ตอนว่าด้วยเรื่องอุโบสถ(บุโบสถขันธกะ) เพื่อแจ้งให้ทราบว่า คัมภีร์นี้ เป็นอันดับการแสดง(เทศนา)ตามลำดับประวัติความเป็นมา ไม่ใช่อันดับความเกิดขึัน, อันดับการปฏิบัติ, อันดับการละ, หรือการเจริญแต่อย่างใดไม่  ดังนั้น ในตอนว่าด้วยอุโบสถขันธกะ ถึงจะมีท้องเรื่องประกอบ 86 เรื่อง แต่ก็สรุปได้เป็นเพียง 3 ส่วนคือ

   1. ส่วนที่เป็นประวัติความเป็นมาอันเป็นลำดับการแสดง(เทสนากมะ)

   2. ส่วนที่เป็นธรรมเนียม ขัอปฏิบัติ(จาริตศีล)

   3. ส่วนที่เป็นธรรมเนียมข้อห้าม(วาริตศีล)

   แม้ในขันธกะอื่น เช่น มหาขันธกะ มี เรื่องประกอบ 172 เรื่อง ก็มีนัยเดียวกันนั่นแล 

   เมื่อสรุปเป็นประเด็น(ปกาสนา)เป็น 3 ส่วนได้ แม้ทรงแสดงละเอียดพิสดารเพื่อพระประสงค์กำหนดองค์ธรรมข้อควรประพฤติเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ(จาริตศีล) และข้อห้ามที่ไม่พึงปฏิบัติ(วาริตศีล) ในขันธกะนั้นๆ เพื่อนๆก็จะถือเอาได้สะดวก ไม่ยากลำบากเลย

   เหมือนการถือศีลสิกขาบทบัญญัติด้วยสติสัมปชัญญะเป็นปริปุณณปาริสุทธิศีลของพระมหาสังฆรักขิตเถระและพระสังฆรักขิตเถระผู้เป็นหลานนั่นแล(วิสุทธิมรรค)

------------------

คัมภีร์อรรถกถาสัทธัมมปกาสินีที่ขยายความคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ผู้รจนา คือ พระนามเถระพำนักอยู่ที่สำนักมหาวิหาร ยุคสมัยเดียวกันกับพระพุทธโฆสาจารย์ มีอะไรเป็นความโดด

เด่น? และความโดดเด่นที่ว่านั้นอิงอาศัยอะไรที่เป็นเหตุได้มา?

   เพราะโครงสร้างคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ประกอบด้วยหมวดธรรม 3 หมวด คือ 

   1.มหาวรรค คือ หมวดธรรมสำคัญที่ต้องเข้าใจด้วยญาณที่หยั่งรู้ มี 10 เรื่อง

   2.ยุคนัทธวรรค คือ หมวดธรรมที่เทียบเคียงเป็นคู่ได้ มี 10 เรื่อง

   3.ปัญญาวรรค คือ หมวดธรรมที่ต้องรอบรู้ด้วยปัญญา มี 10 เรื่อง

   แม้นแยกเป็นหมวดธรรม 3 หมวด เพื่อให้ทราบ จำนวนแม่บท 30 บทที่ต้องศึกษา แต่แม่บทในหมวดเหล่านั้นก็ยังมีความเนื่องกันอยู่ ท่านจึงอุปมาความเนื่องกันแห่งธรรม 3 หมวด ดังนี้

   มหาวรรค เปรียบได้กับกิจส่วนที่เป็นการดำหยั่งสู่น้ำ เพื่องมเอาแม่บททั้ง 30 บท มาเป็นประเด็นถามตอบ ดังนั้นธรรมหมวดที่มีกิจดำหยั่งรู้เพื่อความเข้าใจ จึงมี 10 ประเภท ดังนี้

   1. ญาณ คือ ความเข้าใจถูกต้องที่เกิดจากการยั่งรู้

   2. ทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่เกิดจากการลูบคร่ำเอา

   3. อานาปานะ การด่ำดิ่งลงสู่ความสงบเงียบด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก

   4. อินทรีย์  คือ การปรับอินทรีย์พละให้เสมอกัน เพื่อให้การเจริญกรรมฐานดำเนินไปได้ไม่ติดขัด

   5. วิโมกข์ คือ อาการความหลุดพ้นด้วยการหยั่งถึงไตรลักษณ์ มี 3 ประเภท 1.สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตาลักษณะ) 2.อนิมิตตวิโมกข์(หลุดพันเพราะเห็นอนิจจลักษณะ 3. อัปป

ณิหิตวิโมกข์(หลุดพ้นเพราะเห็นทุกข์ลักษณะ)

   6. คติ  คือ ทางไปแห่งวิบากผล (ปฏิสนธิ)

   7. กัมมะ คือ การหยั่งรู้ 

กรรม 16 ประเภท เพื่อความเข้าใจที่ตรงกับสภาวะกรรมประเภทนั้นๆโดยเกี่ยวกับกิจ 4 ประเภท เกี่ยวกับลำดับการให้ผล 4 ประเภท เกี่ยวกับเวลาที่ให้ผล 4 ประเภท เกี่ยวกับสถานที่เผล็ดผล 4

   8. วิปัลลาส คือ ความหยั่งรู้วิปัลลาส(ความคลาดเคลื่อน) 12 อาการ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกับประเภทอาการนั้นๆ จากสภาวธรรมที่เป็นตัวคลาดเคลื่อน คือ ทิฏฐิคลาดเคลื่อนเพราะเห็นผิด สัญญาคลาดเคลื่อนเพราะจำหมายรู้ผิดจึงให้ความสำคัญผิด จิตคลาดเคลื่อนเพราะสั่งสมผิด กับสภาพความคลาดเคลื่อน 4 คือ สภาพความคลาดเคลื่อนว่างาม 1 สภาพความคลาดเคลื่อนว่าเป็นสุข 1 สภาพความคลาดเคลื่อนว่าเที่ยง 1.สภาพความคลาดเคลื่อนว่าเป็นอัตตาตัวตน 1(3×4= 12)

   9. มัคคะ คือ การหยั่งรู้ประเภทมรรค(ช่องทาง) เพื่อความเข้าใจว่าตรงต่อมรรคที่ประสงค์

   10. มัณฑเปยยะ คือ การหยั่งรู้ ประเภทความไสสะอาดที่ไร้กากเดนลอยเด่นบนผิวหน้าแห่งศาสนพรหมจรรย์ดุจเนยไสที่ควรดื่ม(มัณฑเปยยะ) มี 3  ประเภท คือ ความไสสะอาดแห่งการเทสนาธรรม(เทสนามณฺฑ) 1.ความไสสะอาดแห่งการรับฟัง(ปฏิคฺคหณมณฺฑ) 1.ความไสสะอาดแห่งการเจริญมรรคพรหมจรรย์(พฺรหมฺจริยมณฺฑ) 1. เพื่อความเข้าใจต่อกาลที่เหมาะสมในการเสพประเภทมัณฑเปยยะนั้นๆ

   ยุคทัทธวรรค เปรียบได้กับการว่ายน้ำด้วยมือทั้งคู่ เพื่อแวกว่ายไปสู่แหล่งที่ดำหยั่งลงน้ำ และแหล่งที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ซึ่งทั้งสองแหล่งก็มีสถานภาพเป็นคู่ และด้วยขาทั้งคู่ตีกระทบน้ำเพื่อให้การว่ายน้ำลอยตัวได้ ดังนั้นธรรมหมวดที่มีกิจทำงานประสานกันเป็นคู่ จึงมี 10 ประเภท ดังนี้

   1. ยุคนัทธะ คือ ธรรมที่เป็นคู่กันโดยไม่ต้องเทียบหา เช่น สมถะคู่กับวิปัสสนา เป็นต้น (2-10 คือ ธรรมที่เป็นคู่กันโดยต้องเทียบหา เช่น อริยสัจจะ เทียบหาคู่เป็นคู่โลกิยธรรมคู่กับโลกุตตรธรรม เป็นคู่เหตุคู่กับผล เป็นต้น

   2. สัจจะ คือ ความจริง

   3. โพชฌงค์ คือ องค์แห่งการตรัสรู้

   4. เมตตา คือ ความปรารถนาดี

   5. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด

   6. ปฎิสัมภิทา คือ ความแตกฉาน

   7. ธัมมจักกะ คือ การขับเคลื่อนวงล้อธรรม

   8. โลกุตตระ คือ ธรรมที่ข้ามพันโลก

   9. พละ คือ ธรรมที่เป็นกำลัง

   10. สูญญะ คือ ความว่างเปล่าจากอัตตาตัวตน

   ปัญญาวรรค เปรียบได้กับการผลุดโผล่ขึ้นเหนือน้ำ เพื่อนำเอาธรรมแม่บทที่งมขึ้นได้แล้วมาตั้งเป็นประเด็นถาม(อุทเทส)พร้อม  ไขความตอบ(นิทเทส) ดังนั้นธรรมหมวดที่มีกิจนำเสนอการถามตอบ จึงมี 10 ประเภท ดังนี้

   1. มหาปัญญา คือ ความรอบรู้ที่สำคัญ

   2. อิทธิ คือ ความสำเร็จแห่งฤทธิ์

   3. อภิสมยะ คือ การตรัสรู้

   4. วิเวกะ คือ ความสงัด

   5. จริยา คือ ความประพฤติ

   6. ปาฏิหาริยะ คือ ความอัศจรรย์

   7. สมสีสะ คือ ความสิ้นอาสวะพร้อมกับความสิ้นชีวิตที่เป็นไปในคราวเดียวกัน

   8. สติปัฏฐาน คือ อารมณ์อันเป็นที่ตั้งสติ มี กาย เวทนา จิต ธรรม

   9. วิปัสสนา คือ ญาณที่หยั่งรู้ไตรลักษณ์

   10. มาติกา คือ ธรรมที่เป็นแม่บท ในการถามตอบ

   เมื่อทราบกิจ ธรรมใดสงเคราะห์(จัดเป็น)หมวดใดก็จะไม่สับสน


[full-post]

คัมภีร์มหาวรรคและจูฬวรรค- สัทธัมมปกาสินี

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.