ศัพท์ที่วิเคราะห์ไม่ได้

รุฬฺหีขฺยาตํ นิปาตตญฺจุ-       ปสคฺคาลปนมฺปิ จ
สพฺพนามนฺติ เอเตสุ             น กโต วิคฺคโห ฉสุ.

(นิรุตติสารมญฺชูสา)

.....วิเคราะห์ที่อาจารย์ไวยากรณ์ไม่ทำแล้วในศัพท์ ๖ ประเภทเหล่านี้ คือ 
    (๑) รุฬหีนาม 
    (๒) อายาตบท 
    (๓) นิบาตบท 
    (๔) อุปสัคบท 
    (๕) อาลปนบท และ 
    (๖) สัพพนาม.

นิปฺผนฺโน จ อนิปฺผนฺโน        โส ปาฏิปทิโก ยถา
นิปฺผนฺโน การโกตฺยาที-       ตโร ฆฏปฏาทิโก
ตทฺธิตาทิตฺตยาสิทฺโธ           นิปฺผนฺโน นีตโร มโต.

(มณิสารมญฺชูสาฏีกา)

.....ปาฏิปทิกศัพท์นั้น*** มี ๒ อย่าง คือ นิปผันนศัพท์ (ศัพท์ที่สำเร็จมาจากวิเคราะห์) และอนิปผันนศัพท์ (ศัพท์ที่ไม่ได้สำเร็จมาจากวิเคราะห์) ตัวอย่างเช่น ศัพท์เป็นต้นว่า “การก” (ผู้กระทำ) เป็นนิปผันนศัพท์, ศัพท์นอกนี้มี “ฆฏ” (หม้อ) และ “ปฏ” (ผ้า) เป็นต้น และศัพท์อื่นที่ไม่สำเร็จมาจากหมวด ๓ ของวิเคราะห์ มีตัทธิตเป็นต้น (รวมอาขยาตและกิต) บัณฑิตรู้แล้วว่าเป็นอนิปผันนศัพท์.

***ปาฏิปทิกะ คือ ศัพท์ที่ประกอบในทุกๆ บท หมายถึง นามศัพท์ที่เป็นศัพท์เดิมของบทนาม ส่วนบทนามเป็นรูปสำเร็จของนามศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตตินามแล้ว เช่น นามศัพท์ ว่า ปุริส มีอยู่ในบทนามที่ลงวิภัตติแล้วเป็นรูปว่า ปุริโส ปุริสา ปุริสํ ปุริเส ดังนี้เป็นต้น (ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ หน้า ๓๑๑)
.....คำว่า “ปาฏิปทิก” มาจาก ปฏิปท + ณิก ปัจจัยในนิยุตตตัทธิต และ คำว่า “ปฏิปท” เป็นคำสมาส มาจาก ปติ + ปท (อุปสัคคปุพพกอัพยยีภาวสมาส/วิจฉาอัพยยีภาวสมาส) คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาฎีกา ปฐมกัณฑ์ อธิบายสูตรที่ ๙ วิเคราะห์ตามลำดับว่า ปทํ ปทํ ปติ ปฏิปทํ. ทุกๆ บท ชื่อว่า ปฏิปท, ปฏิปเท นิยุตตํ ปาฏิปทิกํ. ศัพท์ที่ประกอบในทุกๆ บท ชื่อว่า ปาฏิปทิก. (ประกอบในทุกๆ บท)

บาลี,ไวยากรณ์,วิเคราะห์,รุฬหีศัพท์

แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.