สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
รูปแบบการจำแนกธรรมระหว่าง คัมภีร์ธัมมสังคณี ๑ คัมภีร์วิภังค์ ๑ คัมภีร์ธาตุกถา ๑ ต่างกันอย่างไร ? ผู้ศึกษาจะได้ประโยชน์ในรูปแบบที่จำแนกนั้นอย่างไร ?
มีรายละเอียด ดังนี้
๑) ธัมมสังคณีปกรณ์
คำว่า " ธัมมสังคณีปกรณ์ " ประกอบด้วยศัพท์ว่า ธัมม หมายเอาสภาวปรมัตถธรรมล้วนๆได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ไม่เกี่ยวกับอัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ที่เป็นสมมุติบัญญัติ(อภิธาน 784) และศัพท์ว่า สังคณี สำเร็จมาจาก สํ+คณ+อี=สังคณี นัยนี้ จึงหมายถึงการนับจำนวนสภาวปรมัตถธรรม องค์ธรรมก็คือส่วนที่เป็นมาติกา(แม่บท) อีกนัยหนึ่งสำเร็จมาจาก สํ+คห+อี=สังคณี นัยนี้จึง หมายถึงการประมวลรวบรวมสภาวปรมัตถธรรม องค์ธรรมก็คือส่วนที่เป็นกลไกประมวลรวบรวม สภาวปรมัตถธรรม ซึ่งมี 4 กัณฑ์ตามกิจที่ทำ ดังนี้ คือ
1. จิตตุปปาทกัณฑ์
2. รูปกัณฑ์
3. นิกเขปกัณฑ์
4. อัฎฐกถากัณฑ์
ศัพท์ว่า ปกรณ์ สำเร็จมาจาก ปปุพโพ+กร กรเณ+ยุ=ปกรณ์ หมายถึง คัมภีร์
เพื่อความแจ่มชัดแห่งองค์ธรรมอันเป็นทั้งโครงสร้างคัมภีร์และเป็นทั้งศัพท์เทคนิค(ศัพท์วิชาการประจำวิชาการนั้นๆ)
จักขอขยายทที่มา(อาคม)พร้อมแจ้งเหตุผล(ยุตติ)และหลักฐานตามคัมภีร์ที่อาศัยอ้างอิง
ศัพท์ว่า มาติกา มีที่มา 2 นัย คือ
นัยที่ 1. มาตาวิยาติ=มาติกา มีสภาพเหมือนแม่ เรียกว่า มาติกา คัมภีร์วิมติวิโนทนีฎีกาขยายความว่า มาติกาติ อุทฺเทโส, โส หิ นิทฺเทสปทานํ ชนนิฐาเน ฐิิตตฺตา มาตาวิยาติ มาติกา วุจฺจติ ฯ แปลว่า มาติกาที่เป็นแม่บท ก็คืออุทเทสที่เป็นหัวข้อ, เพราะทั้งคู่นั้น ต่างตั้งอยู่ในฐานะผู้ให้นิทเทสที่เป็นข้อย่อยเกิดขึ้นเป็นหลัก(ปธาน)ดังนั้นจึกล่าวได้ว่าแม่บท(มาติกา)เป็นเหมือนมารดาฯ
นัยที่ 2. มาตาวิยาติ=มาติกา มีสภาพเหมือนคลองส่งน้ำ ในคัมภีร์นิสสยะฎีกาอักษรปัลลวะและอักษรสิงหลขยายความว่า คลองส่งน้ำย่อมนำน้ำคือมาติกาหลั่งไหลลงสู่สระไร่นาสวนคือนิทเทสบท(ข้อย่อย)
ประเภทของมาติกามี 5 ประเภท คือ
1. โดยอาศัยจำนวนนิทเทสบทจำแนก มี 2 ประเภท
(1.1) ติกมาติกา มี 22 ติกะ.
(1.2) ทุกมาติกา มี 100 ทุกะ
2. โดยอาศัยบุคคลผู้กล่าวจำแนก มี 2 ประเภท
(2.1) อาทัจจภาษิต คือ มาติกาที่พระสัมมาสัมะุทธเจ้าทรงแสดง ได้แก่ ติกะ 22 ทุกะ 100 ซึ่งเกี่ยวข้องกับอภิธรรมเฉพาะ
(2.2) สาวกภาษิต คือ มาติกาที่สาวกแสดง ได้แก่ สุตตันติกทุกมาติกา 42 ทุกะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระสูตรเฉพาะที่พระสารีบุตรเถระแสดง
(2.3) โดยอาศัยการสงเคราะห์ปรมัทถธรรมลงในแต่ละมาติกาจำแนก มี 2 ประเภท
(2.3.1) นิปปเทสมาติกา คือ มาติกาที่สงเคราะห์ปรมัทถธรรมได้หมดไม่มีส่วนเหลือ ได้แก่ ติกะ 13 และ ทุกะ 71
(23.2) สัปปเทสมาติกา คือ มาติกาที่สงเคราะห์ปรมัทถธรรมได้ไม่หมด ยังมีส่วนเหลือ ได้แก่ ติกะ 9 และ ทุกะ 71
4.โดยอาศัยการตั้งชื่อจำแนก มี 2 ประเภท
(4.1)อาทิสัทธนาม คือ มาติกา ที่การตั้งชื่อสำเร็จจากบทต้น เช่น กุสลาติกะ เป็นต้น
(4.2) สัพพลัทธนาม คือ มาติกา ที่การตั้งชื่อสำเร็จมาจากทุกบท เช่น เวทนาติก เป็นต้น
5) โดยอาศัยส่วนที่เป็นแนวพระอภิธรรม(อภิธรรมนัย)และส่วนที่เป็นแนวพระสูตร(สุตตันตนัย) มี 3 ประเภท
(5.1) ติกมาติกา มี 22 ติกะ
(5.2) ทุกมาติกา มี 100 ทุกะ
(5.3) สุตตันติกาทุกมาติกา มี 42 ทุกะ
ลำดับตอนที่แสดง มี 4 กัณฑ์
1. จิตตุปปาทกัณฑ์(ตอนที่ทรงแสดงเรื่องจิตและเจตสิก
2. รูปกัณฑ์ ตอนที่ทรงแสดงเรื่องรูป
3. นิกเขปกัณฑ์ ตอนที่ทรงแสดงคัดแยกมาติกาเป็นหมวดย่อย(บท) คือ ติกมาติกา ธรรมหมวดสาม 22 ติกะ เป็น 66 บท, ทุกมาติกา ธรรมหมวดสอง 100 ทุกะ เป็น 200 บท
4. อัฎฐกถากัณฑ์ ตอนที่ทรงแสดงการสรุป องค์ธรรมของอภิธรรมนัย(ติกะ 22+ทุกะ100) ยกเว้นสุตตันตนัย( ทุกะ 42)
๒) วิภังค์ปกรณ์
หมายถึงคัมภีร์ที่แสดงการจำแนกธรรม ซึ่งการจำแนกธรรม มี 2 รูปแบบ คือ
1. แบบคัดแยกธรรมเป็นข้อย่อย เช่น กุสลติกะ แบงแยกเป็น 3 ข้อย่อย คือ
(1.1)กุสลา ธัมมา
(1.2) อกุสลา ธัมมา
(1.3) อพยากตา ธัมมา
รูปแบบนี้่ ใช้ในธัมมสังคณีปกรณ์
2. แบบคัดรวมเป็นหมวดธรรม เช่น รวมธรรมที่จัดเป็นหมวดขันธ์ได้ ธรรมเหล่านั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะ 11 อย่าง คือ เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน(3), เป็นไป ภายใน ภายนอก(2), มี หยาบ ละเอียด (2), มี เลว ประณีต (2), มี อยู่ไกล้ อยู่ใกล้ (2) รูปแบบนี้ใช้ใน วิภังค์ปกรณ์
แบบ ธัมมสังคณีปกรณ์ มี บทมาติกาเป็นบทตั้งเป็นอภิธรรมภาชนียนัยล้วน ส่วนแบบวิภังค์ปกรณ์ มี บท 18 วิภังค์ เป็นบทตั้ง มีทั้งส่วนทีเป็นอภิธรรมภาชนียนัย, ส่วนทีเป็นสุตตันตภาชนียนัย และ ส่วนที่นำมาจากพระวินัยคือศีล 5 เพื่อเป็นแนวตัวอย่างของบทตั้ง(สิกขาบทวิภังค์) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาปุจฉกนัย
สมจริงดังคัมภีร์นิสสยะ อักษรปัลลวะ อักษรสิงหล และอักษรขอม อธิบายความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างธรรมที่เป็นบทตั้ง(บท 18 วิภังค์) เปรียบได้กับเครื่องเครื่องยนต์ ส่วนที่เป็นกลไกเปรียบได้กับอภิธรรมภาชนียนัย ส่วนที่เป็นระบบเปรียบได้กับสุตตันตภาชนียนัย ส่วนแนวที่เป็นตัวอย่างพระวัยเปรียบได้กับผู้ใช้เครื่องยนต์ ชึ่งจะรู้ระเบียบการใช้เครื่องยนต์ได้ต้องอาศัยการถามตอบ(ปัญหาปุจฉกนัย)
ในวิภังค์ปกรณั จึงมีธรรมเป็นบทตั้งได้ 18 วิภัังค์ ดังนี้
1. ขันธวิภังค์ การจำแนกขันธ์
2. อายตนวิภังค์ การจำแนกอายตนะ
3. ธาตุวิภังค์ การจำแนกธาตุ
4. สัจจวิภังค์ การจำแนกสัจจะ
5. อินทรียวิภังค์ การจำแนกอินทรีย์
6. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ การจำแนกปฏิจจสมุปบาท
7. สติปัฏฐานวิภังค์ การจำแนกสติปัฏฐาน
8. สัมมัปปธานวิภังค์ การจำแนกสัมมัปปธาน
9. อิทธิปาทวิภังค์ การจำแนกอิทธิบาท
10. โพชฌังควิภังค์ การจำแนกโพชฌงค์
11. มัคคังควิภังค์ การจำแนกองค์มรรค
12. ฌานวิภังค์ การจำแนกฌาน
13. อัปปมัญญาวิภังค์ การจำแนกอัปปมัญญา
14. สิกขาปทวิภังค์ การจำแนกสิกขาบท
15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ การจำแนกปฏิสัมภิทา
16. ญาณวิภังค์ การจำแนกญาณ
17. ขุททกวิภังค์ การจำแนกอกุศลธรรมต่างๆ
18. ธัมมหทยวิภังค์ การจำแนกธรรมอันเปรียบเสมือนดวงใจ
เพื่อให้เห็นประจักษ์ถึงองค์ธรรมที่ใช้หลักจำแนกธรรม ทั้งแนวคัดแยก(ธัมมสังคณีปกรณ์) และทั้งแนวคัดรวม(วิภังค์ปกรณ์) คัมภีร์อภิ.มูลฎีกา 2/2 จึงกล่าวสำทับความว่า ในธัมมสังคณีปกรณ์ทรงใช้ลำดับกัณฑ์ทั้ง 4 เป็นหลักจำแนก เพื่อให้สอดข้องกับกิจในอริยสัจ 4 ในวิภังค์ปกรณ์ ทรงใช้คุณสมบัติของบทวิภังค์ทั้ง 18 เป็นหลักจำแนก เพื่อให้สอดข้องกับ อาเวนีกธรรม 18 อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะพระองค์ ชึ่งสามารถอาศัยเป็นเหตุให้ทราบได้ว่า ทำไมติกมาติกา, ทุกมาติกา ส่วนไหนบ้าง สงเคราะห์ได้ครบหรือไม่ครบ บทวิภังค์ขัอทึ่ 5 และข้อที่ 14 มีส่วนของการรู้จักใช้เครื่องยนต์(รู้ระเบียบ=ปัญหาปุจฉกนัย)เป็นประธาน บทวิภังค์ข้อที่ 16 และ ข้อที่ 17 มีส่วนรู้จักระบบ=สตตันตภาชนียนัยเป็นประธาน บทวิภังค์ข้อที่ 18 มีส่วนรู้จักหัวใจของเครื่องยนต์(ธรรมะ)อันเป็นหลักศูนย์กลางสัมพันธ์เชื่อมโยงกลไก(พระอภิธรรม) ระบบ(พระสูตร) ระเบียบ(พระวินัย)
แม้นเพียงแค่เรื่องการจำแนกธรรม ทั้งแบบธัมมสังคณีปกรณ์ และแบบวิภังค์ปกรณ์ ผู้ใคร่ธรรมทั้งหลายก็จะมองเห็นความสุขุมลุ่มลึกละเอียดพิสดารในแง่มุมต่างๆอันเป็นพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ แล้วไฉนเล่า ธาตุกถาปกรณ์, ปุคคลบัญญัติปกรณ์, กถาวัตถุปกรณ์ฺ, ยมกปกรณ์, มหาปัฏฐานปกรณ์จักไม่ทวีความเข้มข้นยิ่งๆขึ้นไปอีกหรือ? ควรหรือไม่หนอที่พวกเราชาวพุทธที่โชคดีเกิดมาพบพระพุทธศาสนาที่ดำรงอยู่จักไม่พากันศึกษาอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานของเราครับ
๓) ธาตุกถาปกรณ ์
เป็นปกรณ์ที่รวบรวมธรรมทีจำแนกแบบคัดรวม คือสังเคราะห์เป็นหมวดธรรมในแนววิภังค์ปกรณ์(125 บท) กับธรรมที่จำแนกแบบคัดแยกเป็นประเภทธรรม ในแนวธัมมสังคณีปกรณ์(266 บท) และในแนวธาตุกถาปกรณ์โดยตรงฃึ่งจำแนกเป็นเชิงซ้อนเป็นหลักอยู่แล้ว(105 บท)ด้วยแม่บทเป็นที่เป็นวิธีการ 14 วิธี (นยมาติกา)ที่จำเป็นต้องจำแนกสภาวธรรมในแนววิภังคปกรณ์และในแนวธัมมสังคณีปกรณ์ซ้ำอีกครั้งให้เป็นเชิงซ้อน)เพื่อให้เห็นว่า บทสภาวธรรมทั้ง 3 แนว เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 และธาตุ 18 อย่างไร? ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้ทราบถึงหลักการปฏิบัติธรรมต่ออีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ขันธ์ 5 เป็นที่ตั้งแห่งความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวตน เราเขา(สักกาย ทิฏฐิ=อัตตานุทิฏฐิ) อันเป็นต้นเหตุแห่งความเห็นผิดทั้งสิ้น ที่ปรากฏเป็นลัทธิ 62 นั่นแหละ อายตนะ 12 เป็นที่อาศัยให้กิเลสรั่วรดใจ ซึ่งต้องสำรวมทั้งทวารกรรม คือ กาย วาจา ใจ ด้วยปาติโมกขสังวรศีล ทั้งต้องสำรวมทวารอินทรีย์ มี ตา หู เป็นต้น ด้วยอินทรีย์สัวรศีล ส่วนธาตุ 18 นอกจากเป็นที่อาศัยให้กิเลสรั่วรดใจแล้ว ยังเป็นที่อาศัยให้ทราบว่าการจะรักษาทั้งปาติโมกขสังวรศีล ทั้งอินทรีย์สังวรศีลใหได้หมดจดบริบูรณ์เป็นวิสุทธิศีลเพื่อเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนาได้จำต้องอาศัยสติสัมปชัญญะอย่างจะขาดเสียมิได้ เพราะธาตุมีขอบเขตที่กว้างกว่าอานุภาพที่โดดเด่นกว่าขันธ์และอายตนะดังกล่าว ปกรณ์นี้จึงได้ชื่อว่า " ธาตุกถาปกรณ์ " ตามขอบเขตและอานุภาพที่เหนือกว่า(สาติสยนัย)นั่นเอง
ธาตุกถาปกรณ์นี้จึงลึกซี้งละเอียดพิสดารกว่าธัมมสังคณีปกรณ์ และวิภังค์ปกรณ์ เพราะปกรณ์ทั้ง 2 เป็นการจำแนกธรรมเชิงเดี่ยว มีแม่บท(มาติกา)จำเพเาะเป็นบทตั้ง(บทมูล)ในธัมมสังคณีปกรณ์ก็คือบทกัณฑ์ทั้ง 4 กัณฑ์ เพียงอย่างเดียวที่ดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นแม่บท(มาดิกา)ได้ ในวิภังค์ปกรณ์ก็คือบทวิภังค์ทั้ง 18 วิภังค์ เพียอย่างเดียวทีดำรงฐานะเป็นแม่บท(มาติกา)ได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีบทเพิ่มเติมเข้ามาท(บทมูลี)และบทมูลกะอันเป็นผังแสดงรองรับก็ชัดเจนได้ เพราะเป็นการจำแนกเชิงเดี่ยวนั่นเอง ส่วนธาตุกถาปกรณ์เป็นการจำแนกเชิงซ้อน องค์ประกอบในการจำแนกทั้งหมด จึงมีฐานะเป็นแม่บท(มาติกา)ได้ทั้งหมด รวม 5 มาตืกา แม้จะมีแม่บทที่เป็นวิธีการจำแนก(นยมาติกา)เป็นหลักก็ตาม แต่สถานภาพของบทธรรมที่นำมาจำแนกต่างกัน รวมทั้งต้องสังกัดอยู่ในมาติกาทั้ง 5 ด้วย จึงส่งผลต่อบทมูลและบทมูลีว่าจะมีได้หรือไม่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมที่บทคาถากำกับและบทวิธีการจำแนก(นยมาติกา) 14 วิธีกำหนด สวนศัพท์มูลกะหมายถึงฝังตาราง ถ้าใช้แสดงเป็นวิธีกำหนดจำนวนสภาวธรรมเป็นบทตั้ง(บทมูล)ว่ามีเท่าไร? ก็เรียกว่า มูลกนัย เช่น เอกมูลกนัย เป็นต้น ส่วนบทปุจฉาวาระ และบทวิสัชนาวาระ ก็คืิบทสรุปในแต่ละครั้งที่จำแนก ซึ่งต้องมีประกอบทุกครั้ง เพราะความกระจ่างชัดของการจำแนกเชิงซ้อนปรากฏที่ส่วนดังกล่าว
เนื้อหาธาตุกถาปกรณ์ จึงมี 2 ภาค คือ ภาคอุุทเทศ แสดงส่วนที่เป็นหัวข้อ กับภาคนิทเทส แสดงส่วนที่เป็นรายละเอียด ดังนี้
ก. ส่วนที่เป็นภาคอุทเทส แสดงธรรมที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดมีสถานภาพเป็นแม่บท(มาติกา)ได้ทั้งหมด เพื่อบอกให้ทราบโดยปริยายว่าเป็นปกรณ์การจำแนกเชิงซ้อน มี 5 มาติกา คือ
1. นยมาติกา คือ แม่บทที่เป็นส่วนแสดงวิธีจำแนกสภาวธรรมเป็นเชิงซ้อน 14 นัย
(1.1) สงคโห อสงฺคโห คือ นัยที่สภาวธรรมมีทั้งส่วนที่สังเคราะห์กันไม่ได้ มีทั้งส่วนที่สังเคราะห์กันได้ จึงเรียกนัยนี้ว่า สังคหาสังคหนัย
(1.2) สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ คือ นัยที่สภาวธรรมมีส่วนสังเคราะห์กันไม่ได้ เกี่ยวข้องกับที่มีส่วนสังเคราะห์กันได้ จึงเรียกนัยนี้ว่า สังคหิเตนอสังคหิตนัย
(1.3) อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ คือ นัยที่สภาวธรรมมีส่วนสงเคราะห์กันได้เกี่ยวข้องกับส่วนที่สังเคราะห์ไม่ได้ จึงเรียกนัยนี้ว่า อสังคหิเตนสังคหิตนัย
(1.4) สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ คือ นัยที่สภาวธรรมมีส่วนสงเคราะห์
ฯลฯ
2. อัพภันตรมาติกา แสดงบทภายใน (ภายในอภิธัมมัตถสังคหะ) ที่นำมาแสดงตามนยมาติกา ๑๔ นัย มี นิทเทสหลัก คือ
(2.1) ขันธาทินิทเทส (มี ๑๕ หมวด เริ่มตั้งแต่ ขันธ์ - ถึง อัฏฐังคิกมัคโค)
(2.2) ผัสสสัตตกราสีนิเทส มี ๗ (เริ่มตั้งแต่ ผัสสะ - มนสิการ )
3. นยมุขมาติกา เป็นมาติกาที่แสดงนยแห่งการถาม คือถาม ว่า "สภาพธรรมนั้น ๆ นับสงเคราะห์ได้-ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?"
4. ลักขณมาติกา เป็นมาติกาที่แสดงถึงสภาพธรรมที่นำมาแสดงประมวลลงเป็น สภาคะ (ประกอบกันได้) และวิสภาคะ (ประกอบกันไม่ได้) ในลักษณะว่า "สภาพธรรมนั้น ประกอบกับ นามขันธ์ ๔ ได้ หรือไม่ได้"
5. พาหิรมาติกา เป็นการแสดงมาติกาบทที่นำมาจาก ติกมาติกา ๖๖ บท และอภิธัมมทุกมาติกา ๒๐๐ บท รวมเป็น ๒๖๖ บท ซึ่งเป็นธรรมภายนอก (นอกไปจากอภิธัมมัตถสังคหะ) มาตั้งเป็นคำถาม-ตอบ แล้วประมวลว่า นับสงเคราะห์ได้-ไม่ได้ ประกอบกันได้้-ไม่ได้อย่างไร?
นยอพฺภนฺตรนย- มุขลกฺขณพาหิรา
อิจฺจิมา มาติกา ปญฺจ ธาตุกฺกถาย เทสิตา ฯ (นิติเมธี)
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลความคิดเห็นของท่าน จะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ฯ